โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สงครามกลางเมืองอังกฤษ

ดัชนี สงครามกลางเมืองอังกฤษ

“หนูเห็นพ่อครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่?” โดย วิลเลียม เฟรดเดอริค ยีมส์ (William Frederick Yeames) เป็นภาพรัฐสภาถามลูกชายของฝ่ายนิยมกษัตริย์ระหว่างสงครามกลางเมือง สงครามกลางเมืองอังกฤษ (English Civil War; ค.ศ. 1642 ถึงปี ค.ศ. 1651) เป็นสงครามกลางเมืองของอังกฤษ, สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ที่ต่อเนื่องกันหลายครั้งระหว่างฝ่ายรัฐสภา และฝ่ายกษัตริย์นิยม สงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1 เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1642 ถึงปี ค.ศ. 1646; ครั้งที่ 2 ระหว่างปี ค.ศ. 1648 ถึงปี ค.ศ. 1649 เป็นสงครามของความขัดแย้งระหว่างผู้สนับสนุนพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ฝ่ายหนึ่งและผู้สนับสนุนรัฐสภายาวอีกฝ่ายหนึ่ง ขณะที่ครั้งที่ 3 ที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1649 ถึงปี ค.ศ. 1651 เป็นการต่อสู้ระหว่างผู้สนับสนุนพระเจ้าชาลส์ที่ 2 และผู้สนับสนุนรัฐสภารัมพ์อีกฝ่ายหนึ่ง สงครามกลางเมืองจบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายรัฐสภาที่ยุทธการวูสเตอร์เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 ผลของสงครามกลางเมืองครั้งที่สองนำไปสู่การปลงพระชนม์ของพระเจ้าชาลส์ที่ 1, การลี้ภัยของพระราชโอรสพระเจ้าชาลส์ที่ 2 และการเปลี่ยนระบบการปกครองของอังกฤษจากระบอบพระมหากษัตริย์ไปเป็นระบบเครือจักรภพแห่งอังกฤษ ระหว่างปี ค.ศ. 1649 ถึงปี ค.ศ. 1653 และต่อจากนั้นไปเป็นระบบรัฐผู้พิทักษ์ภายใต้การนำของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ระหว่างปี ค.ศ. 1653 ถึงปี ค.ศ. 1659 เอกสิทธิ์ในการนับถือคริสต์ศาสนาของนิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์ในอังกฤษสิ้นสุดลงด้วยการรวม การปกครองโดยโปรเตสแตนต์ (Protestant Ascendancy) ในไอร์แลนด์ ในด้านรัฐธรรมนูญสงครามครั้งนี้เป็นการวางรากฐานว่าการปกครองระบอบพระมหากษัตริย์ไม่สามารถทำได้โดยมิได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา แต่อันที่จริงแล้วปรัชญานี้ก็มิได้ปฏิบัติกันอย่างจริงจังจนกระทั่งถึงสมัยการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ในปลายคริสต์ศตวรรษ.

150 ความสัมพันธ์: บริสตอลบริเตนใหญ่พ.ศ. 2185พ.ศ. 2189พ.ศ. 2191พ.ศ. 2192พ.ศ. 2193พ.ศ. 2194พ.ศ. 2196พ.ศ. 2202พ.ศ. 2203พ.ศ. 2388พ.ศ. 2395พรรคการเมืองพรรคอนุรักษนิยม (สหราชอาณาจักร)พระมหากษัตริย์พระราชบัญญัติว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ ค.ศ. 1701พระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1707พระราชกฤษฎีการะดมไพร่พลพระราชวังไวต์ฮอลพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษพิวริตันกบฏต่อแผ่นดินกฤษฎีการะดมทหารอาสาสมัครกองทัพตัวแบบใหม่การฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษการยอมรับความต่างทางศาสนาการยึดรัฐสภาของไพรด์การล้อมเมืองโคลชิสเตอร์การสังหารหมู่การสงครามกองโจรการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ภาษีภาษีตันภาษีปอนด์มาร์มาดิวก์ แลงเดลยุทธการที่มาร์สตันมัวร์ยุทธการที่ราวนด์เวย์ดาวน์ยุทธการที่วินซ์บียุทธการที่วุร์สเตอร์ยุทธการที่สะพานโพวิกยุทธการที่ฮอปตันฮีทยุทธการที่ดันบาร์ (ค.ศ. 1650)ยุทธการที่นิวบรีครั้งที่ 1ยุทธการที่นิวบรีครั้งที่ 2ยุทธการที่แลงพอร์ตยุทธการที่แลนส์ดาวน์ยุทธการที่แอดวอลตันมัวร์ยุทธการที่เพรสตัน...ยุทธการที่เกนส์บะระยุทธการที่เมดสตันยุทธการที่เอดจ์ฮิลล์ยุทธการที่เทอร์นัมกรีนยุทธการที่เซนต์แฟกันส์ยุทธการที่เนสบียุครัฐในอารักขารอเบิร์ต เดเวอรู เอิร์ลที่ 3 แห่งเอสเซกซ์ระบอบเผด็จการรัฐสภาชุมนุมรัฐสภายาวรัฐสภารัมป์รัฐสภาสั้นรัฐสภาอังกฤษราชวงศ์สจวตราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ราชอาณาจักรสกอตแลนด์ราชอาณาจักรอังกฤษราชอาณาจักรไอร์แลนด์ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญราชนาวีรายชื่อสงครามกลางเมืองของอังกฤษรายพระนามพระมหากษัตริย์อังกฤษริชาร์ด ครอมเวลล์ลัทธิมากซ์ลัทธิคาลวินวิลเลียม ลอดวุร์สเตอร์วุร์สเตอร์เชอร์สภาสามัญชนแห่งสหราชอาณาจักรสมัยการปกครองส่วนพระองค์สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษสารานุกรมบริตานิกาสงครามกลางเมืองสงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1สงครามสามสิบปีสเตอร์ลิงหอคอยแห่งลอนดอนหัวเกรียนอนาธิปไตยอ๊อกซฟอร์ดจอร์จ กอริง ลอร์ดกอริงจอร์จ มองก์ ดยุกที่ 1 แห่งอัลเบมาร์ลจอร์จ วิลเลิร์ส ดยุกที่ 1 แห่งบักกิงแฮมจอห์น ฮ็อทแฮม บารอนเน็ทที่ 1จอห์น แลมเบิร์ต (นายพล)จักรพรรดินโปเลียนที่ 1ทวีปยุโรปทอมัส แฟร์แฟกซ์ ลอร์ดแฟร์แฟกซ์ที่ 3 แห่งแคเมอรอนทอมัส เวนท์เวิร์ธ เอิร์ลแห่งสตราฟฟอร์ดที่ 1ทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์ดับลินดันบาร์ดันดีคริสตจักรแห่งอังกฤษคอร์นวอลล์คาร์ไลล์คำร้องขอสิทธิฟ้องร้องรัฐประกาศเบรดาประวัติศาสตร์อังกฤษประเทศสกอตแลนด์ประเทศไอร์แลนด์ประเทศเวลส์ประเทศเนเธอร์แลนด์นอร์ทัมเบอร์แลนด์นอตทิงแฮมนิวอิงแลนด์นิวคาสเซิลอะพอนไทน์แม่น้ำเซเวิร์นแลงคาเชอร์แคริบเบียนแควาเลียร์โรมันคาทอลิกโอลิเวอร์ ครอมเวลล์เบรดาเบอร์มิวดาเวสต์มินสเตอร์แอบบีย์เอดินบะระเอดเวิร์ด มอนทากิว เอิร์ลที่ 2 แห่งแมนเชสเตอร์เอ็ดเวิร์ด ไฮด์ เอิร์ลที่ 1 แห่งแคลเรนดันเฮนรี ริช เอิร์ลที่ 1 แห่งฮอลแลนด์เฮนเรียตตา มาเรียแห่งฝรั่งเศส พระราชินีแห่งอังกฤษเจมส์ แกรม มาร์ควิสแห่งมอนท์โรสที่ 1เจมส์ แฮมิลตัน ดยุกที่ 1 แห่งแฮมิลตันเจคอบ แอสต์ลีย์ บารอนแอสต์ลีย์ที่ 1 แห่งเรดิงเจ้าชายรูเพิร์ตแห่งไรน์เจ้าผู้อารักขาเทวสิทธิราชย์เดอรัมเคมบริดจ์เชอร์เครือจักรภพแห่งอังกฤษ17 สิงหาคม19 สิงหาคม22 สิงหาคม23 พฤษภาคม23 ตุลาคม3 กันยายน30 มกราคม4 มกราคม4 เมษายน ขยายดัชนี (100 มากกว่า) »

บริสตอล

ริสตอล เป็นเมืองที่อยู่ในทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอังกฤษ โดยมีประชากรในเขตตัวเมืองประมาณ 433,100 คนกับประชากรในแถบชานเมืองอยู่ 1,070,000 คน เป็นเมืองที่ประชากรมากที่สุดในอันดับ 6 ของอังกฤษและอันดับ 8 ของสหราชอาณาจักร โดยเมืองบริสตอลเป็นหนึ่งในเมืองหลักของอังกฤษตะวันตกเฉียงใต้ ใน ค.ศ. 1155 เมืองบริสตอลได้รับพระบรมราชานุญาต และใน ค.ศ. 1373 ได้สถานะเป็นเทศมณฑล ชื่อของเมืองบริสตอลเป็นภาษาอังกฤษเก่า หมายถึง ที่ซึ่งมีตะพาน เมืองนี้เคยเป็นเมืองท่ามากว่า 800 ปีแต่ตอนนี้เรือมีขนาดใหญ่กว่าเมื่อก่อนจึงย้ายเมืองท่าไปที่เมืองแอวันมอทแทน บริสตอล ในอดีตเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าทาส ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเมืองนี้ได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง แต่ปัจจุปันได้มีโรงงานมากมายมาตั้งอยู่ที่เมืองนี้ และเครื่องบินโดยสารความเร็วเหนือเสียงคองคอร์ดก็ได้สร้างที่เมืองนี้.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและบริสตอล · ดูเพิ่มเติม »

บริเตนใหญ่

ริเตนใหญ่ (Great Britain) เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะบริติช ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของภาคพื้นทวีปยุโรป มีเกาะไอร์แลนด์ตั้งอยู่ทางตะวันตก เกาะบริเตนใหญ่เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรป ล้อมรอบด้วยเกาะเล็กนับร้อยเกาะ บริเตนใหญ่เนื้อที่ส่วนใหญ่ของสหราชอาณาจักร เป็นที่ตั้งของอังกฤษ สกอตแลนด์ และเวลส์ บริเตนใหญ่เป็นเกาะที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากเกาะชวาและเกาะฮนชู คำว่าบริเตนใหญ่บางครั้งใช้ในความหมายของสหราชอาณาจักร ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ ซึ่งเป็นรัฐที่เกิดจากการรวมตัวของอังกฤษและสกอตแลนด์ในช่วงพ.ศ. 2250–2344 ก่อนที่นอร์เทิร์นไอร์แลนด์จะเข้าร่วม เป็นสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และนอร์เทิร์นไอร์แลน.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและบริเตนใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2185

ทธศักราช 2185 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและพ.ศ. 2185 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2189

ทธศักราช 2189 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและพ.ศ. 2189 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2191

ทธศักราช 2191 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและพ.ศ. 2191 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2192

ทธศักราช 2192 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและพ.ศ. 2192 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2193

ทธศักราช 2193 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและพ.ศ. 2193 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2194

ทธศักราช 2194 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและพ.ศ. 2194 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2196

ทธศักราช 2196 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและพ.ศ. 2196 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2202

ทธศักราช 2202 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและพ.ศ. 2202 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2203

ทธศักราช 2203 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและพ.ศ. 2203 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2388

ทธศักราช 2388 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและพ.ศ. 2388 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2395

ทธศักราช 2395 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1852.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและพ.ศ. 2395 · ดูเพิ่มเติม »

พรรคการเมือง

รรคการเมือง เรียกย่อว่า พรรค คือองค์กรทางการเมืองที่รวมบุคคลที่มีอุดมการณ์เดียวกัน นั่นคือมีแนวความคิดทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ แบบเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน เพื่อส่งบุคคลเข้ารับเลือกตั้ง เพื่อให้ได้เสียงข้างมากในรัฐสภาและจัดตั้งรัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศตามแนวความคิดหรือนโยบายที่สอดคล้องกับอุดมการณ์ของกลุ่ม ลักษณะสำคัญที่สุดที่ทำให้พรรคการเมืองมีลักษณะแตกต่างจากกลุ่มทางการเมืองอื่น ๆ ก็คือ พรรคการเมืองจะต้องมีความปรารถนาหรือต้องการที่จะเป็นรัฐบาล เพื่อจะได้มีโอกาสนำนโยบายของพรรคไปปฏิบัติจริง ในระบอบรัฐสภา พรรคการเมืองส่วนใหญ่จะมีผู้นำ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วถ้าพรรคการเมืองนั้นได้รับเสียงข้างมาก จะรับหน้าที่เป็นผู้นำรัฐบาล ขณะที่ในระบอบประธานาธิบดี พรรคการเมืองอาจไม่มีผู้นำที่ชัดเจน โดยเฉพาะในระบบการเมืองที่มีการแยกอำนาจโดยสมบูรณ์ ในการปกครองระบอบประชาธิปไตย พรรคการเมืองจะเป็นสถาบันทางการเมืองที่มีความสำคัญมากและขาดไม่ได้ในกระบวนการปกครอง เพราะการปกครองระบอบประชาธิปไตยเป็นการปกครองที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองและมีอิทธิพลเหนือรัฐบาล โดยผ่านทางสภาผู้แทนราษฎร ๑)ความหมายของพรรคการเมือง หมายถึง กลุ่มบุคคลที่มีความคิดและผลประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองที่คล้ายคลึงกัน.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและพรรคการเมือง · ดูเพิ่มเติม »

พรรคอนุรักษนิยม (สหราชอาณาจักร)

รรคอนุรักษนิยม (Conservative Party) หรือชื่อเดิมว่า พรรคอนุรักษนิยมและสหภาพนิยม คือพรรคการเมืองกลาง-ขวาในสหราชอาณาจักรที่ปฏิบัติตามหลักปรัชญาของลัทธิอนุรักษนิยมและลัทธิการรวมชาติบริเตน ซึ่งเป็นพรรคที่ใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักรโดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในรัฐสภาจำนวน 330 คน สมาชิกสภาท้องถิ่นทั่วประเทศ 9,391 คน และเป็นพรรคการเมืองจากสหราชอาณาจักรที่มีที่นั่งในรัฐสภายุโรปมากที่สุดจำนวน 25 ที่นั่ง ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นรัฐบาลเสียงข้างมากในสภาสามัญชนโดยมีหัวหน้าพรรคคือนางเทเรซา เมย์ เป็นนายกรัฐมนตรี พรรคมักถูกเรียกขานว่า พรรคขุนนาง (Tory Party) หรือ พวกขุนนาง (Tories) พรรคอนุรักษนิยมก่อตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและพรรคอนุรักษนิยม (สหราชอาณาจักร) · ดูเพิ่มเติม »

พระมหากษัตริย์

กษัตริย์ หรือ พระมหากษัตริย์ คือประมุขหรือผู้ปกครองสูงสุดของรัฐ ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือในราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ปัจจุบันพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มีน้อยมากซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศขนาดเล็ก พระมหากษัตริย์เป็นได้ด้วยการสืบสันตติวงศ์หรือโดยการยึดอำนาจจากพระมหากษัตริย์พระองค์เดิมแล้วปราบดาภิเษกตนเองขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ การสืบสันตติวงศ์ของพระมหากษัตริย์จะสืบทอดต่อกันมาโดยเชื้อพระวงศ์ เรียกว่าพระราชวงศ์ เมื่อสิ้นสุดการสืบทอดโดยเชื้อพระวงศ์ด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง พระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่จะเป็นตันพระราชวงศ์ใหม่ หรือเป็นผู้สถาปนาพระราชวงศ์ พระมหากษัตริย์อาจมีคำเรียกแตกต่างกัน เช่น พระราชาธิบดี พระจักรพรรดิ พระราชา เจ้ามหาชีวิต เป็นต้น กษัตริย์ ในสังคมฮินดู ยังหมายถึงวรรณะที่ 2 จาก 4 วรรณะ คือวรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและพระมหากษัตริย์ · ดูเพิ่มเติม »

พระราชบัญญัติว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ ค.ศ. 1701

ระราชบัญญัติว่าด้วยการสืบราชสันตติวง..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและพระราชบัญญัติว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ ค.ศ. 1701 · ดูเพิ่มเติม »

พระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1707

งราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ ค.ศ. 1707-1800) พระราชบัญญัติสห..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและพระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1707 · ดูเพิ่มเติม »

พระราชกฤษฎีการะดมไพร่พล

ระราชกฤษฎีการะดมไพร่พล (ภาษาอังกฤษ: Commission of Array หรือ Arrayer) เป็นพระราชเอกสารสิทธิ (Letters patent) ที่พระมหากษัตริย์อังกฤษมอบให้แก่เจ้าหน้าที่หรือผู้นำท้องถิ่นในเขตปกครองในการระดมพลจากผู้พำนักอาศัยในท้องถิ่นที่ว่า การะดมไพร่พลมีที่มาจากพันธะโบราณของผู้มีเสรีภาพในการป้องกันบ้านเมือง เจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการระดม (Commissioner) มักจะเป็นนายทหารที่มีประสบการณ์ที่ได้รับแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ในการระดมพลจากท้องถิ่นต่างๆ แม้ว่ากฎหมายนี้จะเลิกใช้กันภายในคริสต์ศตวรรษที่ 17 แต่พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ทรงรื้อฟื้นขึ้นใช้อีกในปี ค.ศ. 1642 (เป็นการโต้ตอบ กฤษฎีการะดมทหารอาสาสมัคร (Militia Ordinance) ที่ออกในปีเดียวกันที่มอบอำนาจให้รัฐสภาแห่งอังกฤษอำนาจในการระดมกองทหาร) ในการระดมกองทัพฝ่ายกษัตริย์นิยมเมื่อเริ่มสงครามกลางเมืองอังกฤษ.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและพระราชกฤษฎีการะดมไพร่พล · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวังไวต์ฮอล

ระราชวังไวต์ฮอล (Palace of Whitehall) เป็นพระราชวังที่ตั้งอยู่ในลอนดอนในสหราชอาณาจักร ที่ประทับหลักของพระมหากษัตริย์อังกฤษในลอนดอนระหว่าง ค.ศ. 1530 - ค.ศ. 1698 ยกเว้นเมื่อตึกเลี้ยงรับรอง (Banqueting House) ที่สร้างโดยอินิโก โจนส์ (Inigo Jones) ในปี ค.ศ. 1622 เกิดเพลิงไหม้ ก่อนที่ไฟจะไหม่พระราชวังไวต์ฮอลเป็นพระราชวังที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปที่ประกอบด้วยห้องทั้งหมดกว่า 1,500 ห้อง ชื่อของวังใช้เป็นชื่อถนนที่เป็นที่ตั้งของพระราชวังที่ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสำนักงานบริหารต่างๆ ของรัฐบาลอังกฤษ.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและพระราชวังไวต์ฮอล · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าชาลส์ที่ 1 (Charles I; 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1600 — 30 มกราคม ค.ศ. 1649) เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรอังกฤษสมัยราชวงศ์สจวต รวมทั้งพระมหากษัตริย์แห่งสกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ ระหว่างปี..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ (Charles II of England; 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1630 – 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685) พระมหากษัตริย์อังกฤษ พระมหากษัตริย์สกอตแลนด์ และพระมหากษัตริย์ไอร์แลนด์ ในราชวงศ์สจวต ระหว่างปี ค.ศ. 1660 ถึงปี ค.ศ. 1685 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 พระราชสมภพเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1630 ที่พระราชวังเซนต์เจมส์ในกรุงลอนดอน เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษและพระนางเฮนเรียตตา มาเรีย ได้อภิเษกสมรสกับพระนางแคเธอริน และครองสกอตแลนด์ระหว่างวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 ถึงวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 และ อังกฤษ สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 ถึงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 ที่พระราชวังไวท์ฮอลในกรุงลอนดอน พระเจ้าชาลส์ที่ 2 เป็นพระมหากษัตริย์ตามกฎหมายหลังจากพระราชบิดาพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ถูกประหารชีวิตที่พระราชวังไวต์ฮอลเมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 แต่รัฐสภาอังกฤษมิได้ประกาศแต่งตั้งให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์และผ่านบัญญัติว่าเป็นการดำรงตำแหน่งของพระองค์เป็นการผิดกฎหมาย จึงเกิดช่วงว่างระหว่างรัชกาลในอังกฤษ แต่ทางรัฐสภาสกอตแลนด์ประกาศให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ของชาวสกอตเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1649 ที่เอดินบะระ และรับพิธีราชาภิเษกเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1651 หลังจากที่พ่ายแพ้ยุทธการวูสเตอร์เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ก็เสด็จหนีไปยุโรปภาคพื้นทวีปและไปประทับลี้ภัยเป็นเวลา 9 ปีในประเทศฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ของสเปน หลังจากที่รัฐบาลสาธารณรัฐภายใต้การนำของริชาร์ด ครอมเวลล์ล่มในปี ค.ศ. 1659 นายพลจอร์จ มองค์ก็อัญเชิญชาลส์ให้กลับมาเป็นสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษในสมัยที่เรียกกันว่า “การฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษ” พระเจ้าชาลส์ที่ 2 เสด็จกลับถึงอังกฤษเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 และเสด็จเข้าลอนดอนในวันประสูติครบ 30 พรรษาเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 และทรงได้รับการราชาภิเศกเป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษและ ไอร์แลนด์เมื่อวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 1660 รัฐสภาภายใต้การนำของพระเจ้าชาลส์ที่ 2 ออกพระราชบัญญัติต่อต้านพิวริตันที่รู้จักกันในชื่อ “ประมวลกฎหมายแคลเรนดัน” (Clarendon code) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อหนุนสถานะของคริสตจักรแห่งอังกฤษ แม้ว่าในทางส่วนพระองค์แล้วพระเจ้าชาลส์ที่ 2 จะทรงสนับสนุนนโยบายความมีเสรีภาพในการนับถือศาสนาก็ตาม ส่วนปัญหาใหญ่ในด้านการต่างประเทศในต้นรัชสมัยก็คือการสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สอง ในปี ค.ศ. 1670 พระเจ้าชาลส์ทรงไปทำสัญญาลับกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสที่ระบุว่าฝรั่งเศสจะช่วยอังกฤษในสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สาม และจะถวายเงินบำนาญแก่พระองค์โดยมีข้อแม้ว่าสมเด็จพระเจ้าชาลส์ต้องสัญญาว่าจะเปลื่ยนจากการนับถือนิกายแองกลิคันไปเป็นการนับถือนิกายโรมันคาทอลิก แต่พระเจ้าชาลส์มิได้ทรงระบุเวลาที่แน่นอนในเรื่องการเปลี่ยนนิกาย แต่ในขณะเดียวกันก็ทรงพยายามเพิ่มสิทธิและเสรีภาพให้แก่ผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิกและนิกายโปรเตสแตนต์ต่าง ๆ มากขึ้นโดยการออกพระราชปฏิญญาพระคุณการุญในปี ค.ศ. 1672 แต่รัฐสภาบังคับให้ทรงถอนในปี ค.ศ. 1679 ในปี ค.ศ. 1679 ไททัส โอตส์สร้างข่าวลือเรื่อง “การลอบวางแผนโพพิช” ที่เป็นผลให้เกิดวิกฤตกาลการกีดกัดต่อมา เมื่อเป็นที่ทราบกันว่าดยุกแห่งยอร์กพระอนุชาของพระเจ้าชาลส์ที่ 2 และรัชทายาทผู้ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเจมส์ที่ 2เปลี่ยนไปนับถือโรมันคาทอลิก ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้บ้านเมืองแบ่งเป็นสองฝักสองฝ่าย ฝ่ายวิกสนับสนุนการยกเว้นไม่ให้ดยุกแห่งยอร์กขึ้นครองราชย์และฝ่ายทอรีต่อต้านการยกเว้น พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ทรงเข้าข้างฝ่ายหลัง หลังจากที่ผู้ก่อการโปรเตสแตนต์วางแผน “การลอบวางแผนไรย์เฮาส์” ที่จะปลงพระองค์เองและดยุกแห่งยอร์กในปี ค.ศ. 1683 ที่ทำให้ผู้นำพรรควิกหลายคนถูกประหารชีวิตหรือถูกเนรเทศ พระเจ้าชาลส์ที่ 2 จึงทรงยุบสภาในปี ค.ศ. 1679 และทรงราชย์โดยไม่มีรัฐสภาจนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 ก่อนจะเสด็จสวรรคตพระเจ้าชาลส์ที่ 2 ก็ทรงเปลี่ยนไปนับถือโรมันคาทอลิกบนพระแท่นที่ประชวร พระเจ้าชาลส์ไม่มีพระราชโอรสธิดากับพระนางแคเธอรินแห่งบราแกนซา เพราะพระนางทรงเป็นหมัน แต่ทรงยอมรับว่ามีพระราชโอรสธิดานอกสมรส 12 องค์กับพระสนมหลายคน พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ทรงเป็นที่รู้จักกันในพระนาม “ราชาเจ้าสำราญ” (Merrie Monarch) ซึ่งหมายถึงการใช้ชีวิตในราชสำนักของพระองค์ที่เต็มไปด้วยความสนุกสำราญซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากการที่ถูกเก็บกดมาเป็นเวลานานภายใต้การปกครองของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์และกลุ่มพิวริตัน.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าเจมส์ที่ 6 แห่งสกอตแลนด์ (19 มิถุนายน พ.ศ. 2109 – 27 มีนาคม พ.ศ. 2168) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งสกอตแลนด์ตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาคม..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พิวริตัน

อห์น เฮาว์ (John Howe) และ ริชาร์ด แบ็กซ์เตอร์ (Richard Baxter) พิวริตัน (Puritan) จาก คริสต์ศตวรรษที่ 16 และ คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นคำที่ใช้เรียกกลุ่มคริสต์ศาสนิกชนที่สนับสนุนความเชื่อทางปรัชญาและการกระทำพิธีทางศาสนาที่ “บริสุทธิ์” (“Purity”) กว่า และความเคร่งครัดส่วนบุคคล กลุ่มพิวริตันเชื่อว่าการปฏิรูปศาสนาในอังกฤษ (English Reformation) ยังไม่เพียงพอและคริสตจักรแห่งอังกฤษยังทำพิธีศาสนาที่ไม่ต่างไปจากพิธีศาสนาของศาสนจักรโรมันคาทอลิกเท่าใดนัก คำว่า “พิวริตัน” เป็นคำที่ใช้เรียกแทนคำว่า “คาร์ธาร์” ที่ใช้เรียกผู้ที่มีหัวรุนแรงที่เป็นผู้นับถือลัทธิคาร์ธาริสม์ (Catharism) ในฝรั่งเศส บางครั้งกลุ่มเพียวริตันก็ร่วมมือกับคณะเพรสไบทีเรียน (Presbyterian) ในการตั้งข้อเสนอเพื่อที่จะทำให้นิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์ใกล้กับคริสตจักรปฏิรูป (Reformed Churches) บนแผ่นดินใหญ่ยุโรปมากขึ้น.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและพิวริตัน · ดูเพิ่มเติม »

กบฏต่อแผ่นดิน

การลงโทษโดยการ “แขวนคอ ควักไส้ และผ่าสี่” (Hanged, drawn and quartered) ซึ่งเป็นบทกำหนดการลงโทษของผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏต่อแผ่นดินในอังกฤษ กบฏต่อแผ่นดิน (High treason) เป็นความผิดทางอาญาในการทรยศต่อประเทศของตนเองซึ่งครอบคลุมการกระทำต่างๆ ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อประเทศของตนเอง ที่รวมทั้งการเข้าร่วมสงคราม, การพยายามโค่นล้มรัฐบาล, การสืบความลับทางการทหารหรือทางการทูต, หรือการพยายามสังหารผู้นำของประเทศ การ “กบฏต่อแผ่นดิน” อยู่บนพื้นฐานที่ว่าผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏต้องมีความสวามิภักดิ์ต่อประเทศที่ตนจงใจที่จะทำร้ายเช่นการเป็นประชาชนของประเทศนั้น แต่การมีที่อยู่อาศัยในประเทศหรือรัฐก็พอเพียง ชาวต่างประเทศที่เป็นสายลับ, ผู้ล่าสังหาร, และผู้ก่อการร้ายแม้ว่าจะไม่เข้าข่ายการเป็นกบฏต่อแผ่นดินอาจจะถูกฟ้องร้องและลงโทษในข้อหาเป็นสายลับ, เป็นผู้ล่าสังหาร, และเป็นผู้ก่อการร้าย แต่ในปัจจุบันผู้ต้องสงสัยในกรณีเหล่านี้มักจะถูกเนรเทศหลังจากถูกจับ ในประวัติศาสตร์ในประเทศที่ใช้ระบบคอมมอนลอว์ (common law) ข้อหาการกบฏต่อแผ่นดินแตกต่างจากกบฏย่อย (petty treason) ซึ่งเป็นการฆ่าผู้มีอำนาจเหนือกว่าตามกฎหมายเช่นผู้รับใช้ฆ่านายซึ่งถือว่าเป็นกรณีการฆาตกรรมที่หนักกว่าปกติ แต่กฎหมายครอบคลุมการกบฏย่อยถูกยุบเลิกกันไปจากประเทศต่างๆ เกือบทั้งสิ้น แนวคิดเกี่ยวกับกบฏย่อยจึงหายไป ในปัจจุบันคำว่า “กบฏ” จึงมักจะหมายถึงการ “กบฏต่อแผ่นดิน” ข้อสังเกตในกฎหมายของแคนาดาแยก “กบฏ” และ “กบฏต่อแผ่นดิน” เป็นสองกรณีแต่อันที่จริงแล้วในทั้งสองกรณีเป็นการกล่าวถึงการกบฏต่อแผ่นดินในประวัติศาสตร.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและกบฏต่อแผ่นดิน · ดูเพิ่มเติม »

กฤษฎีการะดมทหารอาสาสมัคร

กฤษฎีการะดมทหารอาสาสมัคร เป็นบทบัญญัติที่ได้รับอนุมัติจากรัฐสภายาวของอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1642 ซึ่งเป็นก้าวสำคัญที่นำไปสู่สงครามกลางเมืองอังกฤษ ระหว่างฝ่ายกษัตริย์นิยมและฝ่ายรัฐสภา ก่อนหน้านั้นพระมหากษัตริย์ทรงมีเอกสิทธิ์ในการแต่งตั้ง “ลอร์ดเลฟเทนแนนท์” (Lord Lieutenant) ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการเกณฑ์และดูแลทหารอาสาสมัครหรือที่เรียกกันว่า “trained bands” ทหารอาสาสมัครเหล่านี้เป็นทหารราบกลุ่มเดียวที่มีไว้ในยามสงบเพราะอังกฤษขณะนั้นไม่มีทหารประจำการ เมื่อความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์และรัฐสภาเลวลง การควบคุมกองทหารอาสาสมัครเหล่านี้จึงกลายมาเป็นข้อขัดแย้ง หลังจากที่พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ทรงพยายามจับกุมสมาชิกสภาสามัญในเดือนมกราคม ค.ศ. 1642 รัฐสภาก็ไม่ไว้วางใจพระองค์และพยายามยับยั้งการควบคุมกองทหารเพราะอาจจะทรงใช้ในการต่อต้านรัฐสภาเอง เมื่อวันที่ 5 มีนาคม ค.ศ. 1642 ฝ่ายต่อต้านพระมหากษัตริย์ที่เป็นเสียงข้างมากในสภาขุนนางก็ผ่านกฤษฎีกาแต่งตั้ง “เลฟเทนแนนท์” ของรัฐสภาแม้ว่าฝ่ายกษัตริย์นิยมจะประท้วง (5 มีนาคม ค.ศ. 1642) สภาสามัญชน อนุมัติกฤษฎีกาในวันเดียวกัน (5 มีนาคม ค.ศ. 1642) แต่ตามประเพณีอังกฤษกฤษฎีกาไม่สามารถบังคับใช้เป็นกฎหมายได้จนกว่าจะไดรับพระบรมราชานุมัติ (Royal assent) พระเจ้าชาร์ลส์ไม่ทรงยอมอนุมัติกฤษฎีกา เมื่อวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 1642 รัฐสภาก็ประกาศว่า “ประชาชนทั้งหลายต้องปฏิบัติตามกฤษฎีการะดมทหารอาสาสมัครแม้ว่ากฤษฎีกาจะยังไม่ได้รับพระบรมราชานุมัติ” (15 มีนาคม ค.ศ. 1642) นี่เป็นครั้งแรกที่รัฐสภาบังคับใช้กฎหมายโดยมิได้รับพระบรมราชานุมัติ ซึ่งเป็นการกระทำที่เป็นการประกาศอำนาจของรัฐสภาและทำให้การสงครามเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ “กฤษฎีการะดมทหารอาสาสมัคร” และ “พระราชกฤษฎีการะดมไพร่พล” ของพระเจ้าชาร์ลส์เป็นกฎหมายที่เป็นการพิสูจน์ความจงรักภักดีแต่มีผลในการใช้เพียงไม่มากเท่าใดนักในการรวบรวมกองทัพ กำลังทหารส่วนใหญ่ของกองทัพของฝ่ายรัฐสภาภายใต้การบังคับบัญชาของโรเบิร์ต เดเวอโรซ์ เอิร์ลแห่งเอสเซ็กซ์ที่ 3 มาจากกองทหารที่เกณฑ์มาจากอาสาสมัครระหว่างหน้าร้อนปี..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและกฤษฎีการะดมทหารอาสาสมัคร · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพตัวแบบใหม่

หน้าปก "กฎ, กฎหมาย และระเบียบการฝึก" ของกองทัพตัวแบบใหม่ กองทัพตัวแบบใหม่ (New Model Army) ก่อตั้งเมื่อปี..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและกองทัพตัวแบบใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

การฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษ

ระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ ผู้ฟื้นฟูราชวงศ์ขึ้นใหม่หลังจากสงครามกลางเมือง การฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษ หรือ ยุคฟื้นฟู (English Restoration หรือ The Restoration) เริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1660 เมื่อราชวงศ์อังกฤษ สก็อตแลนด์ และไอร์แลนด์ ได้ก่อตั้งขึ้นใหม่ภายใต้การปกครองของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 หลังจากช่วงสงครามกลางเมืองในปี ค.ศ. 1642 - ค.ศ. 1651.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและการฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

การยอมรับความต่างทางศาสนา

ทศกาลฮานาคาห์สัญลักษณ์ของศาสนายูดายที่อ๊อกซฟอร์ด การยอมรับความต่างทางศาสนา (Religious toleration) คือภาวะของการยอมรับหรือการอนุญาตความเชื่อหรือการปฏิบัติของศาสนาอื่นที่แตกต่างไปจาศาสนาของตนเอง ในประเทศที่มีศาสนาประจำชาติ “การยอมรับ” หมายความว่ารัฐบาลอนุญาตการปฏิบัติสักการะของศาสนาหรือความเชื่อที่แตกต่างไปจากศาสนาประจำชาติ และไม่เบียดเบียนผู้ถือศาสนาอื่นเหล่านั้น หลักการนี้เป็นหลักการฝักฝ่ายซึ่งอาจจะยังคงตามมาด้วยการเลือกปฏิบัติทางศาสนา (การยอมรับความต่างทางศาสนาเพียงแต่หมายถึงการละเว้นจากการเบียดเบียนผู้ถือปฏิบัติศาสนาที่ต่างออกไปจากศาสนาประจำชาติ ซึ่งแตกต่างจากเสรีภาพทางศาสนา ซึ่งถือว่าทุกศาสนามีความเท่าเทียมกัน) การยอมรับในบางสถานการณ์เป็น “เอกสิทธิ์” ที่มอบให้โดยรัฐบาล (ที่อาจจะออกมาเป็นกฎหมายหรือใบอนุญาต) ไม่ถือว่าเป็น สิทธิ รัฐบาลมักจะยอมรับศาสนาบางศาสนาเท่านั้น และไม่ยอมรับศาสนาบางศาสนาหรือลัทธิ การยอมรับความต่างทางศาสนาในรูปแบบของการปฏิบัติของรัฐบาลมิได้เกิดขึ้นอย่างชัดแจ้งมาจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 16 ฉะนั้นจึงเป็นการยากที่จะใช้ในการกล่าวถึงหัวข้อเช่นการไล่ทำร้ายและสังหารคริสเตียนในจักรวรรดิโรมันเป็นต้น ในประวัติศาสตร์การยอมรับความต่างทางศาสนาเป็นประเด็นที่มักจะสร้างข้อขัดแย้งภายในศาสนาเอง และ ระหว่างศาสนาต่างๆ ปัญหามิได้เพียงอยู่ที่การอนุญาตหรือไม่อนุญาตศาสนาที่ต่างออกไป แต่ผู้เป็นประมุขจะเป็นผู้ที่ยอมรับให้ผู้อยู่ในการปกครองนับถือที่ต่างออกไปได้ด้วย ในยุคกลางการยอมรับผู้ถือศาสนายูดายเป็นหัวข้อที่สร้างความขัดแย้งโดยทั่วไปในคริสต์ศาสนจักร ในปัจจุบันประเด็นสำคัญคือการยอมรับผู้ถือศาสนาคริสต์ในประเทศอิสลาม.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและการยอมรับความต่างทางศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

การยึดรัฐสภาของไพรด์

“การยึดรัฐสภาของไพรด์” เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ. 1648 การยึดรัฐสภาของไพรด์ (Pride's Purge) (6 ธันวาคม ค.ศ. 1648) เป็นเหตุการณ์การยึดสภาสามัญชนที่นำโดยทอมัส ไพรด์ (Thomas Pride) เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ. 1648 เพื่อเป็นการกำจัดสมาชิกสภาผู้ไม่สนับสนุนกองทัพตัวอย่างและอิสรภาพ ซึ่งถือกันว่าเป็นการปฏิวัติทางทหารที่เกิดขึ้นครั้งเดียวในประวัติศาสตร์อังกฤษ.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและการยึดรัฐสภาของไพรด์ · ดูเพิ่มเติม »

การล้อมเมืองโคลชิสเตอร์

การล้อมเมืองโคลชิสเตอร์ (Siege of Colchester) เป็นการล้อมเมืองที่เกิดขึ้นในสงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 2 ในฤดูร้อนระหว่างวันที่ 12 มิถุนายน ถึง 28 สิงหาคม ค.ศ. 1648 ที่เมืองโคลชิสเตอร์ในอังกฤษ ก่อนหน้าที่จะเกิดขึ้นสงครามกลางเมืองเริ่มคุกรุ่นขึ้นอีกในหลายบริเวณในบริเตน โคลชิสเตอร์อยู่ท่ามกลางความขัดแย้งเมื่อฝ่ายนิยมกษัตริย์ของพระเจ้าชาลส์ที่ 1 พยายามเดินทัพไปยังอีสต์แองเกลียเพื่อไปหนุนพระองค์ แต่ถูกกองทัพของลอร์ดแฟร์แฟกซ์ดักโจมตี ฝ่ายนิยมกษัตริย์เพลี่ยงพล้ำจนต้องถอยเข้าไปในเมืองโคลชิสเตอร์ เมื่อไม่ได้รับชัยชนะลอร์ดแฟร์แฟกซ์ก็ล้อมเมืองไว้ ฝ่ายนิยมกษัตริย์ตั้งมั่นอยู่ได้สิบเอ็ดอาทิตย์ก่อนที่จะยอมแพ้หลังจากการพ่ายแพ้ของยุทธการที่เพรสตันของฝ่ายเดียวกัน.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและการล้อมเมืองโคลชิสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

การสังหารหมู่

การสังหารหมู่ (mass murder) หมายถึง การทำให้คนตายเป็นหมู่ในเวลาเดียวกันหรือไล่เลี่ยกัน โดยอาจเป็นการกระทำของบุคคลหนึ่งหรือกลุ่มบุคคลก็ได้ และหมายความรวมถึง การที่หน่วยงานของรัฐประหารคนเป็นหมู่โดยเจตนาและโดยการเลือกปฏิบัติ เช่น การยิงใส่กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงที่ปราศจากอาวุธ การทิ้งระเบิดแบบปูพรมเพื่อถล่มเมืองให้ราบเป็นหน้ากลอง การโยนระเบิดมือเข้าไปยังเรือนจำ หรือการประหารพลเรือนแบบสุ่มตัว การสังหารหมู่ยังอาจเกิดขึ้นโดยการกระทำของบุคคลที่มีความประสงค์จะทำให้คนตายเพื่อปรนเปรออารมณ์หรือความเบิกบานแห่งตน การสังหารหมู่ครั้งใหญ่ตามที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ มักเป็นการกระทำเพื่อกวาดล้างกลุ่มชาติพันธุ์หรือกลุ่มศาสนา ความผิดฐานสังหารหมู่เรียก "พันธุฆาต" (genocide) และในธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศเรียก "อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ" (crimes against humanity).

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและการสังหารหมู่ · ดูเพิ่มเติม »

การสงครามกองโจร

การสงครามกองโจร (guerrilla warfare) เป็นการสงครามนอกแบบรูปแบบหนึ่ง ซึ่งพลรบกลุ่มเล็ก เช่น พลเรือนติดอาวุธและหน่วยทหารหน่วยเล็กๆที่ไว้วางใจได้ ใช้ยุทธวิธีทางทหาร เช่น การซุ่มโจมตี (ambush) การก่อวินาศกรรม (sabotage) การตีโฉบฉวย (raid) การจู่โจมแบบไม่ให้ตั้งตัว (surprise attack) และการเคลื่อนที่พิเศษเพื่อพิชิตกองทัพตามแบบที่ใหญ่กว่าและเคลื่อนที่ได้น้อยกว่า หรือโจมตีเป้าหมายที่อ่อนแอกว่า และถอนตัวในทันทีโดยที่ศัตรูไม่ทันได้ตั้งตัวและจะทำให้โดนกองทัพใหญ่ที่ตามมาข้างหลังถล่มได้ หมวดหมู่:การสงครามแบ่งตามประเภท.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและการสงครามกองโจร · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิวัติอันรุ่งโรจน์

การปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ (Glorious Revolution) ยังรู้จักกันในชื่อ การปฏิวัติปี..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษี

ษี (tax, มาจากภาษาละติน taxo, "ข้าประเมิน") เป็นเงินหรือสิ่งของอื่นที่รัฐหรือสถาบันปฏิบัติหน้าที่เทียบเท่ารัฐเรียกเก็บจากผู้เสียภาษี ซึ่งอาจเป็นปัจเจกบุคคลหรือนิติบุคคลก็ได้ กฎหมายมีบทลงโทษผู้ที่ไม่เสียภาษี ระบอบต่ำกว่ารัฐ (subnational entity) จำนวนมากยังมีการเรียกเก็บภาษีเช่นกัน ภาษีประกอบด้วยภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อม และอาจจ่ายเป็นรูปตัวเงินหรือการใช้แรงงานที่เทียบเท่า (มักเป็นการใช้แรงงานที่ไม่มีค่าตอบแทน แต่ไม่เสมอไป) ภาษีอาจนิยามได้ว่า "ภาระที่เป็นตัวเงินซึ่งตกแก่ปัจเจกบุคคลหรือเจ้าของทรัพย์สินเพื่อสนับสนุนรัฐบาล เป็นการชำระซึ่งเรียกเอาจากองค์การใช้อำนาจนิติบัญญัติ"Black's Law Dictionary, p. 1307 (5th ed. 1979).

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและภาษี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษีตันภาษีปอนด์

ษีตันภาษีปอนด์ (ภาษาอังกฤษ: Tonnage and Poundage) เป็นภาษีอากรที่เริ่มใช้ครั้งแรกในรัชสมัยของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 ซึ่งระบุเรียกเก็บสำหรับไวน์ทุกถัง (“tun”) ที่นำเข้าซึ่งส่วนใหญ่มาจากสเปนและ โปรตุเกส และสินค้าทุกปอนด์ที่นำออกและนำเข้า ตามธรรมเนียมแล้วภาษีตันภาษีปอนด์เป็นสิทธิที่รัฐสภาแห่งอังกฤษมอบให้พระมหากษัตริย์ชั่วพระชนม์ชีพจนกระทั่งมาถึงรัชสมัยของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ภาษีตันภาษีปอนด์ก็ถูกเปลี่ยนแปลงโดยรัฐสภาตามพระราชบัญญัติการยุบอากร(Customs Consolidation Act of 1787) ในปี..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและภาษีตันภาษีปอนด์ · ดูเพิ่มเติม »

มาร์มาดิวก์ แลงเดล

มาร์มาดิวก์ แลงเดล (Marmaduke Langdale; ค.ศ. 1598 - 5 สิงหาคม ค.ศ. 1661) เป็นผู้หนึ่งที่ปฏิเสธจ่ายภาษีเรือ แต่หลังจากได้รับประสบการณ์จากการเป็นทหารในยุโรป มาร์มาดิวก์ก็กลับมาสนับสนุนฝ่ายกษัตริย์นิยมและเข้าร่วมต่อสู้ในยุทธการที่เพรสตันในสงครามกลางสามอาณาจักร/สงครามกลางเมืองอังกฤษ เมื่อพ่ายแพ้ในยุทธการครั้งนั้น มาร์มาดิวก์ก็หลบหนีไปยุโรปเพื่อหลีกเลี่ยงการลงโทษอย่างไม่ปรานีของฝ่ายรั.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและมาร์มาดิวก์ แลงเดล · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่มาร์สตันมัวร์

ทธการที่มาร์สตันมัวร์ (Battle of Marston Moor) เป็นยุทธการในสงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1 ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1644 ที่เมืองใกล้ลองมาร์สตันทางตะวันตกของยอร์กในอังกฤษ เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของฝ่ายนิยมกษัตริย์ของพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ที่นำโดยเจ้าชายรูเพิร์ตแห่งไรน์และวิลเลียม คาเว็นดิช ดยุคแห่งนิวคาสเซิล-อัพพอน-ไทน์ที่ 1 และฝ่ายรัฐสภาและกลุ่มพันธสัญญาของสกอตแลนด์ที่นำโดยอเล็กซานเดอร์ เลสลี เอิร์ลที่ 1 แห่งลีเวน, เอดเวิร์ด มอนทากิว เอิร์ลที่ 2 แห่งแมนเชสเตอร์ และลอร์ดแฟร์แฟกซ์ ผลของสงครามครั้งนี้ฝ่ายรัฐสภาได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด ในด้านความเสียหายฝ่ายนิยมกษัตริย์มีผู้เสียชีวิต 4,000 คนและถูกจับ 1,500 คน ส่วนฝ่ายรัฐสภามีผู้เสียชีวิตราว 300 คน จากสงครามครั้งนี้โอลิเวอร์ ครอมเวลล์ได้รับชื่อเสียงว่าเป็นผู้บังคับบัญชากองทหารม้าผู้มีความสามารถ เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งกองทหารที่มีวินั.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและยุทธการที่มาร์สตันมัวร์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่ราวนด์เวย์ดาวน์

ทธการราวนด์เวย์ดาวน์ (Battle of Roundway Down) เป็นยุทธการในสงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1 ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม ค.ศ. 1643 ที่เมืองดิไวซ์สในมณฑลวิลท์เชอร์ในอังกฤษ เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของฝ่ายนิยมกษัตริย์ของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ที่นำโดยราล์ฟ ฮอพตัน บารอนฮอพตันที่ 1 และเฮนรี วิลม็อท เอิร์ลแห่งโรเชสเตอร์ที่ 1และฝ่ายรัฐสภาที่นำโดยเซอร์วิลเลียม วอลเลอร์ และอาร์เธอร์ เฮเซลริก บารอนเน็ตที่ 2 ผลของสงครามครั้งนี้ฝ่ายนิยมกษัตริย์ได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด ในด้านความเสียหายฝ่ายนิยมกษัตริย์ไม่เป็นที่ทราบจำนวน ส่วนฝ่ายรัฐสภามีผู้เสียชีวิต 600 คนและถูกจับเป็นเชลยอีก 1,000 คน.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและยุทธการที่ราวนด์เวย์ดาวน์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่วินซ์บี

ทธการที่วินซ์บี (Battle of Winceby) เป็นยุทธการในสงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1 ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม ค.ศ. 1643 ที่หมู่บ้านวินซ์บีในเทศมณฑลลิงคอล์นเชอร์ในอังกฤษ เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของฝ่ายนิยมกษัตริย์ของพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ที่นำโดยวิลเลียม วิดดริงตัน บารอนวิดดริงตันที่ 1 กับฝ่ายรัฐสภาที่นำโดยเอดเวิร์ด มอนทากิว เอิร์ลที่ 2 แห่งแมนเชสเตอร์และโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ ผลของสงครามครั้งนี้ฝ่ายรัฐสภาได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด ในด้านความเสียหายฝ่ายนิยมกษัตริย์มีผู้เสียชีวิตราว 200-300 คนในสนามรบและถูกจับอีก 800 คนส่วนฝ่ายรัฐสภามีผู้เสียชีวิตราว 20 คน.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและยุทธการที่วินซ์บี · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่วุร์สเตอร์

ทธการที่วุร์สเตอร์ (Battle of Worcester) เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 ที่วุร์สเตอร์ในอังกฤษและเป็นยุทธการสุดท้ายของสงครามกลางเมืองอังกฤษ ที่ฝ่ายรัฐสภาที่นำโดยโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ได้รับชัยชนะต่อฝ่ายนิยมกษัตริย์ (Royalist) ที่นำโดยพระเจ้าชาลส์ที่ 2 โดยทั่วไปเป็นกองกำลังสกอตแลนด์ กองกำลังเพียง 16,000 คนของกองกำลังฝ่ายนิยมกษัตริย์ไม่สามารถต่อสู้กับกองกำลังที่มีจำนวนเหนือกว่ามาก 28,000 คนของ "กองทัพตัวแบบใหม่" (New Model Army) ของครอมเวลล์ได้จนในที่สุดก็จำต้องพ่ายแพ้.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและยุทธการที่วุร์สเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่สะพานโพวิก

ทธการที่สะพานโพวิก (Battle of Powick Bridge) เป็นยุทธการในสงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1 ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 23 กันยายน ค.ศ. 1642 ที่เมืองวุร์สเตอร์ในเทศมณฑลวุร์สเตอร์เชอร์ในอังกฤษ เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของฝ่ายนิยมกษัตริย์ที่นำโดยเจ้าชายรูเพิร์ตแห่งไรน์ กับฝ่ายรัฐสภาที่นำโดยนายพันนาแทเนียล ไฟนส์ ผลของสงครามครั้งนี้ฝ่ายนิยมกษัตริย์ได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด ความเสียหายของฝ่ายนิยมกษัตริย์มีผู้เสียชีวิตที่เป็นจำนวนเพียงเล็กน้อย ส่วนฝ่ายรัฐสภามีผู้เสียชีวิต 40 คนและบาดเจ็บอีก 100 คน.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและยุทธการที่สะพานโพวิก · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่ฮอปตันฮีท

ทธการที่ฮอปตันฮีท (Battle of Hopton Heath) เป็นยุทธการในสงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1 ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 19 มีนาคม ค.ศ. 1643 ที่เมืองฮอปตันฮีทในเทศมณฑลสแตฟฟอร์ดเชอร์ในอังกฤษ เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของฝ่ายนิยมกษัตริย์ของพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ที่นำโดยสเปนเซอร์ คอมป์ตัน เอิร์ลที่ 2 แห่งนอร์แทมป์ตัน กับฝ่ายรัฐสภาที่นำโดยเซอร์จอห์น เกลล์ บารอนเน็ตที่ 1 และเซอร์วิลเลียม เบเรตัน บารอนเน็ตที่ 1 ผลของสงครามครั้งนี้ฝ่ายนิยมกษัตริย์ได้รับชัยชน.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและยุทธการที่ฮอปตันฮีท · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่ดันบาร์ (ค.ศ. 1650)

ทธการที่ดันบาร์ (ค.ศ. 1650) (Battle of Dunbar (1650)) เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1650 ที่ดันบาร์ในสกอตแลนด์และเป็นยุทธการในสงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 3 ที่ฝ่ายรัฐสภาที่นำโดยโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ได้รับชัยชนะต่อกองทัพสกอตแลนด์ที่นำโดยเดวิด เลสลี ลอร์ดนิวอาร์ก (David Leslie, Lord Newark) ที่มีความจงรักภักดีต่อพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ ผู้ได้รับการสถาปนาให้เป็นพระมหากษัตริย์ของสกอตแลนด์เมื่อวันที่5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1649.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและยุทธการที่ดันบาร์ (ค.ศ. 1650) · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่นิวบรีครั้งที่ 1

ทธการที่นิวบรีครั้งที่ 1 (First Battle of Newbury) เป็นยุทธการในสงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1 ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 1643 ที่นิวบรีในอังกฤษ เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของฝ่ายนิยมกษัตริย์ของพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ที่นำโดยเจ้าชายรูเพิร์ตแห่งไรน์และเจคอบ แอสต์ลีย์ บารอนแอสต์ลีย์ที่ 1 แห่งเรดิง และฝ่ายรัฐสภาที่นำโดยรอเบิร์ต เดเวอรู เอิร์ลที่ 3 แห่งเอสเซกซ์ ผลของสงครามครั้งนี้ไม่มีฝ่ายใดแพ้ไม่มีฝ่ายใดชนะ ในด้านความเสียหายมีผู้เสียชีวิตรวมกันทั้งสองฝ่ายประมาณ 3,500 คน.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและยุทธการที่นิวบรีครั้งที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่นิวบรีครั้งที่ 2

ทธการที่นิวบรีครั้งที่ 2 (Second Battle of Newbury) เป็นยุทธการในสงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1 ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม ค.ศ. 1644 ที่เมืองนิวบรีในเทศมณฑลบาร์กเชอร์ในอังกฤษ ที่เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของฝ่ายนิยมกษัตริย์ของพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ที่นำโดยเจ้าชายมอริซแห่งพาลาทิเนต กับฝ่ายรัฐสภาที่นำโดยรอเบิร์ต เดเวอรู เอิร์ลที่ 3 แห่งเอสเซกซ์, เซอร์วิลเลียม วอลเลอร์ และเอดเวิร์ด มอนทากิว เอิร์ลที่ 2 แห่งแมนเชสเตอร์ ผลของสงครามครั้งนี้ฝ่ายรัฐสภาได้รับชัยชนะทางยุทธการ ในด้านความเสียหายฝ่ายนิยมกษัตริย์มีผู้เสียชีวิต 1,500 คน ส่วนฝ่ายรัฐสภามีผู้เสียชีวิต 2,000 คน.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและยุทธการที่นิวบรีครั้งที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่แลงพอร์ต

ทธการที่แลงพอร์ต (Battle of Langport) เป็นยุทธการในสงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1 ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1645 ที่เมืองแลงพอร์ต ใกล้เมืองโยวิลในเทศมณฑลซัมเมอร์เซตของอังกฤษ เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของฝ่ายนิยมกษัตริย์ของพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ที่นำโดยจอร์จ กอริง ลอร์ดกอริง กับฝ่ายรัฐสภาที่นำโดยทอมัส แฟร์แฟกซ์ ลอร์ดแฟร์แฟกซ์ที่ 3 แห่งแคเมอรอน ผลของสงครามครั้งนี้ฝ่ายรัฐสภาได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด ความเสียหายของการเสียชีวิตและบาดเจ็บของทั้งสองฝ่ายไม่เป็นที่ทร.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและยุทธการที่แลงพอร์ต · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่แลนส์ดาวน์

ทธการที่แลนส์ดาวน์ (Battle of Lansdowne) เป็นยุทธการในสงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1 ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม ค.ศ. 1643 ที่เนินแลนส์ดาวน์ ไม่ไกลจากเมืองบาธในเทศมณฑลซัมเมอร์เซตในอังกฤษ เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของฝ่ายนิยมกษัตริย์ของพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ที่นำโดยเซอร์แรล์ฟ ฮอปตัน บารอนฮอปตันที่ 1 และฝ่ายรัฐสภาที่นำโดยเซอร์วิลเลียม วอลเลอร์ ผลของสงครามครั้งนี้ฝ่ายนิยมกษัตริย์ได้รับชัยชนะ ฝ่ายนิยมกษัตริย์มีผู้เสียชีวิต 200-300 คนและบาดเจ็บ 600-700 คน ส่วนฝ่ายรัฐสภามีผู้เสียชีวิต 20 คนและบาดเจ็บ 60 คน แม้ว่าฝ่ายนิยมกษัตริย์จะได้รับชัยชนะแต่ก็เสียผู้คนไปเป็นจำนวนมากและทิ้งให้กองทัพอยู่ในสภาพที่ระส่ำระสายและตัวเซอร์ฮอพตันเองก็ได้รับบาดเจ็บจนตาบอดอยู่ชั่วระยะหนึ่งเมื่อรถขนอาวุธระเบิดขึ้น.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและยุทธการที่แลนส์ดาวน์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่แอดวอลตันมัวร์

ทธการที่แอดวอลตันมัวร์ (Battle of Adwalton Moor) เป็นยุทธการในสงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1 ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 1643 ที่หมู่บ้านแอดวอลตันในเทศมณฑลเวสต์ยอร์กเชอร์ของอังกฤษ เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของฝ่ายนิยมกษัตริย์ของพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ที่นำโดยวิลเลียม คาเว็นดิช ดยุคแห่งนิวคาสเซิล-อัพพอน-ไทน์ที่ 1 กับฝ่ายรัฐสภาที่นำโดยเฟอร์ดิแนนโด แฟร์แฟกซ์ ลอร์ดแฟร์แฟกซ์ที่ 2 แห่งแคเมอรอน ผลของสงครามครั้งนี้ฝ่ายนิยมกษัตริย์ได้รับชัยชน.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและยุทธการที่แอดวอลตันมัวร์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่เพรสตัน

ทธการที่เพรสตัน (ค.ศ. 1648) (Battle of Preston (1648)) เป็นยุทธการในสงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 2 ที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 17 สิงหาคม ถึงวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1648 ที่เมืองเพรสตัน ทางเหนือของวอร์ริงตัน เทศมณฑลแลงคาสเชอร์ในอังกฤษ เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของฝ่ายนิยมกษัตริย์ของพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ที่นำโดยเจมส์ แฮมมิลตัน ดยุคแห่งแฮมมิลตันที่ 1, เจมส์ ลิฟวิงสตัน เอิร์ลที่ 1 แห่งแคลลินดาร์, มาร์มาดิวก์ แลงเดล, วิลเลียม เบลลี, จอร์จ มันโร นิวมอร์ที่ 1 และจอห์น มิดเดิลตัน เอิร์ลที่ 1 แห่งมิดเดิลตัน กับฝ่ายรัฐสภาที่นำโดยโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ และนายพลจอห์น แลมเบิร์ต ผลของสงครามครั้งนี้ฝ่ายรัฐสภาเป็นฝ่ายที่ได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด ความเสียหายของฝ่ายนิยมกษัตริย์มีผู้เสียชีวิต 4,000 คนและถูกจับอีก 5,000 คน ส่วนการเสียชีวิตของฝ่ายรัฐสภามีเพียงจำนวนน้อ.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและยุทธการที่เพรสตัน · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่เกนส์บะระ

ทธการที่เกนส์บะระ (Battle of Gainsborough) เป็นยุทธการในสงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1 ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1643 - 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1643 ที่เมืองเกนส์บะระ ลิงคอล์นเชอร์ในอังกฤษ เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของฝ่ายนิยมกษัตริย์ของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ที่นำโดยเอิร์ลแห่งคิงส์ตันและวิลเลียม คาเว็นดิช ดยุคแห่งนิวคาสเซิล-อัพพอน-ไทน์ที่ 1 และฝ่ายรัฐสภาที่นำโดยฟรานซิส วิลละบี บารอนวิลละบีที่ 5 แห่งแพรัม, จอห์น เมลดรัมและโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ ผลของสงครามครั้งนี้ฝ่ายนิยมกษัตริย์ได้รับชัยชนะ ในด้านความเสียหายของทั้งสองฝ่ายไม่เป็นที่ทราบ เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1643 ฟรานซิส วิลละบี บารอนวิลละบีที่ 5 แห่งแพรัม เข้ายึดเมืองเกนส์บะระในลิงคอล์นเชอร์ให้แก่ฝ่ายรัฐสภาจากเอิร์ลแห่งคิงสตันในการจู่โจมกลางคืน เอิร์ลแห่งคิงสตันมาเสียชีวิตขณะที่ถูกจับเป็นนักโทษโดยปืนใหญ่จากฝ่ายเดียวกัน เกนส์บะระเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญสำหรับการติดต่อกับทางใต้ฉะนั้นวิลเลียม คาเว็นดิช ดยุคแห่งนิวคาสเซิล-อัพพอน-ไทน์ที่ 1 จึงส่งเซอร์ชาร์ลส์ คาเว็นดิช ไปพยายามยึดคืน ทางฝ่ายรัฐสภาจึงส่งเซอร์จอห์น เมลดรัม (John Meldrum) ขึ้นไปช่วยเสริมกำลังของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ ฝ่ายนิยมกษัตริย์พยายามยึดเมืองคืนเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1643จากทางตะวันออกเฉียงใต้และยึดฟอกซ์บีฮิลล์เป็นที่มั่น แต่แม้ว่าจะเป็นเนินที่ชันและเป็นทรายกองทัพฝ่ายนิยมกษัตริย์ก็ถูกต้อนลงไปในบริเวณที่ราบและเป็นหนองของแม่น้ำเทรนต์โดยกองทหารม้า "Ironsides" ของครอมเวลล์ คาเว็นดิชถูกสังหารพร้อมกับทหารอีกราว 300 คน แม้ว่าฝ่ายรัฐสภาจะได้รับชัยชนะในช่วงแรก แต่เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1643 กองทัพของฝ่ายนิยมกษัตริย์จากนิวคาสเซิลก็มาถึงแกรนทัมและได้รับชัยชนะและยึดเมืองคืนจากฝ่ายรัฐสภา ฝ่ายรัฐสภาจึงถูกขับออกจากลิงคอล์นเชอร.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและยุทธการที่เกนส์บะระ · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่เมดสตัน

ทธการที่เมดสตัน (Battle of Maidstone) เป็นยุทธการในสงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 2 ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 1648 ที่เมืองเมดสตันในเทศมณฑลเคนต์ในอังกฤษ เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของฝ่ายนิยมกษัตริย์ของพระเจ้าชาลส์ที่ 1 กับกองทัพตัวแบบใหม่ของฝ่ายรัฐสภาที่นำโดยลอร์ดแฟร์แฟกซ์ ผลของสงครามครั้งนี้ฝ่ายรัฐสภาได้รับชัยชนะ ในปี ค.ศ. 1648 ฝ่ายนิยมกษัตริย์ในเทศมณฑลเคนต์แข็งข้อและยึดเกรฟเซนด์และเมดสตัน ลอร์ดแฟร์แฟกซ์จึงนำทัพมายังเมดสตันและยึดเมืองคืน ฝ่ายนิยมกษัตริย์เข้าโจมตีกองทัพของฝ่ายรัฐสภาเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 1648 แต่ได้รับความพ่ายแพ้และมีผู้เสียชีวิตทางฝ่ายนิยมกษัตริย์กว่า 800 คน ชัยชนะของฝ่ายรัฐสภาทำให้การแข็งข้อยุติลง.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและยุทธการที่เมดสตัน · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่เอดจ์ฮิลล์

ทธการที่เอดจ์ฮิลล์ (Battle of Edgehill) เป็นยุทธการในสงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1 ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 1642 ที่เมืองเอดจ์ฮิลล์ในเทศมณฑลวอริกเชอร์ในอังกฤษ เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของฝ่ายนิยมกษัตริย์ของพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ที่นำโดยเจ้าชายรูเพิร์ตแห่งไรน์ กับฝ่ายรัฐสภาที่นำโดยรอเบิร์ต เดเวอรู เอิร์ลที่ 3 แห่งเอสเซกซ์ ผลของสงครามครั้งนี้ไม่มีฝ่ายใดแพ้ไม่มีฝ่ายใดชนะ ฝ่ายนิยมกษัตริย์เสียชีวิต 500 คนและบาดเจ็บ 1,500 คนส่วนฝ่ายรัฐสภาเสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนเท่ากัน.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและยุทธการที่เอดจ์ฮิลล์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่เทอร์นัมกรีน

ทธการที่เทอร์นัมกรีน (Battle of Turnham Green) เป็นยุทธการในสงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1 ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1642 ที่หมู่บ้านเทอร์นัมกรีนในเทศมณฑลมิดเดิลเซกซ์ในอังกฤษ เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของฝ่ายนิยมกษัตริย์ที่นำโดยพระเจ้าชาลส์ที่ 1 กับฝ่ายรัฐสภาที่นำโดยเอิร์ลแห่งเอสเซกซ์และฟิลิป สกิปพอน ผลของสงครามครั้งนี้ฝ่ายรัฐสภาได้รับชัยชนะทางยุทธศาสตร์ ความเสียหายของฝ่ายนิยมกษัตริย์และฝ่ายรัฐสภามีเป็นจำนวนน้อยมาก ในการต่อสู้ครั้งนี้เป็นผลให้ทั้งสองฝ่ายต่างก็ยึดที่มั่นของตนเองแต่ฝ่ายรัฐสภาประสบความสำเร็จในการหยุดยั้งกองทัพฝ่ายนิยมกษัตริย์ในการพยายามเดินทัพไปยังกรุงลอนดอนซึ่งถือว่าเป็นชัยชนะทางยุทธศาสตร์ เพราะการตั้งมั่นเป็นการบังคับให้พระเจ้าชาลส์และกองทัพของพระองค์ต้องถอยไปตั้งหลักระหว่างฤดูหนาวที่อ๊อกซฟอร์ด หลังจากยุทธการที่เอดจ์ฮิลล์ในวันที่ 23 ตุลาคมแล้วพระเจ้าชาลส์ก็ทรงยึดแบนบรีเมื่อวันที่ 27 ตุลาคมและทรงได้รับการต้อนรับจากประชาชนเมื่อเสด็จไปถึงอ๊อกซฟอร์ดเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พระนัดดาของพระองค์เจ้าชายรูเพิร์ตแห่งไรน์ผู้เป็นแม่ทัพกองทหารม้าก็ลงมาจากลุ่มน้ำเทมส์ ยึดแอบิงดัน, เอลส์บรี และเมเดนเฮดที่ทรงใช้เป็นที่ตั้งในความพยายามที่จะยึดวินด์เซอร์แต่ไม่ประสบความสำเร็จเพราะมีกำลังด้อยกว่าฝ่ายรัฐสภา หลังจากการต่อสู้ครั้งนี้แล้วนายทหารหลายคนก็มีความต้องการจะเจรจาสงบศึกกับฝ่ายรัฐสภาแต่เจ้าชายรูเพิร์ตไม่ทรงเห็นด้วยและทีงมีพระประสงค์ที่จะเดินทัพต่อไปลอนดอน แต่พระเจ้าชาลส์ทรงเห็นด้วยกับกลุ่มนายทหาร ซึ่งทำให้เป็นโอกาสที่รอเบิร์ต เดเวอรู เอิร์ลที่ 3 แห่งเอสเซกซ์ แม่ทัพฝ่ายรัฐสภาฉวยโอกาสแซงและนำทัพกลับไปถึงลอนดอนเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ยุทธการครั้งนี้เป็นยุทธการใหญ่ครั้งแรกของพระเจ้าชาล.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและยุทธการที่เทอร์นัมกรีน · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่เซนต์แฟกันส์

ทธการที่เซนต์แฟกันส์ (Battle of St Fagans) เป็นยุทธการในสงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 2 ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1648 ที่เซนต์แฟกันส์ในเวลส์ เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพที่เดิมเป็นฝ่ายรัฐสภาแต่ไม่รับค่าจ้างเป็นเวลานานและด้วยความหวาดกลัวว่าจะถูกปลด จึงได้ก่อการปฏิวัติภายใต้การนำของนายพันจอห์น พอยเยอร์, นายพลโรว์แลนด์ ลาน และนายพันไรซ์ พาวเวลล์ ต่อฝ่ายรัฐสภาที่นำโดยนายพันทอมัส ฮอร์ตัน ผลของสงครามครั้งนี้ฝ่ายรัฐสภาได้รับชัยชนะ ในด้านความเสียหายฝ่ายนิยมกษัตริย์มีผู้เสียชีวิต 200 คนและถูกจับอีก 3,000 คน ส่วนฝ่ายรัฐสภาไม่ทราบจำนวน.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและยุทธการที่เซนต์แฟกันส์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่เนสบี

ทธการที่เนสบี (Battle of Naseby) ยุทธการที่เนสบีเป็นยุทธการในสงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1 ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ. 1645 ที่หมู่บ้านเนสบีในเทศมณฑลนอร์แทมป์ตันเชอร์ในอังกฤษ โดยกองทัพของฝ่ายนิยมกษัตริย์ของพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ที่นำโดยเจ้าชายรูเพิร์ตแห่งไรน์ พ่ายแพ้ต่อฝ่ายรัฐสภาที่นำโดยทอมัส แฟร์แฟกซ์ ลอร์ดแฟร์แฟกซ์ที่ 3 แห่งแคเมอรอน และโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ ฝ่ายนิยมกษัตริย์เสียชีวิตด้วยกันทั้งสิ้น 1,000 คนและถูกจับเป็นเชลยอีก 5,000 คน ส่วนฝ่ายฝ่ายรัฐสภาเสียชีวิตและบาดเจ็บ 400 คน.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและยุทธการที่เนสบี · ดูเพิ่มเติม »

ยุครัฐในอารักขา

รัฐในอารักขา (Protectorate) เป็นช่วงสมัยหนึ่งในประวัติศาสตร์เครือจักรภพอังกฤษซึ่งดินแดนอังกฤษและเวลส์, ไอร์แลนด์, และสกอตแลนด์ มีสถานะเป็นสาธารณรัฐ และมีผู้ปกครองเรียกว่า "เจ้าผู้อารักขา" (Lord Protector) เริ่มขึ้นใน..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและยุครัฐในอารักขา · ดูเพิ่มเติม »

รอเบิร์ต เดเวอรู เอิร์ลที่ 3 แห่งเอสเซกซ์

รอเบิร์ต เดเวอรู เอิร์ลที่ 3 แห่งเอสเซกซ์ (Robert Devereux, 3rd Earl of Essex; 11 มกราคม ค.ศ. 1591 - 14 กันยายน ค.ศ. 1646) เป็นแม่ทัพของฝ่ายรัฐสภาที่มีบทบาทในการต่อสู้ในสงครามกลางเมืองอังกฤษ เมื่อสงครามกลางเมืองอังกฤษเริ่มในปี ค.ศ. 1642 รอเบิร์ต เดเวอรูก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพและผู้บังคับบัญชาทหารสูงสุดของกองทัพฝ่ายรัฐสภาหรือที่เรียกว่ากลุ่มหัวเกรียนคนแรก แต่เดเวอรูไม่สามารถและไม่เต็มใจที่จะเอาชนะอย่างเด็ดขาดต่อกองทัพของฝ่ายกษัตริย์นิยมของพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ต่อมาเดเวอรูก็ถูกข่มรัศมีโดยโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ และในที่สุดก็ลาออกในปี ค.ศ. 1646.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและรอเบิร์ต เดเวอรู เอิร์ลที่ 3 แห่งเอสเซกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ระบอบเผด็จการ

ระบอบเผด็จการ (Dictatorship) หมายถึง รูปแบบการปกครองแบบอัตตาธิปไตย ซึ่งรัฐบาลอยู่ภายใต้การบริหารของบุคคลเพียงคนเดียว หรือ ผู้เผด็จการ โดยไม่มีการสืบทอดตำแหน่งตามสายเลือด คำว่า เผด็จการ อาจมีได้หลายความหมายเช่น.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและระบอบเผด็จการ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐสภาชุมนุม

รัฐสภาชุมนุม (Convention Parliament) เป็นรัฐสภาในประวัติศาสตร์อังกฤษซึ่งชุมนุมกันโดยไม่มีการเรียกประชุมอย่างเป็นทางการจากพระมหากษัตริย์ เพราะพระองค์ยังไม่มีพระราชอำนาจบริบูรณ์ หมวดหมู่:รัฐสภาอังกฤษ หมวดหมู่:หน่วยการบริหารของประเทศอังกฤษ.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและรัฐสภาชุมนุม · ดูเพิ่มเติม »

รัฐสภายาว

การประชุมของรัฐสภายาว รัฐสภายาว (ภาษาอังกฤษ: Long Parliament) เป็นชื่อของรัฐสภาแห่งอังกฤษสมัยหนึ่งที่ถูกเรียกโดยสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1640 หลังจากที่สงครามบาทหลวง (Bishops' Wars) สิ้นสุดลง นามของสภาที่ได้รับเป็นเพราะเป็นสมัยประชุมที่ได้รับอนุมัติจากพระราชบัญญัติพิเศษเพื่อเป็นการป้องกันจากการยุบโดยมิได้รับมติเห็นชอบจากสมาชิกของรัฐสภาเอง สมาชิกของรัฐสภาก็มิได้ยุบสภานี้จนกระทั่งหลังจากสงครามกลางเมืองอังกฤษ และหลังจากสมัยไร้กษัตริย์ ในปี ค.ศ. 1660 16 March 1660 รัฐสภาเริ่มเปิดประชุมครั้งแรกในปี ค.ศ. 1640 แต่มาหยุดชะงักลงชั่วคราวในปี ค.ศ. 1649 เมื่อผู้สนับสนุน “กองทัพตัวอย่าง” ลาออก รัฐสภาหลังจากการหยุดชะงักก็กลายเป็น “รัฐสภารัมพ์” (Rump Parliament) ระหว่างสมัยการปกครองของรัฐบาลผู้พิทักษ์อังกฤษ (The Protectorate) รัฐสภารัมพ์ก็ถูกแทนด้วยการประชุมรัฐสภาอื่นๆ แต่ก็ถูกเรียกกลับมาหลังจากที่โอลิเวอร์ ครอมเวลล์เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1658 โดยฝ่ายทหารเพื่อช่วยพยุงฐานะของการทหาร เมื่อไม่สำเร็จ นายพลจอร์จ มองค์ (George Monck, 1st Duke of Albemarle) ก็อนุญาตให้ผู้ที่ถูกกีดกันจากรัฐสภาในปี ค.ศ. 1649 กลับมาเข้าร่วมประชุมได้อีก เพื่อที่จะทำให้สามารถผ่านกฎหมายที่จำเป็นในการฟื้นฟูราชวงศ์และยุบรัฐสภายาวเอง ซึ่งเป็นการปูทางสำหรับรัฐสภาที่จะได้รับเลือกตั้งใหม่ที่เรียกว่า “รัฐสภาคอนเว็นท์ชั่น” (Convention Parliament).

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและรัฐสภายาว · ดูเพิ่มเติม »

รัฐสภารัมป์

รัฐสภารัมป์ (ภาษาอังกฤษ: Rump Parliament) เป็นชื่อของรัฐสภาแห่งอังกฤษรัฐสภาหนึ่งที่เกิดจากการยึดรัฐสภายาวโดยนายพันทอมัส ไพรด์ (Thomas Pride) เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ. 1648 ซึ่งเป็นรัฐสภาที่ประกอบด้วยสมาชิกที่มีเสียงข้างมากในการเป็นปฏิปักษ์ต่อการพิจารณาโทษของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษในข้อหากบฏต่อแผ่นดิน “รัมป์” ตามปกติหมายถึงส่วนบั้นท้ายของสัตว์ แต่บันทึกของการใช้ในความหมายนี้หมายถึง “เศษ” ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและรัฐสภารัมป์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐสภาสั้น

รัฐสภาสั้น (Short Parliament; 13 เมษายน ค.ศ. 1640 – 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1640) เป็นชื่อของรัฐสภาแห่งอังกฤษรัฐสภาหนึ่งของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ ที่มีอายุเพียงสามอาทิตย์ หลังจากที่พระเจ้าชาร์ลส์ทรงปกครองอังกฤษภายใต้สมัยการปกครองส่วนพระองค์ (Personal Rule) อยู่สิบเอ็ดปี พระองค์ก็เรียกประชุมรัฐสภาในปี ค.ศ. 1640 โดยการถวายคำแนะนำโดยทอมัส เวนท์เวิร์ธ เอิร์ลแห่งสตราฟฟอร์ดที่ 1 พระเจ้าชาร์ลส์ทรงถูกบังคับให้เรียกประชุมรัฐสภาเพื่อที่จะหาทุนในการสนับสนุนสงครามบาทหลวง (Bishops' Wars) ต่อสกอตแลนด์ แต่ก็เช่นเดียวกับรัฐสภาชุดก่อนหน้านั้นที่มีความสนใจในเสนอข้อเรียกร้องต่างๆ ที่เกี่ยวกับวิธีการปกครองของพระเจ้าชาร์ลส์อันไม่ยุติธรรมแทนที่จะสนใจกับการอนุมัติเงินในการทำสงคราม จอห์น พิม (John Pym) สมาชิกรัฐสภาจากทาวิสสต็อคกลายเป็นผู้นำในการเรียกร้องและกล่าวสุนทรพจน์อย่างยืดยาวเมื่อวันที่ 17 เมษายนที่มีใจความว่านอกจากว่าพระเจ้าชาร์ลส์จะทรงยอมรับฟังข้อเรียกร้องต่างๆ สภาสามัญชนก็จะไม่ยอมออกเสียงสนับสนุนทุนการสงครามของพระองค์ ส่วนจอห์น แฮมพ์เด็น (John Hampden) พยายามชักชวนเป็นการภายในและเป็นสมาชิกของคณะกรรมการต่างๆ เก้าคณะกรรมการ พระเจ้าชาร์ลส์ทรงพยายามต่อรองโดยทรงเสนอว่าจะหยุดเก็บภาษีเรือ แต่ก็ยังไม่เป็นที่พอใจของรัฐสภา ขณะเดียวกันคำร้องต่างๆ ของการใช้อำนาจในทางที่ผิดก็หลั่งไหลเข้ามาจากทั่วประเทศ เมื่อทรงหมดความอดทนกับการกลับมาโต้แย้งของรัฐสภาที่ทิ้งไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1629 และการบิดเบือนสถานการณ์ที่เลวลงในสกอตแลนด์ พระเจ้าชาร์ลส์ก็ตัดสินพระทัยยุบรัฐสภาเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1640 หลังจากที่ประชุมกันได้เพียงสามอาทิตย์ “รัฐสภาสั้น” ตามมาด้วย “รัฐสภายาว”.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและรัฐสภาสั้น · ดูเพิ่มเติม »

รัฐสภาอังกฤษ

รัฐสภาอังกฤษและพระมหากษัตริย์ ราว ค.ศ. 1300 รัฐสภาอังกฤษ (Parliament of England) เป็นสถาบันฝ่ายนิติบัญญัติสูงสุดในราชอาณาจักรอังกฤษ รัฐสภาอังกฤษวิวัฒนาการมาจากสภาของต้นยุคกลางซึ่งมีหน้าที่ให้คำปรึกษาต่อพระมหากษัตริย์อังกฤษ การวิวัฒนาการทำให้อำนาจของรัฐสภาเพิ่มมากขึ้นในขณะที่อำนาจของพระมหากษัตริย์ลดน้อยลง เมื่อรัฐสภาอังกฤษและรัฐสภาแห่งสกอตแลนด์ลงนามในพระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1707 ซึ่งรวมราชอาณาจักรอังกฤษและราชอาณาจักรสกอตแลนด์เข้าด้วยกัน รัฐสภาอังกฤษและรัฐสภาแห่งสกอตแลนด์ก็ถูกยุบ รัฐสภาใหม่กลายเป็นรัฐสภาแห่งบริเตนใหญ่ และในที่สุดก็เป็นรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักรซึ่งเป็นรากฐานของระบบรัฐสภาของอังกฤษในปัจจุบัน ซึ่งทำให้ระบบรัฐสภาของสหราชอาณาจักรเป็นระบบรัฐสภาที่เก่าแก่ที่สุดในโลกจนได้รับสมญานามว่า “แม่แห่งรัฐสภา” ซึ่งเป็นระบบประชาธิปไตยที่เป็นรากฐานของมาตรฐานในการก่อตั้งระบบรัฐสภาทั่วโลก.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและรัฐสภาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์สจวต

ตราประจำพระองค์สมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ กษัตริย์พระองค์แรกของราชวงศ์สจวต ราชวงศ์สจวต อังกฤษ: House of Stuart หรือ Stewart) เป็นราชวงศ์ที่ปกครองราชอาณาจักรสกอตแลนด์ ซึ่งภายหลังได้ปกครองราชอาณาจักรอังกฤษ และได้ปกครองราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งสกอตแลนด์ได้ทรงรับเอาการสะกดชื่อพระราชวงศ์ว่า Stuart มาจากภาษาฝรั่งเศส ในขณะที่ในฝรั่งเศสยืนยันว่าในภาษาสกอต Stewart นั้นออกเสียงได้ถูกต้องแล้ว ชื่อราชวงศ์มาจากพระอิสสริยยศโบราณของสกอตแลนด์ สจวตสูงแห่งสกอตแลนด์ (High Steward of Scotland) ราชวงศ์สจวตปกครองราชอาณาจักรสกอตแลนด์เป็นเวลานาน 336 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 1914 ถึงปี พ.ศ. 2250 องค์รัชทายาทที่ใกล้ชิดกับสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งราชอาณาจักรอังกฤษคือสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษโดยผ่านทางสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์ทิวดอร์ เจมส์ สจวตสืบทอดราชบัลลังก์ทั้งราชอาณาจักรอังกฤษและราชอาณาจักรไอร์แลนด์ พระองค์ทรงครองราชบัลลังก์ของทั้ง 3 ชาติ (Home Nations) (และยังสืบทอดการอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ฝรั่งเศสของกษัตริย์อังกฤษด้วย) ในระหว่างปี พ.ศ. 2146 ถึง พ.ศ. 2250 ในระยะหลังราชวงศ์สจวตได้สถาปนาตนเองเป็น กษัตริย์แห่งบริเตนใหญ่ (Kings/Queens of Great Britain) จนถึงรัชสมัยของราชินีองค์สุดท้ายของราชวงศ์สจวตคือสมเด็จพระราชินีนาถแอนน์ ราชวงศ์ฮาโนเวอร์ได้สืบทอดราชบัลลังก์ต่อเนื่องจากพระราชบัญญัติการสืบสันตติวงศ์ พ.ศ. 2244 (Act of Settlement 1701) ที่กำหนดให้ผู้ที่สามารถขึ้นครองราชย์ต่อไปต้องเป็นโปรเตสแตนต์เพื่อประโยชน์ในการรวมไอร์แลนด์ให้อยู่ภายใต้รัฐบาลลอนดอน ในปัจจุบันยังคงมีสมาชิกของราชวงศ์ที่สืบเชื้อสายราชวงศ์สจวตมีชีวิตอยู่ และยังคงมีผู้ที่ยังคงสนับสนุนราชวงศ์สจวตอยู่ เรียกขานกันว่า พวกจาโคไบท์ (Jacobite) โดยขบวนการนี้ถือเอา ฟรานซ์ ดยุคแห่งบาวาเรีย เป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษ, สกอตแลนด์, ไอร์แลนด์ และ ฝรั่งเศสโดยชอบธรรม.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและราชวงศ์สจวต · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่

ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ (Kingdom of Great Britain) หรือ สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ (United Kingdom of Great Britain) เป็นรัฐในยุโรปตะวันตก ดำรงอยู่ในช่วงค.ศ. 1707 จนถึง ค.ศ. 1801 เกิดจากการรวมกันของราชอาณาจักรอังกฤษและราชอาณาจักรสกอตแลนด์ ภายใต้พระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1707 (พ.ศ. 2250) ก่อนหน้านี้ราชอาณาจักรทั้งสองได้มีพระประมุขพระองค์เดียวกัน ตั้งแต่สมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 6 แห่งสกอตแลนด์ขึ้นครองราชย์เป็นประมุขของอังกฤษในค.ศ. 1631 สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เข้าแทนที่ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ในปีค.ศ. 1801 หลังจากราชอาณาจักรไอร์แลนด์เข้าร่วมในพระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1800.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรสกอตแลนด์

ราชอาณาจักรสกอตแลนด์ (Rìoghachd na h-Alba; Kinrick o Scotland; Kingdom of Scotland) เป็นราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรประหว่างปี..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและราชอาณาจักรสกอตแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรอังกฤษ

ราชอาณาจักรอังกฤษ (Kingdom of England.) เป็นราชอาณาจักรระหว่างปี..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและราชอาณาจักรอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรไอร์แลนด์

ราชอาณาจักรไอร์แลนด์ (ภาษาเกลลิค: Ríocht na hÉireann; ภาษาอังกฤษ: Kingdom of Ireland) เป็นชื่อที่เรียกรัฐไอร์แลนด์ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและราชอาณาจักรไอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ"ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ" เป็นศัพท์บัญญัติของ (constitutional monarchy) เป็นรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐโดยไม่ทรงมีบทบาททางการเมืองและทรงอยู่ในขอบเขตของรัฐธรรมนูญไม่ว่าเป็นหรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ถึงแม้ว่าพระมหากษัตริย์อาจมีพระราชอำนาจโดยพระบารมีและรัฐบาลอาจดำเนินการในพระนาม แต่พระมหากษัตริย์จะไม่ทรงกำหนดนโยบายสาธารณะหรือเลือกผู้นำทางการเมือง เวอร์นอน บอกดานอร์ (Vernon Bogdanor) นักรัฐศาสตร์ชาวอังกฤษ นิยามว่า ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญ คือ "องค์อธิปัตย์ที่ปกเกล้าแต่ไม่ปกครอง" (a sovereign who reigns but does not rule), excerpted from การปกครองรูปแบบนี้ต่างจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่พระมหากษัตริย์ทรงควบคุมการตัดสินใจทางการเมืองโดยไม่ทรงถูกรัฐธรรมนูญควบคุมเอาไว้ ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ บางทีเรียกว่า ปรมิตตาญาสิทธิราชย์ (limited monarchy) สาธารณรัฐอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (crowned republic) หรือราชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา (parliamentary monarchy) นอกจากเป็นศูนย์รวมใจของชนในชาติแล้ว ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญอาจมีพระราชอำนาจอย่างเป็นทางการ เช่น ยุบสภานิติบัญญัติ หรืออนุมัติกฎหมาย แต่ส่วนใหญ่แล้วเป็นพระราชอำนาจทางพิธีการ มิใช่เป็นช่องให้พระมหากษัตริย์จัดการการเมืองได้โดยพลการ วอลเทอร์ แบกฮอต (Walter Bagehot) นักทฤษฎีการเมืองชาวอังกฤษ เขียนไว้ในหนังสือ ดิอิงลิชคอนสติติวชัน (The English Constitution) ว่า มีพระราชสิทธิ์สามประการเท่านั้นที่ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญทรงใช้ได้ตามพระทัย คือ แสวงหาคำปรึกษา ประทานคำปรึกษา และประทานคำตักเตือน ประเทศราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญที่โดดเด่น เช่น สหราชอาณาจักรและอดีตเมืองขึ้นทั้งสิบห้าซึ่งล้วนใช้การปกครองที่เรียกว่า "ระบบเวสมินสเตอร์" (Westminster system) ส่วนรัฐสามแห่ง คือ กัมพูชา มาเลเซีย และสันตะสำนัก ใช้ราชาธิปไตยแบบเลือกตั้ง โดยให้อภิชนกลุ่มเล็ก ๆ เป็นคณะผู้เลือกตั้งองค์อธิปัตย์ขึ้นมาเป็นระยะ ๆ นับแต่เดือนกรกฎาคม..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ · ดูเพิ่มเติม »

ราชนาวี

กองทัพเรือสหราชอาณาจักร หรือ ราชนาวี (Royal Navy อักษรย่อ: RN) เป็นเหล่าทัพหลักของกองทัพสหราชอาณาจักร ซึ่งมีต้นกำเนิดมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 เหล่าทัพนี้เป็นเหล่าทัพที่เก่าแก่ที่สุด โดยตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 17 ถึงปลายศตวรรษที่ 19 ราชนาวีสหราชอาณาจักรจัดเป็นทัพเรือที่ทรงแสนยานุภาพที่สุดในโลก.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและราชนาวี · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสงครามกลางเมืองของอังกฤษ

“ยุทธการวูสเตอร์” (3 กันยายน ค.ศ. 1651) ในสงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 3 สงครามกลางเมืองของอังกฤษ รวมทั้ง.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและรายชื่อสงครามกลางเมืองของอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์อังกฤษ

ต่อไปนี้คือรายพระปรมาภิไธย พระมหากษัตริย์และสมเด็จพระราชินีนาถแห่งราชอาณาจักรอังกฤษ ซึ่งในปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ และประเทศในเครือจักรภพ สำหรับรายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งหมู่เกาะซึ่งประกอบกันเป็นสหราชอาณาจักรปัจจุบันดู รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งหมู่เกาะอังกฤษและรายพระนามพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและรายพระนามพระมหากษัตริย์อังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ริชาร์ด ครอมเวลล์

ริชาร์ด ครอมเวลล์ (Richard Cromwell) เกิดเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1626 ที่ เคมบริดจ์เชอร์ เป็นบุตรชายของ โอลิเวอร์ ครอมเวลล์ เจ้าผู้พิทักษ์ แห่ง รัฐผู้พิทักษ์ ต่อมาเมื่อบิดาถึงแก่อสัญกรรมในปี ค.ศ. 1658 เขาจึง ขึ้นมาเป็น เจ้าผู้พิทักษ์ แทนบิดาแต่ก็ไม่ได้รับการสนับสนุนจากผู้คนเหมือนสมัยของบิดาเพราะขาดความสามารถและมิได้สานต่อนโยบายของบิดา จนในที่สุดก็ถูกนายทหารกลุ่มหนึ่งปลดจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1659 ริชาร์ด ครอมเวลล์ ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1712 ขณะอายุได้ 85 ปี หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2169 หมวดหมู่:ขุนนางอังกฤษ.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและริชาร์ด ครอมเวลล์ · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิมากซ์

ลัทธิมากซ์ (Marxism) หรือมักใช้ทับศัพท์ว่า มาร์กซิสต์ เป็นวิธีการวิเคราะห์สังคมและเศรษฐกิจซึ่งวิพากษ์ทุนนิยมผ่านกระบวนทัศน์การขูดรีด วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นและความขัดแย้งทางสังคมโดยใช้การตีความพัฒนาการประวัติศาสตร์แบบวัสดุนิยม และทัศนะวิภาษวิธีการแปลงสังคม (social transformation) ถือกำเนิดจากนักปรัชญาชาวเยอรมันสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 คาร์ล มากซ์และฟรีดริช เองเงิลส์ ลัทธิมากซ์ใช้วิธีวิทยาที่เรียก วัสดุนิยมทางประวัติศาสตร์ เพื่อวิเคราะห์และวิพากษ์การพัฒนาของทุนนิยมและบทบาทของการต่อสู้ระหว่างชนชั้นในการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจทั้งระบบ ตามทฤษฎีลัทธิมากซ์ ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นเกิดในสังคมทุนนิยมอันเนือ่งจากความขัดกันระหว่างผลประโยชน์ทางวัตถุของชนกรรมาชีพที่ถูกกดขี่ ชนกรรมาชีพคือผู้ใช้แรงงานเอาค่าจ้างที่ชนชั้นกระฎุมพีว่าจ้างเพื่อผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งชนชั้นกระฎุมพีนี้เป็นชนชั้นปกครองที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและเอาความมั่งคั่งมาจากการจัดสรรผลิตภัณฑ์ส่วนเกิน (กำไร) ที่ชนกรรมาชีพผลิตขึ้น การต่อสู้ระหว่างชนชั้นนี้ซึ่งมักแสดงออกมาเป็นการกบฏของกำลังการผลิตของสังคม (productive force) ต่อความสัมพันธ์การผลิต (relation of production) ของสังคม ส่งผลให้เกิดวิกฤติระยะสั้นเมื่อชนชั้นกระฎุมพีประสบความลำบากในการจัดการความแปลกแยกของแรงงาน (alienation of labor) ที่ทวีความรุนแรงขึ้นของชนกรรมาชีพ แม้ว่ามีความสำนึกเรื่องชนชั้น (class consciousness) ระดับมากน้อย วิกฤตนี้ลงเอยด้วยการปฏิวัติของชนกรรมาชีพและการสถาปนาสังคมนิยมในที่สุด ซึ่งเป็นระบบทางสังคมและเศรษฐกิจที่ยึดสังคมเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต กระจายให้แต่ละคนตามการมีส่วนร่วมและการผลิตที่จัดระเบียบโดยตรงสำหรับการใช้ เมื่อกำลังการผลิตก้าวหน้าขึ้น มากซ์ตั้งสมมติฐานว่าสังคมนิยมสุดท้ายจะแปลงเป็นสังคมคอมมิวนิสต์ หมายถึง สังคมไร้ชนชั้น ไร้รัฐ และมีมนุษยธรรมที่ยึดกรรมสิทธิ์ร่วมและหลักการพื้นเดิม "จากแต่ละคนตามความสามารถ ให้แต่ละคนตามความต้องการ" (From each according to his ability, to each according to his needs) ลัทธิมากซ์พัฒนาเป็นหลายแขนงและสำนักคิด แม้ปัจจุบันไม่มีทฤษฎีลัทธิมากซ์หนึ่งเดียว สำนักลัทธิมากซ์ต่าง ๆ เน้นแง่มุมบางอย่างของลัทธิมากซ์คลาสสิกต่างกัน และปฏิเสธหรือดัดแปลงแง่มุมบางอย่าง หลายสำนักคิดมุ่งรวมมโนทัศน์ลัทธิมากซ์กับมโนทัศน์ที่มิใช่มากซ์ ซึ่งมักนำไปสู่บทสรุปที่ขัดแย้งกัน ทว่า สมัยหลังมีขบวนการสู่การรับรองวัสดุนิยมทางประวัติศาสตร์และวัสดุนิยมวิภาษวิธียังเป็นแง่มุมหลักของสำนักคิดลัทธิมากซ์ทุกสำนัก ซึ่งทำให้มีความเห็นตรงกันระหว่างสำนักต่าง ๆ มากขึ้น.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและลัทธิมากซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิคาลวิน

ลัทธิคาลวิน (Calvinism) ขนบปฏิรูป (Reformed tradition) หรือ เทววิทยาปฏิรูป เป็นเทววิทยาศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ ที่ถือแนวคำสอนและการปฏิบัติตามการตีความของฌ็อง กาลแว็ง และนักเทววิทยาอื่น ๆ ช่วงการปฏิรูปศาสนา ลัทธิคาลวินแตกหักกับคริสตจักรโรมันคาทอลิก จึงนับเป็นฝ่ายโปรเตสแตนต์ แต่ก็ต่างจากโปรเตสแตนต์สายอื่น ๆ เช่น ลูเทอแรน ในประเด็นต่าง ๆ เช่น พระเยซูในพิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์ หลักบังคับในการนมัสการ การบังคับใช้กฎของพระเจ้ากับคริสตชน การเรียกเทววิทยาสายนี้ว่า "ลัทธิคาลวิน" ค่อนข้างคลาดเคลื่อน เพราะในความเป็นจริง เป็นเทววิทยาที่มีแนวคิดหลากหลาย ไม่ได้จำกัดเฉพาะกับฌ็อง กาลแว็งผู้ก่อตั้งเพียงคนเดียว นักเทววิทยากลุ่มนี้ถูกฝ่ายลูเทอแรนเรียกว่า "ลัทธิคาลวิน" แต่ในภายในสายมักใช้คำว่า คณะปฏิรูป มากกว่า นับแต่มีการโต้แย้งอาร์มิเนียน ฝ่ายปฏิรูปก็แบ่งออกเป็นสองสาย คือ สายคาลวิน และ สายอาร์มิเนียน แต่ปัจจุบันมักใช้คำว่า คณะปฏิรูป ในเชิงไวพจน์กับลัทธิคาลวินมากกว่า นักเทววิทยาสายปฏิรูปที่มีบทบาทสำคัญในยุคต้น ๆ ได้แก่ ฌ็อง กาลแว็ง มาร์ทิน บูเคอร์ ไฮน์ริช บุลลิงเงอร์ และปีเอโตร มาร์ตีเร แวร์มิกลี จุดเด่นของลัทธิคาลวินมีอยู่ 5 ประเด็น ที่เป็นที่รู้จักที่สุดคือความเชื่อเรื่องเทวลิขิตและมนุษย์เสื่อมทรามโดยสิ้นเชิง ประเด็น 5 ข้อของลัทธิคาลวิน (5 Points of Calvinism; TULIP) ได้แก.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและลัทธิคาลวิน · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม ลอด

วิลเลียม ลอด (William Laud) (7 ตุลาคม ค.ศ. 1573 - (10 มกราคม ค.ศ. 1645) เป็นอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรีระหว่างปี ค.ศ. 1633 ถึงปี ค.ศ. 1645 ผู้สนับสนุนนิกายแองกลิคันและเป็นปฏิปักษ์ต่อการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มพิวริตัน วิลเลียม ลอดสนับสนุนนโยบายทางศาสนาของพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ซึ่งในที่สุดก็เป็นผลทำให้ถูกประหารชีวิตระหว่างสงครามการเมืองอังกฤษที่หอคอยแห่งลอนดอน วิลเลียม ลอด เกิดเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 1573ที่เรดดิงในบาร์คเชอร์ ในครอบครัวที่ไม่มีฐานะทางสังคม บิดาของลอดเป็นพ่อค้าผ้า ได้รับการศึกษาที่โรงเรียนเรดดิงและวิทยาลัยเซนต์จอห์น (มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด อ๊อกซฟอร์ด) วิลเลียม ลอดเข้าพิธีบัพติศมาที่โบสถ์เซนต์ลอเรนซ์ที่เรดดิง.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและวิลเลียม ลอด · ดูเพิ่มเติม »

วุร์สเตอร์

วุร์สเตอร์ (Worcester) เป็นนครและเมืองเทศมณฑลวุร์สเตอร์เชอร์ในภาคเวสต์มิดแลนส์ของอังกฤษ เมืองวุร์สเตอร์ตั้งอยู่ราว 30 ไมล์ (48 กิโลเมตร) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองเบอร์มิงแฮม, 29 ไมล์ (47 กิโลเมตร) เหนือเมืองกลอสเตอร์ และมีประชากรประมาณ 94,300 คน วุร์สเตอร์มีแม่น้ำเซเวิร์นไหลผ่ากลางเมือง และเป็นเมืองที่ตั้งของมหาวิหารวุร์สเตอร์ที่สร้างมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 12 วุร์สเตอร์เป็นสนามรบของยุทธการที่วุร์สเตอร์ซึ่งเป็นยุทธการสุดท้ายของสงครามกลางเมืองอังกฤษ วุร์สเตอร์เป็นเมืองที่กองทัพตัวแบบใหม่ภายใต้การนำของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ได้รับชัยชนะต่อกองทัพฝ่ายกษัตริย์นิยมของพระเจ้าชาลส์ที่ 1ซึ่งเป็นผลให้อังกฤษเข้าสู่ยุคสมัยไร้กษัตริย์ที่อังกฤษและเวลส์เปลี่ยนระบบการปกครองเป็นสาธารณรัฐ นอกจากนั้นก็ยังศูนย์กลางของโรงงานทำเครื่องพอร์ซีเลนรอยัลวุร์สเตอร์และเป็นบ้านเกิดของคีตกวีเซอร์เอ็ดเวิร์ด เอลการ์ (Edward Elgar).

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและวุร์สเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

วุร์สเตอร์เชอร์

วุร์สเตอร์เชอร์ (Worcestershire เขียนย่อ Worcs) เป็นเทศมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางมิดแลนด์สตะวันตกของอังกฤษ ระหว่าง..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและวุร์สเตอร์เชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

สภาสามัญชนแห่งสหราชอาณาจักร

มัญชน (House of Commons) เป็นสภาล่างในรัฐสภาแห่งอังกฤษ ประกอบไปด้วยสมาชิกสภาสามัญชน หรืออีกชื่อหนึ่งว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อันมาจากการเลือกตั้งทุกห้าปี ในปัจจุบันมีสมาชิกสภาจำนวน 650 ที่นั่ง จากการเลือกตั้งทั่วไปในสหราชอาณาจักร พ.ศ. 2558 โดยมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี การประชุมสภาร่วมฯ จัดขึ้นที่พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ ปัจจุบันสภาสามัญชนมีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเทียบกับสภาขุนนาง (House of Lords) อันเป็นสภาสูง ซึ่งมีบทบาทน้อยลงเมื่อเทียบกับอดีต โดยบทบาทของสภาสามัญชนนั้นเพิ่มขึ้นอย่างเป็นรูปเป็นร่างครั้งแรกเมื่อปี 1911 จากการตรา "พระราชบัญญัติรั..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและสภาสามัญชนแห่งสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สมัยการปกครองส่วนพระองค์

มเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ สมัยการปกครองส่วนพระองค์ หรือ สมัยสิบเอ็ดปีแห่งความกดขี่ (ภาษาอังกฤษ: Personal Rule หรือ Eleven Years' Tyranny) เป็นช่วงระยะเวลาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1629 จนถึงปี ค.ศ. 1640 เมื่อสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษทรงปกครองอังกฤษ, สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์โดยไม่มีรัฐสภา การกระทำของพระองค์แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ทรงมีสิทธิที่จะทำได้ตามพระราชอภิสิทธิ์ซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยกฎหมายจารีตประเพณี แต่การกระทำของพระองค์เป็นสิ่งที่ก่อความไม่พึงพอใจแก่ชนชั้นปกครอง ก่อนหน้านั้นพระเจ้าชาร์ลส์ก็ทรงยุบสภาไปแล้วสามครั้งในปี ค.ศ. 1628 หลังจากการฆาตกรรมของจอร์จ วิลเลียรส์ ดยุคแห่งบัคคิงแฮมที่ 1ผู้มีความรับผิดชอบในนโยบายการต่างประเทศแล้ว รัฐสภาก็เริ่มติเตียนพระเจ้าชาร์ลส์หนักยิ่งขึ้น พระองค์ทราบว่าตราบใดที่ทรงเลี่ยงการทำสงครามได้พระองค์ก็สามารถปกครองบ้านเมืองได้โดยไม่ต้องพึ่งรัฐสภา นักประวัติศาสตร์พรรควิกบางทีก็เรียกยุคนี้ว่า “สมัยสิบเอ็ดปีแห่งความกดขี่” ซึ่งเป็นการชี้ให้เห็นถึงประเภทการปกครองที่ใช้ในช่วงระยะเวลานั้น ซึ่งต่อมาเป็นสาเหตุหนึ่งที่นำไปสู่สงครามกลางเมืองอังกฤษ แต่เมื่อไม่นานมานี้กลุ่มนักประวัติศาสตร์สังคายะนากล่าวถึงยุคนี้ว่าเป็นช่วงของการ “การปฏิรูปสร้างสรรค์” (Creative Reform) ซึ่งเป็นการกล่าวถึงพระราชกรณียกิจของพระเจ้าชาร์ลส์ในการวางโครงสร้างทางการเมืองของอังกฤษในช่วงระยะเวลานั้น.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและสมัยการปกครองส่วนพระองค์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ

มเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ (Elizabeth I of England หรือ Virgin Queen หรือ Gloriana หรือ Good Queen Bess -- 7 กันยายน พ.ศ. 2076 -- 24 มีนาคม พ.ศ. 2146) และทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งอังกฤษ และสมเด็จพระราชินีนาถแห่งไอร์แลนด์ ตั้งแต่ วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2101 จนเสด็จสวรรคต บางครั้งพระองค์ก็ทรงได้รับพระฉายานามว่า "ราชินีพรหมจารี" (เนื่องจากการไม่อภิเษกสมรสเลยตลอดพระชนม์ชีพ) สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 ทรงเป็นกษัตรีย์พระองค์ที่ 5 และนับเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ทิวดอร์ สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 ผู้ประสูติที่พระราชวังกรีนิช เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 กับสมเด็จพระราชินีแอนน์ บุลิน พระมเหสีพระองค์ที่ 2 ซึ่งถูกประหารชีวิตโดยการบั่นพระเศียรเมื่อสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 พระชนมายุได้เพียงเกือบ 3 พรรษา จากนั้นพระองค์ก็ทรงถูกประกาศว่าเป็นพระราชธิดานอกกฎหมาย เมื่อสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 สวรรคตราชบัลลังก์อังกฤษก็ตกไปเป็นของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 พระราชโอรสในพระเจ้าเฮนรีและสมเด็จพระราชินีเจน ซีมัวร์ พระมเหสีองค์ที่ 3 เมื่อเสด็จสวรรคตพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดก็ทรงมอบราชบัลลังก์แก่เลดีเจน เกรย์ซึ่งเท่ากับเป็นการตัดพระเชษฐภคินีต่างพระมารดาสองพระองค์ออกจากสิทธิในการสืบราชบัลลังก์ แต่ในที่สุดเจ้าหญิงแมรีก็ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 ผู้ทรงเป็นโรมันคาทอลิก ในรัชสมัยของราชินีนาถแมรีเจ้าหญิงอลิซาเบธทรงถูกจำขังอยู่ปีหนึ่งในข้อสงสัยว่าทรงมีส่วนร่วมในการสนับสนุนฝ่ายก่อการโปรเตสแตนต์ หลังจากเสด็จสวรรคตของพระเชษฐภคินีสมเด็จพระราชินีนาถแมรี เจ้าหญิงอลิซาเบธก็เสด็จขึ้นครองราชย์ พระองค์ทรงตั้งพระทัยที่จะปกครองโดยมีที่ปรึกษาราชการผู้มีคุณธรรม พระองค์ทรงไว้วางพระทัยในกลุ่มที่ปรึกษาที่ทรงไว้วางใจที่นำโดยวิลเลียม เซซิล บารอนแห่งเบอร์ลีย์ที่ 1 สิ่งแรกที่ทรงกระทำในฐานะพระราชินีนาถคือการสนับสนุนการก่อตั้งสถาบันโปรเตสแตนต์อังกฤษ ซึ่งมีพระองค์เองเป็น “ประมุขสูงสุด” (Supreme Governor) นโยบายทางศาสนาของพระองค์เป็นนโยบายที่ดำเนินตลอดมาในช่วงรัชสมัยการปกครอง และต่อมาวิวัฒนาการมาเป็น “นิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์” ในปัจจุบัน ในระหว่างที่ครองราชย์ก็เป็นที่หวังกันว่าพระองค์จะทรงเสกสมรส แต่แม้ว่ารัฐบาลจะยื่นคำร้องหลายครั้ง และ การทรงทำความรู้จักกับกับคู่หมายหลายคนพระราชินีนาถอลิซาเบธก็มิได้ทรงทำการเสกสมรสกับผู้ใด สาเหตุที่ไม่ทรงยอมเสกสมรสก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ เมื่อมีพระชนมายุสูงขึ้นพระองค์ก็ทรงมีชื่อเสียงจากการเป็น “พระราชินีผู้ทรงพรหมจรรย์” และเกิดลัทธินิยมของผู้ติดตามนโยบายดังว่าที่เฉลิมฉลองกันด้วยภาพเหมือน, เทศกาล และ วรรณกรรมร่วมสมัย ในด้านการปกครองพระราชินีนาถอลิซาเบธทรงดำเนินนโยบายที่เป็นสายกลางมากกว่าพระราชบิดา พระอนุชา และ พระเชษฐภคินีStarkey, 5.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

สารานุกรมบริตานิกา

รานุกรมบริตานิกา (Encyclopædia Britannica) เป็นสารานุกรมภาษาอังกฤษ ตีพิมพ์โดยบริษัท Encyclopædia Britannica, Inc.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและสารานุกรมบริตานิกา · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกลางเมือง

งครามกลางเมือง (civil war) เป็นสงครามภายในกลุ่มคนที่มีวัฒนธรรม, สัญชาติ หรือสังคมแบบเดียวกัน โดยมีจุดประสงค์เพื่อแย่งชิงอำนาจหรือดินแดน สงครามกลางเมืองอาจนับเป็นการปฏิวัติ (Revolution) ได้ในกรณีที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมครั้งใหญ่ภายในสังคมนั้นหลังจากสิ้นสุดสงคราม นักประวัติศาสตร์บางกลุ่มยังได้นับรวมเอาการจลาจล (Insurgency) เป็นสงครามกลางเมืองประเภทหนึ่งด้วยถ้ามีการสู้รบระหว่างกองทัพอย่างเต็มรูปแบบ ปัจจุบันความแตกต่างระหว่าง "สงครามกลางเมือง", "การปฏิวัติ" และ "การจลาจล" นั้นไม่ชัดเจนนัก ขึ้นอยู่กับบริบทในการใช้งาน สงครามกลางเมืองที่สำคัญ.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและสงครามกลางเมือง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1

“หนูเห็นพ่อครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่?” โดย วิลเลียม เฟรดเดอริค ยีมส์ (William Frederick Yeames) เป็นภาพรัฐสภาถามลูกชายของฝ่ายนิยมกษัตริย์ระหว่างสงครามกลางเมือง สงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1 (First English Civil War) (ค.ศ. 1642 ถึงปี ค.ศ. 1646) เป็นสงครามกลางเมืองสงครามแรกในสามสงครามกลางเมืองอังกฤษ สงครามกลางเมืองอังกฤษเป็นสงครามต่อเนื่องฝ่ายรัฐสภา และฝ่ายกษัตริย์นิยมที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1642 ถึงปี ค.ศ. 1651 สงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1 เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1642 ถึงปี ค.ศ. 1646; ครั้งที่ 2 ระหว่างปี ค.ศ. 1648 ถึงปี ค.ศ. 1649 เป็นสงครามของความขัดแย้งระหว่างผู้สนับสนุนพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ฝ่ายหนึ่งและผู้สนับสนุนรัฐสภายาวอีกฝ่ายหนึ่ง ขณะที่ครั้งที่ 3 ที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1649 ถึงปี ค.ศ. 1651 เป็นการต่อสู้ระหว่างผู้สนับสนุนพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 และผู้สนับสนุนรัฐสภารัมพ์อีกฝ่ายหนึ่ง สงครามกลางเมืองจบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายรัฐสภาที่ยุทธการวูสเตอร์เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและสงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

สงครามสามสิบปี

งครามสามสิบปี (Thirty Years' War) (ค.ศ. 1618 - ค.ศ. 1648) สงครามสามสิบปีเป็นสงครามที่ก่อความเสียหายไว้มากที่สุดสงครามหนึ่งของประวัติศาสตร์ยุโรป สงครามส่วนใหญ่สู้รบกันในดินแดนเยอรมนีและมีผู้เข้าร่วมสงครามจากเกือบทุกประเทศในยุโรป อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในสงครามที่ยาวนานที่สุดครั้งหนึ่งของประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ต้นเหตุของความขัดแย้งและจุดประสงค์ของผู้เข้าร่วมมีความซับซ้อนและมีเหตุผลในการทำสงครามของฝ่ายต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย เมื่อเริ่มแรกการต่อสู้เกิดจากความขัดแย้งระหว่างโปรเตสแตนต์และโรมันคาทอลิกในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ แต่ความขัดแย้งการทางอำนาจทางการเมืองภายในจักรวรรดิก็เป็นส่วนสำคัญด้วย ในที่สุดสงครามก็ขยายออกไปเป็นความขัดแย้งของอาณาบริเวณต่างๆ ทั่วยุโรป สงครามสามสิบปีเป็นสงครามที่ต่อเนื่องมาจากสงครามความขัดแย้งระหว่างฝรั่งเศสกับราชวงศ์ฮับส์บูร์กในการเป็นมหาอำนาจในยุโรปและในที่สุดก็บานปลายไปเป็นสงครามที่ไม่มีเหตุผลใดเกี่ยวข้องกับศาสนา การต่อสู้ส่วนใหญ่ในสงครามสามสิบปีเป็นการต่อสู้โดยกองทัพทหารรับจ้างที่ทำความเสียหายอย่างใหญ่หลวงมาสู่บริเวณที่มีการต่อสู้ และก่อให้เกิดความอดอยากและโรคระบาดจนส่งผลให้จำนวนประชากรของรัฐต่าง ๆ ในเยอรมนี กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ และอิตาลีลดลงไปเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังก่อให้เกิดการสูญเสียอำนาจในหลายบริเวณ ความขัดแย้งที่เป็นสาเหตุของการต่อสู้ก็ไม่ได้รับการแก้ไข นอกจากนี้การที่สงครามมีค่าจ่ายทางการทหารเป็นจำนวนมาก ส่งผลทำให้รัฐที่เกี่ยวข้องกับการต่อสู้ต้องล้มละลายในช่วงท้ายของสงคราม สงครามสามสิบปียุติลงด้วยสนธิสัญญามึนสเตอร์ (Treaty of Münster) ที่เป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญาเวสต์ฟาเลี.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและสงครามสามสิบปี · ดูเพิ่มเติม »

สเตอร์ลิง

ตอร์ลิง (ภาษาอังกฤษ: Stirling; ภาษาเคลลิคสกอตแลนด์: Sruighlea; ภาษาสกอตแลนด์: Stirlin) เป็นบะระห์โบราณ ที่ตั้งอยู่ในแขวงการปกครองสเตอร์ลิงและปริมณฑลในมณฑลผู้บริหารแทนพระองค์สเตอร์ลิงและฟอล์คเคิร์คในสกอตแลนด์ ตัวสเตอร์ลิงตั้งอยู่รอบปราสาทสเตอร์ลิงและเมืองโบราณจากยุคกลาง จากการสำรวจสำมโนประขากรใน..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและสเตอร์ลิง · ดูเพิ่มเติม »

หอคอยแห่งลอนดอน

หอคอยแห่งลอนดอน (Tower of London) เป็นพระราชวังหลวงและป้อมปราการตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำเทมส์ในกรุงลอนดอนในอังกฤษ เป็นพระราชวังที่เดิมสร้างโดยพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ. 1078 เป็นสถาปัตยกรรมแบบโรมาเนสก์ พระราชวังเป็นรู้จักกันในนามว่า “หอคอยแห่งลอนดอน” หรือ “หอ” ในประวัติศาสตร์ ตัวปราสาทตั้งอยู่ภายในโบโรแห่งทาวเวอร์แฮมเล็ทส์และแยกจากด้านตะวันออกของนครหลวงลอนดอน (City of London) ด้วยลานโล่งที่เรียกว่าเนินหอคอยแห่งลอนดอน หรือ “ทาวเวอร์ฮิล” (Tower Hill) หอคอยแห่งลอนดอนมักจะรู้จักกันในการเกี่ยวข้องกับหอขาว (White Tower) ซึ่งแต่เดิมเป็นหอสีขาวที่สร้างโดยพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษในปี ค.ศ. 1078 แต่กลุ่มสิ่งก่อสร้างทั้งหมดของหอคอยแห่งลอนดอนตั้งอยู่รอบวงแหวนสองวงภายในกำแพงและคูป้องกันปราสาท ตัวหอคอยใช้เป็นป้อม พระราชวังของพระมหากษัตริย์ และที่จำขังโดยเฉพาะสำหรับนักโทษที่มียศศักดิ์สูงเช่นพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1ก็เคยทรงถูกจำขังในหอคอยโดยพระราชินีนาถแมรี และยังเป็นที่สำหรับประหารชีวิตและทรมาน คลังเก็บอาวุธ ท้องพระคลัง สวนสัตว์ โรงกษาปณ์หลวง หอเก็บเอกสาร หอดูดาว และตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและหอคอยแห่งลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

หัวเกรียน

“ฝ่ายรัฐสภา” โดยจอห์น เพ็ตติ (John Pettie) กลุ่มหัวเกรียน หรือ ฝ่ายรัฐสภา (ภาษาอังกฤษ: Parliamentarians หรือ Roundhead) เป็นชื่อที่ใช้เรียกกลุ่มพิวริตันผู้สนับสนุนรัฐสภาแห่งอังกฤษระหว่างสงครามกลางเมืองอังกฤษ และเป็นผู้สนับสนุนโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ และเป็นปฏิปักษ์ต่อสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ ครอมเวลล์ได้รับความก้าวหน้าทางการเมือง, เป็นสมาชิกของสภาสามัญชนผู้มีบทบาทสำคัญ และเป็นนายทหารผู้มีความสามารถ และในที่สุดก็แต่งตั้งตนเองเป็นเจ้าผู้พิทักษ์ ในปี ค.ศ. 1653 ฐานะทางการเมืองและทางการศาสนาของ “ฝ่ายรัฐสภา” รวมทั้งกลุ่มเพรสไบทีเรียน (Presbyterians), กลุ่มรีพับลิกันคลาสสิก (Classical republicanism), กลุ่มเลเวลเลอร์ (Levellers) และ กลุ่มอิสระทางศาสนา (Independents) ศัตรูของ “ฝ่ายรัฐสภา” คือ “ฝ่ายกษัตริย์นิยม” ผู้สนับสนุนพระเจ้าชาร์ลส์หรือที่เรียกเล่นๆ ว่า “กลุ่มคาวาเลียร์” (Cavalier).

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและหัวเกรียน · ดูเพิ่มเติม »

อนาธิปไตย

อนาธิปไตย (anarchism) โดยทั่วไปนิยามว่าเป็นปรัชญาการเมืองซึ่งถือว่ารัฐนั้นเป็นสิ่งไม่พึงปรารถนา ไม่จำเป็นและให้โทษ หรืออีกอย่างหนึ่งว่า เป็นการคัดค้านผู้มีอำนาจและองค์การมีลำดับชั้นบังคับบัญชาในการชี้นำความสัมพันธ์ของมนุษย์ ผู้เสนออนาธิปไตย หรือรู้จักกันว่า "ผู้นิยมลัทธิอนาธิปไตย" (anarchist) สนับสนุนสังคมที่ปราศจากรัฐโดยตั้งอยู่บนการรวมกลุ่มอย่างสมัครใจที่ไม่มีลำดับชั้น เสรีภาพของปัจเจกชนและการต่อต้านรัฐ คือหลักการที่ชัดเจนของลัทธิอนาธิปไตย สำหรับในเรื่องอื่น ๆ นั้นอาจมีความเห็นที่แตกต่างกันบ้างในหมู่ผู้ที่นิยมแนวคิดนี้ เช่น การใช้ความรุนแรงในการเปลี่ยนแปลงสังคม ชนิดของระบอบเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีและลำดับชั้น การตีความหมายของแนวคิดเกี่ยวกับความสมภาค (egalitarian) และระดับของการจัดองค์กร คำว่า "อนาธิปไตย" ในความหมายที่นักอนาธิปไตยใช้นั้น มิได้หมายถึงภาวะยุ่งเหยิงหรืออโนมี แต่เป็นรูปแบบของความสัมพันธ์ของมนุษย์ที่เสมอภาค ที่ถูกจัดตั้งขึ้นและรักษาอย่างจงใจ หมวดหมู่:ระบอบการปกครอง.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและอนาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

อ๊อกซฟอร์ด

มืองอ๊อกซฟอร์ด (Oxford) เป็นนครและเมืองหลวงของมณฑลอ๊อกซฟอร์ดเชอร์ของภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ ที่มีประชาชนราว 151,000 คน แม่น้ำเชอร์เวลล์และแม่น้ำเทมส์บรรจบกันทางใต้ของตัวเมือง บริเวณที่เป็นระยะทางราว 10 กิโลเมตรในบริเวณตัวเมืองอ๊อกซฟอร์ดริมฝั่งแม่น้ำเทมส์รู้จักกันว่า “เดอะไอซิส” (The Isis).

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและอ๊อกซฟอร์ด · ดูเพิ่มเติม »

จอร์จ กอริง ลอร์ดกอริง

อร์จ กอริง ลอร์ดกอริง (George Goring, Lord Goring) (14 กรกฎาคม ค.ศ. 1608 - ค.ศ. 1657) จอร์จ กอริง ลอร์ดกอริงเป็นนายทัพฝ่ายกษัตริย์นิยมในสงครามกลางเมืองอังกฤษ จอร์จ กอริงเกิดเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1608 เป็นบุตรของจอร์จ กอริง เอิร์ลแห่งนอริชที่ 1 ต่อมากอริงก็สมรสกับเล็ททิส บอยล์บุตรีของริชาร์ด บอยล์ เอิร์ลแห่งคอร์คที่ 1 ผู้ที่เป็นผู้จัดการให้กอริงได้ตำแหน่งในกองทัพเนเธอร์แลนด์ในฐานะนายพัน กอริงได้รับบาดเจ็บที่ทำให้ขาพิการจากการรบที่เบรดาในปี..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและจอร์จ กอริง ลอร์ดกอริง · ดูเพิ่มเติม »

จอร์จ มองก์ ดยุกที่ 1 แห่งอัลเบมาร์ล

อร์จ มองก์ ดยุกที่ 1 แห่งอัลเบมาร์ล (George Monck, 1st Duke of Albemarle; 6 ธันวาคม ค.ศ. 1608 – 3 มกราคม ค.ศ. 1670) เป็นนักการทหารและนักการเมืองชาวอังกฤษที่มีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษกลับคืนให้แก่สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและจอร์จ มองก์ ดยุกที่ 1 แห่งอัลเบมาร์ล · ดูเพิ่มเติม »

จอร์จ วิลเลิร์ส ดยุกที่ 1 แห่งบักกิงแฮม

อร์จ วิลเลิร์ส ดยุกที่ 1 แห่งบักกิงแฮม (George Villiers, 1st Duke of Buckingham) (28 สิงหาคม ค.ศ. 1592 - (23 สิงหาคม ค.ศ. 1628) เป็นข้าราชสำนักคนโปรดและบางหลักฐานก็อ้างว่าเป็นคนรักของพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและจอร์จ วิลเลิร์ส ดยุกที่ 1 แห่งบักกิงแฮม · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น ฮ็อทแฮม บารอนเน็ทที่ 1

อห์น ฮ็อทแฮม บารอนเน็ทที่ 1 (Sir John Hotham, 1st Baronet) (เสียชีวิต3 มกราคม ค.ศ. 1645) จอห์น ฮ็อทแฮม บารอนเน็ทที่ 1 เป็นฝ่ายรัฐสภาในสงครามกลางเมืองอังกฤษ ฮ็อทแฮมมาจากครอบครัวในยอร์คเชอร์และมีประสพการณ์ในการต่อสู้ในสงครามสามสิบปีในระยะแรก และเป็น High Sheriff ของยอร์คเชอร์ระหว่าง..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและจอห์น ฮ็อทแฮม บารอนเน็ทที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น แลมเบิร์ต (นายพล)

นายพลจอห์น แลมเบิร์ต (John Lambert) (ฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ. 1619 - มีนาคม ค.ศ. 1684) แลมเบิร์ตเป็นนายพลของฝ่ายรัฐสภาในสงครามกลางเมืองอังกฤษ นายพลแลมเบิร์ตเกิดในฤดูใบไม้ร่วงของปี ค.ศ. 1619 ที่คาร์ลตัน ฮอลล์, เคิร์คบี มาลแลมในมลฑลอีสต์ไรดิงแห่งยอร์คเชอร์ปัจจุบันในครอบครัวที่มั่นคง แลมเบิร์ตศึกษากฎหมายที่อินส์ออฟคอร์ตในกรุงลอนดอน ในปี..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและจอห์น แลมเบิร์ต (นายพล) · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินโปเลียนที่ 1

นโปเลียน โบนาปาร์ต (Napoléon Bonaparte) เป็นนายพลในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ดำรงตำแหน่งกงสุลเอกของฝรั่งเศส ตั้งแต่ปลายปี..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป (อ่านว่า "ยุ-โหฺรบ") มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68-9); "Asia" (pp. 90-1): "A commonly accepted division between Asia and Europe...

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและทวีปยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

ทอมัส แฟร์แฟกซ์ ลอร์ดแฟร์แฟกซ์ที่ 3 แห่งแคเมอรอน

ทอมัส แฟร์แฟกซ์ ลอร์ดแฟร์แฟกซ์ที่ 3 แห่งแคเมอรอน (Thomas Fairfax, 3rd Lord Fairfax of Cameron; 17 มกราคม ค.ศ. 1612 - 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1671) เป็นนายพลและผู้บังคับบัญชาทหารสูงสุดของฝ่ายรัฐสภาระหว่างสงครามกลางเมืองอังกฤษ.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและทอมัส แฟร์แฟกซ์ ลอร์ดแฟร์แฟกซ์ที่ 3 แห่งแคเมอรอน · ดูเพิ่มเติม »

ทอมัส เวนท์เวิร์ธ เอิร์ลแห่งสตราฟฟอร์ดที่ 1

ทอมัส เวนท์เวิร์ธ เอิร์ลแห่งสตราฟฟอร์ดที่ 1 (ภาษาอังกฤษ: Thomas Wentworth, 1st Earl of Strafford) (13 เมษายน ค.ศ. 1593 - 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1641) ทอมัส เวนท์เวิร์ธ เอิร์ลแห่งสตราฟฟอร์ดที่ 1 เป็นรัฐบุรุษชาวอังกฤษผู้มีบทบาทสำคัญในเหตุการณ์ก่อนหน้าที่จะนำไปสู่สงครามกลางเมืองอังกฤษ ทอมัส เวนท์เวิร์ธรับราชการในรัฐสภาและเป็นฝ่ายสนับสนุนพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ระหว่างปี ค.ศ. 1632 ถึงปี ค.ศ. 1639 ทอมัส เวนท์เวิร์ธมีหน้าที่เป็นผู้ปกครองไอร์แลนด์ผู้ปกครองอย่างข่มขี่ ทอมัส เวนท์เวิร์ธถูกเรียกตัวกลับมาอังกฤษเพื่อทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของพระเจ้าชาร์ลส์ในการสร้างความมั่นคงให้แก่พระองค์ในการเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐสภา ในบั้นปลายทอมัส เวนท์เวิร์ธถูกกล่าวโทษโดยรัฐสภาและในที่สุดก็ถูกสำเร็จโทษเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1641 ทอมัส เวนท์เวิร์ธเกิดในกรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 13 เมษายน ค.ศ. 1593 เป็นลูกของวิลเลียม เวนท์ เวิร์ทแห่งเวนท์ เวิร์ทวูดเฮาส์จากยอร์คเชอร์และแอนน์ ลูกสาวของเซอร์โรเบิร์ต แอตคินส์แห่งสโตเวลล์ (Robert Atkins of Stowell) จากกลอสเตอร์เชอร์ ทอมัส เวนท์เวิร์ธได้รับการศึกษาที่วิทยาลัยเซนต์จอห์น, เคมบริดจ์ และศึกษากฎหมายที่อินเนอร์เทมเปิล ในปี..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและทอมัส เวนท์เวิร์ธ เอิร์ลแห่งสตราฟฟอร์ดที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

ทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์

ร่างสตรีและเด็กที่เป็นบรรยายความยากเข็ญของบริจิต โอดอนเนล จากลอนดอนนิวส์ 22 ธันวาคม ค.ศ. 1849 ทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์ (An Gorta Mór, Irish Potato Famine) หรือในภาษาเกลิก “An Gorta Mór” แปลตรงตัวว่า “ความโหยหิวอันยิ่งใหญ่” หรือ “An Drochshaol” ที่แปลว่า “ชีวิตอันตกอับ” เป็นสมัยที่เกิดทุพภิกขภัย โรคระบาด และการย้ายถิ่นฐานครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์ระหว่างปี..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ดับลิน

ับลิน (Dublin; ไอริช: Baile Átha Cliath) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสาธารณรัฐไอร์แลนด์ ชื่อดับลินนั้นมาจากคำว่า Dubh Linn ซึ่งในภาษาไอริชมีความหมายว่า "สระน้ำสีดำ" (Black Pool) ดับลินมีพื้นที่ประมาณ 114.99 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 495,781 คนในเขตตัวเมือง.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและดับลิน · ดูเพิ่มเติม »

ดันบาร์

ันบาร์ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและดันบาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดันดี

ันดี (Dundee) เป็นเมืองที่ใหญ่อันดับสี่ของประเทศสกอตแลนด์ สหราชอาณาจักร อยู่ทางด้านเหนือของแม่น้ำเทย์ เมืองดันดีเมืองใหญ่เป็นอันดับสี่ของสกอตแลนด์ที่ตั้งอยู่ใกล้กับปากแม่น้ำเทย์ที่สวยงามซึ่งอยู่ทางตอนกลางของประเทศ ทำให้สามารถเดินทางไปยังเมืองใหญ่เช่น แอเบอร์ดีน เอดินบะระ และกลาสโกว์ได้ด้วยเวลาเพียงหนึ่งชั่วโมง จากเมืองที่มีชื่อเสียงทางด้านการค้าปลีกมาเป็นเวลาช้านานตั้งแต่อดีต ในปัจจุบันเมืองดันดีได้กลายมาเป็นเมืองสำคัญทางด้านศิลปะ การศึกษา และการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในหลายสาขาโดยเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ อุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงเช่นการผลิตซอฟต์แวร์นั้นก็ได้กลายมาเป็นอุตสาหกรรมหลักของเมืองดันดีในปัจจุบัน เมืองดันดีเป็นอีกเมืองหนึ่งที่น่าอยู่อาศัยและศึกษาต่อด้วยตัวเมืองและสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยและผู้คนที่เป็นมิตร ด้วยเหตุนี้ทำให้เมืองแห่งนี้มีสัดส่วนนักเรียนต่อประชากรทั้งหมดสูงเป็นอันดับหนึ่งของสหราชอาณาจักร นำมาซึ่งความเป็นเมืองที่ให้สดใสและมีชีวิตชีวาของกิจกรรมยามกลางวันและแสงสีในยามกลางคืน เมืองดันดีได้รับการขนานนามว่าเป็น "เมืองแห่งการค้นพบ" (The City of Discovery) ผลงานสำคัญที่ได้ถือกำเนิดในเมืองนี้มีมากมาย ยกตัวอย่างเช่น ยาแอสไพริน แสงไฟฟ้า (electric light) โทรเลขไร้สาย เอกซเรย์ และเรดาร์ เมืองดันดีเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยสองแห่งคือ มหาวิทยาลัยดันดีและมหาวิทยาลัยแอเบอร์เทย์ นอกจากดันดีจะเป็นเมืองที่น่าไปศึกษาต่อแล้ว ในปี ค.ศ. 2004 เมืองดันดียังได้รับการยกย่องจากนิตยสาร The Scientist ให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ทำงานที่สุดในยุโรป (The best place to work in Europe).

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและดันดี · ดูเพิ่มเติม »

คริสตจักรแห่งอังกฤษ

ภาคแคนเทอร์เบอรี (สีเหลือง) และภาคยอร์ก (สีชมพู) คริสตจักรแห่งอังกฤษราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 44-5 (Church of England) เป็นคริสตจักรประจำชาติ ของอังกฤษ และเป็นคริสตจักรแม่ของแองกลิคันคอมมิวเนียนทั่วโลก ในช่วงแรกคริสตจักรในอังกฤษยังเป็นส่วนหนึ่งของคริสตจักรโรมันคาทอลิก แต่เมื่อพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษตัดสินพระทัยหย่าขาดกับพระนางแคเธอรินแห่งอารากอนซึ่งฝ่าฝืนคำสั่งของพระสันตะปาปาไป พระองค์ก็มีพระราชโองการให้คริสตจักรแห่งอังกฤษแยกตัวจากคริสตจักรโรมันคาทอลิกในปี..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและคริสตจักรแห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

คอร์นวอลล์

อร์นวอลล์ (Cornwall) หรือ แคร์นอว์ (Kernow) เป็นเทศมณฑลแห่งหนึ่งของประเทศอังกฤษภายในสหราชอาณาจักร ตั้งอยู่ทางปลายแหลมด้านตะวันตกเฉียงใต้ของสหราชอาณาจักร ทางด้านเหนือและด้านตะวันตกจรดทะเลเคลติก ทางด้านใต้จรดช่องแคบอังกฤษ ด้านตะวันออกติดกับเทศมณฑลเดวอนโดยมีแม่น้ำเทมาร์เป็นเส้นแบ่งเขต คอร์นวอลล์มีประชากรรวมทั้งสิ้นประมาณ 526,300 คน ในเนื้อที่ 3,563 ตารางกิโลเมตร ศูนย์กลางการปกครองตั้งอยู่ที่เมืองทรูโร ดินแดนบริเวณคอร์นวอลล์เดิมเป็นที่ตั้งหลักแหล่งของชนยุคหินจากนั้นก็เป็นชนยุคสำริดและต่อมาในสมัยยุคเหล็กโดยชาวเคลต์ คอร์นวอลล์เป็นส่วนหนึ่งของบริเวณที่พูดภาษากลุ่มบริทอนิก (Brythonic languages) ที่ตัดขาดจากกลุ่มชนที่พูดภาษากลุ่มเดียวกันในเวลส์หลังจากยุทธการเดอรัม (Battle of Deorham) โดยมักขัดแย้งกับชาวแซกซันแห่งราชอาณาจักรเวสเซกซ์ที่พยายามขยายดินแดนเข้ามา ก่อนที่พระเจ้าแอเทลสตันจะกำหนดเขตแดนระหว่างชาวอังกฤษกับชาวคอร์นิชโดยใช้แม่น้ำทามาร์ คอร์นวอลล์รวมกับอังกฤษเมื่อใดไม่มีหลักฐานแน่นอน แต่การใช้ภาษาคอร์นิชยังคงใช้กันต่อมาจนคริสต์ศตวรรษที่ 18 การฟื้นฟูการใช้ภาษาคอร์นิชอีกครั้งมาเริ่มต้นขึ้นเมื่อคริสต์ศตวรรษ 20 และเพิ่มความนิยมมากขึ้นในคริสต์ทศวรรษที่ผ่านมา ในปัจจุบันคอร์นวอลล์ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจเนื่องจากอุตสาหกรรมเหมืองดีบุกและอุตสาหกรรมการประมงเสื่อมโทรมลงและต้องหันมาพึ่งพาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นหลัก ดินแดนคอร์นวอลล์มีชื่อในทางที่มีภูมิทัศน์เป็นดินแดนสูงที่เป็นทุ่งที่มีแต่พืชพรรณเตี้ย ๆ เติบโตอยู่ที่เรียกว่า "ทุ่งมัวร์" (Moorland) และชายฝั่งทะเลที่น่าดูและอากาศที่อุ่นกว่าบริเวณอื่นของอังกฤษ.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและคอร์นวอลล์ · ดูเพิ่มเติม »

คาร์ไลล์

ร์ไลล์ (ภาษาอังกฤษ: Carlisle (ไม่ออกเสียง “s”)) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในนครคาร์ไลล์ (City of Carlisle) ที่ตั้งอยู่ในมณฑลคัมเบรียในภาคการปกครองตะวันตกเฉียงเหนือของอังกฤษ เมืองคาร์ไลล์ตั้งอยู่ตรงจุดที่แม่น้ำอีเดน, แม่น้ำคาลดรูว์ (River Caldew) และแม่น้ำเพ็ตเตอริ (River Petteril) มาบรรจบกัน 16 กิโลเมตรใต้เขตแดนอังกฤษ-สกอตแลนด์ เมืองคาร์ไลล์เป็นเมืองที่มีผู้ตั้งถิ่นฐานใหญ่ที่สุดในเคานตี้คัมเบรียและเป็นศูนย์กลางการบริหารทั้งของนครคาร์ไลล์และมณฑลคัมเบรีย ในปี..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและคาร์ไลล์ · ดูเพิ่มเติม »

คำร้องขอสิทธิฟ้องร้องรัฐ

“คำร้องขอสิทธิฟ้องร้องรัฐ” หอเอกสารแห่งชาติ, ลอนดอน คำร้องขอสิทธิฟ้องร้องรัฐ (Petition of Right) เป็นเอกสารที่สำคัญที่สุดฉบับหนึ่งในรัฐธรรมนูญของอังกฤษที่ระบุเสรีภาพบางประการของประชาราษฎรที่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงมีสิทธิที่จะแตะต้องได้ คำร้องขอนี้เป็นเอกสารที่ร่างโดยรัฐสภาแห่งอังกฤษก่อนหน้าที่จะเข้าสู่สงครามกลางเมืองอังกฤษ คำร้องขอได้รับการอนุมัติจากรัฐสภาเมื่อเดือนพฤษภาคม..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและคำร้องขอสิทธิฟ้องร้องรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ประกาศเบรดา

ประกาศเบรดา (Declaration of Breda) ลงวันที่ 4 เมษายน..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและประกาศเบรดา · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์อังกฤษ

อังกฤษ เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุด และมีประชากรมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในสหราชอาณาจักร ประวัติศาสตร์อังกฤษเริ่มขึ้นเมื่อมีการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์เมื่อหลายพันปีมาแล้ว ภูมิภาคที่ปัจจุบันคืออังกฤษภายในสหราชอาณาจักรเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของมนุษย์นีอันเดอร์ธอลราว 230,000 ปีมาแล้ว ขณะที่มนุษย์โฮโมเซเพียนซึ่งเป็นมนุษย์สมัยใหม่เริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานราว 29,000 ปีมาแล้ว แต่การอยู่ต่อเนื่องกันโดยตลอดเริ่มขึ้นราว 11,000 ปีมาแล้วในปลายยุคน้ำแข็ง ในบริเวณภูมิภาคนี้ยังมีร่องรอยของมนุษย์สมัยต่างๆ ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานที่เริ่มตั้งแต่ยุคหินกลาง, ยุคหินใหม่ และ ยุคสำริด เช่น สโตนเฮนจ์ และเนินดินที่เอฟบรี ในยุคเหล็กอังกฤษก็เช่นเดียวกับบริเตนทั้งหมดทางใต้ของเฟิร์ธออฟฟอร์ธเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของชนเคลต์ที่เป็นกลุ่มชนที่เรียกว่า บริเตน (Briton) หรือเผ่าเบลแจ ในปี..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและประวัติศาสตร์อังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสกอตแลนด์

กอตแลนด์ (Scotland; Alba อาละเปอะ) เป็นชาติของชนชาวสก็อตและเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสหราชอาณาจักร โดยครอบคลุมพื้นที่หนึ่งในสามทางตอนเหนือของเกาะบริเตนใหญ่ มีพรมแดนร่วมกับประเทศอังกฤษทางทิศใต้ ส่วนที่เหลือล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติก ทางตะวันออกเป็นทะเลเหนือ และทิศตะวันตกเฉียงใต้จดช่องแคบเหนือและทะเลไอร์แลนด์ นอกเหนือจากแผ่นดินใหญ่แล้ว ประเทศสกอตแลนด์ยังมีเกาะอีกกว่า 790 เกาะ เอดินบะระ เมืองหลวงและนครใหญ่ที่สุดอันดับสองของประเทศ เป็นศูนย์กลางยุคเรืองปัญญาของชาวสกอตในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเปลี่ยนสกอตแลนด์มาเป็นมหาอำนาจทางพาณิชย์ ทางการศึกษา และทางอุตสาหกรรมเมืองหนึ่งของทวีปยุโรป ฯ กลาสโกว์ นครใหญ่สุดของสกอตแลนด์ เคยเป็นนครอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกและปัจจุบันเป็นศูนย์กลางของเขตเมืองขยายเกรตเตอร์กลาสโกว์ น่านน้ำสกอตแลนด์ประกอบด้วยทะเลแอตแลนติกเหนือและทะเลเหนือ ซึ่งมีปริมาณน้ำมันสำรองใหญ่สุดในสหภาพยุโรป ทำให้เมืองแอเบอร์ดีน นครใหญ่สุดอันดับสามในสกอตแลนด์ ได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงน้ำมันของทวีปยุโรป เดิมราชอาณาจักรสกอตแลนด์เป็นประเทศอิสระที่ไม่ขึ้นกับประเทศอังกฤษจนถึง..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและประเทศสกอตแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไอร์แลนด์

อร์แลนด์ (Ireland, หรือ; Éire เอเหรอะ) คำบรรยายระบอบการปกครองของประเทศนี้ (ไม่ใช่ชื่อทางการ) คือ สาธารณรัฐไอร์แลนด์ (Republic of Ireland; Poblacht na hÉireann) นับเป็นสมาชิกที่อยู่ไกลสุดทางตะวันตกของสหภาพยุโรป มีประชากร 4 ล้านกว่าคน เป็นประเทศบนเกาะไอร์แลนด์ อยู่ห่างจากทวีปยุโรปไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ โดยครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 5 ใน 6 ของเกาะดังกล่าว (ส่วนที่เหลืออีก 1 ใน 6 ของเกาะไอร์แลนด์ เรียกว่า ไอร์แลนด์เหนือ เป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ) ในการแข่งขันรักบี้ระดับนานาชาติ นักกีฬาจากทั้งสาธารณรัฐไอร์แลนด์ และแคว้นไอร์แลนด์เหนือ จะเข้าร่วมในทีมเดียวกัน ในชื่อทีมสหพันธ์รักบี้ไอร์แลนด์ นอกจากนี้ไอร์แลนด์เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ใช้เงินยูโร.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและประเทศไอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเวลส์

วลส์ (Wales; Cymru, ออกเสียง คัมรึ) เป็น 1 ใน 4 ประเทศที่ประกอบเป็นสหราชอาณาจักร (ได้แก่ อังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ) เวลส์อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ โดยทิศตะวันออกติดกับประเทศอังกฤษ ทิศใต้ติดกับช่องแคบบริสตอล (Bristol Channel) ทิศตะวันตกติดกับช่องแคบจอร์เจส (George's Channel) และทางเหนือติดกับทะเลไอริช คำว่า ราชรัฐเวลส์ ยังคงเป็นที่นิยมใช้ ถึงแม้ว่าเจ้าชายแห่งเวลส์จะไม่มีบทบาททางการเมืองตั้งแต่ปี พ.ศ. 1825 (ค.ศ. 1282) โดยพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษทรงเข้ายึดครอง ต่อมาเมืองหลวงของเวลส์ถูกย้ายจากคายร์นาร์วอน (ซึ่งเป็นเมืองของเจ้าชายเวลส์) มาที่คาร์ดิฟฟ์ในปี พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955).

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและประเทศเวลส์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเนเธอร์แลนด์

นเธอร์แลนด์ (Nederland เนเดอร์ลอนต์; Netherlands) หรือที่มักเรียกกันว่า ฮอลแลนด์ (Holland) หรือ ฮอลันดา หรือ วิลันดา เป็นประเทศองค์ประกอบ (constituent country) ของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ประกอบด้วยสิบสองจังหวัดในยุโรปตะวันตก และสามเกาะในแคริบเบียน เนเธอร์แลนด์ส่วนที่อยู่ในทวีปยุโรปมีอาณาเขตทิศเหนือและตะวันตกจดทะเลเหนือ ทิศใต้จดประเทศเบลเยียม และทิศตะวันออกจดประเทศเยอรมนี และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับเบลเยียม เยอรมนีและสหราชอาณาจักร ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศแรก ๆ ของโลกที่มีรัฐสภาจากการเลือกตั้ง และปกครองด้วยประชาธิปไตยระบบรัฐสภา จัดระเบียบเป็นรัฐเดี่ยว เมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ คือ อัมสเตอร์ดัม ทว่า ที่ทำการรัฐบาลตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ทั้งหมดมักเรียกว่า "ฮอลแลนด์" ซึ่งในการใช้อย่างเข้มงวดจะหมายความถึงจังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์และเซาท์ฮอลแลนด์เท่านั้น ถือกันว่าการใช้แบบแรกนั้นไม่ถูกต้อง หรือไม่เป็นทางการ ขึ้นอยู่กับบริบท ทว่า เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปเมื่อหมายถึงฟุตบอลทีมชาติ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีพื้นที่ต่ำ โดย 20% ของพื้นที่อยู่ และ 21% ของประชากรอาศัยอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล และ 50% ของพื้นที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกินหนึ่งเมตร ซึ่งลักษณะเด่นนี้เป็นที่มาของชื่อประเทศ ในภาษาดัตช์ อังกฤษและภาษาอื่นของยุโรปอีกหลายภาษา ชื่อประเทศหมายถึง "แผ่นดินต่ำ" หรือ "กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ" พื้นที่ส่วนใหญ่ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลเกิดจากฝีมือมนุษย์ ซึ่งเกิดจากการสกัดพีต (peat) อย่างกว้างขวางและมีการควบคุมไม่ดีหลายศตวรรษทำให้พื้นผิวต่ำลงหลายเมตร แม้ในพื้นที่น้ำท่วมถึง การสกัดพีตยังดำเนินต่อไปโดยการขุดลอกพื้นที่ ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 เริ่มมีการฟื้นสภาพที่ดินและปัจจุบันมีการสงวนพื้นที่โพลเดอร์ (polder) ขนาดใหญ่ด้วยระบบการระบายน้ำที่ซับซ้อนซึ่งมีทั้งพนัง คลองและสถานีสูบ พื้นที่เกือบ 17% ของประเทศเป็นพื้นที่ที่เกิดจากการถมทะเล พื้นที่บริเวณกว้างของเนเธอร์แลนด์เกิดจากชะวากทะเลของแม่น้ำสำคัญของทวีปยุโรปสามสายและลำน้ำแตกสาขาเกิดเป็นสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไรน์–เมิซ–ซเกลดะ (Rhine–Meuse–Scheldt delta) พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นที่ราบ ยกเว้นเนินเขาทางตะวันออกเฉียงใต้และเทือกเขาเตี้ย ๆ หลายเทือกทางตอนกลาง ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป จี-10 นาโต้ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) องค์การการค้าโลก และเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพเศรษฐกิจไตรภาคีเบเนลักซ์ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นที่ตั้งขององค์การห้ามอาวุธเคมี และศาลระหว่างประเทศห้าศาล ได้แก่ ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ศาลอาญาระหว่างประเทศ คณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวียและคณะตุลาการพิเศษสำหรับเลบานอน สี่ศาลแรกตั้งอยู่ในกรุงเฮก เช่นเดียวกับยูโรโปล สำนักข่าวกรองอาชญากรรมของสหภาพยุโรป และยูโรจัสต์ สำนักความร่วมมือทางตุลาการ ทำให้กรุงเฮกได้รับสมญาว่า "เมืองหลวงกฎหมายโลก" ประเทศเนเธอร์แลนด์ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสมอิงตลาด โดยอยู่ในอันดับที่ 17 จาก 177 ประเทศในดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ในปี 2554 เป็นประเทศที่มีรายได้ต่อหัวสูงสุดเป็นอันดับที่ 10 ของโลก ในเดือนพฤษภาคม ปีเดียวกัน OECD จัดให้เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศ "ที่มีความสุขที่สุด" ในโลก ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการครองชีพที่สูง.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและประเทศเนเธอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

นอร์ทัมเบอร์แลนด์

นอร์ทธัมเบอร์แลนด์ (ภาษาอังกฤษ: Northumberland) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสหราชอาณาจักรอังกฤษ ทางด้านตะวันตกติดกับมณฑลคัมเบรีย, ด้านใต้กับเคานติเดอแรม, ด้านตะวันออกเฉียงใต้มณฑลไทน์และเวียร์ และทางเหนือติดกับสกอตแลนด์ ด้านตะวันออกเป็นฝั่งทะเลเหนือที่ยาวเกือบ 80 ไมล์ นอร์ทธัมเบอร์แลนด์มีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 310,600 คนในเนื้อที่ 5013 ตารางกิโลเมตร ตั้งแต่ไทน์และเวียร์แยกไปเป็นมณฑลอิสระในปี..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและนอร์ทัมเบอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

นอตทิงแฮม

นอตทิงแฮม (Nottingham นอตทิงเงิม) เป็นนครและเมืองหลวงของมณฑลนอตทิงแฮมเชอร์ในภาคการปกครองมิดแลนด์สตะวันออกของอังกฤษ และเป็นหนึ่งในกลุ่มเมืองใหญ่หลักของอังกฤษ นอตทิงแฮมมีเนื้อที่ 74.61 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรทั้งหมดประมาณ 288,700 คนและ 667,000 คนถ้ารวมทั้งในบริเวณปริมณฑลที่อยู่ในมณฑลดาร์บีเชอร์ บริเวณปริมณฑลของนอตทิงแฮมใหญ่เป็นที่เจ็ดในสหราชอาณาจักรใกล้เคียงกับลิเวอร์พูลและเชฟฟีลด์ บริเวณปริมณฑลครอบคลุมอาณาบริเวณที่กว้างที่รวมทั้งเมืองใกล้เคียงเช่นอิลเคสตันและอีสต์วูด ใจกลางของตัวเมืองเป็นจัตุรัสตลาดเก่าซึ่งมีเนื้อที่ 22,000 ตารางเมตรซึ่งเป็นจัตุรัสที่ใหญ่ที่สุดในอังกฤษ และได้รับการปรับปรุงในปี..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและนอตทิงแฮม · ดูเพิ่มเติม »

นิวอิงแลนด์

นิวอิงแลนด์ (New England) เป็นเขตหนึ่งในสหรัฐอเมริกาตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ โดยมีเมืองบอสตัน เป็นเมืองขนาดใหญ่ในเขต เขตนิวอิงแลนด์ประกอบด้วย 6 รัฐ ได้แก่ รัฐคอนเนตทิคัต รัฐนิวแฮมป์เชียร์ รัฐเมน รัฐแมสซาชูเซตส์ รัฐโรดไอแลนด์ และ รัฐเวอร์มอนต์ นิวอิงแลนด์มีทีมกีฬาที่สำคัญคือ นิวอิงแลนด์ เพทริออตส์ ทีมอเมริกันฟุตบอลจากเมืองฟอกซ์โบโร และทีมฟุตบอล นิวอิงแลนด์ เรฟโวลูชัน.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและนิวอิงแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

นิวคาสเซิลอะพอนไทน์

นไทน์ข้ามแม่น้ำไทน์ในนิวคาสเซิล นิวคาสเซิลอะพอนไทน์ (Newcastle upon Tyne) มักจะนิยมเรียกย่อว่า นิวคาสเซิล (Newcastle) เป็นนครและเมืองในโบโรฮ์ของไทน์แอนด์แวร์ ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอังกฤษ เมืองนิวคาสเซิลตั้งอยู่บนริมฝั่งแม่น้ำไทน์ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ ถึงแม้ว่าในช่วงก่อตั้งนั้นได้ชื่อว่า ปอนส์แอรีอุส (Pons Aelius) ตามชื่อโรมัน และได้เปลี่ยนชื่อเป็นนิวคาสเซิลในปีค.ศ. 1080 หลังจากที่ได้มีการสร้างปราสาท โดยพระเจ้าโรเบิร์ตที่ 2 ตัวเมืองได้เป็นศูนย์กลางของการค้าขนแกะและต่อมาเป็นเหมืองถ่านหินอันดับต้นของประเทศ ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 นิวคาสเซิลได้รู้จักในชื่อของเมืองต่อเรือ โดยเป็นศูนย์กลางการต่อเรือที่สำคัญของโลกแห่งหนึ่ง โดยในปัจจุบันอุตสาหกรรมได้จางหายไป โดยตัวเมืองกลายเป็นแหล่งวัฒนธรรมที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ สัญลักษณ์ที่สำคัญของเมืองได้แก่ นิวคาสเซิลบราวน์เอล เบียร์ชื่อดังของเมือง สโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ด สโมสรฟุตบอลในพรีเมียร์ลีก และสะพานไทน์ นอกจากนี้ได้มีการจัดการแข่งขันฮาล์ฟมาราธอนในชื่อ เกรตนอร์ธรันตั้งแต่ปี ค.ศ. 1981 นิวคาสเซิลมีจำนวนประชากรเป็นอันดับที่ 20 ของประเทศ สถาบันศึกษาที่สำคัญของเมืองได้แก่ มหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล และ มหาวิทยาลัยนอร์ททัมเบรียนิวคาสเซิล.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและนิวคาสเซิลอะพอนไทน์ · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำเซเวิร์น

แม่น้ำเซเวิร์น (River Severn; Afon Hafren; Sabrina) เป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดในสหราชอาณาจักรที่ยาว 354 ที่สูงที่สุดที่แม่น้ำไหลสูง 610 เมตรจากระดับน้ำทะเลที่พลินลิมอน (Plynlimon) ใกล้เพาวิส (Powys) ในเทือกเขาคัมเบรียในเวลส์ และไหลผ่านมณฑลชร็อพเชอร์, มณฑลวูสเตอร์เชอร์ และมณฑลกลอสเตอร์เชอร์ โดยผ่านเมืองชรูสบรี, วูสเตอร์และกลอสเตอร์ แม่น้ำเซเวิร์นถือว่าเป็นหนึ่งในแม่น้ำสำคัญสิบสายของสหราชอาณาจักร เซเวิร์นกลายเป็นปากน้ำระหว่างทางใต้ของมณฑลกลอสเตอร์เชอร์และมอนมอนมอธเชอร์ จากนั้นก็ไหลลงสู่ช่องแคบบริสตอล ไปยังทะเลเคลติก และในที่สุดมหาสมุทรแอตแลนติก บริเวณไหลผ่านของแม่น้ำเซเวิร์นครอบคลุมบริเวณ 11,420 ตารางกิโลเมตรที่ไม่รวมแม่น้ำวาย (River Wye) และแม่น้ำเอวอน สาขาสำคัญของแม่น้ำเซเวิร์นรวมทั้งแม่น้ำเวอร์นุย (River Vyrnwy), แม่น้ำทีม (River Teme), แม่น้ำอัปเพอร์เอวอน (Upper Avon) และแม่น้ำสเตาเวอร์ (River Stour).

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและแม่น้ำเซเวิร์น · ดูเพิ่มเติม »

แลงคาเชอร์

แลงคาสเชอร์ (ภาษาอังกฤษ: Lancashire) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของสหราชอาณาจักร ด้านตะวันตกติดกับทะเลไอริช ชื่อของมณฑลมาจากชื่อเมืองแลงคาสเตอร์ หรือบางที่เรียกว่า “เคานตี้แห่งแลงคาสเตอร์” - Lancashire และถือว่าเป็นเมืองศูนย์กลางการปกครอง แลงคาสเชอร์เรียกสั้นๆ ว่า “Lancs” แลงคาสเชอร์มีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 1,451,500 คน ในเนื้อที่ 3079 ตารางกิโลเมตร ผู้ที่อาศัยอยู่ในแลงคาสเชอร์เรียกว่า “แลงคาสเตรียน” แลงคาสเชอร์แบ่งการปกครองเป็นสิบสี่แขวง: เวสต์แลงคาสเชอร์, คอร์ลีย์, เซาท์ริบเบิล, ฟิลด์, เพรสตัน, ไวร์, นครแลงคาสเตอร์, ริบเบิลแวลลีย์, เพนเดิล, เบิร์นลีย์, รอสเซ็นเดล, ฮินด์เบิร์น, แบล็คพูล, และ แบล็คเบิร์นและดาร์เวน โดยมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่ เพรสตัน ประวัติศาสตร์แลงคาสเชอร์อาจจะเริ่มราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 ในบันทึกทะเบียนราษฎรดูมสเดย์ (Domesday Book) ที่ทำในปี..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและแลงคาเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

แคริบเบียน

แคริเบียน (The Caribbean) เป็นกลุ่มประเทศและหมู่เกาะต่างในเขตทะเลแคริเบียนซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเม็กซิโก ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเวเนซูเอลา มีรัฐอยู่ราวๆ 25 รัฐซึ่งรวมรัฐอิสระและรัฐภายใต้ความคุ้มครอง (dependencies).

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและแคริบเบียน · ดูเพิ่มเติม »

แควาเลียร์

แควาเลียร์ (Cavalier) เป็นคำที่ฝ่ายรัฐสภาใช้เรียกผู้นิยมกษัตริย์ที่สนับสนุนพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ระหว่างสงครามกลางเมืองอังกฤษ (ระหว่างปี ค.ศ. 1642 ถึงปี ค.ศ. 1651) หรือเรียก ฝ่ายนิยมเจ้า (Royalists) เจ้าชายรูเพิร์ตแห่งไรน์ ผู้ทรงเป็นแม่ทัพกองทหารม้าของพระเจ้าชาลส์ ทรงมีลักษณะที่เรียกได้ว่าเป็นตัวอย่างของผู้เป็น แควาเลียร.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและแควาเลียร์ · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

โอลิเวอร์ ครอมเวลล์

อลิเวอร์ ครอมเวลล์ (Oliver Cromwell) (25 เมษายน ค.ศ. 1599 (ปฏิทินเก่า) - 3 กันยายน ค.ศ. 1658 (ปฏิทินเก่า) เป็นผู้นำทางการทหารและทางการเมืองชาวอังกฤษที่เป็นที่รู้จักกันดีในการเกี่ยวข้องกับเปลี่ยนระบบการปกครองของอังกฤษเป็นแบบสาธารณรัฐในฐานะ “เจ้าผู้พิทักษ์” (Lord Protector) แห่งอังกฤษ, สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ ครอมเวลล์เป็นแม่ทัพคนหนึ่งของกองทัพตัวแบบใหม่ (New Model Army) ผู้ได้รับชัยชนะต่อกองทัพของ ฝ่ายกษัตริย์นิยม (Cavalier) ในสงครามกลางเมืองอังกฤษ หลังจากปลงพระชนม์สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ในปี ค.ศ. 1649แล้ว ครอมเวลล์ก็มีอิทธิพลต่อเครือจักรภพแห่งอังกฤษ อยู่เพียงชั่วระยะเวลาสั้นในขณะเดียวกับที่ได้รับชัยชนะในการปราบปรามสกอตแลนด์และไอร์แลนด์ และปกครองในฐานะ “เจ้าผู้พิทักษ์” ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1653 จนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมในปี ค.ศ. 1658.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ · ดูเพิ่มเติม »

เบรดา

รดา (Breda) เป็นเทศบาลและนครทางตอนใต้ของประเทศเนเธอร์แลนด์ บนฝั่งแม่น้ำเมิร์ก เป็นจุดยุทธศาสตร์ทางทหารและการเมือง เนื่องจากเป็นเมืองป้อมปราการ จากข้อมูลประชากรในปี..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและเบรดา · ดูเพิ่มเติม »

เบอร์มิวดา

อร์มิวดา เป็นดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักรในมหาสมุทรแอตแลนติก ตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกาห่างจากรัฐนอร์ทแคโรไลนาไปทางตะวันออก 580 ไมล์ เบอร์มิวดาเป็นดินแดนโพ้นทะเลที่เก่าแก่ที่สุดของสหราชอาณาจักร ที่ยังคงเหลืออยู่ โดยมีชาวอังกฤษมาตั้งรกรากก่อนการรวมตัวเป็นสหราชอาณาจักรถึงสองศตวรรษ โดยค้นพบครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2152 (ค.ศ. 1609).

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและเบอร์มิวดา · ดูเพิ่มเติม »

เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์

วสต์มินสเตอร์แอบบีย์ (Westminster Abbey) เดิมเป็นแอบบีย์ แต่ปัจจุบันเป็นโบสถ์ในนิกายแองกลิคันที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ในนครเวสต์มินสเตอร์ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบสถาปัตยกรรมกอทิกเป็นส่วนใหญ่นอกจากหอคอยที่เป็นสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก เป็นสถานที่ประกอบพิธีราชาภิเษกและที่ฝังพระบรมศพพระมหากษัตริย์อังกฤษและพระศพพระบรมวงศานุวงศ์ ระหว่างปี..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและเวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ · ดูเพิ่มเติม »

เอดินบะระ

อดินบะระ (Edinburgh เอดินเบอระ; Dùn Èideann; บางคนอ่าน/เขียนผิดเป็น: เอดินเบิร์ก) เป็นเมืองหลวงของประเทศสกอตแลนด์ สหราชอาณาจักร ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของสกอตแลนด์ เป็นเมืองเก่าแก่ที่มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยกลาง ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงอยู่กลางเมือง เป็นที่ตั้งของปราสาทเอดินบะระอันเป็นทำเลที่ได้เปรียบเชิงยุทธศาสตร์ในสมัยก่อน โดยรอบภูเขาถูกปรับพื้นที่เป็นคูเมืองเพื่อประโยชน์ในเชิงการทหาร รอบนอกเป็นที่ราบลดหลั่นเป็นขั้น ๆ กระจายออกโดยรอบ เอดินบะระเป็นที่ตั้งของรัฐสภาแห่งใหม่ของสกอตแลนด์ (เพิ่งแยกออกมาจากรัฐสภาของสหราชอาณาจักร) ตั้งอยู่บนถนนสายหลักของเอดินบะระคือ รอยัลไมล์ (The Royal Mile) ซึ่งสร้างตามแนวสันเขาเชื่อมโยงพื้นที่ประวัติศาสตร์ระหว่างปราสาทเอดินบะระและพระราชวัง สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่ บริเวณรอยัลไมล์ ปราสาทเอดินบะระ และสวนพฤกษศาสตร์ โดยเฉพาะปราสาทเอดินบะระเป็นปราสาทที่เป็นสถานที่เปิดตัวของหนังสือเรื่องแฮรี่ พอตเตอร์ เนื่องจากมีลักษณะใกล้เคียงฉากเมืองแม่มดในท้องเรื่อง เอดินบะระเป็นเมืองที่เจริญมากที่สุดเมืองหนึ่งในสหราชอาณาจักร มีศูนย์กลางเมืองตั้งอยู่รอบ ๆ ปราสาทเอดินบะระ เมืองเอดินบะระนั้นขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองแห่งเทศกาลต่าง ๆ ตัวอย่างงานสำคัญที่ถูกจัดขึ้นในเมืองเอดินบะระ ได้แก่ เทศกาลศิลปะนานาชาติ Fringe ภาพยนตร์ วิทยาศาสตร์ งานหนังสือเด็ก เพลงแจ๊ส และเพลงพื้นบ้าน ในช่วงเทศกาลเหล่านี้ โดยเฉพาะช่วงเดือนสิงหาคมหรือช่วงหน้าร้อนของสหราชอาณาจักร ที่เมืองเอดินบะระจะมีจัดงานเทศกาลประจำปีที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวมาที่เมืองนี้เป็นจำนวนมาก จนทำให้เมืองเอดินบะระติดอันดับเมืองที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดเป็นอันดับสองของสหราชอาณาจักรรองจากลอนดอน นอกจากนั้น เมืองเอดินบะระยังเป็นเมืองที่ได้ชื่อว่าเป็น "เมืองที่เป็นมิตรกับเด็ก" (The Child Friendly City) เนื่องจากภายในเมืองมีสถานที่ท่องเที่ยวที่เหมาะสำหรับเด็กมากมาย เช่น พิพิธภัณฑ์วัยเด็กและเรื่องเล่าของผู้คน (Museum of Childhood and People’s Story) สวนสัตว์ที่มีศูนย์การศึกษาที่เคลื่อนไหวได้จริง (Dynamic Education Centre) โลกแห่งผีเสื้อและแมลง (Butterfly & Insect World) และโลกทะเลลึก (Deep Sea World) เป็นต้น ในแง่ของเศรษฐศาสตร์ เมืองเอดินบะระเป็นเมืองศูนย์กลางทางการเงินที่ใหญ่เป็นอันดับสองของสหราชอาณาจักรรองจากลอนดอนและใหญ่เป็นอันดับห้าของยุโรป โดยมีมหาวิทยาลัยตั้งอยู่ถึงสามแห่งด้วยกันคือ มหาวิทยาลัยเอดินบะระ มหาวิทยาลัยแฮเรียต-วัตต์ และมหาวิทยาลัยเนเปียร์ ภาพ:Edinburgh1.JPG|ปราสาทเอดินบะระ ตั้งอยู่บนยอดเขากลางเมือง ภาพ:Edinburgh2.JPG|อาคารรัฐสภาของสกอตแลนด์ ตั้งอยู่ในเมืองเอดินบะร.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและเอดินบะระ · ดูเพิ่มเติม »

เอดเวิร์ด มอนทากิว เอิร์ลที่ 2 แห่งแมนเชสเตอร์

อดเวิร์ด มอนทากิว เอิร์ลที่ 2 แห่งแมนเชสเตอร์ (Edward Montagu, 2nd Earl of Manchester; ค.ศ. 1602 - 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1671) เป็นนายพลฝ่ายรัฐสภาคนสำคัญในสงครามกลางเมืองอังกฤษและมีฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ เอดเวิร์ด มอนทากิวเกิดเมื่อปี ค.ศ. 1602 เป็นบุตรชายคนโตของเฮนรี มอนทากิว เอิร์ลที่ 1 แห่งแมนเชสเตอร์ และแคเทออริน สเปนเซอร์ และเป็นหลานของเซอร์วิลเลียม สเปนเซอร์แห่งยาร์นตันในอ๊อกซฟอร์ดเชอร์ และได้รับการศึกษาที่วิทยาลัยซิดนีย์ซัสเซกซ์ของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ระหว่างปี..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและเอดเวิร์ด มอนทากิว เอิร์ลที่ 2 แห่งแมนเชสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เอ็ดเวิร์ด ไฮด์ เอิร์ลที่ 1 แห่งแคลเรนดัน

อ็ดเวิร์ด ไฮด์ เอิร์ลแห่งแคลเร็นดอนที่ 1 (ภาษาอังกฤษ: Edward Hyde, 1st Earl of Clarendon) (18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1609 - 9 ธันวาคม ค.ศ. 1674) เอ็ดเวิร์ด ไฮด์ เอิร์ลแห่งแคลเร็นดอนที่ 1 เป็นรัฐบุรุษคนสำคัญของอังกฤษผู้มีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษ เกิดเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1609 เป็นบุตรของ เฮนรีไฮด์แห่งดิลตัน เอ็ดเวิร์ดสมรสครั้งแรกกับแอนน์ผู้มีชีวิตอยู่เพียงหกเดือนหลังจากแต่งงาน และครั้งที่สองกับฟรานซ ไฮด์ เคานทเตสแห่งแคลเร็นดอน (Frances Hyde, Countess of Clarendon) ผู้เป็นแม่ของแอนน์ ไฮด์ผู้เป็นชายาของพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แอนน์ ไฮด์เป็นพระมารดาของพระราชินีนาถแมรีที่ 2 และพระราชินีนาถแอนน์ ฉะนั้นเอ็ดเวิร์ด ไฮด์จึงเป็นปู่ของพระมหากษัตรีย์ของอังกฤษสองพระองค์ เอ็ดเวิร์ดเสียชีวิตเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 1674 ขณะที่ลี้ภัยอยู่ในฝรั่ง.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและเอ็ดเวิร์ด ไฮด์ เอิร์ลที่ 1 แห่งแคลเรนดัน · ดูเพิ่มเติม »

เฮนรี ริช เอิร์ลที่ 1 แห่งฮอลแลนด์

นรี ริช เอิร์ลแห่งฮอลแลนด์ที่ 1 (ภาษาอังกฤษ: Henry Rich, 1st Earl of Holland) (19 สิงหาคม ค.ศ. 1590 - 9 มีนาคม ค.ศ. 1649) เฮนรี ริชเป็นขุนนางและนักการทหารชาวอังกฤษ เฮนรี ริชเกิดเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1590 เป็นบุตรของโรเบิร์ต ริช เอิร์ลแห่งวอริคที่ 1และเพ็นนิโลพี เดเวอโรซ์ และป็นน้องชายของ โรเบิร์ต ริช เอิร์ลแห่งวอริคที่ 2 และเริ่มรับราชการเป็นนายทหาร ในปี ค.ศ. 1610 ในราชสำนักและไม่นานก็ได้เป็นคนโปรดของพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แต่ในที่สุดก็สิ้นสุดลงเมื่อพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ขึ้นครองราชย์ เฮนรี ริชได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “เอิร์ลแห่งฮอลแลนด์” ในปี ค.ศ. 1624 และในที่สุดก็ได้เป็นนายทัพฝ่ายนิยมกษัตริย์ในสงครามกลางเมืองอังกฤษ แต่ต่อมาถูกจับได้และถูกประหารชีวิตเมื่อวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ. 1649 ในข้อหากบฏต่อแผ่นดิน.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและเฮนรี ริช เอิร์ลที่ 1 แห่งฮอลแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

เฮนเรียตตา มาเรียแห่งฝรั่งเศส พระราชินีแห่งอังกฤษ

ระราชินีเฮนเรียตตา มาเรียแห่งฝรั่งเศส (Henrietta Maria of France) (25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1609 - 10 กันยายน ค.ศ. 1669) เป็นพระราชินีแห่งอังกฤษ พระราชินีเฮนเรียตตา มาเรียประสูติเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1609 ที่พระราชวังลูฟร์ที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส เป็นพระราชธิดาในพระเจ้าอ็องรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศสและพระนางมารี เดอ เมดีซิส สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส ต่อมาเป็นพระราชินีในพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ ระหว่างวันที่ 13 มิถุนายน ค.ศ. 1625 ถึงวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 พระราชินีเฮนเรียตตา มาเรียสิ้นพระชนม์เมื่อ 10 กันยายน ค.ศ. 1669 ที่วังแห่งโคลอมบ์ ฝรั่งเศส พระศพตั้งอยู่ที่มหาวิหารแซ็ง-เดอนี กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส พระราชินีเฮนเรียตตา มาเรียเป็นพระราชินีแห่ง ราชอาณาจักรอังกฤษ ราชอาณาจักรสกอตแลนด์ และราชอาณาจักรไอร์แลนด์ โดยการเสกสมรสกับพระเจ้าชาลส์ และเป็นพระราชมารดาในพระมหากษัตริย์สองพระองค์ คือ พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ และ พระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ และเป็นพระอัยกีในพระเจ้าวิลเลียมที่ 3และพระราชินีนาถแมรี และพระราชินีนาถแอนน.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและเฮนเรียตตา มาเรียแห่งฝรั่งเศส พระราชินีแห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

เจมส์ แกรม มาร์ควิสแห่งมอนท์โรสที่ 1

มส์ แกรม มาร์ควิสแห่งมอนท์โรสที่ 1 (James Graham, 1st Marquess of Montrose) (25 ตุลาคม ค.ศ. 1612 - 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1650) เจมส์ แกรม มาร์ควิสเป็นขุนนางและนักการทหารชาวสกอต เจมส์ แกรมเกิดเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1612 เป็นบุตรของจอห์น แกรม เอิร์ลแห่งมอนท์โรสที่ 4 และแมรี รูธเว็น ต่อมาก็สมรสกับแม็กดาเลน คาร์เนกี เจมส์ แกรมเริ่มเข้าสงครามโดยการต่อสู้ข้างกลุ่มพันธสัญญาสกอตแลนด์ในสงครามสามอาณาจักร แต่ต่อมาหันไปสนับสนุน พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 เมื่อสงครามกลางเมืองอังกฤษก่อตัวขึ้น ระหว่าง..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและเจมส์ แกรม มาร์ควิสแห่งมอนท์โรสที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

เจมส์ แฮมิลตัน ดยุกที่ 1 แห่งแฮมิลตัน

มส์ แฮมมิลตัน ดยุคแห่งแฮมมิลตันที่ 1 (James Hamilton, 1st Duke of Hamilton) (19 มิถุนายน ค.ศ. 1606 - 9 มีนาคม ค.ศ. 1649) เจมส์ แฮมมิลตันเป็นนายพลของกองทัพฝ่ายกษัตริย์นิยมชาวสกอตผู้มีบทบาทสำคัญในยุทธการเพรสตันในสงครามกลางสามอาณาจักร/สงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 2 แต่พ่ายแพ้และถูกจับได้เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1648 ในที่สุดก็ถูกพิจารณาโทษและถูกประหารชีวิตเมื่อวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ. 1649.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและเจมส์ แฮมิลตัน ดยุกที่ 1 แห่งแฮมิลตัน · ดูเพิ่มเติม »

เจคอบ แอสต์ลีย์ บารอนแอสต์ลีย์ที่ 1 แห่งเรดิง

อบ แอสต์ลีย์ บารอนแอสต์ลีย์ที่ 1 แห่งเรดิง (Jacob Astley, 1st Baron Astley of Reading; ค.ศ. 1579 - กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1652) เป็นนายทัพฝ่ายนิยมกษัตริย์ผู้มีบทบาทสำคัญในยุทธการในสงครามกลางเมืองอังกฤษ เจคอบ แอสต์ลีย์มาจากครอบครัวที่เป็นหลักเป็นฐานในนอร์ฟอล์ก แอสต์ลีย์มีประสบการณ์ด้านการสงครามตั้งแต่อายุได้เพียง 18 ปีเมื่อเข้าร่วมในการเดินทางในการสำรวจร่วมกับรอเบิร์ต เดเวอรู เอิร์ลที่ 2 แห่งเอสเซกซ์ และเซอร์วอลเตอร์ รอลีไปยังอะโซร.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและเจคอบ แอสต์ลีย์ บารอนแอสต์ลีย์ที่ 1 แห่งเรดิง · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายรูเพิร์ตแห่งไรน์

้าชายรูเพิร์ตแห่งไรน์ (Rupert, Count Palatine of the Rhine, Duke of Bavaria; Ruprecht Pfalzgraf bei Rhein, Herzog von Bayern หรือเรียกกันสั้น ๆ ว่า Prince Rupert of the Rhine; 17 ธันวาคม ค.ศ. 1619 - 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1682) ประสูติเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 1619 ที่ปราก ราชอาณาจักรโบฮีเมีย (ในสาธารณรัฐเช็กปัจจุบัน) เป็นพระราชโอรสองค์รองของเฟรเดอริคที่ 5 เจ้าชายอีเล็คเตอร์แห่งพาเลไทน์และเอลิซาเบธ สจวต สมเด็จพระราชินีแห่งโบฮีเมีย และเป็นพระนัดดาของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษผู้ที่พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้พระองค์เป็นดยุกแห่งคัมบาลันด์ และเอิร์ลแห่งโฮลเดอร์เนส เจ้าชายรูเพิร์ตทรงเป็นนักการทหาร, นักประดิษฐ์ และศิลปินสมัครเล่นในการทำภาพพิมพ์มัชฌิมรงค์ (mezzotint) เจ้าชายรูเพิร์ตทรงเป็นทหารมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทรงเริ่มด้วยการเข้าต่อสู้ต่อต้านสเปนในเนเธอร์แลนด์และในเยอรมนี เมื่อพระชนมายุได้ 23 พรรษาก็ทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพผู้บังคับบัญชากองทหารม้าระหว่างสงครามกลางเมืองอังกฤษ แต่มาทรงพ่ายแพ้ในยุทธการเนสบีย์และทรงถูกขับจากเกาะอังกฤษ หลังจากนั้นก็ทรงเข้าร่วมกับฝ่ายกษัตริย์นิยมผู้ลี้ภัยอยู่ระยะหนี่ง ต่อมาก็ทรงไปเป็นโจรสลัดอยู่ในบริเวณคาริบเบียน หลังจากการฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษเจ้าชายรูเพิร์ตก็เสด็จกลับอังกฤษและได้รับตำแหน่งเป็นผู้บังคับบัญชาราชนาวี, นักประดิษฐ์, ศิลปิน และทรงเป็นข้าหลวงคนแรกของบริษัทฮัดสันเบย์ (Hudson's Bay Company) เจ้าชายรูเพิร์ตมิได้ทรงเสกสมรสแต่ทรงมีโอรสธิดานอกสมรสสองคน และสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1682 ที่เวสต์มินสเตอร์ในอังกฤษ.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและเจ้าชายรูเพิร์ตแห่งไรน์ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าผู้อารักขา

้าผู้อารักขา (Lord Protector) เป็นตำแหน่งเฉพาะที่ใช้ในอังกฤษในฐานะผู้นำของประเทศซึ่งใช้ได้สองความหมายในช่วงเวลาในประวัติศาสตร์สองสมั.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและเจ้าผู้อารักขา · ดูเพิ่มเติม »

เทวสิทธิราชย์

พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ในเครื่องทรงพระอาทิตย์ เทวสิทธิราชย์ (Divine Right of Kings) เป็นหลักความเชื่อทางการเมืองและทางศาสนาของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ว่าพระมหากษัตริย์ไม่ทรงอยู่ภายใต้อำนาจใดภายในโลกียวิสัยเพราะทรงเป็นผู้ที่ได้รับอำนาจโดยตรงจากพระเจ้า ฉะนั้นพระมหากษัตริย์จึงไม่ทรงอยู่ภายใต้อำนาจของประชาชน ขุนนาง หรือสถาบันใดใดทั้งสิ้น (ทั้งนี้ผู้นับถือนิกายโปรแตสแตนท์ส่วนมากเชื่อว่าพระมหากษัตริย์ไม่อยู่ใต้อำนาจพระศาสนจักรอีกด้วย ส่วนผู้นับถือนิกายคาทอลิกถือว่าพระศาสนจักรไม่ขึ้นต่อพระมหากษัตริย์) หลักความเชื่ออันนี้เป็นนัยว่าความพยายามในการโค่นล้มราชบัลลังก์หรือความพยายามในการจำกัดสิทธิของพระมหากษัตริย์เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง และเป็นการขัดต่อพระประสงค์ของพระเจ้า มีผลด้านการเมืองคือทำให้ประชาชนเข้าใจว่าผู้ทำพยายามกระทำการดังกล่าวเป็นพวกนอกรีต หลักความเชื่อนี้มีมาตั้งแต่ยุคกลางที่กล่าวว่าพระเจ้าทรงมอบอำนาจทางโลกให้แก่พระมหากษัตริย์ เช่นเดียวกับที่ทรงมอบอำนาจทางธรรมให้แก่สถาบันศาสนาโดยมีประมุขเป็นพระสันตะปาปา ผู้ประพันธ์ทฤษฎีนี้คือฌอง โบแดง (Jean Bodin) ผู้เขียนจากการตีความหมายของกฎหมายโรมัน เมื่อการขยายตัวของรัฐอิสระต่างๆ และการปฏิรูปศาสนาของนิกายโปรเตสแตนต์มีอิทธิพลมากขึ้น ทฤษฎี “เทวสิทธิ์” ก็กลายมาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสนับสนุนในการให้เหตุผลในเอกสิทธิ์ในการปกครองของพระมหากษัตริย์ทั้งในด้านการเมืองและทางด้านศาสนา ทฤษฎี “เทวสิทธิ์” ที่สนับสนุนโดยสถาบันโรมันคาทอลิกมามีบทบาทสำคัญระหว่างรัชสมัยการปกครองของสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ (ค.ศ. 1603–1625) และพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส (ค.ศ. 1643–1715) ทฤษฎี “เทวสิทธิ์” มาเริ่มลดความสำคัญลงในระหว่างสมัยการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ของอังกฤษระหว่างปี..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและเทวสิทธิราชย์ · ดูเพิ่มเติม »

เดอรัม

อรัม (Durham) เป็นเมืองเล็ก ๆ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอังกฤษ อยู่ห่างจากเมืองนิวคาสเซิลอะพอนไทน์ลงมาทางใต้ประมาณ 25 กม.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและเดอรัม · ดูเพิ่มเติม »

เคมบริดจ์เชอร์

มบริดจ์เชอร์ (Cambridgeshire) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักร ที่ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกของอังกฤษที่มีเขตแดนติดกับมณฑลลิงคอล์นเชอร์ทางตอนเหนือ, มณฑลนอร์โฟล์คทางตะวันออกเฉียงเหนือ, มณฑลซัฟโฟล์คทางตะวันออก, มณฑลเอสเซ็กซ์และมณฑลฮาร์ทฟอร์ดเชอร์ทางตอนใต้ และ มณฑลเบดฟอร์ดเชอร์และมณฑลนอร์ทแธมป์ตันเชอร์ทางตะวันตก เคมบริดจ์เชอร์ปัจจุบันเกิดจากอดีตมณฑลเคมบริดจ์เชอร์เดิม และมณฑลฮันทิงดันเชอร์และไอล์ออฟอีลี (Isle of Ely) และโซคออฟปีเตอร์บะระห์ (Soke of Peterborough) เมืองหลวงของมณฑลคือเคมบริดจ์ เคมบริดจ์เชอร์มีเนื้อที่ 3,389 ตารางกิโลเมตร และมีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 760,700 คน ถัวเฉลี่ย 224 คนต่อหนึ่งตารางกิโลเมตร.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและเคมบริดจ์เชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เครือจักรภพแห่งอังกฤษ

รือจักรภพแห่งอังกฤษ (Commonwealth of England) คือรัฐบาลสาธารณรัฐที่ปกครองอังกฤษ รวมทั้งเวลส์ ไอร์แลนด์ และสกอตแลนด์ ระหว่างปี ค.ศ. 1649 ถึง ค.ศ. 1660 หลังจากการสำเร็จโทษของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 เมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 เครือจักรภพอังกฤษกำเนิดขึ้นจากพระราชบัญญัติประกาศอังกฤษเป็นเครือจักรภพโดยรัฐสภารัมพ์ (Rump Parliament) เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและเครือจักรภพแห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

17 สิงหาคม

วันที่ 17 สิงหาคม เป็นวันที่ 229 ของปี (วันที่ 230 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 136 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและ17 สิงหาคม · ดูเพิ่มเติม »

19 สิงหาคม

วันที่ 19 สิงหาคม เป็นวันที่ 231 ของปี (วันที่ 232 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 134 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและ19 สิงหาคม · ดูเพิ่มเติม »

22 สิงหาคม

วันที่ 22 สิงหาคม เป็นวันที่ 234 ของปี (วันที่ 235 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 131 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและ22 สิงหาคม · ดูเพิ่มเติม »

23 พฤษภาคม

วันที่ 23 พฤษภาคม เป็นวันที่ 143 ของปี (วันที่ 144 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 222 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและ23 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

23 ตุลาคม

วันที่ 23 ตุลาคม เป็นวันที่ 296 ของปี (วันที่ 297 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 69 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและ23 ตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

3 กันยายน

วันที่ 3 กันยายน เป็นวันที่ 246 ของปี (วันที่ 247 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 119 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและ3 กันยายน · ดูเพิ่มเติม »

30 มกราคม

วันที่ 30 มกราคม เป็นวันที่ 30 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 335 วันในปีนั้น (336 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและ30 มกราคม · ดูเพิ่มเติม »

4 มกราคม

วันที่ 4 มกราคม เป็นวันที่ 4 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 361 วันในปีนั้น (362 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและ4 มกราคม · ดูเพิ่มเติม »

4 เมษายน

วันที่ 4 เมษายน เป็นวันที่ 94 ของปี (วันที่ 95 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 271 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอังกฤษและ4 เมษายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

English Civil WarPuritan Revolutionการปฏิวัติเพียวริตัน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »