โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สงครามกลางเมืองซีเรีย

ดัชนี สงครามกลางเมืองซีเรีย

งครามกลางเมืองซีเรีย เป็นการขัดกันด้วยอาวุธหลายฝ่ายที่กำลังดำเนินอยู่ในประเทศซีเรีย โดยมีต่างชาติเข้าแทรกแซง ความไม่สงบเริ่มในต้นฤดูใบไม้ผลิปี 2554 ในบริบทการประท้วงอาหรับสปริง โดยมีการประท้วงทั่วประเทศต่อรัฐบาลประธานาธิบดีบัชชาร อัลอะซัด ซึ่งกำลังของเขาสนองโดยการปราบปรามอย่างรุนแรง ความขัดแย้งค่อย ๆ กลายจากการประท้วงของประชาชนเป็นการกบฏมีอาวุธหลังการล้อมทางทหารหลายเดือน รายงานสหประชาชาติฉบับหนึ่งในปลายปี 2555 อธิบายความขัดแย้งว่า "มีสภาพนิยมนิกาย (sectarian) อย่างเปิดเผย" ระหว่างกำลังรัฐบาล ทหารอาสาสมัครซึ่งส่วนใหญ่เป็นอะละวี (Alawite) และกลุ่มชีอะฮ์อื่น ต่อสู้กับกลุ่มกบฏซึ่งมีซุนนีครอบงำเป็นส่วนใหญ่ แม้ทั้งฝ่ายค้านและกำลังรัฐบาลต่างปฏิเสธ ทีแรกรัฐบาลซีเรียอาศัยกองทัพเป็นหลัก แต่ตั้งแต่ปี 2557 หน่วยป้องกันท้องถิ่นซึ่งประกอบจากอาสาสมัครที่เรียก กำลังป้องกันชาติ (National Defence Force) ได้มีบทบาทมากขึ้น ค่อย ๆ กลายเป็นกำลังทหารหลักของรัฐซีเรีย รัฐบาลซีเรียได้รับความช่วยเหลือทางเทคนิค การเงิน การทหารและการเมืองจากประเทศรัสเซีย อิหร่านและอิรักมาตั้งแต่ต้น ในปี 2556 ฮิซบุลลอฮ์ที่อิหร่านสนับสนุนเข้าร่วมสงครามโดยสนับสนุนกองทัพซีเรีย รัสเซียเข้าร่วมปฏิบัติการทางอากาศตั้งแต่เดือนกัยายน 2558 เนื่องจากการเกี่ยวพันของต่างชาติ ความขัดแย้งนี้จึงถูกเรียกว่าเป็น สงครามตัวแทน ระหว่างชาติซุนนีและชีอะฮ์ภูมิภาค ที่สำคัญที่สุดคือความขัดแย้งตัวแทนระหว่างซาอุดีอาระเบียและอิหร่าน ในเดือนกันยายน 2558 รัสเซีย อิรัก อิหร่านและซีเรียตั้งห้องปฏิบัติการร่วม (ศูนย์สารสนเทศ) ในกรุงแบกแดดเพื่อประสานงานกิจกรรมของพวกตนในประเทศซีเรีย วันที่ 30 กันยายน 2558 ประเทศรัสเซียเริ่มการทัพทางอากาศของตนโดยเข้ากับฝ่ายและด้วยคำขอของรัฐบาลซีเรีย จึงเกิดสงครามตัวแทนระหว่างสหรัฐและรัสเซีย ซึ่งนักวิจารณ์บางส่วนบรรยายสถานการณ์ว่าเป็น "ก่อนสงครามโลกโดยมีประเทศเกือบโหลพัวพันในสองความขัดแย้งที่ทับซ้อนกัน" ฝ่ายค้านมีอาวุธประกอบด้วยหลายกลุ่มซึ่งก่อตั้งในห้วงความขัดแย้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กองทัพซีเรียเสรี (FSA) ซึ่งเป็นผู้แรกที่หยิบอาวุธในปี 2554 และแนวร่วมอิสลามซึ่งก่อตั้งในปี 2556 ฝ่ายทางตะวันออก รัฐอิสลามอิรักและเลแวนต์ (ISIL) กลุ่มนักรบญิฮัดซึ่งกำเนิดในประเทศอิรัก ได้ชัยชนะทางทหารอย่างรวดเร็วทั้งในประเทศซีเรียและอิรัก จนลงเอยด้วยพิพาทกับกบฏอื่น ฝ่ายแนวร่วมนานาชาติที่มีสหรัฐเป็นผู้นำมีการสถาปนาขึ้นในปี 2557 โดยมีวัตถุประสงค์ที่ประกาศไว้ว่าเพื่อตอบโต้ ISIL และได้ดำเนินการโจมตีทางอากาศต่อ ISIL ในซีเรีย ตลอดจนเป้าหมายบะอัธซีเรียและให้การสนับสนุนต่อสหพันธรัฐประชาธิปไตยซีเรียเหนือ สหรัฐเลิกให้การสนับสนุนด้านอาวุธโดยตรงต่อ FSA ในปี 2560; ปลายปี 2560 อิทธิพลและดินแดนควบคุมของ ISIL เสื่อมลง จนซีเรียประกาศว่าประเทศได้รับการปลดปล่อยจาก ISIL แล้ว ด้านตุรกีมีความเกี่ยวข้องในสงครามตั้งแต่ปี 2559 และสนับสนุนฝ่ายค้านซีเรียอย่างแข็งขันและยึดพื้นที่ได้เป็นบริเวณกว้างทางภาคเหนือของประเทศซีเรีย องค์การระหว่างประเทศกล่าวหารัฐบาลซีเรีย ISIL และกำลังฝ่ายค้านอื่นว่าละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง โดยเกิดการสังหารหมู่หลายครั้ง ความขัดแย้งนี้ทำให้เกิดการย้ายประชากรอย่างสำคัญ ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2558 สหประชาชาติประกาศเริ่มการเจรจาสันติภาพซีเรียเจนีวาที่สหประชาชาติเป็นสื่อกลางอย่างเป็นทางการ โดยการสู้รบยังดำเนินไปโดยไม่มีทีท่าลดลง.

82 ความสัมพันธ์: บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษชะรีอะฮ์บัชชาร อัลอะซัดบารัก โอบามาชาวเคิร์ดชีอะฮ์ฟร้องซ์ เว็งแก็ตกฎบัตรสหประชาชาติกลุ่มแยกการเมืองการระเบิดฆ่าตัวตายการทิ้งระเบิดดามัสกัสและฮอมส์ พ.ศ. 2561การดื้อแพ่งการใช้อาวุธเคมีในสงครามกลางเมืองซีเรียการโจมตีเคมีที่ดูมาการโจมตีเคมีที่คอนชัยคูน พ.ศ. 2560ญัยชุลอิสลามญิฮาดมรดกโลกรัฐสภาสหรัฐรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์รีอะโนวัสติวลาดีมีร์ ปูตินสหพันธรัฐประชาธิปไตยซีเรียเหนือสหภาพยุโรปสันนิบาตอาหรับสำนักข่าวกรองกลางสิทธิมนุษยชนสงครามกลางเมืองสงครามกลางเมืองลิเบียสงครามตัวแทนอะบู บักร์ อัลบัฆดาดีอะเลปโปอัยมัน อัซเซาะวาฮิรีอัรร็อกเกาะฮ์อัลกออิดะฮ์อัลญะซีเราะฮ์อัลญะซีเราะฮ์อิงกลิชอัลลอฮ์อัสตานาอาหรับสปริงองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติอนุสัญญาเจนีวาอ่าวเปอร์เซียฮอมส์ฮะมาฮ์ฮิวแมนไรตส์วอตช์ฮิซบุลลอฮ์ผู้นำสูงสุดอิหร่านทะเลแดงดอนัลด์ ทรัมป์...ดามัสกัสดิอินดีเพ็นเดนต์ครักเดเชอวาลีเยคลอรีนคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติตลาดเสรีซารินซุคฮอย ซู-24ซุนนีประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนประเทศกำลังพัฒนาประเทศไนจีเรียประเทศเลบานอนแพลไมราแอฟริกาใต้สะฮาราแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลโจ ไบเดินโทมาฮอว์ก (ขีปนาวุธ)โทนี แบลร์โดฮาโคฟี แอนนันเรเจป ไตยิป แอร์โดอันเหตุยิงซุคฮอย ซู-24 ของรัสเซียตก พ.ศ. 2558เหตุโจมตีในปารีส เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558เอฟ-16 ไฟทิงฟอลคอนเอฟ/เอ-18 ฮอร์เน็ทเดอะการ์เดียนเดอะนิวยอร์กไทมส์เดอะเวิลด์แฟกต์บุ๊กเตหะรานเนโท ขยายดัชนี (32 มากกว่า) »

บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ

ริษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษราชบัณฑิตยสถาน.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและบรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ชะรีอะฮ์

รีอะฮ์ (شريعة; Sharia/Shari'ah) คือ ประมวลข้อปฏิบัติต่าง ๆ ของกฎหมายศาสนาของศาสนาอิสลาม คำว่า "ชะรีอะฮ์" แปลว่า "ทาง" หรือ "ทางไปสู่แหล่งน้ำ" กฎหมายชะรีอะฮ์คือโครงสร้างทางกฎหมายที่ครอบคลุมวิถีการดำเนินชีวิตของบุคคลและสาธารณชนที่มีพื้นฐานมาจากหลักนิติศาสตร์ (jurisprudence) ของศาสนาอิสลามสำหรับใช้โดยมุสลิม กฎหมายชะรีอะฮ์ครอบคลุมด้านต่าง ๆ ของชีวิตประจำวันที่รวมทั้งระบบการปกครอง ระบบเศรษฐกิจ ระบบการดำเนินธุรกิจ ระบบการธนาคาร ระบบการทำสัญญา ความสัมพันธ์ในครอบครัว หลักของความสัมพันธ์ทางเพศ หลักการอนามัย และปัญหาของสังคม กฎหมายชะรีอะฮ์ในปัจจุบันเป็นกฎหมายศาสนาที่ใช้กันอย่างกว้างขวางที่สุดและเป็นกฎหมายที่ปรากฏบ่อยที่สุดของระบบกฎหมายของโลกพอ ๆ กับคอมมอนลอว์ และซีวิลลอว์ ในระหว่างยุคทองของอิสลาม กฎหมายอิสลามอาจถือว่ามีอิทธิพลต่อการวิวัฒนาการของคอมมอนลอว์ ซึ่งก็ทำให้มีอิทธิพลต่อการวิวัฒนาการของคอมมอนลอว์ระดับสถาบันต่าง.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและชะรีอะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

บัชชาร อัลอะซัด

ัชชาร ฮาฟิซ อัลอะซัด (بشار حافظ الأسد; เกิด 11 กันยายน พ.ศ. 2508) เป็นประธานาธิบดีซีเรีย ผู้บัญชาการทหารกองทัพซีเรีย เลขาธิการพรรคบะอัษซึ่งเป็นพรรครัฐบาล และเลขาธิการภูมิภาคของสาขาพรรคในประเทศซีเรีย ในปี 2543 เขาสืบทอดตำแหน่งจากฮาฟิซ อัลอะซัด บิดา ผู้ปกครองประเทศซีเรียเป็นเวลา 30 ปีจนถึงแก่อสัญกรรม เขาได้รับความเห็นชอบจากเขตเลือกตั้งซีเรียสองครั้งในปี 2543 และ 2550 ในการลงประชามติโดยไร้คู่แข่ง เดิมประชาคมนานาชาติมองเขาว่าเป็นนักปฏิรูปมีศักยะ แต่สหรัฐ สหภาพยุโรปและส่วนใหญ่ของสันนิบาตอาหรับเรียกร้องให้เขาลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีหลังข้อกล่าวหาเขาสั่งปราบปรามและการล้อมทางทหารต่อผู้ชุมนุมอาหรับสปริง จนนำสู่สงครามกลางเมืองซีเรีย During the Syrian Civil War, an inquiry by the United Nations reported finding evidence which implicated Assad in war crimes.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและบัชชาร อัลอะซัด · ดูเพิ่มเติม »

บารัก โอบามา

รัก ฮูเซน โอบามา ที่ 2 (Barack Hussein Obama II; เกิด 4 สิงหาคม ค.ศ. 1961) เป็นนักการเมืองชาวอเมริกัน ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 44 ตั้งแต..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและบารัก โอบามา · ดูเพิ่มเติม »

ชาวเคิร์ด

วเคิร์ด (کورد Kurd คูร์ด, Kurdish people) เป็นชนในกลุ่มชนอิหร่านที่เป็นกลุ่มภาษาชาติพันธุ์ (ethnolinguistic) ที่ส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณที่เป็นเคอร์ดิสถาน ที่รวมทั้งบางส่วนบริเวณที่ใกล้เคียงกันที่รวมทั้งอิหร่าน อิรัก, ซีเรีย และ ตุรกี นอกจากนั้นก็ยังมีกลุ่มชนเคิร์ดขนาดใหญ่พอสมควรทางตะวันตกของตุรกี และในเลบานอน, อาร์มีเนีย, อาเซอร์ไบจาน และเมื่อไม่นานมานี้ในประเทศในยุโรป และ สหรัฐอเมริกา (ดูชาวเคิร์ดพลัดถิ่น) ชาวเคิร์ดพูดภาษาเคิร์ดซึ่งเป็นภาษาในภาษากลุ่มอิหร่าน เมือง Piranshahr เป็นเมืองหลวงของอำเภอ Mukerian.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและชาวเคิร์ด · ดูเพิ่มเติม »

ชีอะฮ์

ีอะฮ์ (บ้างสะกด ชีอะห์) เป็นนิกายหนึ่งในอิสลาม ซึ่งนับถือพระเจ้าพระองค์เดียว และท่านนบีมูฮัมมัด(ศ็อลฯ)เป็นนบีคนสุดท้าย หากแต่มีความแตกต่างกับซุนนีย์ในเรื่องของผู้นำศาสนาต่อจากท่านนบีมุฮัมมัด ว่ามาจากการแต่งตั้งของอัลลอฮ์และท่านนบีมุฮัมมัดเท่านั้น หากผู้ใดได้ศึกษาประวัติของวันอีดฆอดีรคุมแล้ว จะพบว่าวันนั้นเป็นวันที่อัลลอฮฺทรงแต่งตั้งอะลีให้เป็นอิมามหรือผู้นำศาสนาคนต่อไปโดยผ่านท่านนบี(ศ็อลฯ) นั้นคืออิมามสิบสองคน อันได้แก่อิมามอะลีย์และบุตรหลานของอิมามอะลีกับท่านหญิงฟาติมะห์(บุตรีของท่านนบี(ศ็อลฯ)อีก 11 คน ชีอะฮ์ ตามความหมายของปทานุกรมหมายถึง ผู้ปฏิบัติตามหรือผู้ติดตาม ซึ่งบุคคลที่เป็นชีอะฮ์หมายถึง บุคคลที่เชื่อว่า ผู้นำศาสนาหลังจากท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) เสียชีวิตแล้ว เป็นสิทธิของลูกหลานของท่านเท่านั้น ซึ่งชีอะฮ์จึงยึดถือและปฏิบัติ ตามแนวทางของลูกหลานของท่านศาสดา(อะฮฺลุลบัยตฺ) ทั้งด้านความรู้ และการปฏิบัติ ชีอะฮ์มีความเชื่อว่า พระองค์อัลลอฮ์ คือพระผู้ทรงสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดิน คือพระผู้ทรงบริสุทธิ์ยิ่ง ศาสนาของพระองค์ก็เป็นศาสนาที่บริสุทธิ์ ศาสดามุฮัมมัด (ศ) ศาสนทูตของพระองค์ก็ต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ และผู้สืบทอดตำแหน่งของศาสดาของพระองค์ก็จำเป็นจะต้องเป็นผู้บริสุทธิ์เท่านั้น และเมื่อศาสนทูตของพระองค์ พระองค์เป็นผู้ทรงแต่งตั้ง ดังนั้นตัวแทนของศาสนทูตของพระองค์ พระองค์ก็จะต้องเป็นผู้แต่งตั้งเช่นเดียวกัน มิใช่ปล่อยให้ใครก็ได้มาเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งศาสนทูตของพระองค์ มิใช่ปล่อยให้ใครก็ได้มาแต่งตั้งผู้สืบทอดตำแหน่งศาสนทูตของพระอง.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและชีอะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟร้องซ์ เว็งแก็ต

France 24 (อ่านว่า ฟร้องซ์ เว็งแก็ต ในภาษาฝรั่งเศส และใช้เรียกชื่อสถานีในทุกภาษาที่ออกอากาศ) เป็นสำนักข่าวและสถานีโทรทัศน์ข่าวของประเทศฝรั่งเศส ออกอากาศเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ซึ่งออกอากาศหลัง รัสเซียทูเดย์ 2 ปี และ อัลจาซีราอินเตอร์เนชั่นแนลภาษาอังกฤษ 1 ปีกว่าๆ ปัจจุบันออกอากาศ 3 ภาษาได้แก่ ฝรั่งเศส อังกฤษ และ อารบิก (ภาษาอารบิกออกอากาศวันละ 4 ชั่วโมง (ภายหลังขยายเป็น 24 ชั่วโมง) ส่วน อังกฤษ และฝรั่งเศส ออกอากาศ 24 ชั่วโมง) ในอนาคตจะมีฟร้องซ์เว็งแกตภาคภาษาสเปน ในปี พ.ศ. 2560.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและฟร้องซ์ เว็งแก็ต · ดูเพิ่มเติม »

กฎบัตรสหประชาชาติ

กฎบัตรสหประชาชาติ (Charter of the United Nations)คือ ข้อตกลงที่บรรดาประเทศผู้ก่อตั้งและร่วมเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติได้ให้สัตยาบันเข้าผูกพัน โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และหลักการ ตลอดจนกระบวนการดำเนินงานและบริหารงานต่างๆ ขององค์การสหประชาชาติ ถือเป็นกฎหมายระหว่างประเทศและเป็นตราสารก่อตั้งที่สถาปนาองค์การให้เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการ ด้วยเหตุนี้ องค์การสหประชาชาติจึงก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) ซึ่งเป็นวันที่ประเทศจีน ประเทศฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และประเทศอื่นๆ ได้มีการให้สัตยาบันต่อกฎบัตรสหประชาชาติ โดยทุกประเทศที่เป็นสมาชิกสหประชาชาติจะต้องปฏิบัติตามกฎบัตรสหประชาชาติอย่างเคร่งครัด ยกเว้นเพียงแต่นครรัฐวาติกันที่เป็นประเทศผู้สังเกตการณ์ซึ่งเป็นข้อยกเว้น.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและกฎบัตรสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มแยกการเมือง

กลุ่มแยกการเมือง (political faction) เป็นกลุ่มปัจเจก เช่น พรรคการเมือง สหภาพการค้า หรือกลุ่มอื่นที่มีความมุ่งหมายทางการเมืองร่วมกัน กลุ่มแยกหรือพรรคการเมืองอาจมีกลุ่มแยกย่อยที่แตกเป็นส่วน ๆ "พรรคในพรรค" ซึ่งอาจเรียกว่าเป็นกลุ่มอำนาจ หรือกลุ่มออกเสียง สมาชิกของกลุ่มแยกจับมือกันเป็นวิธีบรรลุเป้าหมายเหล่านี้และผลักดันวาระและฐานะของพวกตนในองค์การหนึ่ง กลุ่มแยกไม่จำกัดอยู่เฉพาะพรรคการเมืองเท่านั้น กลุ่มแยกสามารถและมักเกิดในกลุ่มใดก็ได้ที่มีเป้าหมายหรือความมุ่งหมายทางการเมืองบางอย่าง บางทีคำ "faction" ในภาษาอังกฤษยังใช้เป็นไวพจน์ของพรรคการเมืองได้ในระดับหนึ่ง แต่ "ด้วยความหมายน่าอดสู โดยสื่อการกล่าวหาว่ามีจุดหมายปลายทางเห็นแก่ตัวหรือก่อภัย หรือมีวิธีที่ไม่สงบหรือไม่สำนึกผิดชอบ" ตามพจนานุกรมภาษาอังกฤษอ็อกซ์ฟอร์ด หมวดหมู่:การเมือง หมวดหมู่:กลุ่มแยกพรรคการเมือง.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและกลุ่มแยกการเมือง · ดูเพิ่มเติม »

การระเบิดฆ่าตัวตาย

การขับเครื่องบินของญี่ปุ่นเข้าชนเรือบรรทุกเครื่องบินของฝ่ายพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง การระเบิดฆ่าตัวตาย หรือ การระเบิดพลีชีพ เป็นการสังหารผู้อื่นโดยใช้วัตถุระเบิดผูกติดกับตัวฆาตกรแล้วเคลื่อนที่เข้าไปหาเป้าหมายเพื่อระเบิดเป้าหมายไปพร้อมกับตัวฆาตกรเอง โดยอาจจะใช้การเดินเท้าเข้าไปหาเป้าหมายหรืออาจจมีการใช้ยานพาหนะก็ได้ เรียกว่าสละตัวเพื่อฆ่าฝ่ายตรงข้ามก็ว่าได้ หมวดหมู่:อาชญากรรม.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและการระเบิดฆ่าตัวตาย · ดูเพิ่มเติม »

การทิ้งระเบิดดามัสกัสและฮอมส์ พ.ศ. 2561

วันที่ 14 เมษายน 2561 ตั้งแต่เวลา 04:00 ตามเวลาซีเรีย (UTC+3) สหรัฐ ฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักรดำเนินการโจมตีทางทหารหลายจุด โดยใช้อากาศยานมีคนขับและขีปนาวุธยิงจากเรือ ต่อตำแหน่งของรัฐบาลหลายแห่งในประเทศซีเรีย ประเทศตะวันตกทั้งสามแถลงว่าดำเนินการโจมตีเพื่อตอบโต้เหตุโจมตีเคมีที่ย่านดูมาของเขตกูตาตะวันออกเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2561 ซึ่งระบุว่าเป็นฝีมือของรัฐบาลซีเรีย ฝ่ายซีเรียปฏิเสธความเกี่ยวข้องและเรียกการโจมตีครั้งนี้ว่าละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ การโจมตีดังกล่าวมีขึ้นก่อนผู้ตรวจสอบจากองค์การห้ามอาวุธเคมีมีกำหนดเดินทางถึงประเทศซีเรียเพื่อสอบสวนเหตุโจมตีเคมี แต่เดิมมีรายงานว่ากระนั้นผู้ตรวจสอบก็ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าถึงจุดที่ใช้ผลิตและบำรุงรักษาอาวุธเคมี มีรายงานจำนวนผู้บาดเจ็บทั้งหมด 9 ราย เป็นพลเรือน 3 ราย และ ทหารซีเรีย 6 ร.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและการทิ้งระเบิดดามัสกัสและฮอมส์ พ.ศ. 2561 · ดูเพิ่มเติม »

การดื้อแพ่ง

การดื้อแพ่ง หรือ การขัดขืนอย่างสงบ (civil disobedience) หรือ "อารยะขัดขืน" เป็นรูปแบบการต่อต้านทางการเมืองอย่างสงบเพื่อกดดันให้รัฐบาลเปลี่ยนแปลงสถานภาพทางการเมืองที่เป็นอยู่ ในอดีต มีการใช้แนวทางดื้อแพ่งในการเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านอังกฤษในประเทศอินเดีย ในการต่อสู้กับการแบ่งแยกสีผิวในแอฟริกาใต้ ในการเคลื่อนไหวด้านสิทธิพลเมืองของอเมริกา และในยุโรป รวมถึงประเทศแถบสแกนดิเนเวียในการต่อต้านการยึดครองของนาซี แนวคิดนี้ริเริ่มโดยเฮนรี เดวิด ธอโร นักเขียนชาวอเมริกันในบทความชื่อดื้อแพ่ง ในชื่อเดิมว่า การต่อต้านรัฐบาลพลเมือง ซึ่งแนวคิดที่ผลักดันบทความนี้ก็คือการพึ่งตนเอง และการที่บุคคลจะมีจุดยืนที่ถูกต้องเมื่อพวกเขา "ลงจากหลังของคนอื่น" นั่นคือ การต่อสู้กับรัฐบาลนั้นประชาชนไม่จำเป็นต้องต่อสู้ทางกายภาพ แต่ประชาชนจะต้องไม่ให้การสนับสนุนรัฐบาลหรือให้รัฐบาลสนับสนุนตน (ถ้าไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล) บทความนี้มีอิทธิพลอย่างมากต่อผู้ที่ยึดแนวทางดื้อแพ่งนี้ ในบทความนี้ทอโรอธิบายเหตุผลที่เขาไม่ยอมจ่ายภาษีเพื่อเป็นการประท้วงระบบทาสและสงครามเม็กซิกัน-อเมริกัน เพื่อที่จะแสดงออกถึงดื้อแพ่ง ผู้ขัดขืนอาจเลือกที่จะฝ่าฝืนกฎหมายใดเป็นการเฉพาะ เช่น กีดขวางทางสัญจรอย่างสงบ หรือเข้ายึดครองสถานที่อย่างผิดกฎหมาย ผู้ประท้วงกระทำการจลาจลอย่างสันติเหล่านี้ โดยคาดหวังว่าพวกตนจะถูกจับกุม หรือกระทั่งถูกทำร้ายร่างกายโดยเจ้าหน้าที.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและการดื้อแพ่ง · ดูเพิ่มเติม »

การใช้อาวุธเคมีในสงครามกลางเมืองซีเรีย

หประชาชาติยืนยันการใช้อาวุธเคมีในสงครามกลางเมืองซีเรีย ซึ่งมีการโจมตีจนมีผู้เสียชีวิตได้แก่ การโจมตีที่กูตาในชานกรุงดามัสกัสในเดือนสิงหาคม 2556 และการโจมตีคันอัลอะซัล (Khan al-Assal) ในชานนครอะเลปโปในเดือนมีนาคม 2556 แม้ไม่มีฝ่ายใดอ้างความรับผิดชอบของการโจมตีเคมีดังกล่าว แต่กองทัพบะอัธซีเรียเป็นผู้ต้องสงสัยหลักเนื่องจากมีคลังอาวุธเคมีขนาดใหญ่ คณะผู้แทนหาข้อเท็จจริงของยูเอ็นและคณะกรรมการสืบสวนของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UNHRC) สืบสวนการโจมตีดังกล่าวพร้อมกัน คณะผู้แทนของยูเอ็นพบว่าน่าจะมีการใช้สารออกฤทธิ์ต่อประสาทซารินในกรณีของคันอัลอะซัล (19 มีนาคม 2556), ซะเราะกิบ (29 เมษายน 2556), กูตา (21 สิงหาคม 2556), โญบัร (24 สิงหาคม 2556) และอัชชะเราะฟิยัตซะฮ์นะยะ (25 สิงหาคม 2556) ต่อมา คณะกรรมการ UNHRC ยืนยันการใช้ซารินในการโจมตีที่คันอัลอะซัล, ซะเราะกิบและกูตา แต่ไม่กล่าวถึงโญบัรและอัชชะเราะฟิยัตซะฮ์นะยะ คณะกรรมาร UNHRC ยังพบว่าซารินที่ใช้ในการโจมตีที่คันอัลอะซัลมี "เครื่องหมายเอกลักษณ์เดียวกัน" กับซารินที่ใช้ในการโจมตีที่กูตาและบ้งชี้ว่าผู้ลงมือน่าจะเข้าถึงสารเคมีจากคลังของกองทัพซีเรีย การโจมตีดังกล่าวทำให้ประชาคมนานาชาติกดดันการปลดอาวุธเคมีของกองทัพซีเรียซึ่งมีการปฏิบัติในปี 2557 แม้มีกระบวนการปลดอาวุธ แต่ยังมีเหตุการณ์หลายสิบครั้งที่สงสัยการใช้อาวุธเคมีทั่วประเทศซีเรีย ซึ่งส่วนใหญ่กล่าวโทษต่อกำลังบะอัธซีเรีย ตลอดจนรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ แลแม้แต่กำลังฝ่ายค้านซีเรียและกองทัพตุรกี ในเดือนสิงหาคม 2559 รายงานของสหประชาชาติและองค์การห้ามอาวุธเคมีกล่าวโทษกองทัพซีเรียของประธานาธิบดีบัชชาร อัลอะซัดอย่างเปิดเผยว่าหย่อนอาวุธเคมี (ระเบิดคลอรีน) ใส่เมืองทัลมะนัสในเดือนเมษายน 2557 และซาร์มินในเดือนมีนาคม 2558 และ ISIS ว่าใช้ซัลเฟอร์มัสตาร์ดใส่เมืองมะเรีย (Marea) ในเดือนสิงหาคม 2558 มีการกล่าวหา รายงานและสอบสวน หรืออย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งการโจมตีอีกหลายครั้ง ในเดือนธันวาคม 2559 มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 53 คนในการโจมตีที่ดูเหมือนใช้แก๊สออกฤทธิ์ต่อประสาทในหมู่บ้านที่ IS ถือครองใกล้อุเกาะริเราะบัต นับเป็นการโจมตีด้วยแก๊สออกฤทธิ์ต่อประสาทใหญ่ครั้งแรกนับแต่ข้อตกลงปี 2556 ในเดือนเมษายน 2560 การโจมตีเคมีที่คอนชัยคูนเรียกการประณามจากนานาประเทศและกระตุ้นปฏิบัติการทางทหารครั้งแรกของสหรัฐต่อฐานทัพซีเรียที่ชะอิรัต.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและการใช้อาวุธเคมีในสงครามกลางเมืองซีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

การโจมตีเคมีที่ดูมา

วันที่ 7 เมษายน 2561 เกิดการโจมตีเคมีตามรายงานในนครดูมา (Douma) ประเทศซีเรีย โดยมีผู้เสียชีวิตตามกล่าวหาประมาณ 42–70 คน รัฐบาลซีเรียและพันธมิตรคัดค้านรายงานนี้ซึ่งปฏิเสธว่าไม่มีการโจมตีเคมีใด ๆ เกิดขึ้น.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและการโจมตีเคมีที่ดูมา · ดูเพิ่มเติม »

การโจมตีเคมีที่คอนชัยคูน พ.ศ. 2560

วันที่ 4 เมษายน 2560 เมืองคอนชัยคูน (Khan Shaykhun) ในเขตผู้ว่าการอิดลิบ ประเทศซีเรีย ซึ่งตะห์รีรุชชามควบคุมอยู่ ถูกโจมตีทางอากาศด้วยแก๊สซาริน ตามด้วยการถูกพิษเคมีของพลเรือนขนานใหญ่ เหตุดังกล่าวทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 58 คน และบาดเจ็บกว่า 300 คน ตามข้อมูลของหน่วยงานสาธารณสุขอิดลิบ หากยืนยัน เหตุโจมตีดังกล่าวจะเป็นการใช้อาวุธเคมีครั้งที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุดในสงครามกลางเมืองซีเรียนับตั้งแต่การโจมตีเคมีที่ฆูเฏาะฮ์ในปี 2556 ดอนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหราชอาณาจักร บอริส จอห์นสัน กล่าวโทษเหตุดังกล่าวว่ากำลังของประธานาธิบดีซีเรียบัชชาร อัลอะซัดเป็นผู้ลงมือ ฝ่ายรัฐบาลรัสเซียและซีเรียกล่าวว่าเกิดจากกองทัพอากาศซีเรียทำลายโกดังอาวุธเคมีของฝ่ายกบฏในละแวกนั้น สหรัฐตอบโต้โดยปล่อยขีปนาวุธร่อน 59 ลูกใส่ฐานทัพอากาศชะอิรัต ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นบ่อเกิดของเหตุโจมตีดังกล่าว.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและการโจมตีเคมีที่คอนชัยคูน พ.ศ. 2560 · ดูเพิ่มเติม »

ญัยชุลอิสลาม

งของญัยชุลอิสลาม ญัยชุลอิสลาม (جيش الإسلام, Jaysh al-Islam หมายถึง กองทัพอิสลาม) ชื่อเดิมคือลิวาอัลอิสลาม หรือกองพลอิสลาม เป็นแนวร่วมของหน่วยนิยมอิสลามและซาลาฟีที่เกี่ยวข้องในสงครามกลางเมืองซีเรีย ฐานที่มั่นแห่งแรกอยู่ในดามัสกัส ใกล้กับดูมาและฆูเฏาะฮ์ตะวันออก ญัยชุลอิสลามเป็นกลุ่มกบฏที่ใหญ่ที่สุดในบริเวณนี้ ซึ่งเป็นที่อยู่ของบรรพบุรุษ กลุ่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของแนวร่วมอิสลาม (ซีเรีย) องค์กรนี้ปฏิเสธการเป็นสมาชิกของกองทัพซีเรียเสรี ฮะมาสกล่าวหาว่า คอลิด มัชอัล มีความเกี่ยวข้องกับอิหร่าน ซีเรียและรัสเซียกำหนดให้กลุ่มนี้เป็นกลุ่มก่อการร้.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและญัยชุลอิสลาม · ดูเพิ่มเติม »

ญิฮาด

ญิฮาด (جهاد, Jihad) มาจากคำกริยา ญะฮะดะ ในภาษาอาหรับหมายถึง การดิ้นรนต่อสู้หรือความพยายาม ในทางศาสนาหมายถึง ความพยายามที่จะเพิ่มศรัทธาในพระเจ้ารวมทั้งการทำความดี การเผยแพร่ศาสนา ผู้ทำการญิฮาดเรียกว่ามุญาฮิด พหูพจน์เรียกว่ามุญาฮิดีน ในทางศาสนาอิสลามแล้ว คำนี้ไม่ได้หมายถึงสงครามศักดิ์สิทธิ์ดังที่ผู้มิใช่มุสลิมเข้าใจ และเป็นศัพท์ทางศาสนาคำหนึ่งที่ถูกเข้าใจผิดบ่อยครั้ง คำว่าญิฮาดนี้มีปรากฏทั้งในอัลกุรอ่านและหะดิษต่าง.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและญิฮาด · ดูเพิ่มเติม »

มรดกโลก

ตราสัญลักษณ์ แหล่งมรดกโลก หรือ มรดกโลก (World Heritage Site; Patrimoine Mondial) คือสถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต ในปัจจุบัน (กรกฎาคม 2560) มีมรดกโลกทั้งหมด 1073 แห่ง ใน 167 ประเทศทั่วโลก ซึ่งแบ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 832 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 206 แห่ง และอีก 35 แห่งเป็นแบบผสมทั้งสองประเภท, UNESCO World Heritage Sites official sites.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและมรดกโลก · ดูเพิ่มเติม »

รัฐสภาสหรัฐ

รัฐสภาสหรัฐ (United States Congress) เป็นสภานิติบัญญัติสูงสุดในระบบการปกครองสหรัฐ ซึ่งเป็นระบบสภาคู่ ที่ประกอบด้วย วุฒิสภา (Senate) และ สภาผู้แทนราษฎร (House of Representatives) สมาชิกของทั้งสองสภาได้รับเลือกจากประชาชนโดยตรง สมาชิก 435 คนของสภาผู้แทนราษฎรเป็นตัวแทนจากเขตการปกครอง (district) และมีหน้าที่สองปี ผู้แทนราษฎรได้รับเลือกตั้งมาจากเขตการปกครองตามจำนวนประชากรที่ระบุไว้ในเขตการเลือกตั้งสหรัฐซึ่งเปลื่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม ฉะนั้นทุกสองปีหนึ่งในสามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องได้รับเลือกตั้งใหม่ ส่วนสมาชิกวุฒิสภา 100 คนของวุฒิสภารับหน้าที่ครั้งละหกปี แต่ละมลรัฐมีสิทธิในการเลือกสมาชิกวุฒิสภาสองคนไม่ว่าจะเป็นรัฐมีประชากรมากหรือน้อยเท่าใด รัฐธรรมนูญสหรัฐให้อำนาจในการออกกฎหมายแก่รัฐสภาทั้งวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจเท่ากันในกระบวนการออกกฎหมาย กฎหมายทุกฉบับที่นำมาปฏิบัติได้ต้องได้รับการอนุมัติจากทั้งสองสภา แต่รัฐธรรมนูญให้อำนาจพิเศษที่เป็นเอกลักษณ์บางอย่างแก่ทั้งสองสภา เช่นวุฒิสภามีอำนาจในการอนุมัติสนธิสัญญา และ การแต่งตั้งตำแหน่งของหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาลที่เสนอโดยประธานาธิบดี แต่กฎหมายเกี่ยวกับการหารายได้เพิ่มเป็นหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรที่จะเสนอ นอกจากนั้นสภาผู้แทนราษฎรก็ยังมีอำนาจฟ้องขับเจ้าหน้าที่ชั้นสูงออกจากตำแหน่ง (impeachment) ขณะที่วุฒิสภามีอำนาจในการพิจารณาฟ้องดังกล่าว ปัจจุบันเป็นสมัยประชุมที่ 115 เริ่มเมื่อวันที่ 3 มกราคม..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและรัฐสภาสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์

รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ (Islamic State of Iraq and the Levant, ย่อ: ISIL) หรือเรียก รัฐอิสลามอิรักและซีเรีย (Islamic State of Iraq and Syria; ย่อ: ISIS), รัฐอิสลามอิรักและอัชชาม (Islamic State of Iraq and ash-Sham) หรือรัฐอิสลาม (Islamic State; ย่อ: IS) เป็นกลุ่มนักรบสุดโต่งวะฮาบีย์/ญิฮัดสะละฟีย์ซึ่งตั้งตนเป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์และรัฐอิสลาม กลุ่มนี้มีชาวอาหรับนิกายซุนนีย์จากประเทศอิรักและซีเรียเป็นผู้นำและเป็นส่วนใหญ่ ในเดือนมีนาคม 2558 กลุ่มควบคุมดินแดนที่มีประชากร 10 ล้านคนในประเทศอิรักและซีเรีย และควบคุมเหนือดินแดนขนาดเล็กในประเทศลิเบีย ไนจีเรียและอัฟกานิถสานผ่านกลุ่มท้องถิ่นที่ภักดี กลุ่มนี้ยังปฏิบัติการหรือมีสาขาในส่วนอื่นของโลก รวมถึงแอฟริกาเหนือและเอเชียใต้ วันที่ 29 มิถุนายน กลุ่มตั้งต้นเป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์ทั่วโลก โดยมีอะบู บักร์ อัลบัฆดาดีเป็นเคาะลีฟะฮ์ และเปลี่ยนชื่อเป็นอัดเดาละฮ์ อัลอิสลามิยะฮ์ (الدولة الإسلامية, ad-Dawlah al-Islāmiyah "รัฐอิสลาม") ด้วยเป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์ กลุ่มนี้อ้างอำนาจทางศาสนา การเมืองและทหารเหนือมุสลิมทุกคนทั่วโลก และว่า "ความชอบด้วยกฎหมายของทุก ๆ เอมิเรต กลุ่ม รัฐและองค์การเป็นโมฆะโดยการแผ่ขยายอำนาจของเคาะลีฟะฮ์และทหารของรัฐเคาะลีฟะฮ์มาถึงพื้นที่ของสิ่งเหล่านี้" สหประชาชาติถือว่า ISIL รับผิดชอบต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนและอาชญากรรมสงคราม และองค์การนิรโทษกรรมสากลรายงานการล้างชาติพันธุ์ของกลุ่มใน "ขนาดที่ไม่เคยมีมาก่อน" สหประชาชาติ สหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย แคนาดา อินโดนีเซีย มาเลเซีย ตุรกี ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อียิปต์ อินเดียและรัสเซียประกาศให้กลุ่มนี้เป็นองค์การก่อการร้าย กว่า 60 ประเทศกำลังทำสงครามโดยตรงหรือโดยอ้อมต่อ ISIL กลุ่มนี้กำเนิดเป็น "จามาต ตอฮิด วัล ญิฮัด" (Jama'at al-Tawhid wal-Jihad) ในปี 2542 ซึ่งสวามิภักดิ์ต่ออัลกออิดะฮ์ในปี 2547 กลุ่มนี้เข้าร่วมการก่อการกำเริบอิรักให้หลังการบุกครองอิรัก พ.ศ. 2546 โดยกำลังตะวันตก ในเดือนมกราคม 2549 กลุ่มนี้เข้ากับกลุ่มก่อการกำเริบซุนนีย์อื่นตั้งเป็นสภาชูรามุญาฮิดีน (Mujahideen Shura Council) ซึ่งประกาศตั้งรัฐอิสลามอิรัก (ISI) ในเดือนตุลาคม 2549 หลังสงครามกลางเมืองซีเรียอุบัติในเดือนมีนาคม 2554 ISI โดยมีอัลบัฆดาดีเป็นผู้นำ ส่งผู้แทนไปซีเรียในเดือนสิงหาคม 2554 นักรบเหล่านี้ตั้งชื่อตัวเองเป็นญับฮะตุลนุศเราะฮฺลิอะห์ลิอัชชาม (Jabhat an-Nuṣrah li-Ahli ash-Shām) หรือแนวอัลนุสรา (al-Nusra Front) และเข้าไปในอยู่ในพื้นที่ของซีเรียซึ่งมีมุสลิมซุนนีย์เป็นส่วนใหญ่จำนวนมาก ในผู้ว่าราชการอัรร็อกเกาะฮ์ อิดลิบ เดอีร์เอซซอร์ และอะเลปโป ในเดือนเมษายน 2556 อัลบัฆดาดีประกาศรวม ISI กับแนวร่วมอัลนุสราแล้วเปลี่ยนชื่อเป็นรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ (ISIL) อย่างไรก็ดี อะบู มุฮัมมัด อัลจูลานี (Abu Mohammad al-Julani) และอัยมัน อัซเซาะวาฮิรี ผู้นำของอัลนุสราและอัลกออิดะฮ์ตามลำดับ ปฏิเสธการรวมดังกล่าว วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2557 หลังการแย่งอำนาจนานแปดเดือน อัลกออิดะฮ์เรียกกลุ่มนี้ว่า "สุดโต่งเกิน" และตัดความสัมพันธ์ทั้งหมดกับ ISIL โดยอ้างว่าไม่สามารถปรึกษาได้และไม่ยอมอ่อนข้ออย่างเปิดเผย" ในประเทศซีเรีย กลุ่มนี้ดำเนินการโจมตีภาคพื้นดินต่อทั้งกำลังรัฐบาลและกลุ่มแยกกบฏในสงครามกลางเมืองซีเรีย กลุ่มนี้มีความสำคัญหลังขับกำลังรัฐบาลอิรักออกจากนครสำคัญในภาคตะวันตกของอิรักในการรุกที่เริ่มเมื่อต้นปี 2557 การเสียดินแดนของอิรักแทบทำให้รัฐบาลอิรักล่มและทำให้สหรัฐรื้อฟื้นการปฏิบัติทางทหารใหม่ในอิรัก.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ · ดูเพิ่มเติม »

รีอะโนวัสติ

รีอะโนวัสติ (РИА Новости) หรือเรียกอย่างสั้นว่า รีอะ (РИА) เป็นสำนักข่าวของรัสเซียและและเจ้าของสถานีโทรทัศน์ช่องรัสเซียทูเดย์ สำนักข่าวแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและรีอะโนวัสติ · ดูเพิ่มเติม »

วลาดีมีร์ ปูติน

วลาดีมีร์ วลาดีมีโรวิช ปูติน (Владимир Владимирович Путин; Vladimir Vladimirovich Putinr) เป็นนักการเมืองชาวรัสเซียผู้ดำรงตำแหน่ง ประธานาธิบดีรัสเซียคนที่สี่และคนปัจจุบัน เช่นเดียวกับประธานพรรคยูไนเต็ดรัสเซียและประธานสภารัฐมนตรีสหภาพรัสเซียและเบลารุส เขารักษาการตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและวลาดีมีร์ ปูติน · ดูเพิ่มเติม »

สหพันธรัฐประชาธิปไตยซีเรียเหนือ

อร์ดิสถานซีเรีย (Syrian Kurdistan) หรือเคอร์ดิสถานตะวันตก (Western Kurdistan) (Rojavayê Kurdistanê; کوردستان السورية, Kurdistan Al-Suriyah) มักเรียกเพียง โรยาวา (Rojava) (ตะวันตก ในภาษาเคิร์ด) เป็นดินแดนปกครองตนเองโดยพฤตินัยในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศซีเรีย เคอร์ดิสถานซีเรียเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ภูมิศาสตร์ใหญ่กว่า เรียก เคอร์ดิสถาน ซึ่งรวมบางส่วนของภาคตะวันออกเฉียงใต้ของตุรกี (เคอร์ดิสถานตุรกี) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอิรัก (เคอร์ดิสถานอิรัก) ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอิหร่าน (เคอร์ดิสถานอิหร่าน) และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของซีเรีย (เคอร์ดิสถานซีเรีย) เป็นบริเวณที่มีชาวเคิร์ดอาศัยอยู่จำนวนมาก พื้นที่ปกคลุมทางตะวันตกเฉียงเหนือของซากรอส และทางตะวันออกของเทือกเขาเทารัส ตั้งแต..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและสหพันธรัฐประชาธิปไตยซีเรียเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพยุโรป

หภาพยุโรป (European Union: EU) เป็นสหภาพทางเศรษฐกิจและการเมือง ประกอบด้วยรัฐสมาชิก 28 ประเทศซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรป มีพื้นที่ 4,324,782 ตารางกิโลเมตร มีประชากรที่ประเมินกว่า 510 ล้านคน สหภาพยุโรปพัฒนาตลาดเดี่ยวภายในผ่านระบบกฎหมายทำให้เป็นมาตรฐานซึ่งใช้บังคับในรัฐสมาชิกทุกประเทศ นโยบายสหภาพยุโรปมุ่งประกันการเคลื่อนย้ายบุคคล สินค้า บริการและทุนอย่างเสรีในตลาดเดี่ยว ตรากฎหมายด้านยุติธรรมและกิจการในประเทศและธำรงนโยบายร่วมกันด้านการค้า เกษตรกรรม การประมงและการพัฒนาภูมิภาค การควบคุมหนังสือเดินทางถูกเลิกภายในพื้นที่เชงเกน มีการตั้งสหภาพการเงินในปี 2542 และมีผลบังคับเต็มที่ในปี 2545 ประกอบด้วยรัฐสมาชิกสหภาพยุโรป 19 ประเทศซึ่งใช้สกุลเงินยูโร สหภาพยุโรปดำเนินการผ่านระบบผสมระหว่างสหภาพเหนือชาติและความร่วมมือระหว่างรัฐบาล องค์กรตัดสินใจหลักเจ็ดองค์กร เรียก สถาบันของสหภาพยุโรป ได้แก่ ที่ประชุมยุโรป คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป รัฐสภายุโรป คณะกรรมาธิการยุโรป ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรป ธนาคารกลางยุโรปและศาลผู้สอบบัญชียุโรป สหภาพยุโรปกำเนิดขึ้นจากประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป (ECSC) และประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2494 และ 2501 ตามลำดับโดยประเทศอินเนอร์ซิกส์ ประชาคมและองค์การสืบเนื่องมีขนาดเติบโตขึ้นโดยการเข้าร่วมของสมาชิกใหม่และมีอำนาจมากขึ้นโดยการเพิ่มขอบเขตนโยบายในการจัดการ สนธิสัญญามาสทริชท์สถาปนาสหภาพยุโรปในปี 2536 และนำเสนอความเป็นพลเมืองยุโรป การแก้ไขหลักพื้นฐานรัฐธรรมนูญล่าสุดของสหภาพยุโรปล่าสุด สนธิสัญญาลิสบอน มีผลใช้บังคับในปี 2552 สหภาพยุโรปมีประชากรคิดเป็น 7.3% ของประชากรโลก ในปี 2559 สหภาพยุโรปผลิตผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน 16.477 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 22.2% ของจีดีพีราคาตลาดโลก และ 16.9% เมื่อวัดในแง่ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ นอกจากนี้ ประเทศสหภาพยุโรป 26 จาก 28 ประเทศมีดัชนีการพัฒนามนุษย์สูงมาก ตามข้อมูลของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ในปี 2555 สหภาพยุโรป ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ สหภาพยุโรปพัฒนาบทบาทด้านความสัมพันธ์ภายนอกและการกลาโหมผ่านนโยบายต่างประเทศและความมั่นคงร่วม สหภาพฯ คงคณะผู้แทนทางทูตถาวรทั่วโลกและมีผู้แทนในสหประชาชาติ องค์การการค้าโลก จี7 และจี-20 เนื่องจากมีอิทธิพลทั่วโลก จึงมีการอธิบายสหภาพยุโรปเป็นอภิมหาอำนาจปัจจุบันหรืออภิมหาอำนาจในอนาคต.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและสหภาพยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

สันนิบาตอาหรับ

ันนิบาตอาหรับ สันนิบาตอาหรับ (جامعة الدول العربية‎) คือองค์กรของกลุ่มประเทศอาหรับ ตั้งขึ้นในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2488 มีศูนย์กลางที่ประเทศอียิปต์ ซึ่งต่อมาย้ายไปยังเมืองตูนิส ในประเทศตูนิเซียในช่วงปี พ.ศ. 2522 ถึงปี พ.ศ. 2532 ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 22 ประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องเอกราชและอธิปไตยของประเทศสมาชิก.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและสันนิบาตอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

สำนักข่าวกรองกลาง

ำนักข่าวกรองกลาง (Central Intelligence Agency) หรือย่อว่า ซีไอเอ (CIA) เป็นหน่วยงานราชการด้านข่าวกรองต่างชาติพลเรือนของ รัฐบาลกลางสหรัฐ มีหน้าที่รวบรวม ประมวลผล และวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติจากทั่วโลก โดยผ่านการข่าวกรองทางมนุษย์ (Human Intelligence; HUMINT) เป็นส่วนใหญ่ ในฐานะที่เป็นหนึ่งในสมาชิกหลักของชุมชนข่าวกรองสหรัฐ (U.S. Intelligence Community; IC) สำนักข่าวกรองรายงานต่อผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติ (Director of National Intelligence; DNI) และจะเน้นไปที่การหาข่าวกรองให้ ประธานาธิบดีสหรัฐ และ คณะรัฐมนตรีสหรัฐ เป็นหลัก ไม่เหมือนกับ สำนักงานสอบสวนกลาง ที่เป็นหน่วยงานราชการความมั่นคงภายใน สำนักข่าวกรองกลางไม่มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายและเน้นการรวบรวมข่าวกรองในต่างประเทศ โดยมีข้อจำกัดเฉพาะในการที่จะหาข่าวกรองจากในประเทศ อย่างไรก็ตามสำนักข่าวกรองกลางไม่ได้เป็นแค่หน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯที่เชี่ยวชาญในด้านข่าวกรองทางมนุษย์เท่านั้น มันยังมีหน้าที่ในการเป็นผู้จัดการระดับชาติในการประสานงานกับหน่วนงานต่างๆที่ทำกิจกรรมเกี่ยวกับการข่าวกรองทางมนุษย์ทั้งหมด ในชนชุมข่าวกรองสหรัฐฯ ยิ่งไปกว่านั้น สำนักข่าวกรองกลางเป็นหน่วยงานเดียวที่ได้รับอนุญาตโดยกฎหมาย ในการดำเนินการและดูแลการปฏิบัติการณ์ซ่อนเร้น (Covert Action/Operation) โดยคำสั่งประธานาธิบดี สำนักข่าวกรองกลางสามารถควบคุมอิทธิพลทางการเมืองของต่างประเทศได้โดยผ่านทางแผนกยุทธวิธีของตน อย่างเช่น แผนกปฏิบัติการณ์พิเศษ (Special Activities Division; SAD) ก่อนจะมีรัฐบัญญัติการปฏิรูปการข่าวกรองและการป้องกันการก่อการร้าย (Intelligence Reform and Terrorism Prevention Act) ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองกลางยังทำหน้าที่ควบคู่ไปกับการเป็นหัวหน้าชุมชนข่าวกรองสหรัฐฯ แต่ปัจจุบันสำนักข่าวกรองถูกจัดระเบียบภายใต้ผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติ แม้จะมีการถ่ายโอนอำนาจบางส่วนไปยังผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติก็ตาม สำนักข่าวกรองกลางได้มีขนาดเพิ่มขึ้น เป็นผลมาจาก วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 ในปี..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและสำนักข่าวกรองกลาง · ดูเพิ่มเติม »

สิทธิมนุษยชน

ทธิมนุษยชน (human rights) เป็นหลักทางศีลธรรมหรือจารีตJames Nickel, with assistance from Thomas Pogge, M.B.E. Smith, and Leif Wenar, December 13, 2013, Stanford Encyclopedia of Philosophy,, Retrieved August 14, 2014ซึ่งอธิบายมาตรฐานตายตัวของพฤติกรรมมนุษย์ และได้รับการคุ้มครองสม่ำเสมอเป็นสิทธิทางกฎหมายในกฎหมายท้องถิ่นและกฎหมายระหว่างประเทศ ปกติเข้าใจว่าเป็นสิทธิพื้นฐานที่ไม่โอนให้กันได้ "ซึ่งบุคคลมีสิทธิในตัวเพียงเพราะผู้นั้นเป็นมนุษย์" และซึ่ง "มีอยู่ในมนุษย์ทุกคน"Burns H. Weston, March 20, 2014, Encyclopedia Britannica,, Retrieved August 14, 2014 โดยไม่คำนึงถึงชาติ สถานที่ ภาษา ศาสนา ชาติพันธุ์กำเนิดหรือสถานภาพอื่นใด สิทธิมนุษยชนใช้ได้ทุกที่ทุกเวลาในแง่ที่เป็นสากล และสมภาคในแง่ที่เหมือนกับสำหรับทุกคนThe United Nations, Office of the High Commissioner of Human Rights,, Retrieved August 14, 2014 สิทธิดังกล่าวต้องการความร่วมรู้สึกและหลักนิติธรรมGary J. Bass (book reviewer), Samuel Moyn (author of book being reviewed), October 20, 2010, The New Republic,, Retrieved August 14, 2014 และกำหนดพันธะต่อบุคคลให้เคารพสิทธิมนุษยชนของผู้อื่น สิทธิดังกล่าวไม่ควรถูกพรากไปยกเว้นอันเป็นผลของกระบวนการทางกฎหมายที่ยึดพฤติการณ์แวดล้อมจำเพาะ ตัวอย่างเช่น สิทธิมนุษยชนอาจรวมเสรีภาพจากการจำคุกโดยมิชอบด้วยกฎหมาย การทรมานและการประหารชีวิตMerriam-Webster dictionary,, Retrieved August 14, 2014, "rights (as freedom from unlawful imprisonment, torture, and execution) regarded as belonging fundamentally to all persons" ลัทธิสิทธิมนุษยชนมีอิทธิพลสูงในกฎหมายระหว่างประเทศ สถาบันโลกและภูมิภาค การกระทำของรัฐและองค์การนอกภาครัฐก่อพื้นฐานของนโยบายสาธารณะทั่วโลก แนวคิดสิทธิมนุษยชนเสนอว่า "หากวจนิพนธ์สาธารณะสังคมโลกยามสงบสามารถกล่าวเป็นภาษาศีลธรรมร่วมได้ สิ่งนั้นคือสิทธิมนุษยชน" การอ้างอย่างหนักแน่นโดยลัทธิสิทธิมนุษยชนยังกระตุ้นกังขาคติและการอภิปรายเกี่ยวกับเนื้อหา สภาพและการให้เหตุผลว่าชอบด้วยกฎหมายซึ่งสิทธิมนุษยชนตราบจนทุกวันนี้ ความหมายแน่ชัดของคำว่า "สิทธิ" นั้นมีการโต้เถียงและเป็นหัวข้อการอภิปรายทางปรัชญาต่อไป ขณะที่มีการเห็นพ้องต้องกันว่าสิทธิมนุษยชนครอบคลุมสิทธิต่าง ๆ เช่น สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีด้วยความเป็นธรรม การคุ้มครองจากการเป็นทาส การห้ามพันธุฆาต เสรีภาพในการพูดMacmillan Dictionary,, Retrieved August 14, 2014, "the rights that everyone should have in a society, including the right to express opinions about the government or to have protection from harm"หรือเสรีภาพที่จะได้รับการศึกษา แต่ยังเห็นไม่ลงรอยกันเกี่ยวกับว่าสิทธิใดบ้างต่อไปนี้ควรรวมอยู่ในกรอบทั่วไปของสิทธิมนุษยชน นักคิดบางคนเสนอว่าสิทธิมนุษยชนควรเป็นข้อกำหนดพื้นฐานเพื่อเลี่ยงการละเมิดที่ร้ายแรงที่สุด ขณะที่บางคนมองว่าเป็นมาตรฐานขั้นสูง ความคิดพื้นฐานดังกล่าวจำนวนมากซึ่งขับเคลื่อนขบวนการสิทธิมนุษยชนพัฒนาขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สองและความเหี้ยมโหดของฮอโลคอสต์ จนลงเอยด้วยสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติมีมติเห็นชอบปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในกรุงปารีสในปี 2491 คนโบราณไม่มีแนวคิดสิทธิมนุษยชนสากลสมัยใหม่แบบเดียวกัน การบุกเบิกวจนิพนธ์สิทธิมนุษยชนอย่างแท้จริงนั้นคือมโนทัศน์สิทธิธรรมชาติซึ่งปรากฏเป็นส่วนหนึ่งของประเพณีกฎหมายธรรมชาติยุคกลางซึ่งโดดเด่นขึ้นระหว่างยุคภูมิธรรมยุโรปโดยมีนักปรัชญาอย่างจอห์น ล็อก, ฟรานซิส ฮัตชิสัน (Francis Hutcheson) และฌ็อง-ฌัก บือลามาคี (Jean-Jacques Burlamaqui) และซึ่งมีการเสนออย่างโดดเด่นในวจนิพันธ์การเมืองของการปฏิวัติอเมริกาและการปฏิวัติฝรั่งเศส จากรากฐานนี้ การให้เหตุผลสิทธิมนุษยชนสมัยใหม่กำเนิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 อาจเป็นปฏิกิริยาต่อความเป็นทาส การทรมาน พันธุฆาตและอาชญากรรมสงคราม โดยความตระหนักถึงความเปราะบางของมนุษย์ในตัวและเป็นเงื่อนไขก่อนความเป็นไปได้ของสังคมยุติธรรม.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและสิทธิมนุษยชน · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกลางเมือง

งครามกลางเมือง (civil war) เป็นสงครามภายในกลุ่มคนที่มีวัฒนธรรม, สัญชาติ หรือสังคมแบบเดียวกัน โดยมีจุดประสงค์เพื่อแย่งชิงอำนาจหรือดินแดน สงครามกลางเมืองอาจนับเป็นการปฏิวัติ (Revolution) ได้ในกรณีที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมครั้งใหญ่ภายในสังคมนั้นหลังจากสิ้นสุดสงคราม นักประวัติศาสตร์บางกลุ่มยังได้นับรวมเอาการจลาจล (Insurgency) เป็นสงครามกลางเมืองประเภทหนึ่งด้วยถ้ามีการสู้รบระหว่างกองทัพอย่างเต็มรูปแบบ ปัจจุบันความแตกต่างระหว่าง "สงครามกลางเมือง", "การปฏิวัติ" และ "การจลาจล" นั้นไม่ชัดเจนนัก ขึ้นอยู่กับบริบทในการใช้งาน สงครามกลางเมืองที่สำคัญ.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและสงครามกลางเมือง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกลางเมืองลิเบีย

งครามกลางเมืองลิเบี..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและสงครามกลางเมืองลิเบีย · ดูเพิ่มเติม »

สงครามตัวแทน

งครามตัวแทน (proxy war) เป็นความขัดแย้งระหว่างรัฐหรือตัวแสดงที่มิใช่รัฐสองฝ่ายซึ่งต่างฝ่ายต่างมิได้ประจัญบานโดยตรงกับอีกฝ่ายหนึ่ง แม้คำนี้ครอบคลุมการเผชิญหน้าด้วยอาวุธต่าง ๆ แต่บทนิยามแกนกลางของ "สงครามตัวแทน" ตั้งอยู่บนอำนาจสองฝ่ายใช้การต่อสู้ภายนอกเพื่อโจมตีผลประโยชน์หรือการถือครองดินแดนของอีกฝ่าย สงครามตัวแทนมักเกี่ยวข้องกับทั้งสองประเทศต่อสู้กับพันธมิตรของคู่แข่ง หรือสนับสนุนพันธมิตรของตนในการต่อสู้กับคู่แข่ง สงครามตัวแทนพบมากเป็นพิเศษช่วงใกล้สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองและช่วงสงครามเย็น และเป็นมุมมองนิยามความขัดแย้งทั่วโลกระหว่างครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ส่วนมากได้รับการจูงใจจากความกลัวว่าความขัดแย้งโดยตรงระหว่างสหรัฐและสหภาพโซเวียตจะส่งผลให้เกิดการฆ่าล้างบางนิวเคลียร์ ทำให้สงครามตัวแทนเป็นวิธีแสดงออกซึ่งความเป็นปรปักษ์ที่ปลอดภัยกว่า นอกจากนี้ยังมีเหตุผลประชิดกว่าสำหรับการถือกำเนิดของสงครามตัวแทนในเวทีโลก คือระหว่างช่วงปีหลัง ๆ สหภาพโซเวียตพบว่าการติดอาวุธหรือจัดตั้งภาคีปฏิปักษ์ต่อเนโทแทนการเผชิญหน้าโดยตรงมีราคาถูกกว่าProf CJ.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและสงครามตัวแทน · ดูเพิ่มเติม »

อะบู บักร์ อัลบัฆดาดี

อิบรอฮีม เอาวาด อิบรอฮีม อะลี อัลบัดรี อัสซามรออี (ابراهيم عواد ابراهيم علي البدري السامرائي) หรือที่รู้จักกันในชื่อ อะบู บักร์ อัลบัฆดาดี (أبو بكر البغدادي; Abu Bakr al-Baghdadi; เกิด 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2514) เป็นเคาะลีฟะฮ์แห่งรัฐอิสลาม.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและอะบู บักร์ อัลบัฆดาดี · ดูเพิ่มเติม »

อะเลปโป

อะเลปโป (Aleppo) หรือ ฮะลับ (حلب / ALA-LC) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศซีเรีย และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ เป็นเมืองหลวงของเขตผู้ว่าราชการอะเลปโป ซึ่งเป็นเขตผู้ว่าราชการที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศ มีประชากรอย่างเป็นทางการ 2,132,100 คน (ค.ศ. 2004) เป็นหนึ่งในเมืองที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเลแวนต์ ร่วมหลายศตวรรษที่เมืองที่ใหญ่ที่สุดในเกรตเตอร์ซีเรีย และเป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับ 3 ของอาณาจักรออตโตมัน รองจากอิสตันบูลและไคโรRussell, Alexander (1794),, 2nd Edition, Vol.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและอะเลปโป · ดูเพิ่มเติม »

อัยมัน อัซเซาะวาฮิรี

อัยมัน มุฮัมมัด เราะบี อัซเซาะวาฮิรี (أيمن محمد ربيع الظواهري‎, Ayman Mohammed Rabie al-Zawahiri; เกิด 19 มิถุนายน พ.ศ. 2494) เป็นนักเทววิทยาอิสลามชาวอียิปต์ ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้นำของกลุ่มก่อการร้ายอัลกออิดะฮ์ ก่อนหน้านั้นเขาเคยเป็น "เอมีร์" (emir) คนที่สองและคนสุดท้ายของญิฮาดอิสลามอียิปต์ โดยสืบทอดตำแหน่งเอมีร์สืบต่อจากอับบัด อัล-ซูมาร์ เมื่อเขาถูกทางการอียิปต์ตัดสินจำคุกตลอดชีวิต ภรรยาของอัซเซาะวาฮิรีและลูกสามคนจากทั้งหมดหกคนถูกสังหารในการโจมตีทางอากาศในอัฟกานิสถานโดยกองทัพสหรัฐเมื่อปลายปี..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและอัยมัน อัซเซาะวาฮิรี · ดูเพิ่มเติม »

อัรร็อกเกาะฮ์

อัรร็อกเกาะฮ์ (الرقة) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศซีเรีย หมวดหมู่:เมืองในประเทศซีเรีย.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและอัรร็อกเกาะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

อัลกออิดะฮ์

อัลกออิดะฮ์ (القاعدة‎, al-Qā`ida "ฐาน") หรือ แอล-ไคดา (al-Qaeda) เป็นกลุ่มก่อการร้ายอิสลามสากล ก่อตั้งโดย อุซามะฮ์ บิน ลาดิน, อับดุลลาห์ อัซซัม (Abdullah Azzam) และนักรบอื่นอีกหลายคน บางช่วงระหว่างเดือนสิงหาคม 2531.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและอัลกออิดะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

อัลญะซีเราะฮ์

อัลญะซีเราะฮ์ (قناة الجزيرة) หรือ แอลจะเซียรา (Al Jazeera) แปลว่า "คาบสมุทร" หมายถึง "คาบสมุทรอาหรับ" มาจาก شبه الجزيرة العربية šibh al-ğazīra al-‘arabīya, คาบสมุทรอาหรับ, เรียกอย่างย่อว่า الجزيرة العربية al-ğazīra al-‘arabīya, แปลว่า เกาะอาหรับ, شبه šibh แปลว่า "ราวกับ") เป็นสำนักข่าวอาหรับตั้งอยู่ ณ กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ ก่อตั้งเมื่อเดือนเมษายน ปี พ.ศ. 2539 เจ้าของกิจการ คือ เชคฮามัด บิน คอลีฟะห์ อัลตานี ผู้บริหารคนสำคัญ คือ วาดาห์ คันฟัร (Wadah Khanfar) ใช้งบประมาณก่อตั้ง 150 ล้านเรียลจากการอุปถัมภ์ของรัฐบาลกาตาร์ มีผู้ชมราว 45 ล้านคน เหตุที่เป็นสำนักข่าวยอดนิยมก็เพราะมักนำเสนอข่าวสงครามอัฟกานิสถาน อิรัก และเรื่องราวของอุซามะฮ์ บิน ลาดิน อย่างเจาะลึก มีคำขวัญคือ "ทัศนะและอีกทัศนะหนึ่ง" (الرأي و الرأي الآخر) นำเสนอข่าวผ่านดาวเทียม ไนล์แซต อาหรับแซต และฮอตเบิร์ด นอกเหนือจากช่องข่าว อัลญะซีเราะฮ์ยังมีช่องอื่น ๆ ของทางสถานี เช่น ช่องรายการสำหรับเด็ก ช่องรายการกีฬา ช่องรายการสารคดี ช่องภาคภาษาอังกฤษ ช่องภาคภาษาอุรดู.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและอัลญะซีเราะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

อัลญะซีเราะฮ์อิงกลิช

อัลญะซีเราะฮ์อิงกลิช (الجزيرة الإنجليزية) คือ สถานีโทรทัศน์ที่ให้บริการข่าวภาคภาษาอังกฤษตลอด 24 ชั่วโมง เป็นสถานีโทรทัศน์ภาคภาษาอังกฤษแห่งแรกที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในตะวันออกกลาง คือที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์ที่มีขนาดใหญ่เป็น 1 ใน 3 ของสถานีโทรทัศน์ทั่วโลก และเป็นสถานีข่ายของสถานีโทรทัศน์อัลญะซีเราะฮ์ ภาคภาษาอาหรับ ซึ่งอัลญะซีเราะฮ์อิงกลิช ออกอากาศรายการประเภทข่าวสารและบทวิเคราะห์ สารคดี การอภิปรายสด สถานการณ์ปัจจุบัน และข่าวกีฬา และได้รับการยกย่องว่าเป็นสถานีโทรทัศน์แห่งแรกของโลกที่ใช้ระบบโทรทัศน์ความละเอียดสูง (High-definition Television หรือ HDTV) โดยมีจุดมุ่งหมายคือการเผยแพร่เสียงสะท้อนจากโลกอาหรับและเป็นสถานีโทรทัศน์ที่ออกอากาศด้วยมุมมองที่เป็นสากลไปยังผู้ชมกว่า 1 ล้านคนทั่วโลกที่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ โดยปราศจากมุมมองจากโลกตะวันตก และสับเปลี่ยนที่ตั้งหน่วยการจัดการด้านข่าวไปตามศูนย์ออกอากาศต่าง ๆ ทั้งในโดฮา กัวลาลัมเปอร์ ลอนดอน และวอชิงตัน ดี.ซี. ตามแนวคิด "following the sun." เพื่อบอกเล่าเรื่องราวที่ไม่ถูกพูดถึง นำเสนอเรื่องราวความขัดแย้ง การสร้างการรับรู้ที่น่าท้าทาย และกำหนดวาระทิศทางข่าว เป็นสะพานเชื่อมความเข้าใจระหว่างวัฒนธรรม เปิดมุมมองการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่แตกต่างไปจากตะวันตก.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและอัลญะซีเราะฮ์อิงกลิช · ดูเพิ่มเติม »

อัลลอฮ์

นาอิสลามเรียกพระเป็นเจ้าว่า อัลลอฮ์ บ้างก็สะกดว่า อัลลอฮฺ, อัลลอหฺ หรือ อัลเลาะห์ ตรงกับภาษาอังกฤษ "God" เชื่อว่าทรงเป็นพระผู้สร้างมนุษย์ สิ่งมีชีวิต สิ่งไม่มีชีวิต และทุกสรรพสิ่งในจักรวาล พระองค์ทรงมีโดยไร้จุดเริ่มต้น และทรงมีอยู่นิรันดร์โดยไม่มีจุดจบ พระองค์แตกต่างกับทุกสรรพสิ่งอย่างสิ้นเชิง ทรงดำรงด้วยพระองค์เอง มิต้องทรงพึ่งพาสิ่งใด พระองค์เป็นพระผู้เป็นเจ้าเอกองค์เดียว ไม่มีพระผู้เป็นเจ้าอื่นใดอีกนอกเหนือจากพระองค์ ตามความเชื่อของอิสลาม อัลลอฮ์ทรงมีความสามารถในการบันดาลทุกสรรพสิ่ง ทรงรอบรู้โดยไม่จำกัดขอบเขต อัลลอฮ์เป็นพระปฐมนามแห่งพระองค์ พระองค์มีพระนามอันวิจิตรอื่น ๆ อีกมากถึง 99 พระนาม ซึ่งบ่าวของพระองค์สามารถใช้นามเหล่านั้นเรียกพระองค์ได้ พระองค์ทรงบริสุทธิ์ ไม่มีบุตร ไร้ภาคี ทรงอยู่นอกเหนือกาละและเทศะ เพราะทั้งสองสิ่งนั้น เป็นสิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง พระองค์ทรงกำหนดระบบและปัจจัยของทุกสรรพสิ่ง อีกทั้งยังได้กำหนดจุดเริ่มต้นและจุดจบของสรรพสิ่งที่พระองค์สร้างทั้งมวล อัลลอฮ์ คืออัตมันที่ทรงสิทธิในการได้รับการเคารพบูชาอย่างแท้จริง ไม่มีสิ่งใดอย่างเด็ดขาดที่ควรแก่การเคารพบูชานอกเหนือจากพระองค์ ชาวมุสลิมถือว่าอัลลอฮ์คือพระยาห์เวห์ในศาสนาคริสต์และศาสนายูดาห.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและอัลลอฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

อัสตานา

อัสตานา (Астана) เดิมชื่อ อัคโมลา (Ақмола) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่อันดับสองของประเทศคาซัคสถาน มีประชากร 577,300 คน ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ จัดเป็นเมืองเขตการปกครองพิเศษ มีพื้นที่อยู่ในจังหวัดอัคโมลา ตั้งอยู่ริมแม่น้ำอีชิม มีสูงเหนือน้ำทะเล 347 เมตร (1,138 ฟุต) มีสถานที่ที่เป็นจุดสังเกต (แลนด์มาร์ก) คือ หอคอยไบเตเรค (Bayterek).

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและอัสตานา · ดูเพิ่มเติม »

อาหรับสปริง

อาหรับสปริง (Arab Spring, الثورات العربية‎ al-Thawrāt al-ʻArabiyyah) เป็นคลื่นปฏิวัติการเดินขบวน การประท้วงและสงครามซึ่งเกิดขึ้นในโลกอาหรับตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2553 ตราบจนปัจจุบัน ผู้ปกครองถูกโค่นจากอำนาจในตูนิเซีย อียิปต์ ลิเบีย และเยเมน การก่อการกำเริบพลเมืองอุบัติขึ้นในบาห์เรน และซีเรีย การประท้วงใหญ่เกิดขึ้นในอัลจีเรีย อิรัก จอร์แดน คูเวต โมร็อกโก และซูดาน และการประท้วงเล็กเกิดในเลบานอน มอริเตเนีย โอมาน ซาอุดิอาระเบีย จิบูตี และเวสเทิร์นสะฮารา การประท้วงมีเทคนิคการดื้อแพ่งร่วมกันในการรณรงค์ต่อเนื่องซึ่งเกี่ยวข้องกับการนัดหยุดงาน การเดินขบวน การเดินแถว และการชุมนม เช่นเดียวกับการใช้โซเชียลมีเดียในการจัดระเบียบ สื่อสารและสร้างความตระหนักเมื่อเผชิญกับความพยายามของรัฐในการปราบปรามและตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ต การเดินขบวนอาหรับสปริงหลายประเทศเผชิญกับการตอบสนองรุนแรงจากทางการ เช่นเดียวกับทหารอาสาสมัครนิยมรัฐบาลและการเดินขบวนโต้ตอบ การโจมตีเหล่านี้ได้รับการสนองจากผู้ประท้วงด้วยความรุนแรงในบางกรณี.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและอาหรับสปริง · ดูเพิ่มเติม »

องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ

งของยูเนสโก องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization) หรือ ยูเนสโก (UNESCO) เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ก่อตั้งโดยได้มีการลงนามในธรรมนูญขององค์การ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

อนุสัญญาเจนีวา

อนุสัญญาเจนีวา (Geneva Conventions) คือสนธิสัญญาสี่ฉบับ และพิธีสารสามฉบับที่วางมาตรฐานในการปฏิบัติต่อผู้เป็นเหยื่อของสงครามอย่างมีมนุษยธรรม ได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและอนุสัญญาเจนีวา · ดูเพิ่มเติม »

อ่าวเปอร์เซีย

แผนที่อ่าวเปอร์เซีย อ่าวเปอร์เซีย (Persian Gulf; خلیج فارس; الخليج العربي) เป็นอ่าวในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เป็นส่วนต่อจากอ่าวโอมาน อยู่ระหว่างคาบสมุทรอาหรับกับประเทศอิหร่าน อ่าวเปอร์เซียเป็นแหล่งน้ำมันดิบแบบเดี่ยวที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นที่ตั้งของแท่นขุดเจาะน้ำมันอัลซะฟะนียะ (Al-Safaniya) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ลอยตัวอยู่กลางอ่าวเปอร์เซีย ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรน้ำมันและแก๊สธรรมชาติเหล่านี้ส่งผลให้ประเทศรอบอ่าวเปอร์เซียเป็นประเทศอุตสาหกรรมน้ำมันสำคัญ ซึ่งมีชื่อเรียกรวม ๆ ว่า รัฐรอบอ่าวเปอร์เซีย ได้แก่ ประเทศอิหร่าน บาห์เรน, คูเวต, โอมาน, กาตาร์, ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ส่วนอิรักนั้นมีพื้นที่ติดกับอ่าวเพียงเล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนี้อ่าวเปอร์เซียยังเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติชนิดอื่น ๆ มีแนวปะการัง เหมาะสำหรับการทำประมงและหอยมุก เป็นต้น อ่าวเปอร์เซียเป็นที่สนใจของประชาคมโลกเมื่อเกิดสงครามอิรัก-อิหร่านในช่วง..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและอ่าวเปอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

ฮอมส์

อมส์ (Homs) หรือ ฮิมศ์ (حمص) หรือเดิมรู้จักในชื่อ เอเมซา (กรีก: Ἔμεσα, Emesa) เป็นเมืองตั้งอยู่ทางตะวันตกของประเทศซีเรีย เป็นเมืองหลวงของเขตผู้ว่าราชการฮอมส์ อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 501 เมตร (1,644 ฟุต) ตั้งอยู่ห่างจากกรุงดามัสกัสทางทิศเหนือราว 162 กิโลเมตร (101 ไมล์) บนฝั่งแม่น้ำออรันตีส ฮอมส์ยังเป็นเมืองศูนย์กลางที่เชื่อมโยงเมืองภายในกับเมืองชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ชาวอาหรับเข้ายึดครองเมืองในปี..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและฮอมส์ · ดูเพิ่มเติม »

ฮะมาฮ์

มาฮ์ (حماة) เป็นเมืองในประเทศซีเรีย บนฝั่งแม่น้ำออรอนตีส ตอนกลางของประเทศ เป็นเมืองสำคัญด้านการค้า เป็นเมืองใหญ่อันดับ 4 ของประเทศ มีชื่อเสียงในเรื่องกังหันทดน้ำมาตั้งแต่สมัยกลาง มีการกล่าวถึงเมืองนี้บ่อยครั้งในคัมภีร์ไบเบิลในฐานะเมืองที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของอาณาจักรอิสราเอล เป็นที่ตั้งถิ่นฐานในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ต่อมาเปลี่ยนไปอยู่ใต้การปกครองของอะราเมีย อัสซีเรีย เปอร์เซีย มาซิโดเนีย โรมัน ไบแซนไทน์ อาหรับ และอียิปต์ ตามลำดับ จนในปี..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและฮะมาฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

ฮิวแมนไรตส์วอตช์

วแมนไรตส์วอตช์ (Human Rights Watch; ย่อ: HRW) เป็นองค์การนอกภาครัฐระหว่างประเทศซึ่งทำวิจัยและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในนครนิวยอร์ก โดยมีสำนักงานในอัมสเตอร์ดัม เบรุต เบอร์ลิน บรัสเซลส์ ชิคาโก เจนีวา โจฮันเนสเบิร์ก ลอนดอน ลอสแอนเจลิส มอสโก ปารีส ซานฟรานซิสโก โตเกียว โตรอนโตและวอชิงตัน ดี.ซี.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและฮิวแมนไรตส์วอตช์ · ดูเพิ่มเติม »

ฮิซบุลลอฮ์

วามหมายอื่นของ ฮิซบุลลอฮ์ ดูที่ ฮิซบุลลอฮ์ (แก้ความกำกวม) ฮิซบุลลอฮ์ (Hezbollah; حزب الله "พรรคแห่งอัลลอฮ์") สื่อเมืองไทยสะกด ฮิซบอลเลาะห์ หรือ ฮิซบอลลาห์ เป็นองค์กรและพรรคการเมืองของชาวมุสลิมชีอะฮ์ในเลบานอน ซึ่งมีกองทัพของตนเอง ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1982 อันเป็นปีที่อิสราเอลบุกรุกเลบานอน โดยมีจุดประสงค์เพื่อขับไล่กองทัพอิสราเอลที่ยึดครองเลบานอน จนสามารถต่อสู้และขับไล่ทัพอิสราเอลออกจากเลบานอนได้ในปี ค.ศ. 2000 เลขาธิการใหญ่ของพรรคฮิซบุลลอฮ์คือ ซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอห.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและฮิซบุลลอฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

ผู้นำสูงสุดอิหร่าน

ผู้นำสูงสุดแห่งอิหร่าน (ولی فقیه ایران,, แปลตามตัวอักษร ปราชญ์กฎหมายผู้พิทักษ์อิหร่าน หรือ رهبر انقلاب,, แปลตามตัวอักษร ผู้นำการปฏิวัติ) เป็นประมุขแห่งรัฐและผู้นำสูงสุดทางการเมืองและศาสนาของ สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน ตำแหน่งนี้ตั้งขึ้นโดยรัฐธรรมนูญของอิหร่านภายใต้หลักการของ Guardianship of the Islamic Jurists คำว่า ผู้นำ "สูงสุด" (Persian: ولی فقیه, vali-e faghih) เป็นการแสดงความนับถือ แต่ไม่ใช่ถ้อยคำจากรัฐธรรมนูญ ซึ่งเรียกว่า ผู้นำ เท่านั้น (rahbar) ตำแหน่งผู้นำนี้มีอำนาจสูงกว่าประธานาธิบดีอิหร่านและมีอำนาจแต่งตั้งผู้นำองค์กรที่สำคัญต่างๆ ของประเทศ ทั้งทางทหาร พลเรือน และตุลาการ"Who's in Charge?" by Ervand Abrahamian London Review of Books, 6 November 2008 แต่เดิมนั้นรัฐธรรมนูญระบุไว้ว่าผู้นำสูงสุดต้องเป็น Marja'-e taqlid ตำแหน่งสูงสุดทางกฎหมายศาสนาของ Usuli Twelver Shia Islam แต่ในประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญเมื่อ..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและผู้นำสูงสุดอิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลแดง

วเทียมของทะเลแดง ทะเลแดง (Red Sea; البحر الأحمر, อัลบะฮฺรุ อัลอะฮฺมัร; Yam Suf) เป็นอ่าวในมหาสมุทรอินเดีย แบ่งระหว่างทวีปแอฟริกากับทวีปเอเชีย โดยทะเลแดงเชื่อมกับมหาสมุทรอินเดียที่อ่าวเอเดน (Gulf of Aden) ทะเลแดงมีความยาวประมาณ 1900 กิโลเมตร และกว้างประมาณ 300 กิโลเมตร ร่องทะเลที่ลึกที่สุดประมาณ 2,500 เมตร และความลึกเฉลี่ยประมาณ 500 เมตร ทะเลแดงมีชื่ออื่นคือ อ่าวอาหรับ (Arabian Gulf) ซึ่งเรียกกันก่อนสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 20 ชื่อทะเลแดงไม่ได้หมายถึงสีของน้ำทะเล แต่หมายถึงสีของแบคทีเรียชนิดหนึ่งบริเวณผิวน้ำ.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและทะเลแดง · ดูเพิ่มเติม »

ดอนัลด์ ทรัมป์

อนัลด์ จอห์น ทรัมป์ (Donald John Trump; เกิด 14 มิถุนายน ค.ศ. 1946) เป็นประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 45 และยังเป็นนักธุรกิจ, พิธีกรรายการโทรทัศน์ และนักแสดงรับเชิญในภาพยนตร์หลายเรื่อง เขาเป็นประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของบริษัททรัมป์ออร์กาไนเซชัน ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐอเมริกา ทรัมป์ยังเป็นผู้ก่อตั้งทรัมป์เอนเตอร์เทนเมนต์รีสอร์ต ที่มีกิจการกาสิโนและโรงแรมหลายแห่งทั่วโลก และด้วยการใช้ชีวิตที่หรูหราและการพูดจาที่โผงผางทำให้เขามีชื่อเสียง ยังเป็นส่วนให้เขาประสบความสำเร็จในรายการเรียลลิตี้โชว์ทางช่องเอ็นบีซี ที่ชื่อ The Apprentice (ที่เขารับตำแหน่งพิธีกรและผู้อำนวยการสร้าง) ดอนัลด์เกิดและเติบโตในนครนิวยอร์ก เขาเป็นบุตรคนที่ 4 ใน 5 ของเฟรด ทรัมป์ เศรษฐีผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในนครนิวยอร์ก ดอนัลด์ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากพ่อของเขาในเป้าหมายของอาชีพการเป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และในครั้งจบการศึกษาจากโรงเรียนธุรกิจวอร์ตันแห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ในปี..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและดอนัลด์ ทรัมป์ · ดูเพิ่มเติม »

ดามัสกัส

มัสกัส (Damascus) เป็นเมืองหลวงของประเทศซีเรีย เป็นเมืองเก่าแก่ซึ่งมีผู้อยู่อาศัยอย่างต่อเนื่อง มีความสำคัญในประวัติศาสตร์ตั้งแต่ 2,457 ปีก่อนพุทธศักราช มีมัสยิดเก่าที่สร้างตั้งแต..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและดามัสกัส · ดูเพิ่มเติม »

ดิอินดีเพ็นเดนต์

อินดีเพ็นเดนต์ (The Independent) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษที่ตีพิมพ์ในสหราชอาณาจักรตั้งแต่ ค.ศ. 1986 โดยIndependent News & Media ฉบับวันราชการเรียกกันสั้นๆ ว่า “อินดี้” และฉบับวันอาทิตย์เรียกกันสั้นๆ ว่า “ซันดี้” “ดิอินดีเพ็นเดนต์” เป็นหนังสือพิมพ์ฉบับล่าที่สุดฉบับหนึ่งในสหราชอาณาจักร ในปี..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและดิอินดีเพ็นเดนต์ · ดูเพิ่มเติม »

ครักเดเชอวาลีเย

รักเดเชอวาลีเย (Krak des Chevaliers, Crac des Chevaliers) หรือ ก็อลอะฮ์อัลฮิศน์ (قلعة الحصن) เป็นปราสาทครูเสดที่ตั้งอยู่ในประเทศซีเรีย ครักเดเชอวาลีเยเป็นปราสาทที่มีความสำคัญในการเป็นปราสาททางการทหารจากยุคกลางที่อยู่ในสภาพที่ดีที่สุดในโลก คำว่า "Krak" ในชื่อมาจากภาษาซีรีแอก "karak" ที่แปลว่าป้อมปราการ ปราสาทอยู่ห่างจากเมืองฮอมส์ไปทางตะวันตกราว 65 ใกล้กับพรมแดนเลบานอน.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและครักเดเชอวาลีเย · ดูเพิ่มเติม »

คลอรีน

ลอรีน (Chlorine) (จากภาษากรีกว่า Chloros แปลว่าสี "เขียวอ่อน") เป็นธาตุเคมีที่มีเลขอะตอม 17 และสัญลักษณ์ Cl เป็นแฮโลเจน พบในตารางธาตุ ในกลุ่ม 17 เป็นส่วนของเกลือทะเลและสารประกอบอื่น ๆ ปรากฏมากในธรรมชาติ และจำเป็นต่อสิ่งมีชวิตส่วนใหญ่ รวมถึงมนุษย์ด้วย ในรูปของก๊าซ คลอรีนมีสีเขียวอมเหลือง มีน้ำหนักมากกว่าอากาศ 2.5 เท่า มีกลิ่นเหม็นอย่างรุนแรง และเป็นพิษอย่างร้ายแรง เป็นตัวออกซิไดซ์ ฟอกขาว และฆ่าเชื้อได้เป็นอย่างดี.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและคลอรีน · ดูเพิ่มเติม »

คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ

ณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (International Committee of the Red Cross; ICRC / Comité international de la Croix-Rouge (CICR)) เป็นองค์กรมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ซึ่งก่อตั้งขึ้นในประเทศสวิสเซอร์แลนด์เมื่อปี..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ

ณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Commission on Human Rights หรือ UNCHR) เป็นคณะกรรมการในอดีตของสหประชาชาติ ระหว่าง..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

ตลาดเสรี

ตลาดเสรี คือตลาดในอุดมคติ ที่การตัดสินใจและกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งหมดของปัจเจกบุคคล ที่เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนเงินตรา สินค้า และบริการ กระทำด้วยความ สมัครใจ นั่นคือไม่มีการบีบบังคับและการลักทรัพย์ (บางครั้งนิยามของ "การบีบบังคับ" จะครอบคลุมถึง "การลักทรัพย์" ด้วย) เมื่อกล่าวโดยทั่วไป เศรษฐกิจตลาดเสรี หมายถึงระบบเศรษฐกิจที่มีตลาดที่ ค่อนข้าง เสรี เช่นในระบบเศรษฐกิจเมื่อรัฐบาลใช้นโยบายปล่อยให้ทำไป ซึ่งจะแตกต่างกับระบบ แบบผสม หรือ แบบนิยมอำนาจรัฐ ในทางเศรษฐศาสตร์มักใช้คำว่า "ตลาด" หรือ "กลไกตลาด" เพื่อหมายถึงการจัดสรรการผลิตโดยผ่านทางอุปสงค์และอุปทาน ตลาดเสรีได้รับการสนับสนุนโดยผู้นิยมในเศรษฐศาสตร์แนวเสรีนิยม หมวดหมู่:การตลาด หมวดหมู่:เศรษฐศาสตร์.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและตลาดเสรี · ดูเพิ่มเติม »

ซาริน

ซาริน หรือจีบี เป็นสารประกอบออร์แกโนฟอสฟอรัส มีสูตรเคมี CH3P(O)F ซารินเป็นของเหลวไร้สี ไร้กลิ่น.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและซาริน · ดูเพิ่มเติม »

ซุคฮอย ซู-24

ซุคฮอย ซู-24 (Sukhoi Su-24) (นาโต้ใช้ชื่อรหัสว่าเฟนซ์เซอร์) เป็นเครื่องบินโจมตีและขัดขวางในทศวรรษที่ 1970 และ 1980 มันเป็นเครื่องบินสองที่นั่ง สองเครื่องยนต์ที่ใช้ระบบนำร่อง/โจมตีแบบดิจิตอลลำแรกของสหภาพโซเวียต ในหลายแง่มุมโครงสร้างภายนอกของมันคล้ายคลึงกับเอฟ-111 มันยังคงอย่ในประจำการในกองทัพอากาศโซเวียตและชาติอื่น.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและซุคฮอย ซู-24 · ดูเพิ่มเติม »

ซุนนี

ซุนนี (سُنِّي) คือนิกายหนึ่งในศาสนาอิสลาม มีชื่อเต็มในภาษาอาหรับว่า อะฮ์ลุสซุนนะฮ์วะอัลญะมาอะฮ์ (أهل السنة والجماعة, นิยมอ่านว่า อะฮ์ลุสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์) เป็นนิกายที่ใหญ่ที่สุดในอิสลาม แบ่งเป็นสำนักหรือมัซฮับย่อย ๆ ออกเป็นหลายมัซฮับ แต่ปัจจุบันเหลือแค่เพียง 4 มัซฮับ นอกจากนี้ยังมีมัซฮับมุสลิมซุนนีที่ไม่ยึดถือมัซฮับ เรียกตนเองว่า พวกซะละฟี.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและซุนนี · ดูเพิ่มเติม »

ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน

ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน (representative democracy) เป็นประชาธิปไตยแบบหนึ่งซึ่งตั้งอยู่บนหลักว่า ข้าราชการจากการเลือกตั้งเป็นผู้แทนกลุ่มประชาชน ซึ่งขัดต่อประชาธิปไตยทางตรง ประชาธิปไตยแบบตะวันตกสมัยใหม่ทั้งหมดเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนประเภทใดประเภทหนึ่งทั้งสิ้น เช่น สหราชอาณาจักรเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และเยอรมนีเป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภา ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนเป็นองค์ประกอบของทั้งระบบรัฐสภาหรือระบบประธานาธิบดี และตรงแบบใช้ในสภาล่าง เช่น สภาสามัญชน (สหราชอาณาจักร) หรือบุนเดชตัก (เยอรมนี) และอาจกำกับอีกทีหนึ่งโดยข้อบังคับตามรัฐธรรมนูญ เช่น สภาสูง ในสภานั้น อำนาจอยู่ในมือของผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน หมวดหมู่:ประชาธิปไตย.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศกำลังพัฒนา

ประเทศสีเหลือง/ส้ม มีการพัฒนามนุษย์ในระดับกลาง และประเทศสีแดง มีการพัฒนามนุษย์ในระดับต่ำ ประเทศกำลังพัฒนา หรือ ประเทศพัฒนาน้อยกว่า หรือ ประเทศด้อยพัฒนา เป็นคำที่ใช้เรียกประเทศที่มีมาตรฐานการดำรงชีวิตปานกลาง-ต่ำ พื้นฐานอุตสาหกรรมยังไม่พัฒนา และมีดัชนีการพัฒนามนุษย์ (Human Development Index) อยู่ในระดับปานกลาง-ต่ำ คำนี้มีแนวโน้มที่จะถูกแทนใช้ที่คำอื่น ๆ ที่เคยใช้ก่อนหน้า ซึ่งรวมถึงคำว่า "โลกที่สาม" ซึ่งเกิดขึ้นในยุคสงครามเย็น เนื่องจากไม่มีคำจำกัดความใดๆมากำหนด คำว่าประเทศพัฒนานาแล้ว อาจเป็นไปได้ว่า ระดับของคำว่า พัฒนาแล้ว จะมีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดมากกว่า คำว่า กำลังพัฒนาด้วย สำหรับบางประเทศที่ถูกเรียกว่า เป็นประเทศกำลังพัฒนา ยังพบว่ามีค่าเฉลี่ยของมาตรฐานการดำรงชีวิตอยู่ในระดับสูงเช่นกัน ส่วนประเทศที่มีสภาพเศรษฐกิจที่จัดอยู่ในระดับก้าวหน้ามากกว่าประเทศที่กำลังพัฒนา แต่ยังไม่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มของ ประเทศพัฒนาแล้ว จะถูกจัดให้อยู่กลุ่มที่ใช้คำจำกัดความว่า ประเทศอุตสาหกรรมใหม.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและประเทศกำลังพัฒนา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไนจีเรีย

นจีเรีย (Nigeria) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรีย (Federal Republic of Nigeria) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันตก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในแอฟริกา ไนจีเรียได้ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยเมื่อพ.ศ. 2542 หลังจากที่มีการปกครองโดยเผด็จการทหารหลายคนที่โหดร้ายและคดโกง มานาน 16 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2508 ถึง พ.ศ. 2542 ไนจีเรียปกครองโดยเผด็จการทหารที่ชิงอำนาจด้วยการรัฐประหาร (ยกเว้นสาธารณรัฐที่ 2 ในช่วง..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและประเทศไนจีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเลบานอน

ลบานอน (Lebanon; لُبْنَان) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐเลบานอน (Republic of Lebanon, Lebanese Republic; جمهورية لبنان) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และถือเป็นหนึ่งใน 15 ดินแดนที่ประกอบเป็น "แหล่งกำเนิดแห่งมนุษยชาติ" (Cradle of Humanity) เลบานอนมีพรมแดนติดกับประเทศซีเรียและประเทศอิสราเอล พรมแดนที่ติดกับประเทศอิสราเอลได้รับการรับรองจากองค์การสหประชาชาติแล้ว แต่พื้นที่บางส่วน เรียกว่า "ชีบาฟาร์ม" (Shebaa farms) ตั้งอยู่ในที่ราบสูงโกลันยังคงครอบครองโดยอิสราเอล ซึ่งอ้างว่าเป็นพื้นที่ของซีเรีย กองทัพต่อต้านอ้างว่า "ชีบาฟาร์ม" เป็นพื้นที่ของเลบานอน และในบางโอกาสก็โจมตีที่มั่นของอิสราเอลภายในพื้นที่ดังกล่าว นอกจากนี้ ซีเรียบำรุงรักษากองทัพที่มีทหารประมาณ 14,000 นายในเลบานอน ชาวเลบานอนที่สนับสนุนเลบานอนอ้างว่าเป็นการอยู่อย่างถูกต้องเนืองจากรัฐบาลเลบานอนได้ขอไว้ ตอนเริ่มสงครามกลางเมืองเมื่อ พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) ผู้ที่ไม่เห็นด้วยอ้างว่า การอยู่ของซีเรียเป็นประหนึ่งการยึดครองโดยอำนาจต่างชาต.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและประเทศเลบานอน · ดูเพิ่มเติม »

แพลไมรา

แพลไมรา (Palmyra) หรือ ตัดมุร (تدمر, Tadmor) เป็นนครเซมิติกโบราณในเขตผู้ว่าราชการฮอมส์ ประเทศซีเรียปัจจุบัน การค้นพบทางโบราณคดีย้อนไปถึงยุคหินใหม่และมีบันทึกนครครั้งแรกในต้นสหัสวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล แพลไมราเปลี่ยนมือหลายโอกาสระหว่างจักรวรรดิต่าง ๆ ก่อนมาอยู่ในบังคับของจักรวรรดิโรมันในคริสต์ศตวรรษที่ 1 นครมีความมั่งคั่งจากคาราวานการค้า ชาวนครแพลไมรา ซึ่งเป็นพ่อค้าขึ้นชื่อ สถาปนาอาณานิคมตามเส้นทางสายไหมและดำเนินการทั่วจักรวรรดิโรมัน ความมั่งคั่งของแพลไมราทำให้สามารถสร้างโครงการมหึมาต่าง ๆ ได้ เช่น แนวเสาหินใหญ่ (Great Colonnade), วิหารเบล และสุสานหอคอยเด่น ชาวนครแพลไมราเป็นการผสมของชาวแอมะไรต์ (Amorites) แอมาเรียน (Arameans) และอาหรับ โครงสร้างสังคมของนครเป็นแบบชนเผ่า และผู้อยู่อาศัยพูดภาษาแพลไมรีน (ภาษาถิ่นของภาษาแอราเมอิก) ภาษากรีกใช้เพื่อความมุ่งหมายพาณิชย์และการทูต วัฒนธรรมของแพลไมราซึ่งได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมกรีก-โรมัน ผลิตศิลปะและสถาปัตยกรรมโดดเด่นซึ่งรวมประเพณีตะวันออกและตะวันตก ผู้อยู่อาศัยของนครบูชาเทพเจ้าท้องถิ่นและเทพเจ้าเมโสโปเตเมียและอาหรับ เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 3 แพลไมราเป็นศูนย์กลางภูมิภาครุ่งเรืองที่ถึงจุดสูงสุดของอำนาจในคริสต์ทศวรรษ 260 เมื่อพระมหากษัตริย์แพลไมรา โอเดนาธัส (Odaenathus) ทรงพิชิตจักรพรรดิเปอร์เซีย ซาปูร์ที่ 1 จากนั้นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน พระราชินีเซโนเบีย (Zenobia) สืบราชบัลลังก์ ผู้กบฏต่อโรมและสถาปนาจักรวรรดิพาลไมรีน ใน..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและแพลไมรา · ดูเพิ่มเติม »

แอฟริกาใต้สะฮารา

ประเทศที่สหประชาชาติจัดเป็นแอฟริกาเหนือ แอฟริกาใต้สะฮารา (Sub-Saharan Africa) เป็นภูมิภาคที่มีพื้นที่อยู่ในทวีปแอฟริกาและอยู่ใต้ทะเลทรายสะฮารา โดยมีประเทศในภูมิภาค 54 ประเทศ มีประชากรรวมกันมากถึง 574 ล้านคน ภูมิภาคนี้มีพื้นที่ประมาณ 16 % ของพื้นดินของโลก โดยสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าทึบ และบางส่วนเป็นทะเลทร.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและแอฟริกาใต้สะฮารา · ดูเพิ่มเติม »

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล หรือ องค์การนิรโทษกรรมสากล (Amnesty International หรือ Amnesty หรือ AI) เป็นองค์การพัฒนาเอกชนที่มีจุดประสงค์ "ในการค้นคว้าและดำเนินการป้องกันและยุติการทำร้ายสิทธิมนุษยชน และเพื่อแสวงหาความยุติธรรมสำหรับผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิ" แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ก่อตั้งขึ้นที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เมื่อปี..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล · ดูเพิ่มเติม »

โจ ไบเดิน

ซฟ โรบิเนตต์ ไบเดิน จูเนียร์ (Joseph Robinette Biden, Jr.) หรือเรียกอย่างง่ายว่า โจ ไบเดิน เป็นนักการเมืองชาวอเมริกัน ดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาคนที่ 47 ระหว่าง..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและโจ ไบเดิน · ดูเพิ่มเติม »

โทมาฮอว์ก (ขีปนาวุธ)

ีจีเอ็ม-109 โทมาฮอว์ก (BGM-109 Tomahawk) เป็นขีปนาวุธร่อนนำวิถีระยะไกล ความเร็วต่ำกว่าเสียง ทุกสภาพกาลอากาศ เปิดตัวครั้งแรกในทศวรรษที่ 1970 โดยบริษัทเจเนอรัลไดนามิกส์ โทมาฮอว์กออกแบบมาให้เป็นขีปนาวุธระยะกลางถึงไกล ความสูงต่ำสามารถปล่อยออกจากฐานยิงหลายรูปแบบ โทมาฮอว์กได้รับการปรับปรุงออกมาหลายรุ่น ปัจจุบันผลิตโดยบริษัทเรเธียน และอีกส่วนหนึ่งผลิตโดยบริษัทแมคดอนเนลล์ดักลาส (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของโบอิง)"," เว็บไซต์ประวัติศาสตร์โบอิง.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและโทมาฮอว์ก (ขีปนาวุธ) · ดูเพิ่มเติม »

โทนี แบลร์

แอนโธนี ชาลส์ ลินตัน "โทนี" แบลร์ (Anthony Charles Lynton "Tony" Blair) เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953) เป็นอดีตนายกรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักร และเป็นอดีตหัวหน้าพรรคแรงงาน แบลร์สืบทอดตำแหน่งหัวหน้าพรรคแรงงานหลังจากการเสียชีวิตของหัวหน้าพรรคคนก่อนคือ นายจอห์น สมิท (John Smith) ใน พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) และเอาชนะนายจอห์น เมเจอร์ (John Major) ของพรรคอนุรักษนิยม และเป็นหัวหน้าพรรคแรงงานคนเดียวที่สามารถชนะการเลือกตั้งได้ 3 สมัยติดต่อกัน.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและโทนี แบลร์ · ดูเพิ่มเติม »

โดฮา

(Doha; الدوحة) เป็นเมืองหลวงของกาตาร์ ตั้งอยู่ในอ่าวเปอร์เซีย มีประชากรราว 400,051 คน (จากข้อมูลปี 2005) โดฮาเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในกาตาร์ ด้วยประชากรมากกว่า 80% ของประเทศอาศัยอยู่ในโดฮาหรือปริมณฑล และยังเป็นเมืองศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจของประเทศ และยังเป็นที่ตั้งของรัฐบาลของกาตาร์ ที่ปกครองโดยเชคฮามัด บิน คอลีฟะห์ อัลตานี โดฮายังเคยเป็นเมืองเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ 2006.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและโดฮา · ดูเพิ่มเติม »

โคฟี แอนนัน

ฟี แอนนัน (Kofi Annan) เกิดวันที่ 8 เมษายน ค.ศ. 1938 เป็นนักการทูตชาวกานา และ เป็นอดีตเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ แอนนันนับเป็นเลขาธิการองค์การสหประชาชาติคนที่ 7 โดยรับตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1997 และหมดวาระเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2006 โคฟี แอนนัน ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพด้ว.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและโคฟี แอนนัน · ดูเพิ่มเติม »

เรเจป ไตยิป แอร์โดอัน

รเจป ไตยิป แอร์โดอัน (Recep Tayyip Erdoğan, เกิด 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1954) เป็นประธานาธิบดีแห่งตุรกี คนปัจจุบันของตุรกีและอดีตนายกรัฐมนตรีแห่งตุรกี เป็นนักการเมืองนิยมศาสนาอิสลาม เข้าสู่วงการการเมืองจากการเป็นนายกเทศมนตรีอิสตันบูลและเป็นผู้ก่อตั้งพรรคยุติธรรมและการพัฒนา (ตุรกี) ซึ่งเคยเป็นพรรคนอกสายตาประชาชนตุรกี แอร์โดอันยังเป็นผู้ที่ฟื้นฟูตุรกีจากสภาวะเศรษฐกิจในปี 2001 เขาพัฒนาเศรษฐกิจ สวัสดิการ สาธารณูปโภคแก่ประเทศ ทั้งยังให้สิทธิการศึกษาแก่เด็กยากจน ซึ่งในด้านการศึกษา เขาได้อนุมัติงบประมาณให้กับกระทรวงศึกษาธิการเป็นจำนวน 3,400 ล้านลีรา บนเวทีโลก ภาพของแอร์โดอันดูไม่ค่อยสวย เขาถูกวิจารณ์ในการสลายการชุมนุมผู้ชุมนุมต่อต้านเขา เขายังมีนโยบายไม่เปิดเสรีทางด้านสื่อสังคมออนไลน์ ทำให้ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับแอร์โดอันเข้าต่อต้านและหนึ่งในนั้นคือ ผู้บัญชาการกองทัพที่จะทำการรัฐประหารแต่ถูกจับกุมก่อน อีกด้านเขายังสนับสนุนฮะมาสในการต่อต้านอิสราเอล นานาชาติจึงไม่พอใจที่ตุรกีสนับสนุนองค์กรที่ถูกขึ้นบัญชีดำ ประวัติการศึกษา จบการศึกษาระดับปริญญาตรีคณะ Economics and Administrative Sciences มหาวิทยาลัย Marmara.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและเรเจป ไตยิป แอร์โดอัน · ดูเพิ่มเติม »

เหตุยิงซุคฮอย ซู-24 ของรัสเซียตก พ.ศ. 2558

กิดเหตุเครื่องบินขับไล่เจ็ตเอฟ-16 ของกองทัพอากาศตุรกียิงเครื่องบินทิ้งระเบิดซุคฮอย ซู-24เอ็มของรัสเซียตกใกล้กับชายแดนซีเรีย–ตุรกีเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2558 ตุรกีอ้างว่า อากาศยานนั้นถูกยิงในน่านฟ้าตุรกี ซึ่งละเมิดเข้าไปลึก 2.19 กิโลเมตรเป็นเวลา 17 วินาที หลังถูกเตือนให้เปลี่ยนทิศทาง 10 ครั้งในเวลา 5 นาที กระทรวงกลาโหมรัสเซียปฏิเสธว่าอากาศยานนั้นบินออกน่านฟ้าซีเรีย และอ้างโต้ว่า ข้อมูลดาวเทียมของกระทรวงกลาโหมรัสเซียแสดงว่าเครื่องบินอยู่ในน่านฟ้าซีเรีย 1,000 เมตรเมื่อถูกยิงตก ทั้งนักบินและนายทหารระบบอาวุธดีดตัวออกจากเครื่อง และนายทหารระบบอาวุธได้รับการช่วยเหลือ ส่วนนักบินถูกกบฏเติร์กเมนซีเรียยิงเสียชีวิตกลางอากาศขณะกำลังโดดร่ม มีการส่งนาวิกโยธินจากทีมค้นหาและกู้ภัยไปกู้ทหารทั้งสองนายแต่ถูกกบฏฆ่าเช่นกันเมื่อเฮลิคอปเตอร์กู้ภัยถูกยิงตก เหตุดังกล่าวเป็นเหตุการณ์ที่รัฐสมาชิกนาโต้ทำลายอากาศยานทหารของรัสเซียหรือโซเวียตครั้งแรกนับแต่คริสต์ทศวรรษ 1950 ปฏิกิริยาต่อเหตุการณ์ดังกล่าวมีการประณามอย่างรุนแรงจากรัสเซียและความพยายามบรรเทาสถานการณ์โดยนาโต้หลังจากนั้น รัสเซียวางกำลังเรือลาดตระเวนขีปนาวุธนำวิถี มอสควา ซึ่งติดขีปนาวุธพื้นผิวสู่อากาศ (แซม) พิสัยไกลเอส-300 เอฟนอกชายฝั่งซีเรียใกล้ลาตาเกียและระบบแซมเคลื่อนที่เอส-400 ที่ฐานทัพอากาศฮเมย์มิม (Khmeimim) ในวันที่ 27 มิถุนายน..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและเหตุยิงซุคฮอย ซู-24 ของรัสเซียตก พ.ศ. 2558 · ดูเพิ่มเติม »

เหตุโจมตีในปารีส เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ในช่วงกลางคืนของวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 เกิดเหตุก่อการร้ายซึ่งประกอบด้วยการกราดยิง การระเบิดฆ่าตัวตาย และการจับตัวประกันในกรุงปารีสและเมืองแซ็ง-เดอนี (ย่านชานกรุงปารีสทางทิศเหนือ) ประเทศฝรั่งเศส เริ่มตั้งแต่เวลา 21:16 น. ตามเวลายุโรปกลาง เกิดเหตุกราดยิงผู้คน 6 จุด และระเบิดฆ่าตัวตายอีก 4 จุด รวมถึงที่บริเวณใกล้กับสตาดเดอฟร็องส์ (สนามกีฬาแห่งชาติ) ซึ่งกำลังมีการแข่งขันฟุตบอลนัดกระชับมิตรระหว่างทีมชาติฝรั่งเศสกับทีมชาติเยอรมนี การโจมตีที่ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดอยู่ที่โรงมหรสพบาตากล็อง (Bataclan) ที่ซึ่งผู้ก่อเหตุได้จับผู้ชมคอนเสิร์ตเป็นตัวประกันและเผชิญหน้ากับตำรวจจนสิ้นสุดลงเมื่อเวลา 00:58 น. ของวันที่ 14 พฤศจิกายน จากเหตุการณ์นี้ มีพลเรือนเสียชีวิตอย่างน้อย 153 คน โดย 89 คนในจำนวนนี้อยู่ที่โรงมหรสพบาตากล็อง และมีผู้ได้รับบาดเจ็บระหว่างเหตุโจมตีอีก 352 คน โดยมี 99 คนที่ได้รับการระบุว่ามีอาการสาหัส นอกจากพลเรือนที่ประสบความสูญเสียแล้วยังมีผู้ก่อเหตุเสียชีวิต 7 คน และทางการกำลังค้นหาผู้ร่วมก่อเหตุที่ยังหลบหนี ก่อนที่จะถูกโจมตี ฝรั่งเศสอยู่ในภาวะประกาศเตือนภัยขั้นสูงมาตั้งแต่เหตุโจมตีในแคว้นอีล-เดอ-ฟร็องส์ เดือนมกราคม พ.ศ. 2558 ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 17 คน ประกอบด้วยพลเรือนและเจ้าหน้าที่ตำรวจ ฟร็องซัว ออล็องด์ ประธานาธิบดีของฝรั่งเศสได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินระดับชาติเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เหตุจลาจลในปี พ.ศ. 2548 และได้ประกาศใช้มาตรการควบคุมชายแดนเป็นการชั่วคราว นอกจากนี้ยังสั่งห้ามบุคคลออกจากเคหสถานเวลาค่ำคืนทั่วกรุงปารีสเป็นครั้งแรกนับตั้งแต..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและเหตุโจมตีในปารีส เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558 · ดูเพิ่มเติม »

เอฟ-16 ไฟทิงฟอลคอน

อฟ-16 ไฟทิงฟอลคอน (F-16 Fighting Falcon) เป็นเครื่องบินขับไล่หลากบทบาทที่เดิมที่พัฒนาขึ้นโดยบริษัทGeneral Dynamicsเพื่อกองทัพอากาศสหรัฐ มันถูกออกแบบให้เป็นเครื่องบินขับไล่ตอนกลางวันน้ำหนักเบา มันได้กลายมาเป็นเครื่องบินขับไล่ที่ประสบความสำเร็จ ความสามารถรอบตัวของมันเป็นเหตุผลหนักที่มันทำการตลาดได้เยี่ยมโดยมันถูกเลือกโดยกองทัพอากาศของ 25 ประเทศLockheed Martin press release (8 June 2008).

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและเอฟ-16 ไฟทิงฟอลคอน · ดูเพิ่มเติม »

เอฟ/เอ-18 ฮอร์เน็ท

อฟ-18 ฮอร์เน็ท (F-18 Hornet) ของแมคดอนเนลล์ ดักลาส (ปัจจุบันคือโบอิง) เป็นเครื่องบินโจมตีหลากบทบาทหลากสภาพอากาศที่สามารถใช้บนเรือบรรทุกเครื่องบินและถูกออกแบบมาเพื่อการโจมตีทั้งภาคพื้นดินและภาคอากาศ มันถูกออกแบบในทศวรรษที่ 1970 ให้กับกองทัพเรือและกองนาวิกโยธินสหรัฐฯ ฮอร์เน็ทยังถูกใช้โดยกองทัพอากาศในหลายประเทศ มันถูกเลือกให้ใช้ทำการแสดงโดยบลูแองเจิลของกองทัพเรือสหรัฐฯ ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและเอฟ/เอ-18 ฮอร์เน็ท · ดูเพิ่มเติม »

เดอะการ์เดียน

อะการ์เดียน (The Guardian) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันฝ่ายซ้ายกึ่งสายกลางแห่งชาติอังกฤษ ก่อตั้งใน..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและเดอะการ์เดียน · ดูเพิ่มเติม »

เดอะนิวยอร์กไทมส์

อะนิวยอร์กไทมส์ (The New York Times) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันที่ตีพิมพ์ในนครนิวยอร์กและจัดจำหน่ายไปทั่วโลก จัดการโดยบริษัทเดอะนิวยอร์กไทมส์ซึ่งตีพิมพ์หนังสือพิมพ์อื่นๆอีก 15 ฉบับ รวมถึง International Herald Tribune และ The Boston Globe ด้วย เดอะนิวยอร์กไทมส์เป็นหนังสือพิมพ์มหานครที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา มีฉายาว่า "Gray Lady" (สุภาพสตรีสีเทา) ก็เพราะหน้าตาและสำนวนที่ขรึมขลัง ถูกเรียกว่าเป็นหนังสือพิมพ์ที่บันทึกแห่งการณ์ต่างๆของชาติ เพราะมันมักถูกใช้เป็นแหล่งอ้างอิงที่เป็นทางการและได้รับความเชื่อถือ ก่อตั้งเมื่อ..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและเดอะนิวยอร์กไทมส์ · ดูเพิ่มเติม »

เดอะเวิลด์แฟกต์บุ๊ก

อะเวิลด์แฟกต์บุ๊ก (The World Factbook, ISSN) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า ซีไอเอเวิลด์แฟกต์บุ๊ก (CIA World Factbook) เป็นทรัพยากรอ้างอิงที่สำนักข่าวกรองกลาง (ซีไอเอ) ผลิต โดยมีสารสนเทศแบบกาลานุกรมเกี่ยวกับประเทศของโลก เดอะแฟกต์บุ๊ก เข้าถึงได้ในรูปเว็บไซต์ ซึ่งมีการปรับบางส่วนทุกสัปดาห์ และยังมีให้ดาวน์โหลดเพื่อใช้แบบออฟไลน์ เอกสารดังกล่าวให้ข้อมูลสรุปประมาณสองถึงสามหน้าเกี่ยวกับประชากรศาสตร์ ภูมิศาสตร์ การสื่อสาร การปกครอง เศรษฐกิจ และการทหารของหน่วยการปกครอง 267 แห่ง (entity) ซึ่งได้แก่ประเทศ เขตสังกัด และพื้นที่อื่นในโลกที่สหรัฐรับรอง สำนักข่าวกรองกลางจัดทำ เดอะเวิลด์แฟกต์บุ๊ก เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อข้าราชการสหรัฐ วัจนลีลา การจัดรูปแบบ ขอบเขต และเนื้อหาได้รับการออกแบบให้สอดคล้องกับความต้องการของพวกเขาเป็นหลัก อย่างไรก็ดี เอกสารวิจัยวิชาการและบทความข่าวมักใช้เป็นทรัพยากร แม้จะมีคุณภาพสารสนเทศกำกวมก็ตาม เนื่องจากเป็นงานของรัฐบาลสหรัฐ จึงถือเป็นสาธารณสมบัติในสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและเดอะเวิลด์แฟกต์บุ๊ก · ดูเพิ่มเติม »

เตหะราน

ตหะราน (تهران; Tehran, Teheran) เป็นเมืองหลวงของประเทศอิหร่าน และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในแถบประเทศตะวันออกกลาง ประชากรในเมือง 7,160,094 และในเขตนครหลวงหรือเมโทร 14 ล้านคนเศษ เตหะรานนอกจากจะเป็นเมืองหลวงแล้ว ยังเป็นเมืองศูนย์กลางอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของประเทศ เช่น อุตสาหกรรมน้ำมัน อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ ฯลฯ เตหะรานยังเป็นเมืองศูนย์กลางธุรกิจ การบินพาณิชย์ ในภูมิภาคตะวันออกกลางอีกด้วย เตหะรานในภาษาเปอร์เซียแปลว่า อ้อมเขาอันอบอุ่น ซึ่งหมายถึงชาวเมืองที่อาศัยอยู่อย่างสงบและมีสันติสุขภูมิภาคนี้.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและเตหะราน · ดูเพิ่มเติม »

เนโท

องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organization; Organisation du traité de l'Atlantique nord) ย่อว่า เนโท (NATO) หรือ ออต็อง (OTAN) หรือ นาโต (ตามที่คนไทยเรียก) เป็นพันธมิตรทางทหารระหว่างรัฐบาล ก่อตั้งเมื่อวันที่ 4 เมษายน..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองซีเรียและเนโท · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

การก่อการกำเริบในซีเรีย พ.ศ. 2554–2555

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »