โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สงครามกรุงทรอย

ดัชนี สงครามกรุงทรอย

"การเผากรุงทรอย" (1759/62) โดย Johann Georg Trautmann สงครามกรุงทรอย (Trojan War) เป็นสงครามระหว่างชาวอะคีอันส์ ​(Ἀχαιοί) (ชาวกรีก) กับชาวกรุงทรอย หลังปารีสแห่งทรอยชิงพระนางเฮเลนมาจากพระสวามี คือพระเจ้าเมเนเลอัสแห่งสปาร์ตา สงครามดังกล่าวเป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญที่สุดในเทพปกรณัมกรีก และมีการบอกเล่าผ่านงานวรรณกรรมกรีกหลายชิ้น ที่โดดเด่นที่สุด คือ อีเลียดและโอดิสซีย์ของโฮเมอร์ มหากาพย์อีเลียดเล่าเรื่องการล้อมกรุงทรอยปีสุดท้าย ส่วนโอดิสซีย์อธิบายการเดินทางกลับบ้านของโอดิสเซียส ส่วนอื่นของสงครามมีการอธิบายในโคลงวัฏมหากาพย์ (Epic Cycle) ได้แก่ ไซเพรีย, เอธิออพิส, อีเลียดน้อย, อีลิอูเพอร์ซิส, นอสตอย, และ เทเลโกนี ซึ่งปัจจุบันเหลือรอดมาเพียงบางส่วน ฯ การศึกแห่งกรุงทรอยเป็นแหล่งวัตถุดิบสำคัญที่ กวีและนักประพันธ์โศกนาฏกรรมกรีก เช่น เอสคิลัส (Aeschylus) โซโฟคลีส (Sophocles) และ ยูริพิดีส (Euripides) นำมาใช้ประพันธ์บทละคร นอกจากนี้กวีชาวโรมัน โดยเฉพาะเวอร์จิลและโอวิด ก็ดึงเอาเหตุการณ์จากสงครามทรอยมาเป็นพื้นเรื่อง หรือเนื้อหาส่วนหนึ่งในงานประพันธ์ของตนเช่นกัน สงครามกำเนิดจากการวิวาทระหว่างเทพีอะธีนา เฮราและแอโฟรไดที หลังอีริส เทพีแห่งการวิวาทและความบาดหมาง ให้ผลแอปเปิลสีทอง ซึ่งบางครั้งรู้จักกันในนาม "แอปเปิลแห่งความบาดหมาง" แก่ "ผู้ที่งามที่สุด" ซูสส่งเทพีทั้งสามไปหาปารีส ผู้ตัดสินว่าแอโฟรไดที "ผู้งามที่สุด" ควรได้รับแอปเปิลไป เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน แอโฟรไดทีเสกให้เฮเลน หญิงงามที่สุดในโลกและมเหสีของพระเจ้าเมเนเลอัส ตกหลุมรักปารีส และปารีสได้นำพระนางไปยังกรุงทรอย อกาเมมนอน พระเจ้ากรุงไมซีนี และพระเชษฐาของพระเจ้าเมเนเลอัส พระสวามีของเฮเลน นำกองทัพชาวอะคีอันส์ไปยังกรุงทรอยและล้อมกรุงไว้สิบปี หลังสิ้นวีรบุรุษไปมากมาย รวมทั้งอคิลลีสและอาแจ็กซ์ของฝ่ายอะคีอันส์ และเฮกเตอร์และปารีสของฝ่ายทรอย กรุงทรอยก็เสียด้วยอุบายม้าโทรจัน ฝ่ายอะคีอันส์สังหารชาวกรุงทรอย (ยกเว้นหญิงและเด็กบางส่วนที่ไว้ชีวิตหรือขายเป็นทาส) และทำลายวิหาร ทำให้เทพเจ้าพิโรธ ชาวอะคีอันส์ส่วนน้อยที่กลับถึงบ้านอย่างปลอดภัยและหลายคนตั้งนิคมในชายฝั่งอันห่างไกล ภายหลังชาวโรมันสืบเชื้อสายของพวกตนไปถึงเอเนียส หนึ่งในชาวกรุงทรอย ผู้กล่าวกันว่านำชาวกรุงทรอยที่เหลือรอดไปยังประเทศอิตาลีในปัจจุบัน ชาวกรีกโบราณคาดว่าสงครามกรุงทรอยเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ซึ่งเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 13 หรือ 12 ก่อนคริสตกาล และเชื่อว่ากรุงทรอยตั้งอยู่ในประเทศตุรกีปัจจุบัน ใกล้กับช่องแคบดาร์ดาเนลส์ เมื่อล่วงมาถึงสมัยใหม่ คนส่วนใหญ่เชื่อว่าทั้งสงครามและกรุงทรอยเป็นนิทานปรำปราที่แต่งขึ้น อย่างไรก็ดี ในปี 1868 นักโบราณคดีชาวเยอรมัน ไฮน์ริช ชไลมันน์พบกับแฟรงก์ คัลเวิร์ท ผู้โน้มน้าวชไลมันน์ว่า กรุงทรอยเป็นสถานที่ที่มีอยู่จริง โดยตั้งอยู่ที่ฮิสซาร์ริคประเทศตุรกี และชไลมันน์เข้าควบคุมการขุดค้นของคัลเวิร์ทบนพื้นที่ซึ่งเป็นทรัพย์สินของคัลเวิร์ท คำถามที่ว่ามีความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์ใดอยู่เบื้องหลังสงครามกรุงทรอยหรือไม่นั้นยังไม่มีคำตอบ นักวิชาการจำนวนมากเชื่อว่านิยายดังกล่าวมีแก่นความจริงทางประวัติศาสตร์ แม้อาจหมายความว่า เรื่องเล่าของโฮเมอร์เป็นการผสมนิทการล้อมและการออกเดินทางต่าง ๆ ของชาวกรีกไมซีเนียนระหว่างยุคสัมฤทธิ์ก็ตาม ผู้ที่เชื่อว่าเรื่องเล่าสงครามกรุงทรอยมาจากความขัดแย้งในประวัติศาสตร์อย่างเฉพาะมักระบุเวลาไว้ว่าอยู่ในศตวรรษที่ 12 หรือ 11 ก่อนคริสตกาล ซึ่งค่อนข้างสอดคล้องกับหลักฐานทางโบราณคดีของการเผาทำลายทรอย 7เอ.

30 ความสัมพันธ์: ม้าโทรจันยูริพิดีสวรรณกรรมกรีกโบราณสติกซ์สปาร์ตาอมฤตออวิดอะธีนาอาแจ็กซ์อีเลียดอคิลลีสฮีราทีมิสดาร์ดะเนลส์ซอโฟคลีสซูสปารีส (ทรอย)แอโฟรไดทีโพรมีเทียสโอดิสซีย์โอดิสเซียสโฮเมอร์โครนัสไมซีนีเวอร์จิลเอสคิลัสเฮกเตอร์เฮอร์มีสเฮเลนแห่งทรอยเทพปกรณัมกรีก

ม้าโทรจัน

ำหรับความหมายอื่น ดูที่ ม้าโทรจัน (คอมพิวเตอร์) ม้าโทรจัน หรือ ม้าไม้เมืองทรอย (Trojan horse) เป็นม้าขนาดใหญ่ที่ทำจากไม้ จากมหากาพย์อีเลียดเรื่องสงครามเมืองทรอย ม้าไม้นี้เกิดขึ้นจากอุบายของโอดิสเซียส ในการบุกเข้าเมืองทรอย ที่มีป้อมปราการแข็งแรง หลังจากที่รบยืดเยื้อมานานถึง 10 ปีแล้ว ด้วยการให้ทหารสร้างม้าไม้นี้ขึ้นมา แล้วลากไปวางไว้หน้ากำแพงเมืองทรอย แล้วให้ทหารกรีกแสร้งทำเป็นล่าถอยออกไป เมื่อชาวทรอยเห็นแล้วเข้าใจว่าเป็นบรรณาการที่ทางฝ่ายกรีกสร้างขึ้นมาเพื่อบูชาเทพเจ้าและล่าถอยไปแล้ว จึงลากเข้าไปไว้ในเมืองและฉลองชัยชนะ เมื่อตกดึก ทหารกรีกที่ซ่อนตัวอยู่ในม้าไม้ ก็ไต่ลงมาเผาเมืองและปล้นเมืองทรอยได้เป็นที่สำเร็จ ปัจจุบัน ม้าโทรจัน ได้กลายมาเป็นสำนวนในภาษาอังกฤษ และเป็นชื่อของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่เมืองชานักกาเล ประเทศตุรกี ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของเมืองทรอยจริงตามประวัติศาสตร์ ทางผู้สร้างภาพยนตร์เรื่อง Troy เมื่อปี ค.ศ. 2004 ก็ได้มอบม้าไม้ตัวที่ใช้ในเรื่องให้แก่เมือง ซึ่งกลายเป็นจุดสนใจและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของเมืองด้ว.

ใหม่!!: สงครามกรุงทรอยและม้าโทรจัน · ดูเพิ่มเติม »

ยูริพิดีส

ูริพิดีส (-en; Εὐριπίδης) (ราว 480 – 406 ก่อนค.ศ.) เป็นนักประพันธ์บทละครโศกนาฏกรรมของนครเอเธนส์ในยุคคลาสสิค และเป็น 1 ใน 3 นาฏศิลปินในสาขาโศกนาฏกรรมที่มีชื่อเสียงที่สุดของกรีซโบราณ ร่วมกับเอสคีลัส (Aeschylus) และซอโฟคลีส (Sophocles) นักประวัติศาสตร์สมัยโบราณเชื่อว่ายูริพิดีสเขียนบทละครทั้งหมด 92 ถึง 95 เรื่อง (ซูดาเชื่อว่าท่านประพันธ์ไว้ไม่เกิน 92 เรื่อง) โดยมีเหลือรอดมาในปัจจุบัน 18 หรือ 19 เรื่อง ในสภาพเนื้อหาครบถ้วน และมีบางเรื่องนอกเหนือจากนี้มี่หลงเหลือมาเป็นเพียงบางส่วน ในบรรดานาฏศิลปินของเอเธนส์โบราณ ยุริพิดีสมีงานหลงเหลือมาถึงเรามากที่สุด ส่วนหนึ่งเพราะความนิยมในงานของเอสคีลัส และของซอโฟคลีสลดต่ำลงMoses Hadas, Ten Plays by Euripides, Bantam Classic (2006), Introduction, p. ix ในขณะที่ความนิยมในงานของท่านเพิ่มมากขึ้น งานของยูริพิดีสกลายเป็นฐานรากที่สำคัญยิ่งในวรรณคดีศึกษาในสังคมกรีซสมัยเฮลเลนิสติก ร่วมกับงานของโฮเมอร์, ดีมอสเธนีส และเมแนนเดอร์L.P.E.Parker, Euripides: Alcestis, Oxford University Press (2007), Introduction p. lx ยูริพิดีสสร้างนวัตกรรมทางการละครหลายอย่างที่มีอิทธิพลต่อการละครมาจนยุคสมัยใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเสนอตัวละครฮีโร่ หรือวีรบุรุษตามเทพปกรณัมแต่ดั้งเดิม ในฐานะคนธรรมดาที่อยู่ในเหตุการณ์พิเศษหรือลำบาก ทำให้เกิดการตีความใหม่ได้หลายรูปแบบ ยูริพิดีสได้รับการขนานนามว่าเป็นกวีที่เข้าถึงโศกนาฏกรรมมากที่สุด เนื่องจากท่านพุ่งโฟกัสไปที่ความรู้สึกนึกคิด และมูลเหตุจูงใจของตัวละครในแบบที่ไม่มีใครพบเห็นมาก่อน นำไปสู่สร้างตัวละครชายหญิงที่ต้องมาทำลายกันและกัน ด้วยความเข้มข้นของความรักและความชิงชังในหัวใจของตน อันเป็นต้นแบบที่นาฏศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ในสมัยต่อๆมาเดินตาม ไม่ว่าเช็คสเปียร์ หรือราซีน (Racine) นักประพันธ์ในเอเธนส์สมัยโบราณล้วนแต่มีชาติกำเนิดสูง แต่ยูริพิดีสต่างกับนักประพันธ์เหล่านั้นเพราะท่านมักแสดงความเห็นอกเห็นใจผู้ที่ด้อยโอกาส หรือตกเป็นเหยื่อสังคมในทุกรูปแบบ รวมไปถึงพวกผู้หญิง เนื้อหาบทละครของยูริพิดีสจึงมักจะช็อคคนดูที่ส่วนใหญ่เป็นพลเมืองเพศชาย และมีทัศนะคติไปในทางอนุรักษ์นิยม ผู้ที่มีชีวิตอยู่ร่วมสมัยกับยูริพิดีสมักจะจัดให้ท่านรวมไปเป็นพวกเดียวกับโสเครตีส ในฐานะผู้นำของความเสื่อมทางปัญญา (decadent intellectualism) และทั้งคู่มักจะถูกล้อเลียนโดยกวี และนักแต่งบทละครแนวตลกขบขันอยู่เสมอ ดังที่งานของอริสโตฟาเนสแสดงให้เห็น แต่ในขณะที่โสเครตีสต้องคดีและต่อมาถูกตัดสินประหารชีวิตในข้อหาชักนำประเทศไปในทางชั่ว ยูริพิดีสเลือกจากเนรเทศตัวเองไปจากเอเธนส์ในวัยชรา และไปเสียชีวิตที่นครเพลลา ราชอาณาจักรมาเกโดนีอาDenys L. Page, Euripides: Medea, Oxford University Press (1976), Introduction pp.

ใหม่!!: สงครามกรุงทรอยและยูริพิดีส · ดูเพิ่มเติม »

วรรณกรรมกรีกโบราณ

หน้ากระดาษจากหนังสือเรื่อง ''งานและวัน'' ของเฮสิโอด ฉบับพิมพ์ปี ค.ศ. 1539 วรรณกรรมกรีกโบราณ คือ วรรณคดีที่เขียนด้วยภาษากรีกโบราณ ตั้งแต่สมัยที่เริ่มมีการจารึกเป็นภาษากรีกต่อมาจนถึงสมัยจักรวรรดิไบเซนไทน์ งานวรรณคดีภาษากรีกที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังหลงเหลือตกทอดมา คือ มหากาพย์สองเรื่องที่กวีโฮเมอร์รจนาขึ้นในยุคอาร์เคอิก หรือประมาณศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล ได้แก่ อีเลียด และโอดิสซี ซึ่งเล่าเหตุการที่เกิดขึ้นในยุคขุนศึกของอารยธรรมไมซีนี มหากาพย์สองเรื่องนี้ กับงานเขียนร้อยกรองในยุคเดียวกัน ได้แก่ เพลงสวดโฮเมอริค (Homeric Hymns) และบทกวีอีกสองเรื่องของเฮสิโอด คือ ธีออโกนี (Theogony) และ งานและวัน (works and days) ถือได้ว่าเป็นทั้งจุดเริ่มต้นและรากฐานของธรรมเนียมทางวรรณกรรมของชาวกรีก สืบต่อไปถึงยุคคลาสสิค, สมัยอารยธรรมเฮเลนิสติก และยังเป็นรากฐานให้กับวรรณคดีของชาวโรมันอีกด้วย งานวรรณกรรมกรีกโบราณ เริ่มต้นขึ้นจากบทกวีขับร้องประกอบการเล่นดนตรีอย่างเช่น มหากาพย์ของโฮเมอร์ และบทกวีไลริค (lyric poetry) ซึ่งมีกวีนามอุโฆษ เช่น แซพโพ อัลซีอัส และพินดาร์ เป็นแบบอย่างที่มีอิทธิพลในช่วงยุคบุกเบิกของศิลปะทางกวีนิพนธ์ ต่อมามีการพัฒนาศิลปะการละครขึ้น งานนาฏกรรมบทละครที่ตกทอดมาได้แก่ของ เอสคิลัส (ราว 525-456 ก.คริสต์) ซอโฟคลีส (497-406 ก.คริสต์) ยูริพิดีส (480-406 ก.คริสต์) และอริสโตฟานีส (446-436 ก.คริสต์) ในบรรดานาฏศิลปินทั้งสี่ เอสคิลัสเป็นนักประพันธ์ละครคนแรกสุดที่มีงานตกทอดมาถึงเราอย่างสมบูรณ์ ซอโฟคลีสเป็นนักแต่งบทละครที่มีชื่อเสียงจากงานโศกนาฏกรรมไตรภาคเกี่ยวกับอีดิปัส โดยเฉพาะเรื่องพระเจ้าอีดิปัส (Oedipus Rex) และแอนติโกเน่ฯ ยูริพิดีสมีชื่อเสียงจากการสร้างงานประพันธ์ที่พยายามท้าทายขอบเขตของโศกนาฏกรรม ส่วนนักประพันธ์สุขนาฏกรรม (หรือ หัสนาฏกรรม) อริสโตฟานีสมีปรีชาสามารถในสาขางานสุขนาฏกรรมแบบดั้งเดิม (old comedy) ในขณะที่เมแนนเดอร์เป็นผู้บุกเบิกสุขนาฏกรรมใหม่ ภาพวาดจากซีนในบทสนทนา ซิมโพเซียม (ปรัชญาว่าด้วยความรัก) ของเพลโต (Anselm Feuerbach, 1873) สำหรับงานร้อยแก้วมีเฮโรโดตัส และธิวซิดิดีส เป็นผู้บุกเบิกงานเขียนทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับกรีซในช่วงศตวรรษที่ 5 (และความเป็นมาก่อนหน้านั้น) ซึ่งเป็นช่วงที่ทั้งสองท่านมีชีวิตอยู่ เพลโตถ่ายทอดความคิดเชิงปรัชญาผ่านบทสนทนา ซึ่งมีโสเครตีสผู้เป็นอาจารย์ของท่านเป็นจุดศูนย์กลาง ในขณะที่อริสโตเติ้ลลูกศิษย์ของเพลโตบุกเบิกสาขาปรัชญาใหม่ๆ รวมทั้งพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์หลายแขนง รวมทั้งการจำแนกหมวดหมู่สัตว์ และทฤษฎีทางกลศาสตร์ซึ่งเป็นชุดความรู้ที่สังคมตะวันตกยึดถือกันต่อมาอีกเกือบสองพันปีจนกระทั่งถูกเปลี่ยนแปลงในสมัยของไอแซก นิวตัน.

ใหม่!!: สงครามกรุงทรอยและวรรณกรรมกรีกโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

สติกซ์

สติกซ์ (Styx) เป็นพระธิดาของไททันโอเชียนัส (Oceanus) และไททันเทธีส (Tethys) และเป็นมเหสีของเทพพาลลัส (Pallas) ลูกๆ ของนางคือเทพซีลุส (Zelus) เทพีไนกี้ (Nike) เทพคราตอส (Cratos) และเทพีไบอา (Bia) (และบางครั้งยังรวมไปถึงเทพีอีออส (Eos) อีกด้วย) เทพีสติกซ์ช่วยเหลือเทพซุส (Zeus) ในสงครามกับเหล่าไททันที่เรียกว่า ไททันโนมาเคีย (Titanomachia) นางเป็นองค์แรกที่เข้าช่วยเหลือมหาเทพ ด้วยเหตุนี้เองนามของนางจึงได้รับเกียรติให้เป็นข้อผูกมัดคำสาบานของเหล่าทวยเทพ หมวดหมู่:เทพเจ้ากรีก.

ใหม่!!: สงครามกรุงทรอยและสติกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

สปาร์ตา

แผนที่สปาร์ตาโบราณ สปาร์ตา (Doric: Spártā, Attic: Spártē) เป็นชื่อเรียกของรัฐอิสระ ของชาวดอเรียน ซึ่งเป็นหนึ่งในชนเผ่าที่สำคัญของกรีกในยุคโบราณ สปาร์ตามีศูนย์กลางอยู่ที่ลาโอเนีย และมีจุดเด่นที่เน้นการฝึกทหาร จนอาจจะกล่าวได้ว่าสปาร์ตาเป็นรัฐทางทหาร ที่เป็นที่เข้มแข็งที่สุดในประวัติศาสตร์ของกรีกโบราณ โดยกองทัพสปาร์ตาสามารถมีชัยเหนือจักรวรรดิเปอร์เซีย และ จักรวรรดิเอเธนเนียน และได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ปกป้องรัฐอื่น ๆ ในกรีก พวกสปาร์ตาสามารถตั้งนครรัฐของตนและยึดครองดินแดนต่าง ๆ ได้ด้วยการทำสงคราม ดั้งนั้นจึงให้ความสำคัญกับระบบทหาร หมวดหมู่:กรีซโบราณ หมวดหมู่:นครรัฐในกรีซโบราณ.

ใหม่!!: สงครามกรุงทรอยและสปาร์ตา · ดูเพิ่มเติม »

อมฤต

ำสำคัญ "อมฤต" (/อะมะริด, หรือ อะมะรึด/), "อมฤตยู" (/อะมะรึดตะยู/), "อมัจจุ" และ "อมตะ" (/อะมะตะ/) เป็นคำสมาสระหว่าง "อ" (ไม่) + "มฤต, มฤตยู, มัจจุ, มตะ" (ตาย) แปลตรงตัวว่า "ไม่ตาย"; สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: สงครามกรุงทรอยและอมฤต · ดูเพิ่มเติม »

ออวิด

ออวิด ปูบลิอุส ออวิดิอุส นาโซ (Pvblivs Ovidivs Naso) หรือที่รู้จักในชื่อภาษาอังกฤษว่า ออวิด (Ovid) เกิดเมื่อวันที่ 20 มีนาคม ในปีที่ 43 ก่อนคริสต์ศักราช เสียชีวิตในปี..

ใหม่!!: สงครามกรุงทรอยและออวิด · ดูเพิ่มเติม »

อะธีนา

ในศาสนาและเทพปกรณัมกรีก อะธีนา (Athena) หรือ อะธีนี (Athene) หรือ แพลลัสอธีนา/อะธีนี (Pallas Athena/Athene) เป็นเทพเจ้าพรหมจรรย์แห่งปัญญา ความกล้า แรงบันดาลใจ อารยธรรม กฎหมายและความยุติธรรม การสงครามโดยชอบ คณิตศาสตร์ ความแข็งแกร่ง ยุทธศาสตร์ ศิลปะ งานฝีมือและทักษะ ภาคโรมัน คือ มิเนอร์วา มีการพรรณนาอะธีนาว่าทรงเป็นพระสหายร่วมทางผู้เฉลียวฉลาดของวีรบุรุษและเทพเจ้าอุปถัมภ์การผจญภัยของวีรบุรุษ พระนางทรงเป็นเทพเจ้าพรหมจรรย์ผู้อุปถัมภ์กรุงเอเธนส์ ชาวเอเธนส์ตั้งวิหารพาร์เธนอนบนอะโครโพลิสในกรุงเอเธนส์ (อะธีนาพาร์ธีนอส) เพื่อถวายเกียรติแด่พระนางDeacy, Susan, and Alexandra Villing.

ใหม่!!: สงครามกรุงทรอยและอะธีนา · ดูเพิ่มเติม »

อาแจ็กซ์

รูปวาดบนภาชนะโบราณ อาแจ็กซ์อุ้มร่างของอคิลลีส อาแจ็กซ์ (Ajax) หรือ ไอแอ็ส (Aias) วีรบุรุษในสงครามกรุงทรอย เป็นบุคคลมีรูปร่างใหญ่โต มีพละกำลังที่แข็งแรงมาก เป็นทั้งญาติและเพื่อนร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับอคิลลีส ภาพวาดในสมัยโบราณที่ปรากฏมักเป็นรูปอาแจ็กซ์นั่งเล่นหมากรุกกับอคิลลีสในช่วงพักรบ อาแจ็กซ์เป็นหนึ่งในบรรดาผู้สมัครเป็นเจ้าบ่าวของนางเฮเลน และได้กระทำสาบานปกป้องนางเฮเลนกับผู้ใดก็ตามที่ได้เป็นสามี ดังนั้นเมื่อนางเฮเลนถูกลักพาตัวไป และท้าวเมนนิเลอัสร้องขอความช่วยเหลือ เขาจึงได้เข้าร่วมสงครามเมืองทรอยด้วย ในช่วงท้ายของสงคราม ภายหลังจากที่อคิลลีสถูกปารีสยิงธนูถูกข้อเท้าถึงแก่ความตาย อาแจ็กซ์เป็นผู้ที่อุ้มร่างของอคิลลีสฝ่าทหารของกรุงทรอยออกมา นอกจากนี้แล้ว อาแจ็กซ์ยังเป็นชื่อของอีกบุคคลหนึ่งที่ปรากฏบทบาทในสงครามกรุงทรอยด้วยเช่นกัน โดยอาแจ็กซ์ผู้นี้มักถูกเรียกว่า Ajax the Lesser (อาแจ็กซ์ผู้น้อย) ขณะที่อาแจ็กซ์ผู้มีร่างกายใหญ่โตจะถูกเรียกว่า Ajax the Great (อาแจ็กซ์ผู้ยิ่งใหญ่) โดยอาแจ็กซ์ผู้น้อยนี้เป็นบุตรของกษัตริย์โอลิอุส เป็นหนึ่งในผู้ที่หลงรูปโฉมของเฮเลน จึงได้นำกองทัพเรือจำนวนมากเข้าสู่สงครามกรุงทรอย อาแจ็กซ์ผู้น้อยเสียชีวิตจากการหนีจากการจมน้ำโดยโปเซดอนได้ และไต่ขึ้นไปนั่งบนหิน โปเซดอนจึงใช้สายฟ้าฟาดไปบนหินที่อาแจ็กซ์ผู้น้อยนั่งอยู่ให้แตกละเอียด จนอาแจ็กซ์ผู้น้อยจมน้ำตายอีกครั้ง ปัจจุบัน ชื่อของอาแจ็กซ์ผู้ยิ่งใหญ่ได้ถูกตั้งเป็นชื่อของสโมสรฟุตบอลระดับชั้นแนวหน้าแห่งหนึ่งของเนเธอร์แลนด์ คือ อาแจ็กซ์ อัมสเตอร์ดัม หมวดหมู่:การฆ่าตัวตาย หมวดหมู่:อีเลียด หมวดหมู่:บุคคลในตำนานเทพปกรณัมกรีก.

ใหม่!!: สงครามกรุงทรอยและอาแจ็กซ์ · ดูเพิ่มเติม »

อีเลียด

ปกมหากาพย์ ''อีเลียด'' เชื่อว่าพิมพ์ในปี ค.ศ. 1572 อีเลียด (Ἰλιάς Ilias; Iliad) เป็นหนึ่งในสองบทกวีมหากาพย์กรีกโบราณของโฮเมอร์ ซึ่งเล่าเรื่องราวของสงครามเมืองทรอยในช่วงปีที่สิบอันเป็นปีที่สิ้นสุดสงคราม เชื่อกันว่า อีเลียด ถูกแต่งขึ้นในช่วงศตวรรษที่แปดก่อนคริสตกาล นักวิชาการหลายคนเชื่อว่า บทกวีเรื่องนี้เป็นวรรณกรรมที่เก่าแก่ที่สุดในภาษากรีกโบราณ จึงถือได้ว่าเป็นวรรณกรรมชิ้นแรกของยุโรป แม้จะมีชื่อผู้ประพันธ์ปรากฏเพียงคนเดียว แต่จากลักษณะของบทกวีที่บอกเล่าสืบต่อกันมาแบบปากเปล่ารุ่นต่อรุ่น จึงมีความเป็นไปได้ว่ามีผู้ประพันธ์มากกว่าหนึ่งคน เรื่องราวในบทกวีบรรยายถึงเหตุการณ์ในปีที่สิบซึ่งเป็นปีสุดท้ายของเหตุการณ์ที่ชาวกรีกบุกยึดนครอีเลียน หรือเมืองทรอย คำว่า "อีเลียด" หมายถึง "เกี่ยวกับอีเลียน" (ภาษาละตินเรียก อีเลียม (Ilium)) อันเป็นชื่อเรียกส่วนนครหลวง ซึ่งแตกต่างกับ ทรอย (Truva; Τροία, Troía; Troia, Troiae) อันหมายถึงนครรัฐที่อยู่ล้อมรอบอีเลียม แต่คำทั้งสองคำนี้มักใช้รวมๆ กันหมายถึงสถานที่แห่งเดียวกัน.

ใหม่!!: สงครามกรุงทรอยและอีเลียด · ดูเพิ่มเติม »

อคิลลีส

ทิสมอบเกราะและโล่ที่เทพช่างเหล็กฮิฟีสตัสตีขึ้นแก่อคิลลีสลูกชาย อคิลลีส (Achilles, Akhilleus, Achilleus; ภาษากรีกโบราณ: Ἀχιλλεύς) เป็นวีรบุรุษในตำนานกรีกโบราณว่าด้วยเรื่องสงครามเมืองทรอย เป็นตัวละครหลักและนักรบผู้ยิ่งใหญ่ในมหากาพย์อีเลียดของโฮเมอร์ เป็นแก่นของแนวเรื่องหลักในมหากาพย์นั้น คือ "โทสะของอคิลลีส" อคิลลีสเป็นบุตรของท้าวพีลูส กษัตริย์ชาวเมอร์มิดอน กับนางพรายทะเลเธทิส เกิดที่เมืองฟาร์สะลา แคว้นเทสสะลี แต่เดิมนางพรายทะเลเธทิสเป็นที่หมายปองของเทพซูสและโพไซดอน แต่ภายหลังโปรมีธูสแจ้งคำพยากรณ์ต่อเทพทั้งสองว่า บุตรของเธทิสจะเป็นผู้ยิ่งใหญ่กว่าบิดา เทพทั้งสองจึงยกนางให้แก่พีลูส เมื่ออคิลลีสเกิด เธทิสได้จุ่มร่างของบุตรลงในแม่น้ำสติกส์เพื่อให้เป็นคงกระพัน ร่างกายของอคิลลีสจึงแข็งแกร่ง ไม่มีอาวุธใดทำอันตรายได้ อย่างไรก็ดีขณะนางจุ่มร่างบุตร เธทิสใช้มือกุมข้อเท้าบุตรไว้ ดังนั้นทั่วร่างอคิลลีสจึงมีเพียงข้อเท้าที่ไม่ได้อาบน้ำศักดิ์สิทธิ์ เป็นจุดอ่อน ซึ่งในภาษาอังกฤษมีสำนวนว่า "Achilles' heel" หมายถึง จุดอ่อน อคิลลีสได้ชื่อว่าเป็นสุดยอดแห่งนักรบ เป็นผู้ที่มีฝีมือการต่อสู้ฉกาจฉกรรจ์มาก เมื่อพระเจ้าอกาเมมนอนรวบรวมทัพเพื่อยกไปตีเมืองทรอย จึงได้เชิญตัวอคิลลีสไปด้วย คำพยากรณ์มีว่า กรีกไม่มีวันเอาชนะทรอยได้หากปราศจากอคิลลีส กระนั้นก็มีคำพยากรณ์สำหรับอคิลลีสว่า เขาจะสิ้นชีวิตหากสังหารแม่ทัพทรอย คือ เฮกเตอร์ อคิลลีสไปถึงเมืองทรอยด้วยอายุเพียง 10 ขวบ และตั้งกองทัพอยู่ชายฝั่งเมืองทรอยนานถึง 15 ปี ระยะแรกอคิลลีสยังไม่มีความมุ่งมาดที่จะเอาชนะ จนกระทั่งเปรโตคัส เพื่อนรักอย่างยิ่งของอคิลลิส ถูกเฮกเตอร์สังหาร อคิลลิสจึงมีโทสะอย่างมากในการรบ จึงได้ขอดวลเดี่ยวกับเฮกเตอร์เพื่อล้างแค้นและสามารถสังหารเฮกเตอร์ได้ และลากศพของเฮกเตอร์ไปรอบ ๆ เมืองทรอยด้วยรถม้าเป็นการประจาน อคิลลีสเป็นผู้ที่บุกตะลุยเข้าไปในเมืองหลังจากเข้าเมืองได้ด้วยอุบายม้าไม้ของโอดิซูส และอคิลลีสก็ถูกสังหารจริง ๆ ตามคำทำนายด้วยลูกธนูที่ข้อเท้าจากการยิงของปารีส เมื่ออคิลลีสเสียชีวิตไปแล้ว ได้ทิ้งชื่อไว้เป็นตำนานให้เลื่องลือ กล่าวกันว่า โล่ห์ของอคิลลีส (Shield of Achilles) ซึ่งเป็นโลห์ที่อคิลลีสใช้สู้กับเฮคเตอร์เป็นสิ่งที่ใครต่อใครต้องการแสวงหา และอเล็กซานเดอร์มหาราชก็นับถืออคิลลีสเป็นอย่างมาก โดยถือว่าพระองค์สืบเชื้อสายมาจากอคิลลีส และพระองค์ยังออกตามหาหลุมศพของอคิลลีสรวมทั้งปรารถนาจะครอบครองโล่ห์ของอคิลลีสด้วย ซึ่งเชื่อว่าได้ถูกฝังอยู่ในหลุมศพของอคิลลี.

ใหม่!!: สงครามกรุงทรอยและอคิลลีส · ดูเพิ่มเติม »

ฮีรา

ีร่า หรือ เฮร่า (Hera; Ήρα, Ήρη) เป็นมเหสีและเชษฐภคินี (พี่สาว) ของซูสในพระเจ้าโอลิมปัสของเทพปกรณัมและศาสนากรีก เป็นธิดาของโครนัสและเรีย หน้าที่หลักของพระนางคือเป็นเทพเจ้าแห่งสตรีและการสมรส ภาคโรมัน คือ จูโน พิจารณาว่าวัว สิงโตและนกยูงเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ประจำพระองค์ ฮีร่าเป็นที่รู้จักจากธรรมชาติอิจฉาและพยาบาทของพระนาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อชายาองค์อื่น ๆ ของซูส และบุตรที่เกิดจากชายาเหล่านั้น ไม่ว่าพวกนางเป็นเทพเจ้าหรือมนุษย์ก็ตาม ตัวอย่างของผู้ที่ถูกฮีร่าปองร้ายมีมากมาย เช่น ลีโต มารดาของเทพอพอลโลและเทพีอาร์ทิมิส เฮราคลีส ไอโอ ลามิอา เกรานา ซิมิลี มารดาของเทพไดอะไนซัส ยูโรปา เป็นต้น ก็จะเจอจุดจบแบบไม่สวยงาม ในมหากาพย์อีเลียด ของ โฮเมอร์ ได้กล่าวถึงพระนางว่า เทพีตาวัว (ox-eyed goddess) ซึ่งแสดงถึงสัตว์ประจำตัวของฮีรานั่นเอง.

ใหม่!!: สงครามกรุงทรอยและฮีรา · ดูเพิ่มเติม »

ทีมิส

ทีมิส ทีมิส (Themis) เป็นเทพีในกลุ่มไททันตามเทพปกรณัมกรีกซึ่งได้รับการพรรณนาว่าสามารถ "ให้คำปรึกษาที่ดี" และเป็นบุคคลาธิษฐานของความสงบเรียบร้อย กฎหมาย และจารีตประเพณี คำว่า "Themis" แปลว่า "กฎสวรรค์" (divine law) ตรงกันข้ามกับกฎที่มนุษย์สร้างขึ้น และมีความหมายตามตัวว่า "อันซึ่งประดิษฐานไว้" (that which is put in place) มาจากคำกิริยา "τίθημι" แปลว่า "วาง" หรือ "ตั้ง" (to put) ตามความเชื่อของกรีก ทีมิสเป็นผู้จัดระบบ "กิจการสังคมของมนุษย์โดยเฉพาะการมาชุมนุมกัน" ผู้เชี่ยวชาญสาขาวิชาคลาสสิกโมเสส ไอ. ฟินลีย์ (Moses I. Finley) ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับคำว่า "Themis" ซึ่งเป็นคำที่ใช้โดยโฮเมอร์ในศตวรรษที่ 8 ว่าเป็นคำที่ทำให้เกิดความมีระเบียบของสังคมในยุคมืดกรีก (Greek Dark Ages) ในศตวรรษที่ 10 และ 9 ก่อนคริสต์ศักราช: "ทีมิส" เป็นคำที่แปลไม่ได้ คือสิ่งที่ได้รับการประทานจากพระเจ้าและเป็นสัญลักษณ์ของความมีวัฒนธรรม บางครั้งหมายถึงวัฒนธรรมอันถูกต้อง, กระบวนการอันเหมาะสม, ความมีระบบของสังคม และบางครั้งก็เพียงพระประสงค์ของพระเจ้าเท่านั้น (เช่นที่เห็นได้จากนิมิตร้าย (omen) เป็นต้น) ที่แทบจะไม่มีส่วนใดที่เกี่ยวข้องกับความถูกต้อง ฟินลีย์กล่าวต่อไปว่า "ทีมิส" ปรากฏในประเพณี ธรรมเนียมพื้นบ้าน หรือ "mores" ที่ไม่ว่าจะใช้คำใดก็ตามต่างก็หมายถึงพลังอันยิ่งใหญ่ของสิ่งที่กระทำหรือไม่กระทำ โลกของโอดีสซุซเป็นโลกที่มีความเชื่อที่วิวัฒนาการมาแล้วอย่างลึกซึ้งถึงสิ่งใดที่เหมาะและที่ควร".

ใหม่!!: สงครามกรุงทรอยและทีมิส · ดูเพิ่มเติม »

ดาร์ดะเนลส์

องแคบดาร์ดะเนลส์ แผนที่แสดงสถานที่ตั้งของช่องแคบดาร์ดะเนลส์ (สีเหลือง) ส่วนสีแดงคือช่องแคบบอสฟอรัส ช่องแคบดาร์ดะเนลส์ (Çanakkale Boğazı, Δαρδανέλλια, Dardanellia; Dardanelles) เป็นช่องแคบ ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศตุรกี กั้นระหว่างคาบสมุทรกัลลิโพลีของตุรกีส่วนที่อยู่ในทวีปยุโรปกับตุรกีส่วนที่อยู่ในทวีปเอเชีย เชื่อมทะเลมาร์มะรากับทะเลอีเจียน ที่จุดพิกัด ช่องแคบมีความยาว 61 กิโลเมตร (38 ไมล์) แต่กว้างเพียง 1.2 ถึง 6 กิโลเมตร (0.75 ถึง 3.7 ไมล์) มีความลึก ลึกสุด 103 เมตร (338 ฟุต).

ใหม่!!: สงครามกรุงทรอยและดาร์ดะเนลส์ · ดูเพิ่มเติม »

ซอโฟคลีส

ซอโฟคลีส หรือ โซโฟคลีส (Sophocles; Σοφοκλῆς, โซโพแคลส,; ราว 497/6 – 406/5 ก่อนค.ศ.)Sommerstein (2002), p. 41.

ใหม่!!: สงครามกรุงทรอยและซอโฟคลีส · ดูเพิ่มเติม »

ซูส

ซุส หรือ ซีอุส (Zeus; Ζεύς, Zeús ซฺเดอุส) ทรงเป็น "พระบิดาแห่งพระเจ้าและมนุษย์" (πατὴρ ἀνδρῶν τε θεῶν τε, patḕr andrōn te theōn te) ผู้ปกครองเทพโอลิมปัสแห่งยอดเขาโอลิมปัสดังบิดาปกครองครอบครัวตามศาสนากรีกโบราณ พระองค์ทรงเป็นเทพแห่งท้องฟ้าและสายฟ้าในเทพปกรณัมกรีก ซูสกับพระเจ้าจูปิเตอร์ของโรมันมาจากรากศัพท์เดียวกัน และกลายมามีความใกล้ชิดกันภายใต้อิทธิพลเฮเลนิสติก ซูสเป็นบุตรของโครนัสและรีอา และมีพระชนมายุน้อยที่สุด ในตำนานกล่าวว่า พระองค์สมรสกับฮีรา ทว่าที่ผู้พยาการณ์ที่ดอโดนา คู่สมรสของพระองค์คือ ไดโอนี ตามที่ระบุในอีเลียด พระองค์ทรงเป็นพระบิดาของแอโฟรไดที โดยไดโอนีเป็นพระมารดา พระองค์ทรงเป็นที่รู้จักในเรื่องกาม ซึ่งส่งผลให้พระองค์มีพระโอรสธิดาที่เป็นพระเจ้าและวีรบุรุษมากมาย รวมทั้งอะธีนา อะพอลโลและอาร์ทิมิส เฮอร์มีส เพอร์เซฟะนี ไดอะไนซัส เพอร์ซิอัส เฮราคลีส เฮเลนแห่งทรอย มิวส์ แอรีส ฮีบีและฮิฟีสตัส วอลเตอร์ เบอร์เกิร์ตบรรยายไว้ในหนังสือ ความเชื่อกรีกโบราณ ว่า "ซูสเป็นเทพบิดรของบรรดาเทวดาทั้งหลาย ทวยเทพทั้งหมดกำเนิดขึ้นเพราะมีพระองค์" ชาวกรีกเชื่อว่า พระองค์คือ เทพเจ้าสูงสุด, ผู้ครอบครองจักรวาล อ้างอิงโดย พอซาเนียส (นักภูมิศาสตร์) "ที่ซูสเป็นกษัตริย์ในสวรรค์เป็นคำที่มนุษย์ทุกคนทราบ" เฮซิออด กวี ธีโอโกนี ซูสได้จัดสรรมอบอำนาจให้เหล่าเทพ กวีโฮเมอริค พระองค์มีอำนาจปกครองสูงสุดในเหล่าเทพ สัญลักษณ์ของซูสคือ อัสนีบาตสายฟ้า, เหยี่ยว, กระทิง และต้นโอ๊ก นอกเหนือจากตำนานอินโด-ยูโรเปียน ฉายาตามตำนาน "ผู้รวบรวมเมฆ" (กรีก: Νεφεληγερέτα, Nephelēgereta) ได้รับมาจากสัญลักษณ์ตามวัฒนธรรมตะวันออกใกล้โบราณ ตัวอย่างเช่น คทาของกษัตริย์ ศิลปินชาวกรีกมักจะนำเสนอรูปปั้นเทพซูสใน ท่ายืนหรือท่วงท่าการก้าวไปข้างหน้า มีอัสนีบาตประดับในพระหัตถ์ขวา หรือประทับอยู่บนพระราชบัลลังก.

ใหม่!!: สงครามกรุงทรอยและซูส · ดูเพิ่มเติม »

ปารีส (ทรอย)

รูปปั้น''ปารีส'' ในพิพิธภัณฑ์บริติชมิวเซียม ปารีส (Paris) ในตำนานเทพปกรณัมกรีกโบราณ เป็นเจ้าชายแห่งเมืองทรอย โอรสของท้าวเพรียม จากวีรกรรมการชิงตัวนางเฮเลน ราชินีแห่งสปาร์ตามา ทำให้เกิดสงครามเมืองทรอย อันเป็นเหตุแห่งการล่มสลายของทรอยในท้ายที่สุด เขาเป็นผู้สังหารอคิลลีสโดยยิงธนูถูกที่ข้อเท้า ซึ่งเป็นจุดอ่อนของอคิลลีส ตามคำพยากรณ์ที่นางอัปสรธีทิส มารดาของอคิลลีสเคยทำนายไว้ และเขาก็ถูกสังหารโดยบุตรชายของอคิลลีสเอง หมวดหมู่:อีเลียด หมวดหมู่:บุคคลในตำนานเทพปกรณัมกรีก.

ใหม่!!: สงครามกรุงทรอยและปารีส (ทรอย) · ดูเพิ่มเติม »

แอโฟรไดที

แอโฟรไดที (Aphrodite,; Ἀφροδίτη) เป็นพระเจ้าแห่งความรัก ความงาม สุขารมณ์และการให้กำเนิด ภาคโรมัน คือ วีนัส มีนิยายว่าด้วยกำเนิดของพระนางมากกว่าหนึ่งเรื่อง เฉกเช่นพระเจ้ากรีกโบราณหลายพระองค์ เทออกอเนียของฮีซิอัดระบุว่า พระองค์ประสูติเมื่อโครนัสตัดอวัยวะเพศของยูเรนัสแล้วโยนลงทะเล จากนั้นพระองค์กำเนิดขึ้นจากฟองสมุทร (aphros) ด้วยพระสิริโฉมงดงามของพระองค์ พระเจ้าองค์อื่นจึงเกรงว่าการชิงพระนางจะขัดขวางสันติภาพในหมู่พวกตนและนำไปสู่สงคราม ฉะนั้นซูสจึงเสกสมรสพระนางกับฮิฟีสตัส ซึ่งด้วยความอัปลักษณ์และผิดรูปของพระองค์ ไม่ถูกมองว่าเป็นภัยคุกคาม แอโฟรไดทีมีชู้รักมากมาย ทั้งพระเจ้า เช่น แอรีส และมนุษย์ เช่น แองไคซีส (Anchises) พระองค์มีบทบาทในตำนานเอียรอสและไซคี ภายหลังเป็นทั้งชู้รักของอโดนิส (Adonis) และผู้ทดแทนมารดาของพระองค์ กล่าวกันว่าเทพชั้นรองจำนวนมากเป็นโอรสธิดาของแอโฟรไดที แอโฟรไดทียังรู้จักกันในพระนามไคธีเรีย (นายหญิงแห่งไคธีรา) และไซปริส (นายหญิงแห่งไซปรัส) ซึ่งตั้งตามชื่อแหล่งลัทธิสองแห่ง ไคธีราและไซปรัส ซึ่งอ้างว่าเป็นที่ประสูติของพระนาง กล่าวกันว่าเมอร์เทิล (myrtle) นกพิราบ นกกระจอก ม้าและหงส์ศักดิ์สิทธิ์ต่อพระนาง ชาวกรีกโบราณระบุพระองค์แอโฟรไดทีกับเทพีแฮธอร์ของอียิปต์โบราณ.

ใหม่!!: สงครามกรุงทรอยและแอโฟรไดที · ดูเพิ่มเติม »

โพรมีเทียส

วาดโพรมีเธียสขโมยไฟมาให้มนุษย์ วาดโดย ไฮน์ริช ฟูเกอร์ ในปี ค.ศ. 1817 โพรมีเทียส หรือ โพรมีทีอูส (Prometheus, Προμηθεύς แปลว่า มองการณ์ไกล) เป็นเทพไททันองค์หนึ่งที่มีความเฉลียวฉลาด เป็นผู้ขโมยไฟจากเฮสเทีย เทพีแห่งเตาไฟ ลงไปให้มนุษย์ จึงทำให้มนุษย์รู้จักใช้ไฟในการหุงหาอาหารและใช้เพื่อแสงสว่างจนสามารถสร้างอารยธรรมต่างๆ ได้ จึงทำให้ซูสโกรธและลงโทษโพรมีเทียสด้วยการขังไว้ในถ้ำบนคอคาซัส และมีนกอินทรียักษ์มาจิกกินตับของโพรมีเทียสทุกวันโดยที่ไม่ตาย และทุกคืนตับของโพรมีเทียสจะงอกใหม่เพื่อให้นกอินทรียักษ์จิกกินในวันรุ่งขึ้น แต่สำหรับมนุษย์แล้ว โพรมีเทียสถือว่าเป็นเทพที่กล้าหาญและเป็นเพื่อนที่ดีต่อมนุษย์ จึงได้รับการยกย่องและนับถือ.

ใหม่!!: สงครามกรุงทรอยและโพรมีเทียส · ดูเพิ่มเติม »

โอดิสซีย์

โอดีซุส และ นอซิกา ภาพวาดโดย ชาร์ลส เกลียร์ โอดีสซีย์ (Odyssey; Ὀδύσσεια, Odusseia) เป็นบทประพันธ์มหากาพย์กรีกโบราณหนึ่งในสองเรื่องของโฮเมอร์ คาดว่าประพันธ์ขึ้นในราว 800 ปีก่อนคริสตกาล ที่แคว้นไอโอเนีย ดินแดนชายทะเลฝั่งตะวันตกของตุรกีซึ่งอยู่ในอาณัติของกรีกD.C.H. Rieu's introduction to The Odyssey (Penguin, 2003), p. xi.

ใหม่!!: สงครามกรุงทรอยและโอดิสซีย์ · ดูเพิ่มเติม »

โอดิสเซียส

อดิสเซียส หรือ โอดิสซูส (Ὀδυσσεὺς, โอ-ดุส-เซวส์) นอกจากนี้ยังรู้จักกันในชื่อภาษาละตินว่า ยูลิสซิส (Ulysses) เป็นตัวเอกในมหากาพย์เร่ืองโอดิสซีย์ของโฮเมอร์ และยังมีบทบาทสำคัญในการสู้รบที่กรุงทรอย ซึ่งถ่ายทอดผ่านมหากาพย์อีเลียดของกวีคนเดียวกันอีกด้วย โอดิสเซียสเป็นบุตรของลาเออร์ทีส (Laërtes) กับแอนติคลีอา ต่อมาได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ของเมืองอิธาคาสืบต่อจากบิดา โดยมีภรรยาคือเพเนโลพี (Penelope) และมีบุตรคือเทเลมาคัส (Telemachus) โอดิสเซียสมีชื่อเสียงเลื่องลือในด้านสติปัญญา และไหวพริบที่ว่องไว ปรับตัวได้ทุกสถานการณ์ จึงได้รับฉายาเช่น polytropos- "many turns", "ผู้มีรอบมาก" หรือ polymētis - "ผู้มีแผนมาก", ผู้มีปัญญามาก แม้โอดิสเซียสจะมีบทบาทในมหากาพย์หลายเรื่อง โดยเฉพาะวัฏมหากาพย์ที่เกี่ยวกับกรุงทรอย แต่เขาเป็นที่รู้จักมากที่สุดใน nostos หรือ การเดินทางกลับบ้านของตน ที่กินเวลาถึงสิบปีหลังเสร็จสิ้นสงครามเมืองทรอ.

ใหม่!!: สงครามกรุงทรอยและโอดิสเซียส · ดูเพิ่มเติม »

โฮเมอร์

รูปปั้นของโฮเมอร์ โฮเมอร์ (กรีกโบราณ: Ὅμηρος Hómēros โฮแมโรส; Homer) เป็นนักแต่งกลอนในตำนานชาวกรีก ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นผู้แต่งมหากาพย์เรื่อง อีเลียด และ โอดิสซีย์ ชาวกรีกโบราณเชื่อกันว่าโฮเมอร์เป็นนักประวัติศาสตร์ แต่นักวิชาการในปัจจุบันกลับมองโฮเมอร์ด้วยความรู้สึกสงสัย เพราะเป็นข้อมูลชีวประวัติที่สืบต่อกันมายาวนานมาก อีกทั้งตัวกาพย์เอง ก็ถูกเล่าแบบปากต่อปากมานานนับศตวรรษ และถูกแก้ไขใหม่จนกลายมาเป็นกวี มาติน เวสต์ เชื่อว่า "โฮเมอร์" ไม่ใช่นามของกวีในประวัติศาสตร์ แต่เป็นเพียงชื่อที่ถูกสร้างขึ้นมา ช่วงเวลาที่โฮเมอร์มีชีวิตนั้นเองก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่มาแต่โบราณและจนถึงทุกวันนี้ โดยเฮโรโดตุสอ้างว่าโฮเมอร์เกิดก่อนเขาประมาณ 400 ปี ซึ่งน่าจะเป็นช่วงประมาณ 850 ปีก่อนคริสตกาล แต่ทว่าแหล่งอ้างอิงโบราณอื่น ๆ กลับให้ข้อมูลที่ซึ่งใกล้เคียงกับเวลาที่น่าจะเกิดสงครามเมืองทรอยมากกว่า ซึ่งช่วงเวลาที่อาจจะเกิดสงครามเมืองทรอยนั้น เอราทอสเทนีส กล่าวว่าเกิดในช่วง 1194–1184 ปีก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: สงครามกรุงทรอยและโฮเมอร์ · ดูเพิ่มเติม »

โครนัส

เทพโครนัส โครนัส หรือ โครนอส (Cronus หรือ Kronus, /kroʊnəs/; ภาษากรีกโบราณ: Κρόνος, Krónos) เป็นผู้นำเหล่ายักษ์ไททัน (Titan) รุ่นแรกที่มีอายุน้อยที่สุด ซึ่งเป็นทายาทของเทพีไกอา (Gaia) พระแม่ธรณี และเทพบิดายูเรนัส (Uranus) เทพแห่งท้องฟ้า เทพโครนัสได้โค่นบัลลังก์ของพระบิดา (เทพยูเรนัส) และขึ้นครองบัลลังก์ในช่วงยุคทอง จนกระทั่งถูกโค่นบัลลังก์โดยพระโอรสของตน คือ เทพซูส (Zeus) เทพโครนัสมิได้ถูกจองจำในยมโลกทาร์ทารัส (Tartarus) เหมือนเช่นไททันตนอื่น ๆ แต่เขากลับหลบหนีไปได้ ด้วยเหตุที่ว่าเทพโครนัสมีความเกี่ยวเนื่องกับยุคทองของเขาจึงได้รับการสักการะในฐานะเทพแห่งฤดูเก็บเกี่ยว ซึ่งรวมไปถึงการเก็บเกี่ยวพืชผลเช่น ข้าว ธรรมชาติ ผลผลิตทางการเกษตร และการเดินไปข้างหน้าของกาลเวลาที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ ภาพของเทพโครนัสมักถือเคียวไว้ในมือ ซึ่งพระองค์ใช้ในการเก็บเกี่ยวพืชผล และเป็นอาวุธที่พระองค์ใช้โค่นบัลลังก์เทพยูเรนัส ในกรุงเอเธนส์ (Athens) วันที่ 12 ของทุกๆ เดือน ถูกเรียกว่าวันฮีคาทอมบาเอียน (Hekatombaion) ซึ่งจะมีงานเทศกาลชื่อว่า เทศกาลโครเนีย (Kronia) จะจัดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่เทพโครนัสสำหรับฤดูเก็บเกี่ยว พระนามของเทพโครนัสในตำนานเทพปกรณัมโรมันคือ เทพแซเทิร์น (Saturn) หมวดหมู่:เทพไททัน.

ใหม่!!: สงครามกรุงทรอยและโครนัส · ดูเพิ่มเติม »

ไมซีนี

มซีนี (Μυκῆναι or Μυκήνη อ่านว่า มูแคไน หรือ มูแคแน; Mycenae) คือเมืองโบราณสมัยสำริดก่อนยุคเฮเลนิก (อารยธรรมกรีซโบราณนับแต่กรีซยุคอาร์เคอิกป็นต้นมา) ตั้งอยู่ในเนินเขาทางตะวันออกเฉียงเหนือของที่ราบอาร์กอส ในเพโลพอนนีส มีกำแพงสร้างอยู่โดยรอบ ปัจจุบันเป็นสถานที่ขุดค้นทางโบราณคดีที่ได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกจากองค์กรยูเนสโก ในสหัสวรรษที่สองก่อน..

ใหม่!!: สงครามกรุงทรอยและไมซีนี · ดูเพิ่มเติม »

เวอร์จิล

เวอร์จิล ปูบลิอุส แวร์กิลิอุส มาโร (Pvblivs Vergilivs Maro) หรือ เวอร์จิล (Virgil, Vergil; 15 ตุลาคม 70 ปีก่อนคริสต์ศักราช - 21 กันยายน 19 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นกวีชาวโรมโบราณ บทกวีที่เขาแต่งจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับพระเจ้าและนิยายปรัมปรา งานเขียนที่มีชื่อเสียงของเขาได้แก่ เอ็กคล็อกส์ (Eclogues), จอร์จิกส์ (Georgics) และมหากาพย์ อีนีอิด (Aeneid) หมวดหมู่:นักเขียนชาวโรมัน.

ใหม่!!: สงครามกรุงทรอยและเวอร์จิล · ดูเพิ่มเติม »

เอสคิลัส

อสคีลัส (Aeschylus; Αἰσχύλος ไอส-คู-ลอส;; ราว 525/524 – 456/455 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นนักประพันธ์บทละครชาวกรีกโบราณ และได้รับการขนานนามว่าเป็นบิดาแห่งโศกนาฏกรรม งานประพันธ์ของเอสคีลัสเป็นงานโศกนาฏกรรมชุดแรกสุดที่เหลือรอดมาจากยุคโบราณ และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานประเภทนี้ในสมัยแรกเริ่ม ล้วนแต่ได้มาจากการอนุมานผ่านงานที่หลงเหลืออยู่ของท่าน เอสคีลัสจึงเป็นบุคคลที่สำคัญอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์วรรณกรรมกรีกโบราณ อริสโตเติลให้เครดิตเอสคีลิสในฐานะเป็นศิลปินคนแรกที่ขยายจำนวนนักแสดงบนเวทีการละครของกรีก ทำให้สามารถนำเสนอความขัดแย้งระหว่างตัวละครได้ ในขณะที่ก่อนหน้านั้นการละครของกรีกมีแค่ตัวนักแสดงนำกับกลุ่มประสานเสียง (คอรัส) ในระหว่างที่มีชีวิตอยู่ เอสคีลัสประพันธ์บทละครไว้ระหว่าง 70 ถึง 90 เรื่อง แต่เหลือรอดมาถึงปัจจุบันเพียง 7 เรื่อง หนึ่งในนั้น พันธนาการโพรมีเทียส (Prometheus Bound) ยังเป็นที่ถกเถียงกันในเรื่องตัวตนของผู้ประพันธ์ (บ้างเชื่อว่า ยูฟอเรียน บุตรชายของเอสคีลัส เป็นผู้แต่งขึ้น) งานนาฎกรรมบทละครที่เอสคีลัสประพันธ์ขึ้น เป็นงานที่แต่งเพื่อเข้าแข่งขันในงานเทศกาลต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานเทศกาลไดโอไนซัส ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในฤดูใบไม้ผลิ ที่เมืองไดโอไนเซีย (Dionysia) ซึ่งมีการแข่งขันสองรอบ คือ รอบแข่งขันงานโศกนาฏกรรม และรอบแข่งขันงานสุขนาฏกรรม (comedies) งานทั้งหมดที่เหลือรอดมาของเอสคิลัส ได้แก่ ชาวเปอร์เซีย, ศึกเจ็ดขุนพลชิงธีบส์, ดรุณีร้องทุกข์, ไตรภาคโศกนาฏกรรม โอเรสเตอา ประกอบด้วย: อะกาเมมนอน, ผู้ถือทักษิโณทก (the Libation Bearers), และ ยูเมนิดีส (the Eumenides) เคยได้รับรางวัลชนะเลิศในการแข่งขันละครโศกนาฏกรรม ที่เมืองไดโอไนเซียมาแล้วทั้งสิ้น เว้นก็แต่ พันธนาการโพรมีเทียส เท่านั้น นอกจากนี้เอสคิลัสอาจเป็นนาฏศิลปินเพียงท่านเดียว (เท่าที่ทราบ) ที่เคยนำเสนอละครเป็นโศกนาฏการมไตรภาค ละครเรื่อง โอเรสเตอา เป็นตัวอย่างเดียวของบทประพันธ์ไตรภาคที่หลงเหลือมาจากยุคโบราณ ในวัยหนุ่มเอสคีลัสเคยเป็นทหารที่ร่วมรบในสงครามระหว่างกรีซกับเปอร์เซียทั้งสองครั้ง ในตอนต้นของศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล ในปีที่ 490 ก่อน..

ใหม่!!: สงครามกรุงทรอยและเอสคิลัส · ดูเพิ่มเติม »

เฮกเตอร์

กเตอร์ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: สงครามกรุงทรอยและเฮกเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เฮอร์มีส

อร์มีส (Hermes; Ἑρμῆς) เป็นพระเจ้าโอลิมปัสในศาสนาและเทพปกรณัมกรีก บุตรแห่งซูสและไลยาดีสเมอา พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าโอลิมปัสที่มีพระชนมายุน้อยที่สุดเป็นอันดับสอง เฮอร์มีสทรงเป็นพระเจ้าแห่งการเปลี่ยนผ่านและเขตแดน พระองค์ทรงรวดเร็วและเจ้าเล่ห์ และสามารถเสด็จระหว่างโลกมนุษย์และพระเจ้าได้อย่างอิสระ ในฐานะทูตและผู้แจ้งข่าวแห่งพระเจ้า ผู้เจรจาระหว่างมนุษย์และพระเจ้า และผู้นำดวงวิญญาณสู่ปรโลก พระองค์ทรงเป็นผู้พิทักษ์และอุปถัมภ์นักเดินทาง คนเลี้ยงแกะ โจร นักพูดข้างถนนและคนมีปฏิภาณ วรรณกรรมและกวี นักกีฬาและกีฬา สิ่งประดิษฐ์และการค้า บางตำนานว่าพระองค์เป็นนักหลอกลวง และเอาชนะพระเจ้าองค์อื่นด้วยไหวพริบเพื่อความพอพระทัยส่วนพระองค์หรือเพราะทรงเห็นแก่มนุษยชาติ ลักษณะและสัญลักษณ์ประจำพระองค์มีประติมากรรมเฉพาะหัว ไก่เพศผู้และเต่าบก ถุงใส่เงิน รองเท้าแตะมีปีก หมวกมีปีก สัญลักษณ์หลักของพระองค์ คือ ไม้เท้าผู้แจ้งข่าว (kerykeion; caduceus) ซึ่งเป็นไม้เท้ามีปีกที่มีงูพันสองตัว พระองค์ทรงถูกระบุเป็นพระเจ้าเมอร์คิวรีของโรมัน ซึ่งแม้เป็นพระเจ้าที่รับมาจากพวกอีทรัสคัน แต่ได้รับคุณลักษณะคล้ายกับเฮอร์มีสมาหลายประการ เช่น ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์การค้.

ใหม่!!: สงครามกรุงทรอยและเฮอร์มีส · ดูเพิ่มเติม »

เฮเลนแห่งทรอย

เฮเลนแห่งทรอย ภาพวาด ''เฮเลนกับปารีส'' โดย ฌาคส์-หลุยส์ เดวิด ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ ประเทศฝรั่งเศส เฮเลน (Helen, ภาษากรีกว่า Ἑλένη – Helénē) คือหญิงสาวผู้เป็นชนวนศึกในสงครามเมืองทรอย ปกรณัมเก่าแก่ของกรีก ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของงานมหากาพย์อีเลียดและโอดิสซีย์ ส่วนใหญ่มักเรียกชื่อนางว่า เฮเลนแห่งสปาร์ตา หรือ เฮเลนแห่งทรอย นางเป็นบุตรีของเทพซูสกับนางลีดา มีพี่ชายคือแคสเตอร์ พอลลักซ์ และคลีเทมเนสตรา เมื่อเฮเลนเติบโตถึงวัยวิวาห์ บิดามารดาได้จัดพิธีเลือกคู่ให้แก่นาง โดยมีกษัตริย์ เจ้าชาย และนักรบจากเมืองต่างๆ ทั่วแคว้นกรีกมาร่วมงาน ได้แก่ โอดิซูส เมเนสทีอัส ไดโอมีดีส อจักซ์ ปโตรกลัส เมนนิเลอัส และอักกะเมมนอน นางเลือกเมนนิลิอัสเป็นคู่วิวาห์ ส่วนกษัตริย์อื่นต่างให้สัญญาว่าจะคอยช่วยปกป้องนาง เฮเลนมีชื่อเสียงว่าเป็นหญิงงามไม่อาจหามนุษย์ผู้ใดเทียบได้ เมื่อครั้งปารีสแห่งทรอยเป็นผู้ตัดสินความงามระหว่างเหล่าเทพี อโฟรไดท์สัญญาว่าจะให้นางเฮเลนแก่เขาหากเขาเลือกให้พระนางเป็นเทพีผู้งามที่สุด เหตุนี้ปารีสจึงมาชิงตัวเฮเลนไปเสียโดยความช่วยเหลือของเทพเจ้า แล้วพานางหนีกลับไปเมืองทรอย ทำให้เหล่ากษัตริย์ที่ได้ให้สัตย์ไว้ต่อเมนนิลิอัส ต้องยกทัพมาช่วยเหลือเพื่อชิงนางเฮเลนกลับคืน หมวดหมู่:อีเลียด หมวดหมู่:บุคคลในตำนานเทพปกรณัมกรีก.

ใหม่!!: สงครามกรุงทรอยและเฮเลนแห่งทรอย · ดูเพิ่มเติม »

เทพปกรณัมกรีก

รูปปั้นครึ่งตัวของซูส, ที่เมือง Otricoli พิพิธภัณฑ์ Pio-Clementino วาติกัน) เทพปกรณัมกรีก (ΜΥΘΟΛΟΓΊΑ ΕΛΛΗΝΙΚΉ) เป็นเรื่องปรัมปราและตำนานที่เกี่ยวข้องกับเทพเจ้า, วีรบุรุษ, ธรรมชาติของโลก รวมถึงจุดกำเนิดและความสำคัญของขนบ คติและจารีตพิธีในทางศาสนาของชาวกรีกโบราณ เทพปกรณัมกรีกเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาในกรีซโบราณ นักวิชาการสมัยใหม่มักอ้างถึงและศึกษาเรื่องปรัมปราเหล่านี้ เพื่อที่จะทราบเกี่ยวกับสถาบันทางศาสนา, สถาบันทางการเมืองในกรีซโบราณ, อารยธรรมของชาวกรีก และเพื่อเพิ่มความเข้าใจในธรรมชาติของการสร้างตำนานเทพปกรณัมขึ้น เทพปกรณัมกรีกได้ถูกรวบรวมขึ้นจากเรื่องเล่าและศิลปะที่แสดงออกในวัฒนธรรมกรีก เช่น การระบายสีแจกันและของแก้บน ตำนานกรีกอธิบายถึงการถือกำเนิดของโลก และรายละเอียดของเรื่องราวในชีวิต และการผจญภัยของบรรดาเทพเจ้า เทพธิดา วีรบุรุษ วีรสตรี และสิ่งมีชีวิตในตำนานอื่น ๆ ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ในตอนแรกเป็นเพียงการสืบทอดผ่านบทกวีตามประเพณีมุขปาฐะเท่านั้น ซึ่งอาจสืบย้อนหลังไปได้ถึงสมัยไมนอส และสมัยไมซีนี ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ก่อน..

ใหม่!!: สงครามกรุงทรอยและเทพปกรณัมกรีก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Trojan Warสงครามโทรจันสงครามเมืองทรอย

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »