โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สกุลโพ

ดัชนี สกุลโพ

กุลโพ-ไทร-มะเดื่อ เป็นสกุลของไม้ยืนต้นในวงศ์ Moraceae สกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Ficus บางชนิดอาจขึ้นเป็นไม้พุ่มหรือไม้เถา ขึ้นบนดินหรือกึ่งอิงอาศัย โดยมีรากเกาะอาศัยต้นไม้อื่นแล้วเจริญโอบรัดต้นไม้ที่เกาะลักษณะคล้ายกาฝาก แยกเพศร่วมต้นหรือต่างต้น ส่วนต่าง ๆ มีน้ำยาง หูใบหุ้มตาใบชัดเจน กิ่งมีรอยแผลหูใบเป็นวงรอบข้อ ใบเดี่ยว ส่วนมากเรียงเวียนหรือเรียงสลับในระนาบเดียวกัน เแผ่นใบด้านล่างส่วนมากมีต่อมไขตามโคนเส้นใบใกล้ฐานใบ บางครั้งมีซิสโทลิท ดอกขนาดเล็กจำนวนมากเรียงแน่นอยู่ภายในฐานรองดอกที่โอบหุ้มดอกทั้งหมดไว้ภายใน หรือ ซิทโอเนียม หรือฟิก โดยมีช่องเปิด ส่วนใหญ่มีใบประดับที่โคน ดอกเพศผู้ กลีบรวมส่วนมากมี 2-6 กลีบ แยกกันหรือติดกัน หรือไม่มีกลีบรวม เกสรเพศผู้ 1-5 อัน ดอกเพศเมียก้านยาว กลีบรวมส่วนมากมี 3-5 กลีบ แยกกันหรือติดกัน ยอดเกสรเพศเมีย 2 อัน แยกกันหรือติดกัน ดอกที่เป็นหมันเป็นปม ก้านเกสรเพศเมียสั้น เป็นที่อยู่ของแมลงขนาดเล็ก บางชนิดมีดอกแบบไม่มีเพศ คือไม่มีทั้งเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมีย ลักษณะเฉพาะนี้มีความสัมพันธ์กับแมลงในลักษณะพึ่งพากัน ชนิดของแมลงมีความเฉพาะกับไทรแต่ละชนิด ผลขนาดเล็ก คล้ายผลมีผนังชั้นในแข็งหรือผลแห้งเมล็ดล่อน เมล็ดมีเอนโดสเปิร์ม ผลของมะเดื่อ (''F. carica'') ผ่าครึ่ง ไม้ที่อยู่ในสกุลนี้มีมากกว่า 800 ชนิดทั่วโลก (แบ่งออกได้เป็น 6 สกุลย่อย) ส่วนใหญ่กระจายพันธุ์อยู่ในเขตร้อน พบในประเทศไทยประมาณ 115 ชนิด มีประมาณ 7-8 ชนิดที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ส่วนใหญ่เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ซึ่งคนไทยมีความเชื่อมาแต่โบราณว่าไม้เหล่านี้เป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่สิงสถิตย์ของเทพารักษ์หรือนางไม้ เป็นไม้มงคล นำมาสู่คึวามร่มเย็นหรือโชคลาภแก่ผู้ปลูก เช่น โพ (F. religiosa), ไทร (F. benjamina) ส่วนที่นำมาปลูกเพื่อใช้รับประทานผล ได้แก่ มะเดื่อ (F. carica) ที่มีคุณค่าทางสารโภชนาการสูงมาก, มะเดื่อชุมพร (F. racemosa) เป็นต้น อีกทั้งยังเป็นอาหารหลักของสัตว์และนกหลายชนิด เช่น นกเงือก, นกโพระดก ด้ว.

24 ความสัมพันธ์: พืชพืชดอกพืชใบเลี้ยงคู่แท้กาฝากมะเดื่อมะเดื่อชุมพรวงศ์ขนุนวงศ์นกโพระดกสกุล (ชีววิทยา)สัตว์ปีกสารคดี (นิตยสาร)สปีชีส์อันดับกุหลาบความเชื่อคาโรลัส ลินเนียสนกเงือกโพโรสิดไม้พุ่มไม้ต้นไทยสยามไทรย้อยใบแหลมเทพารักษ์เขตร้อน

พืช

ืช เป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มใหญ่ประเภทหนึ่ง (มีประมาณ 350,000 สปีชีส์ ถูกระบุแล้ว 287,655 สปีชีส์ เป็นพืชดอก 258,650 ชนิด และพืชไม่มีท่อลำเลียง 18,000 ชนิด) อยู่ในอาณาจักรพืช (Kingdom Plantea) ประกอบด้วย ไม้ยืนต้น ไม้ดอก พืชล้มลุก และเฟิร์น พบได้ทั้งบนบกและในน้ำ เป็นสิ่งมีชีวิตที่เนื้อเยื่อส่วนใหญ่ประกอบด้วยหลายเซลล์ นิวเคลียสมีผนังเซลล์ ห่อหุ้ม เคลื่อนที่ไม่ได้ ได้แค่เอียงตัว จะสามารถเห็นได้ชัดเจน.เมื่อมีแดดส่อง พืชจะเอียงตัวไปที่แดด ไม่มีอวัยวะเกี่ยวกับความรู้สึก มีคลอโรฟิลล์ซึ่งเป็นสารสีเขียว ช่วยในการสังเคราะห์และเจริญเติบโต.

ใหม่!!: สกุลโพและพืช · ดูเพิ่มเติม »

พืชดอก

ืชดอก ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Magnoliophyta เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Angiospermae หรือ Angiosperms เป็นกลุ่มของพืชกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่ง มีดอกไม้ และเมล็ดเป็นส่วนประกอบ ซึ่งเมล็ดจะกลายเป็นผลไม้ พืชดอกแบ่งได้ออกเป็นกลุ่มใหญ่ 8 กลุ่มดังนี้ เรียงตามจำนวนสปีชี.

ใหม่!!: สกุลโพและพืชดอก · ดูเพิ่มเติม »

พืชใบเลี้ยงคู่แท้

ืชใบเลี้ยงคู่แท้ หรือ Eudicots, Eudicotidae หรือ Eudicotyledons เป็นกลุ่มทางไฟโลเจนเติกของพืชมีดอก บางครั้งเรียกว่าพืชใบเลี้ยงคู่ที่ไม่ใช่แมกโนลิด คำนี้กำหนดขึ้นครั้งแรกเมื่อ..

ใหม่!!: สกุลโพและพืชใบเลี้ยงคู่แท้ · ดูเพิ่มเติม »

กาฝาก

กาฝาก เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ในวงศ์ Loranthaceae อันดับ Santalales สกุล Loranthaceae ชื่อไทยว่า "กาฝากของส้มโอ" ชื่อท้องถิ่น เดี้ยงแปงซ่าง(เมี่ยน)มักอาศัยเกาะขึ้นกับพืชอื่น และแย่งอาหารจากพืชที่เกาะอยู่และ บางชนิดก็แย่งอาหารจากพวกกาฝากด้วยกันพืช กาฝากต้องพึ่งพาต้นไม้อื่นในการดำรงชีวิต เพราะมันไม่สามารถเกาะอยู่บนต้นไม้อื่นเฉยๆแบบกล้วยไม้ ว่านไก่แดง หรือนมตำเรีย ซึ่งเป็นพืชอิงอาศัย (epiphyte) แต่มันจะต้องแทงรากเข้าไปในท่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุของต้นไม้อื่นนั้น เพื่อแย่งเอามาเป็นอาหารของมัน เพราะกาฝากเป็นพืชเบียน (parasite) บนคาคบไม้ จึงแตกต่างจากกล้วยไม้และพืชอิงอาศัยอื่น.

ใหม่!!: สกุลโพและกาฝาก · ดูเพิ่มเติม »

มะเดื่อ

มะเดื่อ หรือ มะเดื่อฝรั่ง หรือ มะเดื่อญี่ปุ่น เป็นไม้ยืนต้นที่แยกดอกแยกต้นเจริญได้ดีในที่สูงถึง 6 เมตร หรือ 19 ฟุต อยู่ในสกุล Ficus วงศ์ Moraceae เป็นพืชพื้นเมืองในแถบตะวันออกกลาง เป็นพืชคนละชนิดกับมะเดื่ออุทุมพรหรือมะเดื่อชุมพร (F. racemosa) ที่เป็นไม้พื้นเมืองในอินเดียและศรีลังกา มะเดื่อเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นเป็นปุ่มแตกกิ่งก้านออก ใบเดี่ยว ด้านหนึ่งหยาบ อีกด้านหนึ่งมีขนอ่อน ลำต้นมียางสีขาว ผลออกเป็นกระจุก กลมแป้นหรือรูปไข่ เปลือกบาง ผลอ่อนสีเขียว พอสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง แดงหรือชมพูแล้วแต่พันธุ์ เนื้อในสีแดงเข้ม สุกแล้วมีกลิ่นหอม การปลูกเป็นการค้าเริ่มที่เอเชียตะวันตก แล้วจึงแพร่หลายสู่ซีเรีย ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน.

ใหม่!!: สกุลโพและมะเดื่อ · ดูเพิ่มเติม »

มะเดื่อชุมพร

มะเดื่อชุมพร หรือ มะเดื่ออุทุมพร เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางในวงศ์ Moraceae ลำต้นตรงสูงเต็มที่ 20 เมตร เปลือกต้นสีเทา มีถิ่นกำเนิดที่ภูมิภาคเอเชียอาคเนย์และออสเตรเลีย และเป็นพันธุ์ไม้พระราชทานและเป็นพันธุ์ไม้ประจำจังหวัดชุมพร.

ใหม่!!: สกุลโพและมะเดื่อชุมพร · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ขนุน

วงศ์ขนุน หรือ Moraceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอกที่มีสมาชิก 40 สกุลและมีมากกว่า 1000 สปีชีส์ แพร่กระจายในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน มียางสีขาวเหมือนน้ำนม ดอกเป็นดอกช่อและผลเป็นผลรวม พืชในวงศ์นี้ที่รู้จักกันดีได้แก่ มะเดื่อ, บันยัน, สาเก, หม่อน.

ใหม่!!: สกุลโพและวงศ์ขนุน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์นกโพระดก

นกโพระดก เป็นนกขนาดกลาง อยู่ในวงศ์ Megalaimidae (บางข้อมูลจัดให้อยู่ในวงศ์ Ramphastidae หรือนกทูแคน ที่พบในอเมริกาใต้ โดยจัดให้เป็นวงศ์ย่อย Megalaiminae) จัดอยู่ในอันดับนกหัวขวานและนกโพระดก (Piciformes) มีลักษณะจะงอยปากหนาใหญ่ และมีขนที่โคนปาก ร้องเสียงดัง ได้ยินไปไกล ลำตัวอ้วนป้อม ส่วนหัวมีขนาดใหญ่ มีสีสันสวยงาม มีทั้งหมด 26 ชนิด พบทั่วไปในทวีปเอเชียตั้งแต่ทิเบต จนถึงอินโดนีเซีย พบมากในคาบสมุทรมลายู และเกาะสุมาตรา ทำรังในโพรงไม้ ด้วยการเจาะไม้ให้เป็นรูเหมือนกับนกหัวขวาน ซึ่งเป็นนกในอันดับเดียวกัน แต่โพรงของนกโพระดกจะมีขนาดพอดีตัวทำให้การเข้าออกรังบางทีทำได้ไม่คล่องเท่านกหัวขวาน วางไข่ครั้งละ 2-4 ฟอง ใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 13-15 วัน เป็นนกที่กินผลไม้เช่น ลูกโพ, ลูกมะเดื่อฝรั่ง และแมลง เป็นอาหาร สำหรับนกในวงศ์นี้ที่พบในประเทศไทยมีทั้งหมด 15 ชนิด ได้แก่Short, L. L. Horne J. F. M. (2002) "วงศ์ Capitonidae (barbets)" in del Hoyo J., Elliott A. & Christie D.A. (2004) Handbook of the Birds of the World.

ใหม่!!: สกุลโพและวงศ์นกโพระดก · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: สกุลโพและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ปีก

ัตว์ปีก หรือ นก (รวมถึง ไก่, เป็ด, ห่าน, ไก่ฟ้า) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้น Aves (คำว่า Aves เป็นภาษาละติน หมายถึง นก) โดยมีลักษณะทั่วไปคือ เป็นสัตว์ทวิบาท เลือดอุ่น ออกลูกเป็นไข่ รยางค์คู่หน้าเปลี่ยนแปลงไปเป็นปีก มีขนนก และมีกระดูกที่กลวงเบา ในปัจจุบันทั่วโลกมีนกอยู่ประมาณ 8,800 ถึง 9,800 ชนิด (ตามการจัดอนุกรมวิธานที่ต่างกัน) ซึ่งนับว่านกเป็นชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายมากที่สุด ในบรรดาชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหลายที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ความหลากหลายของนกนับเนื่องไปตั้งแต่ในเรื่องของขนาดตัว สีสัน เสียงร้อง อาหารการกิน และถิ่นที่อยู่อาศัย นกเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญเป็นอันมากทั้งต่อระบบนิเวศและต่อชีวิตมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับนกเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น และการเกื้อกูลกันระหว่างนกกับสรรพสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติก็เป็นไปอย่างแนบแน่น ถ้าหากปราศจากนก คงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงการดำรงอยู่ต่อไปของชีวภาคใบนี้.

ใหม่!!: สกุลโพและสัตว์ปีก · ดูเพิ่มเติม »

สารคดี (นิตยสาร)

นิตยสารสารคดี เป็นนิตยสารของไทย ที่มุ่งเน้นบทความแนวสารคดีโดยเฉพาะ ครอบคลุมทั้งเรื่องธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ บุคคล ชีวิต ศิลปวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี โดยเริ่มวางแผงฉบับปฐมฤกษ์เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 โดยอยู่ในเครือของ บริษัท วิริยะธุรกิจ จำกัด โดยมีจุดเริ่มต้นจาก คุณสุชาดา จักพิสุทธิ์ บรรณาธิการคนแรก คุณจำนงค์ ศรีนวล บรรณาธิการฝ่ายศิลป์ คุณสกล เกษมพันธ์ ช่างภาพสารคดี คุณสุดารา สุจฉายา และคุณวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์เป็นนักเขียนรุ่นบุกเบิก โดยมีความคิดทำหนังสือที่มีสาระความรู้หลากหลาย ให้ความสำคัญกับการถ่ายภาพและการออกแบบรูปเล่มเป็นพิเศษ ปัจจุบันมีคุณสุวัฒน์ อัศวไชยชาญ เป็นบรรณาธิการบริหาร สำนักงานนิตยสารสารคดีตั้งอยู่ที่ บริษัทวิริยะธุรกิจ 28,30 ซอยวัดปรินายก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ.

ใหม่!!: สกุลโพและสารคดี (นิตยสาร) · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: สกุลโพและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับกุหลาบ

อันดับกุหลาบ หรือ Rosales เป็นอันดับของพืชมีดอกPeter F. Stevens (2001 onwards).

ใหม่!!: สกุลโพและอันดับกุหลาบ · ดูเพิ่มเติม »

ความเชื่อ

วามเชื่อ (belief) หมายถึง การยอมรับว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นความจริง หรือมีการดำรงอยู่จริง โดยอาศัยประสบการณ์ตรง การไตร่ตรอง หรือการอนุมาน.

ใหม่!!: สกุลโพและความเชื่อ · ดูเพิ่มเติม »

คาโรลัส ลินเนียส

รลัส ลินเนียส (ภาษาละติน) หรือ คาร์ล ลินเนียส (ภาษาสวีเดน) ปัจจุบันภาพนี้จัดแสดงที่ราชวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน ลายมือชื่อของคาร์ล ลินเนียส คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) หรือ คาร์ล ฟอน ลินเนีย บ้างก็เรียก คาร์ล ลินเนียส (Carl Linnaeus) (23 พฤษภาคม พ.ศ. 2250 - 10 มกราคม พ.ศ. 2321) เป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ผู้ริเริ่มการจัดแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ และการประยุกต์ใช้ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม ซึ่งมีประโยชน์ในการศึกษาชีววิทยาต่อมาจวบจนปัจจุบัน อนึ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตที่จัดจำแนกโดยเขา จะลงท้ายด้วย L. หรือ Linn.

ใหม่!!: สกุลโพและคาโรลัส ลินเนียส · ดูเพิ่มเติม »

นกเงือก

นกเงือก (Hornbills) เป็นนกขนาดใหญ่ ที่อยู่ในวงศ์ Bucerotidae ในอันดับนกตะขาบ (Coraciiformes) (บางข้อมูลซึ่งเป็นข้อมูลเก่าจะจัดให้อยู่ในอันดับ Bucerotiformes ซึ่งเป็นอันดับเฉพาะของนกเงือกเอง แต่ปัจจุบันนับเป็นชื่อพ้อง โดยนับรวมนกเงือกดินเข้าไปด้วย) เป็นนกที่เชื่อว่าถือกำเนิดมานานกว่า 45 ล้านปีมาแล้ว.

ใหม่!!: สกุลโพและนกเงือก · ดูเพิ่มเติม »

โพ

(มักเขียนว่า โพธิ์) (คำว่า "โพ" มาจากภาษาสิงหล; Sacred fig) เป็นต้นไม้สปีชีส์หนึ่งของไทรหรือมะเดื่อ เป็นพืชพื้นเมืองของอินเดีย, เนปาล, ศรีลังกา, ตะวันตกเฉียงใต้ของจีน และ อินโดจีน เป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ผลัดใบในฤดูร้อน สูงได้ถึง 30 เมตร ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลางได้ถึง 3 เมตร รูปใบโดยทั่วไปของต้นโพ ใบมีรูปหัวใจปลายยาว ยาว 10-17 เซนติเมตร กว้าง 8-12 เซนติเมตร ก้านใบยาว 6-10 เซนติเมตร ผลมีขนาดเล็กมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-1.5 เซนติเมตร สีเขียวเมื่อสุกมีสีม่วง โพเป็นต้นไม้ที่ถูกสักการะในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู, ศาสนาเชน และ พระพุทธศาสนา ด้วยเหตุนี้จึงมีชื่อว่า "Sacred fig" พระโคตมพุทธเจ้าก็ได้ตรัสรู้เมื่อนั่งอยู่ใต้ต้นโพเช่นกัน โดยต้นโพที่พระโคตมพุทธเจ้าตรัสรู้นั้นชื่อ "ต้นพระศรีมหาโพธิ์" ปัจจุบันยังคงมีชีวิตอยู่ที่ประเทศอินเดีย จึงเชื่อกันว่าโพเป็นสัญลักษณ์แห่งความสุข, ความสำเร็จ, อายุยืน และ ความโชคดี และเป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดปราจีนบุรี.

ใหม่!!: สกุลโพและโพ · ดูเพิ่มเติม »

โรสิด

รสิด หรือ rosids เป็นเคลดขนาดใหญ่ของพืชมีดอก ประกอบด้วย 70,000 สปีชีส์ ซึ่งมากกว่าหนึ่งในสี่ของพืชมีดอกทั้งหมดเคลดนี้แบ่งเป็น 16 - 20 อันดับ ขึ้นกับระบบการจัดจำแนก อันดับเหล่านี้แบ่งเป็นวงศ์ได้ประมาณ 140 วง.

ใหม่!!: สกุลโพและโรสิด · ดูเพิ่มเติม »

ไม้พุ่ม

ต้นไม้กวาด ไม้ดอกที่ออกดอกเต็มต้นในฤดูใบไม้ผลิในเขตอบอุ่น ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ ไม้พุ่ม บางครั้งเรียก ไม้กอ เป็นคำเทคนิคที่ใช้ในสาขาวิชาพืชสวนมากกว่าสาขาพฤกษศาสตร์ที่เข้มงวดที่หมายไปถึงประเภทของไม้มีแก่นที่สัณบานแตกต่างไปจากไม้ต้นเนื่องจากการมีหลายลำต้นแตกขยายเป็นพุ่มและเตี้ย ปกติจะเตี้ยกว่า 5-6 เมตร มีต้นไม้หลายชนิดที่จะจำแนกเป็นไม้พุ่มก็ได้หรือไม้ต้นก็ได้ ขึ้นอยู่กับสภาพการขึ้นของมัน รวมทั้งการตัดแต่งโดยจงใจของมนุษย์ ต้นเฟื่องฟ้าที่จำแนกเป็นไม้พุ่ม บางครั้งและบางพันธุ์ตามสัณฐานธรรมชาติอาจจำแนกเป็นไม้เลื้อยได้เช่นกัน และยังสามารถตัดแต่งต้นเฟื่องฟ้าเป็นไม้ต้นขนาดเล็กเป็นไม้ประดับได้ด้วย ชุมชนพืชที่ต้นไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้พุ่มขึ้นรวมอยู่กันเป็นหมู่ เรียกว่า ละเมาะ ถ้ามีมาก เรียกป่าละเมาะ บริเวณไม้พุ่มที่ปลูกรวมเป็นที่เฉพาะไว้ในอุทยานหรือสวนเพื่อการจัดแสดงเรียกว่าสวนไม้พุ่ม เมื่อไม้พุ่มถูกตัดแต่งด้วยการขริบเป็น "ไม้ตัด" มันจะแตกกิ่งก้านและมีใบเล็กลงทำให้พุ่มใบแน่นขึ้น ไม้พุ่มหลายชนิดตอบสนองได้รวดเร็วต่อการตัดแต่งเพื่อให้เกิดการแตกกิ่งก้านและใบใหม่ "การตัดแต่งหนัก" คือตัดถึงตอ จะทำให้ไม้พุ่มแตกกิ่งใหม่ที่ยาว ไม้พุ่มบางชนิดตอบสนองต่อการตัดแต่งพิเศษเพื่อแสดงลักษณะโครงสร้างที่สวนงามได้ดี ไม้พุ่มที่ใช้ในงานทำสวนทั่วไปมักเป็นประเภทไม้ใบกว้าง แต่ที่เป็นไม้ใบรูปเข็มก็มี โดยเฉพาะในประเทศเขตอบอุ่น เช่น สนเขาขนาดเล็ก ไม้พุ่มมีทั้งที่เป็นไม้ผลัดใบและไม้ไม่ผลัดใ.

ใหม่!!: สกุลโพและไม้พุ่ม · ดูเพิ่มเติม »

ไม้ต้น

ต้นซากุระ ไม้ต้น คือ พืชนานปีซึ่งมีลำต้นยาว กิ่งและใบในสปีชีส์ส่วนใหญ่ บางครั้ง นิยามคำว่าไม้ต้นอาจแคบลง โดยรวมเฉพาะพืชไม้ (woody plant) เท่านั้น คือ พืชที่ใช้เป็นไม้หรืความสูงกว่าที่กำหนด ในความหมายกว้างที่สุด ไม้ต้นรวมปาล์ม เฟิร์นต้น กล้วยและไผ่ ไม้ต้นมักมีอายุยืน บางต้นอยู่ได้หลายพันปี ต้นที่สูงที่สุดบนโลกมีความสูง 115.6 เมตร และมีความสูงได้มากที่สุดตามทฤษฎี 130 เมตร ไม้ต้นอุบัติขึ้นบนโลกเป็นเวลาราว 370 ล้านปีแล้ว ไม้ต้นมิใช่กลุ่มทางอนุกรมวิธาน แต่เป็นกลุ่มพืชไม่เกี่ยวข้องกันที่วิวัฒนาลำต้นและกิ่งไม้เพื่อให้สูงเหนือพืชอื่นและใช้ประโยชน์จากแสงอาทิตย์ให้ได้มากที.

ใหม่!!: สกุลโพและไม้ต้น · ดูเพิ่มเติม »

ไทยสยาม

ทยสยาม (Thai Siam) โดยทั่วไปหมายถึง คือกลุ่มชาติพันธุ์ซึ่งพูดภาษาไทยกลาง หรือมี เชื้อชาติไทยสยามผสมอยู่ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในประเทศไทย และอาศัยกระจายอยู่ในประเทศอื่นทั่วโลก โดยคนไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ รองลงมาคือ ศาสนาอิสลาม และ ศาสนาคริสต์ ในความหมายทางชาติพันธุ์ ใช้เฉพาะเจาะจงถึงคนไทยภาคกลาง หรือเดิมเรียกว่า ชาวสยาม แต่ในความหมายมุมกว้าง สามารถหมายความครอบคลุมถึง กลุ่มชาติพันธุ์ไทย อื่นๆ ทั้งนอกและในราชอาณาจักร เช่น ไทยโคราช ไทยอีสาน ไทยโยเดีย หรือ ไทยเกาะกง เช่นกัน.

ใหม่!!: สกุลโพและไทยสยาม · ดูเพิ่มเติม »

ไทรย้อยใบแหลม

ทรย้อยใบแหลม หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ไทร (Weeping fig, Ficus tree) เป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นมีความสูงประมาณ 10-20 เมตร ลำต้นตรงแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มทึบ บางชนิดก็เป็นพุ่มโปร่ง มีรากอากาศห้อยลงมาตามกิ่งก้านและลำต้น ผิวเปลือกเรียบสีขาวปนเทา ใบเป็นใบเดี่ยวแตกออกจากกิ่ง และส่วนยอดของลำต้น ใบออกเป็นคู่สลับกัน ลักษณะใบ ขนาดใบ และสีสันแตกต่างกันตามชนิดย่อ.

ใหม่!!: สกุลโพและไทรย้อยใบแหลม · ดูเพิ่มเติม »

เทพารักษ์

ศาลพระภูมิ ซึ่งมนุษย์สร้างให้เป็นที่สถิตของเทพารักษ์ เทพารักษ์ หมายถึง เทวดาที่ดูแลรักษาที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ตามศาสนาพุทธ ถือว่าเทพารักษ์เป็นเทพระดับหนึ่ง ในสวรรค์ชั้นกามาพจรภพ บางที่อาจเรียกว่าเป็นเทวดา บางที่อาจเรียกว่าผีเสฐียรโก.

ใหม่!!: สกุลโพและเทพารักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

เขตร้อน

แผนที่โลกที่เน้นเขตร้อนด้วยสีแดง เขตร้อนหรือโซนร้อน (tropics) เป็นบริเวณของโลกที่อยู่รอบเส้นศูนย์สูตร จำกัดด้วยเส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ในซีกโลกเหนือ ที่ละติจูด 23° 26′ 16″ (หรือ 23.4378°) เหนือ และทรอปิกออฟแคปริคอร์นในซีกโลกใต้ ที่ละติจูด 23° 26′ 16″ (หรือ 23.4378°) ใต้ ละติจูดนี้ใกล้เคียงกับความเอียงของแกนโลก เขตร้อนรวมทุกพื้นที่บนโลกซึ่งดวงอาทิตย์ถึงจุดใต้แสงอาทิตย์ (subsolar point) คือ จุดที่ดวงอาทิตย์อยู่ตรงเหนือศีรษะพอดี อย่างน้อยครั้งหนึ่งในปีสุริยคติ.

ใหม่!!: สกุลโพและเขตร้อน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

FiceaeFicusFigมะเดื่อ (สกุล)มะเดื่อฝรั่งสกุลมะเดื่อสกุลมะเดื่อฝรั่งสกุลโพธิ์สกุลไทรโพ (สกุล)โพ-ไทร-มะเดื่อไทร (สกุล)

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »