โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ศาสนาอียิปต์โบราณและเซอร์เค็ต

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ศาสนาอียิปต์โบราณและเซอร์เค็ต

ศาสนาอียิปต์โบราณ vs. เซอร์เค็ต

thumb เทพปกรณัมแห่งไอยคุปต์ หรือ ศาสนาของชาวไอยคุปต์ (อียิปต์โบราณ) คือศาสนาหรือความเชื่อในรูปแบบพหุเทวนิยม ของชาวอียิปต์โบราณ เมื่อกว่า 3,000 ปีที่แล้ว โดยจะนับถือเทพเจ้าหลายองค์ด้วยกัน ที่สำคัญๆ ได้แก่ เทพรา เทพโอสิริส เทพโฮรุส เทพอานูบิส เทวีไอสิส เทวีเสลเคต อิมโฮเตป อาเมนโฮเตป เป็นต้น หมวดหมู่:อียิปต์โบราณ หมวดหมู่:เทพปกรณัม หมวดหมู่:เทพเจ้าอียิปต์โบราณ. thumb เซอร์เค็ต (Serket) เป็นหนึ่งในเทพของ ตำนานเทพเจ้าแห่งไอยคุปต์ เทวีแมงป่อง มีชื่อเสียงขึ้นมาโดยราชาแมงป่อง กษัตริยก่อนราชวงศ์ พระนางเกี่ยวข้องกับความอุดมสมบูรณ์ เพราะพระนางเป็นหนึ่งในเทวีผู้พิทักษ์ต้นน้ำทั้งสี่แห่งแม่น้ำนิล หน้าที่ของเทวีเซอร์เค็ตคือ เป็นคนเฝ้างูอาโปฟิส ศัตรูของเทพราที่ถูกมัดและขังไว้ใต้พิภพ พระนางเป็นชายาของเทพเนเฆบคาอู (Nekhebkau) เทพแห่งงูใหญ่ มีแขนเป็นมนุษย์ ซึ่งบางครั้งก็ถือว่าเป็นหนึ่งในเหล่าปีศาจซึ่งอาศัยอยู่ใต้โลก กล่าวกันว่าเทวีเซอร์เค็ตถูกมัดด้วยโซ่จนสวรรคต แต่พระสวามีของเธอบางครั้งก็เป็นเทพที่ดี คอยให้อาหารแก่วิญญาณของผู้ตาย ถ้าในกรณีนี้ เทวีเซอร์เค็ตก็เป็นเทวีที่ดีด้วย โดยปกติแล้วเทวีเซอร์เค็ตจะช่วยเทวีไอสิสทำพิธีศพเทพโอสิริสและเป็นผู้ช่วยคอยดูแลเทพโฮรุส พระนางจะประทับยืนอยู่กับเทวีอีสิสตรงปลายโลงศพ และเป็นเทพ 1 ใน 4 ที่ประจำที่ไหเก็บเครื่องในมัมมี่ที่เก็บลำไส้ เทวีเซอร์เค็ตมีสัญลักษณ์เป็นมนุษย์ ศีรษะเป็นแมงป่อง หรือกายเป็นแมงป่อง ศีรษะเป็นมนุษย์ บางครั้งก็เป็นเช่นเดียวกับเทวีไอสิส หรือปกป้องผู้ตายด้วยปีกที่แขนของนาง.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ศาสนาอียิปต์โบราณและเซอร์เค็ต

ศาสนาอียิปต์โบราณและเซอร์เค็ต มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): รา (เทพ)ฮอรัสโอไซริสไอซิส

รา (เทพ)

145px รา (Ra) หรือ เร (Re) หรือ อาเมน-รา (Amen-Ra) หรือ อามอน-รา (Amon-Ra) คือ เทพแห่งดวงอาทิตย์ในตำนานเทพเจ้าแห่งไอยคุปต์ของอียิปต์ โบราณสัญลักษณ์ของเทพราคือวงกลมหนุนอยู่บนเรือ แต่ส่วนมากมักเป็นมนุษย์ พระเศียรเป็นนกเหยี่ยว เชื่อว่าถือกำเนิดมาจากแม่น้ำแห่งเทพนุน กายล้อมรอบด้วยกลีบดอกบัว ทุกวันเมื่อเข้าสู่ราตรีกาล เทพราจะกลับมาบรรทมในดอกบัวนี้ สัญลักษณ์ของพระองค์เป็นนกศักดิ์สิทธิ์ เรียกว่า นกเบนนู (Bennu bird) เกาะที่ยอดพีระมิด ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งแสงอาทิตย์ เทพราเป็นดั่งบิดาแห่งมวลมนุษย์และสรรพสิ่งทั้งหลาย ทรงสร้างเทพชู เทพแห่งลม เทพีเตฟนุต เทวีแห่งสายฝน เทพเกบ เทพแห่งปฐพี เทพีนัต เทวีแห่งท้องฟ้าและ เทพฮาปี เทพแห่งแม่น้ำนิลนาม เทพรามีหลายพระนามด้วยกันคือ ในตอนเช้ามักถูกเรียกว่า เฆปรี (Khepri) หรือ เฆเปรา (Khepera) เรียกว่าราในตอนกลางวัน และตุม (Tum) หรืออาตุม (Atum) ในตอนเย็น เทพรา จะเสด็จออกจากเมืองเฮลีโอโปลิสพร้อมกับเหล่าเทพเจ้า โดยใช้เรือสุริยันเป็นยานพาหนะ เพื่อตรวจเยื่ยมราษฎรในแคว้นทั้ง 12 แคว้น ทำให้เกิดแสงอาทิตย์ตลอด 12 ชั่วโมงใน 1 วัน และในเวลากลางคืนพระองค์จะท่องไปในแดนมตภพดูอัตจากฝั่งตะวันตกไปฝั่งตะวันออก และมีตำนานเกี่ยวกับเทพราอีกมากมาย แต่ก่อนเทพราจะมีเฉพาะฟาโรห์เท่านั้นที่สักการะได้.

รา (เทพ)และศาสนาอียิปต์โบราณ · รา (เทพ)และเซอร์เค็ต · ดูเพิ่มเติม »

ฮอรัส

ทพฮอรัส เทพฮอรัส (Horus) คือหนึ่งในเทพของ ตำนานเทพเจ้าแห่งไอยคุปต์ ผู้เป็นพระโอรสของเทพโอซีริส และเทวีไอซิสและเป็นพระสวามีของแฮธอร์ ทรงเป็นเทพที่เกิดจากการรวมกันของเทพนกเหยี่ยวและเทพแห่งแสงสว่าง มีพระเนตรขวาเป็นดวงอาทิตย์ พระเนตรซ้ายเป็นดวงจันทร์ และ คนอียิปต์โบราณมีความเชื่อว่าการเกิดกลางวันกลางคืนนั้นเกิดจากการบินรอบโลกของเทพฮอรัส สัญลักษณ์ของเทพฮอรัสคือเป็นมนุษย์ที่มีศีรษะเป็นนกเหยี่ยว ทรงสวมมงกุฎสองชั้นหรือแกะสลักเป็นรูปวงสุริยะมีปีกอยู่ที่รั้ววิหารประจำพระองค์ หรือคือนกเหยี่ยวกำลังบินอยู่เหนือการสู้รบของฟาโรห์ ที่อุ้งเล็บมีแส้แห่งความจงรักภักดีและแหวนแห่งความเป็นนิรันดร์อยู่ เทพฮอรัสมีพระนามมากมายตามท้องที่ที่สักการะและความเชื่อ เช่น เทพฮาโรเอริส (Haroeris) ฮอรัส เบฮ์เดตี (Horus Behdety) ฮาราเคต ฮาร์มาฆิส (Harmakhis) และ ฮาร์สีเอสิส (Harsiesis).

ศาสนาอียิปต์โบราณและฮอรัส · ฮอรัสและเซอร์เค็ต · ดูเพิ่มเติม »

โอไซริส

อไซริส (Osiris; Ὄσιρις) เป็นเทพอียิปต์ซึ่งมักได้รับการระบุว่า เป็นเทพแห่งชีวิตหลังความตาย เทพแห่งนรก และเทพแห่งวิญญาณ เดิมทีเชื่อกันว่า เป็นบุรุษเพศ มีกายสีเขียว มีมัสสุดังฟาโรห์ กายเบื้องล่างพันผ้าห่อศพไว้ ฉลองมงกุฏประดับขนนกกระจอกเทศสองข้าง หัตถ์ทั้งสองถือตะขอกับไม้หวดข้าว ถือกันมาระยะหนึ่งว่า โอไซริสเป็นโอรสของเก็บ (Geb) เทพผืนดิน กับนัต (Nut) เทพีท้องฟ้า ทั้งเป็นเชษฐภาดาและภัสดาของไอซิส (Isis) มีโอรสด้วยกันหนึ่งองค์เมื่อสิ้นชนม์ไปแล้ว คือ ฮอรัส (Horus) โอไซริสยังเกี่ยวเนื่องกับสมญาที่ว่า "เค็นที-อาเมนทีอู" (Khenti-Amentiu) แปลว่า ที่สุดแห่งชาวตะวันตก ซึ่งหมายถึง การได้ปกครองนรกภูมิ โอไซริสในฐานะมัจจุราชนั้นบางทีได้รับการเรียกขานว่า "เจ้าชีวิต" (king of the living) เพราะชาวอียิปต์โบราณถือว่า วิญญาณที่ได้รับเซ่นสรวงบูชานั้นเป็น "สิ่งมีชีวิต" (living one) โอไซริสปรากฏเป็นครั้งแรกในช่วงกลางราชวงศ์ที่ห้าแห่งอียิปต์ แต่น่าเชื่อว่า ได้รับการเคารพบูชามาก่อนหน้านั้นแล้ว นอกจากนี้ สมญา "เค็นที-อาเมนทีอู" ยังปรากฏย้อนหลังไปถึงราชวงศ์ที่หนึ่งโดยเป็นสมัญญาสำหรับพระมหากษัตริย์ด้วย เรื่องราวเกี่ยวกับโอไซริสนั้นส่วนใหญ่ได้มาจากการกล่าวถึงในตำราพีระมิด (Pyramid Texts) ซึ่งแต่งขึ้นเมื่อปลายราชวงศ์ที่ห้า ตลอดจนเอกสารในชั้นหลัง ๆ เช่น ศิลาชาบากา (Shabaka Stone) และคัมภีร์เรื่อง การชิงชัยระหว่างฮอรัสกับเซท (Contending of Horus and Seth) รวมถึงการพรรณนาในงานเขียนของปรัชญาเมธีกรีกหลายคน เช่น พลูตาร์ก (Plutarch) และดีโอโอรัส ซีกูลัส (Diodorus Siculus) ในนรกภูมิ ถือว่า โอไซริสเป็นตุลาการผู้เปี่ยมเมตตา ทั้งยังทำหน้าที่แทนนรกในการบันดาลให้เกิดสรรพชีวิต รวมถึง การแตกหน่อก่อผลของพืชผัก และการสร้างน้ำท่วมเพื่อความอุดมสมบูรณ์ริมฝั่งไนล์ นอกจากนี้ โอไซริสยังได้ชื่อว่าเป็น "กามเทพ" "พระผู้ปราศศัตรูและทรงเยาว์วัยตลอดกาล"The Oxford Guide: Essential Guide to Egyptian Mythology, Edited by Donald B. Redford, p302-307, Berkley, 2003, ISBN 0-425-19096-X และ "เจ้าแห่งความสงัด" พระเจ้าแผ่นดินอียิปต์จะทรงเป็นส่วนหนึ่งของโอไซริสเมื่อสิ้นพระชนม์แล้ว เชื่อกันว่า เมื่อสิ้นพระชนม์ โอไซริสจะสถิตอยู่ในพระวิญญาณ และพระวิญญาณที่มีโอไซริสเป็นส่วนหนึ่งนี้จะดำรงอยู่ชั่วกัลปาวสานหลังผ่านพิธีกรรมทางไสยเวทบางประการ ครั้นถึงช่วงอาณาจักรใหม่ ความเชื่อเปลี่ยนไปว่า ใช่แต่พระเจ้าแผ่นดินเท่านั้นที่จะเข้ารวมกับโอไซริสในโลกหลังความตาย บุคคลธรรมดาสามัญทั้งหลายก็ด้วย แต่ต้องผ่านพิธีกรรมทำนองเดียวกัน ไอโซริสได้รับการนับถือเป็นมัจจุราชมาจนศาสนาอียิปต์โบราณระงับไปในช่วงคริสตกาล.

ศาสนาอียิปต์โบราณและโอไซริส · เซอร์เค็ตและโอไซริส · ดูเพิ่มเติม »

ไอซิส

ทวีไอสิส (Isis) เทพแห่งอียิปต์ ถือเป็นหนึ่งในเทพของตำนานเทพเจ้าแห่งไอยคุปต์ บางตำรากล่าวไว้ว่า เทวีไอซิส(Isis) เป็นธิดาของเทพและเทพีนุต แต่บางตำรากลับบอกว่า เทพีไอซิสเป็นธิดาของเทพรากับเทพีนุต(หรือ เทพีนัต) ตามที่จะขอกล่าวถึงดังต่อไปนี้ ต้นกำเนิดของเทวีไอซิสเริ่มขึ้นหลังจากที่เทพราได้อภิเษกกับเทพีนุตแล้ว เทพรามีความปรารถนาอย่างยิ่งที่จะได้โอรสธิดา แต่เมื่อเวลาผ่านไปนานวันเข้า เทพีนุตก็ไม่ทรงครรภ์เสียที ทำให้เทพราทรงพิโรธ และลงมือสาปให้เทพีนุตไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีกเลย เทพีนุตทรงเสียใจเป็นอย่างมาก จึงนำเรื่องนี้ไปปรึกษากับเทพธอทผู้ทรงความรอบรู้ ซึ่งเดิมทีแล้วเทพธอทได้ตกหลุมรักเทพีนุตมาโดยตลอด เทพธอทให้คำแนะนำพร้อมยื่นข้อเสนอแก่เทพีนุตว่า หากพระองค์สามารถมีโอรสธิดาให้เทพราได้ พระนางจะต้องมอบความรักให้แก่เทพธอท เทพีนุตตอบตกลงในคำนั้น เทพธอทจึงได้ไปท้าพนันกับเทพคอนชูผู้เป็นเทพพระจันทร์ซึ่งรักการพนันเป็นชีวิตจิตใจ เทพธอททำทีแสร้งเดินหมากกันกับเทพคอนชูจนหลงลืมวันคืน ซึ่งเทพคอนชูไม่ทันรู้เล่ห์กล จึงเปล่งแสงอยู่ตลอดเวลาจนกระทั่งแสงมีมากพอเท่ากับแสงจากพระอาทิตย์จำนวน 5 วัน เทพธอทจึงยกเลิกการเล่นหมากกับเทพคอนชู หลังจากนั้นเป็นต้นมา แสงจากเทพคอนชูจึงมีไม่มากเพียงพอ ทำให้เทพคอนชูจำเป็นต้องลดแสงลงบ้างในเวลาตอนกลางคืน ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของข้างขึ้นข้างแรมในปัจจุบันนั่นเอง ตั้งแต่นั้นมา เทพธอทก็นำแสงที่นอกเหนือจากแสงอาทิตย์ของเทพรา มาสร้างเป็นวันจำนวน 5 วัน ซึ่งเพียงพอที่จะทำให้เทพีนุตตั้งครรถ์ได้ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เทพีนุตให้กำเนิดเหล่าเทพเทพีจำนวน 5 องค์ อันได้แก่ 1.

ศาสนาอียิปต์โบราณและไอซิส · เซอร์เค็ตและไอซิส · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ศาสนาอียิปต์โบราณและเซอร์เค็ต

ศาสนาอียิปต์โบราณ มี 11 ความสัมพันธ์ขณะที่ เซอร์เค็ต มี 5 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 25.00% = 4 / (11 + 5)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ศาสนาอียิปต์โบราณและเซอร์เค็ต หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »