โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วิทยาภูมิคุ้มกันและอะพอพโทซิส

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง วิทยาภูมิคุ้มกันและอะพอพโทซิส

วิทยาภูมิคุ้มกัน vs. อะพอพโทซิส

วิทยาภูมิคุ้มกัน หรือ วิทยาอิมมูน (immunology) เป็นสาขาวิชาหนึ่งของวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ที่ครอบคลุมความรู้เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันในสิ่งมีชีวิต โดยมีเนื้อหาครอบคลุมกลไกการทำงานทางสรีรวิทยาของระบบภูมิคุ้มกันทั้งในสภาพร่างกายที่ปรกติและเมื่อเกิดพยาธิสภาพขึ้น พยาธิสภาพอาจจะเกิดจากสิ่งแปลกปลอมจากภายนอกเช่น เชื้อโรคหรือจากสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ (allergen) รวมทั้งโรคที่มีความผิดปรกติทางระบบภูมิคุ้มกันเช่น โรคภูมิคุ้มกันต่อต้านร่างกายตัวเอง (autoimmune) โรคภูมิคุ้มกันไวผิดปรกติ (hypersensitivity) โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (immunodeficiency) ภาวะการต่อต้านอวัยวะใหม่ (graft rejection) เป็นต้น นอกจากนี้วิชาภูมิคุ้มกันวิทยายังได้ศึกษาในเชิงลึกเกี่ยวกับหน้าที่และคุณสมบัติต่างๆ ของระบบภูมิคุ้มกันโดยเฉพาะการทำงานของแอนติบอดี ซึ่งปัจจุบันได้มีการพัฒนาเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญทางด้านวิทยาศาสตร์เช่น ในทางการแพทย์ใช้แอนตีบอดีในการวินิจฉัยจากปริมาณสารที่พบในโรคหรือสภาวะบางจากพลาสมาหรือเนื้อเยื่อ และทางการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้นำมาใช้ในการวัดปริมาณของโปรตีนในตัวอย่างทางชีวภาพต่างๆ หมวดหมู่:ชีววิทยา. ตัดขวางของตับหนูแสดงเซลล์ที่ตายแบบอะพอพโทซิส (ลูกศร) อะพอพโทซิส เป็นรูปแบบหนึ่งของการตายของเซลล์แบบที่มีการโปรแกรมไว้แล้ว (programmed cell death) ของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับชุดของปฏิกิริยาทางชีวเคมีซึ่งทำให้เซลล์ตายอย่างมีลักษณะที่เฉพาะ หรือกล่าวอย่างจำเพาะคือเป็นชุดของปฏิกิริยาทางชีวเคมีที่ทำให้เซลล์มีสัณฐานวิทยาเปลี่ยนแปลงหลายรูปแบบ เช่น การบวมของเซลล์ (blebbing), การเปลี่ยนแปลงของเยื่อหุ้มเซลล์เช่นการเหี่ยวของเซลล์, นิวเคลียสแตกเป็นชิ้นส่วน, โครมาตินหนาตัวขึ้น, และดีเอ็นเอแตกเป็นท่อน กระบวนการกำจัดเศษซากเซลล์ก็จะไม่ทำให้เกิดการกระตุ้นให้เนื้อเยื่อข้างเคียงเกิดความเสียหายซึ่งต่างจากการตายแบบการตายเฉพาะส่วนหรือเนโครซิส (necrosis) อะพอพโทซิสเป็นการตายที่เกิดขึ้นตามปกติในกระบวนการเจริญพัฒนาของสิ่งมีชีวิต ซึ่งต่างจากการตายเฉพาะส่วนที่เกิดจากการบาดเจ็บของเซลล์แบบเฉียบพลัน อะพอพโทซิสเกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปร่างและอวัยวะของเอ็มบริโอ เช่นการเจริญของนิ้วมือและนิ้วเท้าเนื่องจากเซลล์ที่อยู่ระหว่างนิ้วอะพอพโทซิสไป ทำให้นิ้วทั้งห้าแยกออกจากกัน โดยเฉลี่ยแล้วในผู้ใหญ่จะมีเซลล์ราว 5 หมื่นล้านถึง 7 หมื่นล้านเซลล์ตายแบบอะพอพโทซิสทุกวัน และในเด็กอายุ 8-14 ปีจะมีเซลล์ตายราว 2 หมื่นล้านถึง 3 หมื่นล้านเซลล์ต่อวัน งานวิจัยเกี่ยวกับการตายแบบอะพอพโทซิสมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 1990 ทำให้มีการค้นพบการตายแบบอะพอพโทซิสที่ผิดปกติในโรคต่างๆ หากอะพอพโทซิสเกิดขึ้นมากเกินไปจะทำให้เกิดการฝ่อของอวัยวะ เช่นในภาวะการขาดเลือดเฉพาะที่ (ischemic damage) ในขณะที่การตายแบบอะพอพโทซิสที่ไม่เพียงพอทำให้เกิดเซลล์ที่เพิ่มจำนวนอย่างควบคุมไม่ได้ เช่นมะเร็ง.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง วิทยาภูมิคุ้มกันและอะพอพโทซิส

วิทยาภูมิคุ้มกันและอะพอพโทซิส มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ระบบภูมิคุ้มกันเนื้อเยื่อ

ระบบภูมิคุ้มกัน

ระบบภูมิคุ้มกัน (immune system) คือระบบที่คอยปกป้องร่างกายของสิ่งมีชีวิตจากสิ่งแปลกปลอม โดยเฉพาะจุลชีพก่อโรค เช่น แบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต รา พยาธิ รวมถึงสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ เช่น เซลล์ที่กำลังเจริญเติบโตไปเป็นมะเร็ง อวัยวะของผู้อื่นที่ปลูกถ่ายเข้ามาในร่างกาย การได้รับเลือดผิดหมู่ สารก่อภูมิแพ้ ฯลฯ สิ่งแปลกปลอมที่ร่างกายตรวจจับได้เรียกว่า แอนติเจน (antigen) แอนติเจนที่กระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันเรียกว่า อิมมูโนเจน (immunogen) สิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกร่างกายเต็มไปด้วยจุลินทรีย์ขนาดเล็กที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ส่วนใหญ่จุลินทรีย์ที่อยู่รอบตัวเหล่านี้ไม่ใช่เชื้อก่อโรคแต่ประการใด แต่ก็มีจุลินทรีย์อีกมากมายที่ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อ เรียกว่าเชื้อโรค (pathogen) เพื่อป้องกันร่างกายจากเชื้อโรคเหล่านี้ มนุษย์มีระบบภูมิคุ้มกันที่ทำหน้าที่อย่างทรงประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อโรคออกไป หากภูมิคุ้มกันบกพร่อง แม้จะพัฒนายาต้านจุลชีพที่ดีเลิศเพียงใด ก็อาจจะไม่สามารถรักษาชีวิตคนเราจากโรคติดเชื้อไว้ได้ เพราะการที่จะหายจากโรคติดเชื้อได้นั้น ภูมิคุ้มกันในร่างกายเป็นผู้ช่วยตัวสำคัญที.

ระบบภูมิคุ้มกันและวิทยาภูมิคุ้มกัน · ระบบภูมิคุ้มกันและอะพอพโทซิส · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อเยื่อ

นื้อเยื่อ ในทางชีววิทยาคือกลุ่มของเซลล์ที่ทำหน้าที่ร่วมกันในสิ่งมีชีวิต วิชาการศึกษาเนื้อเยื่อ เรียกว่า มิญชวิทยา (Histology) หรือ จุลกายวิภาคศาสตร์ (Microanatomy) หรือหากเป็นการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับโรคเรียกว่า จุลพยาธิวิทยา (histopathology) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเนื้อเยื่อโดยทั่วไปคือ แท่งขี้ผึ้ง (wax block), สีย้อมเนื้อเยื่อ (tissue stain), กล้องจุลทรรศน์แบบแสง (optical microscope) ซึ่งต่อมามีการพัฒนาเป็นกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (electron microscopy), immunofluorescence, และการตัดตรวจเนื้อเย็นแข็ง (frozen section) เป็นเทคนิคและความรู้ใหม่ที่เพิ่งกำเนิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ด้วยเครื่องมือต่างๆ เหล่านี้เราสามารถตรวจพยาธิสภาพ เพื่อการวินิจฉัยและพยากรณ์โรคได้.

วิทยาภูมิคุ้มกันและเนื้อเยื่อ · อะพอพโทซิสและเนื้อเยื่อ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง วิทยาภูมิคุ้มกันและอะพอพโทซิส

วิทยาภูมิคุ้มกัน มี 12 ความสัมพันธ์ขณะที่ อะพอพโทซิส มี 51 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 3.17% = 2 / (12 + 51)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง วิทยาภูมิคุ้มกันและอะพอพโทซิส หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »