โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วอยวอดีนา

ดัชนี วอยวอดีนา

วอยวอดีนา (สีแดง) ทางตอนเหนือของสาธารณรัฐเซอร์เบีย วอยวอดีนา หรือ จังหวัดปกครองตนเองวอยวอดีนา (Аутономна Покрајина Војводина, Autonomna Pokrajina Vojvodina, Vajdaság Autonóm Tartomány; Autonómna Pokrajina Vojvodina; Provincia Autonomă Voievodina; Autonomna Pokrajina Vojvodina; รูซิน: Автономна Покраїна Войводина; Autonomous Province of Vojvodina) เป็นหนึ่งในสองจังหวัดปกครองตนเองของสาธารณรัฐเซอร์เบีย ที่มีประชากรร้อยละ 27 ของจำนวนประชากรทั้งหมด (ค.ศ. 2002) วอยวอดีนาตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเซอร์เบียในที่ราบแพนโนเนียของยุโรปกลาง โดยมีเมืองหลวงอยู่ที่นอวีซาด (Novi Sad) ที่มีประชากร 300,000 คน เมืองที่ใหญ่เป็นที่สองคือซูบอตีตซา (Subotica) วอยวอดีนามีภาษาราชการ 6 ภาษาและประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์กว่า 26 กลุ่ม กลุ่มที่มีประชากรมากที่สุดได้แก่ชาวเซิร์บและชาวฮังการี.

11 ความสัมพันธ์: ภาษาสโลวักภาษาฮังการีภาษาโรมาเนียยุโรปกลางอักษรละตินที่ราบพันโนเนียซูบอตีตซาประเทศเซอร์เบียนอวีซาดเวลายุโรปกลางเวลาออมแสงยุโรปกลาง

ภาษาสโลวัก

ภาษาสโลวัก (slovenčina, slovenský jazyk) เป็นภาษากลุ่มภาษาสลาวิกตะวันตก (กลุ่มเดียวกับภาษาเช็ก ภาษาโปแลนด์ และภาษาซอร์เบีย) ในตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียน ภาษาสโลวักมีความใกล้ชิดกับภาษาเช็กเป็นพิเศษ นอกจากนี้ ภาษาสโลวักและภาษาสโลวีเนียเป็นภาษาสลาฟสมัยใหม่สองภาษาเท่านั้นที่ชื่อท้องถิ่นของตนเองมีความหมายตรงตามตัวอักษรว่า "สลาวิก (Slavic) " (ชาวสโลวาเกีย: slovenčina และชาวสโลวีเนีย: slovenščina) (ส่วน slověnskii เป็นภาษาสลาโวนิกเก่า) ภาษาสโลวักพูดในประเทศสโลวาเกีย (ประมาณ 5 ล้านคน) สหรัฐอเมริกา (500,000 คน เป็นผู้อพยพ) ประเทศเช็กเกีย (320,000 คน เนื่องมาจากอดีตเชโกสโลวาเกีย) ประเทศฮังการี (20,000 คน เป็นชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์โบราณ) ประเทศเซอร์เบีย-วอยวอดีนาภาคเหนือ (60,000 คน ผู้สืบเชื้อสายจากผู้ตั้งถิ่นฐานรุ่นแรก ๆ ในช่วงที่อยู่ภานใต้การปกครองของราชวงศ์ฮับส์บูร์ก) ประเทศโรมาเนีย (22,000 คน เป็นชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์เก่าแก่) ประเทศโปแลนด์ (20,000 คน) ประเทศแคนาดา (20,000 คน เป็นผู้อพยพ) ประเทศออสเตรเลีย (เป็นผู้อพยพ) ประเทศออสเตรีย ประเทศยูเครน ประเทศบัลแกเรีย ประเทศโครเอเชีย (5,000 คน) และประเทศอื่น ๆ บางประเทศ สโลวัก หมวดหมู่:ภาษาในประเทศสโลวาเกีย หมวดหมู่:ภาษาในประเทศสหรัฐอเมริกา หมวดหมู่:ภาษาในประเทศแคนาดา หมวดหมู่:ภาษาในสาธารณรัฐเช็ก หมวดหมู่:ภาษาในประเทศเซอร์เบีย หมวดหมู่:ภาษาในประเทศโรมาเนีย หมวดหมู่:ภาษาในประเทศฮังการี.

ใหม่!!: วอยวอดีนาและภาษาสโลวัก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฮังการี

ษาฮังการี (Magyar nyelv: มอดยอร นแยลฟ) เป็นภาษากลุ่มฟินโน-อูกริคมีผู้พูดในประเทศฮังการีและในประเทศเพื่อนบ้าน มีผู้พูดภาษาฮังการีประมาณ 14.7ล้านคน จำนวน 10ล้านคนอาศัยอยู่ในประเทศฮังการี ในประเทศฮังการีและประเทศเพื่อนบ้าน ภาษาฮังการีเป็นภาษาทางการหนึ่งใน 24ภาษาของสหภาพยุโรป ภายนอกประเทศฮังการี มีผู้พูดภาษานี้ในกลุ่มชนชาวฮังการี (Magyarok: มอดยอโร็ค) ในประเทศสโลวาเกีย แถบตะวันตกของประเทศยูเครน ประเทศสโลวีเนียตอนเหนือ อาณาเขตตะวันตกและตอนกลางของประเทศโรมาเนีย (ทรานซิลเวเนีย) ประเทศเซอร์เบียตอนเหนือในเขตวอยโวดีนา และประเทศโครเอเชียตอนเหนือในเขตวอยโวดีนา เนื่องจากการถูกแยกประเทศราชอาณาจักรฮังการี ภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ในปี..

ใหม่!!: วอยวอดีนาและภาษาฮังการี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโรมาเนีย

ภาษาโรมาเนีย (limba română IPA: ลิมบา โรมินะ) เป็นภาษาทางการของประเทศโรมาเนีย จัดเป็นภาษากลุ่มโรมานซ์ทางตะวันออกที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่ประมาณ 26 ล้านคน ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศโรมาเนียและวอยวอดีนา (Vojvodina) ในเชิงภาษาศาสตร์แล้ว ภาษาโรมาเนียและภาษามอลโดวา (ภาษาทางการของประเทศมอลโดวา) เป็นประเภทต่าง ๆ ของภาษาเดียวกัน อย่างไรก็ดี อาจจัดเป็นภาษาที่ต่างกันโดยเหตุผลทางการเมือง รโมานเอีย.

ใหม่!!: วอยวอดีนาและภาษาโรมาเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ยุโรปกลาง

รัฐในยุโรปกลางในปี ค.ศ. 1902 ยุโรปกลาง (Central Europe) คือ อาณาบริเวณที่ตีความหมายแตกต่างกันไปหลายอย่าง ที่ตั้งอยู่ระหว่างยุโรปตะวันออก และยุโรปตะวันตก คำนี้และความสนใจโดยทั่วไปของบริเวณนี้กลับมาเป็นที่สนใจกันอีกครั้ง หลังจากสงครามเย็นสิ้นสุดลงซึ่งก็เช่นเดียวกับม่านเหล็กที่เป็นอาณาบริเวณที่แบ่งยุโรปทางการเมืองออกเป็นตะวันออก และ ตะวันตก และม่านเหล็กผ่ายุโรปกลางออกเป็นสองข้าง ความหมายของยุโรปกลางในเชิงความมีลักษณะวัฒนธรรมร่วมกันของกลุ่มรัฐที่อยู่ในเครือเป็นความคิดที่ค่อนข้างจะเป็นความคิดลวง แต่กระนั้นนักวิชาการก็ยังเสนอว่าลักษณะเอกลักษณ์ของ “วัฒนธรรมยุโรปกลางที่แม้จะยังเป็นที่โต้แย้งกันอยู่นั้นมีอยู่จริง” ความเห็นนี้มีพื้นฐานมาจาก “ความคล้ายคลึงกันที่มาจากลักษณะทางประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรม” ซึ่งสามารถบอกได้จากการที่บริเวณที่ว่านี้เคยเป็น “สถานที่ที่เป็นแหล่งสำคัญที่สุดของผู้มีความรู้ความสามารถในด้านต่างๆ เป็นจำนวนมาก” ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 18 คริสต์ศตวรรษที่ 20 “Cross Currents: A Yearbook of Central European Culture” ให้คำจำกัดความของยุโรปกลางว่าเป็น “ยุโรปตะวันตกที่ถูกละเลย หรือ สถานที่ที่ยุโรปตะวันออกและตะวันตกประสานงานกัน” ในคริสต์ทศวรรษ 2000 ประเทศหลายประเทศในยุโรปกลางก็มักจะติดอันดับอยู่ในบรรดากลุ่ม 30 ประเทศที่ถือกันว่าเป็นประเทศพัฒนา (Developed countries) ที่สุดในโลก แต่วัฒนธรรมสมัยนิยมของตะวันตก (โดยเฉพาะในวัฒนธรรมสมัยนิยมอเมริกัน) ยังคงมีความคิดเห็นเกี่ยวกับบริเวณนี้ที่ไม่ถูกต้องว่าเป็นประเทศที่ยังอยู่ในความ “ความล้าหลัง” ของสงครามเย็น.

ใหม่!!: วอยวอดีนาและยุโรปกลาง · ดูเพิ่มเติม »

อักษรละติน

อักษรละติน หรือ อักษรโรมัน เป็นระบบตัวเขียนแบบตัวอักษร สันนิษฐานว่าอักษรละตินมีที่มาจากอักษรคิวมี (Cumae alphabet) ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรกรีกอีกทอดหนึ่ง ที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก โดยเฉพาะประเทศในยุโรปและอเมริกา และประเทศในเอเชียที่นำอักษรละตินมาใช้ในภายหลังเช่น ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเวียดนาม ประเทศมาเลเซีย ประเทศเติร์กเมนิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศอาเซอร์ไบจาน ประเทศตุรกี และประเทศฟิลิปปินส์ รวมถึงการเขียนภาษาด้วยอักษรโรมัน (romanization) ในภาษาต่างๆ เช่น พินอิน (ภาษาจีน) หรือ โรมะจิ (ภาษาญี่ปุ่น).

ใหม่!!: วอยวอดีนาและอักษรละติน · ดูเพิ่มเติม »

ที่ราบพันโนเนีย

แผนที่แสดงที่ราบพันโนเนีย ที่ราบพันโนเนีย (Pannonian Plain) เป็นที่ราบในยุโรปกลางที่เกิดขึ้นเมื่อทะเลพันโนเนียในสมัยไพลโอซีนเหือดแห้งลง ที่ราบแพนโนเนียเป็นธรณีสัณฐานที่เปลี่ยนแปลงของระบบเทือกเขาแอลป์-หิมาลัย (Alpide belt) โดยมีแม่น้ำดานูบแบ่งที่ราบออกเป็นสองส่วน ที่ราบส่วนใหญ่ประกอบด้วยที่ราบฮังการีใหญ่ (Great Hungarian Plain) ทางตอนใต้และทางตะวันออก และที่ราบฮังการีน้อย (Little Hungarian Plain) ทางตะวันตกเฉียงเหนือ.

ใหม่!!: วอยวอดีนาและที่ราบพันโนเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ซูบอตีตซา

ซูบอตีตซา (อักษรซีริลลิก: Суботица, ฮังการี: Szabadka, โครเอเชีย: Subotica) เป็นเมืองทางตอนเหนือของประเทศเซอร์เบีย ตั้งอยู่ตำแหน่งพิกัด 46.07° เหนือ, 19.68° ตะวันออก ห่างจากชายแดนฮังการีราว 10 กิโลเมตร เป็นเมืองที่มีหลายเชื้อชาติ มีประชากร 99,981 คน (ค.ศ. 2002) เขตเมืองมีประชากร 148,401 คน ผลิตผลที่สำคัญได้แก่ สินค้าเหล็ก เครื่องเรือน เคมีภัณฑ์ มีการกล่าวถึงชื่อเมืองนี้ครั้งแรกเมื่อ..

ใหม่!!: วอยวอดีนาและซูบอตีตซา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเซอร์เบีย

ซอร์เบีย (Serbia; Србија, Srbija) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐเซอร์เบีย (Republic of Serbia; Република Србија, Republika Srbija) เป็นประเทศสาธารณรัฐตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป เมืองหลวงคือกรุงเบลเกรด เซอร์เบียมีอาณาเขตติดต่อกับฮังการีทางทิศเหนือ ติดต่อกับโรมาเนียและบัลแกเรียทางทิศตะวันออก ติดต่อกับมาซิโดเนียและแอลเบเนียทางทิศใต้ (พื้นที่ชายแดนทางด้านนี้กำลังมีปัญหาเรื่องการเรียกร้องเอกราชของคอซอวอ) และติดต่อกับมอนเตเนโกร โครเอเชีย และบอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนาทางทิศตะวันตก.

ใหม่!!: วอยวอดีนาและประเทศเซอร์เบีย · ดูเพิ่มเติม »

นอวีซาด

ทัศนียภาพเมืองนอวีซาด นอวีซาด (Novi Sad) เป็นเมืองในประเทศเซอร์เบีย และเป็นเมืองหลวงของจังหวัดปกครองตนเองวอยวอดีนา ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำดานูบ ทางตอนเหนือของประเทศ มีพื้นที่ 1,105 ตารางกิโลเมตร และมีประชากร 341,625 คน หมวดหมู่:เมืองในประเทศเซอร์เบีย.

ใหม่!!: วอยวอดีนาและนอวีซาด · ดูเพิ่มเติม »

เวลายุโรปกลาง

ตเวลาชาติยุโรปกลาง (Central European Time; CET) เป็นชื่อของเขตเวลาที่ตรงกับมาตรฐานบบเวลาสากลเชิงพิกัดบวก 1 ชั่วโมง (UTC+1) ซึ่งใช้เป็นเวลามาตรฐานส่วนใหญ่ในประเทศยุโรป และใช้ในประเทศทางตอนเหนือของทวีปแอฟริก.

ใหม่!!: วอยวอดีนาและเวลายุโรปกลาง · ดูเพิ่มเติม »

เวลาออมแสงยุโรปกลาง

ตเวลาออมแสงยุโรปกลาง (Central European Summer Time; CEST) เป็นชื่อของเขตเวลาที่ตรงกับมาตรฐานเวลาสากลเชิงพิกัดบวก 2 ชั่วโมง (UTC+2) ซึ่งใช้เป็นเวลามาตรฐานส่วนใหญ่ในประเทศยุโรป และใช้ในประเทศทางตอนเหนือของทวีปแอฟริก.

ใหม่!!: วอยวอดีนาและเวลาออมแสงยุโรปกลาง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Autonomous Province of VojvodinaEconomy of VojvodinaVojvodinaวอยโวดินาวอยโวดีนา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »