เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

วงศ์เม่นโลกเก่าและอันดับย่อยเม่น

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง วงศ์เม่นโลกเก่าและอันดับย่อยเม่น

วงศ์เม่นโลกเก่า vs. อันดับย่อยเม่น

ม่นโลกเก่า (Old world porcupine) เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) จำพวกเม่นวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hystricidae มีลักษณะทั่วไปตัวยาวเต็มที่ประมาณ 2 ฟุต หรือ 2 ฟุตครึ่ง ขาสั้น มีลักษณะเด่น คือ มีขนที่บริเวณหลังและช่วงท้ายลำตัวแข็งยาวเป็นหนามมีลายสลับสีขาวดำ บางอันอาจยาวได้ถึง 1 ฟุต ปลายแหลมเหมือนปลายหอกหรือลูกศร ซึ่งเอาไว้ป้องกันตัวจากศัตรูที่รุกราน ซึ่งทำให้แผลอักเสบติดเชื้อได้ เม่น เป็นสัตว์ที่หากินและอยู่อาศัยเพียงลำพังตัวเดียวหรือไม่ก็อยู่เป็นคู่ หากินในเวลากลางคืน กลางวันจะนอนหลับพักผ่อนในโพรงดินที่ขุดขึ้นมาเอง หากินรากพืชหรือผลไม้ เป็นอาหารหลัก ถ้าถูกคุกคาม เม่นจะวิ่งหนี ถ้าหากจวนตัวเมื่อไหร่จะหยุดและพองขน พร้อมกับสั่นขนให้เกิดเสียงสั่นซ่า พร้อมกับกระทืบเท้าลงพื้นดินเป็นการขู่ หากยังไม่หยุดคุกคาม เม่นจะหยุดกะทันหันหรือบางครั้งอาจจะถอยหลังวิ่งเข้าหา ซึ่งขนแหลมเหล่านี้จะปักลงไปในเนื้อของผู้รุกราน ทำให้เกิดความเจ็บปวดมาก ซึ่งแม้แต่สัตว์ใหญ่อย่าง สิงโต หากโดนขนหนามเหล่านี้แทงเข้าถูกอวัยวะสำคัญ เช่น หัวใจ หรือปอด ทำให้ถึงแก่ความตายได้ เม่น เป็นสัตว์ที่มีกรงเล็บแหลมคมและฟันแทะที่แข็งแรงมาก ซึ่งเขียนเป็นสูตรได้ว่า ใช้สำหรับขุดโพรงดินเพื่อเป็นรังที่อยู่อาศัยและเลี้ยงดูลูกอ่อน ซึ่งในโพรง ๆ หนึ่งอาจอยู่รวมกันหลายตัว ฟันของเม่นนอกจากจะใช้กัดแทะพืชแล้ว ยังใช้แทะเขาสัตว์, โครงกระดูกสัตว์อื่นที่ตายแล้ว หรืองาช้าง เพื่อเสริมแคลเซี่ยมให้แก่ร่างกายได้ด้วย ที่แอฟริกาตะวันตกเคยมีผู้จับเม่นไปขังไว้ในหีบไม้ ปรากฏว่าพอรุ่งเช้า เม่นสามารถแทะหีบไม้นั้นทะลุเป็นรูโหว่หนีไปได้ ขนของเม่นสามารถที่จะผลัดใหม่ได้ เมื่อขนเก่าหลวม จะสลัดขนทิ้งโดยการสั่นตัว ซึ่งอาจจะพุ่งไกลไปข้างหลังได้หลายฟุต ซึ่งจากพฤติกรรมตรงนี้เองที่ทำให้เกิดความเชื่อว่า เม่นสามารถสะบัดขนใส่ศัตรู ซึ่งความเป็นจริงแล้วไม่ใช่ ขนของเม่นนั้นเมื่อปักติดกับเนื้อของผู้ที่ถูกแทงเข้าแล้ว จะเจ็บปวดมากและดึงออกยาก เนื่องจากในเส้นขนนั้นจะมีเงี่ยงเล็ก ๆ แหลมคมจำนวนมากเหมือนตะขออยู่ด้านข้าง เมื่อปักลงเนื้อแล้วจึงถอนออกได้ยาก เพราะจะสวนทางกับเงี่ยงแหลมที่เกี่ยวติดกับเนื้อ เม่นออกลูกเป็นตัว คราวละ 2-3 ตัว เมื่อเกิดมาแล้วลูกเม่นจะสามารถลืมตาและเกือบจะเดินได้เลย แต่ขนตามลำตัวยังไม่แข็งเหมือนตัวเต็มวัย จนรอให้ถึงอายุประมาณ 90 วันเสียก่อน เม่นโลกเก่า กระจายพันธุ์อยู่ในซีกโลกที่เรียกว่า โลกเก่า คือ ทวีปเอเชีย, แอฟริกา และบางส่วนของยุโรป ในประเทศไทย พบ 2 ชนิด คือ เม่นใหญ่แผงคอยาว (Hystrix brachyura) และเม่นหางพวง (Atherurus macrourus) ซึ่งแต่เดิมเคยจัดให้ เม่นใหญ่แผงคอสั้น (Hystrix hodgsoni) มีอยู่ด้วย แต่ปัจจุบันได้กลายเป็นชนิดย่อยของเม่นใหญ่แผงคอยาวไป. ม่น เป็นอันดับย่อยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hystricomorpha โดยคำว่า Hystricomorpha นั้นมาจากภาษาละตินคำว่า hystrix หมายถึง "เม่น" และภาษากรีกคำว่า morphē หมายถึง "ลักษณะ" โดยสัตว์ที่รู้จักกันเป็นอย่างดีของอันดับย่อยนี้ คือ เม่น ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดกลางค่อนข้างไปทางใหญ่ ที่มีจุดเด่น คือ ขนบนตัวที่เป็นหนามแหลม ใช้สำหรับป้องกันตัว กระจายพันธุ์ไปในเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วทั้งโลก คือ ทวีปเอเชีย, แอฟริกา, อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้อีกเป็น 2 วงศ์ เม่น เป็นสัตว์ที่มีความเชื่อว่าสามารถสะบัดขนเข้าใส่ศัตรูได้แต่ความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น เมื่อเม่นพบศัตรูจะรีบหันหลังให้แล้ววิ่งหนีไปพร้อมทั้งสั่นขนให้เกิดเสียงดังกราว ๆ เป็นการเตือน ไม่ให้ศัตรูเข้าใกล้ แต่ถ้าศัตรูยังวิ่งไล่อยู่เม่นจะรีบหยุดทันที พร้อมทั้งพองขนให้ตั้งชัน และวิ่งถอยหลังเข้าหา ศัตรูที่วิ่งตามไม่สามารถจะหยุดได้ทันจึงถูกขนเม่นทิ่มตำ ขนเม่นจะหลุดจากตัวเม่นได้ง่ายมาก มักจะติดไปกับสัตว์ที่เข้ามาทำอันตรายเสมอและอาจทำให้ศัตรูตายได้ ในอดีต พรานป่าที่เข้าไปล่าสัตว์มักจะนำสุนัขไปด้วยเพื่อช่วยดมกลิ่นและค้นหาสัตว์ป่าถ้าพบเห็นเม่นมันจะวิ่งไล่ทันที เมื่อเม่นหยุดวิ่ง สุนัขจะวิ่งชนเม่นทันทีจึงมักได้รับบาดเจ็บและมีขนเม่นติดตามตัว เมื่อเจ้าของสุนัขพบเข้าจึงคิดว่าเม่นสะบัดขนเข้าใส่ ทำให้เกิดความเชื่อผิด ๆ ตามกันมา สำหรับในประเทศไทย พบเม่นได้ 2 ชนิด คือ เม่นใหญ่แผงคอยาว (Hystrix brachyura) และเม่นหางพวง (Atherurus macrourus) ซึ่งทั้งหมดจัดอยู่ใน วงศ์เม่นโลกเก่า (Hystricidae).

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง วงศ์เม่นโลกเก่าและอันดับย่อยเม่น

วงศ์เม่นโลกเก่าและอันดับย่อยเม่น มี 17 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์การตั้งชื่อทวินามวงศ์เม่นโลกใหม่สกุล (ชีววิทยา)สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมอันดับย่อยเม่นอันดับสัตว์ฟันแทะทวีปแอฟริกาทวีปเอเชียความตายความเชื่อประเทศไทยโลกเก่าเม่นหางพวงเม่นใหญ่แผงคอยาว

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์และวงศ์เม่นโลกเก่า · การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์และอันดับย่อยเม่น · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งชื่อทวินาม

ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม (Binomial nomenclature) เป็นระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ชื่อแต่ละชื่อในระบบนี้เรียกว่า ชื่อทวินาม (Binomial name) หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) คือชื่อที่ใช้เรียกแทนสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ ชื่อทวินามจะเป็นภาษาละติน ประกอบด้วยคำศัพท์ 2 คำ คือ สกุล และ สปีชีส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการระบุ โดยรายละเอียดปลีกย่อยอาจแตกต่างกันออกไปบ้าง.

การตั้งชื่อทวินามและวงศ์เม่นโลกเก่า · การตั้งชื่อทวินามและอันดับย่อยเม่น · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์เม่นโลกใหม่

ม่นโลกใหม่ (New world porcupine, วงศ์: Erethizontidae) เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) จำพวกเม่น ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Erethizontidae เม่นโลกใหม่มีสายการวิวัฒนาการเป็นของตัวเอง จึงมีลักษณะโดยทั่วไปแตกต่างจากเม่นในวงศ์เม่นโลกเก่า (Hystricidae) คือ เม่นโลกใหม่จะมีความยาวลำตัวที่สั้นกว่า คือ มีความยาวประมาณ 1 ฟุต มีส่วนหางยาวกว่า หนามแหลมตามลำตัวซึ่งเป็นเส้นขน มีความสั้นกว่า และซ่อนอยู่ใต้เส้นขนอ่อนตลอดทั้งลำตัว สามารถใช้หางนี้เกาะเกี่ยวต้นไม้ได้ มีพฤติกรรมการหากินบนต้นไม้เป็นหลัก โดยกินอาหารหลักได้แก่ ใบไม้และยอดไม้อ่อน ๆ หรือเปลือกไม้เป็นอาหาร นอกจากนี้แล้วยังกินแมลงได้อีกด้วย ลูกวัยอ่อนสามารถปีนต้นไม้ได้ตั้งแต่เกิดมาได้เพียง 2 วัน และอายุได้ราว 10 วัน ก็สามารถหาใบไม้กินเองได้โดยไม่ต้องพึ่งพาแม่ มีฟันที่เขียนเป็นสูตรได้ว่า พบกระจายพันธุ์ในป่าฝนของซีกโลกใหม่ คือ ทวีปอเมริกาเหนือ, อเมริกากลาง และอเมริกาใต้.

วงศ์เม่นโลกเก่าและวงศ์เม่นโลกใหม่ · วงศ์เม่นโลกใหม่และอันดับย่อยเม่น · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

วงศ์เม่นโลกเก่าและสกุล (ชีววิทยา) · สกุล (ชีววิทยา)และอันดับย่อยเม่น · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

วงศ์เม่นโลกเก่าและสัตว์ · สัตว์และอันดับย่อยเม่น · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

วงศ์เม่นโลกเก่าและสัตว์มีแกนสันหลัง · สัตว์มีแกนสันหลังและอันดับย่อยเม่น · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

วงศ์เม่นโลกเก่าและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมและอันดับย่อยเม่น · ดูเพิ่มเติม »

อันดับย่อยเม่น

ม่น เป็นอันดับย่อยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hystricomorpha โดยคำว่า Hystricomorpha นั้นมาจากภาษาละตินคำว่า hystrix หมายถึง "เม่น" และภาษากรีกคำว่า morphē หมายถึง "ลักษณะ" โดยสัตว์ที่รู้จักกันเป็นอย่างดีของอันดับย่อยนี้ คือ เม่น ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดกลางค่อนข้างไปทางใหญ่ ที่มีจุดเด่น คือ ขนบนตัวที่เป็นหนามแหลม ใช้สำหรับป้องกันตัว กระจายพันธุ์ไปในเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วทั้งโลก คือ ทวีปเอเชีย, แอฟริกา, อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้อีกเป็น 2 วงศ์ เม่น เป็นสัตว์ที่มีความเชื่อว่าสามารถสะบัดขนเข้าใส่ศัตรูได้แต่ความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น เมื่อเม่นพบศัตรูจะรีบหันหลังให้แล้ววิ่งหนีไปพร้อมทั้งสั่นขนให้เกิดเสียงดังกราว ๆ เป็นการเตือน ไม่ให้ศัตรูเข้าใกล้ แต่ถ้าศัตรูยังวิ่งไล่อยู่เม่นจะรีบหยุดทันที พร้อมทั้งพองขนให้ตั้งชัน และวิ่งถอยหลังเข้าหา ศัตรูที่วิ่งตามไม่สามารถจะหยุดได้ทันจึงถูกขนเม่นทิ่มตำ ขนเม่นจะหลุดจากตัวเม่นได้ง่ายมาก มักจะติดไปกับสัตว์ที่เข้ามาทำอันตรายเสมอและอาจทำให้ศัตรูตายได้ ในอดีต พรานป่าที่เข้าไปล่าสัตว์มักจะนำสุนัขไปด้วยเพื่อช่วยดมกลิ่นและค้นหาสัตว์ป่าถ้าพบเห็นเม่นมันจะวิ่งไล่ทันที เมื่อเม่นหยุดวิ่ง สุนัขจะวิ่งชนเม่นทันทีจึงมักได้รับบาดเจ็บและมีขนเม่นติดตามตัว เมื่อเจ้าของสุนัขพบเข้าจึงคิดว่าเม่นสะบัดขนเข้าใส่ ทำให้เกิดความเชื่อผิด ๆ ตามกันมา สำหรับในประเทศไทย พบเม่นได้ 2 ชนิด คือ เม่นใหญ่แผงคอยาว (Hystrix brachyura) และเม่นหางพวง (Atherurus macrourus) ซึ่งทั้งหมดจัดอยู่ใน วงศ์เม่นโลกเก่า (Hystricidae).

วงศ์เม่นโลกเก่าและอันดับย่อยเม่น · อันดับย่อยเม่นและอันดับย่อยเม่น · ดูเพิ่มเติม »

อันดับสัตว์ฟันแทะ

อันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodent, ชื่อวิทยาศาสตร์: Rodentia) เป็นอันดับในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมอันดับหนึ่ง ที่มีความหลากหลายมาก ใช้ชื่ออันดับว่า Rodentia ลักษณะโดยรวมของสัตว์ในอันดับนี้ คือ มีฟันหน้าในขากรรไกรบน 2 ซี่ และขากรรไกรล่าง 2 ซี่ ลักษณะของฟันหน้ามีรูปร่างคล้ายสิ่ว มีความแข็งแรงมาก ใช้สำหรับกัด ขุด และแทะอาหาร ไม่มีฟันเขี้ยว ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างฟันหน้าและฟันหน้ากราม ผิวเคลือบทางด้านนอกของฟันหน้าเป็นอีนาเมล จึงทำให้ฟันแข็งแรง นอกจากนี้ฟันหน้าของสัตว์ในอันดับนี้ยังเป็นรูทเลสส์ โดยที่ฟันจะไม่หยุดการเจริญเติบโต เฉลี่ย 12 เซนติเมตรครึ่งต่อปี เนื่องจากมีเลือดมาหล่อเลี้ยงฟันตลอดเวลา จึงต้องแทะฟันเสมอ ๆเพื่อให้ฟันสึกกร่อน มิฉะนั้นฟันจะทะลุออกมานอกปาก ทำให้การหุบปากและการกินอาหารลำบากทำให้อดตายได้ รูปร่างลักษณะภายนอกของสัตว์ในอันดับนี้แตกต่างกัน รวมทั้งแหล่งอาศัย บางจำพวกก็อาศัยอยู่บนต้นไม้ ขุดรูอยู่ใต้ดินหรือบนดิน เช่นเดียวกับชนิดของอาหาร ซึ่งอาจจะเป็นผลไม้เปลือกแข็ง, เมล็ดไม้, รากไม้ หรือกินทุกสิ่งทุกอย่างทั้งพืชและเนื้อสัตว์ ซึ่งสัตว์ในอันดับนี้ที่มนุษย์รู้จักกันเป็นอย่างดี ได้แก่ หนู, กระรอก, เม่น, บีเวอร์ เป็นต้น พบกระจายพันธุ์ไปในทุกพื้นที่ทั่วโลก ในภูมิประเทศที่หลากหลาย ขณะที่กระต่าย, กระแตและตุ่นหรือหนูผี หรือชูการ์ไกลเดอร์ แม้จะมีรูปลักษณะภายนอกคล้ายคลึงกัน แต่ถูกจัดออกมาเป็นอันดับต่างหาก สัตว์ในอันดับนี้ที่มีขนาดเล็กที่สุด คือ หนูจิ๋วแอฟริกัน (Mus minutoides) พบในทวีปแอฟริกา ที่มีขนาดใหญ่เต็มที่จากส่วนหัวจรดปลายหาง 30-80 มิลลิเมตร (1.2-3.1 นิ้ว) ความยาวหาง 20-40 มิลลิเมตร (0.79-1.6 นิ้ว) น้ำหนักประมาณ 3-12 กรัม (0.11-0.42 ออนซ์) และที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ คาปิบารา (Hydrochoerus hydrochaeris) พบในอเมริกาใต้ ที่มีน้ำหนักได้มากถึง 65 กิโลกรัม และมีรายงานว่าพบมากถึง 91 กิโลกรัม.

วงศ์เม่นโลกเก่าและอันดับสัตว์ฟันแทะ · อันดับย่อยเม่นและอันดับสัตว์ฟันแทะ · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปแอฟริกา

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปแอฟริกา ภาพถ่ายทวีปแอฟริกาจากนอกโลก แอฟริกา (Africa) เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทวีปเอเชีย ทั้งในแง่ของพื้นที่และจำนวนประชากร ด้วยพื้นที่ประมาณ 30.2 ล้านตารางกิโลเมตร (11.7 ล้านตารางไมล์) รวมทั้งเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ข้างเคียง ทวีปแอฟริกามีพื้นที่ประมาณร้อยละ 6 ของพื้นผิวโลกทั้งหมด และนับเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 20.4 ของพื้นดินทั้งหมดSayre, April Pulley.

ทวีปแอฟริกาและวงศ์เม่นโลกเก่า · ทวีปแอฟริกาและอันดับย่อยเม่น · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปเอเชีย

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปเอเชีย เอเชีย (Asia; Ασία อาเซีย) เป็นทวีปใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลก พื้นที่ส่วนมากตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและตะวันออก ทวีปเอเชียตั้งอยู่ในทวีปยูเรเชียรวมกับทวีปยุโรป และอยู่ในทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียร่วมกับยุโรปและแอฟริกา ทวีปเอเชียมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 44,579,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 30% ของแผ่นดินทั่วโลกหรือคิดเป็น 8.7% ของผิวโลกทั้งหมด ทวีปเอเชียเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มานานและเป็นแหล่งกำเนินอารยธรรมแรก ๆ ของโลกหลายแห่ง เอเชียไม่ได้เพียงแค่มีขนานใหญ่และมีประชากรเยอะแต่ยังมีสถานที่ ๆ ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นและมีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับที่ยังมีบริเวณที่ประชากรตั้งถิ่นฐานเบาบางด้วย ทั้งนี้ทวีปเอเชียมีประชากรราว 4.5 พันล้านคน คิดเป็น 60% ของประชากรโลก โดยทั้วไปทางตะวันออกของทวีปติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทางใต้ติดมหาสมุทรอินเดียและทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก บริเวณชายแดนระหว่างเอเชียและยุโรปมีประวัติศาสตร์และโครงสร้างวัฒนธรรมมากมายเพราะไม่มีการแยกกันด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจน จึงมีการโยกย้ายติดต่อกันในช่วงสมัยคลาสสิก ทำให้บริเวณนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม ภาษา ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของตะวันออกกับตะวันตกและแบ่งจากกันอย่างเด่นชัดกว่าการขีดเส้นแบ่ง เขตแดนที่เด่นชัดของเอเชียคือตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของคลองสุเอซ, แม่น้ำยูรัล, เทือกเขายูรัล, ช่องแคบตุรกี, ทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัส, ทะเลดำและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68–69); "Asia" (pp. 90–91): "A commonly accepted division between Asia and Europe is formed by the Ural Mountains, Ural River, Caspian Sea, Caucasus Mountains, and the Black Sea with its outlets, the Bosporus and Dardanelles." จีนและอินเดียเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกตั้งแต่คริสต์ศักราชที่ 1 ถึง 1800 จีนเป็นประเทศที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจที่สำคัญและดึงดูดผู้คนจำนวนมากให้ไปทางตะวันออก และตำนาน ความมั่งคั่งและความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมโบราณของอินเดียกลายเป็นสัญลักษณ์ของเอเชีย สิ่งเหล่านี้จึงดึงดูดการค้า การสำรวจและการล่าอาณานิคมของชาวยุโรป การค้นพบเส้นทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกโดยบังเอิญจากยุโรปไปอเมริกาของโคลัมบัสในขณะที่กำลังค้นหาเส้นทางไปยังอินเดียแสดงให้เห็นความดึงดูดใจเหล่านี้ เส้นทางสายไหมกลายเป็นเส้นทางการค้าหลักของฝั่งตะวันออกกับฝั่งตะวันตกในขณะที่ช่องแคบมะละกากลายเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญ ช่วงศตวรรษที่ 20 ความแข็งแรงของประชากรเอเชียและเศรษฐกิจ (โดยเฉพาะเอเชียตะวันออก) เติบโตเป็นอย่างมากแต่การเติบโตของประชากรโดยรวมลดลงเรื่อย ๆ เอเชียเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาหลักบนโลกหลายศาสนา อาทิศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสลาม, ศาสนายูดาห์, ศาสนาฮินดู, ศาสนาพุทธ, ลัทธิขงจื๊อ, ลัทธิเต๋า, ศาสนาเชน, ศาสนาซิกข์, ศาสนาโซโรอัสเตอร์และศาสนาอื่น ๆ อีกมากมาย เนื่องเอเชียจากมีขนาดใหญ่และมีความหลากหลายทางแนวคิด ภูมินามวิทยาของเอเชียมีตั้งแต่สมัยคลาสสิกซึ่งคาดว่าน่าจะตั้งตามลักษณะผู้คนมากกว่าลักษณะทางกายภาพ เอเชียมีความแตกต่างกันอย่างมากทั้งด้านภูมิภาค กลุ่มชาติพันธุ์ วัฒนธรรม, สภาพแวดล้อม, เศรษฐศาสตร์, ประวัติศาสตร์และระบบรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีสภาพอากาศที่แตกต่างกันอย่างมากเช่น พื้นเขตร้อนหรือทะเลทรายในตะวันออกกลาง, ภูมิอากาศแบบอบอุ่นทางตะวันออก ภูมิอากาศแบบกึ่งอารกติกทางตอนกลางของทวีปและภูมิอากาศแบบขั่วโลกในไซบีเรี.

ทวีปเอเชียและวงศ์เม่นโลกเก่า · ทวีปเอเชียและอันดับย่อยเม่น · ดูเพิ่มเติม »

ความตาย

กะโหลกศีรษะมนุษย์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความตาย ความตาย หรือ การเสียชีวิต เป็นการสิ้นสุดการทำหน้าที่ทางชีวภาพอันคงไว้ซึ่งสิ่งมีชีวิต ปรากฏการณ์สามัญที่นำมาซึ่งความตาย ได้แก่ โรคชรา การถูกล่า ทุพโภชนาการ โรคภัย อัตวินิบาตกรรม (การฆ่าตัวตาย) ฆาตกรรม ความอดอยาก การขาดน้ำ และอุบัติเหตุ หรือการบาดเจ็บภายในร่างกาย ร่างกายหรือศพของสิ่งมีชีวิตจะเริ่มเน่าสลายไม่นานหลังเสียชีวิต ความตายถือว่าเป็นโอกาสที่เศร้าหรือไม่น่ายินดีโอกาสหนึ่ง สาเหตุมาจากความผูกพันหรือความรักที่มีต่อบุคคลผู้เสียชีวิตนั้น หรือการกลัวความตาย โรคกลัวศพ ความกังวลใจ ความเศร้าโศก ความเจ็บปวดทางจิต ภาวะซึมเศร้า ความเห็นอกเห็นใจ ความสงสาร หรือความโดดเดี่ยว สาเหตุการตายที่พบบ่อยที่สุดคือโรคหัวใจ ตามมาด้วยโรคหลอดเลือดสมอง และโรคเกี่ยวกับเส้นเลือดในสมอง และลำดับที่สามคือภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจตอนล่าง.

ความตายและวงศ์เม่นโลกเก่า · ความตายและอันดับย่อยเม่น · ดูเพิ่มเติม »

ความเชื่อ

วามเชื่อ (belief) หมายถึง การยอมรับว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นความจริง หรือมีการดำรงอยู่จริง โดยอาศัยประสบการณ์ตรง การไตร่ตรอง หรือการอนุมาน.

ความเชื่อและวงศ์เม่นโลกเก่า · ความเชื่อและอันดับย่อยเม่น · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ประเทศไทยและวงศ์เม่นโลกเก่า · ประเทศไทยและอันดับย่อยเม่น · ดูเพิ่มเติม »

โลกเก่า

ลกใหม่ (สีเขียว) เปรียบเทียบกับ โลกเก่า (สีเทา) โลกเก่า (Old World) ประกอบด้วยทวีปแอฟริกา ทวีปยุโรป และทวีปเอเชีย ซึ่งเป็นที่รับรู้ของชาวยุโรป ชาวแอฟริกัน และชาวเอเชีย ก่อนการค้นพบทวีปอเมริกา ตรงข้ามกับ "โลกใหม่" ซึ่งหมายถึงทวีปอเมริกาเหนือ,ทวีปอเมริกาใต้และโอเชียเนี.

วงศ์เม่นโลกเก่าและโลกเก่า · อันดับย่อยเม่นและโลกเก่า · ดูเพิ่มเติม »

เม่นหางพวง

ม่นหางพวง (Asiatic brush-tailed porcupine) เป็นสัตว์ฟันแทะจำพวกเม่นชนิดหนึ่ง ในวงศ์เม่นโลกเก่า (Hystricidae) เป็นเม่นขนาดเล็ก มีความยาวลำตัวและส่วนหัว 36–52 เซนติเมตร ความยาวหาง 14–23 เซนติเมตร ขนตามลำตัวและหนามเป็นสีน้ำตาล มีลักษณะเด่น คือ มีหางที่ยาวกว่าหางของเม่นในสกุล Hystrix ปลายหางเป็นพู่ แต่จะไม่มีขนแผงคอ พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่รัฐอัสสัมในอินเดีย, ภาคใต้และมณฑลไหหลำของจีน, ภาคเหนือและตะวันออกของเมียนมา, ทั่วทุกภาคของไทย, ลาว, กัมพูชา และเวียดนาม, มาเลเซีย ตลอดจนถึงเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย มีชื่อพ้อง คือ Atherurus assamensis (Thomas, 1921) และ Atherurus macrourus (Thomas, 1921) และชนิดย่อย คือ assamensis เป็นสัตว์ที่ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่หลากหลายได้ ตั้งแต่ป่าอุดมสมบูรณ์ไปจนถึงพื้นที่เกษตรกรรม อาหารได้แก่ รากไม้, ผลไม้, เปลือกไม้ของพืชบางชนิด และซากกระดูกหรือเขาสัตว์ ออกหากินในเวลากลางคืน โดยมักจะอยู่รวมกันเป็นฝูง ๆ ละ 6–8 ตัว นอนตามโพรงไม้ในเวลากลางวัน โดยใช้โพรงไม้เดิมเป็นเวลาหลายปี บางครั้งพบว่าอาศัยอยู่ด้วยกันเป็นคู่ในโพรงเดียวกัน.

วงศ์เม่นโลกเก่าและเม่นหางพวง · อันดับย่อยเม่นและเม่นหางพวง · ดูเพิ่มเติม »

เม่นใหญ่แผงคอยาว

ม่นใหญ่แผงคอยาว (Malayan porcupine, Himalayan porcupine, Large porcupine) เป็นเม่นขนาดใหญ่ หูและหางสั้น ขนตามลำตัวสีดำหรือสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ มีขนแข็งแหลมและยาวมากบนหลังและสะโพก ซึ่งขนดังกล่าวจะชี้ตรงไปทางด้านหลัง ก้านขนมีสีขาว บางเส้นอาจมีวงสีดำสลับอยู่ ขนแผงคอยาวประมาณ 3-6 เซนติเมตร มีสีน้ำตาลเข้ม มีฟันหน้าที่ใหญ่ยาวและแข็งแรงมาก มีความยาวลำตัวและหัว 63.5-72.5 เซนติเมตร ความยาวหาง 6.4-11.4 เซนติเมตร น้ำหนัก 20-27 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์ในเนปาล, อินเดีย, ภูฏาน, จีน, บังกลาเทศ, พม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, มาเลเซีย, เกาะบอร์เนียวและเกาะสุมาตรา สามารถปรับตัวให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลายได้ ทั้งป่าสมบูรณ์และป่าเสื่อมโทรมที่ผ่านการทำลายมาแล้ว หลับนอนในโพรงที่ขุดขึ้นมาเอง บริเวณปากโพรงจะปกคลุมด้วยพืชรกชัฏเพื่ออำพราง ออกหากินในเวลากลางคืน กินอาหารจำพวกรากพืช หน่อไม้ เปลือกไม้ ผลไม้สุกที่ร่วงจากต้น กระดูกสัตว์รวมทั้งเขาสัตว์ด้วย เช่น เขาของเก้งหรือกวางที่ผลัดทิ้งเพื่อเพิ่มแคลเซี่ยมให้กับร่างกาย อีกทั้งเป็นการขัดฟันไม่ให้ยาวเกินไปในตัวด้วย นอนหลับในเวลากลางวันในโพรง โดยจะลากเอาเขาหรือกระดูกสัตว์เข้ามาแทะถึงในโพรง เมื่อพบศัตรูจะกระทืบเท้าเสียงดัง หากไม่สำเร็จจะค่อย ๆ เดินหนี หากศัตรูยังตามมา จะวิ่งหนีรวดเร็วและหยุดอย่างกะทันหัน เพื่อให้ศัตรูหยุดไม่ทันและถูกหนามแหลมทิ่ม โดยปกติจะสั่นขนของตัวเองอยู่เสมอ ทำให้มักได้ยินเสียงการกระทบกันของเส้นขนอยู่บ่อย ๆ ซึ่งเป็นการอวดศักยภาพของตัวเอง หรือแม้แต่เดินธรรมดา ๆ ก็จะได้ยินเสียงเส้นขนลากกับพื้น เม่นใหญ่แผงคอยาวออกลูกครั้งละ 2-3 ตัว มีอายุสูงสุดในที่เลี้ยง 27 ปี.

วงศ์เม่นโลกเก่าและเม่นใหญ่แผงคอยาว · อันดับย่อยเม่นและเม่นใหญ่แผงคอยาว · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง วงศ์เม่นโลกเก่าและอันดับย่อยเม่น

วงศ์เม่นโลกเก่า มี 45 ความสัมพันธ์ขณะที่ อันดับย่อยเม่น มี 27 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 17, ดัชนี Jaccard คือ 23.61% = 17 / (45 + 27)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง วงศ์เม่นโลกเก่าและอันดับย่อยเม่น หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: