โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วงศ์ปลายอดม่วง

ดัชนี วงศ์ปลายอดม่วง

วงศ์ปลายอดม่วง (Tonguefishes) ปลาในวงศ์นี้เป็นปลาที่อยู่ในอันดับ Pleuronectiformes ใช้ชื่อวงศ์ว่า Cynoglossidae (/ไซ-โน-กลอส-ซิ-ดี้/) มีรูปร่างแปลกอย่างเห็นได้เด่นชัดจากปลาในอันดับเดียวกัน เพราะมีลำตัวที่แบนราบ เรียวยาวส่วนท้ายแหลมดูคล้ายใบของมะม่วง ตามีขนาดเล็กอยู่ชิดกันที่ด้านเดียวกัน เมื่อยังเล็กตาจะอยู่ด้านละข้าง แต่เมื่อโตขึ้นกะโหลกจะบิด จึงทำให้รูปร่างศีรษะบิดตาม ตาจึงเปลี่ยนมาอยู่ข้างเดียวกัน จะงอยปากงุ้มและเบี้ยว ปลายริมฝีปากบนเป็นติ่งแหลมโค้ง ปากค่อนข้างกว้าง ส่วนหัวหันไปทางซ้ายได้โดยที่ซีกขวาอยู่ด้านบน ซึ่งจะแตกต่างไปจากวงศ์ปลาลิ้นหมา (Soleidae) อาศัยอยู่บริเวณพื้นท้องน้ำ ว่ายน้ำโดยขนานกับพื้นดินและพริ้วตัวตามแนวขึ้นลง สามารถมุดลงใต้ทรายได้เร็วเวลาตกใจ อาหารได้แก่สัตว์หน้าดินขนาดเล็ก เช่น ลูกกุ้ง, ลูกปลาและอินทรียสารต่าง ๆ มีทั้งสิ้น 3 สกุล ประมาณ 110 ชนิด มีขนาดแตกต่างกันไปตามชนิด เล็กสุดเพียง 5 เซนติเมตร ใหญ่สุดถึง 60 เซนติเมตร ส่วนมากเป็นปลาทะเล ที่พบในทะเลเช่น ปลายอดม่วงหงอนยาว (Cynoglossus lingua), ปลายอดม่วงเกล็ดใหญ่ (C. macrolepidotus) พบในน้ำจืดไม่กี่ชนิด พบในประเทศไทยมากกว่า 20 ชนิด พบในน้ำจืดเพียง 2 ชนิด ได้แก่ ปลายอดม่วงเกล็ดถี่ (C. microlepis) และปลายอดม่วงลาย (C. fledmanni) เป็นปลาที่ใช้บริโภคเป็นปลาเศรษฐกิจเช่นเดียวกับปลาในวงศ์ปลาลิ้นหมา และมักจะถูกเรียกซ้ำซ้อนกับปลาในวงศ์ปลาลิ้นหมาด้ว.

18 ความสัมพันธ์: กะโหลกศีรษะมะม่วงวงศ์ปลาลิ้นหมาสกุล (ชีววิทยา)สกุลไซโนกลอสซัสสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสปีชีส์อันดับปลาซีกเดียวอ่าวเม็กซิโกทรายประเทศไทยปลายอดม่วงลายปลายอดม่วงเกล็ดถี่ปลาที่มีก้านครีบน้ำจืดใบไม้เมตร

กะโหลกศีรษะ

วาดแสดงมุมมองจากทางด้านหน้าของกะโหลกศีรษะของมนุษย์ กะโหลกศีรษะ เป็นโครงสร้างของกระดูกที่ประกอบขึ้นเป็นโครงร่างที่สำคัญของส่วนศีรษะในสัตว์ในกลุ่มเครนิเอต (Craniate) หรือสัตว์ที่มีกะโหลกศีรษะ ซึ่งรวมทั้งสัตว์มีกระดูกสันหลังทุกชนิด กะโหลกศีรษะทำหน้าที่ปกป้องสมองซึ่งเป็นศูนย์กลางของระบบประสาท รวมทั้งเป็นโครงร่างที่ค้ำจุนอวัยวะรับสัมผัสต่างๆ ทั้งตา หู จมูก และลิ้น และยังทำหน้าที่เป็นทางเข้าของทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ การศึกษาเกี่ยวกับกะโหลกศีรษะมีประโยชน์อย่างมากหลายประการ โดยเฉพาะการศึกษาในเชิงกายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบระหว่างสัตว์ชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ด้านบรรพชีวินวิทยาและความเข้าใจถึงลำดับทางวิวัฒนาการ นอกจากนี้การศึกษาลงไปเฉพาะกะโหลกศีรษะมนุษย์ก็มีประโยชน์อย่างมากในการศึกษาด้านนิติเวชศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ รวมทั้งมานุษยวิทยาและโบราณคดี.

ใหม่!!: วงศ์ปลายอดม่วงและกะโหลกศีรษะ · ดูเพิ่มเติม »

มะม่วง

มะม่วงเป็นไม้ยืนต้นในสกุล Mangifera ซึ่งเป็นไม้ผลเมืองร้อนในวงศ์ Anacardiaceae (กลุ่มเดียวกับถั่วพิสตาชีโอและมะม่วงหิมพานต์)  เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย เพราะการที่ภูมิภาคนั้นมีความหลากหลายทางพันธุกรรมและร่องรอยฟอสซิลที่หลากหลาย นับย้อนไปได้ถึง 25-30 ล้านปีก่อน มะม่วงมีความแตกต่างประมาณ 49 สายพันธุ์กระจายอยู่ตามประเทศในเขตร้อนตั้งแต่อินเดียไปจนถึงฟิลิปปินส์ จากนั้นจึงแพร่หลายไปทั่วโลก เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ใบโต ยาว ปลายแหลม ขอบใบเรียบ ใบอ่อนสีแดง ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็ก สีขาว ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเหลือง เมล็ดแบน เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง มะม่วงเป็นผลไม้เศรษฐกิจ ปลูกเป็นพืชสวน ประเทศไทยส่งออกมะม่วงเป็นอันดับ 3 รองจากฟิลิปปินส์ และเม็กซิโก เป็นผลไม้ประจำชาติของอินเดีย ปากีสถาน และฟิลิปปินส์ รวมทั้งบังกลาเท.

ใหม่!!: วงศ์ปลายอดม่วงและมะม่วง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาลิ้นหมา

วงศ์ปลาลิ้นหมา (True sole) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็ง ในอันดับ Pleuronectiformes เป็นปลาลิ้นหมาที่มีลำตัวแบนราบ ใช้ชื่อวงศ์ว่า Soleidae (/โซล-อิ-ดี้/) มีตาเล็กอยู่ชิดกันที่ด้านเดียวกัน โดยส่วนหัวจะหันไปทางขวา โดยมีครีบหลังอยู่ด้านบน รูปร่างเป็นรูปไข่หรือวงรี เรียวที่ด้านท้าย ปากเล็กเป็นรูปโค้งอยู่ปลายสุดของจะงอยปาก ครีบอกและครีบก้นเล็ก ครีบหลังยาวตลอดลำตัว มีก้านครีบอ่อนสั้น ๆ เชื่อมต่อกับครีบหางและครีบก้น เกล็ดเล็กเป็นแบบสาก ลำตัวด้านบนมีสีคล้ำ มีลวดลายต่าง ๆ และเส้นข้างลำตัวหลายเส้น ลำตัวด้านล่างสีขาว เมื่อยังเป็นปลาวัยอ่อนจะมีตาอยู่คนละซีกเหมือนปลาทั่ว ๆ ไป แต่จะย้ายมาอยู่ข้างเดียวกันเมื่อโตขึ้น และลำตัวด้านซ้ายจะกลายเป็นด้านที่ไม่มีตาและอยู่ด้านล่างแทน มีรูก้นและช่องท้องอยู่ชิดกับส่วนล่างของหัวด้านท้าย อาศัยอยู่บริเวณพื้นท้องน้ำ ว่ายน้ำโดยขนานกับพื้นและพริ้วตัวตามแนวขึ้นลง สามารถมุดใต้พื้นทรายหรือโคลนได้เวลาตกใจ กินสัตว์หน้าดินขนาดเล็กเป็นอาหาร เช่น ไส้เดือนน้ำ, ลูกกุ้ง, ลูกปลาขนาดเล็ก พบในทะเลเขตร้อนและอบอุ่นทั่วโลก พบทั้งหมด 22 สกุล 89 ชน.

ใหม่!!: วงศ์ปลายอดม่วงและวงศ์ปลาลิ้นหมา · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: วงศ์ปลายอดม่วงและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สกุลไซโนกลอสซัส

กุลไซโนกลอสซัส (Tonguefishes) เป็นสกุลของปลากระดูกแข็ง ในวงศ์ปลายอดม่วง (Cynoglossidae) ใช้ชื่อสกุล Cynoglossus (/ไซ-โน-กลอส-ซัส/) เป็นปลาที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุดในวงศ์นี้ มีลักษณะคือ มีครีบท้องมีเฉพาะด้านซ้าย ครีบหลัง ครีบหาง และครีบก้นติดต่อรวมกัน มีเส้นข้างลำตัว 2 หรือ 3 เส้น อยู่ด้านเดียวกับนัยน์ตา ริมฝีปากทั้งสองข้างราบเรียบ ปากงุ้มเป็นตะขอ ช่องเปิดเหงือกอยู่ทางด้านซ้ายของลำตัว เป็นปลาที่พบได้ในทะเล, น้ำกร่อย และน้ำจืด ปกติจะฝังตัวอยู่ใต้พื้นทรายหรือโคลน พบกระจายพันธุ์ในเขตอินโด-แปซิฟิกตั้งแต่ ฟิลิปปิน, ทะเลแดง, อ่าวไทย, ทะเลอันดามัน, ทะเลจีนใต้, คาบสมุทรมลายู, อ่าวเบงกอล และพบได้จรดถึงชายฝั่งแอฟริกา ในประเทศไทยพบได้หลายชนิด อาทิ ปลายอดม่วงเกล็ดใหญ่ (C. macrolepidotus) พบในน้ำจืด 2 ชนิด คือ ปลายอดม่วงเกล็ดถี่ (C. microlepis) และปลายอดม่วงลาย (C. feldmanni).

ใหม่!!: วงศ์ปลายอดม่วงและสกุลไซโนกลอสซัส · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: วงศ์ปลายอดม่วงและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: วงศ์ปลายอดม่วงและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: วงศ์ปลายอดม่วงและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาซีกเดียว

อันดับปลาซีกเดียว (Flatfish) ปลากระดูกแข็งในกลุ่มปลาที่มีก้านครีบ พบได้ทั้งทะเล, น้ำกร่อย และน้ำจืด ในภาษาไทยมักเรียกปลาในอันดับนี้รวม ๆ กัน เช่น "ลิ้นหมา", "ซีกเดียว", "ยอดม่วง", "ลิ้นเสือ", "ลิ้นควาย", "ใบไม้" หรือ "จักรผาน" เป็นต้น โดยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pleuronectiformes.

ใหม่!!: วงศ์ปลายอดม่วงและอันดับปลาซีกเดียว · ดูเพิ่มเติม »

อ่าวเม็กซิโก

อ่าวเม็กซิโก อ่าวเม็กซิโก (Gulf of Mexico; Golfo de México) ตั้งอยู่ทางใต้ของสหรัฐอเมริกาและทางตะวันออกของประเทศเม็กซิโก และอยู่ทางทิศตะวันตกของประเทศคิวบา มีพื้นที่ประมาณ 615,000 ตารางไมล์หรือประมาณ 1.6 ล้านตารางกิโลเมตร จุดที่ลึกที่สุดมีความลึกประมาณ 4,384 เมตร ในอ่าวเป็นแหล่งทรัพย์กรน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่สำคัญของสหรัฐอเมริกา เม็กซิโก เม็กซิโก หมวดหมู่:ธรณีสัณฐานในประเทศเม็กซิโก.

ใหม่!!: วงศ์ปลายอดม่วงและอ่าวเม็กซิโก · ดูเพิ่มเติม »

ทราย

ผืนทรายที่ถูกลมพัดเป็นริ้วเหมือนคลื่น ทราย เป็นตัวอย่างหนึ่งของวัสดุจำพวก สสารแบบเม็ด (granular matter) ตามธรรมชาติแล้ว ทรายเกิดจากหินที่ถูกย่อยเป็นเม็ดละเอียด ซึ่งหมายถึงทรายทั่ว ๆ ไปที่เราพบเห็นตามชายหาด แต่อีกความหมายหนึ่งในแง่วิทยาศาสตร์ (โดยเฉพาะทางธรณีวิทยา) แล้ว หมายถึงชื่อขนาดของอนุภาคขนาดเม็ด "ทราย" ที่มีขนาดอนุภาคหรือเม็ดตะกอนระหว่าง 0.0625 ถึง 2 มิลลิเมตร อนุภาคหนึ่ง ๆ ของทรายนั้น เรียกว่า "เม็ดทราย" ขนาดของอนุภาคที่เล็กถัดลงไป เรียกว่า ทรายแป้ง (slit) เป็นอนุภาคที่มีขนาดเล็กกว่า 0.0625 มิลลิเมตร จนถึง 0.004 มิลลิเมตร ส่วนขนาดของอนุภาคที่ใหญ่กว่าขนาดอนุภาคของทราย เรียกว่า กรวด (gravel) อนุภาคมีขนาดใหญ่กว่า 2 ถึง 64 มิลลิเมตร (ท่านสามารถศึกษาการแบ่งขนาดของอนุภาคทางธรณีวิทยาได้จาก '''grain size''') เมื่อใช้นิ้วถูเบา ๆ ขนาดอนุภาคทรายนั้นจะให้ความรู้สึกสาก ส่วนอนุภาคทรายแป้งนั้นจะรู้สึกเหมือนนิ้วถูผงแป้ง แต่จะรู้สึกสาก ๆ เพียงเล็กน้อย) ทราย ทราย50 About Sye.

ใหม่!!: วงศ์ปลายอดม่วงและทราย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: วงศ์ปลายอดม่วงและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ปลายอดม่วงลาย

ปลายอดม่วงลาย (River tonguesole) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cynoglossus fledmanni ในวงศ์ปลายอดม่วง (Cynoglossidae) มีรูปร่างคล้ายปลายอดม่วงเกล็ดถี่ (C. microlepis) ซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียวกัน แต่มีสีลำตัวมีสีเหลืองอ่อนหรือเขียวอ่อน ตามตัวมีลายเส้นสีดำคล้ายลายเสือพาดตามตัว ขนาดที่พบโดยเฉลี่ยประมาณ 25 เซนติเมตร ถิ่นอาศัยอยู่ที่เดียวกับปลายอดม่วงเกล็ดถี่ แต่พบน้อยกว่า พบได้ในแม่น้ำโขง และปากแม่น้ำใกล้ทะเล ในประเทศไทยพบได้ที่ลุ่มน้ำโขง, ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ไปจนถึงเกาะบอร์เนียวและเกาะสุมาตรา นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: วงศ์ปลายอดม่วงและปลายอดม่วงลาย · ดูเพิ่มเติม »

ปลายอดม่วงเกล็ดถี่

ปลายอดม่วงเกล็ดถี่ (Smallscale tonguesole) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cynoglossus microlepis อยู่ในวงศ์ปลายอดม่วง (Cynoglossidae) มีรูปร่างคล้ายใบมะม่วง ตาเล็กอยู่ชิดกัน ปลายจะงอยปากงุ้ม เฉพาะด้านบนท้องเล็กมาก ครีบหลัง ครีบหาง และครีบก้นยาวตลอดลำตัว ครีบหางมีปลายแหลม เกล็ดเล็กมีขอบหยัก มีเส้นข้างลำตัว 3 เส้นบนลำตัวด้านบนและต่อเนื่องกันบริเวณหัว ตัวมีสีน้ำตาลอ่อนอมแดงโดยไม่มีลวดลายใด ๆ ครีบค่อนข้างใส ลำตัวด้านล่างมีสีขาว ขนาดที่พบเฉลี่ยประมาณ 25 เซนติเมตร ใหญ่สุดประมาณ 1 ฟุต อาศัยตามชายฝั่งแม่น้ำที่เป็นพื้นทราย พบในตอนล่างของแม่น้ำแม่กลอง, เจ้าพระยา, บางปะกง และภาคใต้ พบมากในแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่จังหวัดชัยนาทจนถึงพิษณุโลก บริโภคโดยทำปลาแห้ง มีราคาขายค่อนข้างสูง และพบเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย มีชื่อเรียกอื่นว่า "ปลายอดม่วง", "ปลายอดม่วงแม่น้ำ" หรือ "ปลายอดม่วงน้ำจืด" เป็นต้น.

ใหม่!!: วงศ์ปลายอดม่วงและปลายอดม่วงเกล็ดถี่ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: วงศ์ปลายอดม่วงและปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

น้ำจืด

น้ำจืดในลำธาร น้ำจืด หมายถึงน้ำในแหล่งน้ำทั่วไปอาทิ บ่อน้ำ ทะเลสาบ แม่น้ำ ลำธาร เป็นต้น ที่ซึ่งมีเกลือและของแข็งอื่นละลายอยู่ในระดับต่ำ มีความหนาแน่นน้อย นั่นคือน้ำจืดไม่ได้เป็นน้ำเค็มและน้ำกร่อย น้ำจืดสามารถเป็นผลผลิตของน้ำทะเลที่เอาเกลือออกแล้วได้ น้ำจืดเป็นทรัพยากรหมุนเวียนที่สำคัญต่อสิ่งมีชีวิตบนบกเป็นส่วนใหญ่ และเป็นที่จำเป็นต่อมนุษย์สำหรับน้ำดื่ม และใช้ในเกษตรกรรม เป็นต้น องค์การสหประชาชาติได้คาดการณ์ไว้ว่า ประชากรโลกประมาณร้อยละ 18 ขาดแคลนน้ำดื่มที่ปลอดภั.

ใหม่!!: วงศ์ปลายอดม่วงและน้ำจืด · ดูเพิ่มเติม »

ใบไม้

ใบไม้ โครงเส้นใบของใบไม้ ใบไม้ (leaf) เป็นส่วนที่สร้างอาหารโดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ใบไม้มีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันหลายแบบแบ่งเป็น 2 แบบใหญ่ๆ ตามลักษณะที่แตกต่างกัน รูปพหูพจน์ของ leaf คือ leaves ส่วน foliage เป็นกลุ่มคำนามที่ใช้อธิบายว่าใบเป็นส่วนประกอบหนึ่งของพื.

ใหม่!!: วงศ์ปลายอดม่วงและใบไม้ · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

ใหม่!!: วงศ์ปลายอดม่วงและเมตร · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

CynoglossidaeCynoglossinaeยอดม่วงปลายอดม่วง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »