โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ลูคา เดลลา รอบเบีย

ดัชนี ลูคา เดลลา รอบเบีย

ลูคา เดลลา รอบเบีย (Luca della Robbia) (ค.ศ. 1400 - ค.ศ. 1482) เป็นประติมากรยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของคริสต์ศตวรรษที่ 15 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางสร้างงานเซรามิคเคลือบ (Ceramic glaze) ลูคาสร้างงานเซรามิคเคลือบที่มีความทนแดดทนฝนที่เหมาะแก่การตกแต่งภายนอกตัวอาคาร งานของลูคามีชื่อว่าเป็นงานที่มีเสน่ห์ที่ไม่ใช่งานที่พยายามแสดงนาฏกรรมเช่นงานของศิลปินอื่นร่วมสมัย งานชิ้นสำคัญสองชิ้นที่สร้างคือ “การประสูติของพระเยซู” ที่สร้างราวปี..

14 ความสัมพันธ์: ฟลอเรนซ์ฟีลิปโป บรูเนลเลสกีพ.ศ. 1943พ.ศ. 2025มาซัชโชมีเกลอซโซสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีอันเดรอา เดลลา รอบเบียอาสนวิหารฟลอเรนซ์ประติมากรรมโลเรนโซ กีแบร์ตีโดนาเตลโลเลออน บัตติสตา อัลแบร์ตีเซรามิก

ฟลอเรนซ์

ฟลอเรนซ์ (Florence) หรือ ฟีเรนเซ (Firenze) เป็นเมืองหลวงของแคว้นทัสกานีและมณฑลฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี ระหว่าง..

ใหม่!!: ลูคา เดลลา รอบเบียและฟลอเรนซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟีลิปโป บรูเนลเลสกี

รูปปั้นฟีลิปโป บรูเนลเลสกี ฟีลิปโป บรูเนลเลสกี (Filippo Brunelleschi) (ค.ศ. 1377 - 15 เมษายน ค.ศ. 1446) เป็นสถาปนิกชาวอิตาลี และเป็นหนึ่งในสถาปนิกกลุ่มแรกที่เข้าร่วมกระบวนการเรอเนซองซ์ในเมืองฟลอเรนซ์ งานออกแบบส่วนใหญ่ของเขาจะอยู่ที่เมืองฟลอเรนซ์แห่งนี้ บรูเนลเลสกีเป็นสถาปนิกที่โด่งดังและได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในยุคของเขา ผลงานหนึ่งที่สำคัญของเขาอันเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อวงการออกแบบสถาปัตยกรรมของโลกมาจนถึงทุกวันนี้คือ การคิดค้นระบบการเขียนแบบทัศนียภาพหรือเพอร์สเปกทีฟ (perspective).

ใหม่!!: ลูคา เดลลา รอบเบียและฟีลิปโป บรูเนลเลสกี · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1943

ทธศักราช 1943 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ลูคา เดลลา รอบเบียและพ.ศ. 1943 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2025

ทธศักราช 2025 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ลูคา เดลลา รอบเบียและพ.ศ. 2025 · ดูเพิ่มเติม »

มาซัชโช

"ภาพเหมือนตนเอง" มาซัชชีโอ หรือ ตอมมาโซ มาซัชชีโอ (Masaccio; ชื่อเมื่อแรกเกิด: Tommaso Cassai หรือ Tommaso di Ser Giovanni di Mone, 21 ธันวาคม ค.ศ. 1401 - ฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ. 1428) เป็นจิตรกรยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาคนสำคัญของประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีความเชี่ยวชาญทาง การเขียนจิตรกรรมฝาผนัง และบานพับภาพ จิตรกรรมฝาผนังของมาซัชชีโอเป็นงานเชิงมนุษยนิยมซึ่งทำให้แสดงให้เห็นความยืดหยุ่นที่ไม่เคยเห็นกันมาก่อน ชื่อ “มาซัชชีโอ” เป็นสมญาของชื่อตัว “ตอมมาโซ” เพราะ “มาซัชชีโอ” แปลว่า ตอมมาโซ “ใหญ่” “อ้วน” “งุ่มง่าม” หรือ “เลอะเทอะ” สร้อยที่ให้นี้เพื่อให้แตกต่างจากจิตรกรที่มาซัชชีโอร่วมงานด้วยที่ชื่อ “ตอมมาโซ” เช่นกัน “ตอมมาโซ” หลังนี้มารู้จักกันในชื่อ “มาโซลีโน ดา ปานีกาเล” (Masolino da Panicale) หรือ “ตอมมาโซเล็ก” แม้ว่ามาซัชชีโอจะวาดภาพเพียงไม่นานแต่ก็มีอิทธิพลต่อจิตรกรคนอื่นๆ มาซัชชีโอเป็นจิตรกรคนแรกๆ ที่ใช้การเขียนแบบทัศนียภาพโดยเฉพาะการใช้จุดลับตา หรือจุดอันตธาน (Vanishing point) เป็นครั้งแรก นอกจากนั้นมาซาชิโอก็ยังละทิ้งวิธีการเขียนแบบกอธิคและการใช้การตกแต่งอย่างเช่นจิตรกรเจนตีเล ดา ฟาบรีอาโน (Gentile da Fabriano) มาเป็นแบบที่เป็นธรรมชาติมากกว่าโดยใช้การวาดแบบทัศนียภาพเข้าช่ว.

ใหม่!!: ลูคา เดลลา รอบเบียและมาซัชโช · ดูเพิ่มเติม »

มีเกลอซโซ

มีเกลอซโซ มีชื่อเต็มคือ มีเกลอซโซ ดี บาร์โตโลเมโอ มีเกลอซซี (Michelozzo di Bartolomeo Michelozzi; ค.ศ. 1391 - ค.ศ. 1472?) เป็นสถาปนิกและประติมากรชาวอิตาลี มีเกลอซซีเกิดที่เมืองฟลอเรนซ์ เป็นบุตรของช่างตัดเสื้อ ได้รับเข้าเป็นลูกศิษย์ของปรามาจารย์แห่งประติมากรชื่อ โดนาเตลโล ตั้งแต่วัยเด็ก มีเกลอซซีมีความเชี่ยวชาญในการใช้วัสดุหินอ่อน สำริด และเงิน ได้สร้างสรรค์ประติมากรรมเลื่องชื่อไว้มากมาย เช่น รูปปั้นนักบุญจอห์นวัยหนุ่ม ที่เหนือประตูหน้าโบสถ์ดูโอโมในเมืองฟลอเรนซ์ และรูปปั้นของนักบุญจอห์นที่ทำจากเงินในโบสถ์ซานโจวันนี เป็นต้น ลูกค้าและเพื่อนรักของมีเกลอซซี คือ โกซีโม เด เมดีชี (Cosimo de' Medici) แห่งตระกูลเมดีชี ที่มีอิทธิพลอย่างมากในเมืองเวนิส ซึ่งได้ชักชวนให้มีเกลอซซีย้ายถิ่นฐานไปพำนักที่เมืองเวนิสในปี ค.ศ. 1433 ณ เมืองเวนิสแห่งนี้ มีเกลอซซีได้สร้างอาคารหลายหลัง รวมทั้งห้องสมุดซานจอร์โจมัจโจเร (San Giorgio Maggiore) ในปี 1428 มีเกลอซซีได้ร่วมงานกับโดนาเตลโล ได้ร่วมกันสร้างแท่นเทศน์กลางแจ้ง (open-air pulpit) ที่โบสถ์เซนต์สตีเฟนที่เมืองปราโต (St. Stephen at Prato) ผลงานออกแบบสถาปัตยกรรมที่สำคัญที่สุดของมีเกลอซซี คือ วังของตระกูลเมดีชี (Palazzo Medici in Florence) ซึ่งโกซีโมเป็นผู้ว่าจ้าง อาคารหลังนี้ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในงานสถาปัตยกรรมที่สำคัญที่สุดของอิตาลีใน ศตวรรษที่ 15 ของ งานออกแบบเป็นการ ผสมผสานกันระหว่างความบางเบาของรูปแบบกอทิกอิตาลี (Italian Gothic) กับความหนาหนักและเป็นทางการของสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิก (classical style) นอกจากนี้ด้วยทักษะทางวิศวกรรมของเขา ทำให้มีเกลอซโซได้รับการว่าจ้างให้ทำการปรับปรุงโครงการวังเวกกีโอ (Palazzo Vecchio) ซึ่งอยู่ในสภาพที่พังทลายขึ้นใหม่โดยมีการเพิ่มห้องและบันได้เข้าไปหลายส่วน โกซีโมได้ว่าจ้างให้มีเกลอซซีออกแบบอาคารอีกหลายแห่งที่มีความสำคัญ แต่ที่น่าสนใจและเป็นอาคารที่ตั้งอยู่ในแดนไกลคือ บ้านพักที่เมืองเยรูซาเลม สำหรับชาวฟลอเรนซ์ที่เดินทางไปแสวงบุญ มีเกลอซซีได้รับความนับถือจากลูกของโกซีโม ชื่อ โจวันนี เด เมดีชี (Giovanni de' Medici) เป็นอย่างมาก จึงได้รับความไว้วางใจให้ทำงานในรุ่นที่สองต่อไป โดยได้ทำโครงการให้กับโจวันนี เช่น ปราสาทแห่งเมืองฟิเอโซเล (Fiesole) มีเกลอซซีเสียชีวิตในปี..

ใหม่!!: ลูคา เดลลา รอบเบียและมีเกลอซโซ · ดูเพิ่มเติม »

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี

มัยฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลี (ภาษาอังกฤษ: Italian Renaissance) เป็นจุดแรกของการเริ่มสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาซึ่งเป็นช่วงเวลาของความเจริญทางวัฒนธรรมที่สูงสุดในยุโรปที่เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 ไปจนสิ้นสุดลงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่เป็นช่วงเวลาที่เชื่อมระหว่างยุคกลางของยุโรปกับยุโรปสมัยใหม่ตอนต้น (Early Modern Europe) คำว่า “เรอเนสซองซ์” เป็นคำสมัยใหม่ที่มาใช้กันในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในงานของนักประวัติศาสตร์เช่นเจคอป เบิร์คฮาร์ดท์ (Jacob Burckhardt) ที่มาของขบวนการฟื้นฟูศิลปวิทยาจะเริ่มจากการวิวัฒนาการทางวรรณกรรมของผู้ก่อตั้งในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 14 แต่ วัฒนธรรมด้านอื่นๆของอิตาลีในขณะนั้นยังคงเป็นวัฒนธรรมของยุคกลาง ปรัชญาฟื้นฟูศิลปวิทยามิได้แพร่หลายอย่างเต็มที่จนกระทั่งปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 คำว่า “เรอเนสซองซ์” หรือ “Rinascimento” ในภาษาอิตาลีหมายความว่า “เกิดใหม่” และเป็นสมัยที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในการฟื้นฟูความสนใจในวัฒนธรรมของกรีกโรมันหลังจากสมัยที่นักมนุษย์วิทยาเรอเนสซองซ์ (Renaissance humanist) ตั้งชื่อว่ายุคมืด (Dark Ages) ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญแต่จำกัดอยู่แต่ในกลุ่มชนชั้นสูงและทิ้งให้ประชากรส่วนใหญ่ในยุโรปยังมีความเป็นอยู่ที่ไม่ต่างจากสมัยกลางที่ผ่านมา สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีเริ่มในทัสเคนีโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ฟลอเรนซ์และเซียนา และต่อมาในเวนิสที่มีผลเป็นอันมาก เพราะงานต่างๆ ของกรีกโบราณถูกนำไปรวบรวมไว้ที่เวนิสซึ่งทำให้กลายเป็นแหล่งความรู้ต่างๆ ที่ใหม่ๆ ให้แก่นักมนุษยนิยม ผู้คงแก่เรียนในเวนิสในขณะนั้น ต่อมาปรัชญาฟื้นฟูศิลปวิทยาก็มามีอิทธิพลในกรุงโรม ที่ทำให้เกิดการสร้างสิ่งก่อสร้างใหม่ๆ มากมายที่ส่วนใหญ่โดยการอุปถัมภ์ของพระสันตปาปาในคริสต์ศตวรรษที่ 16 สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีรุ่งเรืองที่สุดในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 หลังจากนั้นก็ลดถอยลงหลังจากการรุกรานจากต่างประเทศที่ก่อสงครามในอิตาลี แต่การฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีก็มิได้หยุดนิ่งลงแต่เผยแพร่ไปทั่วยุโรปและเริ่มสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาตอนเหนือของยุโรปและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาอังกฤษและประเทศอื่นๆ ในยุโรป สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในความสำเร็จทางด้านวัฒนธรรม วรรณกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีรวมนักมนุษยนิยมผู้มีชื่อเสียงเช่นเปตรากที่รู้จักกันดีในงานซอนเน็ต “Il Canzoniere”; จิโอวานนิ บอคคาซิโอ (Giovanni Boccaccio) ในงานเรื่องเล่า “Decameron” และนักมนุษย์วิทยาเรอเนสซองซ์เช่นโปลิซิอาโน (Poliziano), มาร์ซิลิโอ ฟิซิโน (Marsilio Ficino), โลเร็นโซ วาลลา (Lorenzo Valla), อัลโด มานูซิโอ (Aldo Manuzio), โพจจิโอ บราชชิโอลินิ (Poggio Bracciolini) นอกจากนั้นก็มีนักประพันธ์มหากาพย์เรอเนสซองซ์เช่นบัลดัสซาเร คาสติกลิโอเน (Baldassare Castiglione) (“The Book of the Courtier”), ลุโดวิโค อริโอสโต (Ludovico Ariosto) (“Orlando Furioso”) และทอร์ควาโท ทาสโซ (Torquato Tasso) (“Jerusalem Delivered”) และนักประพันธ์ร้อยแก้วเช่นนิคโคโล มาเคียเวลลี (“The Prince”) จิตรกรรมเรอเนสซองซ์อิตาลีเป็นจิตรกรรมที่มีอิทธิพลต่อจิตรกรรมตะวันตกต่อมาอีกหลายร้อยปี โดยมีจิตรกรเช่นไมเคิล แอนเจโล, ราฟาเอล, ซานโดร บอตติเชลลี, ทิเชียน และเลโอนาร์โด ดา วินชี และเช่นเดียวกันกับสถาปัตยกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยา โดยมีสถาปนิกเช่นอันเดรอา ปัลลาดีโอ และงานเช่นมหาวิหารฟลอเรนซ์ และมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ในกรุงโรม ในขณะเดียวกันนักประวัติศาสตร์ในปัจจุบันเห็นว่าเป็นสมัยของความหดตัวทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมามีความก้าวหน้ามากกว่าในวัฒนธรรมของโปรเตสแตนต์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17.

ใหม่!!: ลูคา เดลลา รอบเบียและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

อันเดรอา เดลลา รอบเบีย

อันเดรอา เดลลา รอบเบีย (Andrea della Robbia) (24 ตุลาคม ค.ศ. 1435 - 4 สิงหาคม ค.ศ. 1525) เป็นประติมากรยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของคริสต์ศตวรรษที่ 15 และ 16 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางสร้างงานเซรามิคเคลือบ อันเดรอา เดลลา รอบเบียเกิดเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1435 ที่เมืองฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี เป็นบุตรของมาร์โค เดลลา รอบเบีย และเป็นญาติของลูคา เดลลา รอบเบีย อันเดรอาเป็นประติมากรคนสำคัญของศิลปะการทำงานเซรามิคเคลือบ (Ceramic glaze) โรงทำเครื่องเคลือบทำกันต่อมาโดยจิโอวานนิ เดลลา รอบเบียลูกของอันเดรอา งานของอันเดรอารวมทั้ง:.

ใหม่!!: ลูคา เดลลา รอบเบียและอันเดรอา เดลลา รอบเบีย · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารฟลอเรนซ์

อาสนวิหารฟลอเรนซ์ (Florence Cathedral) หรือชื่อเต็มคือ อาสนวิหารซันตามาเรียแห่งฟลอเรนซ์ (Cattedrale di Santa Maria del Fiore) เป็นอาสนวิหารประจำอัครมุขนายกแห่งฟลอเรนซ์ ตั้งอยู่ที่เมืองฟลอเรนซ์ มณฑลฟลอเรนซ์ แคว้นตอสคานา ประเทศอิตาลี สร้างขึ้นในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 ออกแบบโดยฟีลิปโป บรูเนลเลสกี ด้านหน้าโบสถ์ประดับตกแต่งด้วยหินอ่อนสีขาว เขียว และชมพู อาสนวิหารแห่งนี้ใหญ่เป็นลำดับที่ 4 ของทวีปยุโรป รองจากมหาวิหารนักบุญเปโตร มหาวิหารนักบุญเปาโลนอกกำแพง และอาสนวิหารมิลาน มีความยาว 153 เมตร และฐานของโดมกว้างถึง 90 เมตร หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างในคริสต์ศตวรรษที่ 13 หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างในคริสต์ทศวรรษ 1290 หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างในคริสต์ศตวรรษที่ 15 หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างในคริสต์ทศวรรษ 1430 หมวดหมู่:แคว้นตอสคานา หมวดหมู่:อาสนวิหารในประเทศอิตาลี.

ใหม่!!: ลูคา เดลลา รอบเบียและอาสนวิหารฟลอเรนซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ประติมากรรม

ผลงานประติมากรรมนูนต่ำ(ภาพแกะสลัก)ที่ปราสาทนครวัด โรแด็ง ประติมากรชาวฝรั่งเศส ผลงานประติมากรรมลอยตัว ของโรแด็ง ประติมากรชาวฝรั่งเศส ประติมากรรม (Sculpture) เป็นงานศิลปะแสดงออกด้วยการปั้น แกะสลัก หล่อ และการจัดองค์ประกอบความงามอื่น ลงบนสื่อต่างๆ เช่น ไม้ หิน โลหะ สัมฤทธิ์ ฯลฯ เพื่อให้เกิดรูปทรง 3 มิติ มีความลึกหรือนูนหนา สามารถสื่อถึงสิ่งต่างๆ สภาพสังคม วัฒนธรรม รวมถึงจิตใจของมนุษย์โดยชิ้นงาน ผ่านการสร้างของประติมากร ประติมากรรมเป็นแขนงหนึ่งของทัศนศิลป์ ผู้ทำงานประติมากรรม มักเรียกว่า ประติมากร งานประติมากรรมที่เกี่ยวกับศาสนามักสะกดให้แตกต่างออกไปว่า ปฏิมากรรม ผู้ที่สร้างงานปฏิมากรรม เรียกว่า ปฏิมากร.

ใหม่!!: ลูคา เดลลา รอบเบียและประติมากรรม · ดูเพิ่มเติม »

โลเรนโซ กีแบร์ตี

ลเรนโซ กีแบร์ตี บน "ประตูสวรรค์" (Gates of Paradise) ที่หอศีลจุ่มซานจิโอวานนี (Battistero di San Giovanni) ที่ฟลอเรนซ์ งานของโลเรนโซ กีแบร์ตี ที่ชนะการประกวดเมื่อปี ค.ศ. 1401 ซึ่งยังเป็นฉากแบบยุคกลาง แต่รูปนี้ไม่มีบน "ประตูสวรรค์" เมื่อสร้าง "ประตูสวรรค์" ประตูที่เห็นในปัจจุบันเป็นประตูที่ทำเลียนแบบของจริง พระเจ้าสร้างอาดัมและอีฟบานภาพจาก "ประตูสวรรค์" โลเรนโซ กีแบร์ตี (Lorenzo Ghiberti; ชื่อเมื่อแรกเกิด: Lorenzo di Bartolo; ค.ศ. 1378 - 1 ธันวาคม ค.ศ. 1455) เป็นประติมากรสมัยศิลปะเรอแนซ็องส์ตอนต้นคนสำคัญของประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีความเชี่ยวชาญทางประติมากรรม งานโลหะ และจิตรกรรมฝาผนัง.

ใหม่!!: ลูคา เดลลา รอบเบียและโลเรนโซ กีแบร์ตี · ดูเพิ่มเติม »

โดนาเตลโล

รูปปั้นโดนาเตลโลที่ฟลอเรนซ์ โดนาเตลโล หรือ โดนาโต ดี นิกโกเลาะ ดี เบตโต บาร์ดี (Donatello หรือ Donato di Niccolò di Betto Bardi; ค.ศ. 1386 - 13 ธันวาคม ค.ศ. 1466) ศิลปินชาวอิตาลีในด้านงานปั้นในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ.

ใหม่!!: ลูคา เดลลา รอบเบียและโดนาเตลโล · ดูเพิ่มเติม »

เลออน บัตติสตา อัลแบร์ตี

ลีออน บาตติสตา อัลเบอร์ติ ลีออน บาตติสตา อัลเบอร์ติ (Leon Battista Alberti) (18 กุมภาพันธ์พ.ศ. 1947 – 25 เมษายน พ.ศ. 2015) เป็นผู้รู้รอบด้าน ผู้เป็นปราชญ์ สถาปนิก นักเขียน กวี นักภาษาศาสตร์ นักปรัชญา นักถอดรหัส ชาวอิตาลี ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งใน ผู้ที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อการพัฒนาของศิลปวิทยาการในยุคเรอเนซอง.

ใหม่!!: ลูคา เดลลา รอบเบียและเลออน บัตติสตา อัลแบร์ตี · ดูเพิ่มเติม »

เซรามิก

กระเบื้องเซรามิก เซรามิก (ceramic) เซรามิกมีรากศัพท์มาจากภาษากรีก keramos มีความหมายว่า สิ่งที่ถูกเผา ในอดีตวัสดุเซรามิกที่มีการใช้งานมากที่สุดคือ เซรามิกดั้งเดิม ทำมาจากวัสดุหลักคือดินเหนียว โดยในช่วงแรกเรียกผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ว่า ไชน่าแวร์ เพื่อเป็นเกียรติให้กับคนจีนซึ่งเป็นผู้บุกเบิกการผลิตเครื่องปั้นดินเผารุ่นแรก ๆสมบัต.

ใหม่!!: ลูคา เดลลา รอบเบียและเซรามิก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Luca della Robbia

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »