โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ลิเทียม

ดัชนี ลิเทียม

ลิเทียม (Lithium) เป็นธาตุมีสัญลักษณ์ Li และเลขอะตอม 3 ในตารางธาตุ ตั้งอยู่ในกลุ่ม 1 ในกลุ่มโลหะอัลคาไล ลิเทียมบริสุทธิ์ เป็นโลหะที่อ่อนนุ่ม และมีสีขาวเงิน ซึ่งถูกออกซิไดส์เร็วในอากาศและน้ำ ลิเทียมเป็นธาตุของแข็ง ที่เบาที่สุด และใช้มากในโลหะผสมสำหรับการนำความร้อน ในถ่านไฟฉายและเป็นส่วนผสมในยาบางชนิดที่เรียกว่า "mood stabilizer".

49 ความสัมพันธ์: บรรยากาศของโลกชีววิทยากล้องโทรทรรศน์ภาษากรีกมวลโมเลกุลมิลลิวินาทียารัฐเนวาดาวินาทีสหรัฐสงครามโลกครั้งที่สองหินอัคนีออกซิเจนอะลูมิเนียมอุณหภูมิห้องอนุภาคแอลฟาจาระบีธาตุทองแดงของแข็งของเหลวดอลลาร์สหรัฐความร้อนจำเพาะความหนาแน่นคาร์บอนตารางธาตุซิลิคอนประเทศชิลีนิวไคลด์กัมมันตรังสีน้ำแบตเตอรี่แก้วแมกนีเซียมแมงกานีสแอโนดแคดเมียมแคโทดโลหะโลหะแอลคาไลโลหะแอลคาไลน์เอิร์ทโลหะเจือโซเดียมไอโซโทปเมแทบอลิซึมเลือดเลขอะตอมเหล็กเซรามิกเปลือกโลก

บรรยากาศของโลก

ลักษณะบรรยากาศของโลก บรรยากาศของโลก คือ อากาศที่ห่อหุ้มโลกอยู่โดยรอบ วันที่สืบค้น 6 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: ลิเทียมและบรรยากาศของโลก · ดูเพิ่มเติม »

ชีววิทยา

ีววิทยา (Biology) เป็นแขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (natural science) ที่ศึกษาเกี่ยวกับชีวิต และสิ่งมีชีวิต ซึ่งรวมถึง โครงสร้าง การทำงาน การเจริญเติบโต ถิ่นกำเนิด วิวัฒนาการ การกระจายพันธุ์ และอนุกรมวิธาน โดยเป็นการศึกษาในทุก ๆ แง่มุมของสิ่งมีชีวิต โดยคำว่า ชีววิทยา (Biology) มาจากภาษากรีก คือคำว่า "bios" แปลว่า สิ่งมีชีวิต และ "logos" แปลว่า วิชา หรือการศึกษาอย่างมีเหตุผล.

ใหม่!!: ลิเทียมและชีววิทยา · ดูเพิ่มเติม »

กล้องโทรทรรศน์

กล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสง กล้องโทรทรรศน์ คืออุปกรณ์ที่ใช้ขยายวัตถุท้องฟ้าโดยอาศัยหลักการรวมแสง เพื่อให้สามารถมองเห็นวัตถุท้องฟ้าที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หรือทำให้มองเห็นได้ชัดขึ้น และมีขนาดใหญ่ขึ้น กล้องโทรทรรศน์ได้ถูกคิดค้นขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1608 โดยฮานส์ ช่างทำแว่นคนหนึ่งซึ่งต่อมาค้นพบว่าหากนำเลนส์มาวางเรียงกับให้ได้ระยะที่ถูกต้องเลนส์สามารถขยายภาพที่อยู่ไกลๆได้ใกล้ขึ้น และ 1 ปีต่อมา กาลิเลโอ กาลิเลอิ ก็ได้ นำมาสำรวจท้องฟ้าเป็นครั้งแรกซึ่งในตอนนั้นเป็นกล้องหักเหแสงที่มีกำลังขยายไม่ถึง 30 เท่า เท่านั้นแต่ก็ทำให้เห็นรายละเอียดต่างๆมากมายของดวงดาวต่างๆที่ยังไม่เคยเห็นมาก่อนทำให้เป็นจุดเริ่มต้นของการเริ่มมาสำรวจท้องฟ้าโดยใช้กล้องโทรทรรศน.

ใหม่!!: ลิเทียมและกล้องโทรทรรศน์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากรีก

ษากรีก ซึ่งคนที่พูดและเขียนภาษานี้เรียกว่า เฮลเลนิก หรือ เอลเลนิกา (Ελληνικά) เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เกิดในประเทศกรีซ และเคยเป็นภาษาพูดตามชายฝั่งของเอเชียไมเนอร์และทางใต้ของประเทศอิตาลีในยุคโบราณ มีการพูดภาษาถิ่นจำนวนหนึ่ง เช่น ไอโอนิก ดอริก และแอททิก การเรียนการสอนภาษากรีกในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายนัก ปัจจุบันมีเพียง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, รูปแบบไฟล.doc /สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม..

ใหม่!!: ลิเทียมและภาษากรีก · ดูเพิ่มเติม »

มวลโมเลกุล

มวลโมเลกุล (อังกฤษ: Molecular Mass) คือ มวลของสารนั้น ๆ 1 โมล โดยมวลโมเลกุลหาได้จากการเอามวลอะตอมของธาตุทั้งหมดในสูตรโมเลกุลนั้นมารวมกัน คำนี้ต่างจากน้ำหนักสูตร (Formula weight) ในกรณีที่สูตรของสารนั้นไม่ใช่สูตรโมเลกุล เช่น สารประกอบไอออนิก สารที่มีโครงสร้างผลึกร่างตาข่าย สารที่มีพันธะโลหะ หรือ พอลิเมอร์ ที่จะใช้สูตรอย่างง่ายแทนสูตรโมเลกุล และในกรณีที่ โมเลกุล อยู่ในรูป High polymer หรือมีการต่อพันธะเป็นพอลิเมอร์มาก จะมีการแสดงมวลโมเลกุลในรูปค่าเฉลี่ย เนื่องจากแต่ละโมเลกุลมี น้ำหนักไม่เท่ากัน หมวดหมู่:เคมี.

ใหม่!!: ลิเทียมและมวลโมเลกุล · ดูเพิ่มเติม »

มิลลิวินาที

มิลลิวินาที (ตัวย่อ: ms) เป็นหนึ่งในหนึ่งพันของวินาที 10 มิลลิวินาที (หนึ่งในร้อยของวินาที) เรียกว่า เซนติวินาที 100 มิลลิวินาที (หนึ่งในสิบของวินาที) เรียกว่า เดชิวินาที ในหนึ่งวันมี 86,400,000 (24×60×60×1000) มิลลิวินาทีในหนึ่งวัน.

ใหม่!!: ลิเทียมและมิลลิวินาที · ดูเพิ่มเติม »

ยา

thumb ยา เป็นวัตถุที่รับรองไว้ในตำรายาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ, วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการวินิจฉัย บำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรคหรือความเจ็บป่วยของมนุษย์หรือสัตว์, วัตถุที่เป็นเภสัชเคมีภัณฑ์หรือเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป หรือวัตถุที่มุ่งหมายสำหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้างหรือการกระทำหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายของมนุษย์หรือสัตว.

ใหม่!!: ลิเทียมและยา · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเนวาดา

รัฐเนวาดา (Nevada) เป็นรัฐที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของสหรัฐอเมริกา ประชากรในรัฐมีประมาณ 2,414,807 (พ.ศ. 2548) โดยเพิ่มขึ้นจาก 1,998,257 (พ.ศ. 2543) ซึ่งรัฐเนวาดาเป็นรัฐที่มีการเติบโตของประชากรมากสุดในสหรัฐอเมริกา เมืองสำคัญของรัฐเนวาดา ได้แก่ ลาสเวกัส รีโน และเมืองหลวง คาร์สันซิตี บุคคลสำคัญจากรัฐเนวาดาได้แก่ อังเดร อกัสซี นักเทนนิส ป้ายทะเบียนรถยนต์ ของรัฐเนวาดา โดยมีสัญลักษณ์พิเศษบนตัวอักษร a ตัวที่สอง เพื่อบอกความแตกต่างจากเสียงทั่วไป ชื่อรัฐเนวาดามาจากภาษาสเปนมีความหมายถึง หิมะ ชื่อรัฐเนวาดานิยมอ่านทั่วไปว่า "เนวาดา" แต่คนในพื้นที่จะเรียกรัฐเนวาดาว่า "เนแวดา" ในปี..

ใหม่!!: ลิเทียมและรัฐเนวาดา · ดูเพิ่มเติม »

วินาที

วินาที (Second) เป็นหน่วยฐานของเวลาในระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศ (เอสไอ) และยังเป็นหน่วยเวลาในระบบการวัดอื่น เท่ากับ 1 ส่วน 60 ของนาที ระหว่าง..

ใหม่!!: ลิเทียมและวินาที · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: ลิเทียมและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: ลิเทียมและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

หินอัคนี

หินอัคนี (igneous; มาจากภาษาละติน ignis แปลว่า ไฟ) คือหนึ่งในหิน 3 ประเภทหลัก อีก 2 ประเภทได้แก่ หินตะกอน (sedimentary rock) และหินแปร (metamorphic rock) หินอัคนีเกิดจากการเย็นตัวและแข็งตัวของหินหนืด (magma) หรือหินหลอมเหลว (lava) หินอัคนีสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักได้แก่ หินอัคนีพุ (volcanic rock)และหินอัคนีแทรกซอน.

ใหม่!!: ลิเทียมและหินอัคนี · ดูเพิ่มเติม »

ออกซิเจน

ออกซิเจน (Oxygen) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ O และเลขอะตอม 8 ธาตุนี้พบมาก ทั้งบนโลกและทั่วทั้งจักรวาล โมเลกุลออกซิเจน (O2 หรือที่มักเรียกว่า free oxygen) บนโลกมีความไม่เสถียรทางเทอร์โมไดนามิกส์จึงเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันกับธาตุอื่น ๆ ได้ง่าย ออกซิเจนเกิดขึ้นครั้งแรกในโลกจากการสังเคราะห์ด้วยแสงของแบคทีเรียและพื.

ใหม่!!: ลิเทียมและออกซิเจน · ดูเพิ่มเติม »

อะลูมิเนียม

มื่อวัดในทั้งปริมาณและมูลค่า การใช้อะลูมิเนียมมีมากกว่าโลหะอื่น ๆ ยกเว้นเหล็ก และมีความสำคัญในเศรษฐกิจโลกทุกด้าน อะลูมิเนียมบริสุทธิ์มีแรงต้านการดึงต่ำ แต่สามารถนำไปผสมกับธาตุต่าง ๆ ได้ง่าย เช่น ทองแดง สังกะสี แมกนีเซียม แมงกานีส และซิลิกอน (เช่น duralumin) ในปัจจุบันวัสดุเกือบทั้งหมดที่เรียกว่าอะลูมิเนียมเป็นโลหะผสมของอะลูมิเนียม อะลูมิเนียมบริสุทธิ์พบเฉพาะเมื่อต้องการความทนต่อการกัดกร่อนมากกว่าความแข็งแรงและความแข็ง เมื่อรวมกับกระบวนการทางความร้อนและกลการ (thermo-mechanical processing) โลหะผสมของอะลูมิเนียมมีคุณสมบัติทางกลศาสตร์ที่ดีขึ้น โลหะผสมอะลูมิเนียมเป็นส่วนสำคัญของเครื่องบินและจรวดเนื่องจากมีอัตราความแข็งแรงต่อน้ำหนักสูง อะลูมิเนียมสามารถสะท้อนแสงที่มองเห็นได้ดีเยี่ยม (~99%) และสามารถสะท้อนแสงอินฟราเรดได้ดี (~95%) อะลูมิเนียมชั้นบาง ๆ สามารถสร้างบนพื้นผิวเรียบด้วยวิธีการควบแน่นของไอสารเคมี (chemical vapor deposition) หรือวิธีการทางเคมี เพื่อสร้างผิวเคลือบออปติคัล (optical coating) และกระจกเงา ผิวเคลือบเหล่านี้จะเกิดชั้นอะลูมิเนียมออกไซด์ที่บางยิ่งกว่า ที่ไม่สึกกร่อนเหมือนผิวเคลือบเงิน กระจกเงาเกือบทั้งหมดสร้างโดยใช้อะลูมิเนียมชั้นบางบนผิวหลังของแผ่นกระจกลอย (float glass).

ใหม่!!: ลิเทียมและอะลูมิเนียม · ดูเพิ่มเติม »

อุณหภูมิห้อง

อุณหภูมิห้อง (Room temperature) คืออุณหภูมิของสถานที่ ๆ ทำการทดลอง อุณหภูมิห้องมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลกอยู่ที่ 20 - 25 องศาเซลเซียส หมวดหมู่:ความร้อน หมวดหมู่:การถ่ายเทความร้อน.

ใหม่!!: ลิเทียมและอุณหภูมิห้อง · ดูเพิ่มเติม »

อนุภาคแอลฟา

อนุภาคแอลฟา (เขียนแทนด้วยอักษรกรีก แอลฟา α) คืออนุภาคที่ประกอบด้วยโปรตอน 2 ตัวและนิวตรอน 2 ตัว เหมือนกับนิวเคลียสของอะตอมของธาตุฮีเลียม (He) จึงสามารถเขียนสัญลักษณ์ได้อีกอย่างหนึ่งเป็น He^\,\! หรือ ^4_2He^ อนุภาคแอลฟาหนึ่งอนุภาคมีมวล 6.644656×10−27 กิโลกรัม หรือเทียบเท่ากับพลังงาน 3.72738 จิกะอิเล็กตรอนโวลต์ (GeV) มีประจุเป็น +2e โดยที่ e คือความจุไฟฟ้าของอิเล็กตรอนซึ่งมีค่าเท่ากับ 1.602176462×10−19 คูลอมบ์ อนุภาคแอลฟามักเกิดจากการสลายของอะตอมของธาตุกัมมันตรังสี เช่นยูเรเนียม (U) หรือเรเดียม (Ra) ด้วยกระบวนการที่รู้จักกันในชื่อการสลายให้อนุภาคแอลฟา (alpha decay) เมื่ออนุภาคแอลฟาถูกปลดปล่อยออกจากนิวเคลียส มวลอะตอมของธาตุกัมมันตรังสีจะลดลงประมาณ 4.0015 u เนื่องจากการสูญเสียทั้งโปรตอนและนิวตรอน และเลขอะตอมจะลดลง 2 ทำให้อะตอมกลายเป็นธาตุใหม่ ดังตัวอย่างการสลายให้อนุภาคแอลฟาของยูเรเนียม จะได้ธาตุใหม่เป็นทอเรียม (Th) ^_U \rightarrow ^_Th + ^4_2He^.

ใหม่!!: ลิเทียมและอนุภาคแอลฟา · ดูเพิ่มเติม »

จาระบี

จาระบี (grease) เป็นสารหล่อลื่นลักษณะกึ่งของแข็ง ทำจากน้ำมันปิโตรเลียมหรือน้ำมันพืชผ่านปฏิกิริยากับด่างในลักษณะเดียวกับสบู่ มีจุดเด่นที่จะเหนียวข้นเมื่ออยู่ในสภาพปกติ แต่จะไหลสะดวกเหมือนน้ำมันหล่อลื่นเมื่ออยู่ในสภาวะที่มีการเสียดสี, จึงนิยมใช้หล่อลื่นเครื่องจักรที่ไม่สามารถหยอดน้ำมันได้บ่อย หรือใช้ในจุดที่ลักษณะกลไกไม่เอื้อต่อการขังน้ำมันหล่อลื่น หมวดหมู่:สารหล่อลื่น.

ใหม่!!: ลิเทียมและจาระบี · ดูเพิ่มเติม »

ธาตุ

ในทางเคมี ธาตุ คือ สารบริสุทธิ์ซึ่งประกอบด้วยอนุภาคมูลฐานเลขอะตอม อันเป็นจำนวนของโปรตอนในนิวเคลียสของธาตุนั้น ตัวอย่างธาตุที่คุ้นเคยกัน เช่น คาร์บอน ออกซิเจน อะลูมิเนียม เหล็ก ทองแดง ทองคำ ปรอทและตะกั่ว จนถึงเดือนพฤษภาคม..

ใหม่!!: ลิเทียมและธาตุ · ดูเพิ่มเติม »

ทองแดง

ทองแดง (Copper) คือธาตุที่มีเลขอะตอม 29 และสัญลักษณ์คือ Cu ทองแดงอยู่ในตารางธาตุหมู่ 29 เป็นที่ทราบกันว่ามนุษย์ใช้ประโยชน์จากทองแดงมาไม่น้อยกว่า 10,000 ปี พบหลักฐานว่ามนุษย์สามารถหลอมสกัดทองแดงให้บริสุทธิ์ได้เมื่อประมาณ 5000 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่มนุษย์จะรู้จักกับทองคำ โดยมนุษย์รู้จักทองคำ เมื่อประมาณ 4000 ปีก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: ลิเทียมและทองแดง · ดูเพิ่มเติม »

ของแข็ง

ของแข็ง (Soild) เป็นสถานะหนึ่งในสี่ของสถานะพื้นฐานของสสาร (สถานะอื่นได้แก่ ของเหลว แก๊ส พลาสมา) ซึ่งมีลักษณะที่สามารถทนและต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงรูปร่วงหรือปริมาตร แตกต่างกับของเหลว วัตถุที่เป็นของแข็งไม่สามารถไหลได้และไม่เปลี่ยนแปลงรูปร่างและปริมาตรไปตามภาชนะที่บรรจุ อะตอมภายในโมเลกุลของของแข็งอยู่ชิดกันมากและมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคที่หนาแน่นกับอนุภาคอื่น ๆ สาขาของฟิสิกส์มีสาขาหนึ่งที่มีเพื่อศึกษาของแข็งโดยเฉพาะ เรียกว่าฟิสิกส์ของแข็งและมันยังเป็นสาขาหลักของฟิสิกส์สสารอัดแน่น (ซึ่งจะมีการศึกษาเกี่ยวกับของเหลวรวมอยู่ด้วย) ของแข็งที่มีความหนาแน่นน้อยที่สุดในโลกคือ ซิลิกานาโนโฟม (silica nanofoam) มีความหนาแน่นประมาณ 1 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ซึ่งน้อยกว่าความหนาแน่นของอากาศ เป็นผลิตภัณฑ์ของแอโรเจล (aerogel) ที่ดูดอากาศออก หมวดหมู่:สถานะของสสาร หมวดหมู่:ของแข็ง หมวดหมู่:วัสดุศาสตร์.

ใหม่!!: ลิเทียมและของแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

ของเหลว

รูปทรงของของเหลวเปลี่ยนไปตามภาชนะที่บรรจุ ของเหลว (Liquid) เป็นสถานะของของไหล ซึ่งปริมาตร จะถูกจำกัดภายใต้สภาวะคงที่ของอุณหภูมิและความดัน และรูปร่างของมันจะถูกกำหนดโดยภาชนะที่บรรจุมันอยู่ ยิ่งไปกว่านั้นของเหลวยังออกแรงกดดันต่อภาชนะด้านข้างและบางสิ่งบางอย่างในตัวของของเหลวเอง ความกดดันนี้จะถูกส่งผ่านไปทุกทิศทาง ถ้าของเหลวอยู่ในระเบียบของสนามแรงโน้มถ่วง ความดัน pที่จุดใด ๆ สามารถแสดงเป็นสูตรทางคณิตศาสตร์ได้ดังนี้ ที่ซึ่ง \rho เป็น ความหนาแน่น ของของเหลว (ซึ่งกำหนดให้คงที่) และ z คือความลึก ณ จุดใต้พื้นผิวของเหลวนั้น สังเกตว่าในสูตรนี้กำหนดให้ความดันที่ผิวบนเท่ากับ 0 และไม่ต้องคำนึงถึง ความตึงผิวของเหลวมีลักษณะเฉพาะของ แรงตึงผิว (surface tension) และ แรงยกตัว (capillarity) โดยทั่วไปของเหลวจะขยายตัวเมื่อถูกความร้อนและหดตัวเมื่อถูกความเย็น วัตถุที่จมอยู่ในของเหลวจะมีปรากฏการณ์ที่เรียกว่า แรงลอยตัว (buoyancy) ของเหลวเมื่อได้รับความร้อนจนถึง จุดเดือด จะเปลี่ยนสถานะเป็น ก๊าซ และเมื่อทำให้เย็นจนถึง จุดเยือกแข็งมันก็จะเปลี่ยนสถานะเป็น ของแข็ง โดย การกลั่นแยกส่วน (fractional distillation) ของเหลวจะถูกแยกจากกันและกันโดย การระเหย (vaporization) ที่ จุดเดือด ของของเหลวแต่ละชนิด การเก เนื่องจากโมเลกุลของของเหลวมีแรงดึงดูดซึ่งกันและกัน การเคลื่อนที่ของแต่ละโมเลกุลจึงอยู่ภายใต้อิทธิพลของโมเลกุลอื่นที่อยู่ใกล้เคียง โมเลกุลที่อยู่ตรงกลางได้รับแรงดึงดูดจากโมเลกุลอื่นที่อยู่ล้อมรอบเท่ากันทุกทิศทุกทาง ส่วนโมเลกุลที่ผิวหน้าจะได้รับแรงดึงดูดจากโมเลกุลที่อยู่ด้านล่างและด้านข้างเท่านั้น โมเลกุลที่ผิวหน้าจึงถูกดึงเข้าภายในของเหลว ทำให้พื้นที่ผิวของของเหลวลดลงเหลอน้อยที่สุด จะเห็นได้จากหยดน้ำที่เกาะบนพื้นผิวที่เรียบและสะอาดจะมีลักษณะเป็นทรงกลมซึ่งมีพื้นที่ผิวน้อยกว่าน้ำที่อยู่ในลักษณะแผ่ออกไป ของเหลวพยายามจัดตัวเองให้มีพื้นที่ผิวน้อยที่สุด เนื่องจากโมเลกุลที่ผิวไม่มีแรงดึงเข้าทางด้านบน จึงจะมีเสถียรภาพน้อยกว่าโมเลกุลที่อยู่ตรงกลาง การลดพื้นที่ผิวเท่ากับเป็นการลดจำนวนโมเลกุลที่ผิวหน้า จึงทำให้ของเหลวเสถียรมากขึ้นในบางกรณีของเหลวมีความจำเป็นต้องเพิ่มพื้นที่ผิว โดยที่โมเลกุลที่อยู่ด้านในของของเหลวจะเคลื่อนมายังพื้นผิว ในการนี้โมเลกุลเหล่านั้นต้องเอาชนะแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลที่อยูรอบ ๆ หรือกล่าวว่าต้องทำงาน งานที่ใช้ในการขยายพื้นที่ผิวของของเหลว 1 หน่วย เรียกว่า ความตึงผิว (Surface tension).

ใหม่!!: ลิเทียมและของเหลว · ดูเพิ่มเติม »

ดอลลาร์สหรัฐ

100 ดอลลาร์สหรัฐ ธนบัตรที่มีค่ามากสุดในสหรัฐในปัจจุบัน ดอลลาร์สหรัฐ (United States dollar; ในเอกสารเก่าอาจพบการใช้ เหรียญสหรัฐ) เป็นสกุลเงินของประเทศสหรัฐอเมริกา และยังใช้เป็นสกุลเงินสำรองในหลายประเทศทั่วโลก รหัสสากลคือ ISO 4217 ใช้ตัวย่อว่า USD และสัญลักษณ์ $ โดย 1 ดอลลาร์สหรัฐมีค่าเท่ากับเกือบ 34 บาท (baht) สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศหนึ่งที่ใช้หน่วยเงิน ดอลลาร์ เป็นสกุลเงินประจำชาติ และยังมีประเทศอื่นที่มีเงินดอลลาร์เช่นกัน แต่ใช้ชื่อเรียกอื่น เช่น ดอลลาร์สิงคโปร์ ดอลลาร์ฮ่องกง ดอลลาร์ไต้หวัน นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐ ยังเป็นสกุลเงินหลักในหลายประเทศ และในบางประเทศถึงแม้ว่าดอลลาร์สหรัฐไม่ใช่สกุลเงินหลัก แต่ยังมีการยอมรับในการใช้จ่ายสินค้าทั่วไป ชื่อเล่นที่ชาวอเมริกันเรียก 1 เซนต์ ว่า "เพนนี" (penny), 5 เซนต์ ว่า "นิกเกิล" (nickel), 10 เซนต์ ว่า "ไดม์" (dime), 25 เซนต์ ว่า "ควอเตอร์" (quarter), 1 ดอลลาร์สหรัฐ ว่า "บั๊ก (ภาษาสแลง, ภาษาพูด)" (buck) และเรียก หนึ่งพันดอลลาร์สหรัฐ ว่า แกรนด์ (grand).

ใหม่!!: ลิเทียมและดอลลาร์สหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ความร้อนจำเพาะ

วามร้อนจำเพาะ (Specific Heat) เป็นคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของวัตถุที่สามารถวัดได้ โดยอธิบายความสามารถในการเก็บความร้อนของวัตถุนั้น.

ใหม่!!: ลิเทียมและความร้อนจำเพาะ · ดูเพิ่มเติม »

ความหนาแน่น

วามหนาแน่น (อังกฤษ: density, สัญลักษณ์: ρ อักษรกรีก โร) เป็นการวัดมวลต่อหนึ่งหน่วยปริมาตร ยิ่งวัตถุมีความหนาแน่นมากขึ้น มวลต่อหน่วยปริมาตรก็ยิ่งมากขึ้น กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือวัตถุที่มีความหนาแน่นสูง (เช่น เหล็ก) จะมีปริมาตรน้อยกว่าวัตถุความหนาแน่นต่ำ (เช่น น้ำ) ที่มีมวลเท่ากัน หน่วยเอสไอของความหนาแน่นคือ กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (kg/m3) ความหนาแน่นเฉลี่ย (average density) หาได้จากผลหารระหว่างมวลรวมกับปริมาตรรวม ดังสมการ โดยที.

ใหม่!!: ลิเทียมและความหนาแน่น · ดูเพิ่มเติม »

คาร์บอน

ร์บอน (Carbon) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ C และเลขอะตอม 6 เป็นธาตุอโลหะที่มีอยู่มาก มีวาเลนซ์ 4 และมีหลายอัญรูป.

ใหม่!!: ลิเทียมและคาร์บอน · ดูเพิ่มเติม »

ตารางธาตุ

ตารางธาตุในลักษณะที่เป็นมาตรฐาน ตารางธาตุ (Periodic table) คือ ตารางที่ใช้แสดงรายชื่อธาตุเคมี ซึ่งจัดเรียงบนพื้นฐานของเลขอะตอม (จำนวนโปรตอนในนิวเคลียส) การจัดเรียงอิเล็กตรอน และสมบัติทางเคมี โดยจะเรียงตามเลขอะตอมที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะระบุไว้ในร่วมกับสัญลักษณ์ธาตุเคมี ในกล่องของธาตุนั้น ตารางธาตุมาตรฐานจะมี 18 หมู่และ 7 คาบ และมีคาบพิเศษเพิ่มเติมมาอยู่ด้านล่างของตารางธาตุ ตารางยังสามารถเปลี่ยนเป็นการจัดเรียงตามบล็อก โดย บล็อก-s จะอยู่ซ้ายมือ บล็อก-p จะอยู่ขวามือ บล็อก-d จะอยู่ตรงกลางและบล็อก-f อยู่ที่ด้านล่าง แถวแนวนอนในตารางธาตุจะเรียกว่า คาบ และแถวในแนวตั้งเรียกว่า หมู่ โดยหมู่บางหมู่จะมีชื่อเฉพาะ เช่นแฮโลเจน หรือแก๊สมีตระกูล โดยคำนิยามของตารางธาตุ ตารางธาตุยังมีแนวโน้มของสมบัติของธาตุ เนื่องจากเราสามารถใช้ตารางธาตุบอกความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของธาตุแต่ละตัว และใช้ทำนายสมบัติของธาตุใหม่ ธาตุที่ยังไม่ถูกค้นพบ หรือธาตุที่สังเคราะห์ขึ้น และด้วยความพิเศษของตารางธาตุ ทำให้มันถูกใช้อย่างกว้างขวางในการศึกษาวิชาเคมีหรือวิทยาศาสตร์สาขาอื่น ๆ ดมีตรี เมนเดเลเยฟ รู้จักกันในฐานะผู้ที่ตีพิมพ์ตารางธาตุในลักษณะแบบนี้เป็นคนแรก ใน..

ใหม่!!: ลิเทียมและตารางธาตุ · ดูเพิ่มเติม »

ซิลิคอน

ซิลิคอน (Silicon) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุ ที่มีสัญลักษณ์ Si และเลขอะตอม 14 เป็นธาตุกึ่งโลหะแบบเตตระวาเลนต์ (คือมีวาเลนซ์เป็น 4) ซิลิคอนทำปฏิกิริยาน้อยกว่าธาตุที่คล้ายกันคือคาร์บอน เป็นธาตุที่มีมากที่สุดในเปลือกโลกเป็นอันดับ 2 มีปริมาตร 25.7% โดยน้ำหนัก ปรากฏในดินเหนียว เฟลด์สปาร์ (feldspar) หินแกรนิต ควอตซ์ และทราย ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของซิลิคอน ไดออกไซด์ (หรือซิลิกา) และซิลิเกต (สารประกอบที่ประกอบจากซิลิคอน ออกซิเจน และ โลหะ) ซิลิคอน เป็นส่วนประกอบหลักของแก้ว ซีเมนต์ เซรามิก, อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ ส่วนใหญ่ และซิลิโคน (สารพลาสติกที่มักจะสับสนกับซิลิคอน) ซิลิคอนใช้เป็นสารกึ่งตัวนำอย่างแพร่หลาย เนื่องจาก สารกึ่งตัวนำเจอร์เมเนียมมีปัญหาเกี่ยวกับการไหลของกระแสไหลย้อนกลับ (reverse leakage current).

ใหม่!!: ลิเทียมและซิลิคอน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศชิลี

ลี (Chile ชีเล) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐชิลี (Republic of Chile; República de Chile) เป็นประเทศในทวีปอเมริกาใต้ มีเนื้อที่ติดชายฝั่งทะเลยาวระหว่างเทือกเขาแอนดีสกับมหาสมุทรแปซิฟิก มีอาณาเขตจรดประเทศอาร์เจนตินาทางทิศตะวันออก จรดโบลิเวียทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และจรดเปรูทางทิศเหนือ ชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันตกของประเทศมีความยาว 6,435 กิโลเมตร ซีไอเอ ชิลีมีดินแดนในมหาสมุทรแปซิฟิก โดยครอบครองหมู่เกาะควนเฟร์นันเดซ เกาะซาลาอีโกเมซ หมู่เกาะเดสเบนตูราดัส และเกาะอีสเตอร์ในโพลินีเซีย ชิลียังอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนในแอนตาร์กติกาด้ว.

ใหม่!!: ลิเทียมและประเทศชิลี · ดูเพิ่มเติม »

นิวไคลด์กัมมันตรังสี

นิวไคลด์กัมมันตรังสี (radionuclide) คืออะตอมที่มีนิวเคลียสที่ไม่เสถียร มีพลังงานสูงมากจนสามารถสร้างอนุภาคกัมมันตรังสีขึ้นใหม่ภายในนิวเคลียสหรือโดยผ่านการแปลงภายในก็ได้ ระหว่างกระบวนการนี้เราจะเรียกว่านิวไคลด์กัมมันตรังสีนั้นกำลังเกิดการสลายให้กัมมันตรังสี ซึ่งทำให้เกิดการเปล่งรังสีแกมมา และ/หรือ อนุภาคย่อยของอะตอม เช่น อนุภาคอัลฟาหรืออนุภาคบีตา การเปล่งรังสีเช่นนี้สามารถเกิดจากการแผ่รังสีจากการแตกตัวเป็นไอออนก็ได้ นิวไคลด์กัมมันตรังสีสามารถเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือถูกสร้างขึ้นได้เช่นกัน นักเคมีและนักฟิสิกส์มักเรียกนิวไคลด์กัมมันตรังสีว่า ไอโซโทปกัมมันตรังสี หรือ radioisotope ไอโซโทปกัมมันตรังสีที่มีครึ่งชีวิตที่เหมาะสมมีบทบาทสำคัญยิ่งในเทคโนโลยีหลายชนิด (เช่น การรักษาด้วยนิวเคลียร์ (nuclear medicine)) อย่างไรก็ดี นิวไคลด์กัมมันตรังสีอาจทำให้เกิดโทษมหันต์ต่อสุขภาพด้วยเช่นกัน.

ใหม่!!: ลิเทียมและนิวไคลด์กัมมันตรังสี · ดูเพิ่มเติม »

น้ำ

น้ำในสองสถานะ: ของเหลว (รวมทั้งก้อนเมฆซึ่งเป็นตัวอย่างของละอองลอย) และของแข็ง (น้ำแข็ง) น้ำเป็นสิ่งที่โปร่งใส ไม่มีรส ไม่มีกลิ่น และเกือบจะไม่มีสี ซึ่งเป็นสารเคมีที่เป็นองค์ประกอบหลักของลำธาร, แม่น้ำ, และมหาสมุทรในโลก เป็นต้น และยังเป็นของเหลวในสิ่งมีชีวิต มีสูตรเคมีคือ H2O โมเลกุลของน้ำประกอบด้วยออกซิเจน 1 อะตอมและไฮโดรเจน 2 อะตอมเชื่อมติดกันด้วยพันธะโควาเลนต์ น้ำเป็นของเหลวที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน แต่พบบนโลกที่สถานะของแข็ง (น้ำแข็ง) และสถานะแก๊ส (ไอน้ำ) น้ำยังมีในสถานะของผลึกของเหลวที่บริเวณพื้นผิวที่ขอบน้ำ นอกจากนี้ยังสามารถเกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น หิมะ, ธารน้ำแข็ง, และภูเขาน้ำแข็ง, ก้อนเมฆ, หมอก, น้ำค้าง, ชั้นหินอุ้มน้ำ และ ความชื้นในบรรยากาศ น้ำปกคลุม 71% บนพื้นผิวโลก และเป็นปัจจัยสำคัญต่อชีวิต น้ำบนโลก 96.5% พบในมหาสมุทร 1.7% ในน้ำใต้ดิน 1.7% ในธารน้ำแข็งและชั้นน้ำแข็งของทวีปแอนตาร์กติกาและเกาะกรีนแลนด์ ซึ่งเป็นเศษส่วนเล็กน้อยบนผิวน้ำขนาดใหญ่ และ 0.001% พบในอากาศเป็นไอน้ำ ก้อนเมฆ (ก่อตัวขึ้นจากอนุภาคน้ำในสถานะของแข็งและของเหลวแขวนลอยอยู่บนอากาศ) และหยาดน้ำฟ้า น้ำบนโลกเพียง 2.5% เป็นน้ำจืด และ 98.8% ของน้ำจำนวนนั้นพบในน้ำแข็งและน้ำใต้ดิน น้ำจืดน้อยกว่า 0.3% พบในแม่น้ำ ทะเลสาบ และชั้นบรรยากาศ และน้ำจืดบนโลกในปริมาณที่เล็กลงไปอีก (0.003%) พบในร่างกายของสิ่งมีชีวิตและผลิตภัณฑ์ น้ำบนโลกเคลื่อนที่ต่อเนื่องตามวัฏจักรของการระเหยเป็นไอและการคายน้ำ (การคายระเหย) การควบแน่น การตกตะกอน และการไหลผ่าน โดยปกติจะไปถึงทะเล การระเหยและการคายน้ำนำมาซึ่งการตกตะกอนลงสู่พื้นดิน น้ำดื่มสะอาดเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ แม้ว่าน้ำจะไม่มีแคลอรีหรือสารอาหารที่เป็นสารประกอบอินทรีย์ใดๆ การเข้าถึงน้ำดื่มสะอาดได้เปลี่ยนแปลงไปในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมาในเกือบทุกส่วนของโลก แต่ประชากรประมาณ 1 พันล้านคนยังคงขาดแคลนน้ำดื่มสะอาดและกว่า 2.5 พันล้านคนขาดแคลนสุขอนามัยที่เพียงพอ มีความเกี่ยวพันกันเรื่องน้ำสะอาดและค่า GDP ต่อคน อย่างไรก็ดี นักสังเกตบางคนประมาณไว้ว่าภายในปี..

ใหม่!!: ลิเทียมและน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

แบตเตอรี่

แบตเตอรี่ (Battery) เป็นอุปกรณ์ที่ประกอบด้วย เซลล์ไฟฟ้าเคมี หนึ่งเซลล์หรือมากกว่า ที่มีการเชื่อมต่อภายนอกเพื่อให้กำลังงานกับอุปกรณ์ไฟฟ้า แบตเตอรี่มี ขั้วบวก (cathode) และ ขั้วลบ (anode) ขั้วที่มีเครื่องหมายบวกจะมีพลังงานศักย์ไฟฟ้าสูงกว่าขั้วที่มีเครื่องหมายลบ ขั้วที่มีเครื่องหมายลบคือแหล่งที่มาของอิเล็กตรอนที่เมื่อเชื่อมต่อกับวงจรภายนอกแล้วอิเล็กตรอนเหล่านี้จะไหลและส่งมอบพลังงานให้กับอุปกรณ์ภายนอก เมื่อแบตเตอรี่เชื่อมต่อกับวงจรภายนอก สาร อิเล็กโทรไลต์ มีความสามารถที่จะเคลื่อนที่โดยทำตัวเป็นไอออน ยอมให้ปฏิกิริยาทางเคมีทำงานแล้วเสร็จในขั้วไฟฟ้าที่อยู่ห่างกัน เป็นการส่งมอบพลังงานให้กับวงจรภายนอก การเคลื่อนไหวของไอออนเหล่านั้นที่อยู่ในแบตเตอรี่ที่ทำให้เกิดกระแสไหลออกจากแบตเตอรี่เพื่อปฏิบัติงาน ในอดีตคำว่า "แบตเตอรี่" หมายถึงเฉพาะอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยเซลล์หลายเซลล์ แต่การใช้งานได้มีการพัฒนาให้รวมถึงอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยเซลล์เพียงเซลล์เดียว แบตเตอรี่ปฐมภูมิจะถูกใช้เพียงครั้งเดียวหรือ "ใช้แล้วทิ้ง"; วัสดุที่ใช้ทำขั้วไฟฟ้าจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวรในช่วงปล่อยประจุออก (discharge) ตัวอย่างที่พบบ่อยก็คือ แบตเตอรี่อัลคาไลน์ ที่ใช้สำหรับ ไฟฉาย และอีกหลายอุปกรณ์พกพา แบตเตอรี่ทุติยภูมิ (แบตเตอรี่ประจุใหม่ได้) สามารถดิสชาร์จและชาร์จใหม่ได้หลายครั้ง ในการนี้องค์ประกอบเดิมของขั้วไฟฟ้าสามารถเรียกคืนสภาพเดิมได้โดยกระแสย้อนกลับ ตัวอย่างเช่น แบตเตอรี่ตะกั่วกรด ที่ใช้ในยานพาหนะและแบตเตอรี่ ลิเธียมไอออน ที่ใช้สำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบเคลื่อนย้ายได้ แบตเตอรี่มาในหลายรูปทรงและหลายขนาด จากเซลล์ขนาดเล็กที่ให้พลังงานกับ เครื่องช่วยฟัง และนาฬิกาข้อมือ จนถึงแบตเตอรี่แบงค์ที่มีขนาดเท่าห้องที่ให้พลังงานเตรียมพร้อมสำหรับ ชุมสายโทรศัพท์ และ ศูนย์ข้อมูล คอมพิวเตอร์ ตามการคาดการณ์ในปี 2005 อุตสาหกรรมแบตเตอรี่ทั่วโลกสร้างมูลค่า 48 พันล้านดอลาร์สหรัฐในการขายในแต่ละปี ด้วยการเจริญเติบโตประจำปี 6% แบตเตอรี่มีค่า พลังงานเฉพาะ (พลังงานต่อหน่วยมวล) ต่ำกว่ามากเมื่อเทียบกับ เชื้อเพลิง ทั้งหลาย เช่นน้ำมัน แต่ก็สามารถชดเชยได้บ้างโดยประสิทธิภาพที่สูงของมอเตอร์ไฟฟ้าในการผลิตงานด้านกลไกเมื่อเทียบกับเครื่องยนต์สันดาป.

ใหม่!!: ลิเทียมและแบตเตอรี่ · ดูเพิ่มเติม »

แก้ว

ตัวหมากรุกที่ทำจากแก้ว แก้ว หมายถึง วัสดุแข็งที่มีรูปลักษณะอยู่ตัว และเป็นเนื้อเดียว โดยปกติแล้วเกิดจากการเย็นตัวลงอย่างฉับพลันของวัสดุหลอมหนืด ซึ่งทำให้การแข็งตัวนั้นไม่ก่อผลึก ตัวอย่างเช่น น้ำตาลซึ่งหลอมละลายและถูกทำให้แข็งตัวอย่างรวดเร็ว อาจด้วยการหยดลงบนผิวเย็น น้ำตาลที่แข็งตัวนี้จะมีลักษณะเป็นเนื้อเดียว ไม่แสดงให้เห็นถึงลักษณะที่เป็นผลึก ซึ่งสามารถสังเกตได้จากรอยแตกหักซึ่งมีลักษณะละเอียด (conchoidal fracture) แก้วสามารถที่จะเกิดได้หลากหลายวิธี โดยการที่จะเลือกวัตถุดิบใน จะต้องมีการคำนวณเพื่อหาปริมาณสารที่ต้องการใช้ใน Batch เนื่องจากสารที่ต้องการใช้ใน Batch จะได้มาจากปฏิกิริยา ของวัตถุดิบ โดยในระหว่างการหลอมวัตถุดิบ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี และโครงสร้าง โดยจะทำให้เกิดฟองอากาศ ที่ต้องกำจัดออกไป โดยในผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ที่ต้องการการขึ้นรูปทรงที่เฉพาะ จะทำโดยมีการใช้กระบวนการทางความร้อนเข้าช่วย เพื่อกำจัด Stress ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการเย็นตัวลงอย่างรวดเร็ว และการปรับปรุงให้แก้วมีความแข็งแกร่งขึ้นโดยการอบเทมเปอร์ (Temper) แก้วที่จะกล่าวถึงในบทความนี้ จะหมายถึง เฉพาะแก้วที่ทำจาก ซิลิกา (silica) เนื้อแก้วบริสุทธิ์นั้น จะโปร่งใส ผิวค่อนข้างแข็ง ยากแก่การกัดกร่อน เฉื่อยต่อปฏิกิริยาทางเคมี และชีวภาพ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ทำให้แก้วนั้นมีประโยชน์ใช้งานอย่างกว้างขวาง อย่างไรก็ตามแก้วนั้นถึงแม้จะแข็ง แต่ก็เปราะแตกหักง่าย และมีรอยแตกที่ละเอียดคม คุณสมบัติของแก้วนี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ง่ายด้วยการผสมสารอื่นลงในเนื้อแก้ว หรือการปรับสภาพด้วยการใช้ความร้อน แก้วโดยทั่วไปนั้นทำจาก ซิลิคอนไดออกไซด์ (SiO2-silicon dioxide) ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสารประกอบทางเคมีใน แร่ควอตซ์ (quartz) หรือในรูป polycrystalline ของทราย ซิลิกาบริสุทธิ์ มีจุดหลอมเหลวที่ 2000 °C (3632 °F) เพื่อความสะดวกในกระบวนการผลิต จะมีการผสมสาร 2 ชนิดลงไปด้วย ชนิดแรกคือ โซดาแอช (Soda Ash) ซึ่งมีองค์ประกอบหลักคือ โซเดียมคาร์บอเนต (sodium carbonate-Na2CO3) หรือสารประกอบโปตัสเซียม เช่น โปตัสเซียมคาร์บอเนต เพื่อช่วยให้อุณหภูมิในการหลอมเหลวนั้นต่ำลงอยู่ที่ประมาณ 1000~1500 °C แต่อย่างไรก็ตามสารนี้จะส่งผลข้างเคียงทำให้แก้วนั้นละลายน้ำได้ จึงต้องมีการเติมสารอีกชนิด คือ หินปูน ซึ่งมีองค์ประกอบหลักคือ แคลเซียมคาร์บอเนต (calcium carbonate-CaCO3) (เมื่ออยู่ในเนื้อแก้ว จะกลายเป็นแคลเซียมออกไซด์;calcium oxide-CaO) เพื่อทำให้แก้วนั้นไม่ละลายน้ำ องค์ประกอบของแก้วที่ใช้ทำภาชนะใช้งานโดยทั่วไป เช่น แก้วน้ำ หรือกระจกใส จะมีองค์ประกอบแต่ละตัวโดยประมาณดังนี้ SiO2 70% Na2O 15% CaO 8% และองค์ประกอบอื่น ๆ อีกเล็กน้อย เช่น MgO, Al2O3, K2O เป็นต้น อาจมีแก้วพิเศษชนิดอื่น ซึ่งเกิดจากการเติมวัตถุดิบอื่น ๆ ลงไป เพื่อช่วยปรับคุณสมบัติของแก้ว เช่น.

ใหม่!!: ลิเทียมและแก้ว · ดูเพิ่มเติม »

แมกนีเซียม

แมกนีเซียม (Magnesium) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ Mg และเลขอะตอม 12 แมกนีเซียมเป็นธาตุที่มีอยู่มากเป็นอันดับ 8 และเป็นส่วนประกอบของเปลือกโลกประมาณ 2% และเป็นธาตุที่ละลายในน้ำทะเลมากเป็นอันดับ 3 โลหะอัลคาไลเอิร์ธตัวนี้ส่วนมากใช้เป็นตัวผสมโลหะเพื่อทำโลหะผสมอะลูมิเนียม-แมกนีเซียม.

ใหม่!!: ลิเทียมและแมกนีเซียม · ดูเพิ่มเติม »

แมงกานีส

แมงกานีส (Manganese) เป็นธาตุในตารางธาตุซึ่งมีสัญลักษณ์เป็น Mn มีหมายเลขอะตอมเป็น 25 ร่างกายจะขาดไม่ได้จะพบมากที่ สุดในโครงกระดูก ตับ ตับอ่อน หัวใจและต่อมพิทูอิทารี่ มีคุณสมบัติเป็นด่าง แมงกานีส ส่วนใหญ่จะสูญเสียไประหว่างกระบวนการปรุงอาหาร และส่วนเกินจะออกผ่านทางน้ำดีแล้วจะออกทางอุจจาร.

ใหม่!!: ลิเทียมและแมงกานีส · ดูเพิ่มเติม »

แอโนด

แอโนด Zinc แอโนด (anode) คือ บริเวณด้านที่เกิดการให้อิเล็กตรอนจากปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมี โดยปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นที่ด้านนี้จะเรียกเป็นปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidation).

ใหม่!!: ลิเทียมและแอโนด · ดูเพิ่มเติม »

แคดเมียม

แคดเมียม (cadmium) คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 48 และสัญลักษณ์คือ Cd แคดเมียมเป็นโลหะทรานซิชันสีขาว-ฟ้า เป็นธาตุมีพิษ ในธรรมชาติพบอยู่ในแร่สังกะสี แคดเมียมใช้ประโยชน์ในการทำแบตเตอรี.

ใหม่!!: ลิเทียมและแคดเมียม · ดูเพิ่มเติม »

แคโทด

แผนภูมิของขั้วแคโทด ทองแดง ในเซลล์กัลวานิ แคโทด (cathode) คือ บริเวณด้านที่เกิดการรับอิเล็กตรอนจากปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมี โดยปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นที่ด้านนี้จะเรียกเป็นปฏิกิริยารีดักชัน (reduction).

ใหม่!!: ลิเทียมและแคโทด · ดูเพิ่มเติม »

โลหะ

ลหะ คือ วัสดุที่ประกอบด้วยธาตุโลหะที่มีอิเล็กตรอนอิสระอยู่มากมาย นั่นคืออิเล็กตรอนเหล่านี้ไม่ได้เป็นของอะตอมใดอะตอมหนึ่งโดยเฉพาะ ทำให้มีคุณสมบัติพิเศษหลายประการ เช่น.

ใหม่!!: ลิเทียมและโลหะ · ดูเพิ่มเติม »

โลหะแอลคาไล

ลหะแอลคาไล (Alkali metals) เป็นหมู่ (คอลัมน์) ในตารางธาตุ ประกอบไปด้วยธาตุเคมี ลิเทียม (Li), โซเดียม (Na)สัญลักษณ์เคมี "Na" ของธาตุโซเดียมเป็นตัวย่อของคำว่า "นาเทรียม" (Natrium) ซึ่งเป็นคำในภาษาละติน และยังมีการใช้ชื่อนี้อยู่ในบางภาษา เช่น เยอรมัน หรือรัสเซีย ก่อนหน้านั้นโซเดียมถูกเสนอว่าให้มีสัญลักษณ์เคมีว่า So, โพแทสเซียม (K)สัญลักษณ์เคมี "K" ของธาตุโพแทสเซียม เป็นตัวย่อของคำว่า "คาเลียม" (Kalium) แต่ก็ยังมีการใช้ชื่อธาตุว่า คาเลียม ในบางภาษา เช่น เยอรมัน หรือ รัสเซีย ก่อนหน้านั้นโพแทสเซียมถูกเสนอให้มีสัญลักษณ์ว่า Po ซึ่งไปชนกับพอโลเนียม ที่มีสัญลักษณ์ทางเคมีว่า Po เหมือนกัน, รูบิเดียม (Rb), ซีเซียม (Cs) และแฟรนเซียม (Fr).

ใหม่!!: ลิเทียมและโลหะแอลคาไล · ดูเพิ่มเติม »

โลหะแอลคาไลน์เอิร์ท

ลหะแอลคาไลน์เอิร์ท (Alkaline earth metal) เป็นอนุกรมเคมี ในตารางธาตุ ประกอบด้วยธาตุเคมี ใน หมู่ที่ 2 ได้แก.

ใหม่!!: ลิเทียมและโลหะแอลคาไลน์เอิร์ท · ดูเพิ่มเติม »

โลหะเจือ

ลหะเจือ โลหะผสม หรือ อัลลอย (alloy) คือวัสดุที่เกิดจากการรวมกันของโลหะตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป โดยวัสดุโลหะเจือที่ได้จะมีคุณสมบัติแตกต่างจากส่วนประกอบเดิมของมัน โลหะเจือถ้าเกิดจากโลหะ 2 ชนิด เรียกว่า ไบนารี่อัลลอย (binary alloy), 3 ชนิด เรียกว่า เทอร์นารี่อัลลอย (ternary alloy), 4 ชนิด เรียกว่า ควอเทอร์นารี่อัลลอย (quaternary alloy) ตามธรรมดาโลหะเจือจะถูกออกแบบให้มีคุณสมบัติที่ต้องการมากกว่าการดูที่ส่วนผสมของมัน ตัวอย่างเช่น เหล็กกล้าจะแข็งแรงกว่าเหล็กซึ่งเป็นธาตุเหล็ก ทองเหลืองจะมีความทนทานมากกว่าทองแดง แต่มีความสวยงามน่าดึงดูดใจมากกว่าสังกะสี ต่างจากโลหะบริสุทธิ์ โลหะเจือหลายชนิดไม่ได้มีจุดหลอมเหลวจุดเดียว มันจะมีช่วงหลอมเหลว (melting range) แทน ซึ่งในวัสดุจะเป็นของผสมระหว่างเฟสของแข็งและของเหลว อุณหภูมิที่ซึ่งการหลอมเหลวเริ่มเรียกว่า โซลิดัส (solidus) และอุณหภูมิที่ซึ่งการหลอมเหลวหมดเรียกว่า ลิควิดัส (liquidus) โลหะเจือพิเศษสามารถจะออกแบบให้มีจุดหลอมเหลวเดียวได้ ซึ่งเรียกโลหะเจือนี้ว่า ยูทีติกมิกซ์เจอร์ (eutectic mixture) บางครั้งโลหะเจือตั้งชื่อตามโลหะพื้นฐาน เช่น ทอง 14 เค หรือ 14 การัต (58%) ทองคำ คือโลหะเจือที่มีทองอยู่ 58 % ที่เหลือเป็นโลหะอื่น เช่นเดียวกับ เงิน ใช้ในเพชร (jewellery) และอะลูมิเนียม โลหะเจือมีดังนี้.

ใหม่!!: ลิเทียมและโลหะเจือ · ดูเพิ่มเติม »

โซเดียม

ซเดียม (Sodium) เป็นธาตุในตารางธาตุซึ่งมีสัญลักษณ์ Na (จากคำว่า Natrium ในภาษาละติน) และหมายเลขอะตอม 11 โซเดียมเป็นโลหะอ่อน มีลักษณะเป็นไข มีสีเงิน และอยู่ในกลุ่มโลหะแอลคาไล โซเดียมมีมากในสารประกอบทางธรรมชาติ (โดยเฉพาะแฮไลต์) โซเดียมทำปฏิกิริยาได้ว่องไวมาก ให้เปลวไฟสีเหลือง ออกซิไดส์ในอากาศและทำปฏิกิริยาอย่างรุนแรงกับน้ำมากจนเกิดเปลวไฟได้ จึงจำเป็นต้องเก็บอยู่ในน้ำมัน.

ใหม่!!: ลิเทียมและโซเดียม · ดูเพิ่มเติม »

ไอโซโทป

แสดงไอโซโทปของไฮโดรเจนที่เกิดในธรรมชาติทั้งสามตัว ความจริงที่ว่าแต่ละไอโซโทปมีโปรตอนเพียงหนึ่งตัว ทำให้พวกมันทั้งหมดเป็นไฮโดรเจนที่แตกต่างกัน นั่นคือ ตัวตนของไอโซโทปถูกกำหนดโดยจำนวนของนิวตรอน จากซ้ายไปขวา ไอโซโทปเป็นโปรเทียม (1H) ที่มีนิวตรอนเท่ากับศูนย์, ดิวเทอเรียม (2H) ที่มีนิวตรอนหนึ่งตัว, และ ทริเทียม (3H) ที่มีสองนิวตรอน ไอโซโทป (isotope) เป็นความแตกต่างขององค์ประกอบทางเคมีที่เฉพาะเจาะจงของธาตุนั้นซึ่งจะแตกต่างกันในจำนวนของนิวตรอน นั่นคืออะตอมทั้งหลายของธาตุชนิดเดียวกัน จะมีจำนวนโปรตอนหรือเลขอะตอมเท่ากัน แต่มีจำนวนนิวตรอนต่างกัน ส่งผลให้เลขมวล(โปรตอน+นิวตรอน)ต่างกันด้วย และเรียกเป็นไอโซโทปของธาตุนั้น.

ใหม่!!: ลิเทียมและไอโซโทป · ดูเพิ่มเติม »

เมแทบอลิซึม

กระบวนการสร้างและสลาย หรือ เมแทบอลิซึม (metabolism) มาจากภาษากรีก μεταβολή ("metabolē") มีความหมายว่า "เปลี่ยนแปลง" เป็นกลุ่มปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในเซลล์สิ่งมีชีวิตเพื่อค้ำจุนชีวิต วัตถุประสงค์หลักสามประการของเมแทบอลิซึม ได้แก่ การเปลี่ยนอาหารและเชื้อเพลิงให้เป็นพลังงานในการดำเนินกระบวนการของเซลล์ การเปลี่ยนอาหารและเชื้อเพลิงเป็นหน่วยย่อยของโปรตีน ลิพิด กรดนิวคลิอิกและคาร์โบไฮเดรตบางชนิด และการขจัดของเสียไนโตรเจน ปฏิกิริยาเหล่านี้มีเอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เพื่อให้สิ่งมีชีวิตเติบโตและเจริญพันธุ์ คงไว้ซึ่งโครงสร้างและตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม "เมแทบอลิซึม" ยังสามารถหมายถึง ผลรวมของปฏิกิริยาเคมีทั้งหมดที่เกิดในสิ่งมีชีวิต รวมทั้งการย่อยและการขนส่งสสารเข้าสู่เซลล์และระหว่างเซลล์ กลุ่มปฏิกิริยาเหล่านี้เรียกว่า เมแทบอลิซึมสารอินเทอร์มีเดียต (intermediary หรือ intermediate metabolism) โดยปกติ เมแทบอลิซึมแบ่งได้เป็นสองประเภท คือ แคแทบอลิซึม (catabolism) ที่เป็นการสลายสสารอินทรีย์ ตัวอย่างเช่น การสลายกลูโคสให้เป็นไพรูเวต เพื่อให้ได้พลังงานในการหายใจระดับเซลล์ และแอแนบอลิซึม (anabolism) ที่หมายถึงการสร้างส่วนประกอบของเซลล์ เช่น โปรตีนและกรดนิวคลีอิก ทั้งนี้ การเกิดแคแทบอลิซึมส่วนใหญ่มักมีการปลดปล่อยพลังงานออกมา ส่วนการเกิดแอแนบอลิซึมนั้นจะมีการใช้พลังงานเพื่อเกิดปฏิกิริยา ปฏิกิริยาเคมีของเมแทบอลิซึมถูกจัดอยู่ในวิถีเมแทบอลิซึม (metabolic pathway) ซึ่งสารเคมีชนิดหนึ่งๆ จะถูกเปลี่ยนแปลงหลายขั้นตอนจนกลายเป็นสารชนิดอื่น โดยอาศัยการเข้าทำปฏิกิริยาของใช้เอนไซม์หลายชนิด ทั้งนี้ เอนไซม์ชนิดต่างๆ นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเกิดเมแทบอลิซึม เพราะเอนไซม์จะเป็นตัวกระตุ้นการเกิดปฏิกิริยาเคมีเหล่านั้น โดยการเข้าจับกับปฏิกิริยาที่เกิดเองได้ (spontaneous process) อยู่แล้วในร่างกาย และหลังการเกิดปฏิกิริยาจะมีปลดปล่อยพลังงานออกมา พลังงานที่เกิดขึ้นนี้จะถูกนำไปใช้ในปฏิกิริยาเคมีอื่นของสิ่งมีชีวิตที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้เองหากปราศจากพลังงาน จึงอาจกล่าวได้ว่า เอนไซม์ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ทำให้ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ของร่างกายดำเนินไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ เอนไซม์ยังทำหน้าที่ควบคุมวิถีเมแทบอลิซึมในกระบวนการการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในสิ่งแวดล้อมของเซลล์หรือสัญญาณจากเซลล์อื่น ระบบเมแทบอลิซึมของสิ่งมีชีวิตจะเป็นตัวกำหนดว่า สารใดที่มีคุณค่าทางโภชนาการและเป็นพิษสำหรับสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น โปรคาริโอตบางชนิดใช้ไฮโดรเจนซัลไฟด์เป็นสารอาหาร ทว่าแก๊สดังกล่าวกลับเป็นสารที่ก่อให้เกิดพิษแก่สัตว์ ทั้งนี้ ความเร็วของเมแทบอลิซึม หรืออัตราเมแทบอลิกนั้น ส่งผลต่อปริมาณอาหารที่สิ่งมีชีวิตต้องการ รวมไปถึงวิธีที่สิ่งมีชีวิตนั้นจะได้อาหารมาด้วย คุณลักษณะที่โดดเด่นของเมแทบอลิซึม คือ ความคล้ายคลึงกันของวิถีเมแทบอลิซึมและส่วนประกอบพื้นฐาน แม้จะในสปีชีส์ที่ต่างกันมากก็ตาม ตัวอย่างเช่น กลุ่มกรดคาร์บอกซิลิกที่ทราบกันดีว่าเป็นสารตัวกลางในวัฏจักรเครปส์นั้นพบได้ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่มีการศึกษาในปัจจุบัน ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวอย่างแบคทีเรีย Escherichia coli ไปจนถึงสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ขนาดใหญ่อย่างช้าง ความคล้ายคลึงกันอย่างน่าประหลาดใจของวิถีเมแทบอลิซึมเหล่านี้เป็นไปได้ว่าอาจเป็นผลเนื่องมาจากวิถีเมแทบอลิซึมที่ปรากฏขึ้นในช่วงแรกของประวัติศาสตร์วิวัฒนาการ และสืบมาจนถึงปัจจุบันเพราะประสิทธิผลของกระบวนการนี้.

ใหม่!!: ลิเทียมและเมแทบอลิซึม · ดูเพิ่มเติม »

เลือด

ม่ ไม่รู้.

ใหม่!!: ลิเทียมและเลือด · ดูเพิ่มเติม »

เลขอะตอม

เลขอะตอม (atomic number) หมายถึงจำนวนโปรตอนในนิวเคลียสของธาตุนั้นๆ หรือหมายถึงจำนวนอิเล็กตรอนที่วิ่งวนรอบนิวเคลียสของอะตอมที่เป็นกลาง เช่น ไฮโดรเจน (H) มีเลขอะตอมเท่ากับ 1 เลขอะตอม เดิมใช้หมายถึงลำดับของธาตุในตารางธาตุ เมื่อ ดมิทรี อีวาโนวิช เมนเดลีเยฟ (Dmitry Ivanovich Mendeleev) ทำการจัดกลุ่มของธาตุตามคุณสมบัติร่วมทางเคมีนั้น เขาได้สังเกตเห็นว่าเมื่อเรียงตามเลขมวลนั้น จะเกิดความไม่ลงรอยกันของคุณสมบัติ เช่น ไอโอดีน (Iodine) และเทลลูเรียม (Tellurium) นั้น เมื่อเรียกตามเลขมวล จะดูเหมือนอยู่ผิดตำแหน่งกัน ซึ่งเมื่อสลับที่กันจะดูเหมาะสมกว่า ดังนั้นเมื่อเรียงธาตุในตารางธาตุตามเลขอะตอม ตารางจะเรียงตามคุณสมบัติทางเคมีของธาตุ เลขอะตอมนี้ถึงแม้โดยประมาณ แล้วจะแปรผันตรงกับมวลของอะตอม แต่ในรายละเอียดแล้วเลขอะตอมนี้จะสะท้อนถึงคุณสมบัติของธาตุ เฮนรี โมสลีย์ (Henry Moseley) ได้ค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างการกระเจิงของ สเปกตรัมของรังสีเอ็กซ์ (x-ray) ของธาตุ และตำแหน่งที่ถูกต้องบนตารางธาตุ ในปี ค.ศ. 1913 ซึ่งต่อมาได้ถูกอธิบายด้วยเลขอะตอม ซึ่งอธิบายถึงปริมาณประจุในนิวเคลียส หรือ จำนวนโปรตอนนั่นเอง ซึ่งจำนวนของโปรตอนนี้เป็นตัวกำหนดคุณสมบัติทางเคมีของธาตุ หมวดหมู่:อะตอม ลเขอะตอม ลเขอะตอม.

ใหม่!!: ลิเทียมและเลขอะตอม · ดูเพิ่มเติม »

เหล็ก

หล็ก (Iron ออกเสียงว่า ไอเอิร์น /ˈaɪ.ərn/) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุ มีสัญลักษณ์ธาตุ Fe และหมายเลขอะตอม 26 เหล็กเป็นธาตุโลหะทรานซิชันหมู่ 8 และคาบ 4 สัญลักษณ์ Fe ย่อมาจาก ferrum ในภาษาละติน.

ใหม่!!: ลิเทียมและเหล็ก · ดูเพิ่มเติม »

เซรามิก

กระเบื้องเซรามิก เซรามิก (ceramic) เซรามิกมีรากศัพท์มาจากภาษากรีก keramos มีความหมายว่า สิ่งที่ถูกเผา ในอดีตวัสดุเซรามิกที่มีการใช้งานมากที่สุดคือ เซรามิกดั้งเดิม ทำมาจากวัสดุหลักคือดินเหนียว โดยในช่วงแรกเรียกผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ว่า ไชน่าแวร์ เพื่อเป็นเกียรติให้กับคนจีนซึ่งเป็นผู้บุกเบิกการผลิตเครื่องปั้นดินเผารุ่นแรก ๆสมบัต.

ใหม่!!: ลิเทียมและเซรามิก · ดูเพิ่มเติม »

เปลือกโลก

ภาพหน้าตัดของโลกทั้งหมด เปลือกโลก (Crust) เป็นเปลือกแข็งชั้นนอกสุดของโครงสร้างโลก มีทั้งที่เป็นแผ่นดิน และมหาสมุทร มีความหนาประมาณ 5 - 40 กิโลเมตร แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ เปลือกโลกภาคพื้นทวีป (Continental Crust) เป็นหินแกรนิต มักมีความหนามาก มีความหนาแน่นต่ำ ประกอบด้วยแร่ อะลูมินา และซิลิกา เป็นส่วนใหญ่ ทำให้มีชื่อเรียกว่า ชนิดไซอัล (SIAL) และเปลือกโลกภาคพื้นสมุทร (Oceanic Crust) เป็นหินบะซอลต์ มักจะมีความหนาน้อยกว่าเปลือกโลกภาคพื้นทวีป มีความหนาแน่นมากกว่า เนื่องจากประกอบด้วยแร่ แมกนีเซียม และซิลิกา เป็นส่วนใหญ่ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ชั้นไซมา (SIMA) แผ่นของเปลือกโลก (Crust of the Earth) ประกอบไปด้วยความหลากหลายของหินอัคนี หินแปร หินตะกอน รองรับด้วยชั้นเนื้อโลก Mantle ส่วนใหญ่ประกอบด้วยหิน peridotite หินที่มีความหนาแน่น และมีอยู่มากในเปลือกโลก รอยต่อระหว่างชั้นเปลือกโลก และชั้นเนื้อโลก หรือในทางธรณีวิทยาเรียกว่า ความไม่ต่อเนื่องของโมโฮโลวิคซิค (Mohorovicic’s discontinuity) คือเขตแดนที่ใช้เปรียบเทียบพฤติกรรมของคลื่นไหวสะเทือน หมวดหมู่:ธรณีวิทยา หมวดหมู่:เปลือกโลก.

ใหม่!!: ลิเทียมและเปลือกโลก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

LiLithiumลิเธียม

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »