โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ลิพิด

ดัชนี ลิพิด

รงสร้างลิพิด ลิพิดส่วนใหญ่ประกอบด้วยส่วนหัวเป็นโพลาร์ กรุ๊ป (P) และส่วนหางที่เป็นนอนโพลาร์ (U for unpolar) ลิพิดแสดงฟอสโฟลิพิด 2 หาง รูปซ้ายเป็นส่วนขยายของภาพทางขวา ที่แทน โซ่ลิพิด 1, 2 และ 3 เส้น ลิพิด (lipid) คือสารชีวโมเลกุลที่ไม่ละลายในน้ำ (water-insoluble) มีหลายชนิด หรือ สารประกอบ ไม่มีขั้ว (nonpolar) ละลายน้ำน้อยตลอดจนละลายน้ำมาก พวกที่ละลายน้ำได้มากจะเป็นสารประกอบจำพวก มีขั้ว (polar) ลิพิดบางตัวมีโมเลกุลเป็นเส้นตรง อะลิฟาติก (aliphatic) บางตัวมีวงแหวนเรียก อะโรมาติก (aromatic) บางตัวยืดหยุ่นบางตัวเปราะบาง โมเลกุลของลิพิดมีสองส่วนทั้งที่มีขั้วและไม่มีขั้ว จึงทำให้ลิพิดสามารถละลายได้ทั้งในตัวทำละลายมีขั้วเช่นน้ำ และไม่มีขั้วเช่นน้ำมัน โมเลกุลเหล่านี้เรียกว่า แอมฟิฟิลิก (amphiphilic) คือใน โมเลกุล เดียวกันมีทั้งส่วนที่ชอบน้ำ ไฮโดรฟิลิก (hydrophilic) และส่วนที่กลัวน้ำ ไฮโดรโฟบิก (hydrophobic) ตัวอย่างเช่น คอเลสเตอรอลส่วนที่มีขั้วคือ -OH (ไฮดรอกซิล หรือ แอลกอฮอล์).

23 ความสัมพันธ์: ฟอสโฟลิพิดฟอสเฟตพันธะโคเวเลนต์กรดไขมันกรดไขมันอิ่มตัวยูแคริโอตวิตามินอีวิตามินดีวิตามินเอวิตามินเคสฟิงโกลิพิดสหภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศสเตอรอยด์สเตอรอลฮอร์โมนคอเลสเตอรอลแอลกอฮอล์โมเลกุลไฮดรอกซิลไฮโดรโฟบิกไตรกลีเซอไรด์เลซิทินเอสเทอร์

ฟอสโฟลิพิด

Two schematic representations of a phospholipid. ฟอสโฟลิพิด (อังกฤษ:Phospholipids) เป็นโมเลกุลที่เกิดจาก 4 ส่วนประกอบ คือ.

ใหม่!!: ลิพิดและฟอสโฟลิพิด · ดูเพิ่มเติม »

ฟอสเฟต

ฟอสเฟต (phosphate) คือ หินชนิดหนึ่ง แร่ที่สำคัญของฟอสเฟต คือ อะพาไทต์ เกิดจากการสะสมตัวจากฟอสเฟต ส่วนใหญ่มักจะใช้ในอุตสาหกรรมปุ๋ยเคมี ไฟล์:3-phosphoric-acid-3D-balls.png| ไฟล์:2-dihydrogenphosphate-3D-balls.png| ไฟล์:1-hydrogenphosphate-3D-balls.png| ไฟล์:0-phosphate-3D-balls.png|.

ใหม่!!: ลิพิดและฟอสเฟต · ดูเพิ่มเติม »

พันธะโคเวเลนต์

ในโมเลกุลของฟลูออรีน อะตอมของธาตุฟลูออรีนสองอะตอมสร้างพันธะโคเวเลนต์กัน พันธะโคเวเลนต์ (Covalent bond) คือพันธะเคมี ภายในโมเลกุลลักษณะหนึ่ง พันธะโคเวเลนต์เกิดจากอะตอมสองอะตอมใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนหนึ่งคู่หรือมากกว่าร่วมกัน ทำให้เกิดแรงดึงดูดที่รวมอะตอมเป็นโมเลกุลขึ้น อะตอมมักสร้างพันธะโคเวเลนต์เพื่อเติมวงโคจรอิเล็กตรอนรอบนอกสุดให้เต็ม ดังนั้น อะตอมที่สร้างพันธะโคเวเลนต์จึงมักมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนอยู่มาก เช่น ธาตุหมู่ VI และหมู่ VII เป็นต้น พันธะโคเวเลนต์แข็งแรงกว่าพันธะไฮโดรเจนและมีความแข็งแรงพอ ๆ กับพันธะไอออนิก พันธะโคเวเลนต์มักเกิดขึ้นระหว่างอะตอมที่มีค่าอิเล็กโตรเนกาทิวิตีใกล้เคียงกัน ธาตุอโลหะมีแนวโน้มที่จะสร้างพันธะโคเวเลนต์มากกว่าธาตุโลหะซึ่งมักสร้างพันธะโลหะ เนื่องจากอิเล็กตรอนของธาตุโลหะสามารถเคลื่อนอย่างอิสระ ในทางกลับกัน อิเล็กตรอนของธาตุอโลหะไม่สามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระนัก การใช้อิเล็กตรอนร่วมกันจึงเป็นทางเลือกเดียวในการสร้างพันธะกับธาตุที่มีสมบัติคล้าย ๆ กัน อย่างไรก็ดี พันธะโคเวเลนต์ที่มีโลหะนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งในการเร่งปฏิกิริยา ตัวอย่างเช่น พันธะโคเวเลนต์ระหว่างสารอินทรีย์กับโลหะเป็นเครื่องมือสำคัญของกระบวนการสร้างพอลิเมอร์หลายๆ กระบวนการ เป็นต้น(cr.ดร.วัชราฃรณ์ ลาบา).

ใหม่!!: ลิพิดและพันธะโคเวเลนต์ · ดูเพิ่มเติม »

กรดไขมัน

กรดบูไตริก, ห่วงโซ่กรดไขมันสั้น กรดไขมัน (Fatty acid) เป็นกรดคาร์บอกซิลิก (carboxylic acid) ซึ่งมีหางเป็นโซ่แบบ อะลิฟาติก (aliphatic) ยาวมีทั้งกรดไขมันอิ่มตัว (saturated) และกรดไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated) กรดไขมันจะมีคาร์บอน อย่างน้อย 8 อะตอม และส่วนใหญ่จะเป็นจำนวนเลขคู่ เพราะกระบวนการชีวสังเคราะห์ ของกรดไขมันจะเป็นการเพิมโมเลกุลของอะซิเตต ซึ่งมีคาร์บอน อยู่ 2 อะตอม ในอุตสาหกรรม กรดไขมันผลิตโดยการไฮโดรไลสิส (hydrolysis) เอสเตอร์ ลิงเกจส์ ในไขมัน หรือน้ำมันในรูปของ ไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) ด้วยการกำจัด กลีเซอรอล ออกไป ดู โอลีโอเคมิคอล (oleochemical).

ใหม่!!: ลิพิดและกรดไขมัน · ดูเพิ่มเติม »

กรดไขมันอิ่มตัว

รงสร้างของกรดไมริสติก กรดไขมันอิ่มตัว (Saturated fat) คือ ไขมันที่เป็นไขมันเต็มตัว คือ ธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจนจับกันเป็นลูกโซ่โดย สมบูรณ์ และไม่มีช่องว่างเหลือที่จะทำปฏิกิริยากับสารใด ๆ ในร่างกาย พบมากในพวกไขมันสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว และไขมันจากกะทิ มะพร้าว เนย และไข่แดง กรดไขมันส่วนมากมีจำนวน C อะตอม C12 - C18 ชนิดที่มีจำนวน C อะตอมน้อยกว่า 12 ได้แก่ กรดบิวทาโนอิก C3H7COOH ที่พบในเนย กรดไขมันไม่ละลายน้ำ กรดไขมันจะมีจุดเดือดและจุด หลอมเหลวสูงขึ้นตามจำนวนคาร์บอนอะตอมที่เพิ่มขึ้น และกรดไขมันอิ่มตัวมีจุดเดือดสูงกว่า กรดไขมันไม่อิ่มตัว ที่มีมวลโมเลกุลใกล้เคียงกัน ถ้าเป็นกรดไขมันอิ่มตัวมาก จะเป็นไขมัน เช่น กรดลอริก (C12) กรดไมริสติก (C14) กรดปาล์มิติก (C16) กรดสเตียริก (C18) กรดไขมันอิ่มตัว คือกรดไขมันที่ไม่มีพันธะคู่ (double bond) หรือ หมู่ฟังก์ชัน (functional group) อื่นๆ ตามสายโซ่เลย คำว่าอิ่มตัวหมายถึง ไฮโดรเจนในที่ซึ่งคาร์บอน (ที่เป็นส่วนของคาร์บอกซิลิก แอซิด-COOH กรุ๊ป) มีไฮโดรเจนเกาะอยู่มากที่สุดที่จะเป็นไปได้ หรืออีกนัยหนึ่งคือที่ปลายโอเมก้าจะมี 3 ไฮโดรเจน (CH3-) และแต่ละคาร์บอนในสายโซ่จะมี 2 ไฮโดรเจน (-CH2-).

ใหม่!!: ลิพิดและกรดไขมันอิ่มตัว · ดูเพิ่มเติม »

ยูแคริโอต

ูแคริโอต (eukaryote) คือ สิ่งมีชีวิตที่เซลล์มีนิวเคลียสและโครงสร้างอื่น (ออร์แกเนลล์) อยู่ภายในเยื่อหุ้มเซลล์ ยูแคริโอตเป็นหน่วยอนุกรมวิธาน ยูคาร์ยาหรือยูแคริโอตา อย่างเป็นทางการ เยื่อหุ้มนิวเคลียสเป็นโครงสร้างที่นิยามเซลล์ยูแคริโอตแยกจากเซลล์โปรแคริโอต โดยภายในเยื่อหุ้มนิวเคลียสมีสารพันธุกรรม การมีนิวเคลียสเป็นที่มาของชื่อยูแคริโอต ซึ่งมาจากภาษากรีก ευ (eu, "ดี") และ κάρυον (karyon, "ผลมีเมล็ดเดียว" หรือ "เมล็ด") เซลล์ยูแคริโอตส่วนใหญ่ยังมีออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้มอื่นด้วย เช่น ไมโทคอนเดรียหรือกอลจิแอพพาราตัส นอกเหนือจากนี้ พืชและสาหร่ายยังมีคลอโรพลาสต์ สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวหลายชนิดเป็นยูแคริโอต เช่น โปรโตซัว แต่สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ทุกชนิดเป็นยูแคริโอต ซึ่งได้แก่ สัตว์ พืชและเห็ดรา การแบ่งเซลล์ในยูแคริโอตแตกต่างจากสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีนิวเคลียส (โปรแคริโอต) มีกระบวนการแบ่งตัวสองประเภท คือ ไมโทซิสและไมโอซิส ไมโทซิสเป็นการที่เซลล์หนึ่งแบ่งตัวได้เซลล์ที่มีพันธุกรรมเหมือนกันสองเซลล์ ในไมโอซิสซึ่งจำเป็นในการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ เซลล์ดิพลอยด์หนึ่ง (ซึ่งมีโครโมโซมสองชุด ชุดหนึ่งมาจากพ่อ อีกชุดหนึ่งมาจากแม่) มีการจับคู่โครโมโซมจากพ่อแม่แต่ละคู่ใหม่ แล้วผ่านการแบ่งเซลล์อีกสองขั้นตอน จนได้เซลล์แฮพลอยด์สี่เซลล์ (เซลล์สืบพันธุ์) เซลล์สืบพันธุ์แต่ละเซลล์มีโครโมโซมชุดเดียว ซึ่งเป็นการผสมโครโมโซมจากพ่อแม่คู่เดียวกัน โดเมนยูแคริโอตาดูเหมือนมาจากชาติพันธุ์เดียว (monophyletic) จึงเป็นหนึ่งในสามโดเมนของสิ่งมีชีวิต อีกสองโดเมน ได้แก่ แบคทีเรียและอาร์เคีย เป็นโปรแคริโอตและไม่มีคุณสมบัติที่กล่าวมาข้างต้น ยูแคริโอตเป็นสิ่งมีชีวิตส่วนน้อยมาก อย่างไรก็ดี เนื่องจากยูแคริโอตมีขนาดใหญ่กว่ามาก มวลชีวภาพรวมทั่วโลกจึงประมาณว่าเท่ากับมวลชีวภาพของโปรแคริโอตWhitman, Coleman, and Wiebe,, Proc.

ใหม่!!: ลิพิดและยูแคริโอต · ดูเพิ่มเติม »

วิตามินอี

วิตามินอี เป็นวิตามินที่ละลายได้ในไขมัน ช่วยในการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายหลายระบบ และเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยให้เซลล์ต่างๆ รอดอันตรายจากท็อกซิน ช่วยชะลอความแก่ได้.

ใหม่!!: ลิพิดและวิตามินอี · ดูเพิ่มเติม »

วิตามินดี

วิตามินดี หมายถึง เซกโคสเตอรอยด์ (secosteroids) ที่ละลายในไขมันกลุ่มหนึ่งซึ่งทำหน้าที่เสริมการดูดซึมแคลเซียม เหล็ก แม็กนีเซียม ฟอสเฟตและสังกะสี ในมนุษย์ สารประกอบที่สำคัญที่สุดในกลุ่มนี้ คือ วิตามินดี3 (หรือ คอเลแคลซิเฟรอล) และวิตามินดี2 (เออร์โกแคลซิเฟรอล) คอเลแคลซิเฟรอลและเออร์โกแคลซิเฟรอลสามารถดูดซึมจากอาหารและอาหารเสริมได้ มีอาหารน้อยชนิดมากที่มีวิตามินดี การสังเคราะห์วิตามินดี (โดยเฉพาะคอเลแคลซิเฟรอล) ในผิวหนังเป็นแหล่งของวิตามินดังกล่าวตามธรรมชาติที่สำคัญเพียงแหล่งเดียว การสังเคราะห์วิตามินดีของผิวหนังจากคอเลสเตอรอลอาศัยการได้รับแสงแดด (โดยเฉพาะรังสียูวีบี) หมวดหมู่:วิตามิน หมวดหมู่:ยา หมวดหมู่:โมเลกุลชีวภาพ.

ใหม่!!: ลิพิดและวิตามินดี · ดูเพิ่มเติม »

วิตามินเอ

รงสร้างของเรตินอล วิตามินเอที่พบได้บ่อย วิตามินเอ เป็นวิตามินที่ละลายได้ในไขมัน มีส่วนประกอบสำคัญของคอร์เนีย และยังมีผลต่อการเจริญเติบโต การสร้างกระดูก และระบบสืบพันธุ์ นอกจากนี้ ยังป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ และระบบขับปัสสาวะ ทำให้ผิวและผมแข็งแรง ค้นพบโดย ดร.

ใหม่!!: ลิพิดและวิตามินเอ · ดูเพิ่มเติม »

วิตามินเค

วิตามิน K1 (phylloquinone). วิตามิน K2 (menaquinone) วิตามินเค เป็นวิตามินในกลุ่มที่ละลายได้ดีในไขมัน รูปแบบที่พบในธรรมชาติ มี 2 รูปแบบ ได้แก่ วิตามินเค I (Vitamin K I) หรือ ฟิลโลควิโนน (phylloquinone) เป็นรูปแบบที่พบในพืชและสัตว์ และ วิตามินเค II (Vitamin K II) หรือ เมนาควิโนน (menaquinone) เป็นรูปแบบที่พบในเนื้อเยื่อตับ และยังสามารถสร้างได้โดยแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในร่างกาย สำหรับวิตามินเค III (Vitamin K III) หรือ เมนาไดโอน (menadione) นั้น เป็นโมเลกุลที่สังเคราะห์ขึ้น ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็น เมนาควิโนน โดยตั.

ใหม่!!: ลิพิดและวิตามินเค · ดูเพิ่มเติม »

สฟิงโกลิพิด

รงสร้างทางเคมีโดยทั่วไปของสฟิงโกลิพิด สฟิงโกซายน์ สฟิงโกลิพิด (Sphingolipids) เป็นการรวมตัวของสฟิงโกซายน์ (Sphingosine) กับกรดไขมันและหมู่ฟอสเฟต เป็นไขมันที่เป็นองค์ประกอบในเยื่อหุ้ม และมีบทบาทในการจดจำระหว่างเซลล์ พบมากในเนื้อเยื่อประสาทและสมอง.

ใหม่!!: ลิพิดและสฟิงโกลิพิด · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศ

หภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศ (International Union of Pure and Applied Chemistry, ย่อ: IUPAC /ไอยูแพ็ก/) เป็นสหพันธ์ระหว่างประเทศซึ่งประกอบด้วยองค์กรที่เป็นตัวแทนของนักเคมีในแต่ละประเทศ สหภาพฯ เป็นสมาชิกของสภาสหภาพวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศ (ICSU) มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สำนักงานบริหาร หรือที่รู้จักกันในชื่อ "สำนักเลขาธิการ IUPAC" ตั้งอยู่ที่อุทยานสามเหลี่ยมวิจัย รัฐนอร์ทแคโรไลนา สหรัฐอเมริกา สำนักงานบริหารแห่งนี้นำโดยผู้อำนวยการบริหารของ IUPAC IUPAC ก่อตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: ลิพิดและสหภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

สเตอรอยด์

ตอรอยด์ (อังกฤษ: steroid) เป็นลิพิดที่มีคุณสมบัติพิเศษ โดยที่โครงสร้างคาร์บอนจะเป็นวงแหวน 4 วงเชื่อมต่อกัน ความแตกต่างของชนิดสเตอรอยด์จะผันแปรไปตามฟังก์ชันนัลกรุป (functional group) ที่ติดอยู่กับวงแหวนเหล่านี้ มีสเตอรอยด์แตกต่างกันนับร้อยชนิดที่สามารถตรวจพบในพืชและสัตว์ ตัวอย่างบทบาทสำคัญของสเตอรอยด์ในสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่คือ ฮอร์โมน Steroid skeleton. Carbons 18 and above can be absent. ในสรีรวิทยาและการแพทย์ของมนุษย์ สารสเตอรอยด์ที่สำคัญส่วนใหญ่ คือ คอเลสเตอรอล, สเตอรอยด์, ฮอร์โมน และสารตั้งต้น (precursor) และเมแทบอไลต์ คอเลสเตอรอลเป็นสารประกอบประเภท สเตอรอยด์แอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ในสัตว์ แต่อย่างไรก็ดี ถ้ามันมีปริมาณมากเกินไปจะทำให้เกิดโรค และภาวะผิดปกติมากมาย เช่น ภาวะผนังเส้นโลหิตแดงหนาและมีความยึดหยุ่นน้อยลง (atherosclerosis) สเตอรอยด์อื่นส่วนใหญ่ถูกสังเคราะห์จาก คอเลสเตอรอลฮอร์โมนต่าง ๆ เช่น ฮอร์โมนเพศของสัตว์มีกระดูกสันหลัง (vertebrate) ก็เป็นสเตอรอยด์ที่สร้างจากคอเลสเตอรอล สเตอรอยด์แบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้.

ใหม่!!: ลิพิดและสเตอรอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

สเตอรอล

รงสร้างสเตอรอล สเตอรอล (อังกฤษ:Sterols) หรือ สเตอรอยด์ แอลกอฮอล (steroid alcohols) เป็นหมู่ย่อยของ สเตอรอยด์ กับ ไฮดรอกซิล กรุ๊ป ในตำแหน่งที่ 3 ของวงแหวน A มันเป็น ลิพิด สังเคราะห์จาก อะซิทิล โคเอนไซม์ เอ สเตอรอล มีดังนี้.

ใหม่!!: ลิพิดและสเตอรอล · ดูเพิ่มเติม »

ฮอร์โมน

อร์โมน (hormone มาจากภาษากรีก horman แปลว่า เคลื่อนไหว) คือ ตัวนำส่งสารเคมีจากเซลล์กลุ่มของเซลล์หนึ่งไปยังเซลล์อื่น ๆ สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ (multicellular organism) ทั้งพืชและสัตว์ สามารถผลิตฮอร์โมนได้ที่ ต่อมไร้ท่อ (endocrine gland) โมเลกุลของฮอร์โมนจะถูกปล่อยโดยตรงยังกระแสเลือด ของเหลวในร่างกายอื่นๆ หรือเนื้อเยื่อใกล้เคียง หน้าที่ของฮอร์โมน คือการส่งสัญญาณให้ทำงานหรือหยุดทำงาน เช่น.

ใหม่!!: ลิพิดและฮอร์โมน · ดูเพิ่มเติม »

คอเลสเตอรอล

อเลสเตอรอล (Cholesterol) เป็นทั้งสารสเตอรอยด์ ลิพิด และแอลกอฮอล์ พบในเยื่อหุ้มเซลล์ของทุกเนื้อเยื้อในร่างกายและถูกขนส่งในกระแสเลือดของสัตว์ คอเลสเตอรอลส่วนใหญ่ไม่ได้มากับอาหารแต่จะถูกสังเคราะห์ขึ้นภายในร่างกาย จะสะสมอยู่มากในเนื้อเยื้อของอวัยวะที่สร้างมันขึ้นมาเช่น ตับ ไขสันหลัง สมอง และผนังหลอดเลือดแดง (atheroma) คอเลสเตอรอลมีบทบาทในกระบวนการทางชีวเคมีมากมาย ในอดีต-ปัจจุบันคนส่วนใหญ่เข้าใจว่าคอเลสเตอรอลเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหัวใจหลอดเลือด และภาวะคอเลสเทอรอลสูงในเลือด (Hypercholesterolemia) แต่กลุ่มนักโภชนาการบำบัดบางกลุ่มอ้างว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดโรค และภาวะดังกล่าวนั้น เกิดจากการที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป ส่งผลให้ของเสียของน้ำตาล นั่นก็คือ CO2 (คาร์บอนไดออกไซด์) ทำให้เกิดภาวะเป็นกรดในหลอดเลือด กัดเซาะผนังหลอดเลือดจนเสียหาย ร่างก่ายจึงต้องส่งคอเลสเตอรอลมาซ่อมแซมผนังหลอดเลือดที่เสียหาย ร่างกายใช้คอเลสเตอรอลเป็นสารเบื้องต้นในการสร้างฮอร์โมนเพศทุกชนิด สร้างน้ำดี สร้างสารสเตอรอลที่อยู่ใต้ผิวหนังให้เป็นเป็นวิตามินดี เมื่อโดนแสงแดด คอเลสเตอรอลจะพบมากในไข่แดง เครื่องในสัตว์ และอาหารทะเล ค่อนข้างสูง ร่างกายสามารถสังเคราะห์เองได้แต่ไม่เพียงพอกับความต้องการ.

ใหม่!!: ลิพิดและคอเลสเตอรอล · ดูเพิ่มเติม »

แอลกอฮอล์

รงสร้างของแอลกอฮอล์ ในทางเคมี แอลกอฮอล์ (alcohol) คือสารประกอบอินทรีย์ ที่มีหมู่ไฮดรอกซิล (-OH) ต่อกับอะตอมคาร์บอนของหมู่แอลคิลหรือหมู่ที่แทนแอลคิล สูตรทั่วไปของแอลกอฮอล์แบบอะลิฟาติกไฮโดรคาร์บอน (สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่เป็นสายตรง) คือ CnH2n+1OH โดยทั่วไป แอลกอฮอล์ มักจะอ้างถึงเอทานอลเกือบจะเพียงอย่างเดียว หรือเรียกอีกอย่างว่า grain alcohol ซึ่งเป็นของเหลวที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และสามารถระเหยได้ ซึ่งเกิดจากการหมักน้ำตาล นอกจากนี้ยังสามารถใช้อ้างถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นที่มาของคำว่าโรคพิษสุรา (alcoholism) เอทานอลเป็นยาเสพติดที่มีฤทธิ์กดประสาท ที่ลดการตอบสนองของระบบประสาทส่วนกลาง แอลกอฮอล์ชนิดอื่น ๆ จะอธิบายด้วยคำวิเศษณ์เพิ่มเติม เช่น isopropyl alcohol (ไอโซโพรพิล แอลกอฮอล์) หรือด้วยคำอุปสรรคว่า -ol เช่น isopropanol (ไอโซโพรพานอล).

ใหม่!!: ลิพิดและแอลกอฮอล์ · ดูเพิ่มเติม »

โมเลกุล

โครงสร้างสามมิติ (ซ้ายและกลาง) และโครงสร้างสองมิติ (ขวา) ของโมเลกุลเทอร์พีนอย โมเลกุล (molecule) เป็นส่วนที่เล็กที่สุดของสสารซึ่งสามารถดำรงอยู่ได้ตามลำพังและยังคงความเป็นสารดังกล่าวไว้ได้ โมเลกุลประกอบด้วยอะตอมของธาตุมาเกิดพันธะเคมีกันกลายเป็นสารประกอบชนิดต่าง ๆ ใน 1 โมเลกุล อาจจะประกอบด้วยอะตอมของธาตุทางเคมีตัวเดียว เช่น ออกซิเจน (O2) หรืออาจจะมีหลายธาตุก็ได้ เช่น น้ำ (H2O) ซึ่งเป็นการประกอบร่วมกันของ ไฮโดรเจน 2 อะตอมกับ ออกซิเจน 1 อะตอม หากโมเลกุลหลายโมเลกุลมาเกิดพันธะเคมีต่อกัน ก็จะทำให้เกิดสสารขนาดใหญ่ขึ้นมาได้ เช่น (H2O) รวมกันหลายโมเลกุล เป็นน้ำ มโลเกุล มโลเกุล หมวดหมู่:โมเลกุล.

ใหม่!!: ลิพิดและโมเลกุล · ดูเพิ่มเติม »

ไฮดรอกซิล

ำว่า หมู่ไฮดรอกซิล(hydroxyl group) ใช้ในการกล่าวถึงหมู่ฟังก์ชัน -OH ในสารประกอบอินทรีย์ (organic compounds) สารประกอบอินทรีย์ที่ประกอบด้วยหมู่ไฮดรอกซิลเราจะเรียกว่าสารประเภทแอลกอฮอล์ (สูตรเคมีอย่างง่ายของแอลกอฮอล์คือ CnH2n+1 -OH).

ใหม่!!: ลิพิดและไฮดรอกซิล · ดูเพิ่มเติม »

ไฮโดรโฟบิก

หยดน้ำบนใบไม้ที่มีสมบัติไฮโดรโฟบิก ไฮโดรโฟบิก (hydrophobic) ซึ่งหมายถึง ไม่ชอบน้ำ สารเหล่านี้ไม่สามารถแตกตัวให้ไอออนได้หรือเป็นโมเลกุลที่ไม่มีขั้วจึงไม่สามารถยึดติดกับโมเลกุลของน้ำได้ ไฮโดรโฟบิก มีที่มาจากคำว่า ไฮโดร แปลว่าน้ำ และ โฟบิก แปลว่า กลัว ฮไฮโดรโฟบิก.

ใหม่!!: ลิพิดและไฮโดรโฟบิก · ดูเพิ่มเติม »

ไตรกลีเซอไรด์

ตัวอย่างไตรกลีเซอไรด์ ซ้าย: กลีเซอรอล, ขวาจากบนลงล่าง: กรดพาล์มมิติก, กรดโอเลอิก, กรดลิโนเลนิก, สูตรเคมี: C55H98O6 ไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) หรือไตรเอซิลกลีเซอรอล (Triacylglycerol) เป็นไขมันที่ประกอบด้วยกรดไขมันสามโมเลกุลรวมตัวกับกลีเซอรอลหนึ่งโมเลกุล กรดไขมันที่มาประกอบเป็นไตรกลีเซอไรด์นั้นอาจจะเป็นกรดไขมันชนิดเดียวกัน เช่น ไตรสเตียริน มีกรดสเตียริกเป็นองค์ประกอบเท่านั้น หรือเป็นกรดไขมันคนละชนิด เช่น 1-พาล์มิโทสเตียริน (1-Palmitostearin) หมายถึงไตรกลีเซอไรด์ที่กรดไขมันตัวแรกเป็นกรดพาล์มมิติก ส่วนกรดไขมันตัวที่ 2 และ 3 เป็นกรดสเตียริก เป็นพลังงานสะสมในสัตว์ และใช้สะสมใต้ผิวหนังเพื่อรักษาอุณหภูมิของร่างกาย โดยสะสมในเซลล์ไขมัน (Adipocyte หรือ Fat cell) ในรูปเม็ดไขมัน หรืออยู่ในรูปไมเซลล์ (Micelle) ปัญหาและอันตรายจากโรคไตรกลีเซอไรด์สูงในเลือดทำให้ หลอดเลือดแดงแข็งตัว ถ้าเกิดที่หัวใจทำให้เป็นโรคหัวใจขาดเลือด ถ้าเกิดที่สมองทำให้เป็นอัมพาต หรือ ทำให้เกิดอาการร่วมคือ ปวดท้อง ตับโต ม้ามโต และทำให้ระบบประสาททำงานผิดปกติ ปวดข้อ แหล่งอาหารที่ทำให้ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ได้แก่ อาหารทุกชนิดที่มีปริมาณไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันสัตว์ น้ำตาล อาหารรสหวานจัด ขนมหวานทุกชนิด เนื่องจากร่างกายสามารถนำไปสร้างเป็นไตรกลีเซอไรด์ คนอายุ 30 ปีขึ้นไปไม่ควรมีค่า triglyceride เกิน 200 mg/dl.

ใหม่!!: ลิพิดและไตรกลีเซอไรด์ · ดูเพิ่มเติม »

เลซิทิน

ตัวอย่างโครงสร้างทางเคมีของสารประกอบกลุ่มเลซิทิน เลซิทิน (lecithin) เป็นไขมันชนิดฟอสโฟไลปิค (phospholipid) ที่มีความจำเป็นต่อเซลล์ทุกชนิดในร่างกาย เยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane) ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุมการเข้าออกของสารอาหาร ถ้าไม่มีเลซิทินจะมีลักษณะแข็งและขาดความยืดหยุ่น นอกจากนี้ยังพบว่าเลซิทินเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มสมอง กล้ามเนื้อ และเซลล์ประสาท เลซิทินยังมีคุณสมบัติเป็น emulsifier หรือสารที่ทำให้น้ำกับน้ำมันเข้ากันได้ ดังนั้นจะพบว่าได้มีการนำมาใช้ในการควบคุมโคเลสเทอรอลในเลือดอย่างแพร่หลาย เลซิทินพบได้มากในถั่วเหลือง แต่แหล่งอาหารอื่น ๆ ที่ให้เลซิทินยังมีอีกมากมาย อาทิ ไข่แดง ตับ ข้าวโอ๊ต กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก เนื้อสัตว์ ปลา บริวเวอร์ยีสต์ และพืชบางชนิด ทั้งนี้อาจจะรวมถึงผลิตภัณฑ์ Multi-Vitamin ที่มีเลซิทินผสมอยู่ด้วย เลซิทินที่วางจำหน่ายในท้องตลาดมีอยู่สองชนิด คือ แกรนูล และแคปซูล ชนิดแกรนูลนิยมรับประทาน โดยผสมกับเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ เช่น นม นมเปรี้ยว น้ำผลไม้ ฯลฯ และยังนิยมให้ผสมหรือโปรยบนอาหารประเภทต่าง ๆ อีกด้วย สารสำคัญที่พบในเลซิทิน ได้แก่ ฟอสฟาทิดิลโคลีน (phosphatidylcholine) เป็น ซึ่งสารนี้จะให้วิตามินบีชนิดหนึ่ง เรียกว่า โคลีน สารโคลีนเป็นสารต้นตอในการสังเคราะห์สารสื่อประสาท อะซีทิลโคลีน (acetylcholine) ส่วนประกอบอื่น ๆ ของเลซิทิน ได้แก่ ฟอสฟาทิดิลอิโนซิทอล ฟอสฟาทิดิลเอททาโนลามีน กรดไลโนเลอิก ฯลฯ.

ใหม่!!: ลิพิดและเลซิทิน · ดูเพิ่มเติม »

เอสเทอร์

อสเทอร์กรดคาร์บอกซิลิก R และ R' แสดงถึงหมู่แอลคิลหรือแอริล เอสเทอร์กรดฟอสฟอริก เอสเทอร์ เป็นสารประกอบทางเคมีที่เกิดจากออกโซแอซิด (หนึ่งในหมู่ oxo, X.

ใหม่!!: ลิพิดและเอสเทอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Lipidลิปิดไลพิดไลปิด

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »