โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ลานเซลอต

ดัชนี ลานเซลอต

ซอร์ลานเซลอต จาก ''The Book of Knowledge'' ค.ศ. 1911 ตามตำนานกษัตริย์อาร์เทอร์ เซอร์ลานเซลอต (Sir Lancelot; Lancelot du Lac หรือบางครั้งก็สะกด Launcelot) เป็นหนึ่งในอัศวินโต๊ะกลมของกษัตริย์อาร์เทอร์ ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในอัศวินที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและเป็นที่ไว้วางใจของอาร์เทอร์มากที่สุด มีบทบาทสำคัญในการพิชิตศึกหลายครั้งของอาร์เทอร์ ลานเซลอตมีชื่อเสียงมากในวรรณกรรมเนื่องมาจากเรื่องรักลักลอบกับราชินีของอาร์เทอร์ คือ กวินิเวียร์ ตลอดจนบทบาทที่เกี่ยวข้องกับการค้นหาจอกศักดิ์สิทธิ์ มีวรรณกรรมโรแมนซ์หลายเรื่องบรรยายถึงชีวิตและการผจญภัยของลานเซลอต ซึ่งโดยมากมักจะขัดแย้งกับเรื่องที่เป็นพื้นหลัง และมักสับสนในลำดับเหตุการณ์ เขาปรากฏตัวครั้งแรกในฐานะตัวละครหลักของเรื่อง Le Chevalier de la Charette ("Lancelot, the Knight of the Cart") ของ เครเตียง เดอ ทรัว ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 เมื่อถึงคริสต์ศตวรรษที่ 13 เขามีบทบาทสำคัญอยู่ในตำนานชุด Vulgate โดยมีเนื้อหาเป็นของตนเองหนึ่งบทเต็ม ๆ ที่รู้จักในชื่อ Prose Lancelot.

5 ความสัมพันธ์: กวินิเวียร์กษัตริย์อาเธอร์อัศวินโต๊ะกลมจอกศักดิ์สิทธิ์เครเตียง เดอ ทรัว

กวินิเวียร์

''กวินิเวียร์'' โดยวิลเลียม มอร์ริส กวินิเวียร์ (Guinevere) เป็นชื่อราชินีในตำนานของกษัตริย์อาร์เทอร์ มีชื่อเสียงในวรรณกรรมจากเรื่องรักลักลอบกับหัวหน้าอัศวินของอาร์เทอร์ คือ เซอร์ลานเซลอต การที่คนทั้งสองคบคิดกันหักหลังอาร์เทอร์ นำไปสู่ความล่มสลายของอาณาจักร.

ใหม่!!: ลานเซลอตและกวินิเวียร์ · ดูเพิ่มเติม »

กษัตริย์อาเธอร์

รูปปั้นกษัตริย์อาเธอร์ ที่โบสถ์ Hofkirche, Innsbruck, ออสเตรีย ออกแบบโดย Albrecht Dürer และสร้างโดย Peter Vischer ผู้พ่อ ในคริสต์ทศวรรษ 1520Barber, Richard (2004), ''The Holy Grail: Imagination and Belief'', London: Allen Lane, ISBN 978-0713992069. กษัตริย์อาเธอร์ (King Arthur) เป็นกษัตริย์อังกฤษผู้มีชื่อเสียงโด่งดังในตำนานเล่าขานในฐานะวีรบุรุษในยุคกลาง ซึ่งได้ปกป้องเกาะบริเตนจากการรุกรานของชาวแซกซันในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 5ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 6 รายละเอียดส่วนใหญ่เกี่ยวกับกษัตริย์อาเธอร์ปรากฏอยู่ในเรื่องเล่าขาน ตำนานพื้นบ้าน และวรรณกรรมที่แต่งขึ้น นักประวัติศาสตร์ยังคงถกเถียงกันอยู่ว่ากษัตริย์อาเธอร์มีตัวตนอยู่ในประวัติศาสตร์จริงหรือไม่Higham, N. J. (2002), King Arthur, Myth-Making and History, ลอนดอน: Routledge, ISBN 978-0415213059.

ใหม่!!: ลานเซลอตและกษัตริย์อาเธอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อัศวินโต๊ะกลม

อัศวินโต๊ะกลม (Knights of the Round Table) เป็นชื่อกลุ่มคนที่ได้รับแต่งตั้งเกียรติยศอย่างสูงสุดในราชสำนักของกษัตริย์อาร์เทอร์ ในชุดตำนานที่ปรากฏในตำนานแห่งบริเตน โต๊ะกลมอันเป็นโต๊ะประชุมของพวกเขานั้นสร้างขึ้นเพื่อสื่อถึงความเท่าเทียมกันของสมาชิกทุกคน ไม่มีด้านหัวหรือด้านท้าย วรรณกรรมเกี่ยวกับกษัตริย์อาร์เทอร์แต่ละเรื่องอาจจะกล่าวถึงจำนวนอัศวินที่ไม่เท่ากัน ตั้งแต่ 12-150 คน หรือมากกว่านั้น สำหรับ Winchester Round Table ซึ่งบันทึกในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1270 มีรายชื่ออัศวินทั้งสิ้น 25 คน.

ใหม่!!: ลานเซลอตและอัศวินโต๊ะกลม · ดูเพิ่มเติม »

จอกศักดิ์สิทธิ์

''How at the Castle of Corbin a Maiden Bare in the Sangreal and Foretold the Achievements of Galahad'': ภาพวาดโดย Arthur Rackham ค.ศ. 1917 จอกศักดิ์สิทธิ์ (Holy Grail) เป็นภาชนะซึ่งเป็นแกนเรื่องสำคัญในวรรณกรรมอาเธอร์ ตำนานหลายเรื่องพรรณนาว่า เป็นถ้วย ชาม หรือศิลา ซึ่งมีอำนาจเหนือธรรมชาติบันดาลให้เกิดความสุข ความเยาว์วัยชั่วนิรันดร์ หรือชีวิตอมตะ คำว่า "จอกศักดิ์สิทธิ์" ยังมักใช้เรียกสิ่งของหรือเป้าหมายที่ไขว่คว้าหากันเพราะเชื่อว่า มีความสำคัญยิ่งยวด การกล่าวถึง "จอก" วิเศษ แม้ไม่ปรากฏชัดว่า ศักดิ์สิทธิ์ด้วยหรือไม่นั้น ปรากฏครั้งแรกในนิยายวีรคติเรื่อง แปร์เซอวัลเลอกงต์ดูกราล (Perceval, le Conte du Graal; "แปร์เซอวาลตำนานจอก") ผลงานซึ่งเขียนไม่เสร็จของเครเตียง เดอ ทรัว (Chrétien de Troyes) ในราว..

ใหม่!!: ลานเซลอตและจอกศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

เครเตียง เดอ ทรัว

รเตียง เดอ ทรัว เครเตียง เดอ ทรัว (Chrétien de Troyes) เป็นกวีชาวฝรั่งเศสผู้มีชื่อเสียงในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12 ไม่ทราบความเป็นมาเกี่ยวกับตัวเขามากนัก แต่ดูเหมือนจะมาจากเมืองทรัว หรือมีความเกี่ยวพันกับเมืองนั้นอย่างใดอย่างหนึ่ง เขาทำงานรับใช้ผู้อุปถัมภ์ คือ เคาน์เตส มารี เดอ แชมเปญ บุตรีของเอเลียนอร์แห่งอควิไทน์ ระหว่าง..

ใหม่!!: ลานเซลอตและเครเตียง เดอ ทรัว · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ลันซล็อตลานซล็อตเซอร์ลันซล็อต

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »