โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รูปขบวนเชิงยุทธวิธี

ดัชนี รูปขบวนเชิงยุทธวิธี

การจัดกระบวนทัพนาวีของกองทัพเรือ การจัดกำลังพลเชิงยุทธวิธี คือการจัดเรียงหรือการใช้งานหน่วยรบเคลื่อนที่เช่นทหารราบ ทหารม้า อากาศยาน และเรือรบ การจัดกระบวนทัพนี้มีการใช้มาแต่โบราณไม่ว่าจะในชนเผ่ามาวรี หรือในสมัยโบราณ หรือสมัยกลาง เช่น กำแพงโล่ (นอร์สโบราณ:skjaldborg) ฟาลังซ์ การจัดกระบวนเชืงยุทธวิธีนั้นรวมไปถึง.

12 ความสัมพันธ์: ชาวมาวรีกระบวนทัพสี่เหลี่ยมจัตุรัสภาษานอร์สโบราณรูปขบวนลิ่มสมัยกลางสมัยโบราณอากาศยานทหารม้าทหารราบแถวหน้ากระดานแถวตอนเรือรบ

ชาวมาวรี

มาวรี เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่เป็นชนพื้นเมืองของประเทศนิวซีแลน.

ใหม่!!: รูปขบวนเชิงยุทธวิธีและชาวมาวรี · ดูเพิ่มเติม »

กระบวนทัพสี่เหลี่ยมจัตุรัส

หน่วยทหารราบอังกฤษในยุคนโปลีโอนิกจัดกระบวนทัพสี่เหลี่ยมจัตุรัส กระบวนทัพสี่เหลี่ยมจัตุรัสเป้นกระบวนทัพของทหารราบที่จัดเป็นกระบวนแถวปิดเพื่อรับการโจมตีของทหารม้.

ใหม่!!: รูปขบวนเชิงยุทธวิธีและกระบวนทัพสี่เหลี่ยมจัตุรัส · ดูเพิ่มเติม »

ภาษานอร์สโบราณ

ภาษานอร์สโบราณ (Norrœnt mál) เป็นภาษากลุ่มเจอร์แมนิกเหนือ พูดในสแกนดิเนเวียและอาณานิคมโพ้นทะเลของชาวสแกนดิเนเวียในยุคไวกิงจนถึงประมาณค.ศ. 1300 ภาษานอร์สโบราณพัฒนามาจากภาษานอร์สดั้งเดิมในคริสต์ศตวรรษที่ 8 และพัฒนาไปเป็นภาษาเจอร์แมนิกเหนือหลายภาษาหลังยุคไวกิง ภาษาในปัจจุบันที่มาจากภาษานอร์สโบราณได้แก่ภาษาไอซ์แลนด์ แฟโร นอร์เวย์ เดนมาร์ก และสวีเดน นอร์สโบราณ นอร์สโบราณ นอร์สโบราณ หมวดหมู่:ประเทศกลุ่มนอร์ดิก.

ใหม่!!: รูปขบวนเชิงยุทธวิธีและภาษานอร์สโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

รูปขบวนลิ่ม

แนวกำแพงโล่ของเปอร์เชียร์ในยุทธการเธอร์โมไพเล กระบวนทัพรูปลิ่ม คือการจัดกำลังพลเชิงยุทธวิธีที่มีรูปแบบคล้ายลิ่มหรือหัวหอก การจัดกระบวนทัพแบบนี้มีใช้ทั้งในกองทัพและตำรวจปราจลาจล.

ใหม่!!: รูปขบวนเชิงยุทธวิธีและรูปขบวนลิ่ม · ดูเพิ่มเติม »

สมัยกลาง

แบบจำลองของหมวกหุ้มเกราะซึ่งถูกพบที่ซัททันฮู ในหลุมศพของผู้นำชาวแองโกล-แซกซัน สันนิษฐานว่าเป็นกษัตริย์ราวปี ค.ศ. 620 ในช่วงต้นสมัยกลางNees ''Early Medieval Art'' pp. 109–112 สมัยกลาง หรือ ยุคกลาง (Middle Ages) คือช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ยุโรป ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยปกติแล้วเริ่มนับตั้งแต่การล่มสลายลงของจักรวรรดิโรมันตะวันตก (การสิ้นสุดของสมัยคลาสสิก) จนถึงจุดเริ่มตั้นของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และยุคแห่งการสำรวจ ซึ่งเป็นยุคที่นำไปสู่สมัยใหม่ในเวลาต่อมา สมัยกลางคือช่วงเวลาตรงกลางของกระบวนการเปลี่ยนผ่านในประวัติศาสตร์ตะวันตกคือ สมัยคลาสสิก สมัยกลาง และสมัยใหม่ นอกจากนี้สมัยกลางยังถูกแบ่งออกเป็นสามช่วงเวลาคือ ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages), สมัยกลางยุครุ่งโรจน์ (High Middle Ages) และปลายสมัยกลาง (Late Middle Ages) ในยุคกลางตอนต้น การลดลงของประชากร, การหดตัวของเมือง และการรุกรานจากอนารยชน เริ่มต้นขึ้นในยุคโบราณตอนปลายและดำเนินไปอย่างรวดเร็ว เหล่าอนารยชนผู้บุกรุกเข้าตั้งอาณาจักรของตนในส่วนที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 แอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันตะวันออก ได้กลายไปเป็นจักรวรรดิอิสลามหลังจากถูกยึดครองโดยผู้สืบทอดของนบีมุฮัมมัด แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและโครงสร้างทางการเมืองมากมาย แต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนไปจากยุคโบราณคลาสสิคอย่างสิ้นเชิง จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ยังคงอยู่รอดและรักษาอำนาจของตนเอาไว้ได้ นอกจากนี้แล้วอาณาจักรเกิดใหม่ส่วนใหญ่ยังคงเกี่ยวพันอยู่กับสถาบันที่หลงเหลืออยู่ของชาวโรมัน ในขณะที่วัดวาอารามของคริสต์ศาสนาได้แผ่ขยายไปทั่วยุโรปตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 และ 8 ชาวแฟรงก์ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียงได้สถาปนาจักรวรรดิขึ้นซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกมีนามว่า จักรวรรดิการอแล็งเฌียง ซึ่งยืนยงไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9 เมื่อจักรวรรดิล่มสลายลงจากแรงงกดดันของการรุกรานจากภายนอก เช่น ชาวไวกิงจากทางเหนือ ชาวแมกยาร์จากทางตะวันออก และชาวซาราเซนจากทางใต้ ช่วงต้นสมัยกลางซึ่งเริ่มขึ้นหลังคริสต์ศตวรรษที่ 10 ประชากรของยุโรปขยายตัวอย่างมากจากการที่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและทางการเกษตรทำให้การค้าขายเจริญรุ่งเรืองและการทำเรือกสวนไร่นาขยายตัว ระบบมาเนอร์ - องค์กรของชาวนาตามหมู่บ้านที่ติดค้างค่าเช่าที่ดินและหน้าที่ด้านแรงงานแก่ขุนนาง และระบบเจ้าขุนมูลนาย - โครงสร้างทางการเมืองที่ซึ่งอัศวินและขุนนางศักดิ์ต่ำกว่าติดค้างหน้าที่ด้านการทหารแก่เจ้านายผู้มีศักดิ์สูงกว่าของพวกเขาแลกกับสิทธิ์ในการเก็บค่าเช่าที่ดินและชาวนาใต้ปกครอง สองระบบนี้คือระเบียบของสังคมที่ใช้กันในยุคกลางตอนกลาง ต่อมาอาณาจักรเริ่มรวมศูนย์อำนาจมากขึ้นภายหลังการล่มสลายลงของจักรวรรดิคาโรแล็งเชียง สงครามครูเสดซึ่งเริ่มขึ้นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: รูปขบวนเชิงยุทธวิธีและสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

สมัยโบราณ

ฟาโรห์ ผู้ปกครองอารยธรรมอียิปต์ อารยธรรมที่โด่งดังในสมัยโบราณ สาธารณรัฐโรมัน อารยธรรมที่โด่งดังอีกแห่งในสมัยโบราณ สมัยโบราณ (Ancient history) ในความหมายที่เป็นสากล จะหมายถึง ช่วงเวลาที่มนุษย์รู้จักการตั้งถิ่นฐานถาวร สร้างอารยธรรม วัฒนธรรม อักษรต่าง ๆ ขึ้นมา ซึ่งในแต่ละประเทศ สมัยโบราณจะมาถึงเร็วหรือช้า จะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับว่าช่วงเวลาใดทีประเทศนั้นอยู่ในช่วงสร้างและประดิษฐ์อารยธรรมที่จะเป็นหลักฐานยืนยันได้ว่าอารยธรรมของประเทศนี้เริ่มต้นขึ้นแล้ว ช่วงเวลานั้น ของประเทศนั้น ก็จะจัดอยู่ในช่วงสมัยโบราณ สมัยโบราณโดยเฉลี่ยของโลกจะตรงกับ 3,500 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 476 เพราะในช่วงเวลาดังกล่าว อารยรรมที่โด่งดังจำนวนมากของโลกถือกำเนิดในช่วงนี้ เช่น อารยธรรมโรมัน กรีก เมโสโปเตเมีย จีน อินเดีย อียิปต์ ฯลฯ นักประวัติศาสตร์ทั่วโลกจึงกำหนดช่วงเวลาดังกล่าวให้เป็นสมัยโบราณโดยเฉลี่ยของโลก สมัยโบราณโดยเฉลี่ยของโลก สิ้นสุดใน ค.ศ. 476 เมื่อจักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลายลง เหลือแต่จักรวรรดิโรมันตะวันออก ที่เปิดเมืองรับเอาศาสนาคริสต์เข้ามามีบทบาทสูงในสังคมโรมัน และอิทธิพลของโรมันก็แผ่ขยายไปทั่วยุโรป และไปทั่วโลก ทำให้โลกโดยรวมออกจากสมัยโบราณ เข้าสู่สมัยกลาง (Middle Ages) ทางด้านอารยธรรมสมัยโบราณของต่างประเทศ โดยเฉพาะในแถบยุโรป มีอารยธรรมที่น่าสนใจเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก เช่น อารยธรรมอียิปต์ กรีก โรมัน บุคคลที่มีชีวิตอยู่ในช่วงหลายพันปีก่อน แล้วยังมีชื่อเสียงอยู่จนถึงปัจจุบันมีมากมาย เช่น จูเลียส ซีซาร์, คลีโอพัตรา รวมทั้งฟาโรห์หลายพระองค์แห่งอียิปต.

ใหม่!!: รูปขบวนเชิงยุทธวิธีและสมัยโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

อากาศยาน

รื่องบินแอร์บัส A-380 อากาศยานโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลก อากาศยาน (aircraft)หมายถึงสิ่งหรือเครื่องที่สามารถบินได้โดยได้รับการรองรับจากอากาศ หรือโดยทั่วไปคือชั้นบรรยากาศของโลก มันสามารถต้านแรงดึงดูดของโลกโดยใช้แรงลอยตัว(แรงยกอยู่กับที่)(Buoyancy หรือ static lift) หรือใช้แรงยกพลศาสตร์(dynamic lift)ของ airfoil อย่างใดอย่างหนึ่ง, หรือมีไม่กี่กรณีที่ใช้แรงขับลงด้านล่าง(downward thrust)จากเครื่องยนต์ไอพ่น กิจกรรมของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับอากาศยานเรียกว่า การบิน (aviation) อากาศยานที่มีลูกเรือจะถูกบินโดยนักบินที่อยู่บนเครื่อง แต่ยานพาหนะทางอากาศไร้คนขับอาจถูกควบคุมโดยระยะไกลหรือควบคุมตัวเองโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่บนเครื่อง อากาศยานถูกแยกประเภทโดยเกณฑ์ที่แตกต่างกัน เช่นรูปแบบของการยกตัว การขับเคลื่อน การใช้งานและอื่นๆ อากาศยานที่มีคนขับนั้นขับด้วยบุคคลที่เรียกว่า นักบิน จนกระทั่งในคริสต์ทศวรรษที่ 1960 ก็มีอากาศยานแบบที่ไม่มีคนขับเกิดขึ้น มีชื่อเรียกว่า "drone" ในช่วงทศวรรษที่ 1960 นั้น กองทัพสหรัฐได้นำคำว่า อากาศยานที่ควบคุมจากระยะไกล (remotely piloted vehicle (RPV)) มาใช้เรียกชื่ออากาศยานชนิดนี้ ปัจจุบันอากาศยานชนิดนี้มีชื่อเรียกโดยทั่วไปว่า อากาศยานไร้คนขับ (unmanned aerial vehicle (UAV)).

ใหม่!!: รูปขบวนเชิงยุทธวิธีและอากาศยาน · ดูเพิ่มเติม »

ทหารม้า

ทหารม้าโปแลนด์ (Polish cavalry) ในปี 1938 ทหารม้าบนรถถัง ทหารม้า (Cavalry) หมายถึง ทหารที่จะต้องทำการรบ โดยใช้อาวุธต่างๆ เช่น ดาบ, ทวน หรือปืน บนหลังม้า แต่ในปัจจุบันได้เปลี่ยนมาเป็นใช้รถถังและพาหนะเคลื่อนที่เร็วแทน ทหารม้าเป็นทหารเหล่าหนึ่งในกองทัพบก ที่ใช้ม้าหรือสิ่งกำเนิดความเร็วอื่นๆ เป็นพาหนะ เป็นเหล่ารบที่มีความสำคัญและจำเป็นเหล่าหนึ่งสำหรับกองทหารขนาดใหญ่ เช่นเดียวกับเหล่าทหารราบ ทหารปืนใหญ่ ทหารช่าง ฯลฯ มีความแตกต่างกับ ทหารราบขี่ม้า (Light Horse) ทหารราบบรรทุกม้าหรือยานพาหนะใดๆ ก็ตาม จะใช้ม้าหรือยานพาหนะที่ว่าในการเดินทางเข้า-ออกสนามรบเท่านั้นในกรณีปกติ เครื่องหมายเหล่าเป็นรูปกระบี่ไขว้ประกอบกับเกือกม้าและรถถัง นอกจากนี้ เฮลิคอปเตอร์เอง ก็ถูกจัดว่าเป็นหน่วยทหารม้าเช่นกัน.

ใหม่!!: รูปขบวนเชิงยุทธวิธีและทหารม้า · ดูเพิ่มเติม »

ทหารราบ

ทหารราบชาวอังกฤษในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ทหารราบ (infantry) คือทหารที่มีหน้าที่เข้าดำเนินกลยุทธ์ในการรบโดยใช้อำนาจการยิงจากอาวุธประจำกาย เพื่อเข้ายึดพื้นที่ และทำลายข้าศึก มีขีดสามารถเคลื่อนที่โดยตนเอง ไม่จำเป็นต้องพึ่งยานพาหนะเป็นจำนวนมาก ถือได้ว่าเป็นเหล่าทหารที่มีจำนวนมากที่สุด ได้รับฉายาว่า "ราชินีแห่งสนามรบ" มีเครื่องหมายเป็นรูปปืนเล็กไขว้ประกอบกับตับกระสุน หมวดหมู่:ทหาร หมวดหมู่:ทหารราบ.

ใหม่!!: รูปขบวนเชิงยุทธวิธีและทหารราบ · ดูเพิ่มเติม »

แถวหน้ากระดาน

ทำศึก ''The Thin Red Line'' ภาพวาดแสดงการรบด้วยแถวหน้ากระดานต่อต้านทหารม้า กระบวนทัพแถวหน้ากระดาน คือการจัดกำลังพลเชิงยุทธวิธีขั้นพื้นฐานที่ถูกใช้มาตลอดประวัติศาสตร์ เป็นกระบวนทัพที่มีอำนาจยิงตรงหน้าสูงที่สุดแลกกับการสูญเสียสมรรถนะในการเคลื่อนกำลังและการต้านทานการโจมตีของทหารม้า กระบวนทัพแถวหน้ากระดานได้รับความสนใจอย่างมากในยุคแห่งเหตุผล โดยสมเด็จพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียได้ทรงใช้กระบวนทัพนี้อย่างได้ผลในสงครามเจ็ดปี กระบวนทัพแถวหน้ากระดานสำหรับกองทัพทหารราบนั้น ทหารจะเรียงกันเป็นแถวหลายแถว ตั้งแต่สองถึงห้าแถว แต่สามแถวมักจะถูกใช้งานมากที่สุด แถวหน้ากระดานแต่ละแถวมีระยะห่างระหว่างกันประมาณครึ่งเมตร และทหารแต่ละนายในแถวจะยืนค่อนข้างชิดกัน โดยทั่วไปใช้ระยะหนึ่งช่วงแขน ซึ่งจะทำให้ทหารมีพื้นที่มากพอที่ใช้งานอาวุธประจำกายรวมทั้งการยิงและบรรจุใหม่ การใช้งานกระบวนทัพแถวหน้ากระดานนั้น ทหารจะต้องได้รับการฝึกมาอย่างดีและต้องการการควบคุมจากนายทหาร (ทั้งชั้นประทวนและสัญญาบัตร) ใน คริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18 กองทัพในยุโรปมักจะให้ทหารชั้นประทวนยืนประจำอยู่ตอนท้าย มีทวนยาวเป็นอาวุธประจำกายซึ่งทวนยาวนี้จะใช้เป็นทั้งเครื่องประดับและใช้ในการจัดแถวทหาร ในการฝึกแถวทหาร ทวนยาวนี้จะถูกใช้ในการกดปืนของพลทหารที่ประทับเล็งสูงเกินไป และใช้ในการจัดแถวทหารให้สวยงามถูกต้อง การเคลื่อนกำลังพลด้วยกระบวนทัพแถวหน้ากระดานนี้จะช้ามาก ยกเว้นว่ากองทัพนั้นจะได้รับการฝึกมาอย่างยอดเยี่ยม กระบวนทัพแถวหน้ากระดานสามารถเสียรูปอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะในยุทธบริเวณที่เป็นป่า ด้วยเหตุนี้กระบวนทัพแถวหน้ากระดานมักจะถูกใช้ในการตั้งรับเป็นส่วนมาก โดยหน่วยทหารจะเคลื่อนที่ด้วยกระบวนทัพแถวตอนและปรับกระบวนเป็นแถวหน้ากระดานเมื่อถึงที่หมาย กระบวนทัพแถวหน้ากระดานนี้ อ่อนแอต่อการบุกเข้าตีของทหารม้าอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อถุกเข้าตีทางปีกและทางท้าย ซึ่งการโจมตีนี้จะทำให้รูปกระบวนหน้ากระดานเสียกระบวนและพังทลายในที่สุด เว้นแต่ว่ากองทหารจะแปรกระบวนให้เป็นกระบวนทัพสี่เหลี่ยมจตุรัสได้ ในช่วงสงครามนโปเลียน กองทัพอังกฤษนำกระบวนแถวหน้ากระดานสองแถวแคบมาประยุกต์ใช้อย่างได้ผลเพื่อชดเชยข้อเสียเปรียบด้านกำลังพลและเพิ่มอำนาจยิงตรงหน้า ส่วนมากแล้วกระบวนแถวหน้ากระดานมักจะถูกทำลายด้วยการโจมตีของทหารม้า แต่ในยุทธการบลักลาวาโดยกรมทหารเดินเท้าที่ 93 แห่งสหราชอาณาจักรสามารถใช้กระบวนทัพแถวหน้ากระดานต่อต้านการโจมตีของทหารม้ารัสเซียได้ จนกลายเป็่นที่มาของสำนวน "The Thin Red Line" กระบวนทัพแถวหน้ากระดานแบบหลวม ๆ ถูกใช้งานในกลายกองทัพในปัจจุบันในระหว่างปฏิบัติการเข้าตีเพื่อเพิ่มอำนาจยิงตรงหน้าให้มากที่สุด มีประโยชน์ในการโจมตีที่มั่นข้าศึก และสามารถประยุกต์ใช้เป็นยุทธวิธีเคลื่อนที่ยิงได้ หมวดหมู่:รูปขบวนเชิงยุทธวิธี.

ใหม่!!: รูปขบวนเชิงยุทธวิธีและแถวหน้ากระดาน · ดูเพิ่มเติม »

แถวตอน

ลักษณะกระบวนทัพแถวตอน สมรภูมิเธอร์โมไพเลด้วยกระบวนทัพแถวตอน กระบวนทัพแถวตอน คือการจัดกำลังพลเชิงยุทธวิธีที่ใช้งานมาแต่ยุคโบราณได้ตั้งแต่การเดินทัพแถวตอนเดี่ยวของหน่วยทหารไปจนถึงหลายแถวตอนประกอบเข้าด้วยกัน โดยระยะตอนลึกของกระบวนทัพนั้นจะกว้างกว่าทางกว้าง (แถวหน้ากระดาน) กระบวนทัพแถวตอนนี้สามารถประยุกต์ใช้กับการเคลื่อนกำลังพลเชิงยุทธวิธีสำหรับยานพาหนะและเรือได้อีกด้วย ข้อดีของกระบวนทัพแถวตอน.

ใหม่!!: รูปขบวนเชิงยุทธวิธีและแถวตอน · ดูเพิ่มเติม »

เรือรบ

เรือรบในศตวรรษที่ 17 เรือรบ (Warship) คือเรือที่ถูกสร้างมาสำหรับใช้ในการสงคราม เรือรบนั้นจะถูกสร้างให้แตกต่างจากเรือสินค้าอย่างสิ้นเชิง โดยออกแบบมาให้บรรทุกอาวุธ และสามารถทนต่อการยิงของลูกกระสุนของฝ่ายตรงข้ามได้ดี เรือรบถูกใช้มากในสงครามโลกครั้งที่สอง และพัฒนาขึ้นมากจากแต่ก่อน เรือรบอาจจะแบ่งได้หลายลักษณะตามการใช้งาน โดยมีวิวัฒนาการตามรูปแบบของสงครามทางเรือที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย กล่าวคือในยุคสมัยแรกเรือรบ มีหน้าที่เพียงบรรทุกทหาร เสบียง อาวุธยุทโธปกรณ์ เพื่อนำไปส่งอีกที่หนึ่ง แล้วจึงทำการรบกันบนบกเท่านั้น เช่นเรือแกลเลย์ของกรีกในยุคโบราณ ต่อมาได้มีการติดอาวุธไปกับเรือ คือ ปืนใหญ่ชนิดบรรจุท้าย ทำให้เกิดยุทธนาวีหรือการรบกันกลางทะเลขึ้นมา โดยมีอาวุธปืนเป็นปัจจัยสำคัญในการรบ ในสมัยศตวรรษที่ 16 การเดินเรือด้วยเรือใบมีความสำคัญมาก เทคโนโลยีการต่อเรือสมัยนั้นสามารถต่อเรือที่มีขนาดใหญ่พอที่จะใช้เดินทางข้ามมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ไพศาลได้ สำหรับเรือรบของประเทศไทยนั้นจะมีการเรียกว่า เรือหลวง (รล.) มาจาก เรือของในหลวง โดยจะมีหลักการตั้งชื่อตามการใช้งาน และประเภทของเรือ เช่น เรือดำน้ำ ผู้มีอิทธิฤทธิ์ในการดำน้ำ เรือพิฆาต พระมหากษัตริย์ เรือทุ่นระเบิด สมรภูมิที่สำคัญ เรือเร็วโจมตี ชื่อเรือโบราณ เรือฟริเกตต์ แม่น้ำสำคัญ เรือช่วยรบ ชื่อเกาะ รบ หมวดหมู่:ยุทโธปกรณ์ หมวดหมู่:เรือรบ.

ใหม่!!: รูปขบวนเชิงยุทธวิธีและเรือรบ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

การจัดกำลังพลเชิงยุทธวิธี

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »