โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รูดอล์ฟ ชไตเนอร์

ดัชนี รูดอล์ฟ ชไตเนอร์

รูดอล์ฟ โยเซฟ ลอเรินซ์ ชไตเนอร์ (Rudolf Joseph Lorenz Steiner) เป็นนักปรัชญา, นักปฏิรูปสังคม และสถาปนิกชาวออสเตรีย เขามีชื่อเสียงขึ้นมาในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 จากการวิจารณ์แนวคิดและตีพิมพ์ผลงานด้านปรัชญาต่างๆ ผลงานชิ้นเด่นคือหนังสือ The Philosophy of Freedom เขากลายเป็นผู้ก่อตั้งองค์กรลับด้านเจตนิยมซึ่งต่อมาคือสำนักมานุษยวิทยา แนวคิดขององค์กรนี้ได้รับอิทธิพลมาจากเทวปรัชญาและอุดมคติเยอรมัน.

10 ความสัมพันธ์: ญาณวิทยามานุษยวิทยาศาสนาคริสต์อภิปรัชญาอิมมานูเอล คานต์จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีซอล เบลโลว์ปรัชญาโยฮันน์ วอล์ฟกัง ฟอน เกอเทอเทวญาณ

ญาณวิทยา

ญาณวิทยา หรือ ญาณศาสตร์ (epistemology) หมายถึงวิชาว่าด้วยความรู้ หรือทฤษฎีความรู้ ขอบเขตการศึกษาของญาณวิท.

ใหม่!!: รูดอล์ฟ ชไตเนอร์และญาณวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

มานุษยวิทยา

มานุษยวิทยา (anthropology) คือ วิชาที่เกี่ยวกับมนุษย์ มานุษยวิทยา เกิดจาก วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ, มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร.

ใหม่!!: รูดอล์ฟ ชไตเนอร์และมานุษยวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

ใหม่!!: รูดอล์ฟ ชไตเนอร์และศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

อภิปรัชญา

อภิปรัชญา (Metaphysics) ซึ่งเป็นศาสตร์สาขาหนึ่งของ ปรัชญา ที่ว่าด้วยความแท้จริงหรือสารัตถะ (Reality Essence) ซึ่งรวมทั้ง ชีวิต โลก และ ภาวะเหนือธรรมชาติ เช่น พระเจ้าอดิศักดิ์ ทองบุญ, คู่มืออภิปรัชญา, ราชบัณฑิตยสถาน ISBN 974-575-939-2 มีปรัชญาอีกสาขาหนึ่งที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับ อภิปรัชญาคือ Ontology แปลว่า ภววิทยา ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยความมี (being) ศาสตร์ทั้งสองนี้มีความเกี่ยวข้องกันเพราะว่า Metaphysics คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยความแท้จริงหรือสารัตถะว่ามีจริงหรือไม่ Ontology ก็ศึกษาเรื่องความมีอยู่ของความแท้จริง หรือสารัตถะนั้นเป็นจริงอย่างไรโดยทั่วไปถือว่าศาสตร์ทั้งสองนี้ศึกษาเรื่องเดียวกัน คือ ความมีอยู่ของความแท้จริง หรือความแท้จริงที่มีอยู่ เพราะฉะนั้นจึงถือว่าศาสตร์ทั้งสองเป็นเรื่องเดียวกัน.

ใหม่!!: รูดอล์ฟ ชไตเนอร์และอภิปรัชญา · ดูเพิ่มเติม »

อิมมานูเอล คานต์

อิมมานูเอิล คานท์ อิมมานูเอล คานต์ (Immanuel Kant; 22 เมษายน ค.ศ. พ.ศ. 2267 - 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2347) เป็นนักปรัชญาชาวเยอรมัน จากแคว้นปรัสเซีย ได้รับการยกย่องโดยทั่วไปว่า เป็นนักคิดที่มีอิทธิพลมากที่สุดของยุโรป และเป็นนักปรัชญาคนสำคัญคนสุดท้ายของยุคแสงสว่าง เขาสร้างผลกระทบที่สำคัญไปถึงนักปรัชญาสายโรแมนติกและสายจิตนิยม ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 งานของเขาเป็นจุดเริ่มของเฮเกล คานต์เป็นที่รู้จักเนื่องจากแนวคิดของเขา ที่เรียกว่าจิตนิยมอุตรวิสัย (transcendental idealism) ที่กล่าวว่ามนุษย์ใช้แนวคิดบางอย่างที่ติดตัวมาแต่กำเนิด (innate idea) ในการรับรู้ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นรอบตัวในโลก เรารับรู้โลกโดยผ่านทางประสาทสัมผัสประกอบกับมโนภาพที่ติดตัวมานี้ ดังนั้นเราจึงไม่สามารถล่วงรู้หรือเข้าใจใน "สรรพสิ่งที่แท้" ได้ ความรู้ต่อสรรพสิ่งที่เรามีนั้นจึงเป็นได้แค่เพียงภาพปรากฏ ที่เรารับรู้ได้ผ่านทางประสาทสัมผัสเท่านั้น ญาณวิทยา (epistemology) หรือทฤษฎีความรู้ของคานต์นั้น เกิดขึ้นเพื่อแก้ความขัดแย้งระหว่างปรัชญาสายเหตุผลนิยมที่กล่าวว่า ความรู้สามารถสร้างขึ้นได้ไม่จำเป็นต้องใช้ประสบการณ์ กับปรัชญาสายประสบการณ์นิยมที่กล่าวว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่เรารู้มีที่มาจากประสบการณ์ คานต์ได้เชื่อมแนวคิดที่ขัดแย้งกันทั้งสอง ดังคำกล่าวที่เขาเองเปรียบเปรยว่าเป็นการปฏิวัติแบบโคเปอร์นิคัส (Copernical Revolution) โดยสรุปคร่าวๆ ได้เป็นประโยคขึ้นต้นของหนังสือ บทวิพากษ์ของการใช้เหตุผล (Critique of Pure Reason) ว่า "แม้ว่าความรู้ทั้งหมดที่เรามีจะมีจุดเริ่มต้นจากประสบการณ์ แต่นั่นมิได้หมายความว่าความรู้ทั้งหมดนั้นเกิดขึ้นมาจากประสบการณ์" ใน Critique of Pure Reason ยังได้นำเสนอเนื้อหาของหลักทางศีลธรรม (จริยศาสตร์) ที่ยังคงมีอิทธิพลต่อแนวความคิดด้านจริยธรรมของโลกตะวันตกมาจนถึงปัจจุบัน ตลอดจนอาจกล่าวได้ว่าเขาเป็นบิดาแห่งแนวคิดเรื่องสหประชาชาติ ดังที่ปรากฏในความเรียงว่าด้วยเรื่องสันติภาพถาวรของเขาได้เสนอให้มีการจัดตั้งองค์กรระหว่างประเทศขึ้นเพื่อยุติความขัดแย้งและความโหดร้ายของสงคราม กระทั่งสันนิบาตชาติและตามด้วยสหประชาชาติได้เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน.

ใหม่!!: รูดอล์ฟ ชไตเนอร์และอิมมานูเอล คานต์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี

ักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี รู้จักกันในนาม ออสเตรีย-ฮังการี (Austria-Hungary) เป็นจักรวรรดิที่มีระบอบการปกครองแบบควบคู่ (Dual Monarchy) เจริญรุ่งเรืองตั้งแต่ปีพ.ศ. 2410 จนถึง พ.ศ. 2461 หลังจากนั้น จักรวรรดินี้ถูกล้มล้างหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 จักรวรรดินี้ได้สืบทอดมาจากจักรวรรดิออสเตรีย (ค.ศ. 1804-ค.ศ. 1867) โดยมีอาณาเขตพื้นที่เดียวกัน โดยมีต้นกำเนิดจากการเจรจาต่อรองระหว่างออสเตรียและฮังการี เมื่อปีพ.ศ. 2410 ซึ่งทั้งสองประเทศนี้ถูกปกครองโดยราชวงศ์ฮับส์บูร์กมาช้านาน โดยเจรจาให้มีการรวมอาณาจักรเป็นหนึ่งเดียว โดยจักรวรรดินี้เป็นอาณาจักรที่มีหลากหลายเชื้อชาติและมีความเจริญรุ่งเรืองขีดสุด ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และอุตสาหกรรม ราชวงศ์ฮับส์บูร์กนั้นได้ปกครองประเทศในฐานะจักรพรรดิแห่งออสเตรีย (Emperor of Austria) และราชอาณาจักรฮังการีในฐานะกษัตริย์แห่งฮังการี (Apostolic King of Hungary) ผู้ทรงเปรียบเสมือนเบื้องขวาแห่งองค์พระผู้เป็นเจ้า นอกจากนั้นยังได้ปกครองทั่วทั้งทางตะวันตกและทางเหนือ รวมทั้งครึ่งหนึ่งของทวีปยุโรปเลยทีเดียว โดยทุกประเทศที่อยู่ภายใต้จักรวรรดินี้ มีรัฐบาลเป็นของตนเอง มิได้มีรัฐบาลและศูนย์กลางทางการเมืองหรือรัฐบาลที่ประเทศเดียว เมืองหลวงของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีนั้น มีอยู่ 2 เมืองด้วยกันคือ กรุงเวียนนา ที่ประเทศออสเตรีย และกรุงบูดาเปสต์ที่ประเทศฮังการี จักรวรรดินี้มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากจักรวรรดิรัสเซีย และเป็นอาณาจักรที่มีประชากรหนาแน่นเป็นอันดับ 3 รองจากจักรวรรดิรัสเซียและจักรวรรดิเยอรมัน ซึ่งปัจจุบันนี้ พื้นที่ที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดินั้นมีประชากรรวมทั้งหมดถึง 73 ล้านคน.

ใหม่!!: รูดอล์ฟ ชไตเนอร์และจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี · ดูเพิ่มเติม »

ซอล เบลโลว์

ซอล เบลโลว์ หรือ โซโลมอน เบลโลว์ (Saul Bellow หรือ Solomon Bellows) (10 มิถุนายน ค.ศ. 1915 - 5 เมษายน ค.ศ. 2005) ซอล เบลโลว์เป็นนักเขียนคนสำคัญชาวอเมริกันที่เกิดในแคนาดา เบลโลว์ได้รับทางวรรณกรรมหลายรางวัลที่รวมทั้งรางวัลพูลิตเซอร์ในปี..

ใหม่!!: รูดอล์ฟ ชไตเนอร์และซอล เบลโลว์ · ดูเพิ่มเติม »

ปรัชญา

มัยคลาสสิกไว้ในภาพเดียวกัน คำว่า ปรัชญา มีที่มามาจากภาษาสันสกฤต หมายถึงความรู้อันประเสริฐ โดยมีรากศัพท์มาจากคำว่า ปฺร ที่แปลว่าประเสริฐ กับ คำว่า ชฺญา ที่แปลว่ารู้ ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติโดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ แทนคำว่า philosophy ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำΦιλοσοφία ซึ่งไพธากอรัสเป็นผู้บัญญัติไว้ เมื่อราวศตวรรษที่ 6 ก่อน..

ใหม่!!: รูดอล์ฟ ชไตเนอร์และปรัชญา · ดูเพิ่มเติม »

โยฮันน์ วอล์ฟกัง ฟอน เกอเทอ

โยฮันน์ วอล์ฟกัง ฟอน เกอเทอ โยฮันน์ วอล์ฟกัง ฟอน เกอเทอ (Johann Wolfgang von Goethe, 28 สิงหาคม พ.ศ. 2292 — 22 มีนาคม พ.ศ. 2375) เป็นผู้รู้รอบด้านชาวเยอรมัน เขาเป็นทั้งนักเขียนนิยาย นักเขียนบทละคร นักสิทธิมนุษยชน นักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา รวมถึงดำรงตำแหน่งสมาชิกคณะบริหารของไวมาร์ในประเทศเยอรมนีอยู่ 10 ปี เกอเทอเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของวรรณคดีเยอรมัน คลาสสิกใหม่ของยุโรปและโรมัน ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 เกอเทอและงานของเขาได้ส่งผลไปทั่วยุโรปและได้สร้างแรงบันดาลใจกับงานต่อ ๆ มาทางด้าน ดนตรี การละคร และกวี หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2292 หมวดหมู่:นักเขียนชาวเยอรมัน หมวดหมู่:นักวิทยาศาสตร์ หมวดหมู่:นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน หมวดหมู่:นักปรัชญา หมวดหมู่:ชาวเยอรมัน หมวดหมู่:นักปรัชญาชาวเยอรมัน หมวดหมู่:นักสิทธิมนุษยชน หมวดหมู่:ผู้เขียนอัตชีวประวัติชาวเยอรมัน.

ใหม่!!: รูดอล์ฟ ชไตเนอร์และโยฮันน์ วอล์ฟกัง ฟอน เกอเทอ · ดูเพิ่มเติม »

เทวญาณ

ทวปรัชญา (Theosophy; θεοσοφία theosophia) มีที่มาจากคำว่า θεός theos ที่แปลว่า เทว + σοφία sophia ที่แปลว่าปรัชญาหรือปรีชาญาณ เทวปรัชญาจึงหมายถึง "ความรู้เกี่ยวกับพระเป็นเจ้า" ใช้หมายถึงระบบปรัชญาแบบคุยหลัทธิ (Esotericism) ที่มุ่งเข้าถึงพระเป็นเจ้าโดยตรง โดยไม่ผ่านการอาศัยคัมภีร์หรือผู้รู้อื่น ๆ เทวปรัชญาจึงเป็นส่วนหนึ่งของคุยหลัทธิซึ่งให้ความสำคัญกับความรู้หรือปัญญาที่นำไปสู่การหลุดพ้นเฉพาะบุคคล นักเทวปรัชญาพยายามเข้าใจรหัสยภาวะของเอกภพ และสิ่งที่เชื่อมเอกภพ มนุษยชาติ และพระเป็นเจ้าเข้าด้วยกัน เทวปรัชญามีจุดมุ่งหมายที่จะสืบหาต้นกำเนิดของพระเป็นเจ้าและมนุษยชาติ วันสิ้นโลก ชีวิต และมนุษยชาติ ด้วยการศึกษาประเด็นเหล่านี้ นักเทวปรัชญาเชื่อว่าจะสามารถอธิบายจุดมุ่งหมายและกำเนิดของเอกภพได้.

ใหม่!!: รูดอล์ฟ ชไตเนอร์และเทวญาณ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »