เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

รายชื่อวัตถุท้องฟ้าของเมซีเยและเนบิวลาอินทรี

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง รายชื่อวัตถุท้องฟ้าของเมซีเยและเนบิวลาอินทรี

รายชื่อวัตถุท้องฟ้าของเมซีเย vs. เนบิวลาอินทรี

วัตถุท้องฟ้าของเมซีเย เป็นกลุ่มของวัตถุทางดาราศาสตร์ที่มีการจัดหมวดหมู่ขึ้นโดยนักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ชื่อ ชาร์ล เมซีเย ในผลงานชุด "Catalogue des Nébuleuses et des Amas d'Étoiles" (รายการเนบิวลาและกระจุกดาว) ซึ่งเผยแพร่ในปี ค.ศ. 1771 ฉบับแก้ไขครั้งล่าสุด (จากผลสังเกตการณ์ของเมซีเย) จัดทำในปี ค.ศ. 1966 ที่มาของการจัดทำรายการวัตถุท้องฟ้านี้ เนื่องจากเมซีเยเป็นนักล่าดาวหาง และมีความสับสนกับวัตถุท้องฟ้าบางอย่างที่ดูคล้ายดาวหางแต่ไม่ใช่ดาวหาง เขาจึงจัดทำรายการวัตถุท้องฟ้าขึ้น รายการวัตถุท้องฟ้าของเมซีเยเป็นหนึ่งในบรรดารายชื่อทางดาราศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด วัตถุท้องฟ้าของเมซีเยหลายรายการยังถูกเรียกด้วยชื่อรหัสเมซีเยอยู่จนถึงปัจจุบัน รายการวัตถุชุดแรกมี 45 รายการ ตั้งแต่หมายเลข M1 ถึง M45 ส่วนชุดสุดท้ายที่พิมพ์เผยแพร่โดยเมซีเย มี 103 รายการ ต่อมามีการเพิ่มรายการเข้าไปโดยนักดาราศาสตร์คนอื่นจนกระทั่งชุดล่าสุดมี 110 รายการ. นบิวลาอินทรี (Eagle Nebula; หรือวัตถุท้องฟ้าของเมสสิเยร์หมายเลข 16; M16; หรือ NGC 6611) เป็นกระจุกดาวเปิดอายุน้อยในกลุ่มดาวงู และเป็นหนึ่งในบรรดาวัตถุท้องฟ้าที่มีชื่อเสียง เป็นที่สังเกตเห็นได้ง่าย ผู้ค้นพบคือ ฌอง-ฟิลิปป์ เดอ เชโซส์ (Jean-Philippe de Cheseaux) ในราวปี..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง รายชื่อวัตถุท้องฟ้าของเมซีเยและเนบิวลาอินทรี

รายชื่อวัตถุท้องฟ้าของเมซีเยและเนบิวลาอินทรี มี 9 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): บริเวณเอช 2กระจุกดาวเปิดกลุ่มดาวงูกลุ่มดาวแคสซิโอเปียวัตถุท้องฟ้าของเมซีเยความส่องสว่างปรากฏปีแสงเนบิวลาเนบิวลาอินทรี

บริเวณเอช 2

NGC 604 บริเวณเอช 2 ขนาดใหญ่ในดาราจักรไทรแองกูลัม บริเวณเอช 2 (หรือบางครั้งเรียกว่า เนบิวลาเปล่งแสง) เป็นกลุ่มเมฆเรืองแสงของแก๊สและพลาสมา อาจมีความกว้างได้ถึงหลายร้อยปีแสง ภายในเป็นแหล่งสำหรับการก่อตัวของดาวฤกษ์ ดาวฤกษ์สีน้ำเงินอายุน้อยที่ร้อนจัดที่เกิดจากการแก๊สจะแผ่แสงอัลตราไวโอเลตออกมาจำนวนมาก ทำให้เนบิวลารอบๆ เกิดการแตกประจุขึ้น บริเวณเอช 2 อาจให้กำเนิดดาวฤกษ์ได้หลายพันดวงตลอดช่วงเวลาหลายล้านปี เมื่อถึงที่สุด การระเบิดของซูเปอร์โนวาและลมดาวฤกษ์อันรุนแรงจากดาวที่มีมวลมากที่สุดในกระจุกดาวจะทำให้แก๊สในบริเวณเอช 2 แตกกระจัดกระจายสลายไป เหลือทิ้งไว้แต่กลุ่มกระจุกดาวเหล่านั้น ดังตัวอย่างเช่น กระจุกดาวลูกไก่ ชื่อ บริเวณเอช 2 มาจากการที่มันมีประจุของอะตอมไฮโดรเจนอยู่เป็นจำนวนมาก นักดาราศาสตร์จึงเรียกชื่อว่า H II (บริเวณเอช 1 เป็นอะตอมไฮโดรเจนที่เสถียรแล้ว แต่เอช 2 เป็นไฮโดรเจนโมเลกุล) บริเวณเอช 2 สามารถมองเห็นได้จากระยะห่างที่ไกลมากในเอกภพ ในการศึกษาดาราจักรภายนอก บริเวณเอช 2 จะมีความสำคัญมากเพื่อใช้ประเมินระยะห่างและองค์ประกอบทางเคมีของดาราจักรอันไกลโพ้นเหล่านั้น.

บริเวณเอช 2และรายชื่อวัตถุท้องฟ้าของเมซีเย · บริเวณเอช 2และเนบิวลาอินทรี · ดูเพิ่มเติม »

กระจุกดาวเปิด

กระจุกดาวลูกไก่ หนึ่งในกระจุกดาวเปิดที่มีชื่อเสียงมากที่สุด กระจุกดาวเปิด (Open Cluster) เป็นกลุ่มของดาวฤกษ์จำนวนหลายพันดวงที่รวมกลุ่มกันอยู่ในเมฆโมเลกุลขนาดยักษ์ชุดเดียวกัน และมีแรงโน้มถ่วงดึงดูดต่อกันและกันอย่างหลวมๆ กระจุกดาวเปิดจะพบได้ในดาราจักรชนิดก้นหอยและชนิดไร้รูปร่างเท่านั้น ซึ่งเป็นดาราจักรที่ยังมีการก่อตัวของดาวฤกษ์ดำเนินอยู่ โดยทั่วไปมีอายุน้อยกว่าร้อยล้านปี และมักถูกรบกวนจากกระจุกดาวอื่นหรือกลุ่มเมฆที่มันโคจรอยู่ใกล้ๆ ทำให้สูญเสียสมาชิกในกระจุกดาวไปบ้างในการประจันหน้าเช่นนั้น กระจุกดาวเปิดที่มีอายุน้อยอาจยังคงอยู่ในกลุ่มเมฆโมเลกุลซึ่งมันก่อตัวขึ้นมา ส่องแสงและความร้อนจนสามารถสร้างบริเวณเอช 2 ขึ้นมาได้ เมื่อเวลาผ่านไป แรงดันของการแผ่รังสีจากกระจุกดาวจะทำให้เมฆโมเลกุลกระจัดกระจายออกไป โดยทั่วไปมวลของแก๊สในกลุ่มเมฆประมาณ 10% จะรวมเข้าอยู่ในดาวฤกษ์ก่อนที่แรงดันของการแผ่รังสีจะผลักพวกมันออกไปเสีย กระจุกดาวเปิดเป็นวัตถุท้องฟ้าที่สำคัญมากในการศึกษาวิวัฒนาการของดวงดาว เพราะดาวฤกษ์ในกระจุกดาวเดียวกันจะมีอายุใกล้เคียงกันและมีลักษณะทางเคมีคล้ายคลึงกัน การศึกษาผลกระทบต่อตัวแปรอันละเอียดอ่อนต่างๆ ของคุณลักษณะของดวงดาวจึงทำได้ง่ายกว่าการศึกษาดาวฤกษ์เดี่ยวๆ กระจุกดาวเปิดจำนวนหนึ่ง เช่น กระจุกดาวลูกไก่ กระจุกดาวสามเหลี่ยมหน้าวัว หรือ กระจุกดาวอัลฟาเพอร์เซย์ เป็นกระจุกดาวที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า กระจุกดาวบางจำพวกเช่นกระจุกดาวแฝดจะมองเห็นได้ค่อนข้างยากหากไม่ใช้เครื่องมือช่วย ส่วนอื่นๆ ที่เหลือจะมองเห็นได้โดยใช้กล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน.

กระจุกดาวเปิดและรายชื่อวัตถุท้องฟ้าของเมซีเย · กระจุกดาวเปิดและเนบิวลาอินทรี · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวงู

กลุ่มดาวงู เป็นหนึ่งในกลุ่มดาว 48 กลุ่มในรายการของทอเลมี และยังเป็นกลุ่มดาวในรายชื่อกลุ่มดาวสมัยใหม่ 88 กลุ่มที่รับรองโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล กลุ่มดาวนี้แยกเป็น 2 ส่วน คือ หัวงู (Serpens Caput) ที่อยู่ทางตะวันออก กับหางงู (Serpens Cauda) ที่อยู่ทางตะวันตก คั่นตรงกลางด้วยกลุ่มดาวคนแบกงู หมวดหมู่:กลุ่มดาว กลุ่มดาวงู.

กลุ่มดาวงูและรายชื่อวัตถุท้องฟ้าของเมซีเย · กลุ่มดาวงูและเนบิวลาอินทรี · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวแคสซิโอเปีย

กลุ่มดาวแคสซิโอเปีย เป็นกลุ่มดาวในซีกฟ้าเหนือ เช่นเดียวกับ ดาวเหนือ ในซีกโลกเหนือ กลุ่มดาวแคสซิโอเปีย เป็นกลุ่มดาวที่มองเห็นได้ตลอดทั้งปี แต่ในทางกลับกัน เนื่องจากเป็นกลุ่มดาวบนทรงกลมท้องฟ้าซีกเหนือ ผู้ที่อาศัยอยู่ทางซีกโลกใต้มากๆจะพบได้ลำบาก เพราะตำแหน่งดาวบน ทรงกลมท้องฟ้า จะอยู่ใต้พื้นโลกเกือบตลอดเวลา กลุ่มดาวนี้เป็นหนึ่งในกลุ่มดาว 48 กลุ่มที่อยู่ในรายการของทอเลมี และยังเป็นกลุ่มดาวในรายการกลุ่มดาว 88 กลุ่มที่รับรองโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล กลุ่มดาวนี้แทนราชินี แคสซิโอเปีย ในตำนานเทพปกรณัมกรีก ราชินีแคสซิโอเปียเป็นพระชนนีของ เจ้าหญิงแอนโดรมีดา ดูหมิ่นเทพ ทำให้เจ้าหญิงถูกจับสังเวย อสูรวาฬ แต่วีรบุรุษ เพอร์ซิอุส มาช่วยไว้ทัน.

กลุ่มดาวแคสซิโอเปียและรายชื่อวัตถุท้องฟ้าของเมซีเย · กลุ่มดาวแคสซิโอเปียและเนบิวลาอินทรี · ดูเพิ่มเติม »

วัตถุท้องฟ้าของเมซีเย

วัตถุท้องฟ้าของเมซีเย (Messier object) เป็นกลุ่มของวัตถุทางดาราศาสตร์ที่มีการจัดหมวดหมู่ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยนักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ชื่อ ชาร์ล เมซีเย ในผลงานชุด "Catalogue des Nébuleuses et des Amas d'Étoiles" (รายการเนบิวลาและกระจุกดาว) ซึ่งเผยแพร่ในปี ค.ศ. 1771 แนวคิดเริ่มแรกของการจัดทำรายการวัตถุทางดาราศาสตร์นี้ เนื่องจากเมซีเยเป็นนักล่าดาวหาง และมีความสับสนกับวัตถุท้องฟ้าบางอย่างที่ดูคล้ายดาวหางแต่ไม่ใช่ดาวหาง เขาจึงจัดทำรายการวัตถุท้องฟ้าขึ้น โดยความช่วยเหลือของเพื่อนร่วมงานชื่อ ปีแยร์ เมแช็ง (Pierre Méchain) รายการวัตถุชุดแรกมี 45 รายการ ตั้งแต่หมายเลข M1 ถึง M45 ส่วนชุดสุดท้ายที่พิมพ์เผยแพร่โดยเมซีเย มี 103 รายการ ต่อมามีการเพิ่มรายการเข้าไปโดยนักดาราศาสตร์คนอื่น เนื่องจากเห็นว่ามีการบันทึกเพิ่มเติมจากเมซีเยและเมไคน์ แสดงให้เห็นว่าคนทั้งสองรู้จักวัตถุท้องฟ้าเหล่านั้นอยู่แล้ว ผู้แรกที่เพิ่มรายการวัตถุท้องฟ้าเข้าไปเป็นรายการที่ M104 คือ คามิลล์ ฟลามเมเรียน ในปี..

รายชื่อวัตถุท้องฟ้าของเมซีเยและวัตถุท้องฟ้าของเมซีเย · วัตถุท้องฟ้าของเมซีเยและเนบิวลาอินทรี · ดูเพิ่มเติม »

ความส่องสว่างปรากฏ

วามส่องสว่างปรากฏ (apparent magnitude, m) เป็นหน่วยวัดความสว่างของดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ หรือวัตถุท้องฟ้าอื่นในจักรวาล กล่าวอีกนัยหนึ่งคือปริมาณแสดงที่ได้รับจากวัตถุนั้น นิยามให้ความส่องสว่างปรากฏมีค่าเพิ่มขึ้น 5 หน่วยเมื่อความสว่างลดลงเหลือ 1 ใน 100 (นั่นคือเมื่อวัตถุเดียวกันแต่อยู่ไกลขึ้นเป็น 10 เท่า) หรือค่าความส่องสว่างปรากฏเพิ่มขึ้น 1 หน่วยเมื่อความสว่างลดลง 2.512 เท่า โดยที่ 2.512 คือรากที่ห้าของ 100 (1000.2) ปริมาณแสงที่รับได้ จริง ๆ แล้วจะขึ้นอยู่กับความหนาของชั้นบรรยากาศในทิศทางการมองวัตถุ ดังนั้นความส่องสว่างปรากฏจึงปรับค่าให้ได้ความสว่างเมื่อผู้สังเกตอยู่นอกชั้นบรรยากาศ ยิ่งวัตถุมีแสงจางเท่าไหร่ค่าความส่องสว่างปรากฏก็ยิ่งมีค่ามากเท่านั้น.

ความส่องสว่างปรากฏและรายชื่อวัตถุท้องฟ้าของเมซีเย · ความส่องสว่างปรากฏและเนบิวลาอินทรี · ดูเพิ่มเติม »

ปีแสง

ปีแสง (อังกฤษ: light-year) คือ หน่วยของระยะทางในทางดาราศาสตร์ 1 ปีแสง เท่ากับระยะทางที่แสงเดินทางในเวลา 1 ปี จากอัตราเร็วแสงที่มีค่า 299,792,458 เมตร/วินาที ระยะทาง 1 ปีแสงจึงมีค่าประมาณ 9.4607 กิโลเมตร.

ปีแสงและรายชื่อวัตถุท้องฟ้าของเมซีเย · ปีแสงและเนบิวลาอินทรี · ดูเพิ่มเติม »

เนบิวลา

อ็นจีซี 604 (NGC 604) เป็นเนบิวลาที่อยู่ภายในแขนของดาราจักรเอ็ม 33 (M33) ในกลุ่มดาวสามเหลี่ยม อยู่ห่างจากโลก 2.7 ล้านปีแสง เนบิวลานี้เป็นบริเวณก่อตัวของดาวฤกษ์ดวงใหม่ เนบิวลานาฬิกาทราย (MyCn18) เป็นเนบิวลาดาวเคราะห์อายุน้อย อยู่ห่างจากโลกประมาณ 8,000 ปีแสง ภาพนี้ถ่ายด้วยกล้องถ่ายภาพที่ติดตั้งบนกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลขององค์การนาซา เนบิวลา (Nebula - มาจากภาษาละติน nebula (พหูพจน์ nebulae) หมายถึง "หมอก") เป็นกลุ่มเมฆหมอกของฝุ่น แก๊ส และพลาสมาในอวกาศ เดิมคำว่า "เนบิวลา" เป็นชื่อสามัญ ใช้เรียกวัตถุทางดาราศาสตร์ที่เป็นปื้นบนท้องฟ้าซึ่งรวมถึงดาราจักรที่อยู่ห่างไกลออกไปจากทางช้างเผือก (ตัวอย่างเช่น ในอดีตเคยเรียกดาราจักรแอนดรอเมดาว่าเนบิวลาแอนดรอเมดา).

รายชื่อวัตถุท้องฟ้าของเมซีเยและเนบิวลา · เนบิวลาและเนบิวลาอินทรี · ดูเพิ่มเติม »

เนบิวลาอินทรี

นบิวลาอินทรี (Eagle Nebula; หรือวัตถุท้องฟ้าของเมสสิเยร์หมายเลข 16; M16; หรือ NGC 6611) เป็นกระจุกดาวเปิดอายุน้อยในกลุ่มดาวงู และเป็นหนึ่งในบรรดาวัตถุท้องฟ้าที่มีชื่อเสียง เป็นที่สังเกตเห็นได้ง่าย ผู้ค้นพบคือ ฌอง-ฟิลิปป์ เดอ เชโซส์ (Jean-Philippe de Cheseaux) ในราวปี..

รายชื่อวัตถุท้องฟ้าของเมซีเยและเนบิวลาอินทรี · เนบิวลาอินทรีและเนบิวลาอินทรี · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง รายชื่อวัตถุท้องฟ้าของเมซีเยและเนบิวลาอินทรี

รายชื่อวัตถุท้องฟ้าของเมซีเย มี 85 ความสัมพันธ์ขณะที่ เนบิวลาอินทรี มี 20 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 9, ดัชนี Jaccard คือ 8.57% = 9 / (85 + 20)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง รายชื่อวัตถุท้องฟ้าของเมซีเยและเนบิวลาอินทรี หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: