โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รายการภาพธงประจำดินแดน

ดัชนี รายการภาพธงประจำดินแดน

ไม่มีคำอธิบาย.

53 ความสัมพันธ์: บริติชอินเดียนโอเชียนเทร์ริทอรีบริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรีกรีนแลนด์กวมกองทัพอากาศสหรัฐกัวเดอลุปมอนต์เซอร์รัตมายอตมาร์ตีนิกมาเดรามิดเวย์อะทอลล์รายการภาพธงชาติหมู่เกาะบริติชเวอร์จินหมู่เกาะฟอล์กแลนด์หมู่เกาะพิตแคร์นหมู่เกาะคะแนรีหมู่เกาะคุกหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาหมู่เกาะแฟโรหมู่เกาะเวอร์จินของสหรัฐหมู่เกาะเคย์แมนหมู่เกาะเติกส์และเคคอสออสเตรเลียนแอนตาร์กติกเทร์ริทอรีออสเตรเลียนแคพิทอลเทร์ริทอรีอารูบาอเมริกันซามัวจอห์นสตันอะทอลล์ธงชาติสหรัฐควีนม็อดแลนด์ปวยร์โตรีโกนิวแคลิโดเนียนีวเวแองกวิลลาแซ็งปีแยร์และมีเกอลงโทเคอเลาไอล์ออฟแมนเบอร์มิวดาเฟรนช์พอลินีเชียเฟรนช์เกียนาเฟรนช์เซาเทิร์นและแอนตาร์กติกแลนดส์เกาะนอร์ฟอล์กเกาะเล็กรอบนอกของสหรัฐอเมริกาเกาะเวกเกาะเซาท์จอร์เจียและหมู่เกาะเซาท์แซนด์วิชเกาะเซนต์มาร์ตินเกิร์นซีย์เมลียาเรอูนียงเจอร์ซีย์เขตการปกครองของประเทศฝรั่งเศส...เซวตาเซนต์เฮเลนาเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส ขยายดัชนี (3 มากกว่า) »

บริติชอินเดียนโอเชียนเทร์ริทอรี

ทางอากาศมองเห็นดีเอโกการ์ซีอา บริติชอินเดียนโอเชียนเทร์ริทอรี (British Indian Ocean Territory) หรือ หมู่เกาะชาโกส เป็นอาณานิคมโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร ตั้งอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งอยู่ครึ่งทางระหว่างแอฟริกากับอินโดนีเซีย อาณาเขตครอบคลุมอะทอลล์ทั้ง 6 แห่งที่เชื่อมต่อถึงกัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะชาโกส มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 60 ตารางกิโลเมตร เกาะที่ใหญ่ที่สุดคือเกาะดีเอโกการ์ซีอา ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของกองกำลังผสมสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: รายการภาพธงประจำดินแดนและบริติชอินเดียนโอเชียนเทร์ริทอรี · ดูเพิ่มเติม »

บริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี

บริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี หรือ ดินแดนแอนตาร์กติกาของสหราชอาณาจักร (British Antarctic Territory) เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของทวีปแอนตาร์กติกาซึ่งสหราชอาณาจักรประกาศอ้างสิทธิครอบครอง มีขอบเขตตั้งแต่ขั้วโลกใต้จนถึงละติจูดที่ 60 องศาเหนือ และช่วงระหว่างลองติจูด 20 องศาตะวันตก ถึงลองติจูด 80 องศาตะวันตก แม้ว่าสหราชอาณาจักรจะเริ่มอ้างสิทธิในพื้นที่นี้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2451 ก็ตาม แต่การจัดตั้งเขตการปกครองได้มีขึ้นภายหลังเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2505 พื้นที่ของดินแดนแห่งนี้ครอบคลุมดินแดนต่าง ๆ ซึ่งเคยอยู่ในความดูแลของหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ถึง 3 ส่วนคือ เกรอัมแลนด์ (Graham Land) หมู่เกาะเซาท์ออร์กนีย์ (South Orkney Islands) และหมู่เกาะเซาท์เชตแลนด์ (South Shetland Islands) และทับซ้อนกับดินแดนทวีปแอนตาร์กติกาที่ประกาศอ้างสิทธิโดยอาร์เจนตินา (อาร์เจนไทน์แอนตาร์กติกา) และชิลี (จังหวัดอันตาร์ตีกาชีเลนา) ผู้ที่พำนักอยู่ในดินแดนนี้ได้แก่เจ้าหน้าที่วิจัยและสนับสนุนการสำรวจทวีปแอนตาร์กติกา ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของคณะสำรวจทวีปแอนตาร์ติกาของสหราชอาณาจักร (British Antarctic Survey) รวมทั้งองค์กรและสถานีสำรวจของอาร์เจนตินา ชิลี และประเทศอื่น ๆ หมวดหมู่:ดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร หมวดหมู่:ทวีปแอนตาร์กติกา.

ใหม่!!: รายการภาพธงประจำดินแดนและบริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี · ดูเพิ่มเติม »

กรีนแลนด์

กรีนแลนด์ (Kalaallit Nunaat; Grønland เกฺรินลันฺด) เป็นดินแดนทางเหนือสุดของโลก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรอาร์กติกและเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นที่ประมาณ 2,175,900 ตารางกิโลเมตร มีฐานะเป็นดินแดนปกครองตนเองของประเทศเดนมาร์ก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2499.

ใหม่!!: รายการภาพธงประจำดินแดนและกรีนแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

กวม

กวม (Guam; ชามอร์โร: Guåhån) หรือชื่อทางการว่า ดินแดนกวมของสหรัฐอเมริกา (U.S. Territory of Guam) เป็นเกาะหนึ่งในมหาสมุทรแปซิฟิก และเป็นดินแดนที่ยังไม่ได้ปกครองตนเองของสหรัฐอเมริกา ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวชามอร์โรซึ่งอพยพมาอยู่ที่เกาะเป็นครั้งแรกเมื่อ 3,500 ปีมาแล้ว กวมเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดและอยู่ทางใต้สุดของหมู่เกาะมาเรียนา มีเมืองหลวงคือ ฮากัตญา (Hagåtña) เดิมเรียกว่า "อากาญา" (Agana) รายได้หลักของเกาะมาจากการท่องเที่ยว (โดยเฉพาะจากญี่ปุ่น) และจากการเป็นฐานทัพเรือสหรัฐอเมริกา สหประชาชาติจัดให้กวมอยู่ในรายชื่อดินแดนที่ไม่ได้ปกครองตนเองและมีประชากรทั้งเกาะประมาณ 173,000คน.

ใหม่!!: รายการภาพธงประจำดินแดนและกวม · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพอากาศสหรัฐ

กองทัพอากาศสหรัฐ (United States Air Force; USAF) คือกองกำลังพิเศษทางอากาศและอวกาศของกองทัพสหรัฐ และเป็นกองกำลังหนึ่งในเจ็ดของหน่วยงานที่ใส่เครื่องแบบของสหรัฐ ในอดีตวันที่ 1 สิงหาคม..

ใหม่!!: รายการภาพธงประจำดินแดนและกองทัพอากาศสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

กัวเดอลุป

กัวเดอลุป (Guadeloupe) เป็นเกาะที่มีฐานะเป็นแคว้นของประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่ในหมู่เกาะลีเวิร์ด ทางทิศตะวันออกของทะเลแคริบเบียน มีพิกัดภูมิศาสตร์อยู่ที่ 16°15′เหนือ และ 61°35′ตะวันตก มีพื้นที่ 1,628 ตารางกิโลเมตร และมีจำนวนประชากรประมาณ 400,000 คน ซึ่งมากที่สุดในบรรดาดินแดนที่อยู่ในความปกครองของประเทศในยุโรป ที่มีที่ตั้งอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ กัวเดอลุปเป็นจังหวัดโพ้นทะเลของประเทศฝรั่งเศส เช่นเดียวกับจังหวัดโพ้นทะเลอื่น ๆ นอกจากนี้ยังเป็น 1 ใน 18 แคว้นของฝรั่งเศส (ในฐานะแคว้นโพ้นทะเล) ด้วย และถือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับสาธารณรั.

ใหม่!!: รายการภาพธงประจำดินแดนและกัวเดอลุป · ดูเพิ่มเติม »

มอนต์เซอร์รัต

มอนต์เซอร์รัต เป็นดินแดนโพ้นทะเลอังกฤษในทะเลแคริบเบียน ตั้งอยู่ในแนวหมู่เกาะแอนทิลลิสน้อย (Lesser Antilles Islands) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะลีวาร์ด ยาว 16 กิโลเมตร กว้าง 11 กิโลเมตร มีพื้นที่ 40 ตารางกิโลเมตร ชื่อของเกาะมอนเซอร์รัตนี้ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เป็นผู้ตั้งขึ้นในคราวเดินทางแสวงหาโลกใหม่ครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2036.

ใหม่!!: รายการภาพธงประจำดินแดนและมอนต์เซอร์รัต · ดูเพิ่มเติม »

มายอต

มายอต (Mayotte) เป็นแคว้นและจังหวัดโพ้นทะเลของประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่ทางเหนือของช่องแคบโมซัมบิกในมหาสมุทรอินเดีย ระหว่างประเทศมาดากัสการ์และประเทศโมซัมบิก มายอตเป็นส่วนหนึ่งทางภูมิศาสตร์ของหมู่เกาะคอโมโรส แต่ทางการเมืองนั้นถือเป็นส่วนหนึ่งของประเทศฝรั่งเศส มายอตยังมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า มาออเร (Mahoré) โดยเฉพาะโดยคนที่ต้องการให้มายอตไปรวมอยู่ในสหภาพคอโมโร.

ใหม่!!: รายการภาพธงประจำดินแดนและมายอต · ดูเพิ่มเติม »

มาร์ตีนิก

มาร์ตีนิก (Martinique) เป็นเกาะทางตะวันออกของทะเลแคริบเบียน ในหมู่เกาะวินด์เวิร์ด เป็นแคว้นโพ้นทะเลและจังหวัดโพ้นทะเลของประเทศฝรั่งเศส มีพื้นที่ 1,128 ตารางกิโลเมตร (436 ตารางไมล์) มีเมืองหลวงชื่อ ฟอร์-เดอ-ฟร็องส์ ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งตอนเหนือของอ่าวชื่อเดียวกัน ภูมิประเทศเป็นภูเขา มีภูเขาไฟมงตาญเปอเล อยู่ทางเหนือของเกาะ เป็นแหล่งท่องเที่ยว ส่งสินค้าออก เช่น น้ำตาล เหล้ารัม กล้วย สับปะรด และซีเมนต์ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เดินทางมาพบเกาะนี้ใน..

ใหม่!!: รายการภาพธงประจำดินแดนและมาร์ตีนิก · ดูเพิ่มเติม »

มาเดรา

มาเดรา (Madeira) เป็นหมู่เกาะของประเทศโปรตุเกส ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติก ตั้งอยู่ระหว่าง และ เป็นเขตปกครองตนเองของประเทศโปรตุเกส มาเดรานั้นอยู่ในทวีปยุโรปทางการปกครอง แต่อยู่ในทวีปแอฟริกาในทางภูมิศาสตร์ ชาวโรมันรู้จักเกาะมาเดราในนามหมู่เกาะสีม่วง (Purple Islands) ถูกค้นพบโดยนักเดินเรือชาวโปรตุเกสในต้นปี..

ใหม่!!: รายการภาพธงประจำดินแดนและมาเดรา · ดูเพิ่มเติม »

มิดเวย์อะทอลล์

แผนที่มิดเวย์อะทอลล์ มิดเวย์อะทอลล์ (Midway Atoll) ตั้งอยู่มหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือ อยู่ห่างจากซานฟรานซิสโก ทางตะวันตก ราว 2,800 ไมล์ทะเล(5,200 กม./3,200 ไมล์) และ ห่างจากโตเกียวทางตะวันออก ราว 2,200ไมล์ทะเล(4,100 กม./2,500 ไมล์) มีพื้นที่ 6.2 ตารางกิโลเมตร มีสภาพเป็นหมู่เกาะปะการัง มีแนวปะการังล้อมรอบ จุดสูงสุดอยู่ที่ 13 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีประชากรทั้งหมด 40 คน เป็นเจ้าหน้าที่ปลาของสหรัฐอเมริกา มีท่าเรือที่สำคัญอยู่บนเกาะแซนด์ มีสนามบินอยู่ 3 แห่ง มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจจากองค์กรของสหรัฐที่อยู่บนหมู่เกาะ การทหารนั้นก็ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ มิดเวย์อะทอลล์ตกเป็นเมืองขึ้นของสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2410 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มิดเวย์อะทอลล์ถูกใช้เป็นยุทธภูมิที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ในภาคพื้นแปซิฟิก ในปี พ.ศ. 2553 ไม่มีประชากรอาศัยแล้ว.

ใหม่!!: รายการภาพธงประจำดินแดนและมิดเวย์อะทอลล์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการภาพธงชาติ

นื้อหาในหน้านี้เป็นรายการภาพธงชาติของประเทศต่าง ๆ ซึ่งแบ่งตามทวีป โดยยึดตามรายชื่อที่ปรากฏในหน้าบทความ รายชื่อประเทศ ดินแดน และเมืองหลวง (อ้างอิงตามการบัญญัติของราชบัณฑิตยสถานของไทย) ทั้งนี้รายชื่อดังกล่าวได้มีการเรียงลำดับใหม่ตามพจนานุกรม โดยยึดตามชื่อสามัญของแต่ละประเทศในภาษาไทยเป็นหลัก ทั้งนี้ สำหรับประเทศที่ไม่ได้รับการยอมรับจากรัฐเอกราช หรือได้รับการยอมรับบางส่วนได้แยกเป็นหัวข้อย่อยอีกกลุ่มหนึ่งในบทความนี้ โดยแสดงรายชื่อด้วยอักษรตัวเอนและเรียงลำดับตามชื่อสามัญเช่นเดียวกับกลุ่มประเทศที่เป็นรัฐเอกร.

ใหม่!!: รายการภาพธงประจำดินแดนและรายการภาพธงชาติ · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน

หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน หรือ หมู่เกาะเวอร์จินของอังกฤษ (British Virgin Islands) เป็นดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร ประกอบด้วยเกาะน้อยใหญ่กว่า 50 เกาะ มีที่ตั้งอยู่ในทะเลแคริบเบียน ทางตะวันออกของประเทศจาเมกา เดิมนั้นเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิดัตช์ (Dutch Empire) ภายหลังอังกฤษเข้ามาครอบครอง เมื่อ พ.ศ. 2215 ผู้ตั้งชื่อหมู่เกาะนี้คือ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส โดยตั้งชื่อนามนักบุญ Ursula ซึ่งตามตำนานกล่าวว่าท่านมีสาวกเป็นหญิงสาวพรหมจารีถึง 11,000 คน.

ใหม่!!: รายการภาพธงประจำดินแดนและหมู่เกาะบริติชเวอร์จิน · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะฟอล์กแลนด์

หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ (Falkland Islands) หรือ หมู่เกาะมัลบีนัส (Islas Malvinas) เป็นกลุ่มเกาะตั้งอยู่ในหมู่เกาะแอตแลนติกใต้บนไหล่ทวีปปาตาโกเนีย หมู่เกาะหลักอยู่ห่างจากชายฝั่งปาตาโกเนียที่ละติจูดราว 52° ใต้ ไปทางตะวันออกราว 500 กิโลเมตร กลุ่มเกาะมีพื้นที่ 12,173 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะฟอล์กแลนด์ตะวันออก ฟอล์กแลนด์ตะวันตก และเกาะที่เล็กกว่าอื่นอีก 776 เกาะ หมู่เกาะดังกล่าวเป็นดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร มีระดับการปกครองตนเองภายในสูง โดยมีสหราชอาณาจักรรับประกันรัฐบาลที่ดีและรับผิดชอบด้านการป้องกันภัยและการต่างประเทศ เมืองหลวง คือ สแตนลีย์บนเกาะฟอล์กแลนด์ตะวันออก มีการถกเถียงว่าด้วยการค้นพบหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ครั้งแรกและการล่าอาณานิคมโดยชาวยุโรปในกาลต่อมา หลายช่วง หมู่เกาะมีนิคมฝรั่งเศส อังกฤษ สเปนและอาร์เจนตินา อังกฤษสถาปนาการปกครองอีกครั้งใน..

ใหม่!!: รายการภาพธงประจำดินแดนและหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะพิตแคร์น

หมู่เกาะพิตแคร์น (Pitcairn Islands; พิตแคร์น: Pitkern Ailen) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า พิตแคร์น (Pitcairn) เป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักร อยู่ในเขตมหาสมุทรแปซิฟิก ประกอบไปด้วยกลุ่มเกาะ 4 กลุ่ม คือ เกาะพิตแคร์น เกาะแฮนเดอร์สัน เกาะดูซี และเกาะโอเอโน เกาะเหล่านี้ล้วนเป็นดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักรทั้งสิ้น ซึ่งเขตนี้เป็นอาณานิคมสุดท้ายที่ยังหลงเหลืออยู่ของสหราชอาณาจักรในมหาสมุทรแปซิฟิก.

ใหม่!!: รายการภาพธงประจำดินแดนและหมู่เกาะพิตแคร์น · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะคะแนรี

หมู่เกาะคะแนรี (Canary Islands), คะแนรีส์ (Canaries) หรือ กานาเรียส (Canarias) เป็นหมู่เกาะของราชอาณาจักรสเปน ประกอบด้วยเกาะภูเขาไฟ 7 เกาะในมหาสมุทรแอตแลนติก ตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา (โมร็อกโกและเวสเทิร์นสะฮารา) และมีฐานะเป็นแคว้นปกครองตนเองของสเปน.

ใหม่!!: รายการภาพธงประจำดินแดนและหมู่เกาะคะแนรี · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะคุก

หมู่เกาะคุก เป็นเขตปกครองตนเองของนิวซีแลนด์ ประกอบไปด้วยเกาะเล็ก ๆ 15 เกาะ ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ มีพื้นที่ทั้งหมด 240 ตาราง กิโลเมตร รายได้สำคัญของหมู่เกาะคุกมาจากการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมอันดับหนึ่งของประเทศ เนื่องด้วยความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ อีกทั้งยังมีการส่งผลไม้ขายออกนอกประเทศอีกด้วย หมวดหมู่:ประเทศนิวซีแลนด์ หมวดหมู่:ประเทศในเขตโอเชียเนีย หมวดหมู่:ประเทศที่เป็นเกาะ หมวดหมู่:ประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ หมวดหมู่:อดีตอาณานิคมของอังกฤษ หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2508 หมวดหมู่:พอลินีเซีย.

ใหม่!!: รายการภาพธงประจำดินแดนและหมู่เกาะคุก · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา

หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา (Northern Mariana Islands; ชามอร์โร: Islas Mariånas) หรือชื่อทางการคือ เครือรัฐหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา (Commonwealth of the Northern Mariana Islands, CNMI; ชามอร์โร: Sankattan Siha Na Islas Mariånas) เป็นหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของประเทศสหรัฐอเมริกา หมู่เกาะนี้ประกอบด้วยเกาะ 14 เกาะ มีประชากรจำนวน 80,362 คน (พ.ศ. 2548).

ใหม่!!: รายการภาพธงประจำดินแดนและหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะแฟโร

หมู่เกาะแฟโร (Føroyar เฟอรยาร แปลว่า "เกาะแห่งแกะ") เป็นหมู่เกาะในทวีปยุโรป ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติก ระหว่างสกอตแลนด์ นอร์เวย์ และไอซ์แลนด์ หมู่เกาะแฟโรเป็นเขตการปกครองตนเองของเดนมาร์ก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2491 โดยมีสถานภาพเหมือนกับกรีนแลนด์ มีอำนาจในการปกครองตนเองทุกด้าน ยกเว้นด้านการต่างประเทศและการทหาร (ไม่มีกองทัพ มีเพียงตำรวจและหน่วยลาดตระเวนชายฝั่งเท่านั้น) แต่อย่างไรก็ตาม หมู่เกาะแฟโรก็มีตัวแทนเป็นของตนเองในคณะมนตรีนอร์ดิก.

ใหม่!!: รายการภาพธงประจำดินแดนและหมู่เกาะแฟโร · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะเวอร์จินของสหรัฐ

กาะเซนต์จอห์น หมู่เกาะเวอร์จินของสหรัฐ (United States Virgin Islands; USVI) เป็นกลุ่มเกาะกลุ่มหนึ่งในทะเลแคริบเบียนซึ่งเป็นพื้นที่เกาะของสหรัฐอเมริกา ในทางภูมิศาสตร์ หมู่เกาะนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเกาะเวอร์จินและตั้งอยู่ในหมู่เกาะลีเวิร์ดของภูมิภาคเลสเซอร์แอนทิลลิส หมู่เกาะเวอร์จินของสหรัฐอเมริกาประกอบด้วยเกาะหลัก 3 เกาะ คือ เกาะเซนต์ครอย (Saint Croix) เกาะเซนต์จอห์น (Saint John) และเกาะเซนต์ทอมัส (Saint Thomas) รวมทั้งเกาะวอเตอร์ (Water Island) และหมู่เกาะเล็ก ๆ โดยรอบอีกเป็นจำนวนหนึ่ง ดินแดนแห่งนี้มีเนื้อที่รวม 346.36 ตารางกิโลเมตร (133.73 ตารางไมล์) จากการสำรวจสำมะโนประชากรปี พ.ศ. 2543 มีจำนวนประชากร 108,612 คน เกาะหลัก 3 เกาะมีชื่อเล่นซึ่งมักเรียกกันในหมู่คนท้องถิ่น คือ "ร็อกซิตี" (เซนต์ทอมัส) "เลิฟซิตี" (เซนต์จอห์น) และ "ทวินซิตี" (เซนต์ครอย).

ใหม่!!: รายการภาพธงประจำดินแดนและหมู่เกาะเวอร์จินของสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะเคย์แมน

หมู่เกาะเคย์แมน (Cayman Islands) เป็นอาณานิคมโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักรซึ่งตั้งอยู่ในทะเลแคริบเบียนฝั่งตะวันตก ประกอบด้วยเกาะแกรนด์เคย์แมน (Grand Cayman) เกาะเคย์แมนแบร็ก (Cayman Brac) และเกาะลิตเทิลเคย์แมน (Little Cayman) ดินแดนแห่งนี้ถือเป็นศูนย์กลางทางการเงินในภูมิภาคแคริบเบียน.

ใหม่!!: รายการภาพธงประจำดินแดนและหมู่เกาะเคย์แมน · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะเติกส์และเคคอส

หมู่เกาะเติกส์และเคคอส (Turks and Caicos Islands) เป็นอาณานิคมโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักรประกอบไปด้วยหมู่เกาะย่อยในเขตร้อน 2 หมู่เกาะ ได้แก่ หมู่เกาะเคคอสและหมู่เกาะเติกส์ อาณานิคมนี้ตั้งอยู่ในทะเลแคริบเบียน และมีชื่อเสียงในด้านสถานที่ท่องเที่ยวและเป็นแหล่งหลบเลี่ยงภาษีของบริษัทต่างชาติ หมู่เกาะนี้อยู่ห่างจากเมืองไมแอมี รัฐฟลอริดาของสหรัฐอเมริกาไปทางตะวันออกเฉียงใต้ 970 กม.

ใหม่!!: รายการภาพธงประจำดินแดนและหมู่เกาะเติกส์และเคคอส · ดูเพิ่มเติม »

ออสเตรเลียนแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี

ออสเตรเลียนแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี (Australian Antarctic Territory, AAT) เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของทวีปแอนตาร์กติกาที่ประเทศออสเตรเลียอ้างกรรมสิทธิ์ครอบครอง และเป็นส่วนที่ใหญ่ที่สุดที่อ้างโดยชาติใดชาติหนึ่ง ที่ประกอบด้วยหมู่เกาะและดินแดนทางตอนใต้ของละติจูด 60° ใต้ และระหว่างลองจิจูด 45° ตะวันออกถึง 160° ตะวันออก ยกเว้นอาเดลีแลนด์ (ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างลองจิจูด 136° ตะวันออกถึง 142° ตะวันออก) ทำให้ดินแดนนี้ถูกแบ่งออกจากกันเป็น2ส่วน คือ เวสเทิร์นเอเอที (ส่วนที่ใหญ่กว่า) และอีสเทิร์นเอเอที โดยมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 5,896,500 ตารางกิโลเมตร ดินแดนนี้เป็นที่อาศัยของผู้ที่ทำงานกับสถานีวิจัยขั้วโลก.

ใหม่!!: รายการภาพธงประจำดินแดนและออสเตรเลียนแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี · ดูเพิ่มเติม »

ออสเตรเลียนแคพิทอลเทร์ริทอรี

ออสเตรเลียนแคพิทอลเทร์ริทอรี (Australian Capital Territory) เป็นเขตเมืองหลวงของออสเตรเลียและถือเป็นดินแดน เขตการปกครองตนเองภายในที่เล็กที่สุด ตั้งอยู่ภายในรัฐนิวเซาท์เวลส์ ดอกไม้ประจำดินแดนคือดอกรอแยลบลูเบล และสัตว์ประจำดินแดนคือ Gang-Gang cockatoo.

ใหม่!!: รายการภาพธงประจำดินแดนและออสเตรเลียนแคพิทอลเทร์ริทอรี · ดูเพิ่มเติม »

อารูบา

อารูบา (Aruba) เป็นเกาะหนึ่งมีความยาว 32 กิโลเมตร ตั้งอยู่ในหมู่เกาะเลสเซอร์แอนทิลลีสในทะเลแคริบเบียน อยู่ห่างจากคาบสมุทรปารากวานา (รัฐฟัลกอน ประเทศเวเนซุเอลา) ไปทางเหนือ 27 กิโลเมตร อารูบาเป็นหนึ่งในสี่ประเทศองค์ประกอบ (constituent country) ของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ เกาะแห่งนี้มีความแตกต่างจากดินแดนส่วนใหญ่ในแถบแคริบเบียน กล่าวคือ มีอากาศแห้ง ภูมิอากาศเช่นนี้สนับสนุนการท่องเที่ยวเนื่องจากผู้มาเยือนสามารถคาดหวังว่าจะได้พบอากาศอบอุ่นและแสงแดดจัดได้แน่นอน เกาะนี้มีเนื้อที่ 193 ตารางกิโลเมตร เป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะเอบีซี (ABC islands).

ใหม่!!: รายการภาพธงประจำดินแดนและอารูบา · ดูเพิ่มเติม »

อเมริกันซามัว

อเมริกันซามัว (American Samoa; ซามัว: Amerika Samoa) เป็นดินแดนของสหรัฐอเมริกา ซามัวและอเมริกันซามัวถูกแบ่งแยกโดยส่วนของประเทศซามัวในปัจจุบันเคยอยู่ในการครอบครองของประเทศเยอรมนี ต่อมาก็ได้ถูกครอบครองโดยประเทศนิวซีแลนด์ ส่วนของอเมริกันซามัวก็ได้ถูกครอบครองโดยสหรัฐอเมริกา จนถึงปัจจุบัน.

ใหม่!!: รายการภาพธงประจำดินแดนและอเมริกันซามัว · ดูเพิ่มเติม »

จอห์นสตันอะทอลล์

อห์นสตันอะทอลล์ จอห์นสตันอะทอลล์ (Johnston Atoll) เป็นหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือ อยู่ทาง 1328 กิโลเมตรจากทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของโฮโนลูลูของฮาวาย มีพื้นที่ทั้งหมด 2.63 ตารางกิโลเมตร บนเกาะมีทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญคือมูลค้างคาว จอห์นสตันอะทอลล์เป็นเกาะที่ไม่มีคนอาศัยอยู่แน่นอน ไม่มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจ จอห์นสตันอะทอลล์ยังมีสนามบินอยู่หนึ่งแห่ง และมีท่าเรืออยู่บนเกาะจอห์นสตัน หมวดหมู่:สหรัฐอเมริกา หมวดหมู่:เกาะเล็กรอบนอกของสหรัฐอเมริกา หมวดหมู่:ประเทศในเขตโอเชียเนีย.

ใหม่!!: รายการภาพธงประจำดินแดนและจอห์นสตันอะทอลล์ · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติสหรัฐ

23x15px '''"ธงยูเนียนแจ็ค" (Union Jack)''' (50 ดาว) ใช้เป็นธงฉานกองทัพเรือสหรัฐ ค.ศ. 1777–2002 23x15px '''"ธงเฟิร์สเนวีแจ็ค" (First Navy Jack)''' ธงฉานกองทัพเรือสหรัฐในปัจจุบัน ธงชาติสหรัฐ มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 10 ส่วน ยาว 19 ส่วน ภายในเป็นแถบสีแดงสลับขาวรวมกัน 13 ริ้ว เป็นริ้วสีแดง 7 ริ้ว สีขาว 6 ริ้ว ที่มุมบนด้านคันธงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีน้ำเงิน ภายในมีรูปดาวห้าแฉกสีขาวจำนวน 50 ดวง เรียงกันตามแนวตั้งเป็นแถวดาว 6 ดวงสลับกับแถวดาว 5 ดวง รวมจำนวนทั้งหมด 9 แถว ธงนี้มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก 3 ชื่อ คือ "The Stars and Stripes" (ธงดาวและริ้ว) "Old Glory", และ "The Star-Spangled Banner" ซึ่งชื่อหลังสุดนี้ ยังเป็นชื่อของเพลงชาติสหรัฐอีกด้วย จำนวนของดาว 50 ดวงในพื้นสีน้ำเงิน หมายถึงรัฐต่าง ๆ สหรัฐทั้ง 50 รัฐ โดยจำนวนดาวจะเปลี่ยนแปลงทุกครั้งเมื่อมีการเพิ่มจำนวนรัฐในความปกครอง ริ้วสีแดงสลับขาวทั้ง 13 ริ้ว หมายถึงอาณานิคม 13 แห่งของสหราชอาณาจักรในอเมริกา ซึ่งได้ร่วมกันประกาศเอกราชจากสหราชอาณาจักร และสถาปนาประเทศสหรัฐขึ้น เมื่อ..

ใหม่!!: รายการภาพธงประจำดินแดนและธงชาติสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ควีนม็อดแลนด์

วีนม็อดแลนด์ (Queen Maud Land) หรือ ดรอนนิงแมอุดลันด์ (Dronning Maud Land) เป็นส่วนหนึ่งของทวีปแอนตาร์กติกาที่นอร์เวย์อ้างกรรมสิทธิ์การครอบครองเมื่อวันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นการอ้างที่ยังไม่ได้รับการยอมรับจากประชาคมนานาชาติและยังเป็นไปตามระบบสนธิสัญญาแอนตาร์กติกา ควีนม็อดแลนด์มีเนื้อที่ประมาณ 2.5 ล้านตารางกิโลเมตร ส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยน้ำแข็ง ตั้งชื่อตามพระนามของสมเด็จพระราชินีแห่งนอร์เวย์ หมวดหมู่:ภูมิศาสตร์นอร์เวย์ หมวดหมู่:ทวีปแอนตาร์กติกา.

ใหม่!!: รายการภาพธงประจำดินแดนและควีนม็อดแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ปวยร์โตรีโก

ปวยร์โตรีโก (Puerto Rico) หรือชื่อทางการคือ เครือรัฐปวยร์โตรีโก (Estado Libre Asociado de Puerto Rico) เป็นเครือรัฐของสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของสาธารณรัฐโดมินิกันในภูมิภาคแคริบเบียนตะวันออกเฉียงเหนือ ปวยร์โตรีโกเป็นดินแดนที่เล็กที่สุดของเกรตเตอร์แอนทิลลีส มีพื้นที่รวมเกาะปวยร์โตรีโก เกาะเล็ก ๆ จำนวนหนึ่ง รวมทั้งกลุ่มเกาะ ได้แก่ โมนา เบียเกซ และกูเลบรา การเดินทางเข้าปวยร์โตรีโกนั้นต้องใช้วีซาของสหรัฐอเมริกา เพราะปวยร์โตรีโกถือเป็นดินแดน (territory) ของสหรัฐอเมริกา แม้จะไม่ถือว่าเป็นรัฐ (state) ก็ตาม.

ใหม่!!: รายการภาพธงประจำดินแดนและปวยร์โตรีโก · ดูเพิ่มเติม »

นิวแคลิโดเนีย

นิวแคลิโดเนีย (New Caledonia) หรือ นูแวล-กาเลดอนี (Nouvelle-Calédonie) ชื่ออื่น ๆ ที่นิยมเรียกได้แก่ "คานากี" (Kanaky) และ "เลอกายู" (Le Caillou) เป็น "อาณานิคมพิเศษ (sui generis collectivity)" (ในทางปฏิบัติ ดินแดนโพ้นทะเล) ของประเทศฝรั่งเศส ประกอบด้วยเกาะหลัก (เกาะกร็องด์แตร์, Grande Terre) และเกาะเล็ก ๆ อื่น ๆ ตั้งอยู่ในภูมิภาคเมลานีเซียในมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันตกเฉียงใต้ นิวแคลิโดเนียมีเนื้อที่ 18,575.5 ตารางกิโลเมตร มีขนาดเป็นครึ่งหนึ่งของเกาะไต้หวัน ประชากรที่สำรวจได้เมื่อพ.ศ. 2547 มีอยู่ 230,789 คน มีรหัสประเทศโดเมนระดับบนสุดในอินเทอร์เน็ต ว่า.nc เมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของนิวแคลิโดเนียคือ นูเมอา (Nouméa) หน่วยเงินคือ ฟรังก์ซีเอฟพี ตั้งแต..

ใหม่!!: รายการภาพธงประจำดินแดนและนิวแคลิโดเนีย · ดูเพิ่มเติม »

นีวเว

นีวเว (Niue; นีวเว: Niuē) เป็นเกาะที่ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ มักเรียกว่า "Rock of Polynesia" นีวเวปกครองตนเอง แต่นอกจากนี้ นีวเวยังอยู่ในความสัมพันธ์เสรี (free association) กับประเทศนิวซีแลนด์ด้วย นั่นหมายความว่าประมุขโดยชอบธรรมของนิวซีแลนด์เป็นประมุขรัฐของนีวเวด้วย และความสัมพันธ์ทางการทูตส่วนใหญ่จะจัดโดยนิวซีแลนด์ นีวเวตั้งอยู่ห่างจากทางตะวันออกเฉียงเหนือของนิวซีแลนด์ 2,400 กิโลเมตร และตั้งอยู่ในบริเวณสามเหลี่ยมระหว่างประเทศตองงา ประเทศซามัว และหมู่เกาะคุก.

ใหม่!!: รายการภาพธงประจำดินแดนและนีวเว · ดูเพิ่มเติม »

แองกวิลลา

แองกวิลลา (Anguilla) เป็นอาณานิคมโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักรในทะเลแคริบเบียน หนึ่งในกลุ่มเกาะที่อยู่ทางเหนือสุดของหมู่เกาะลีเวิร์ดในภูมิภาคเลสเซอร์แอนทิลลิส แองกวิลลาประกอบด้วยเกาะหลักแองกวิลลายาว 26 กิโลเมตร (16 ไมล์) กว้าง 5 กิโลเมตร (3 ไมล์) และกลุ่มเกาะเล็ก ๆ ซึ่งไม่มีคนอาศัยอย่างถาวร เมืองหลักของดินแดนแห่งนี้คือเดอะแวลลีย์ (The Valley) มีเนื้อที่รวมทั้งหมด 102 ตารางกิโลเมตร (39.4 ตารางไมล์) และมีประชากรประมาณ 13,500 คน (พ.ศ. 2549).

ใหม่!!: รายการภาพธงประจำดินแดนและแองกวิลลา · ดูเพิ่มเติม »

แซ็งปีแยร์และมีเกอลง

อาณานิคมโพ้นทะเลแซงปีแยร์และมีเกอลง (Collectivité territoriale de Saint-Pierre-et-Miquelon; Territorial Collectivity of Saint-Pierre and Miquelon) เป็นดินแดนของประเทศฝรั่งเศส ประกอบด้วยเกาะเล็ก ๆ ในมหาสมุทรแอตแลนติกตอนเหนือ มีเกาะสำคัญคือ เกาะแซง-ปีแยร์ และเกาะมีเกอลง ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของรัฐนิวฟันด์แลนด์และแลบราดอร์ ประเทศแคนาดา อยู่ห่างจากเกาะนิวฟันด์แลนด์ราว 10 กิโลเมตร มีเมืองหลวงชื่อ แซง-ปีแยร์ ส่งปลาคอดตากแห้งและแช่แข็งเป็นสินค้าออก มีอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว.

ใหม่!!: รายการภาพธงประจำดินแดนและแซ็งปีแยร์และมีเกอลง · ดูเพิ่มเติม »

โทเคอเลา

ทเคอเลา (Tokelau) เป็นเขตการปกครองตนเองกึ่งอาณานิคมของนิวซีแลนด์ โดยประกอบไปด้วยอะทอลล์ทั้งหมด 3 แห่งในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ โทเคอเลาเคยมีชื่อเดิมว่า หมู่เกาะยูเนียน (Union Islands) จนกระทั่งปี พ.ศ. 2519 จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นชื่อปัจจุบัน สหประชาชาติได้จัดให้โทเคอเลาอยู่ในรายชื่อประเทศที่ไม่ได้ปกครองตนเอง โทเคอเลาเป็นประเทศและดินแดนที่มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจและค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศที่น้อยที่สุดในโลก.

ใหม่!!: รายการภาพธงประจำดินแดนและโทเคอเลา · ดูเพิ่มเติม »

ไอล์ออฟแมน

อล์ออฟแมน (Isle of Man,; Ellan Vannin) เป็นดินแดนอาณานิคมปกครองตนเองของสหราชอาณาจักร ตั้งอยู่ในเขตทะเลไอริช (Irish Sea) ในบริเวณศูนย์กลางของหมู่เกาะบริเตน (British Isles) ประมุขแห่งรัฐคือสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร ในฐานะเจ้าครองนครแห่งแมนน์ (ลอร์ดออฟแมนน์ - Lord of Mann) โดยมีข้าหลวงทำหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ไอล์ออฟแมนนี้ไม่ได้เป็นดินแดนส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ แต่กิจการด้านการต่างประเทศ การป้องกันดินแดน และการบริหารระบบธรรมาภิบาลระดับสูงสุด (ultimate good-governance) ของไอล์ออฟแมนอยู่ในความรับผิดชอบของรัฐบาลสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: รายการภาพธงประจำดินแดนและไอล์ออฟแมน · ดูเพิ่มเติม »

เบอร์มิวดา

อร์มิวดา เป็นดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักรในมหาสมุทรแอตแลนติก ตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกาห่างจากรัฐนอร์ทแคโรไลนาไปทางตะวันออก 580 ไมล์ เบอร์มิวดาเป็นดินแดนโพ้นทะเลที่เก่าแก่ที่สุดของสหราชอาณาจักร ที่ยังคงเหลืออยู่ โดยมีชาวอังกฤษมาตั้งรกรากก่อนการรวมตัวเป็นสหราชอาณาจักรถึงสองศตวรรษ โดยค้นพบครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2152 (ค.ศ. 1609).

ใหม่!!: รายการภาพธงประจำดินแดนและเบอร์มิวดา · ดูเพิ่มเติม »

เฟรนช์พอลินีเชีย

ฟรนช์พอลินีเชีย (French Polynesia; Polynésie française; ตาฮีตี: Pōrīnetia Farāni) เป็นดินแดนของฝรั่งเศสในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ มีฐานะเป็น "overseas collectivity" พร้อมกับ "overseas country" ซึ่งเป็นตำแหน่งเฉพาะตัว ประกอบด้วยกลุ่มเกาะหลายเกาะในภูมิภาคโพลินีเซีย เกาะที่มีชื่อเสียงที่สุดได้แก่ตาฮีตีในหมู่เกาะโซไซตี ซึ่งยังเป็นเกาะที่มีผู้อยู่อาศัยมากที่สุดและเป็นที่ตั้งเมืองหลวงของดินแดน (ปาเปเอเต) อีกด้วย และแม้จะไม่ได้อยู่ในบริเวณเดียวกัน แต่เกาะกลีแปร์ตอนก็ถูกบริหารโดยเฟรนช์พอลินีเชี.

ใหม่!!: รายการภาพธงประจำดินแดนและเฟรนช์พอลินีเชีย · ดูเพิ่มเติม »

เฟรนช์เกียนา

ฟรนช์เกียนา (French Guiana) หรือ กุยยานฟร็องแซซ (Guyane française) เป็นจังหวัดโพ้นทะเล (département d'outre-mer) ของประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่บนชายฝั่งทางเหนือของทวีปอเมริกาใต้ ทิศเหนือจรดมหาสมุทรแอตแลนติก ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับประเทศบราซิล และทางทิศตะวันตกติดกับประเทศซูรินาม เช่นเดียวกับจังหวัดโพ้นทะเลของฝรั่งเศสจังหวัดอื่น ๆ เฟรนช์เกียนายังมีฐานะเป็นแคว้นโพ้นทะเล (région d'outre-mer) ซึ่งเป็น 1 ใน 18 แคว้นของประเทศฝรั่งเศสด้วย โดยถือเป็นส่วนหนึ่งส่วนเดียวกับประเทศฝรั่งเศสในทวีปยุโรปและใช้สกุลเงินยูโรเช่นกัน.

ใหม่!!: รายการภาพธงประจำดินแดนและเฟรนช์เกียนา · ดูเพิ่มเติม »

เฟรนช์เซาเทิร์นและแอนตาร์กติกแลนดส์

เฟรนช์เซาเทิร์นและแอนตาร์กติกแลนดส์ (French Southern and Antarctic Lands) เป็นดินแดนโพ้นทะเลของฝรั่งเศสรวมกับดินแดนในทวีปแอนตาร์กติกาที่ฝรั่งเศสอ้างสิทธิ์ ประกอบด้วยหมู่เกาะแกร์เกแลน (Kerguelen Islands) หมู่เกาะครอเซ (Crozet Islands) เกาะอัมสเตอร์ดัมและเกาะแซ็งปอล (Amsterdam Island and Saint Paul Island) อาเดลีแลนด์ (Adelie Land) และหมู่เกาะกระจายในมหาสมุทรอินเดีย (Scattered Islands in the Indian Ocean) เป็นดินแดนที่ไม่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างถาวร ผู้อาศัยคือทหาร เจ้าหน้าที่พลเรือน นักวิจัยทางวิทยาศาสตร์ หมวดหมู่:ภูมิศาสตร์แอนตาร์กติกา หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2498 หมวดหมู่:การอ้างสิทธิเหนือดินแดนในแอนตาร์กติกา.

ใหม่!!: รายการภาพธงประจำดินแดนและเฟรนช์เซาเทิร์นและแอนตาร์กติกแลนดส์ · ดูเพิ่มเติม »

เกาะนอร์ฟอล์ก

เกาะนอร์ฟอล์ก เป็นดินแดนของออสเตรเลีย เป็นเกาะเล็ก ๆ ที่มีประชากรอาศัยอยู่ ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ มีอาณาเขตตั้งอยู่ระหว่าง ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และนิวแคลิโดเนีย โดยมีเพื่อนบ้านคือ 2 เกาะที่เป็นเขตเกาะของประเทศออสเตรเลีย อยู่ใกล้ ๆ กัน เกาะนอร์ฟอล์กมีเมืองหลวงชื่อคิงส์ตัน แต่ว่าเมืองที่ใหญ่ที่สุดของเกาะคือเบินต์ไพน์ น หมวดหมู่:ประเทศในเขตโอเชียเนีย หมวดหมู่:เกาะในเขตโอเชียเนีย หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2522.

ใหม่!!: รายการภาพธงประจำดินแดนและเกาะนอร์ฟอล์ก · ดูเพิ่มเติม »

เกาะเล็กรอบนอกของสหรัฐอเมริกา

กาะเล็กรอบนอกของสหรัฐอเมริกา (United States Minor Outlying Islands) เป็นชื่อเรียกขานเชิงสถิติซึ่งกำหนดโดยรหัสประเทศ ISO 3166-1 ขององค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน ประกอบด้วยพื้นที่เกาะของสหรัฐอเมริกาเก้าแห่งในมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ได้แก่ เกาะเบเกอร์ เกาะฮาวแลนด์ เกาะจาร์วิส จอห์นสตันอะทอลล์ คิงแมนรีฟ มิดเวย์อะทอลล์ เกาะนาวาสซา แพลไมราอะทอลล์ และเกาะเวก ส่วนดินแดนแคริบเบียน บาโฮนวยโวแบงก์และเซร์รานียาแบงก์ ก็ถูกรวมเข้ามาโดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกาเช่นกัน แต่การอ้างสิทธิ์ยังคงเป็นข้อพิพาทกับประเทศอื่น ในจำนวนนี้ แพลไมราอะทอลล์เท่านั้นที่เป็นดินแดนที่ผนวกเข้ากับสหรัฐอเมริกา เกาะเหล่านี้ไม่มีเกาะใดที่ประชากรอาศัยอยู่อย่างถาวรจนถึง..

ใหม่!!: รายการภาพธงประจำดินแดนและเกาะเล็กรอบนอกของสหรัฐอเมริกา · ดูเพิ่มเติม »

เกาะเวก

กาะเวก (Wake Island) เป็นอาณานิคมของสหรัฐอเมริกาในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือ มีพื้นทีทั้งหมด 6.5 ตารางกิโลเมตร มีสภาพพื้นที่เป็นเกาะปะการัง ใต้น้ำมีภูเขาไฟอยู่ด้วยและมีแนวปะการังรอบเกาะ เกาะเวกมีเพียงแค่บุคคลในราชการทหารสหรัฐเท่านั้นที่อาศัยอยู่ เกาะเวกมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจทางด้านอาหาร มีระบบโทรศัพท์ดินแดนโพ้นทะเล (OTS) มีสถานีวิทยุแต่ไม่สถานีโทรทัศน์ เกาะเวกมีสนามบินอยู่หนึ่งแห่งบนเกาะเวกแต่ไม่มีท่าเรือ เกาะเวกต่างจากบรรดาดินแดนอาณานิคมของสหรัฐในแปซิฟิกเหนือบางดินแดนเนื่องจากมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจ อีกทั้งยังเคยเป็นสมรภูมิในสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกด้ว.

ใหม่!!: รายการภาพธงประจำดินแดนและเกาะเวก · ดูเพิ่มเติม »

เกาะเซาท์จอร์เจียและหมู่เกาะเซาท์แซนด์วิช

เกาะเซาท์จอร์เจียและหมู่เกาะเซาท์แซนวิช (South Georgia and the South Sandwich Islands, SGSSI) เป็นดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักรในมหาสมุทรแอตแลนติกตอนใต้ โดยตกเป็นดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักรในปี พ.ศ. 2528 จากการทำสงครามกรณีพิพาทหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ระหว่างอังกฤษกับอาร์เจนตินา ดินแดนนี้ถูกปกครองโดยตรงจากหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ หมวดหมู่:สหราชอาณาจักร หมวดหมู่:ประเทศในทวีปอเมริกาใต้ หมวดหมู่:ประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2528 หมวดหมู่:เกาะเซาท์จอร์เจียและหมู่เกาะเซาท์แซนด์วิช.

ใหม่!!: รายการภาพธงประจำดินแดนและเกาะเซาท์จอร์เจียและหมู่เกาะเซาท์แซนด์วิช · ดูเพิ่มเติม »

เกาะเซนต์มาร์ติน

ซนต์มาร์ติน (Saint Martin), แซ็ง-มาร์แต็ง (Saint-Martin) หรือ ซินต์มาร์เติน (Sint Maarten) เป็นเกาะทางตะวันออกเฉียงเหนือของทะเลแคริบเบียน ห่างจากเปอร์โตริโกทางทิศตะวันออกราว 300 กม.

ใหม่!!: รายการภาพธงประจำดินแดนและเกาะเซนต์มาร์ติน · ดูเพิ่มเติม »

เกิร์นซีย์

กิร์นซีย์ (Guernsey) หรือ เขตเจ้าพนักงานศาลเกิร์นซีย์ (Bailiwick of Guernsey; Bailliage de Guernesey) เป็นดินแดนปกครองตนเองของสหราชอาณาจักร เป็นเกาะหนึ่งในหมู่เกาะแชนเนลในช่องแคบอังกฤษ มีเมืองหลวงชื่อเซนต์ปีเตอร์พอร์ต.

ใหม่!!: รายการภาพธงประจำดินแดนและเกิร์นซีย์ · ดูเพิ่มเติม »

เมลียา

มลียา (Melilla), มริตช์ (เบอร์เบอร์: ⵎⵔⵉⵞ) หรือ มะลีลียะฮ์ (مليلية) เป็นเมืองหนึ่งของประเทศสเปน ตั้งอยู่ชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนของแอฟริกาเหนือ ทางทิศตะวันตกและทิศใต้ติดต่อกับประเทศโมร็อกโก ชาวสเปนมาตั้งถิ่นฐานที่เมืองนี้ในปี พ.ศ. 2040 แต่เดิมเมืองนี้จัดอยู่ในแคว้นอันดาลูซีอาเนื่องจากเหตุผลทางประวัติศาสตร์ ต่อมาจึงถูกปกครองในฐานะส่วนหนึ่งของจังหวัดมาลากา ก่อนจะได้รับสิทธิ์ในการปกครองตนเองเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2538 และเมืองนี้ยังเคยเป็นเมืองท่าปลอดภาษีก่อนที่สเปนจะเข้าร่วมสหภาพยุโรป พลเมืองประกอบด้วยคริสต์ศาสนิกชน ชาวมุสลิม ชาวยิว และชนกลุ่มน้อยชาวฮินดู ใช้ภาษาสเปนและ/หรือภาษาเบอร์เบอร์ในการสื่อสาร.

ใหม่!!: รายการภาพธงประจำดินแดนและเมลียา · ดูเพิ่มเติม »

เรอูนียง

รอูนียง หรือ เรอูว์นียง (La Réunion) เป็นเกาะตั้งอยู่บริเวณมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกของมาดากัสการ์ และห่างจากมอริเชียสไปทางตะวันตกเฉียงใต้ 200 กิโลเมตร (130 ไมล์) ในระบบบริหาร เรอูนียงเป็นหนึ่งในจังหวัดโพ้นทะเลของประเทศฝรั่งเศส เหมือนกับจังหวัดโพ้นทะเลอื่น ๆ เรอูนียงก็เป็นหนึ่งใน 18 แคว้นของประเทศฝรั่งเศส (ในฐานะแคว้นโพ้นทะเล) และเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐโดยมีสถานะเท่ากับแคว้นอื่น ๆ ในภาคพื้นทวีปยุโรป เรอูนียงเป็นแคว้นที่อยู่ห่างไกลที่สุดในกลุ่มสหภาพยุโรปและใช้สกุลเงินยูโร ตามความจริง ตำแหน่งที่ตั้งของเรอูนียงในเขตเวลาทางด้านตะวันออกของทวีปยุโรป ทำให้เรอูนียงเป็นแคว้นแรกในโลกที่ใช้สกุลเงินยูโร และการใช้สกุลเงินยูโรเป็นครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อเวลา 00.01 นาฬิกา เมื่อนายกเทศมนตรีเมืองแซง-เดอนี เรอเน-ปอล วิกโตเรีย ซื้อลิ้นจี่ถุงหนึ่งในตล.

ใหม่!!: รายการภาพธงประจำดินแดนและเรอูนียง · ดูเพิ่มเติม »

เจอร์ซีย์

เจอร์ซีย์ (Jersey) เป็นดินแดนอาณานิคมปกครองตนเองของสหราชอาณาจักร เป็นเกาะหนึ่งในหมู่เกาะแชนเนลในช่องแคบอังกฤษ มีเมืองหลวงชื่อ เซนต์เฮลเยอร์ หมวดหมู่:ดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร หมวดหมู่:เกาะในทวีปยุโรป จ หมวดหมู่:เจอร์ซีย์.

ใหม่!!: รายการภาพธงประจำดินแดนและเจอร์ซีย์ · ดูเพิ่มเติม »

เขตการปกครองของประเทศฝรั่งเศส

ตการปกครองของประเทศฝรั่งเศส แบ่งออกเป็นเขตแผ่นดินใหญ่และเขตโพ้นทะเล.

ใหม่!!: รายการภาพธงประจำดินแดนและเขตการปกครองของประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

เซวตา

ซวตา (Ceuta) หรือ ซับตะฮ์ (سبتة) เป็นนครปกครองตนเองแห่งหนึ่งของประเทศสเปนในแอฟริกาเหนือ ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งด้านใต้ของช่องแคบยิบรอลตาร์ มีเนื้อที่ประมาณ 28 ตารางกิโลเมตร ประเทศโมร็อกโกได้อ้างกรรมสิทธิ์เหนือเมืองนี้รวมทั้งเมลียาและหมู่เกาะเล็ก ๆ ของสเปนในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน.

ใหม่!!: รายการภาพธงประจำดินแดนและเซวตา · ดูเพิ่มเติม »

เซนต์เฮเลนา

ซนต์เฮเลนา เป็นเกาะภูเขาไฟและอยู่ในเครือจักรภพของสหราชอาณาจักร อยู่ทางตอนใต้ของมหาสมุทรแอตแลนติก เกาะใกล้เคียงก็อยู่ในเครือจักรภพเช่นกัน ทั้งเกาะแอสเซนซันและตริสตัน ดา กุนญา เซนต์เฮเลนาเป็นที่รู้จักเมื่อครั้งที่จักรพรรดินโปเลียน โบนาปาร์ตแห่งฝรั่งเศส ถูกเนรเทศไปที่เกาะนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2358 จนสวรรคตเมื่อปี พ.ศ. 2364 สถานที่สำคัญคือ ลองวู้ด เฮาส์ (Longwood House) อันเป็นสถานที่ที่นโปเลียนพำนักระหว่างการเนรเทศอยู่ และแซน แวลลี (Sane Valley) ซึ่งที่ฝังพระศพ เกาะนี้เคยเป็นของฝรั่งเศสจนกระทั่งกลายมาเป็นของอังกฤษเมื่อปี พ.ศ. 2401 เซนต์เฮเลนาเป็นสมาชิกของสมาคมการกีฬาหมู่เกาะนานาชาติ (International Island Games Associetion).

ใหม่!!: รายการภาพธงประจำดินแดนและเซนต์เฮเลนา · ดูเพิ่มเติม »

เนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส

นเธอร์แลนด์แอนทิลลีส (Nederlandse Antillen; Netherlands Antilles) เป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะเลสเซอร์แอนทิลลีส (Lesser Antilles) และประกอบด้วยเกาะในทะเลแคริบเบียนสองกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแรกคือ กือราเซาและโบแนเรอ ตั้งอยู่นอกชายฝั่งประเทศเวเนซุเอลา อีกกลุ่มคือ ซินต์เอิสตาซียึส ซาบา และซินต์มาร์เติน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของหมู่เกาะเวอร์จิน หมู่เกาะต่าง ๆ เหล่านี้มีฐานะเป็นดินแดนปกครองตนเองภายใต้ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ เศรษฐกิจหลักของเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีสส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับการท่องเที่ยวและปิโตรเลียม ในปี..

ใหม่!!: รายการภาพธงประจำดินแดนและเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »