โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ราชอาณาจักรโบฮีเมีย

ดัชนี ราชอาณาจักรโบฮีเมีย

ราชอาณาจักรโบฮีเมีย (Kingdom of Bohemia; České království; Königreich Böhmen; Regnum Bohemiae) เป็นราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ในตอนกลางของทวีปยุโรปที่ได้รับการก่อตั้งโดยสารตราทองแห่งซิซิลีที่ออกโดยจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในปี ค.ศ. 1212 ที่เป็นพระราชโองการที่ยกฐานะดัชชีโบฮีเมียขึ้นเป็นราชอาณาจักร ราชอาณาจักรโบฮีเมียจึงเป็นสมาชิกอิสระของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ต่อมาก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออสเตรียและมาถูกยุบในปี ค.ศ. 1918 เมื่อจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีล่มสลายลง เมื่อพระเจ้าคาร์ลที่ 3 แห่งโบฮีเมียทรงสละราชสมบัติ การประชุมสภาแห่งชาติปลดราชวงศ์ฮับส์บูร์ก-โลทริงเงินและประกาศให้เป็นสาธารณรัฐเชโกสโลวักที่ 1 ราชอาณาจักรโบฮีเมียเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินของพระมหากษัตริย์โบฮีเมีย (Lands of the Bohemian Crown) ที่รวมทั้ง.

40 ความสัมพันธ์: ฟรีดริชที่ 1 ผู้คัดเลือกแห่งบรันเดินบวร์คพ.ศ. 1755พ.ศ. 1898พ.ศ. 1899พ.ศ. 2069พ.ศ. 2461พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียพระเจ้าออทโทคาร์ที่ 1 แห่งโบฮีเมียพระเจ้าออทโทคาร์ที่ 2 แห่งโบฮีเมียภาษาละตินภาษาเช็กภาษาเยอรมันรัฐผู้คัดเลือกซัคเซินราชวงศ์ลักเซมเบิร์กรายพระนามพระมหากษัตริย์โบฮีเมียจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จักรพรรดิคาร์ลที่ 1 แห่งออสเตรียจักรพรรดิคาร์ลที่ 4 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จักรพรรดิซีกิสมุนด์แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จักรพรรดินีมาเรีย เทเรซาจักรพรรดิแฟร์ดีนันด์ที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จักรพรรดิแฟร์ดีนันด์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จักรวรรดิออสเตรียจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ดัชชีสติเรียดัชชีคารินเทียประเทศโปแลนด์ประเทศเช็กเกียปรากปราสาทปรากนิกายลูเทอแรนโรมันคาทอลิกโอเบิร์ฟฟัล์ซไซลีเซีย16 ธันวาคม25 ธันวาคม26 กันยายน31 ตุลาคม5 เมษายน

ฟรีดริชที่ 1 ผู้คัดเลือกแห่งบรันเดินบวร์ค

ฟรีดริชที่ 1 เจ้าผู้คัดเลือกแห่งบรันเดินบวร์ค (Frederick I, Elector of Brandenburg) (21 กันยายน ค.ศ. 1371 - 20 กันยายน ค.ศ. 1440) ฟรีดริชมีบรรดาศักดิ์เป็นพรินซ์เจ้าผู้คัดเลือกแห่งรัฐมาร์เกรฟบรันเดินบวร์คในเครือจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ระหว่าง ค.ศ. 1415 จนถึง ค.ศ. 1440 ฟรีดริชเป็นบุตรของฟรีดริชที่ 5 เบอร์กราฟแห่งเนิร์นแบร์ก และ เอลิสซาเบธแห่งไมส์เสน และเป็นสมาชิกคนแรกของตระกูลโฮเฮนโซลเลิร์นที่ได้ปกครองรัฐมาร์เกรฟบรันเดินบวร.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรโบฮีเมียและฟรีดริชที่ 1 ผู้คัดเลือกแห่งบรันเดินบวร์ค · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1755

ทธศักราช 1755 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรโบฮีเมียและพ.ศ. 1755 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1898

ทธศักราช 1898 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรโบฮีเมียและพ.ศ. 1898 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1899

ทธศักราช 1899 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรโบฮีเมียและพ.ศ. 1899 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2069

ทธศักราช 2069 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรโบฮีเมียและพ.ศ. 2069 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2461

ทธศักราช 2461 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1918 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคาร ตามปฏิทินเกรกอเรียน หรือ ปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธ ตามปฏิทินจูเลียน.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรโบฮีเมียและพ.ศ. 2461 · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซีย

ระเจ้าฟรีดริชที่ 2 (เยอรมัน: Friedrich II.; อังกฤษ: Frederick II หรือ พระเจ้าฟรีดริชมหาราช (24 มกราคม ค.ศ. 1712 - 17 สิงหาคม ค.ศ. 1786 เป็นพระมหากษัตริย์ปรัสเซียจากราชวงศ์โฮเอินโซลเลิร์น โดยทรงครองราชย์ระหว่างปีค.ศ. 1740 จนถึงปีค.ศ. 1786 พระองค์ทรงเป็นลำดับที่สามและ ‘กษัตริย์ในปรัสเซีย(King in Prussia)’ องค์สุดท้าย ก่อนที่จะฉลองพระอิสรยยศขึ้นเป็น ‘กษัตริย์แห่งปรัสเซีย(King of Prussia)’ หลังจากที่ได้รับดินแดนทางประวัติศาสตร์ดั้งเดิมของปรัสเซีย นอกจากนั้นก็ยังทรงดำรงตำแหน่งผู้คัดเลือกแห่งบรันเดนบวร์กในพระนามว่า “ฟรีดริชที่ 4” และทรงได้รับสมญานามว่า ‘พระเจ้าฟรีดริชมหาราช’ และมีพระนามเล่นว่า ‘เจ้าฟริทซ์แก่(der Alte Fritz)” พระเจ้าฟรีดริชทรงมีความสนพระทัยทางศิลปะตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์และทรงพยายามหนีจาการควบคุมจากพระบิดาครั้งหนึ่งแต่ไม่สำเร็จ พระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 1 พระราชบิดาทรงเข้มงวดจนได้รับสมญานามว่า “กษัตริย์ทหาร” เมื่อยังทรงพระเยาว์ฟรีดริชทรงถูกบังคับให้ดูการประหารชีวิตอย่างทารุณของพระสหายที่ทรงรู้จักกันมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ เมื่อทรงขึ้นครองราชย์ในปีแรกทรงโจมตีจักรวรรดิออสเตรียและยึดครองบริเวณไซลีเซีย ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศโปแลนด์ปัจจุบันซึ่งเป็นดินแดนยึดครองที่มีส่วนสำคัญในการวางรากฐานในการขยายดินแดนของปรัสเซียและเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่ราชอาณาจักรปรัสเซีย ในบั้นปลายของชีวิตพระเจ้าฟรีดริชทรงรวมอาณาจักรต่าง ๆ ที่เคยเป็นราชรัฐเล็กของปรัสเซียเข้าด้วยกันรวมทั้งดินแดนที่ทรงได้มาจากการแบ่งแยกโปแลนด์ พระเจ้าฟรีดริชทรงเป็นผู้สนับสนุนการปกครองระบบที่มีพื้นฐานมาจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์อันทรงภูมิธรรม ทรงติดต่อสื่อสารกับวอลแตร์ นักปรัชญาเป็นเวลาราวห้าสิบปี และมีความสนิทสนมกันมากแต่ในขณะเดียวกันความสัมพันธ์ก็เต็มไปด้วยความขัดแย้งโดยตลอด พระราชกรณียกิจที่สำคัญ ๆ คือการปรับปรุงระบบการบริหารราชการและข้าราชการ และยังทรงสนับสนุนเสรีภาพของการนับถือศาสนา ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์ศิลปินและนักปรัชญา เมื่อสิ้นพระชนม์ร่างของพระองค์ถูกฝังอยู่ที่พระราชวังที่โปรดปรานที่วังซองส์ซูซิที่เมืองพอทสดัม เมื่อสิ้นพระชนม์ บัลลังก์ตกไปเป็นของพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 2 พระราชนัดดาเพราะพระองค์เองไม่มีพระราชโอรส ฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 2 เป็นพระโอรสของเจ้าชายเอากุสท์ วิลเฮล์มแห่งปรัสเซีย พระอนุชาของพระเจ้าฟรีดริชเอง.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรโบฮีเมียและพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าออทโทคาร์ที่ 1 แห่งโบฮีเมีย

มเด็จพระเจ้าออตโตคาร์ที่ 1 แห่งโบฮีเมีย (Přemysl I. Otakar, Ottokar I of Bohemia) (ราว ค.ศ. 1155 - 15 ธันวาคม ค.ศ. 1230) เป็นพระราชโอรสองค์รองของดยุกและกษัตริย์สมเด็จพระเจ้าวลาดิสเสลาสที่ 2 ในช่วงแรกของการครองราชย์เป็นสมัยของอนาธิปไตยที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปในราชอาณาจักร หลักจากการต่อสู้อยู่พักหนึ่งก็เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรโบฮีเมียโดยพระจักรพรรดิไฮนริคที่ 6 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในปี..

ใหม่!!: ราชอาณาจักรโบฮีเมียและพระเจ้าออทโทคาร์ที่ 1 แห่งโบฮีเมีย · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าออทโทคาร์ที่ 2 แห่งโบฮีเมีย

ระเจ้าออทโทคาร์ที่ 2 แห่งโบฮีเมีย (Přemysl II., Ottokar II of Bohemia หรือ "The Iron and Golden King") (ราว ค.ศ. 1233 - 26 สิงหาคม ค.ศ. 1278) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรโบฮีเมียผู้ทรงครองราชสมบัติต่อจากพระราชบิดาพระเจ้าเวนสเลาสที่ 1 ในปี ค.ศ. 1253 และครองราชย์ต่อมาจนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 1278 พระราชโอรสพระเจ้าเวนสเลาสที่ 2 ทรงเป็นผู้สืบราชสมบัติต่อจากพระองค์ พระเจ้าออทโทคาร์ที่ 2 ทรงเป็นดยุกแห่งออสเตรียระหว่าง ค.ศ. 1251 จนถึงปี ค.ศ. 1276 ดยุกแห่งสไตเรียระหว่าง ค.ศ. 1260 จนถึงปี ค.ศ. 1276, ดยุกแห่งคารินเทียระหว่าง ค.ศ. 1269 จนถึงปี ค.ศ. 1276 และดยุกแห่งคาริโอลาระหว่าง ค.ศ. 1269 จนถึงปี ค.ศ. 1276 พระเจ้าออทโทคาร์ที่ 2 เป็นพระราชโอรสองค์ที่สองของพระเจ้าเวนสเลาสที่ 1 และ คุนิกุนเดอแห่งโฮเฮ็นสเตาเฟ็น.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรโบฮีเมียและพระเจ้าออทโทคาร์ที่ 2 แห่งโบฮีเมีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรโบฮีเมียและภาษาละติน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเช็ก

ภาษาเช็ก เป็นภาษาราชการของเช็กเกีย อยู่ในกลุ่มภาษาสลาวิกตะวันตก มีผู้พูดประมาณ 12 ล้านคน หมวดหมู่:ภาษาในสาธารณรัฐเช็ก.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรโบฮีเมียและภาษาเช็ก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเยอรมัน

ษาเยอรมัน (German; Deutsch) เป็นภาษากลุ่มเจอร์แมนิกด้านตะวันตก และเป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุดในสหภาพยุโรป ส่วนใหญ่พูดในประเทศเยอรมนี ออสเตรีย ลิกเตนสไตน์ ส่วนมากของสวิตเซอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก แคว้นปกครองตนเองเตรนตีโน-อัลโตอาดีเจในอิตาลี แคว้นทางตะวันออกของเบลเยียม บางส่วนของโรมาเนีย แคว้นอาลซัสและบางส่วนของแคว้นลอแรนในฝรั่งเศส นอกจากนี้ อาณานิคมเดิมของประเทศเหล่านี้ เช่น นามิเบีย มีประชากรที่พูดภาษาเยอรมันได้พอประมาณ และยังมีชนกลุ่มน้อยที่พูดภาษาเยอรมันในหลายประเทศทางยุโรปตะวันออก เช่น รัสเซีย ฮังการี และสโลวีเนีย รวมถึงอเมริกาเหนือ (โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา) รวมถึงบางประเทศในละตินอเมริกา เช่น อาร์เจนตินา และในบราซิล โดยเฉพาะในรัฐ รีโอกรันดีโดซูล ซันตากาตารีนา ปารานา และเอสปีรีตูซันตู ชาวอามิช รวมถึงชาวเมนโนไนต์บางคนก็เป็นภาษาเยอรมันอย่างหนึ่ง ประมาณ 120 ล้านคน คือ 1/4 ของชาวยุโรปทั้งหมด พูดภาษาเยอรมัน ภาษาเยอรมันเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนทั่วโลกมาเป็นอันดับ 3 และเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในยุโรป (เป็นรองภาษาอังกฤษ) สหรัฐอเมริกา และเอเชียตะวันออก (ประเทศญี่ปุ่น) เป็นหนึ่งในภาษาราชการของสหภาพยุโรป ผู้รู้ภาษาเยอรมันในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรโบฮีเมียและภาษาเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

รัฐผู้คัดเลือกซัคเซิน

รัฐผู้คัดเลือกซัคเซิน (Kurfürstentum Sachsen) หรือบางครั้งรู้จักกันในชื่อ โอเบอร์ซัคเซิน (Obersachsen) เป็นรัฐหนึ่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ รัฐผู้คัดเลือกซัคเซินเกิดจากการล่มสลายลงของดัชชีซัคเซินในปี..

ใหม่!!: ราชอาณาจักรโบฮีเมียและรัฐผู้คัดเลือกซัคเซิน · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ลักเซมเบิร์ก

ตราประจำราชวงศ์ลักเซมเบิร์ก ราชวงศ์ลักเซมเบิร์ก (House of Luxembourg) เป็นราชตระกูลยุคกลางของตระกูลขุนนางแห่งลักเซมเบิร์ก ในปี ค.ศ. 1308 ไฮนริคเคานท์แห่งลักเซมเบิร์กได้เป็นกษัตริย์แห่งเยอรมนี ไม่นานหลังจากนั้นพระราชโอรสของพระองค์จอห์นแห่งลักเซมเบิร์กก็ได้รับราชบัลลังก์โบฮีเมีย การครองจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ของราชวงศ์ลักเซมเบิร์กถูกขัดโดยราชวงศ์วิทเทลส์บัคสองครั้ง เมื่อพระจักรพรรดิซิจิสมุนด์เสด็จสวรรคตราชวงศ์ลักเซมเบิร์กก็สิ้นสุดลงและมาแทนที่ด้วยราชวงศ์ฮับส์บวร์ก.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรโบฮีเมียและราชวงศ์ลักเซมเบิร์ก · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์โบฮีเมีย

ระมหากษัตริย์แห่งโบฮีเมียเป็นตำแหน่งที่ปกครองราชอาณาจักรโบฮีเมีย ปกครองโดยดยุคในปี ค.ศ. 870 - ค.ศ. 1085, ค.ศ. 1092 - ค.ศ. 1158 และ ค.ศ. 1172 - ค.ศ. 1198 และปกครองโดยสมเด็จพระมหากษัตริย์ในปี ค.ศ. 1085 - ค.ศ. 1092, ค.ศ. 1158 - ค.ศ. 1172 และ ค.ศ. 1198 - ค.ศ. 1918.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรโบฮีเมียและรายพระนามพระมหากษัตริย์โบฮีเมีย · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันศักดิ์สิทธิ์ จักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Federico II del Sacro Romano Impero; Friedrich II 26 ธันวาคม พ.ศ. 1737–13 ธันวาคม พ.ศ. 1793) เสด็จพระราชสมภพที่นครเจซี ประเทศอิตาลี เป็นพระราชนัดดาของจักรพรรดิฟรีดิชที่ 1 ขึ้นครองราชย์แทนจักรพรรดิไฮน์ริชที่ 6 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เมื่อ พ.ศ. 1763 และทรงเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์โฮเฮนสเตาเฟ็น ทรงเป็นกษัตริย์แห่งซิชิลีเมื่อ พ.ศ. 1741 และกษัตริย์แห่งเยอรมนีเมื่อ พ.ศ. 1755 จักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 ได้รับราชาภิเษกเป็นจักรพรรดิโรมันศักดิ์สิทธิ์โดยพระสันตะปาปา เมื่อ พ.ศ. 1743 พระองค์มีความปรารถนาสูงยิ่งใคร่ที่จะผนึกอำนาจจักรวรรดิในอิตาลีให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันโดยอาศัยอิทธิพลของพระสันตะปาปา พระองค์ได้อุทิศพระวรกายเป็นอย่างมากในความพยายามขยายอาณาเขตอิตาลี แต่แผนของพระองค์ทำให้เมืองต่างๆ ที่ขึ้นอยู่กับแคว้นลอมบาร์ดต่อต้านไม่พอใจ รวมทั้งองค์พระสันตปาปาด้วย เมื่อทรงเป็นผู้นำทัพในสงครามครูเสดครั้งที่ 6 เมื่อ พ.ศ. 1771 (ค.ศ. 1228) พระองค์ทรงยึดเมืองเยรูซาเลมและตั้งตนขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งเยรูซาเลมเมื่อ พ.ศ. 1772 เมื่อเสด็จกลับถึงอิตาลีจากการสงคราม พระองค์กลับต้องมาต่อสู้ขัดแย้งกับองค์พระสันตะปาปาจนสิ้นพระชนม์ จักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 เสด็จสวรรคตลงเมื่อปี..

ใหม่!!: ราชอาณาจักรโบฮีเมียและจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิคาร์ลที่ 1 แห่งออสเตรีย

ักรพรรดิคาร์ลที่ 1 แห่งออสเตรีย หรือ สมเด็จพระเจ้าคาร์ลที่ 4 แห่งฮังการี (พระนามเต็ม: คาร์ล ฟรันซ์ โยเซฟ ลุดวิก ฮิวเบิร์ต จอร์ช มาเรีย; Karl Franz Josef Ludwig Hubert Georg Maria von Habsburg-Lothringen, ภาษาฮังการี: Károly Ferenc József) ทรงเป็นจักรพรรดิออสเตรียและพระมหากษัตริย์ฮังการี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2459 ถึง พ.ศ. 2461 หลังจากที่ราชวงศ์ถูกโค่นอำนาจ เมื่อตอนที่ทรงเถลิงวัลย์ราชสมบัติ พระองค์ทรงได้รับพระนามอย่างเป็นทางการว่า จักรพรรดิคาร์ลที่ 1 แห่งออสเตรีย (สมเด็จพระเจ้าคาร์ลที่ 4 แห่งฮังการี); His Imperial and Royal Apostolic Majesty the Emperor Karl I of Austria and the Apostolic King Karl IV of Hungary.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรโบฮีเมียและจักรพรรดิคาร์ลที่ 1 แห่งออสเตรีย · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิคาร์ลที่ 4 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

มเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 4 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Charles IV, Holy Roman Emperor) (14 พฤษภาคม ค.ศ. 1316 - 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1378) เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่สองของโบฮีเมียจากราชวงศ์ลักเซมเบิร์ก และทรงเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ คาร์ลเป็นพระราชโอรสองค์โตและรัชทายาทของจอห์นแห่งโบฮีเมียผู้สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 1346 ฉะนั้นคาร์ลจึงทรงได้รับอาณาจักรเคานท์แห่งลักเซมเบิร์กและราชอาณาจักรโบฮีเมีย และทรงเข้าทำพิธีบรมราชาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์แห่งโบฮีเมียเมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1347 เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 1346 สภาผู้เลือกตั้งจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Prince-elector) ก็เลือกพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์แห่งชาวโรมันหรือพระมหากษัตริย์แห่งเยอรมนีในการต่อต้านสมเด็จพระจักรพรรดิลุดวิกที่ 4 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ คาร์ลทรงได้รับการสวมมงกุฎเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1346 ที่บอนน์ หลังจากจักรพรรดิลุดวิกเสด็จสวรรคตคาร์ลก็ได้รับเลือกเป็นพระจักรพรรดิอีกครั้งในปีเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 1349 และทรงได้รับการสวมมงกุฎเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม และต่อมาเมื่อวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1355 พระองค์ก็ทรงได้รับการสวมมงกุฎเป็นพระมหากษัตริย์แห่งอิตาลี และสวมมงกุฎเป็นพระจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์เมื่อวันที่ 5 เมษายน การสวมมงกุฎเป็นพระมหากษัตริย์แห่งเบอร์กันดีถูกเลื่อนไปเป็นวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1365 พระองค์ก็ทรงได้รับการสวมมงกุฎเป็นพระมหากษัตริย์แห่งเบอร์กันดี นอกจากจะเป็นพระมหากษัตริย์ในราชอาณาจักรต่างๆ แล้วพระองค์ก็ยังทรงดำรงตำแหน่งเป็นเคานท์ลักเซมเบิร์ก (ค.ศ. 1346–ค.ศ. 1378) และมากราฟแห่งบรันเดนเบิร์ก (ค.ศ. 1373–ค.ศ. 1378).

ใหม่!!: ราชอาณาจักรโบฮีเมียและจักรพรรดิคาร์ลที่ 4 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิซีกิสมุนด์แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ักรพรรดิซีกิสมุนด์แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Sigismund, Holy Roman Emperor) (14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1368 - 9 ธันวาคม ค.ศ. 1437) แห่งราชวงศ์ลักเซมเบิร์ก ผู้ทรงครองราชบัลลังก์ระหว่างวันที่ ค.ศ. 1433 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 1437 ซิกิสมุนด์เป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชอาณาจักรฮังการีเป็นระยะเวลานานที่สุด เป็นเวลาถึง 50 ปีตั้งแต่ ค.ศ. 1387 จนถึง ค.ศ. 1437 และยังเป็นพระมหากษัตริย์แห่งโบฮีเมีย, ลอมบาร์เดีย และเยอรมนี ซิกิสมุนด์ทรงเป็นผู้หนุนหลังคนสำคัญของสภาสังคายนาแห่งคอนสแตนส์ (Council of Constance) ที่เป็นการยุติศาสนเภทตะวันตก (Western Schism) ที่นำไปสู่การยุติสงครามฮุสไซต์ (Hussite Wars) ต่อมาด้วย จักรพรรดิซิกิสมุนด์เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1368 ที่เนือร์นแบร์ก ในเยอรมนี พระองค์เป็นพระราชโอรสในจักรพรรดิคาร์ลที่ 4 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และพระอัครมเหสีองค์ที่สี่เอลิซาเบธแห่งพอเมอเรเนีย และอภิเษกสมรสกับแมรี สมเด็จพระราชินีแห่งฮังการี และต่อมากับ Barbara of Celje พระเจ้าซีกิสมุนด์เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 1437 ในโบฮีเมี.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรโบฮีเมียและจักรพรรดิซีกิสมุนด์แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินีมาเรีย เทเรซา

ักรพรรดินีมาเรีย เทเรซา (Maria Theresia von Österreich, Maria Theresa of Austria; พระนามเต็ม: มาเรีย เทเรเซีย วาร์ลบูก้า อมาเลีย คริสติน่า ฟอน ฮับส์บูร์ก) หรือ สมเด็จพระราชินีนาถมาเรีย เทเรซา แห่งฮังการีและโบฮีเมีย เป็นจักรพรรดินีแห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จากอภิเษกสมรส แต่พระราชอำนาจทั้งหมดอยู่ที่พระองค์เพียงผู้เดียว นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงเป็นประมุขแห่งออสเตรีย ฮังการี โบฮีเมีย โครเอเชีย และสลาโวเนีย ถือว่า พระองค์ทรงเป็นหนึ่งในพระประมุขผู้ทรงอำนาจที่สุดในทวีปยุโรปเลยทีเดียว.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรโบฮีเมียและจักรพรรดินีมาเรีย เทเรซา · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิแฟร์ดีนันด์ที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ักรพรรดิแฟร์ดีนันด์ที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Ferdinand I, Kaiser des Heiligen Römischen Reiches) (10 มีนาคม ค.ศ. 1503 - 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1564) เป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ระหว่างวันที่ ค.ศ. 1558 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1564 นอกจากจะทรงเป็นประมุขของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์แล้ว จักรพรรดิแฟร์ดีนันด์ที่ 1 ก็ยังเป็นพระมหากษัตริย์แห่งโบฮีเมียและพระมหากษัตริย์แห่งโปแลนด์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1526 และทรงเป็นอาร์ชดยุกแห่งออสเตรียตั้งแต่ปี ค.ศ. 1521 จนเสด็จสวรรคต หลังจากที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 2 แห่งฮังการีผู้ทรงพระอนุชาเขยของพระองค์เสด็จสวรรคต แฟร์ดีนันด์ก็ทรงปกครองเป็นพระมหากษัตริย์แห่งโบฮีเมียและฮังการี และเมื่อจักรพรรดิคาร์ลสละราชสมบัติในปี..

ใหม่!!: ราชอาณาจักรโบฮีเมียและจักรพรรดิแฟร์ดีนันด์ที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิแฟร์ดีนันด์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

มเด็จพระจักรพรรดิรดิเฟอร์ดินานด์ที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Ferdinand II, Holy Roman Emperor) (9 กรกฎาคม ค.ศ. 1578 - 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1637) ทรงเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์แห่งราชวงศ์ฮับส์บวร์ก ผู้ทรงครองราชบัลลังก์ระหว่างปี ค.ศ. 1619 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1637 พระองค์ครองราชย์ต่อจากสมเด็จพระจักรพรรดิแม็ทไธยัสผู้ทรงเป็นลูกพี่ลูกน้องกัน.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรโบฮีเมียและจักรพรรดิแฟร์ดีนันด์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิออสเตรีย

ักรวรรดิออสเตรีย (Austrian Empire; Kaisertum Österreich) เป็นจักรวรรดิที่ก่อตั้งจากอาณาบริเวณที่เหลือจากจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ตั้งอยู่ที่ประเทศออสเตรียในปัจจุบัน รุ่งเรืองในช่วง..

ใหม่!!: ราชอาณาจักรโบฮีเมียและจักรวรรดิออสเตรีย · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี

ักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี รู้จักกันในนาม ออสเตรีย-ฮังการี (Austria-Hungary) เป็นจักรวรรดิที่มีระบอบการปกครองแบบควบคู่ (Dual Monarchy) เจริญรุ่งเรืองตั้งแต่ปีพ.ศ. 2410 จนถึง พ.ศ. 2461 หลังจากนั้น จักรวรรดินี้ถูกล้มล้างหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 จักรวรรดินี้ได้สืบทอดมาจากจักรวรรดิออสเตรีย (ค.ศ. 1804-ค.ศ. 1867) โดยมีอาณาเขตพื้นที่เดียวกัน โดยมีต้นกำเนิดจากการเจรจาต่อรองระหว่างออสเตรียและฮังการี เมื่อปีพ.ศ. 2410 ซึ่งทั้งสองประเทศนี้ถูกปกครองโดยราชวงศ์ฮับส์บูร์กมาช้านาน โดยเจรจาให้มีการรวมอาณาจักรเป็นหนึ่งเดียว โดยจักรวรรดินี้เป็นอาณาจักรที่มีหลากหลายเชื้อชาติและมีความเจริญรุ่งเรืองขีดสุด ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และอุตสาหกรรม ราชวงศ์ฮับส์บูร์กนั้นได้ปกครองประเทศในฐานะจักรพรรดิแห่งออสเตรีย (Emperor of Austria) และราชอาณาจักรฮังการีในฐานะกษัตริย์แห่งฮังการี (Apostolic King of Hungary) ผู้ทรงเปรียบเสมือนเบื้องขวาแห่งองค์พระผู้เป็นเจ้า นอกจากนั้นยังได้ปกครองทั่วทั้งทางตะวันตกและทางเหนือ รวมทั้งครึ่งหนึ่งของทวีปยุโรปเลยทีเดียว โดยทุกประเทศที่อยู่ภายใต้จักรวรรดินี้ มีรัฐบาลเป็นของตนเอง มิได้มีรัฐบาลและศูนย์กลางทางการเมืองหรือรัฐบาลที่ประเทศเดียว เมืองหลวงของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีนั้น มีอยู่ 2 เมืองด้วยกันคือ กรุงเวียนนา ที่ประเทศออสเตรีย และกรุงบูดาเปสต์ที่ประเทศฮังการี จักรวรรดินี้มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากจักรวรรดิรัสเซีย และเป็นอาณาจักรที่มีประชากรหนาแน่นเป็นอันดับ 3 รองจากจักรวรรดิรัสเซียและจักรวรรดิเยอรมัน ซึ่งปัจจุบันนี้ พื้นที่ที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดินั้นมีประชากรรวมทั้งหมดถึง 73 ล้านคน.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรโบฮีเมียและจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ละติน: Sacrum Imperium Romanum, Heiliges Römisches Reich) เป็นอภิมหาอำนาจในอดีต เป็นจักรวรรดิซึ่งประกอบด้วยดินแดนหลากเชื้อชาติในยุโรปกลาง ก่อกำเนิดขึ้นในสมัยกลางตอนต้นและล่มสลายลงในปี..

ใหม่!!: ราชอาณาจักรโบฮีเมียและจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ดัชชีสติเรีย

ัชชีสติเรีย (Duchy of Styria; Herzogtum Steiermark; Vojvodina Štajerska; Stájerország) เป็นดัชชีที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของออสเตรียและทางเหนืของสโลวีเนียปัจจุบัน ดัชชีสติเรียเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จนกระทั่งถูกยุบในปี..

ใหม่!!: ราชอาณาจักรโบฮีเมียและดัชชีสติเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ดัชชีคารินเทีย

ัชชีคารินเทียหรือดัชชีแคร์นเทิน (Herzogtum Kärnten, Vojvodina Koroška, Duchy of Carinthia) เป็นดัชชีที่เป็นรัฐบริวารของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์มาตั้งแต่ ค.ศ. 976 จนถึง ค.ศ. 1806 เมื่อจักรวรรดิถูกยุบตัว หลังจากนั้นก็ตกไปเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออสเตรีย จนถึง ค.ศ. 1918 เมื่อจักรวรรดิถูกยุบตัว ตามสนธิสัญญาแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แล (ค.ศ. 1919) ดินแดนส่วนใหญ่ของคารินเทียก็ก่อตั้งเป็นรัฐคารินเทียของออสเตรีย ส่วนเล็กทางตะวันออกเฉียงใต้ (ราวครึ่งหนึ่งของบริเวณสโลวีน (มณฑลคารินเทีย) และเมืองเยแซร์สโค) รวมเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีนที่ก่อตั้งขึ้นใหม่ ขณะที่บริเวณหุบเขาคานาเลและเมืองทาร์วิสซิโอตกไปเป็นของราชอาณาจักรอิตาลี.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรโบฮีเมียและดัชชีคารินเทีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโปแลนด์

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรโบฮีเมียและประเทศโปแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเช็กเกีย

็กเกีย (Czechia; Česko) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐเช็ก (Czech Republic; Česká republika) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล อยู่ในภูมิภาคยุโรปกลาง พรมแดนทางตอนเหนือจรดประเทศโปแลนด์ ทางตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือจรดเยอรมนี ทางใต้จรดออสเตรีย และทางตะวันออกจรดสโลวาเกีย เช็กเกียประกอบด้วยภูมิภาคที่เก่าแก่สองส่วน คือ โบฮีเมียและมอเรเวีย และส่วนหนึ่งของภูมิภาคที่สาม เรียกว่า ไซลีเซีย ประเทศนี้ได้เข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 เมืองหลวงของประเทศคือ ปราก เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศด้วย เมืองสำคัญอื่น ๆ ของประเทศ ได้แก่ เบอร์โน, ออสตราวา, เปิลเซน, ฮราเดตส์กราลอเว, เชสเกบุดเยยอวีตเซ และอูสตีนัดลาเบม นับตั้งแต่การยุบเลิกประเทศเชโกสโลวาเกียเมื่อปลายปี พ.ศ. 2535 กระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงศึกษาธิการของสาธารณรัฐเช็กได้สนับสนุนให้ใช้ชื่อประเทศแบบสั้นเป็นภาษาอังกฤษว่า "เช็กเกีย" (Czechia) แต่ก็ยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก จนกระทั่งในวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 คณะรัฐมนตรีสาธารณรัฐเช็กได้มีมติเห็นชอบให้ใช้ชื่อ "เช็กเกีย" เป็นชื่อเรียกประเทศแบบสั้นอย่างเป็นทางการ.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรโบฮีเมียและประเทศเช็กเกีย · ดูเพิ่มเติม »

ปราก

รรยากาศภายในกรุงปราก ปราก (Prague) หรือ ปราฮา (Praha) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดในประเทศเช็กเกีย มีประชากรอาศัยประมาณ 1.2 ล้านคน เมื่อ ค.ศ. 1992 องค์การยูเนสโก ได้ประกาศให้ปรากเป็นมรดกโลก.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรโบฮีเมียและปราก · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทปราก

ทางเข้าปราสาทปราก ปราสาทปราก (Pražský hrad) เป็นปราสาทในกรุงปราก ประเทศเช็กเกีย เคยเป็นปราสาทของกษัตริย์แห่งเช็กในอดีต ปราสาทแห่งนี้ได้รับการรับรองจากกินเนสส์บุ๊กว่า เป็นปราสาทโบราณที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีความยาวประมาณ 570 เมตร และความกว้างประมาณ 130 เมตร หมวดหมู่:ปราสาทในประเทศเช็กเกีย หมวดหมู่:ทำเนียบประธานาธิบดี.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรโบฮีเมียและปราสาทปราก · ดูเพิ่มเติม »

นิกายลูเทอแรน

ัญลักษณ์กุหลาบลูเทอแรน นิกายลูเทอแรน (Lutheranism) เป็นนิกายหนึ่งในศาสนาคริสต์ตะวันตกฝ่ายโปรเตสแตนต์ มาร์ติน ลูเทอร์ เป็นผู้ก่อตั้งนิกายนี้ขึ้นจากการปฏิรูปหลักเทววิทยาและการปฏิบัติของนิกายโรมันคาทอลิก.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรโบฮีเมียและนิกายลูเทอแรน · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: ราชอาณาจักรโบฮีเมียและโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

โอเบิร์ฟฟัล์ซ

อเบิร์ฟฟัล์ซ (Oberpfalz) หรือชื่อในภาษาอังกฤษคือ อัปเปอร์พาลาทิเนต (Upper Palatinate) เป็นหนึ่งในเจ็ดส่วนภูมิภาค (เรกีรุงชเบเซิร์ค) ของรัฐบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐบาวาเรีย มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองเรเกนส์บูร์ก.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรโบฮีเมียและโอเบิร์ฟฟัล์ซ · ดูเพิ่มเติม »

ไซลีเซีย

ูมิภาคในประวัติศาสตร์ (ในวงสีฟ้าและเหลือง) และเขตแดนประเทศต่าง ๆ ในปัจจุบัน ไซลีเซีย (Silesia; ไซลีเซีย: Ślůnsk; Śląsk; Slezsko; Schlesien) เป็นภูมิภาคในประวัติศาสตร์ของยุโรปกลาง ปัจจุบันตั้งอยู่ในประเทศโปแลนด์ สาธารณรัฐเช็ก และเยอรมนี ไซลีเซียเป็นดินแดนที่เต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติและมีบริเวณสำคัญทางอุตสาหกรรมหลายแห่ง เมืองที่ใหญ่ที่สุดในบริเวณนี้ได้แก่วรอตสวัฟ (Wrocław) ซึ่งเป็นเมืองหลวงในประวัติศาสตร์ คาโตวีตเซในโปแลนด์ และออสตราวา (Ostrava) ในสาธารณรัฐเช็ก แม่น้ำสำคัญคือแม่น้ำโอเดอร์ เขตแดนของไซลีเซียเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมากตลอดมาในประวัติศาสตร์ทั้งตั้งแต่ยังเป็นของขุนนางในสมัยศักดินา มาจนถึงหลังจากการรุ่งเรืองของรัฐชาติสมัยใหม่ รัฐแรกที่เป็นที่ทราบว่ามีอำนาจในบริเวณนี้คือเกรตเตอร์โมราเวีย (Greater Moravia) และโบฮีเมีย ในคริสต์ศตวรรษที่ 10 ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัฐโปแลนด์สมัยแรก แต่ต่อมาก็แยกตัวออกไปเป็นดัชชีอิสระแต่ตกเข้ามาอยู่ภายใต้อิทธิพลของเยอรมนีมากขึ้นทุกขณะ ในที่สุดไซลีเซียก็ตกมาเป็นของราชบัลลังก์โบฮีเมีย ที่ผ่านต่อไปยังออสเตรียในปี..

ใหม่!!: ราชอาณาจักรโบฮีเมียและไซลีเซีย · ดูเพิ่มเติม »

16 ธันวาคม

วันที่ 16 ธันวาคม เป็นวันที่ 350 ของปี (วันที่ 351 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 15 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรโบฮีเมียและ16 ธันวาคม · ดูเพิ่มเติม »

25 ธันวาคม

วันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันที่ 359 ของปี (วันที่ 360 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 6 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรโบฮีเมียและ25 ธันวาคม · ดูเพิ่มเติม »

26 กันยายน

วันที่ 26 กันยายน เป็นวันที่ 269 ของปี (วันที่ 270 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 96 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรโบฮีเมียและ26 กันยายน · ดูเพิ่มเติม »

31 ตุลาคม

วันที่ 31 ตุลาคม เป็นวันที่ 304 ของปี (วันที่ 305 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 61 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรโบฮีเมียและ31 ตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

5 เมษายน

วันที่ 5 เมษายน เป็นวันที่ 95 ของปี (วันที่ 96 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 270 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรโบฮีเมียและ5 เมษายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Kingdom of Bohemiaอาณาจักรโบฮีเมีย

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »