โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ราชอาณาจักรบูร์กอญ

ดัชนี ราชอาณาจักรบูร์กอญ

ราชอาณาจักรบูร์กอญ (Kingdom of Burgundy) ภูมิภาคบูร์กอญเป็นดินแดนทางตะวันตกของยุโรปตะวันตกที่ในประวัติศาสตร์เป็นรัฐในรูปแบบต่างๆ ที่มีเขตแดนที่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพการณ์ “รัฐ” สองรัฐที่่ก่อตั้งขึ้นในบริเวณนี้ก็คือ “ราชอาณาจักรบูร์กอญ” และราชอาณาจักรบูร์กอญที่เกือบจะได้รับการก่อตั้งขึ้น.

20 ความสัมพันธ์: ชาวแฟรงก์กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำภูมิภาคบูร์กอญรัฐบริวารราชวงศ์บูร์กอญราชวงศ์วาลัวราชอาณาจักรฝรั่งเศสราชอาณาจักรอาร์ลราชอาณาจักรอิตาลี (ยุคกลาง)ราชอาณาจักรเยอรมนีสนธิสัญญาแวร์เดิงจักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จักรพรรดิคอนราดที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ดัชชีแคว้นบูร์กอญแคว้นฟร็องช์-กงเตโลทาริงเกียเทรียร์เทศมณฑล

ชาวแฟรงก์

หนังสือสำหรับทำพิธีศาสนา “Gelasian Sacramentary” จากราว ค.ศ. 750 แฟรงก์ (Franks, Franci) เป็นกลุ่มชนเจอร์มานิกตะวันตกที่เริ่มก่อตัวขึ้นราวคริสต์ศตวรรษที่ 3 โดยมีถิ่นฐานอยู่ทางเหนือและทางตะวันออกของลุ่มแม่น้ำไรน์ตอนล่าง ภายใต้การปกครองโดยราชวงศ์เมโรแว็งเชียง ชนแฟรงก์ก็ก่อตั้งสถาบันพระมหากษัตริย์เจอร์มานิกที่มาแทนจักรวรรดิโรมันตะวันตกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 รัฐของชนแฟรงก์และมารวมตัวกันเป็นอาณาบริเวณส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ที่กลายมาเป็นจักรวรรดิคาโรลินเจียนและรัฐต่างๆ ที่ตามมา ความหมายของคำว่า “ชนแฟรงก์” ที่กลุ่มชนแตกต่างกันไปตามสมัยและปรัชญา โดยทั่วไปแล้วมักจะเป็นความหมายที่ไม่ชัดเจน ภายในกลุ่มแฟรงเคีย “ชนแฟรงก์” เป็นกลุ่มชนที่มีเป็นกลุ่มชนเอกลักษณ์ที่มีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง รากของคำว่า “แฟรงก์” อาจจะมาจากภาษาละติน “francisca” (จากเจอร์มานิก “*frankon” ที่เกี่ยวเนื่องกับภาษาอังกฤษเก่า “franca”) ที่แปลว่า “แหลน” ชนแฟรงก์ที่โยนขวานได้รับนามว่า “francisca” (ขว้างขวาน) ซึ่งอาจจะเป็นการเรียกกลุ่มชนตามอาวุธที่ใช้ เอ.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรบูร์กอญและชาวแฟรงก์ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ

一 ประเทศแผ่นดินต่ำต่างๆ กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ (Low Countries) หมายถึง ภูมิภาคหนึ่งที่อยู่ทางด้านบนของทวีปยุโรป ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของยุโรป สาเหตุที่เรียกว่าประเทศแผ่นดินต่ำนี้ เนื่องจากประเทศเหล่านี้อยู่ในพื่นที่ที่ลาดต่ำมาก คือ ต่ำกว่าน้ำทะเล ทำให้เกิดอุทกภัยได้ง่าย จึงทำให้ประเทศเหล่านี้มีการจัดการกับอุทกภัยที่ดีที่สุด ของโลกก็ว่าได้ พื้นที่ของประเทศที่อยู่ในภูมิภาคประเทศแผ่นดินต่ำ มีดังนี้ เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม ลักเซมเบิร์ก และ ฝรั่งเศส(ทางตอนเหนือ).

ใหม่!!: ราชอาณาจักรบูร์กอญและกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิภาคบูร์กอญ

ูร์กอญ (Bourgogne; Burgundy; Burgund) เป็นอาณาบริเวณในประวัติศาสตร์ที่ตั้งอยูในประเทศฝรั่งเศสและประเทศสวิสเซอร์แลนด์ปัจจุบัน ภูมิภาคบูร์กอญเป็นบริเวณที่มีบทบาทสำคัญของยุโรปมาตั้งแต่ยุคกลาง.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรบูร์กอญและภูมิภาคบูร์กอญ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบริวาร

รัฐบริวาร (Client state หรือ Satellite state) เป็นคำศัพท์ทางการเมือง หมายถึง ประเทศที่มีเอกราชอย่างเป็นทางการ แต่อยู่ภายใต้อิทธิพลอย่างมาก หรือถูกควบคุมโดยอีกประเทศหนึ่ง โดยเป็นคำที่ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อโดยเปรียบเทียบกับดาวบริวาร ซึ่งโคจรรอบดาวดวงอื่น และคำว่า รัฐบริวาร มักจะใช้หมายความถึง รัฐในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของสหภาพโซเวียต ระหว่างสงครามเย็น รัฐบริวารอาจหมายถึงประเทศที่ถูกครอบงำทางการเมืองและทางเศรษฐกิจโดยอีกประเทศหนึ่ง ในเวลาสงคราม รัฐบริวารบางครั้งทำหน้าที่เป็นรัฐกันชนระหว่างประเทศฝ่ายศัตรูกับประเทศที่มีอิทธิพลอยู่เหนือรัฐบริวารนั้น คำว่า "รัฐบริวาร" เป็นหนึ่งในคำที่ใช้อธิบายถึงสภาพที่รัฐหนึ่งตกอยู่ใต้อำนาจของอีกรัฐหนึ่งซึ่งคล้ายกับ รัฐหุ่นเชิด โดยทั่วไปแล้ว คำว่า "รัฐบริวาร" แสดงให้เห็นถึงความสวามิภักดิ์ทางความคิดให้กับอำนาจความเป็นประมุขอย่างลึกซึ้ง.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรบูร์กอญและรัฐบริวาร · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์บูร์กอญ

ราชวงศ์บูร์กอญ (Casa de Borgonha, House of Burgundy) เป็นราชตระกูลที่แยกมาจากราชวงศ์คาเปต์ของราชวงศ์กาเปเตียงโดยมีโรเบิร์ตที่ 1 ดยุกแห่งบูร์กอญผู้เป็นพระราชโอรสองค์รองในพระเจ้าโรแบร์ที่ 2 แห่งฝรั่งเศสเป็นผู้ก่อตั้ง.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรบูร์กอญและราชวงศ์บูร์กอญ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์วาลัว

ราชวงศ์วาลัว (Valois dynasty) เป็นสาขาย่อยของราชวงศ์กาเปเตียง สืบราชสมบัติฝรั่งเศสต่อจากราชวงศ์กาเปเตียงในค.ศ. 1328 และส่งต่อให้ราชวงศ์บูร์บงในค.ศ. 1589 ราชวงศ์วาลัวสาขาเบอร์กันดีปกครองแคว้นเบอร์กันดีด้วย เป็นดุ๊กแห่งเบอร์กันดี ราชวงศ์วาลัวสืบเชื้อสายมาจากชาร์ลส์ เคานต์แห่งวาลัว (Charles, Count of Valois) พระโอรสองค์ที่ 3 ของพระเจ้าฟิลิปที่ 3 แห่งฝรั่งเศส แม้พระเจ้าฟิลิปที่ 3 แห่งฝรั่งเศส ราชวงศ์กาเปเตียงจะมีพระโอรสถึงสามองค์ ซึ่งทั้งสามพระองค์ก็ได้เป็นกษัตริย์ แต่กลับไม่มีพระองค์ใดมีทายาทเลย ใน..

ใหม่!!: ราชอาณาจักรบูร์กอญและราชวงศ์วาลัว · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรฝรั่งเศส

ราชอาณาจักรฝรั่งเศส (Royaume de France) คือประเทศฝรั่งเศสในสมัยกลางและต้นสมัยใหม่ ก่อนที่จะเปลี่ยนการปกครองมาเป็นแบบสาธารณรัฐดังปัจจุบัน ถือเป็นรัฐที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดรัฐหนึ่งในยุโรป เป็นประเทศมหาอำนาจตั้งแต่ปลายสมัยกลางและสงครามร้อยปี และกลายเป็นจักรวรรดิที่แผ่ขยายอาณานิคมไปทั่วโลกแม้แต่ในทวีปอเมริกาเหนือ ราชอาณาจักรฝรั่งเศสมีต้นกำเนิดมาจากราชอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก ซึ่งเป็นรัฐด้านตะวันตกของจักรวรรดิการอแล็งเฌียงตามสนธิสัญญาแวร์เดิง และอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียงจนถึงปี..

ใหม่!!: ราชอาณาจักรบูร์กอญและราชอาณาจักรฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรอาร์ล

ราชอาณาจักรอาร์ล (Kingdom of Arles หรือ Arelat) หรือ ราชอาณาจักรบูร์กอญที่สอง เป็นราชอาณาจักรในแฟรงค์ในบริเวณอาร์ล ที่ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 933 จากดินแดนที่เดิมที่เดิมเป็นทางตอนใต้ของราชอาณาจักรบูร์กอญ ที่ตรงกับบริเวณที่ในปัจจุบันเป็นแคว้นโรนาลป์, พรอว็องซาลป์โกตดาซูร์ และฟร็องช์-กงเต ราชอาณาจักรปกครองเป็นอิสระมาจนกระทั่งเปี ค.ศ. 1032The New Columbia Encyclopedia 1975, 150 ในปี ค.ศ. 888 โรดอล์ฟ เคานต์แห่งโอแซร์ก่อตั้งราชอาณาจักรบูร์กอญเหนือ (Bourgogne Transjurane) ในปี ค.ศ. 933 อูกแห่งอาร์ล (Hugh of Italy หรือ "Hugues de Provence") ยกราชอาณาจักรให้แก่รูดอล์ฟที่ 2 แห่งบูร์กอญ ผู้รวบรวมดินแดนทางตอนใต้ของบูร์กอญและก่อตั้งเป็นราชอาณาจักรใหม่ชื่อ “ราชอาณาจักรอาร์ล” ในปี ค.ศ. 937 คอนราดแห่งบูร์กอญก็ขึ้นครองราชย์ต่อจากรูดอล์ฟ ตามด้วยรูดอล์ฟที่ 3 แห่งบูร์กอญ ในปี ค.ศ. 1032 เมื่อรูดอล์ฟที่ 3 แห่งบูร์กอญเสด็จสวรรคต ราชอาณาจักรอาร์ลก็ตกไปเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในรัชสมัยของสมเด็จพระจักรพรรดิคอนราดที่ 2 แม้ว่าผู้ครองราชย์ต่อจากจักรพรรดิคอนราดจะถือพระองค์ว่าเป็นพระมหากษัตริย์แห่งอาร์ล แต่ก็ไม่มีผู้ใดที่เสด็จมาทำพิธีบรมราชาภิเษกในมหาวิหาร ราชอาณาจักรปกครองตนอย่างค่อนข้างอิสระ ยกเว้นแต่สมเด็จพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 1 ผู้มาทำพิธีบรมราชาภิเษกในปี ค.ศ. 1178 เป็นพระมหากษัตริย์แห่งอาร์ลโดยสังฆราชแห่งอาร์ล ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 11 จนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 หลายส่วนของราชอาณาจักรก็แยกตัวออกไป ได้แก่ พรอว็องส์, วีวาแร, ลียง-แน, โดฟีเน, ซาวอย, ฟร็องช์-กงเต และทางตะวันตกของสวิตเซอร์แลนด์ จากนั้นส่วนใหญ่ของดินแดนบูร์กอญใต้ก็ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของฝรั่งเศส ขณะที่ทางตะวันออกของบูร์กอญเหนือตกไปเป็นของตระกูลเซริงเงิน (Zähringen) และฮับส์บูร์ก ในปี ค.ศ. 1361 สมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 4 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ก็แยกอาณาจักรเคานต์แห่งซาวอยออกจากราชอาณาจักร ในปี ค.ศ. 1365 จักรพรรดิคาร์ลก็ได้รับการสวมมงกุฎเป็นพระมหากษัตริย์แห่งอาร์ล แต่ในปี ค.ศ. 1378 พระองค์ก็ทรงแต่งตั้งมกุฎราชกุมารแห่งฝรั่งเศส (ต่อมาพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 6 แห่งฝรั่งเศส) ให้เป็นอุปราช (Imperial vicar) ถาวรของราชอาณาจักร ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาราชอาณาจักรอาร์ลก็เหลือเพียงตัวอักษร.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรบูร์กอญและราชอาณาจักรอาร์ล · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรอิตาลี (ยุคกลาง)

ราชอาณาจักรอิตาลี (Kingdom of Italy, Regnum Italiae หรือ Regnum Italicum) เป็นอาณาจักรที่ก่อตั้งขึ้นโดยชนลอมบาร์ดผู้เข้ามารุกรานคาบสมุทรอิตาลีหลังจากที่ราชอาณาจักรออสโตรกอธถูกทำลายในปี..

ใหม่!!: ราชอาณาจักรบูร์กอญและราชอาณาจักรอิตาลี (ยุคกลาง) · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรเยอรมนี

ออทโทที่ 1 มหาราช ราชอาณาจักรเยอรมนี (ละติน: Regnum Teutonicum) เป็นอาณาจักรอัครสังฆราชที่สืบเนื่องมาจากราชอาณาจักรแฟรงค์ตะวันออกในคริสต์ศตวรรษที่ 10 ดินแดนทางตะวันออกของจักรวรรดิแฟรงค์ที่ได้รับการแยกตัวออกมาตามสนธิสัญญาแวร์เดิงในปี ค.ศ. 843 แทบจะไม่ได้เป็นของจักรวรรดิแฟรงค์อย่างเต็มตัว ที่เป็นบริเวณที่เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของชาวแซ็กซอน, ชาวบาวารี, ชาวทูริงกี, ชาวอลามานนิ และ ชาวฟริซี เมื่อราชบัลลังก์ตกไปเป็นของราชวงศ์ที่ไม่ใช่แฟรงค์ (ลุดอล์ฟิง) คำว่า "regnum Teutonicum" (กษัตริย์ทิวทัน) หรือ "Teutonicorum" ก็เริ่มนำเข้ามาใช้อย่างไม่เป็นทางการ เมื่อมาถึงยุคกลางตอนกลาง อาณาจักรดยุคแบบเยอรมัน (Stammesherzogtum) ก็เริ่มมีลักษณะเป็นเอกลักษณ์ที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เมื่อรัฐต่างๆ ของคาโรแล็งเชียงแยกตัวออกไปจากจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จนเหลือแต่เยอรมนี ที่มีประมุขที่ยังคงถือตำแหน่งพระจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิ ราชอาณาจักรเยอรมนีก็กลายเป็นคำที่พ้องกับจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เมื่อมาถึงสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา "จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์แห่งชาติเยอรมัน" ก็มีสองความหมายที่เป็น "จักรวรรดิ" และ "ราชอาณาจักร" เมื่อมองในบริบทนี้แล้วราชอาณาจักรเยอรมนีก็ดำรงตัวเป็นราชอาณาจักรต่อมาจนเมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ที่ 2 สละราชสมบัติและยุบจักรวรรดิในปี ค.ศ. 1806 คำว่า "regnum Teutonicum" (กษัตริย์ทิวทัน หรือ กษัตริย์เยอรมัน) เริ่มนำมาใช้อย่างเป็นทางการในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 11 ระหว่างที่เกิดข้อขัดแย้งในอำนาจการแต่งตั้งสงฆ์ (Investiture Controversy) ที่อาจจะเป็นการใช้เป็นเครื่องมือในการต่อต้านสมเด็จพระจักรพรรดิไฮน์ริคที่ 4 โดยสมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 7 ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 พระจักรพรรดิก็เริ่มใช้สร้อย "rex Romanorum" (พระมหากษัตริย์แห่งชนโรมัน) ในพระราชอิสริยยศเพื่อเป็นการเน้นพระราชอำนาจและการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งเมื่อได้รับเลือกตั้ง โดยสภาผู้เลือกตั้งพระจักรพรรดิที่ประกอบด้วยพรินซ์อีเล็คเตอร์เจ็ดองค์ ตำแหน่งนี้ใช้ในเยอรมนี อิตาลี และ เบอร์กันดีที่เป็นรัฐที่มีราชสำนัก กฎหมาย และรัฐบาลของตนเอง แต่อยู่ในเครือข่ายของจักรวรรดิมาจนกระทั่งถึงสนธิสัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลียในปี ค.ศ. 1648 หรือจนเมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ที่ 2 สละราชสมบัติและยุบจักรวรรดิในปี ค.ศ. 1806.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรบูร์กอญและราชอาณาจักรเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

สนธิสัญญาแวร์เดิง

นธิสัญญาแวร์เดิง (Treaty of Verdun) เป็นสนธิสัญญาระหว่างพระราชโอรสสามพระองค์ของหลุยส์เดอะไพอัส (พระราชนัดดาของชาร์เลอมาญ) ในการแบ่งจักรวรรดิแฟรงค์ออกเป็นสามอาณาจักร แม้ว่าบางครั้งการแบ่งจักรวรรดิครั้งนี้จะเห็นกันว่าเป็นการทำลายจักรวรรดิมหาอำนาจที่ก่อตั้งขึ้นโดยชาร์เลอมาญ แต่อันที่จริงแล้วเป็นการทำตามประเพณีเจอร์มานิคในการแบ่งทรัพย์ให้แก่ทายาทแต่ละคนเท่าๆ กันแทนที่จะใช้กฎการสืบสมบัติโดยสิทธิของบุตรคนแรก (primogeniture) ที่มอบสมบัติทั้งหมดให้แก่บุตรชายคนโตเท่านั้น เมื่อหลุยส์เดอะไพอัสสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 840 โลแธร์ที่ 1 พระราชโอรสองค์โตก็อ้างสิทธิเหนือราชอาณาจักรของพระอนุชาอีกสองพระองค์และสนับสนุนสิทธิของพระนัดดาเปแปงที่ 2 ในการเป็นกษัตริย์แห่งอากีแตน หลังจากที่ทรงพ่ายแพ้ต่อพระอนุชาลุดวิกเดอะเยอรมันและชาร์ลส์เดอะบอลด์ในยุทธการฟงเตอแน (Battle of Fontenay) ในปี ค.ศ. 841 และทั้งสองพระองค์ทรงสาบานความเป็นพันธมิตรกันในคำสาบานสตราซบูร์ (Oaths of Strasbourg) ในปี ค.ศ. 842 แล้ว โลแธร์ที่ 1 ก็ทรงเต็มพระทัยมากขึ้นที่จะเข้าร่วมในการเจรจาต่อรอง พี่น้องแต่ละคนต่างก็มีอาณาจักรเป็นของตนเองแล้ว โลแธร์ครองอิตาลี, ลุดวิกเดอะเยอรมันครองบาวาเรีย และ ชาร์ลส์เดอะบอลด์ครองอากีแตน ผลของการเจรจาทำให้: เมื่อโลแธร์สละราชสมบัติอิตาลีให้แก่พระราชโอรสองค์โตจักรพรรดิลุดวิกที่ 2 ในปี ค.ศ. 844 ลุดวิกก็ทรงแต่งตั้งให้พระราชบิดาขึ้เป็นจักรพรรดิร่วมในปี ค.ศ. 850 เมื่อโลแธร์เสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 855 อาณาจักรก็ถูกแบ่งเป็นสามส่วนดินแดนที่จักรพรรดิลุดวิกครองอยู่ก็ยังเป็นของพระองค์ ราชอาณาจักรเบอร์กันดีเดิมก็มอบให้แก่พระราชโอรสองค์ที่สามชาร์ลส์แห่งพรอว็องส์และดินแดนที่เหลือแก่โลแธร์ที่ 2 ที่เรียกอาณาจักรของพระองค์ว่าโลธาริงเกีย เมื่อจักรพรรดิลุดวิกที่ 2 ไม่ทรงพอใจที่ไม่ทรงได้รับดินแดนเพิ่มเมื่อพระราชบิดาเสด็จสวรรคต พระองค์ก็ทรงหันไปเป็นพันธมิตรกับพระปิตุลาลุดวิกเดอะเยอรมัน ในการต่อต้านพระอนุชาโลแธร์และพระปิตุลาชาร์ลส์เดอะบอลด์ในปี..

ใหม่!!: ราชอาณาจักรบูร์กอญและสนธิสัญญาแวร์เดิง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Frederick III, Holy Roman Emperor) (21 กันยายน ค.ศ. 1415 - 19 สิงหาคม ค.ศ. 1493) เป็นจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในราชวงศ์ฮับส์บูร์ก ผู้ทรงครองราชบัลลังก์ระหว่างปี ค.ศ. 1452 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1493 ฟรีดริชทรงได้รับเลือกให้เป็นพระมหากษัตริย์แห่งชาวโรมันต่อจากพระเจ้าอัลเบรชท์ที่ 2 แห่งเยอรมนี (Albert II of Germany) ในปี ค.ศ. 1440 จักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 1415 ที่อินสบรุค ในออสเตรีย เป็นพระราชโอรสในเออร์เนสต์ ดยุกแห่งออสเตรียทางสายราชวงศ์ฮับส์บูร์กที่ปกครองอินเนอร์ออสเตรียที่รวมทั้งดัชชีสติเรีย ดัชชีคารินเทีย และดัชชีคาร์นีโอลา และภรรยาของเออร์เนสต์ซิมเบอร์จิสแห่งมาโซเวีย (Cymburgis of Masovia) ฟรีดริชอภิเษกสมรสเมื่อพระชนมายุได้ 37 พรรษากับเจ้าหญิงเอเลเนอร์แห่งโปรตุเกสพระชนมายุ 18 พรรษา สินสอดทองหมั้นจากเจ้าหญิงเอลินอร์ช่วยในการปลดเปลื้องหนี้สินที่ทรงมีและสร้างเสริมความมั่งคงให้แก่พระราชอำนาจของพระอง.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรบูร์กอญและจักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิคอนราดที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

มเด็จพระจักรพรรดิคอนราดที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Conrad II, Holy Roman EmperorBritannica online encyclopedia article on Conrad II (Holy Roman emperor)) (ราว ค.ศ. 990 - 4 มิถุนายน ค.ศ. 1039) คอนราดทรงเป็นบุตรของไฮนริคแห่งเสปเยอร์ขุนนางขั้นรองในฟรังโคเนียและอเดลเลดแห่งอัลซาซ ซึ่งทำให้ทรงได้รับฐานันดรศักดิ์เป็นเคานท์แห่งสเปเยอร์ และ เวิร์มส์เมื่อยังทรงเป็นทารกเมื่อไฮนริคแห่งเสปเยอร์เสียชีวิตเมื่อมีอายุได้เพียง 20 ปี เมื่อเจริญพระชันษาขึ้นพระองค์ก็ทรงเป็นที่รู้จักไกลออกไปจากบริเวณสเปเยอร์และเวิร์มส์ ฉะนั้นเมื่อสายแซกโซนีสิ้นสุดลงและตำแหน่งพรินซ์อีเล็คเตอร์แห่งราชอาณาจักรเยอรมนีว่างลง คอนราดก็ได้รับเลือกให้เป็นกษัตริย์แห่งเยอรมนีในปี..

ใหม่!!: ราชอาณาจักรบูร์กอญและจักรพรรดิคอนราดที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ละติน: Sacrum Imperium Romanum, Heiliges Römisches Reich) เป็นอภิมหาอำนาจในอดีต เป็นจักรวรรดิซึ่งประกอบด้วยดินแดนหลากเชื้อชาติในยุโรปกลาง ก่อกำเนิดขึ้นในสมัยกลางตอนต้นและล่มสลายลงในปี..

ใหม่!!: ราชอาณาจักรบูร์กอญและจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ดัชชี

ัชชี (duchy) เป็นอาณาเขตการปกครองหรือบริเวณที่ปกครองโดยดยุกหรือดัชเชส ดัชชีที่สำคัญบางแห่งในสมัยก่อนจะมีอธิปไตยปกครองบริเวณหนึ่ง ๆ ต่อมารวมกันเป็นที่มาของรัฐสมัยใหม่ในปัจจุบัน เช่น ประเทศเยอรมนี ประเทศอิตาลี ในทางตรงกันข้ามดัชชีอื่น ๆ ก็อาจจะเป็นเขตปกครองภายในราชอาณาจักรมาตั้งแต่สมัยกลาง เช่น ในประเทศอังกฤษ ประเทศฝรั่งเศส และประเทศสเปน ประวัติของแต่ละดัชชีแต่ละอาณาจักรก็จะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับความแข็งแกร่งและประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องของแต่ละรั.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรบูร์กอญและดัชชี · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นบูร์กอญ

บูร์กอญ (Bourgogne) หรือ เบอร์กันดี (Burgundy) เป็นอดีตแคว้นในประเทศฝรั่งเศส (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นบูร์กอญ-ฟร็องช์-กงเต) ตั้งอยู่บริเวณกลางเยื้องมาทางทิศตะวันออกของประเทศฝรั่งเศส ทิศเหนือติดกับแคว้นอีล-เดอ-ฟร็องส์และแคว้นช็องปาญาร์แดน ทิศตะวันตกติดกับแคว้นฟร็องช์-กงเต ทิศใต้ติดกับแคว้นโรนาลป์และแคว้นโอแวร์ญ และทิศตะวันออกติดกับแคว้นซ็องทร์-วาลเดอลัวร์ บูร์กอญ.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรบูร์กอญและแคว้นบูร์กอญ · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นฟร็องช์-กงเต

ฟร็องช์-กงเต (Franche-Comté) เป็นอดีตแคว้นในประเทศฝรั่งเศส ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นบูร์กอญ-ฟร็องช์-กงเต หมวดหมู่:ภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของฝรั่งเศส หมวดหมู่:จังหวัดในประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรบูร์กอญและแคว้นฟร็องช์-กงเต · ดูเพิ่มเติม »

โลทาริงเกีย

ลทาริงเกีย (Lotharingia) เป็นดินแดนทางตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปที่ประกอบด้วยกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ, ทางตะวันตกของไรน์แลนด์, ดินแดนที่ในปัจจุบันอยู่ระหว่างพรมแดนระหว่างฝรั่งเศสและเยอรมนี, และดินแดนทางตะวันตกของสวิตเซอร์แลนด์ โลทาริงเกียเกิดจากการแบ่งออกเป็นสามส่วนในปี ค.ศ. 855 ของ "ราชอาณาจักรแฟรงค์กลาง" ที่เป็นอาณาจักรที่ถูกแบ่งออกมาจากจักรวรรดิคาโรแล็งเชียงในปี ค.ศ. 843 ในสนธิสัญญาแวร์เดิง ในปี ค.ศ. 870 ก็ถูกแบ่งตามสนธิสัญญาเมอร์เซนระหว่างราชอาณาจักรแฟรงค์ตะวันออกและราชอาณาจักรแฟรงค์ตะวันตก หลังจากสงครามระหว่างปี..

ใหม่!!: ราชอาณาจักรบูร์กอญและโลทาริงเกีย · ดูเพิ่มเติม »

เทรียร์

กลางตลาดเมืองเทรียร์ เทรียร์ (Trier; Augusta Treverorum) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำโมแซลในประเทศเยอรมนี เทรียร์ซึ่งเป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศเยอรมนีก่อตั้งขึ้นเมื่อก่อนปี 16 ก่อนคริสต์ศักราช บันทึกเจสตา เทรเวโรรุมกล่าวว่าเทรียร์เป็นเมืองที่ก่อตั้งขึ้นโดยเทรบีทา พระราชโอรสพระเจ้าไนนัสแห่งอัสซีเรียกับพระชายาองค์ก่อนที่จะมเสกสมรสกับพระราชินีเซมิรามิส เซมิรามิสทรงเกลียดชังเทรบีทา เมื่อทรงขึ้นครองราชย์หลังจากการเสด็จสวรรคตของไนนัสแล้ว ไนนัสก็ออกจากอัสซีเรียไปยังยุโรป หลังจากที่เร่ร่อนอยู่พักหนึ่งแล้วไนนัสก็นำผู้คนไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณเทรียร์ราว 2000 ก่อนคริสต์ศักราชที่ในปัจจุบันอยู่ในประเทศเยอรมนี เมื่อเสียชีวิตร่างของไนนัสก็ได้รับการเผาบนเพทริสแบร์กโดยประชากรชาวเทรียร์ เทรียร์ตั้งอยู่ในหุบเขาเตี้ย ๆ ที่ปกคลุมไปด้วยไร่องุ่นของดินที่เป็นหินทรายทางตะวันตกของรัฐไรน์ลันด์-พฟัลซ์ไม่ไกลจากพรมแดนที่ติดกับประเทศลักเซมเบิร์กและเป็นเมืองสำคัญในภูมิภาคที่มีชื่อในการทำไร่องุ่นที่ใช้ในการผลิตไวน์โมเซิล เทรียร์เป็นที่ตั้งของมุขมณฑลที่เก่าแก่ที่สุดทางตอนเหนือของเทือกเขาแอลป์ ในยุคกลางอาร์ชบิชอปแห่งเทรียร์เป็นตำแหน่งเจ้าชายมุขนายกที่มีอำนาจปกครองดินแดนตั้งแต่พรมแดนประเทศฝรั่งเศสไปจนถึงแม่น้ำไรน์ นอกจากนั้นก็ยังเป็นหนึ่งในเจ็ดเจ้านครรัฐผู้คัดเลือกจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ การที่มีประชากรประมาณ 100,000 ทำให้เทรียร์เป็นเมืองที่ใหญ่เป็นที่สี่เท่ากับไคเซอร์สเลาเทิร์น มาจนถึงปี..

ใหม่!!: ราชอาณาจักรบูร์กอญและเทรียร์ · ดูเพิ่มเติม »

เทศมณฑล

น์ตี (county) เป็นหน่วยย่อยของการปกครองในหลายประเทศ มีไว้เพื่อการบริหารท้องถิ่นตลอดจนการอื่นที่จำเป็นThe Chambers Dictionary, L. Brookes (ed.), 2005, Chambers Harrap Publishers Ltd, Edinburgh คำ เคาน์ตี มาจากภาษาฝรั่งเศสเก่า conté (กงเต) แปลว่าเขตการปกครองภายใต้เจ้าต่างกรมหรือขุนนางระดับเคานต์The Oxford Dictionary of English Etymology, C. W. Onions (Ed.), 1966, Oxford University Press เคาน์ตีในแต่ละประเทศมีฐานะการปกครองที่แตกต่างกันไม่เป็นแบบเดียวกันเสียทีเดียว จึงต้องพิจารณาถึงฐานะการปกครองเสียก่อนจึงเทียบให้เข้ากับระบบการปกครองของไทย ในสหรัฐอเมริกา เคาน์ตีมักเรียกว่า เทศมณฑล มีฐานะรองลงจากรัฐ (ซึ่งมีรัฐบาลอิสระจากรัฐบาลกลาง) แต่ใหญ่กว่าหมู่บ้านหรือเมือง แต่ในสหราชอาณาจักร เคาน์ตีมีฐานะเป็นจังหวัดที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดประจำ รวมทั้งมีสภาจังหวัดและ/หรือสภาอำเภอ (กรมการอำเภอ) ปกครอง ในประเทศต่าง ๆ นอกจากนี้ คำ เคาน์ตี จะหมายถึงหน่วยการปกครองที่แตกต่างกันออกไป (โปรดดูรายละเอียดในบทความ).

ใหม่!!: ราชอาณาจักรบูร์กอญและเทศมณฑล · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Kingdom of Burgundyราชอาณาจักรเบอร์กันดี

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »