โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ระยะฟัก

ดัชนี ระยะฟัก

ระยะฟักตัวคือช่วงเวลาระหว่างการสัมผัสสิ่งที่ทำให้เกิดโรค (เช่น เชื้อก่อโรค สารเคมี หรือรังสี เป็นต้น) กับการปรากฏอาการของโรค ในกรณีโรคติดเชื้อ ระยะฟักตัวคือระยะเวลาที่เชื้อเพิ่มจำนวนจนถึงจุดที่จะทำให้เกิดอาการในผู้ป่วยได้.

22 ความสัมพันธ์: บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษบาดทะยักกลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงอหิวาตกโรคอีสุกอีใสองค์การอนามัยโลกจุลชีพก่อโรคคางทูมโรคโรคฝีดาษโรคหวัดโรคหัดโรคหัดเยอรมันโรคติดเชื้อโรคติดเชื้อโมโนนิวคลีโอซิสโรคโปลิโอโรคไวรัสอีโบลาโนโรไวรัสไข้หวัดใหญ่ไข้ดำแดงไข้เด็งกีเอชไอวี

บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ

ริษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษราชบัณฑิตยสถาน.

ใหม่!!: ระยะฟักและบรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

บาดทะยัก

ทะยักเป็นโรคติดเชื้ออย่างหนึ่ง ผู้ป่วยจะมีอาการเด่นคืออาการกล้ามเนื้อเกร็ง ส่วนใหญ่การเกร็งจะเริ่มต้นที่กล้ามเนื้อกราม จากนั้นจึงลุกลามไปยังกล้ามเนื้อส่วนอื่นๆ การเกร็งแต่ละครั้งมักเป็นอยู่ไม่กี่นาที และเกิดขึ้นซ้ำๆ เป็นเวลา 3-4 สัปดาห์ การเกร็งอาจมีความรุนแรงมากจนทำให้กระดูกหักได้ อาการอื่นที่อาจพบร่วมได้แก่ ไข้ เหงื่อออก ปวดศีรษะ กลืนลำบาก ความดันเลือดสูง และหัวใจเต้นเร็ว ผู้ป่วยส่วนใหญ่เริ่มมีอาการหลังจากติดเชื้อเป็นเวลา 3-21 วัน การรักษาอาจใช้เวลาหลายเดือน ผู้ป่วยประมาณ 10% จะเสียชีวิต บาดทะยักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Clostridium tetani ซึ่งพบได้ในดิน น้ำลาย ฝุ่น และปุ๋ยมูลสัตว์ เชื้อมักเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผลเช่นแผลบาดหรือแผลตำที่เกิดจากวัตถุที่ปนเปื้อนเชื้อ เชื้อเหล่านี้ผลิตสารพิษที่รบกวนกระบวนการหดตัวของกล้ามเนื้อ ทำให้มีอาการดังกล่าวข้างต้น การวินิจฉัยทำได้โดยการดูจากอาการและอาการแสดง โรคนี้ไม่ติดต่อจากคนสู่คน การป้องกันการติดเชื้อทำได้โดยการเสริมภูมิคุ้มกันด้วยการให้วัคซีนบาดทะยัก ผู้ที่มีบาดแผลที่เข้าข่ายจะติดเชื้อและได้รับวัคซีนมาไม่ถึง 3 ครั้ง ควรได้รับทั้งวัคซีนบาดทะยักและภูมิคุ้มกันบาดทะยักในรูปแบบของอิมมูโนกลอบูลิน ควรได้รับการล้างแผลและนำเอาเนื้อตายออก ผู้ป่วยที่มีอาการควรได้รับการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบาดทะยักแบบอิมมูโนกลอบูลิน หรืออาจรักษาด้วยอิมมูโนกลอบูลินแบบรวมได้ ยาคลายกล้ามเนื้ออาจช่วยควบคุมอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ และหากผู้ป่วยมีปัญหาของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจร่วมด้วยอาจต้องใช้การช่วยหายใจผ่านเครื่องช่วยหายใจ บาดทะยักเป็นโรคที่พบได้ทั่วโลกแต่มักพบบ่อยในพื้นที่ที่มีภูมิอากาศแบบร้อนชื้นซึ่งมีดินและสารอินทรีย์อยู่มาก ในปี..

ใหม่!!: ระยะฟักและบาดทะยัก · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง

กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือรู้จักกันในชื่อ โรคซาร์ส (Severe Acute Respiratory Syndrome; SARS) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัส ทำให้มี ไข้สูง ไอแห้ง หอบ หรือหายใจลำบาก.

ใหม่!!: ระยะฟักและกลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง · ดูเพิ่มเติม »

อหิวาตกโรค

อหิวาตกโรค หรือ โรคห่า (cholera) คือ โรคระบาดชนิดหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Vibrio cholerae ที่ลำไส้เล็ก ผู้ป่วยจะมีอาการท้องร่วงเป็นน้ำและอาเจียนเป็นหลัก เรียกว่า "ลงราก" จึงเรียกโรคนี้ว่า "โรคลงราก" ก็มี และถ้าเกิดแก่สัตว์เลี้ยง เช่น เป็ด ไก่ วัว ควาย เรียก "กลี" ร่างกายจะขับน้ำออกมาเป็นจำนวนมาก ในผู้ป่วยรุนแรงอาจทำให้มีผิวสีออกเทา-น้ำเงินได้ การแพร่เชื้อเกิดขึ้นจากการดื่มน้ำหรือกินอาหารที่ปนเปื้อนอุจจาระของผู้ติดเชื้อเป็นหลัก ซึ่งผู้นั้นแม้ไม่มีอาการก็สามารถแพร่เชื้อได้ ความรุนแรงของอาการท้องร่วงและอาเจียนสามารถนำไปสู่ภาวะขาดน้ำและเสียสมดุลเกลือแร่อย่างรวดเร็ว กระทั่งเสียชีวิตในบางราย การรักษาหลักคือการชดเชยสารน้ำโดยการกิน ซึ่งมักทำโดยให้ดื่มสารละลายชดเชยการขาดน้ำและเกลือแร่ ถ้าไม่ได้ผลหรือได้ผลเร็วไม่เพียงพอหรือดื่มไม่ได้ ผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ สำหรับผู้ป่วยบางรายที่เป็นรุนแรงอาจใช้ยาปฏิชีวนะช่วยเพื่อลดระยะเวลาและความรุนแรงของการป่ว..

ใหม่!!: ระยะฟักและอหิวาตกโรค · ดูเพิ่มเติม »

อีสุกอีใส

รคอีสุกอีใส (chickenpox, varicella) เป็นโรคติดเชื้อที่ติดต่อได้ง่ายมากโรคหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ (VZV) ทำให้ผู้ป่วยมีผื่นซึ่งมีลักษณะเฉพาะ คือเป็นตุ่มพองน้ำขนาดเล็ก มีอาการคัน และแตกแห้งเป็นสะเก็ดในเวลาต่อมา ส่วนใหญ่เริ่มเป็นที่บริเวณหน้าอก หลัง และใบหน้า ต่อมาจึงกระจายไปทั่วตัว ผู้ป่วยอาจมีอาการอื่นร่วมด้วยได้แก่ไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ส่วนใหญ่เป็นอยู่ 5-7 วัน ภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้ได้แก่ ปอดอักเสบ สมองอักเสบ หรือติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อนที่รอยผื่น เป็นต้น หากเป็นในผู้ใหญ่มักมีอาการรุนแรงกว่าที่เป็นในเด็ก อาการเหล่านี้มักเริ่มมีขึ้นประมาณ 10-21 วัน หลังได้รับเชื้อ เชื้อไวรัสนี้ติดต่อทางอากาศ โดยออกมากับละอองจากการไอหรือจามของผู้ป่วย ซึ่งอาจแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้ตั้งแต่ 1-2 วันก่อนเริ่มมีผื่น และสามารถแพร่เชื้อไปได้เรื่อยๆ จนกว่าแผลผื่นจะตกสะเก็ดแห้งและหลุดออกจนหมด นอกจากนี้ยังอาจติดต่อผ่านการสัมผัสตุ่มน้ำได้ด้วย ผู้ป่วยโรคงูสวัดซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสเดียวกันอาจแพร่เชื้อนี้ให้กับผู้อื่นที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน ซึ่งจะทำให้ผู้รับเชื้อป่วยด้วยโรคอีสุกอีใสได้ การวินิจฉัยทำได้โดยดูจากประวัติและผลการตรวจร่างกาย ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการและอาการแสดงเป็นผื่นลักษณะเฉพาะดังกล่าว ในบางรายที่อาการไม่ชัดเจนอาจจำเป็นต้องตรวจด้วยการนำสารน้ำจากตุ่มน้ำหรือจากสะเก็ดไปตรวจหาพันธุกรรมเชื้อไวรัสด้วยวิธีพีซีอาร์ นอกจากนี้การตรวจหาแอนติบอดียังช่วยบอกได้ว่าผู้รับการตรวจนั้นมีภูมิหรือไม่มีภูมิต่อเชื้อนี้ ผู้ป่วยจำนวนมากหลังหายจากอีสุกอีใสแล้วมักไม่เป็นอีก หากได้รับเชื้อนี้ซ้ำมักไม่ทำให้เกิดอาการใดๆ ปัจจุบันมีการผลิตวัคซีนโรคอีสุกอีใสออกใช้ได้ทั่วไป ทำให้จำนวนผู้ป่วยและอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคนี้ลดลงมาก ผู้รับวัคซีน 70-90% จะไม่เป็นโรค และหากเป็นโรคก็ลดความรุนแรงของโรคลงได้มาก หลายประเทศเริ่มกำหนดให้วัคซีนนี้เป็นวัคซีนมาตรฐานที่ทางรัฐสนับสนุนค่าใช้จ่ายให้ นอกจากนี้แม้จะไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน หากผู้รับเชื้อซึ่งเป็นเด็กได้รับวัคซีนภายใน 3 วันก็ยังมีประโยชน์ช่วยลดการเกิดโรคและลดอาการได้ การรักษาส่วนใหญ่เป็นการบรรเทาอาการ เช่นการใช้โลชั่นคาลาไมน์เพื่อบรรเทาอาการคัน ตัดเล็บให้สั้นเพื่อไม่ให้เกาผื่นจนเกิดแผล และใช้พาราเซตามอลเพื่อลดไข้ ในบางรายที่มีปัจจัยเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน อาจจำเป็นต้องให้ยาต้านไวรัสเช่นอะไซโคลเวียร์ อีสุกอีใสเป็นโรคที่พบได้ทั่วโลก ในปี..

ใหม่!!: ระยะฟักและอีสุกอีใส · ดูเพิ่มเติม »

องค์การอนามัยโลก

องค์การอนามัยโลก (World Health Organization ตัวย่อ WHO) เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ซึ่งรับผิดชอบการประสานงานด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ ก่อตั้งเมื่อ 7 เมษายน..

ใหม่!!: ระยะฟักและองค์การอนามัยโลก · ดูเพิ่มเติม »

จุลชีพก่อโรค

เชื้อก่อโรค (pathogen) โดยทั่วไปหมายถึงเชื้อที่ทำให้เกิดโรคติดเชื้อ เช่น ไวรัส แบคทีเรีย พรีออน เชื้อรา หรือจุลชีพอื่นๆ แต่เดิมคำว่า pathogen หมายถึงสิ่งที่ทำให้เกิดโรค อาจเป็นเชื้อหรือไม่ใช่เชื้อก็ได้ แต่ปัจจุบันนิยมใช้ในความหมายถึงเชื้อที่ทำให้เกิดโรคมากกว่า หมวดหมู่:โรคติดเชื้อ.

ใหม่!!: ระยะฟักและจุลชีพก่อโรค · ดูเพิ่มเติม »

คางทูม

งทูมเป็นโรคติดเชื้อไวรัสอย่างหนึ่งเกิดกับมนุษย์ มีสาเหตุจากไวรัสคางทูม (mumps virus) เคยเป็นโรคที่พบบ่อยในเด็กทั่วโลกก่อนที่จะมีการพัฒนาวัคซีนขึ้นใช้ ปัจจุบันยังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในประเทศโลกที่สาม และมีการระบาดเป็นครั้งๆ ในประเทศที่พัฒนาแล้ว อาการที่พบบ่อยที่สุดคือมีต่อมน้ำลายโตและเจ็บ ส่วนใหญ่เป็นต่อมน้ำลายพารอทิด (ต่อมน้ำลายหน้าหู) อาจพบมีอัณฑะอักเสบหรือผื่นได้ ผู้ป่วยเด็กส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง ในขณะที่ถ้าผู้ป่วยเป็นวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่เพศชายอาจมีภาวะแทรกซ้อนเช่นเป็นหมันหรือมีบุตรยากได้ง่ายกว่าในเด็ก แต่โดยรวมก็ยังถือเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบน้อย ส่วนใหญ่โรคนี้เป็นแล้วหายได้เอง ไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาจำเพาะที่นอกเหนือไปกว่าการบรรเทาอาการด้วยยาแก้ปวด อาการนำของคางทูมได้แก่ไข้และปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร อาการอื่นเช่น ปากแห้ง เจ็บหน้า เจ็บหู หรือหากเป็นรุนแรงอาจมีอาการเสียงแหบ ทั้งนี้ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสคางทูม เกือบ 20% ไม่มีอาการ จึงอาจแพร่เชื่อได้โดยไม่รู้ตัว.

ใหม่!!: ระยะฟักและคางทูม · ดูเพิ่มเติม »

โรค

รค เป็นสภาวะผิดปกติของร่างกายหรือจิตใจของสิ่งมีชีวิตซึ่งทำให้การทำงานของร่างกายเสียไปหรืออาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต โรคยังอาจหมายถึงภาวะการทำงานของร่างกายซึ่งทำให้เกิดอันตรายแก่ตัวเอง ซึ่งจะแสดงออกมาเป็นอาการหรืออาการแสดงต่อโรคนั้นๆ ในมนุษย์ คำว่าโรคอาจมีความหมายกว้างถึงภาวะใดๆ ก็ตามที่ทำให้เกิดความเจ็บปวด, การทำหน้าที่ผิดปกติ, ความกังวลใจ, ปัญหาสังคม หรือถึงแก่ความตาย ซึ่งมีผลกระทบต่อผู้ได้รับผลหรือผู้ที่อยู่ใกล้ชิด โรคอาจถูกใช้เพื่อเรียกการบาดเจ็บ, ความพิการ, ความผิดปกติ, กลุ่มอาการ, การติดเชื้อ, อาการ, พฤติกรรมเบี่ยงเบน, และการเปลี่ยนแปรที่ผิดปกติของโครงสร้างหรือหน้าที่การทำงานในประชากรมนุษ.

ใหม่!!: ระยะฟักและโรค · ดูเพิ่มเติม »

โรคฝีดาษ

ฝีดาษตามลำตัวของผู้ป่วย การระบาดของฝีดาษในยุโรป การติดเชื้อฝีดาษของชาวอเมริกันอินเดียนจากชาวยุโรป ฝีดาษ, ไข้ทรพิษ หรือ ไข้หัว (Smallpox) เป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่เกิดจาก small poxvirus (Variolar) มีลักษณะเฉพาะคือมีผื่นขึ้นตามตัว และมีอาการทั่วไปรุนแรง โรคนี้ระบาดในประเทศอินเดีย บังคลาเทศ ปากีสถานและเอธิโอเปียเมื่อปี พ.ศ. 2519 สำหรับประเทศไทยมีการบันทึกไว้ว่าระบาดครั้งสุดท้ายปี พ.ศ. 2504 องค์การอนามัยโลกได้เลิกฉีดวัคซีนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513.

ใหม่!!: ระยะฟักและโรคฝีดาษ · ดูเพิ่มเติม »

โรคหวัด

อหอยส่วนจมูกอักเสบเฉียบพลัน หรือโรคเยื่อจมูกและลำคออักเสบเฉียบพลัน (Acute nasopharyngitis) เรียกโดยทั่วไปว่า โรคหวัด หรือ ไข้หวัด (Common cold) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสในทางเดินหายใจส่วนบนที่กระทบต่อจมูกเป็นหลัก อาการของโรคมีทั้งไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล และไข้ซึ่งมักหายไปเองในเจ็ดถึงสิบวัน แต่บางอาการอาจอยู่ได้นานถึงสามสัปดาห์ ไวรัสกว่า 200 ชนิดเป็นสาเหตุของโรคหวัด โดยไรโนไวรัสเป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนจำแนกได้หลวม ๆ ตามบริเวณที่ได้รับผลจากไวรัส โดยโรคหวัดกระทบต่อจมูก คอหอย (คอหอยอักเสบ) และโพรงจมูก (โพรงจมูกอักเสบ) เป็นหลัก ส่วนใหญ่อาการเกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายตอบสนองต่อการติดเชื้อมากกว่าการทำลายเนื้อเยื่อจากไวรัสเอง การล้างมือเป็นวิธีการป้องกันหลัก และหลักฐานบางชิ้นสนับสนุนประสิทธิภาพของการสวมหน้ากากอนามัย โรคหวัดไม่มีวิธีรักษาจำเพาะ แต่สามารถรักษาอาการได้ โรคหวัดเป็นหนึ่งในโรคติดต่อที่พบบ่อยที่สุดในมนุษย์ และอยู่คู่กับมนุษยชาติมาแต่โบราณ ผู้ใหญ่ติดโรคหวัดโดยเฉลี่ยสองถึงสามครั้งต่อปี ขณะที่เด็กโดยเฉลี่ยติดโรคหวัดระหว่างหกถึงสิบสองครั้งต่อปี.

ใหม่!!: ระยะฟักและโรคหวัด · ดูเพิ่มเติม »

โรคหัด

รคหัด (measles) เป็นโรคติดเชื้อชนิดหนึ่งที่ติดต่อกันได้ง่ายมาก เกิดจากเชื้อไวรัสหัด ในระยะแรกผู้ป่วยจะมีไข้ ซึ่งมักเป็นไข้สูง (>40 องศาเซลเซียส) ไอ น้ำมูกไหลจากเยื่อจมูกอักเสบ และตาแดงจากเยื่อตาอักเสบ ในวันที่ 2-3 จะเริ่มมีจุดสีขาวขึ้นในปาก เรียกว่าจุดของคอปลิก จากนั้นในวันที่ 3-5 จะเริ่มมีผื่นเป็นผื่นแดงแบน เริ่มขึ้นที่ใบหน้า จากนั้นจึงลามไปทั่วตัว อาการมักเริ่มเป็น 10-12 หลังจากรับเชื้อ และมักเป็นอยู่ 7-10 วันสามารถพบภาวะแทรกซ้อนได้ราว 30% ซึ่งภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ได้แก่ ท้องร่วง ตาบอด สมองอักเสบ ปอดอักเสบ และอื่นๆ โรคนี้เป็นคนละโรคกับโรคหัดเยอรมันและหัดกุหลาบ โรคหัดติดต่อทางอากาศ เชื้อหัดจะออกมาพร้อมกับการไอและการจามของผู้ป่วย นอกจากนี้ยังอาจติดต่อผ่านการสัมผัสน้ำลายหรือน้ำมูกของผู้ป่วยได้ด้วย หากมีผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันและอยู่ในที่เดียวกันกับผู้ติดเชื้อ จะเกิดการติดเชื้อถึงเก้าในสิบ ผู้ติดเชื้อจะสามารถแพร่เชื้อให้คนอื่นได้ตั้งแต่ 4 วันก่อนมีอาการ ไปจนถึง 4 วัน หลังเริ่มมีผื่น.

ใหม่!!: ระยะฟักและโรคหัด · ดูเพิ่มเติม »

โรคหัดเยอรมัน

รคหัดเยอรมัน หรือโรคเหือด (Rubella, German measles) หรือโรคหัดสามวัน (three-day measles) เป็นการติดเชื้อเกิดจากไวรัสหัดเยอรมัน โรคนี้มักไม่ร้ายแรงโดยผู้ป่วยครึ่งหนึ่งไม่รู้สึกตัวว่าป่วย ผื่นอาจเริ่มมีราวสองสัปดาห์หลังสัมผัสเชื้อและอยู่นานสามวัน ปกติเริ่มบนหน้าแล้วแพร่ไปร่างกายที่เหลือ ผื่นของโรคหัดเยอรมันสีไม่สดเท่าผื่นของโรคหัดและบ้างคัน พบปุ่มน้ำเหลืองบวมได้ทั่วไปและอาจอยู่นานหลายสัปดาห์ นอกจากนี้ อาจมีไข้ เจ็บคอและความล้า ในผู้ใหญ่ อาการปวดข้อพบได้บ่อย อาการแทรกซ้อนอาจรวมปัญหาเลือดออก อัณฑะบวม และการอักเสบของเส้นประสาท การติดเชื้อระหว่างช่วงต้นของการตั้งครรภ์อาจส่งผลให้เด็กเกิดมามีกลุ่มอาการโรคหัดเยอรมันแต่กำเนิด (CRS) หรือแท้ง อาการของ CRS มีปัญหาเกี่ยวกับตา เช่น ต้อกระจก หู เช่น หูหนวก หัวใจและสมอง พบปัญหาน้อยหลังสัปดาห์ที่ 20 ของการตั้งครรภ์ โรคหัดเยอรมันปกติแพร่ผ่านอากาศโดยทางการไอของผู้ที่ติดเชื้อ บุคคลแพร่เชื้อได้ระหว่างหนึ่งสัปดาห์ก่อนและหลังผื่นปรากฏ ทารกที่เป็น CRS อาจแพร่ไวรัสได้กว่าหนึ่งปี มีเฉพาะมนุษย์ที่ติดเชื้อ แมลงไม่แพร่โรค เมื่อฟื้นตัวแล้ว บุคคลจะมีภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อในอนาคต มีการทดสอบซึ่งสามารถพิสูจน์ยืนยันภูมิคุ้มกันได้ ยืนยันการวินิจฉัยโดยการพบไวรัสในเลือด คอหรือปัสสาวะ การทดสอบเลือดหาแอนติบอดีอาจเป็นประโยชน์ด้วย โรคหัดเยอรมันป้องกันได้ด้วยวัคซีนโรคหัดเยอรมันเพียงขนาดยาเดี่ยว - วัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมัน.

ใหม่!!: ระยะฟักและโรคหัดเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

โรคติดเชื้อ

รคติดเชื้อ (Infectious disease) เป็นโรคซึ่งเป็นผลจากการมีเชื้อจุลชีพก่อโรค อาทิไวรัส แบคทีเรีย รา โพรโทซัว ปรสิต หรือแม้กระทั่งโปรตีนที่ผิดปกติเช่นพรีออน เชื้อดังกล่าวอาจก่อให้เกิดโรคในสัตว์หรือพืชได้ โรคติดเชื้อจัดเป็นโรคติดต่อ (Contagious diseases, Communicable diseases) เนื่องจากสามารถติดต่อไปยังบุคคลอื่นหรือระหว่างสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์เดียวกัน การติดต่อของโรคติดเชื้ออาจเกิดได้มากกว่า 1 ทาง รวมถึงการสัมผัสผู้ป่วยโดยตรง จุลชีพก่อโรคอาจถ่ายทอดไปโดยสารน้ำในร่างกาย อาหาร น้ำดื่ม วัตถุที่มีเชื้อปนเปื้อน ลมหายใจ หรือผ่านพาหะ"Infectious disease." McGraw-Hill Encyclopedia of Science and Technology.

ใหม่!!: ระยะฟักและโรคติดเชื้อ · ดูเพิ่มเติม »

โรคติดเชื้อโมโนนิวคลีโอซิส

รคติดเชื้อโมโนนิวคลีโอซิส (infectious mononucleosis, IM) หรือ โมโน เป็นโรคติดเชื้อชนิดหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอ็ปสไตน์-บาร์หรืออีบีวี ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยเด็ก ซึ่งมักมีอาการไม่รุนแรง หากผู้ป่วยเป็นวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ตอนต้น มักมีอาการไข้ เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต และอ่อนเพลีย อาการมักดีขึ้นภายใน 2-4 สัปดาห์ แต่อาจอ่อนเพลียต่อได้หลายเดือน บางรายมีตับโตหรือม้ามโตร่วมด้วย อาจพบการฉีดขาดของม้ามได้ แต่พบน้อย ไม่ถึง 1% เชื้อทีเป็นสาเหตุหลักของโรคนี้คือเชื้อไวรัสเอ็ปสไตน์-บาร์หรืออีบีวี มีอีกชื่อว่าไวรัสเฮอร์ปีส์ในมนุษย์ ชนิดที่ 4 ซึ่งอยู่ในแฟมิลีไวรัสเฮอร์ปีส์ นอกจากนี้ยังมีเชื้ออื่นอีกแต่พบไม่บ่อย ส่วนใหญ่ติดต่อผ่านทางน้ำลาย ช่องทางอื่นที่พบได้น้อยคือทางน้ำอสุจิและทางเลือด ผู้ป่วยอาจติดเชื้อผ่านการสัมผัสวัตถุที่ปนเปื้อน เช่น แก้วน้ำ แปรงสีฟัน ผู้ติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ 1 สัปดาห์ ก่อนเริ่มแสดงอาการ การวินิจฉัยทำได้โดยดูจากอาการเป็นหลัก บางครั้งอาจจำเป็นต้องตรวจยืนยันโดยการตรวจหาแอนติบอดีในเลือด ผลการตรวจนับเม็ดเลือดมักพบว่ามีเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟซัยต์สูงกว่าปกติ โดยเป็นลิมโฟซัยต์แบบผิดปกติ (atypical) มากกว่า 10% ในสมัยก่อนเคยมีชุดตรวจสำเร็จรูปเช่น monospot แต่ปัจจุบันไม่แนะนำให้ใช้แล้ว เนื่องจากมีความแม่นยำต่ำ ยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ป้องกันเชื้อนี้ การป้องกันโรคยังคงเน้นไปที่การงดใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกัน และงดจูบกับผู้ป่วย ผู้ป่วยมักมีอาการดีขึ้นได้เอง การรักษาเป็นการบรรเทาอาการและการรักษาประคับประคองโดยทั่วไป ได้แก่ การดื่มน้ำ พักผ่อนให้เพียงพอ ใช้ยาแก้ปวดลดไข้เพื่อบรรเทาอาการไข้และอาการปวด เช่น พาราเซตามอล หรือไอบูโปรเฟน ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเป็นวัยรุ่นถึงวัยผู้ใหญ่ตอนต้นอายุประมาณ 15-24 ปี ส่วนในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเป็นเด็กเล็ก ซึ่งมักมีอาการไม่รุนแรง หากพิจารณาเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยอายุ 16-20 ปี ที่มีอาการเจ็บคอ จะพบว่ามีสาเหตุจากโรคนี้ราว 8% ในสหรัฐอเมริกาพบผู้ป่วยโรคนี้ประมาณ 45 ต่อประชากรแสนคน คนทั่วไปราว 95% จะเคยมีการติดเชื้ออีบีวีมาก่อน โรคนี้พบได้ตลอดปี ได้รับการบรรยายรายละเอียดของโรคเป็นครั้งแรกเมื่อช่วงปี..

ใหม่!!: ระยะฟักและโรคติดเชื้อโมโนนิวคลีโอซิส · ดูเพิ่มเติม »

โรคโปลิโอ

รคโปลิโอ (poliomyelitis, polio, infantile paralysis) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสเฉียบพลันซึ่งติดต่อจากคนสู่คนทางอุจจาระ-ปาก ชื่อนี้มาจากภาษากรีกว่า (πολιός) หมายถึง สีเทา, (µυελός) หมายถึงไขสันหลัง และคำอุปสรรค -itis หมายถึงการอักเสบ การติดเชื้อโปลิโอกว่า 90% จะไม่ทำให้เกิดอาการใด ๆ โดยผู้ติดเชื้ออาจมีอาการได้หลายอย่างหากได้รับไวรัสเข้ากระแสเลือด ผู้ป่วย 1% จะมีการติดเชื้อไวรัสเข้าสู่ระบบประสาทกลาง ทำให้เซลล์ประสาทสั่งการถูกทำลาย ทำให้เกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรงและอัมพาตอ่อนเปียก ผู้ป่วยอาจมีอาการอ่อนแรงได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับเส้นประสาทที่ถูกทำลาย รูปแบบที่พบบ่อยที่สุดคือโปลิโอไขสันหลัง ซึ่งทำให้มีอาการอ่อนแรงแบบไม่สมมาตรมักเป็นที่ขา โปลิโอก้านสมองส่วนท้ายทำให้เกิดการอัมพาตของกล้ามเนื้อที่เลี้ยงโดยเส้นประสาทสมอง โปลิโอไขสันหลังและก้านสมองส่วนท้ายจะทำให้มีอาการร่วมกันทั้งการอัมพาตก้านสมองส่วนท้ายและไขสันหลัง โรคโปลิโอค้นพบครั้งแรกเมื่อ..

ใหม่!!: ระยะฟักและโรคโปลิโอ · ดูเพิ่มเติม »

โรคไวรัสอีโบลา

รคไวรัสอีโบลา หรือไข้เลือดออกอีโบลา เป็นโรคของมนุษย์ที่เกิดจากไวรัสอีโบลา ตรงแบบเริ่มมีอาการสองวันถึงสามสัปดาห์หลังสัมผัสไวรัส โดยมีไข้ เจ็บคอ ปวดกล้ามเนื้อและปวดศีรษะ จากนั้นมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนและท้องร่วงร่วมกับการทำหน้าที่ของตับและไตลดลงตามมา เมื่อถึงจุดนี้ บางคนเริ่มมีปัญหาเลือดออก บุคคลรับโรคนี้ครั้งแรกเมื่อสัมผัสกับเลือดหรือสารน้ำในร่างกายจากสัตว์ที่ติดเชื้อ เช่น ลิงหรือค้างคาวผลไม้ เชื่อว่าค้างคาวผลไม้เป็นตัวพาและแพร่โรคโดยไม่ได้รับผลกระทบจากไวรัส เมื่อติดเชื้อแล้ว โรคอาจแพร่จากคนสู่คนได้ ผู้ที่รอดชีวิตอาจสามารถส่งผ่านโรคทางน้ำอสุจิได้เป็นเวลาเกือบสองเดือน ในการวินิจฉัย ต้องแยกโรคอื่นที่มีอาการคล้ายกันออกก่อน เช่น มาลาเรีย อหิวาตกโรคและไข้เลือดออกจากไวรัสอื่น ๆ อาจทดสอบเลือดหาแอนติบอดีต่อไวรัส ดีเอ็นเอของไวรัส หรือตัวไวรัสเองเพื่อยืนยันการวินิจฉัย การป้องกันรวมถึงการลดการระบาดของโรคจากลิงและหมูที่ติดเชื้อสู่คน ซึ่งอาจทำได้โดยการตรวจสอบหาการติดเชื้อในสัตว์เหล่านี้ และฆ่าและจัดการกับซากอย่างเหมาะสมหากพบโรค การปรุงเนื้อสัตว์และสวมเสื้อผ้าป้องกันอย่างเหมาะสมเมื่อจัดการกับเนื้อสัตว์อาจช่วยได้ เช่นเดียวกับสวมเสื้อผ้าป้องกันและล้างมือเมื่ออยู่ใกล้ผู้ที่ป่วยเป็นโรคดังกล่าว ตัวอย่างสารน้ำร่างกายจากผู้ป่วยควรจัดการด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ ไม่มีการรักษาไวรัสอย่างจำเพาะ ความพยายามช่วยเหลือผู้ป่วยมีการบำบัดคืนน้ำ (rehydration therapy) ทางปากหรือหลอดเลือดดำ โรคนี้มีอัตราตายสูงระหว่าง 50% ถึง 90% ของผู้ติดเชื้อไวรัส มีการระบุโรคนี้ครั้งแรกในประเทศซูดานและสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ตรงแบบเกิดในการระบาดในเขตร้อนแอฟริกาใต้สะฮารา ระหว่างปี 2519 ซึ่งมีการระบุโรคครั้งแรก และปี 2555 มีผู้ติดเชื้อน้อยกว่า 1,000 คนต่อปี การระบาดครั้งใหญ่ที่สุดจนถึงปัจจุบัน คือ การระบาดของอีโบลาในแอฟริกาตะวันตก พ.ศ. 2557 ซึ่งกำลังดำเนินอยู่ โดยระบาดในประเทศกินี เซียร์ราลีโอนและไลบีเรีย จนถึงเดือนกรกฎาคม 2557 มีผู้ป่วยยืนยันแล้วกว่า 1,320 คน แม้จะมีความพยายามพัฒนาวัคซีนอยู่ แต่จนถึงบัดนี้ยังไม่มีวัคซีน.

ใหม่!!: ระยะฟักและโรคไวรัสอีโบลา · ดูเพิ่มเติม »

โนโรไวรัส

นโรไวรัสเป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งซึ่งเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของโรคกระเพาะและลำไส้อักเสบจากไวรัสในมนุษย์ซึ่งเกิดขึ้นได้กับมนุษย์ทุกวัย ผู้ป่วยจะมีอาการอุจจาระร่วง อาเจียน และปวดท้อง ส่วนใหญ่จะไม่มีเลือดปนมากับอุจจาระ บางรายอาจมีอาการไข้และปวดศีรษะร่วมด้วย ผู้ป่วยมักเริ่มแสดงอาการหลังได้รับเชื้อประมาณ 12-48 ชั่วโมง และจะเป็นอยู่ประมาณ 1-3 วัน ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญที่อาจพบได้คือการขาดน้ำ เชื้อนี้ติดต่อผ่านทางการกินอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนอุจจาระของผู้ป่วย จากการสัมผัสคนสู่คน และจากการสัมผัสพื้นผิวที่ปนเปื้อนละอองอาเจียนของผู้ป่วย การใช้น้ำยาล้างมือแบบแห้งมักกำจัดเชื้อนี้ไม่ได้ เชื้อนี้ยังไม่มีวัคซีน ไม่มีการรักษาจำเพาะ ดังนั้นการรักษาจึงเป็นการรักษาแบบประคับประคองด้วยการชดเชยน้ำ ซึ่งอาจทำได้โดยการกินหรือการให้ทางหลอดเลือดดำ ในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยจากเชื้อโนโรไวรัสประมาณ 685 ล้านคนทั่วโลก เสียชีวิตประมาณ 200,000 คน พบได้บ่อยทั้งในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนา ผู้ป่วยเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปีจะได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด ประมาณกันว่ามีผู้ป่วยกลุ่มนี้ในประเทศกำลังพัฒนาเสียชีวิตประมาณปีละ 50,000 คน โรคนี้จะพบบ่อยในช่วงฤดูหนาว ดังนั้นบางครั้งจึงถูกเรียกว่าเชื้ออาเจียนฤดูหนาว (winter vomiting bug) อาจทำให้เกิดการระบาดเฉพาะที่ได้โดยเฉพาะในที่ที่มีคนอยู่หนาแน่น (เช่น ค่ายทหาร สถานเลี้ยงเด็ก ชุมชนแออัด) ในสหรัฐอเมริกาพบว่าเชื้อนี้เป็นสาเหตุของการระบาดของโรคติดเชื้อทางเดินอาหารถึงประมาณครึ่งหนึ่ง ส่วนในไทยยังไม่มีข้อมูลความชุก แต่พบการระบาดเป็นครั้งๆ เชื่อโนโรไวรัสนี้มีที่มาจากชื่อเมืองนอร์วอล์ค รัฐโอไฮโอ ซึ่งเป็นเมืองที่มีการระบาดของไวรัสนี้เมื่อ..

ใหม่!!: ระยะฟักและโนโรไวรัส · ดูเพิ่มเติม »

ไข้หวัดใหญ่

้หวัดใหญ่ (influenza หรือ flu) เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากไวรัสไข้หวัดใหญ่ อาจมีอาการเล็กน้อยไปถึงรุนแรง อาการที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ ไข้สูง คัดจมูก เจ็บคอ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ ไอและรู้สึกเหนื่อย อาการเหล่านี้จะออกอาการหลังได้รับไวรัสสองวันและส่วนมากอาการอยู่นานไม่เกินสัปดาห์ ทว่า อาการไออาจกินเวลานานกว่าสองสัปดาห์ได้ ในเด็ก อาจมีคลื่นไส้อาเจียน แต่ไม่ใช่อาการปกติในผู้ใหญ่ อาการคลื่นไส้อาเจียนเกินบ่อยกว่าในกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบซึ่งเป็นโรคติดเชื้ออีกโรคหนึ่ง ที่บ้างเรียกผิด ๆ ว่าเป็น "ไข้หวัดลงกระเพาะ" (stomach flu) หรือ "ไข้หวัด 24 ชั่วโมง" (24-hour flu) อาการแทรกซ้อนของไข้หวัดใหญ่อาจมีปอดบวมจากไวรัส ปอดบวมจากแบคทีเรียตาม โพรงอากาศ (sinus) ติดเชื้อ และปัญหาสุขภาพที่มีอยู่เดิมแย่ลง เช่น โรคหอบหืดหรือภาวะหัวใจล้มเหลว โดยทั่วไป ไข้หวัดใหญ่ติดต่อผ่านอากาศโดยการไอหรือจาม ซึ่งปลดปล่อยละอองลอยที่มีไวรัส ไข้หวัดใหญ่ยังสามารถส่งผ่านโดยการสัมผัสโดยตรงกับมูลหรือสารคัดหลั่งจากจมูกของนก หรือผ่านการสัมผัสกับพื้นผิวที่ปนเปื้อน คาดกันว่าละอองลอยที่มาทางอากาศก่อให้เกิดการติดเชื้อมากที่สุด แต่ยังไม่ทราบช่องทางการส่งผ่านที่สำคัญที่สุด ไวรัสไข้หวัดใหญ่สามารถลดฤทธิ์ด้วยแสงแดด สารฆ่าเชื้อและสารชะล้างได้ การล้างมือบ่อย ๆ ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ เพราะสบู่สามารถลดฤทธิ์ไวรั.

ใหม่!!: ระยะฟักและไข้หวัดใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

ไข้ดำแดง

้ดำแดง (scarlet fever) เป็นโรคที่เกิดจากสารพิษ exotoxin ซึ่งสร้างโดยเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus pyogenes มีอาการเช่น เจ็บคอ มีไข้ ลิ้นสีแดงสดคล้ายลูกสตรอวเบอรรี่ มีผื่นที่มีลักษณะเฉพาะ เป็นต้น โรคนี้วินิจฉัยจากการดูผลตรวจทางคลินิก.

ใหม่!!: ระยะฟักและไข้ดำแดง · ดูเพิ่มเติม »

ไข้เด็งกี

้เด็งกี (Dengue fever) หรือในประเทศไทยนิยมเรียกว่า ไข้เลือดออก เป็นโรคติดเชื้อซึ่งระบาดในเขตร้อน เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเด็งกี ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ และมีผื่นลักษณะเฉพาะซึ่งคล้ายกับผื่นของโรคหัด ผู้ป่วยส่วนหนึ่งจะมีอาการรุนแรง จนกลายเป็นไข้เลือดออกเด็งกี (Dengue hemorrhagic fever) ที่เป็นอันตรายถึงชีวิต ซึ่งทำให้มีเลือดออกง่าย มีเกล็ดเลือดต่ำ และมีการรั่วของพลาสมา หรือรุนแรงมากขึ้นเป็นกลุ่มอาการไข้เลือดออกช็อก (Dengue shock syndrome) ซึ่งมีความดันโลหิตต่ำอย่างเป็นอันตรายได้ ไข้เลือดออกติดต่อผ่านทางพาหะคือยุงหลายสปีชีส์ในจีนัส Aedes โดยเฉพาะ A. aegypti หรือยุงลายบ้าน ไวรัสเด็งกีมีชนิดย่อยอยู่สี่ชนิด การติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งมักทำให้ผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสชนิดนั้น ๆ ไปตลอดชีวิต แต่มีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสเด็งกีชนิดอื่น ๆ ในเวลาสั้น ๆ การติดเชื้อไวรัสเด็งกีชนิดอื่นในภายหลังเพิ่มความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนรุนแรง การป้องกันโรคทำโดยลดจำนวนแหล่งเพาะพันธุ์และจำนวนของยุง และป้องกันมิให้ยุงลายกัด เพราะยังไม่มีวัคซีนในทางพาณิชย์ ยังไม่มีวิธีจำเพาะในการรักษาไข้เลือดออก การรักษาหลัก ๆ เป็นการรักษาประคับประคอง สำหรับผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรงรักษาโดยการคืนน้ำ อาจใช้การกินทางปากหรือการให้ทางหลอดเลือดดำ และสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงรักษาโดยให้สารน้ำหรือเลือดหรือองค์ประกอบของเลือดทางหลอดเลือดดำ อุบัติการณ์ของไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นมากตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1960 โดยมีผู้ป่วยติดเชื้อ 50-100 ล้านคนต่อปี โรคนี้มีการอธิบายเอาไว้ครั้งแรกตั้งแต..

ใหม่!!: ระยะฟักและไข้เด็งกี · ดูเพิ่มเติม »

เอชไอวี

วามหมายอื่น: อัลบั้มเพลงของ ไฮ-ร็อก ดูที่ HIV เอชไอวี (Human immunodeficiency virus, HIV) ไวรัสตระกูล Retrovirus เป็นสาเหตุของภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ในกรณีของมนุษย์ จะทำให้ระบบภูมิต้านทานล้มเหลว และทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ชื่อเดิมของไวรัสนี้ ได้แก่ human T-lymphotropic virus-III (HTLV-III), lymphadenopathy-associated virus (LAV), และ AIDS-associated retrovirus (ARV). เชื้อเอชไอวีสามารถติดต่อได้ทาง เลือด อสุจิ สารคัดหลั่งในช่องคลอด หรือน้ำนม ซึ่งภายในของเหลวที่ร่างกายสร้างขึ้นนี้ เชื้อเอชไอวีสามารถอยู่ได้ทั้งในสภาพอิสระในตัว และอยู่ในเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ติดเชื้อ สาเหตุใหญ่ของการแพร่กระจายเชื้อ คือ การมีเพศสัมพันธ์โดยทีไม่ได้ป้องกัน เข็มฉีดยาที่ปนเปิ้อน การติดเชิ้อจากแม่สู่ลูกผ่านทางการให้น้ำนม เลือดที่ปนเปิ้อนเชื้อไวรัสเอชไอวีจากการบริจาคให้ธนาคารเลือด ในขณะนี้การติดเชื้อเอชไอวี ในมนุษย์จัดได้ว่าเป็นโรคระบาดร้ายแรง ซึ่งเมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 2006 องค์กรความร่วมมือเกี่ยวกับ HIV/AIDS (UNAIDS) และองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประมาณการไว้ว่ามีผู้เสียชีวิตจากเอดส์มากกว่า 25 ล้านคนจากการตรวจพบในวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1981 ทำให้เชื้อ HIV เป็นหนึ่งในการแพร่ระบาดที่เป็นสาเหตุการตายของมนุษย์ ที่ร้ายแรงที่สุดในหน้าประวัติศาสตร์อีกเหตุการหนึ่ง นับจากภายหลังแบล็กเดธที่คร่าชีวิตประชากรยุโรปในสมัยกลางไปถึง 1 ใน 3 เชื้อ HIV ยังเป็นสาเหตุของการตายของมนุษย์ที่มีความเสียหายมากที่สุดในปี ค.ศ. 2005 มีการคาดการว่า มีผู้ติดเชื้อประมาณ 2.4 และ 3.3 ล้านคนที่ยังมีชีวิตอยู่ และจำนวนมากกว่า 570,000 คนเป็นเด็ก.

ใหม่!!: ระยะฟักและเอชไอวี · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Incubation periodระยะฟักตัวระยักฟักตัว

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »