โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รส

ดัชนี รส

รสหรือรสชาติ เป็นความประทับรับความรู้สึกของอาหารหรือสารอื่น และส่วนใหญ่ตัดสินจากสัมผัสเคมีของการรับรู้รสและกลิ่น "ประสาทไทรเจมินัล" ซึ่งตรวจจับยาระคายเคมีในปากและลำคอ ตลอดจนอุณหภูมิและเนื้อ (texture) ยังสำคัญต่อเกสทัลท์การรับรู้รสโดยรวม รสของอาหารดังกล่าวสามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยสารปรุงรส (flavorant) ธรรมชาติหรือสังเคราะห์ ซึ่งมีผลต่อสัมผัสเหล่านี้ ในสามสัมผัสเคมีเหล่านี้ กลิ่นเป็นตัวกำหนดหลักของรสอาหารหนึ่ง ๆ ขณะที่การรับรู้รสอาหารจำกัดอยู่เพียงหวาน เปรี้ยว ขม เค็ม และอุมะมิ อันเป็นห้าการรับรู้รสพื้นฐาน หมวดหมู่:การรับรู้รส หมวดหมู่:ระบบรู้รส.

3 ความสัมพันธ์: การรับรู้รสอุมะมิจิตวิทยาเกสทัลท์

การรับรู้รส

ตุ่มรับรส (Taste bud) รส หรือ รสชาติ (Taste, gustatory perception, gustation) เป็นเรื่องเกี่ยวกับประสาทสัมผัสหนึ่งในห้า (นับตามโบราณ) โดยเป็นความรู้สึกที่ได้จากระบบรู้รส (gustatory system) รสเป็นความรู้สึกที่ได้เมื่อสารในปากก่อปฏิกิริยาเคมีกับเซลล์รับรส (taste receptor cell) ที่อยู่ในตุ่มรับรส (taste bud) ในช่องปากโดยมากที่ลิ้น รสพร้อม ๆ กับกลิ่น และการกระตุ้นที่ประสาทไทรเจมินัล (ซึ่งทำให้รู้เนื้ออาหาร ความเจ็บปวด และอุณหภูมิ) จะเป็นตัวกำหนดความอร่อยของอาหารหรือสารอื่น ๆ กล่าวอีกอย่างก็คือ ระบบรู้รสจะตรวจจับโมเลกุลอาหารและเครื่องดื่มเป็นต้น โดยมากที่ละลายในน้ำหรือไขมันได้ ซึ่งเมื่อรวมกับข้อมูลจากระบบรู้กลิ่นและระบบรับความรู้สึกทางกาย จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพของสารอาหาร ปริมาณ และความปลอดภัยของสิ่งที่เข้ามาในปาก มีรสชาติหลัก ๆ 5 อย่างคือ หวาน เปรี้ยว เค็ม ขม และอุมะมิ ซึ่งรู้ผ่านวิถีประสาทที่แยกจากกัน ส่วนการรับรู้รสแบบผสมอาจเกิดขึ้นที่เปลือกสมองส่วนการรู้รสโดยประมวลข้อมูลที่ได้ในเบื้องต้นจากหน่วยรับรสหลัก ๆ การรับรู้รสจะเริ่มตั้งแต่สารที่มีรสทำปฏิกิริยากับน้ำลายซึ่งท่วมตุ่มรับรสที่อยู่บนโครงสร้างต่าง ๆ เช่นปุ่มลิ้น ทำให้โมเลกุลรสมีโอกาสทำปฏิกิริยากับหน่วยรับรสที่อยู่บนเยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์รับรสซึ่งอยู่รวมตัวกันที่ตุ่มรับรส รสหวาน อุมะมิ และขม จะเริ่มจากการจับกันของโมเลกุลกับ G protein-coupled receptors ที่เยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์รับรส ส่วนความเค็มและความหวานจะรู้ได้เมื่อโลหะแอลคาไลหรือไอออนไฮโดรเจน (ตามลำดับ) ไหลเข้าไปในเซลล์รับรส ในที่สุดเซลล์รับรสก็จะลดขั้วแล้วส่งสัญญาณกลิ่นผ่านใยประสาทรับความรู้สึกไปยังระบบประสาทกลาง สมองก็จะประมวลผลข้อมูลรสซึ่งในที่สุดก็ทำให้รู้รส รสพื้นฐานจะมีส่วนต่อความรู้สึกอร่อยของอาหารในปาก ปัจจัยอื่น ๆ รวมทั้งกลิ่น ที่ตรวจจับโดยเยื่อบุผิวรับกลิ่นในจมูก, เนื้ออาหาร ที่ตรวจจับโดยตัวรับแรงกล และประสาทกล้ามเนื้อต่าง ๆ เป็นต้น, อุณหภูมิที่ตรวจจับโดยปลายประสาทรับร้อน, ความเย็น (เช่นที่ได้จากเมนทอล) กับรสเผ็สที่ได้จากตัวรับรู้สารเคมี, รูปลักษณ์ที่ปรากฏของอาหาร ที่เห็นได้ผ่านเซลล์รับแสงในจอตา, และสภาพทางจิตใจเอง เพราะเรารู้ทั้งรสที่เป็นอันตรายและมีประโยชน์ รสพื้นฐานทั้งหมดสามารถจัดเป็นไม่น่าพอใจ (aversive) หรือทำให้อยากอาหาร (appetitive) ความขมช่วยเตือนว่าอาจมีพิษ ในขณะที่ความหวานช่วยระบุอาหารที่สมบูรณ์ด้วยพลังงาน สำหรับมนุษย์ การรู้รสจะเริ่มลดลงราว ๆ อายุ 50 ปี เพราะการเสียปุ่มลิ้นและการผลิตน้ำลายที่น้อยลง ทำให้ผู้สูงอายุมักทานรสจัดขึ้นเทียบกับเด็ก เช่น ต้องเติมเกลือ เติมพริกเป็นต้น ซึ่งอาจเป็นปัญหาต่อผู้มีความดันโลหิตสูงหรือมีปัญหาธำรงดุลอิเล็กโทรไลต์ในร่างกาย มนุษย์สามารถรู้รสแบบผิดปกติเพราะเป็นโรค dysgeusia สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมดไม่ได้รู้รสได้เหมือน ๆ กัน สัตว์ฟันแทะบางชนิดสามารถรู้รสแป้ง (ซึ่งมนุษย์ไม่สามารถ) แมวไม่สามารถรู้รสหวาน และสัตว์กินเนื้อหลายอย่างรวมทั้งหมาไฮยีน่า ปลาโลมา และสิงโตทะเลต่างก็ได้เสียการรู้รสชาติอาจถึง 4 อย่างจาก 5 อย่างที่บรรพบุรุษของพวกมันรู้.

ใหม่!!: รสและการรับรู้รส · ดูเพิ่มเติม »

อุมะมิ

อุมะมิ เป็นรสชาติของกลูตาเมตอิสระ หนึ่งในกรดอะมิโนซึ่งเป็นองค์ประกอบของโปรตีนที่พบได้ในอาหารตามธรรมชาติ และ เครื่องปรุงรสต่างๆ อุมะมิเป็นคำที่มาจากภาษาญี่ปุ่นซึ่งแปลว่ารสอร่อย ในภาษาไทยคำที่ใกล้เคียงที่สุดได้แก่ "รสหวานน้ำต้มกระดูก" หรือ "รสกลมกล่อม" ในภาษาอีสานมีคำว่า "นัว" ส่วนในภาษาอังกฤษจะมีคำว่า "Savory" "Meaty" "broth-like" หรือ "mounthfullness" รสอุมะมิเป็นหนึ่งใน 5 รสชาติพื้นฐาน (basic taste) นอกเหนือไปจากรสเปรี้ยว หวาน เค็ม ขมที่ช่วยให้อาหารมีรสชาติโดยรวมดีขึ้น Ikeda K. On a new seasoning.

ใหม่!!: รสและอุมะมิ · ดูเพิ่มเติม »

จิตวิทยาเกสทัลท์

ตวิทยาเกสตัลต์ (gestalt psychology หรือ gestaltism, Gestalt – แก่นหรือรูปทรงแห่งรูปแบบสมบูรณ์ของสิ่ง ๆ หนึ่ง") เป็นทฤษฎีจิตใจและสมองของสำนักจิตวิทยาเชิงทดลองกรุงเบอร์ลิน หลักการเชิงปฏิบัติการของจิตวิทยาเกสตัลต์ คือ สมองเป็นแบบองค์รวม ขนานและเป็นเชิงอุปมาน (analog) โดยมีแนวโน้มจัดระเบียบตนเอง หลักการนี้มีว่า ตามนุษย์มองวัตถุทั้งหมดก่อนค่อยรับรู้ส่วนย่อย เป็นการแนะนัยว่า องค์รวมนั้นโดดเด่นกว่าผลรวมของส่วนประกอบย่อย จิตวิทยาเกสตัลต์พยายามทำความเข้าใจกฎของความสามารถของมนุษย์ที่จะได้รับและธำรงความรับรู้ที่มั่นคงในโลกอันวุ่นวายนี้ นักจิตวิทยาเกสตัลต์กำหนดว่า การรับรู้เป็นผลของอันตรกิริยาซับซ้อนระหว่างสิ่งเร้าทั้งหลาย นัดจิตวิทยาเกสตัลต์มุ่งทำความเข้าใจการจัดระเบียบกระบวนการคิด ขณะที่นักพฤติกรรมนิยมทำความเข้าใจองค์ประกอบของกระบวนการคิด (Carlson and Heth, 2010) ปรากฏการณ์เกสตัลต์เป็นขีดความสามารถสร้างแบบของสัมผัสมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจดจำรูปทรงและแบบทั้งหมดด้วยตา แทนที่จะเป็นเพียงเส้นตรงและเส้นโค้งหลายเส้นรวมกัน ในวิชาจิตวิทยา จิตวิทยาเกสตัลต์มักค้านต่อโครงสร้างนิยม วลี "ทั้งหมดโดดเด่นกว่าผลรวมของส่วนย่อย" (The whole is greater than the sum of the parts) มักใช้เมื่ออธิบายทฤษฎีเกสตัลต์ แม้จะเป็นการแปลผิดจากวลีดั้งเดิมของคูร์ท คอฟฟ์คา ที่ว่า "ทั้งหมดเป็นคนละอย่างกับผลรวมของส่วนย่อย" (The whole is other than the sum of the parts) ทฤษฎีเกสตัลต์พิจารณาการแยกส่วนจากสถานการณ์รวมมาเป็นสิ่งที่เป็นจริง.

ใหม่!!: รสและจิตวิทยาเกสทัลท์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

FlavorFlavourรสชาติรสชาติพื้นฐานรสชาติพื้นฐานของอาหาร

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »