โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ยุทธการที่เวียนนา

ดัชนี ยุทธการที่เวียนนา

ทธการเวียนนา (Schlacht am Kahlenberg, İkinci Viyana Kuşatması, Battle of Vienna) เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 11 ถึง 12 กันยายน ค.ศ. 1683 หลังจากเวียนนาถูกล้อมโดยจักรวรรดิออตโตมันอยู่เป็นเวลาสองเดือน ยุทธการเวียนนาเป็นการต่อสู้ระหว่างสันนิบาตศักดิ์สิทธิ์กับฝ่ายจักรวรรดิออตโตมันและรัฐบริวารไม่ไกลจากเนินเขาคาห์เลนแบร์กในเวียนนา ยุทธการเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างอำนาจของราชวงศ์ฮับส์บวร์กในยุโรปกลาง กองทัพเวียนนานำโดยเอิร์นสท์ รืดิเกอร์ กราฟ ฟอน สตาร์เฮมแบร์กภายใต้การบังคับบัญชาของสมเด็จพระจักรพรรดิลีโอโพลด์ที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ชัยชนะของยุทธการใหญ่เป็นของฝ่ายกองทัพโปแลนด์, ออสเตรีย และ เยอรมัน ภายใต้การนำของพระมหากษัตริย์โปแลนด์พระเจ้าจอห์นที่ 3 โซบีสกี ในการต่อสู้กับกองทัพของจักรวรรดิออตโตมันและกองทัพของรัฐบริวารที่นำโดยมหาเสนาบดีปาชาคารา มุสตาฟา ตามความเห็นบางความเห็นกล่าวว่ายุทธการครั้งนี้เป็นจุดเปลี่ยนแปลงของสงครามออตโตมัน-ฮับส์บวร์กซึ่งเป็นความขัดแย้งระหว่างรัฐอำนาจต่างๆ ในยุโรปกลางกับจักรวรรดิออตโตมันที่ดำเนินมาร่วมสามร้อยปี อีกความเห็นหนึ่งก็ว่าเป็นลมหายใจเฮือกสุดท้ายของจักรวรรดิออตโตมันที่เมื่อถึงจุดนั้นก็เป็นช่วงที่ขยายตัวจนเกินตัวอยู่แล้ว สิบหกปีหลังจากการที่ยุทธการสิ้นสุดลงราชวงศ์ฮับส์บวร์กแห่งออสเตรียก็เริ่มเข้ามามีอำนาจทางตอนใต้ของฮังการี และ ทรานซิลเวเนียที่เดิมอยู่ภายใต้อำนาจของออตโตมัน.

19 ความสัมพันธ์: ชวาเบินฟรังโกเนียพ.ศ. 2226พระเจ้าจอห์นที่ 3 โซบีสกีแห่งโปแลนด์กรากุฟการใช้อำนาจครอบงำมหาเสนาบดี (ออตโตมัน)ยุโรปกลางรัฐผู้คัดเลือกซัคเซินราชวงศ์ฮาพส์บวร์คจักรพรรดิเลโอโปลด์ที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จักรวรรดิออตโตมันทรานซิลเวเนียประเทศออสเตรียประเทศฮังการีแกรนด์ดัชชีทัสกานีเวียนนาเครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย12 กันยายน

ชวาเบิน

วาเบิน (Schwaben) หรือชื่อในภาษาอังกฤษคือ สเวเบีย (Swabia) เป็นหนึ่งในเจ็ดส่วนภูมิภาค (เรกีรุงชเบเซิร์ค) ในรัฐบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของบาวาเรียติดกับพรมแดนรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค ทางทิศใต้ติดกับพรมแดนประเทศออสเตรีย ดินแดนนี้ในอดีตมีดยุกจากราชวงศ์โฮเอ็นชเตาเฟินเป็นผู้ปกครอง ต่อมาถูกผนวกเข้ากับรัฐบาวาเรียใน..

ใหม่!!: ยุทธการที่เวียนนาและชวาเบิน · ดูเพิ่มเติม »

ฟรังโกเนีย

ตราอาร์มของฟรังโกเนีย บริเวณฟรังโกเนียในประเทศเยอรมนี ฟรังโกเนีย (Franconia) หรือในภาษาเยอรมันคือ ฟรังเคิน (Franken) คือบริเวณในประเทศเยอรมนีที่ประกอบด้วยบริเวณตอนเหนือของรัฐบาวาเรียปัจจุบัน ส่วนหนึ่งของทางใต้ของรัฐเทือริงเงิน และบริเวณเล็กทางตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค ที่เรียกว่าไฮล์บรอนน์-ฟรังเคิน ส่วนบาวาเรียประกอบด้วยสามการปกครองส่วนภูมิภาคคือ: อุนเทอร์ฟรังเคิน (Unterfranken), มิทเทิลฟรังเคิน (Mittelfranken) และโอเบอร์ฟรังเคิน (Oberfranken) ฟรังโกเนีย (มีความหมายว่าฝรั่งเศส) ตั้งชื่อตามกลุ่มชนเจอร์แมนิกกลุ่มที่เรียกว่าชาวแฟรงก์ ชนกลุ่มนี้มีบทบาทสำคัญในการแตกแยกของจักรวรรดิโรมัน และยึดครองบริเวณส่วนใหญ่ของยุโรปในยุคกลาง ฟรังโกเนียในปัจจุบันเป็นเพียงบริเวณเล็กๆ และไกลออกไปในบริเวณที่เป็นที่ตั้งถิ่นฐานเดิมของชาวแฟรงก์โบราณ ในภาษาเยอรมัน ฟรังเคิน ใช้สำหรับทั้งฟรังโกเนียในสมัยปัจจุบันและในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้เกิดความสับสน "จักรวรรดิแฟรงค์" หรือ ฟรังเคีย (Francia) อันที่จริงแล้วเป็นต้นกำเนิดของทั้งฝรั่งเศสและเยอรมนี ในปี..

ใหม่!!: ยุทธการที่เวียนนาและฟรังโกเนีย · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2226

ทธศักราช 2226 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ยุทธการที่เวียนนาและพ.ศ. 2226 · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าจอห์นที่ 3 โซบีสกีแห่งโปแลนด์

ระเจ้าจอห์นที่ 3 โซบีสกีแห่งโปแลนด์ (Jan III Sobieski; John III Sobieski) (17 สิงหาคม ค.ศ. 1629 – 17 มิถุนายน ค.ศ. 1696) เป็นพระมหากษัตริย์ผู้มีความสำคัญของเครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนียแห่งราชวงศ์โซบีสกี ผู้ครองราชย์ระหว่าง ค.ศ. 1674 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 1696 พระเจ้าจอห์นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งโปแลนด์และแกรนด์ดยุกแห่งลิทัวเนีย การครองราชสมบัติเป็นเวลายี่สิบสองปีของพระองค์เป็นรัชสมัยที่บ้านเมืองมีความมั่นคงที่เป็นที่ต้องการหลังจากสภาวะอันปั่นป่วนของความวุ่นวายที่เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นที่เกิดขึ้นในสมัยของความระส่ำระสายของเครือจักรภพ (Deluge) และการลุกฮือคเมลนิทสกี (Khmelnytsky Uprising) พระเจ้าจอห์นเป็นพระมหากษัตริย์ผู้เป็นที่นิยมของประชาชน และทรงเป็นนักการทหารผู้มีความสามารถ โดยเฉพาะในการต่อสู้อย่างกล้าหาญและเมื่อทรงได้รับชัยชนะต่อออตโตมันเติร์กในยุทธการเวียนนาในปี ค.ศ. 1683 ชัยชนะครั้งนี้ทำให้ทรงได้รับสมญานามจากเติร์กว่าเป็น “สิงห์แห่งลิทัวเนีย”.

ใหม่!!: ยุทธการที่เวียนนาและพระเจ้าจอห์นที่ 3 โซบีสกีแห่งโปแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

กรากุฟ

กรากุฟ (Kraków) หรือ คราเคา (Krakow หรือ Cracow) เป็นหนึ่งในเมืองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองและเก่าแก่ที่สุดในโปแลนด์และเป็นจุดหมายปลายทางที่นิยมของนักท่องเที่ยวเขตเมืองเก่าได้รับการบรรจุอยู่ในรายชื่อมรดกโลก เมืองตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำวิสตูลาในจังหวัดมาวอปอลสกา (เลสเซอร์โปแลนด์) เมืองมีที่มาตั้งแต่ในคริสต์ศตวรรษที่ 7The Municipality Of Kraków Press Office, 1996–2007, in participation with ACK Cyfronet of the AGH University of Science and Technology, กรากุฟเป็นหนึ่งในเมืองศูนย์กลางชั้นนำอย่างมีแบบแผนของสถาบันการศึกษาโปแลนด์ วัฒนธรรมและชีวิตศิลปะ และยังเป็นหนึ่งเมืองศูนย์กลางสำคัญด้านธุรกิจของโปแลนด์ เป็นเมืองหลวงของโปแลนด์ระหว่างปี..

ใหม่!!: ยุทธการที่เวียนนาและกรากุฟ · ดูเพิ่มเติม »

การใช้อำนาจครอบงำ

การใช้อำนาจครอบงำ หรือ อธิกภาพ ในการเมืองระหว่างประเทศ (hegemony; ἡγεμονία hēgemonía, "ความเป็นผู้นำ" หรือ "กฎ"; มีที่มาจากคำกริยาภาษากรีกว่า ἡγέομαι แปลว่า "นำทางไป", "นำร่อง" หรือ "เป็นผู้นำในการรบ") เป็นระบอบการปกครอง และภาวะครอบงำแบบจักรวรรดิทางอ้อม โดยผู้ใช้อำนาจเชิง "อธิกะ" (hegemon) คือรัฐผู้นำ ปกครองรัฐที่ด้อยอำนาจกว่าทางภูมิรัฐศาสตร์ ด้วยอำนาจโดยนัย และการข่มขู่คุกคามในด้านต่างๆ แต่มิใช่ด้วยกำลังทหารโดยตรง ในกรีซโบราณ (ศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล – คริสต์ศตวรรษที่ 6) อธิกภาพในการเมืองระหว่างประเทศ หมายถึง นครรัฐหนึ่งมีภาวะครอบงำทางการเมือง–การทหารเหนืออีกนครรัฐหนึ่ง ในศตวรรษที่ 19 อธิกภาพ หรือ การครอบงำเชิงอำนาจ เริ่มถูกใช้เพื่อสื่อความถึง "การก้าวขึ้นสู่อำนาจ หรือเข้ามาเป็นผู้นำในทางสังคมหรือวัฒนธรรม; สถานะที่โดดเด่นของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในสังคม หรือสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม" ต่อมาคำดังกล่าวได้ถูกใช้เพื่อสื่อความถึงอำนาจในทางภูมิรัฐศาสตร์ หรือวัฒนธรรม ที่ประเทศหนึ่งมีเหนือประเทศอื่น โดยแนวคิดเรื่อง อธิกภาพ ในยุคนี้เน้นไปที่การใช้อำนาจของประเทศมหาอำนาจยุโรป เหนือทวีปเอเชีย และแอฟริกา โดยอาจไม่ใช่การเข้ายึดครองโดยตรง เช่นกรณีที่ประเทศฝรั่งเศสใช้อำนาจเชิงอธิกภาพ กดดันสยามให้สละอำนาจอธิปไตยในดินแดนบางส่วนของตน เพื่อที่ฝรั่งเศสจะได้เข้ามาปกครอง รวมถึงการปฏิเสธอำนาจทางวัฒนธรรมของสยามเหนือดินแดนลาวและกัมพูชา หรือกรณีที่เซอร์ จอห์น เบาว์ริง (ผู้ว่าราชการเกาะฮ่องกงในสมัยนั้น) กดดันให้สยาม และญี่ปุ่นเปิดการค้าเสรีกับจักรวรรดิอังกฤษ เพื่อให้อังกฤษสามารถเข้าถึงทรัพยากรที่ขาดแคลนในยุโรปได้ ในทางทฤษฎีความสัมพันธ์ทางการเมือง อธิกภาพ หรือ การครอบงำเชิงอำนาจ หมายถึงสถานการณ์ที่ มีความอสมมาตรอย่างมีนัยสำคัญให้เป็นคุณแก่รัฐหนึ่ง โดยรัฐนั้น (1) มีกำลังทหารแกร่งพอที่จะสลายภัยคุกคามจากอำนาจคู่แข่งได้อย่างเป็นระบบ; (2) สามารถเข้าถึงวัตถุดิบ ทรัพยากรธรรมชาติ เงินทุน และตลาด (3) มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันในการผลิตสินค้ามูลค่าสูง; (4) มีความสามารถที่จะสร้าง และเผยแพร่คตินิยมที่สะท้อนถึงรูปการ หรือสภาพการณ์ที่เป็นอยู่; และ (5) มีฐานะหน้าที่แตกต่างไปจากรัฐอื่นๆในระบบ โดยถูกคาดหวังว่าจะต้องจัดหาสินค้าสาธารณะบางอย่าง เช่น ความมั่งคงปลอดภัย หรือความคงตัวทางการเงินและทางธุรกิจการค้.

ใหม่!!: ยุทธการที่เวียนนาและการใช้อำนาจครอบงำ · ดูเพิ่มเติม »

มหาเสนาบดี (ออตโตมัน)

มหาเสนาบดี หรือ แกรนด์วิเซียร์ (Sadr-ı Azam หรือ Serdar-ı Ekrem (ภาษาออตโตมันตุรกี: صدر اعظم หรือ وزیر اعظم), Grand Vizier) มาจากภาษาอาหรับ “Vizier” (وزير หรือ เสนาบดี) ซึ่งเป็นตำแหน่งมนตรีใหญ่ที่ขึ้นกับสุลต่านผู้ที่มีอำนาจสูงสุดทางกฎหมาย และจะถูกปลดได้ก็โดยสุลต่านแต่เพียงผู้เดียว ผู้ได้รับตำแหน่งเป็นมหาเสนาบดีจะมีตราหลวงและมีอำนาจในการเรียกประชุมเสนาบดีคนอื่นๆ ได้ที่เรียกว่า “Kubbealtı” ที่เป็นคำที่มาจากสถานที่ประชุมภายใต้โดมในพระราชวังโทพคาพิ ที่ทำการของมหาเสนาบดีตั้งอยู่ที่ “ประตูวิจิตร” (Sublime Porte) ของพระราชวังโทพคาปิ นอกจากนั้นแล้วตำแหน่งแกรนด์วิเซียร์ก็ยังเป็นตำแหน่งอูร์ดูของนายกรัฐมนตรีของปากีสถานโดยรัฐมนตรีมีตำแหน่งเป็น “วิเซียร์”.

ใหม่!!: ยุทธการที่เวียนนาและมหาเสนาบดี (ออตโตมัน) · ดูเพิ่มเติม »

ยุโรปกลาง

รัฐในยุโรปกลางในปี ค.ศ. 1902 ยุโรปกลาง (Central Europe) คือ อาณาบริเวณที่ตีความหมายแตกต่างกันไปหลายอย่าง ที่ตั้งอยู่ระหว่างยุโรปตะวันออก และยุโรปตะวันตก คำนี้และความสนใจโดยทั่วไปของบริเวณนี้กลับมาเป็นที่สนใจกันอีกครั้ง หลังจากสงครามเย็นสิ้นสุดลงซึ่งก็เช่นเดียวกับม่านเหล็กที่เป็นอาณาบริเวณที่แบ่งยุโรปทางการเมืองออกเป็นตะวันออก และ ตะวันตก และม่านเหล็กผ่ายุโรปกลางออกเป็นสองข้าง ความหมายของยุโรปกลางในเชิงความมีลักษณะวัฒนธรรมร่วมกันของกลุ่มรัฐที่อยู่ในเครือเป็นความคิดที่ค่อนข้างจะเป็นความคิดลวง แต่กระนั้นนักวิชาการก็ยังเสนอว่าลักษณะเอกลักษณ์ของ “วัฒนธรรมยุโรปกลางที่แม้จะยังเป็นที่โต้แย้งกันอยู่นั้นมีอยู่จริง” ความเห็นนี้มีพื้นฐานมาจาก “ความคล้ายคลึงกันที่มาจากลักษณะทางประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรม” ซึ่งสามารถบอกได้จากการที่บริเวณที่ว่านี้เคยเป็น “สถานที่ที่เป็นแหล่งสำคัญที่สุดของผู้มีความรู้ความสามารถในด้านต่างๆ เป็นจำนวนมาก” ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 18 คริสต์ศตวรรษที่ 20 “Cross Currents: A Yearbook of Central European Culture” ให้คำจำกัดความของยุโรปกลางว่าเป็น “ยุโรปตะวันตกที่ถูกละเลย หรือ สถานที่ที่ยุโรปตะวันออกและตะวันตกประสานงานกัน” ในคริสต์ทศวรรษ 2000 ประเทศหลายประเทศในยุโรปกลางก็มักจะติดอันดับอยู่ในบรรดากลุ่ม 30 ประเทศที่ถือกันว่าเป็นประเทศพัฒนา (Developed countries) ที่สุดในโลก แต่วัฒนธรรมสมัยนิยมของตะวันตก (โดยเฉพาะในวัฒนธรรมสมัยนิยมอเมริกัน) ยังคงมีความคิดเห็นเกี่ยวกับบริเวณนี้ที่ไม่ถูกต้องว่าเป็นประเทศที่ยังอยู่ในความ “ความล้าหลัง” ของสงครามเย็น.

ใหม่!!: ยุทธการที่เวียนนาและยุโรปกลาง · ดูเพิ่มเติม »

รัฐผู้คัดเลือกซัคเซิน

รัฐผู้คัดเลือกซัคเซิน (Kurfürstentum Sachsen) หรือบางครั้งรู้จักกันในชื่อ โอเบอร์ซัคเซิน (Obersachsen) เป็นรัฐหนึ่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ รัฐผู้คัดเลือกซัคเซินเกิดจากการล่มสลายลงของดัชชีซัคเซินในปี..

ใหม่!!: ยุทธการที่เวียนนาและรัฐผู้คัดเลือกซัคเซิน · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค

ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค (Haus de Habsburg) (House of Habsburg, บางครั้งเขียนว่า Hapsburg) เป็นราชวงศ์ที่สำคัญที่สุดราชวงศ์หนึ่งในทวีปยุโรป ราชวงศ์นี้ได้ปกครองประเทศสเปนและประเทศออสเตรีย รวมเวลาทั้งหมดถึง 6 ศตวรรษ แต่ที่รู้จักกันดีมากที่สุดคือ การปกครองในตำแหน่งของ จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ หลังจากได้มีการสถาปนาจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมา พระราชวงศ์นี้ได้ปกครองรัฐและประเทศต่าง ๆ ถึง 1,800 รั.

ใหม่!!: ยุทธการที่เวียนนาและราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิเลโอโปลด์ที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ักรพรรดิเลโอโปลด์(หรือลีโอโพลด์) ที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Leopold Ignaz Joseph Balthasar Felician, Leopold I, Holy Roman Emperor) (9 มิถุนายน ค.ศ. 1640 - 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1705) แห่งราชวงศ์ฮับส์บูร์ก ผู้ทรงครองราชบัลลังก์ของจักรวรรดิระหว่างปี ค.ศ. 1658 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1705 พระองค์เป็นพระราชโอรสพระองค์รองในจักรพรรดิแฟร์ดีนันด์ที่ 3 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และพระนางมาเรีย อันนาแห่งบาวาเรีย จักรพรรดินีมเหสีพระองค์แรก ลีโอโพลด์ทรงกลายมาเป็นรัชทายาทโดยนิตินัยหลังจากการสวรรคตด้วยโรคฝีดาษของพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 4 แห่งฮังการีพระเชษฐาธิราชเมื่อวันที่9 กรกฎาคม ค.ศ. 1658.

ใหม่!!: ยุทธการที่เวียนนาและจักรพรรดิเลโอโปลด์ที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิออตโตมัน

ักรวรรดิออตโตมัน (Ottoman Empire, Osmanlı İmparatorluğu, โอสมานลือ อิมพาราโทรลู) ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 1996 (ค.ศ. 1453) หลังการล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ซึ่งมีคอนสแตนติโนเปิล (อิสตันบูล) เป็นเมืองหลวง สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 เป็นผู้นำในการทำสงคราม ตอนแรกที่ยึดคอนสแตนติโนเปิลได้ พระองค์ได้ทรงเปลี่ยนชื่อเมืองคอนสแตนติโนเปิลใหม่เป็น อิสตันบูล และเปลี่ยนโบสถ์ฮาเจีย โซเฟีย ที่เป็นโบสถ์ในศาสนาคริสต์ เป็นมัสยิดในศาสนาอิสลาม จักรวรรดิออตโตมันมีอาณาเขตที่ครอบคลุมถึง 3 ทวีป ได้แก่ เอเชีย แอฟริกา และยุโรป ซึ่งขยายไปไกลสุดถึงช่องแคบยิบรอลตาร์ทางตะวันตก นครเวียนนาทางทิศเหนือ ทะเลดำทางทิศตะวันออก และอียิปต์ทางทิศใต้ จักรวรรดิออตโตมันล่มสลายในปี พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923) มีจักรพรรดิเมห์เหม็ดที่ 6 เป็นจักรพรรดิองค์สุดท้าย และมีสาธารณรัฐตุรกี ขึ้นมาแทนที่ และมีมุสตาฟา เคมาล อตาเติร์ก เป็นประธานาธิบดีคนแรก.

ใหม่!!: ยุทธการที่เวียนนาและจักรวรรดิออตโตมัน · ดูเพิ่มเติม »

ทรานซิลเวเนีย

ทรานซิลเวเนียสีเหลืองบนแผนที่ของโรมาเนียกับเขตแดนของประเทศต่างๆ ภูมิภาคประวัติศาสตร์ บานัต, คริซานา และ มารามัวร์ส สีเหลืองเข้ม ทรานซิลเวเนีย (Transylvania, Ardeal หรือ Transilvania; Erdély) เป็นภูมิภาคประวัติศาสตร์ที่ตั้งอยู่ทางตอนกลางของโรมาเนีย โดยมีเขตแดนด้านตะวันออกและทางใต้ติดต่อกับ เทือกเขาคาร์เพเธียน (Carpathian mountains) ทางตะวันตกจรดเทือกเขาอพูเซนิ (Apuseni Mountains) แต่ “ทรานซิลเวเนีย” ที่ใช้กันมักจะรวมบริเวณที่เลยไปจากตัวทรานซิลเวเนียเองและภูมิภาคประวัติศาสตร์ของบริเวณบานัต, คริซานา (Crişana) และ มารามัวร์ส (Maramureş) ทรานซิลเวเนียเดิมเป็นศูนย์กลางของราชอาณาจักรดาเซีย (82 ก.ค.ศ. - ค.ศ. 106) ในปี..

ใหม่!!: ยุทธการที่เวียนนาและทรานซิลเวเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศออสเตรีย

ออสเตรีย (Austria; Österreich เออสฺตะไรฌ) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐออสเตรีย (Republic of Austria; Republik Österreich) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในยุโรปกลาง มีอาณาเขตทางเหนือจรดประเทศเยอรมนีและเช็กเกีย ทางตะวันออกจรดสโลวาเกียและฮังการี ทางใต้จรดสโลวีเนียและอิตาลี และทางตะวันตกจรดสวิตเซอร์แลนด์และลิกเตนสไตน์ มีการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนภายใต้หลักการของรั.

ใหม่!!: ยุทธการที่เวียนนาและประเทศออสเตรีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฮังการี

ังการี (Hungary, Magyarország มอยอโรรฺซาก) เป็นประเทศในภูมิภาคยุโรปกลางที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล มีอาณาเขตทิศเหนือจรดประเทศสโลวาเกีย ทิศตะวันออกจรดประเทศโรมาเนียและประเทศยูเครน ทิศใต้จรดประเทศเซอร์เบียและประเทศโครเอเชีย ทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดประเทศสโลวีเนียและทิศตะวันตกจรดประเทศออสเตรีย เมืองที่ใหญ่ที่สุดและเป็นเมืองหลวงของประเทศคือเมืองบูดาเปสต์ ชื่อประเทศฮังการีในภาษาฮังการี แปลว่า "ประเทศของชาวม็อดยอร์" (Country of the Magyars) ประเทศฮังการีมีพื้นที่ 93,030 ตารางกิโลเมตร ซึ่งมีอาณาเขตเพียงร้อยละ 28 ของพื้นที่ราชอาณาจักรฮังการีเดิมก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยพื้นที่ปัจจุบันนับเป็นอันดับที่ 110 ของโลก โดยมีลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบในที่ราบพันโนเนีย และมีประชากร 9,919,128 คน นับเป็นอันดับที่ 90 ของโลก ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวม็อดยอร์ ใช้ภาษาฮังการีเป็นภาษาราชการซึ่งเป็นหนึ่งในภาษาทางการไม่กี่ภาษาของสหภาพยุโรป ที่ไม่ได้มีต้นกำเนิดเป็นกลุ่มภาษาอินโด-ยูโรเปียน ร่วมกับภาษาเอสโตเนีย ภาษาฟินแลนด์ และภาษามอลต.

ใหม่!!: ยุทธการที่เวียนนาและประเทศฮังการี · ดูเพิ่มเติม »

แกรนด์ดัชชีทัสกานี

แกรนด์ดัชชีทัสกานี (Grand Duchy of Tuscany, Granducato di Toscana) เป็นดินแดนที่เคยมีอยู่ในประวัติศาสตร์อิตาลี ระหว่างปี..

ใหม่!!: ยุทธการที่เวียนนาและแกรนด์ดัชชีทัสกานี · ดูเพิ่มเติม »

เวียนนา

วียนนา (Vienna) หรือ วีน (Wien) เป็นเมืองหลวงของประเทศออสเตรีย และเป็นชื่อเขตการปกครองในออสเตรียด้วย เวียนนาเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในออสเตรีย เป็นศูนย์กลางทั้งเศรษฐกิจและการปกครอง มีประชากรประมาณ 1.8 ล้านคน มีแม่น้ำดานูบไหลผ่าน เวียนนายังเป็นที่ตั้งของหน่วยงานในสหประชาชาติหลายแห่ง เช่น United Nations Industrial Development Organization (UNIDO) และองค์กรระดับนานาชาติหลายแห่ง เช่น โอเปก (OPEC).

ใหม่!!: ยุทธการที่เวียนนาและเวียนนา · ดูเพิ่มเติม »

เครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย

รือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนีย (Rzeczpospolita Obojga Narodów; Polish-Lithuanian Commonwealth) มีชื่อเป็นทางการว่า “Rzeczpospolita Korony Polskiej i Wielkiego Księstwa Litewskiego” หรือที่รู้จักกันในนาม “สาธารณรัฐโปแลนด์ที่หนึ่ง” (First Polish Republic) หรือ “สาธารณรัฐแห่งสองชาติ” (Republic of the Two Nations) (Pierwsza Rzeczpospolita หรือ Rzeczpospolita Obojga Narodów; Abiejų tautų respublika) เป็นเครือจักรภพที่ใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุด, accessed on 19 March 2006: At its apogee, the Polish-Lithuanian Commonwealth comprised some 400000 sqare mile and a multi-ethnic population of 11 million. For population comparisons, see also those maps:,. แห่งหนี่งในยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 17 โครงสร้างทางการเมืองเป็นกึ่งสหพันธรัฐ กึ่งราชาธิปไตย เครือจักรภพก่อตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: ยุทธการที่เวียนนาและเครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย · ดูเพิ่มเติม »

12 กันยายน

วันที่ 12 กันยายน เป็นวันที่ 255 ของปี (วันที่ 256 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 110 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ยุทธการที่เวียนนาและ12 กันยายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Battle of ViennaSiege of Vienna (1683)การล้อมกรุงเวียนนา ค.ศ. 1683ยุทธการเวียนนา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »