โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ยุทธการที่เบอร์ลิน

ดัชนี ยุทธการที่เบอร์ลิน

ทธการที่เบอร์ลิน หรือที่สหภาพโซเวียตตั้งชื่อว่า ปฏิบัติการรุกทางยุทธศาสตร์เบอร์ลิน (Битва за Берлин, Берлинская наступательная операция, Штурм Берлина) เป็นการรุกใหญ่ในช่วงปลายเขตสงครามยุโรปในสงครามโลกครั้งที่สอง เริ่มจากวันที่ 12 มกราคม..

19 ความสัมพันธ์: ฟือเรอร์ยุวชนฮิตเลอร์ยุทธการที่ราบสูงซีโลว์วาซีลี ชุยคอฟสงครามโลกครั้งที่สองสตูดิโอภาพยนตร์สารคดีกลางรัสเซียอสัญกรรมของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์อีวาน โคเนฟอดอล์ฟ ฮิตเลอร์คอนสตันติน โรคอสซอฟสกีประเทศเยอรมนีตะวันออกนาซีเยอรมนีแนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)แนวรบเบียโลรัสเซียที่ 1โฟล์คสชทูร์มเบอร์ลินเบียร์ลิน - 1945เกออร์กี จูคอฟเฮลมุท ไวด์ลิง

ฟือเรอร์

ฟือเรอร์ (Führer) ในภาษาเยอรมัน หมายถึง "ผู้นำ" โดยคำว่า "ฟือเรอร์" มักจะหมายถึง ฉายาของผู้นำนาซีเยอรมนี อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ และเป็นตำแหน่งสำคัญในคณะรัฐบาลสมัยนาซีเยอรมนี และองค์กรกึ่งทหาร (โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยเอ็สเอ็ส) โดยคำดังกล่าวเป็นการเอาอย่างจากคำว่า อิลดูเช ในภาษาอิตาลี ซึ่งมีความหมายอย่างเดียวกัน.

ใหม่!!: ยุทธการที่เบอร์ลินและฟือเรอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุวชนฮิตเลอร์

วชนฮิตเลอร์ (Hitler Youth; Hitlerjugend ฮิตเลอร์ยูเกนด์, มักย่อเป็น HJ ในภาษาเยอรมัน) เป็นองค์การเยาวชนของพรรคนาซีในประเทศเยอรมนี จุดกำเนิดย้อนไปถึง..

ใหม่!!: ยุทธการที่เบอร์ลินและยุวชนฮิตเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่ราบสูงซีโลว์

ทธการที่ราบสูงซีโลว์  (Schlacht um die Seelower Höhen) เป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการรุกซีโลว์-เบอร์ลิน (วันที่ 16 เมษายน-2 พฤษาภาคม 1945) การรบบนยอดเขาสูง เป็นหนึ่งในการจู่โจมครั้งสุดท้ายในตำแหน่งป้องกันที่ยึดมั่นที่มีขนาดใหญ่ของสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นการสู้รบกันตั้งสามวัน ตั้งแต่วันที่ 16-19 เมษายน..

ใหม่!!: ยุทธการที่เบอร์ลินและยุทธการที่ราบสูงซีโลว์ · ดูเพิ่มเติม »

วาซีลี ชุยคอฟ

มหาสงครามรักชาติ(ก่อนปี 1943) วาซีลี อีวาโนวิช ชุยคอฟ (Васи́лий Ива́нович Чуйко́в, 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1900 - 18 มีนาคม ค.ศ. 1982) เป็นพลโทในกองทัพแดงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ได้รับเหรียญดาวทองของวีรชนแห่งสหภาพโซเวียตสองครั้ง (ค.ศ. 1944 และ 1945) และหลังสงครามได้รับเลื่อนยศเป็นจอมพล ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ชุยคอฟมีประวัติการรบในโปแลนด์ ฟินแลนด์ และยังเคยเป็นที่ปรึกษาแก่เจียง ไคเช็กของจีน ใน..

ใหม่!!: ยุทธการที่เบอร์ลินและวาซีลี ชุยคอฟ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: ยุทธการที่เบอร์ลินและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สตูดิโอภาพยนตร์สารคดีกลางรัสเซีย

ตูดิโอภาพยนตร์สารคดีกลางรัสเซีย (Российская центральная киновидеостудия хроникально-документальных и учебных фильмов (РЦСДФ)) หรือชื่อในยุคของสหภาพโซเวียตคือ สตูดิโอภาพยนตร์สารคดีกลาง (Центральная студия документальных фильмов (ЦСДФ)) เป็นสตูดิโอภาพยนตร์สารคดีของสหภาพโซเวียต และรัสเซีย เป็นสตูดิโอถ่ายทำสารคดี และ ภาพยนตร์ข่าวที่ใหญ่ที่สุดของสหภาพโซเวียต มีที่ตั้งหลักที่กรุงมอสโก.

ใหม่!!: ยุทธการที่เบอร์ลินและสตูดิโอภาพยนตร์สารคดีกลางรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

อสัญกรรมของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์

'''"ฮิตเลอร์ตายแล้ว"''' หน้าแรกของหนังสือพิมพ์ของกองทัพสหรัฐ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 ระหว่างที่กรุงเบอร์ลินกำลังถูกโซเวียตบุกนั้นเอง อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ได้ยิงตัวตายเมื่อวันที่ 30 เมษายน 1945 ในฟือเรอร์บุงเคอร์ ส่วนภรรยาของเขา เอฟา เบราน์ ได้ฆ่าตัวตายด้วยยาพิษไซยาไนด์ ทั้งนี้ ศพของทั้งสองได้ถูกเคลื่อนย้ายไปยังทางออกฉุกเฉินของบังเกอร์ตามคำสั่งเสียของฮิตเลอร์ ทหารนำศพทั้งสองจัดวางในหลุมที่ขุดเตรียมไว้บริเวณด้านหลังทำเนียบนายกรัฐมนตรีไรช์ จากนั้นก็จัดการราดน้ำมันเชื้อเพลิงพร้อมกับจุดไฟเผาเพื่อป้องกันไม่ให้ทหารฝ่ายศัตรูนำไปประจานและกระทำยำยีอย่างเช่นที่เกิดขึ้นกับเบนิโต มุสโสลินี ผู้นำอิตาลี จากบันทึกของพวกโซเวียตระบุว่า ทหารโซเวียตได้ขุดร่างของฮิตเลอร์ขึ้นมา และนำไปฝังไว้ในหลายสถานที่ด้วยกันจนถึงปี 1970 ที่ร่างซึ่งโซเวียตอ้างว่าเป็นของฮิตเลอร์ถูกขุดขึ้นมาเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนจะถูกนำไปเผาและโปรยเถ้า ด้วยรายงานที่มีความแตกต่างกันออกไปที่ได้ระบุสาเหตุการตาย; บางกรณีได้ระบุว่า เขาตายด้วยยาพิษเท่านั้นและอีกบางกรณีหนึ่งคือเขาตายด้วยการใช้ปืนยิงศีรษะตัวเองพร้อมกับกัดแคปซูลบรรจุสารพิษไซยาไนด์ แต่นักประวัติศาสตร์สมัยนั้นได้ปฏิเสธรายงานเหล่านี้เพราะเป็นการโฆษณาชวนเชื่อของสหภาพโซเวียตหรือความพยายามการประนีประนอมเพื่อหาข้อสรุปที่แตกต่างกัน พยานคนหนึ่งได้บันทึกเอาไว้ว่า ศพมีรอยบาดแผลจากการถูกยิงทะลุผ่านปาก แต่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามันเป็นไปไม่ได้ นอกจากนี้ยังมีข้อถกเถียงเกี่ยวกับกระโหลกศีรษะและกระดูกขากรรไกรที่ถูกขุดขึ้นได้โดยระบุว่าเป็นของฮิตเลอร์จริงหรือไม่ ในปี..

ใหม่!!: ยุทธการที่เบอร์ลินและอสัญกรรมของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อีวาน โคเนฟ

อีวาน สเตปาโนวิช โคเนฟ (Ива́н Степа́нович Ко́нев; 28 ธันวาคม 1897– 21 พฤษภาคม 1973) เป็นผู้บัญชาการกองทัพโซเวียต ผู้นำกองทัพแดงในแนวรบด้านตะวันออกระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง มีส่วนร่วมในการยึดดินแดนจำนวนมากในยุโรปตะวันออกกลับคืนมาจากภายใต้อำนาจปกครองของฝ่ายอักษะ และช่วยเหลือในการเข้ายึดกรุงเบอร์ลินของเยอรมนี ในปี 1956 โคเนฟได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการกองกำลังแห่งกติกาสัญญาวอร์ซอ โคเนฟได้นำกองกำลังเข้าปราบปรามในเหตุการณ์การปฏิวัติฮังการีด้วยกองพลยานเกราะโซเวียต.

ใหม่!!: ยุทธการที่เบอร์ลินและอีวาน โคเนฟ · ดูเพิ่มเติม »

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) เป็นนักการเมืองเยอรมันเชื้อชาติออสเตรีย หัวหน้าพรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ พรรคนาซี ฮิตเลอร์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเยอรมนี ระหว่าง..

ใหม่!!: ยุทธการที่เบอร์ลินและอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

คอนสตันติน โรคอสซอฟสกี

อนสตันติน คอนสตันติโนวิช โรคอสซอฟสกี (Konstanty Ksawerowicz Rokossowski; Константи́н Константи́нович (Ксаве́рьевич) Рокоссо́вский) เป็นผู้บัญชาการโซเวียตและโปแลนด์เป็นผู้ได้รับยศจอมพลแห่งสหภาพโซเวียตและจอมพลแห่งโปแลนด์และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของสาธารณรัฐประชาชนโปแลนด์ เขาเป็นผู้บัญชาการกองทัพแดงในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขาเป็นหนึ่งในผู้วางแผนปฏิบัติการบากราติออนหนึ่งในปฏิบัติการที่ประสบความสำเร็จในแนวรบด้านตะวันออก.

ใหม่!!: ยุทธการที่เบอร์ลินและคอนสตันติน โรคอสซอฟสกี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเยอรมนีตะวันออก

อรมนีตะวันออก (East Germany) เป็นชื่ออย่างไม่เป็นทางการของ สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี (Deutsche Demokratische Republik - DDR; German Democratic Republic - GDR) เป็นประเทศคอมมิวนิสต์ที่ดำรงอยู่ในช่วงปี 1949 ถึงปี 1990 โดยเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนเยอรมันที่ถูกปกครองโดยอดีตสหภาพโซเวียต หลังจากการยึดครองเยอรมนีของกองทัพโซเวียตสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เยอรมนีตะวันออกเป็นประเทศหนึ่งที่เข้าร่วมสนธิสัญญาวอร์ซอ ในช่วงสงครามเย็น โดยเยอรมนีตะวันออกได้นิยามตัวเองว่าเป็นรัฐสังคมนิยม "ของคนงานและชาวนา"Patrick Major, Jonathan Osmond, The Workers' and Peasants' State: Communism and Society in East Germany Under Ulbricht 1945–71, Manchester University Press, 2002, และเขตที่ถูกยึดครอง ได้รับการปกครองโดยกองกำลังโซเวียตในตอนท้ายของสงครามโลกครั้งที่สอง เขตยึดครองโซเวียตตามข้อตกลงพ็อทซ์ดัมซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกติดกับแนว Oder-Neisse เขตยึดครองโซเวียตล้อมรอบเบอร์ลินตะวันตก แต่ไม่รวมถึง เป็นผลให้เบอร์ลินตะวันตกยังคงอยู่นอกเขตอำนาจของเยอรมนีตะวันออก สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนีก่อตั้งขึ้นในเขตโซเวียต ขณะที่สหพันธรัฐจัดตั้งขึ้นในสามเขตตะวันตก เยอรมนีตะวันออกเป็นรัฐบริวารของสหภาพโซเวียต เจ้าหน้าที่ยึดครองโซเวียตได้เริ่มถ่ายโอนความรับผิดชอบในการบริหารให้กับผู้นำคอมมิวนิสต์เยอรมันในปี 1948 และเริ่มมีบทบาทเป็นรัฐเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 1949 อย่างไรก็ตามกองทัพโซเวียตยังคงกำลังอยู่ในประเทศตลอดช่วงสงครามเย็น จนถึง 1989 เยอรมนีตะวันออกถูกปกครองโดยพรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนี แม้ว่าพรรคอื่น ๆ ในนามขององค์กรพันธมิตร National Front of Democratic Germany 29 October 1989.

ใหม่!!: ยุทธการที่เบอร์ลินและประเทศเยอรมนีตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

นาซีเยอรมนี

นาซีเยอรมนี (Nazi Germany) หรือ ไรช์ที่สาม (Drittes Reich) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ไรช์เยอรมัน (Deutsches Reich) เป็นชื่อเรียกยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เยอรมนีระหว่างปี 1933 ถึง 1945 เมื่อประเทศเยอรมนีอยู่ภายใต้การควบคุมระบอบเผด็จการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ในการปกครองของฮิตเลอร์ ประเทศเยอรมนีกลายเป็นรัฐฟาสซิสต์ซึ่งควบคุมแทบทุกแง่มุมของชีวิต นาซีเยอรมนีล่มสลายหลังฝ่ายสัมพันธมิตรพิชิตเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม 1945 ซึ่งยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กแต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1933 จากนั้น พรรคนาซีเริ่มกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและรวบอำนาจ ฮินเดนบูร์กถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1934 และฮิตเลอร์เป็นผู้เผด็จการแห่งเยอรมนีโดยการรวมอำนาจและตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี มีการจัดการลงประชามติทั่วประเทศเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1934 ทำให้ฮิตเลอร์เป็นฟือเรอร์ (ผู้นำ) เยอรมนีเพียงผู้เดียว อำนาจเบ็ดเสร็จทั้งหมดรวมอยู่ในมือของฮิตเลอร์ และคำของเขาอยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง รัฐบาลมิได้เป็นหน่วยที่ร่วมมือประสานกัน หากแต่เป็นหมู่กลุ่มแยกต่าง ๆ ที่แก่งแย่งอำนาจและความนิยมจากฮิตเลอร์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นาซีฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและยุติการว่างงานขนานใหญ่โดยใช้รายจ่ายทางทหารอย่างหนักและเศรษฐกิจแบบผสม มีการดำเนินการโยธาสาธารณะอย่างกว้างขวาง รวมการก่อสร้างเอาโทบาน การคืนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่งเสริมความนิยมของรัฐบาลให้เพิ่มพูนขึ้น คตินิยมเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อต้านยิว เป็นลักษณะหัวใจของนาซีเยอรมนี โดยถือว่า กลุ่มชนเจอร์มานิค หรือเชื้อชาตินอร์ดิก (Nordic race) เป็นเชื้อชาติอารยันซึ่งบริสุทธิ์ที่สุด ฉะนั้นจึงเป็นเชื้อชาติปกครอง (master race) ชาวยิวและชนกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกเบียดเบียนหรือฆ่า และการค้านการปกครองของฮิตเลอร์ถูกปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม สมาชิกฝ่ายค้านเสรีนิยม สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ถูกฆ่า จำคุกหรือเนรเทศ โบสถ์คริสต์ก็ถูกกดขี่เช่นกัน โดยผู้นำหลายคนถูกจำคุก การศึกษามุ่งเน้นชีววิทยาเชื้อชาติ นโยบายประชากร และสมรรถภาพทางกายสำหรับราชการทหาร โอกาสในอาชีพและการศึกษาของสตรีถูกตัดทอน มีการจัดนันทนาการและการท่องเที่ยวผ่านโครงการความแข็งแรงผ่านความรื่นเริง (Strength Through Joy) มีการใช้โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 เป็นตัวนำเสนอไรช์ที่สามในเวทีระหว่างประเทศ รัฐมนตรีโฆษณาการ โยเซฟ เกิบเบิลส์ ใช้ภาพยนตร์ การชุมนุมมวลชน และวาทศิลป์จับจิตของฮิตเลอร์เพื่อควบคุมมติมหาชนอย่างได้ผล รัฐบาลควบคุมการแสดงออกทางศิลปะ โดยสนับสนุนศิลปะบางรูปแบบ แต่ขัดขวางหรือห้ามศิลปะรูปแบบอื่น เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 นาซีเยอรมนีเรียกร้องดินแดนอย่างก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขู่ทำสงครามหากไม่สนองข้อเรียกร้อง เยอรมนียึดออสเตรียและเชโกสโลวาเกียในปี 1938 และ 1939 ฮิตเลอร์ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับโจเซฟ สตาลิน และบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน 1939 เป็นการเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป เยอรมนีเข้าเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและฝ่ายอักษะที่เล็กกว่าและพิชิตทวีปยุโรปส่วนใหญ่เมื่อถึงปี 1940 และคุกคามสหราชอาณาจักร ไรช์ซคอมมิสซารีอัทควบคุมพื้นที่ที่ถูกพิชิตอย่างโหดร้ายและมีการสถาปนาการปกครองของเยอรมนีในประเทศโปแลนด์ที่เหลืออยู่ ชาวยิวและกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกจำคุกในค่ายกักกันและค่ายกำจัดนาซี การนำนโยบายเชื้อชาติของระบอบไปปฏิบัติลงเอยด้วยการสังหารชาวยิวและชนกลุ่มน้อยอื่นเป็นอันมากในฮอโลคอสต์ หลังการรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 นาซีเยอรมนีก็เริ่มเป็นรอง และปราชัยทางทหารสำคัญหลายครั้งในปี 1943 การทิ้งระเบิดทางอากาศต่อประเทศเยอรมนีทวีขึ้นในปี 1944 และฝ่ายอักษะถอยจากยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ หลังการบุกครองฝรั่งเศสของสัมพันธมิตร ประเทศเยอรมนีถูกโซเวียตจากทิศตะวันออกและฝ่ายสัมพันธมิตรจากทิศตะวันตกพิชิตและยอมจำนนในหนึ่งปี การที่ฮิตเลอร์ปฏิเสธยอมรับความปราชัยนำให้โครงสร้างพื้นฐานของเยอรมนีถูกทำลายล้างขนานใหญ่และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสงครามเพิ่มในเดือนท้าย ๆ ของสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้กำชัยริเริ่มนโยบายขจัดความเป็นนาซี (denazification) และนำผู้นำนาซีที่เหลือรอดหลายคนมาพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ส่วนประเทศเยอรมนีถูกยึดครองโดยมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: ยุทธการที่เบอร์ลินและนาซีเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

แนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)

แนวรบด้านตะวันออกเป็นเขตสงครามหนึ่งในสงครามโลกครั้งที่สอง มีอักษะประเทศในทวีปยุโรป และคู่สงครามร่วมฟินแลนด์ฝ่ายหนึ่ง กับสหภาพโซเวียต โปแลนด์และชาติสัมพันธมิตรจำนวนหนึ่งอีกฝ่ายหนึ่งเป็นคู่สงคราม เขตสงครามนี้กินอาณาบริเวณยุโรปตะวันออก บางส่วนของยุโรปเหนือและยุโรปใต้ สู้รบกันระหว่างวันที่ 22 มิถุนายน..

ใหม่!!: ยุทธการที่เบอร์ลินและแนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง) · ดูเพิ่มเติม »

แนวรบเบียโลรัสเซียที่ 1

แนวรบเบียโลรัสเซียที่ 1 (1-й Белорусский фронт) เป็นแนวรบหน้าของกองทัพโซเวียตในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ในช่วงหลังสงครามแนวรบนี้ได้วางกำลังในเยอรมนีตะวันออกเป็นกองกำลังโซเวียตในเยอรมนีตะวันออก.

ใหม่!!: ยุทธการที่เบอร์ลินและแนวรบเบียโลรัสเซียที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

โฟล์คสชทูร์ม

ฟล์คสชทูร์ม (Volkssturm) เป็นกองทหารอาสาสมัครชาติเยอรมันถูกจัดตั้งขึ้นในช่วงเดือนสุดท้ายของสงครามโลกครั้งที่สอง มันไม่ได้ถูกสร้างขึ้นโดยกองทัพเวรมัค์แต่โดยพรรคนาซีตามคำสั่งของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และการดำรงอยู่อย่างเป็นทางการที่ไม่ได้ประกาศจนถึงวันที่ 18 ตุลาคม 1944Burleigh (2001).

ใหม่!!: ยุทธการที่เบอร์ลินและโฟล์คสชทูร์ม · ดูเพิ่มเติม »

เบอร์ลิน

อร์ลิน (แบร์ลีน) เป็นเมืองหลวงและรัฐหนึ่งในสิบหกรัฐสหพันธ์ของประเทศเยอรมนี มีประชากร 3.4 ล้านคนในเขตเมือง มากที่สุดในเยอรมนี และมากเป็นอันดับสองในสหภาพยุโรป เป็นศูนย์กลางของเขตนครหลวงเบอร์ลิน-บรานเดนบูร์ก ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเยอรมนี มีประชากรในเขตนครหลวงรวม 1คนจาก 1ชาติ มากเป็นอันดับเก้าในสหภาพยุโรป, Eurostat.

ใหม่!!: ยุทธการที่เบอร์ลินและเบอร์ลิน · ดูเพิ่มเติม »

เบียร์ลิน - 1945

นตร์ฉบับเต็ม เบียร์ลิน - 1945 (Берлин - 1945) หรืออีกชื่อหนึ่งในชื่อ บีตวาซาเบียร์ลิน 1945 (Битва за Берлин 1945 г.) เป็นภาพยนตร์สารคดีของสหภาพโซเวียต มีเนื้อหาเกี่ยวกับยุทธการที่เบอร์ลินซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาพจริงจากแนวรบ ภาพยนตร์กำกับโดย Yuli Raizman และ Yelizaveta Svilova เนื้อเรื่องของภาพยนตร์นี้เริ่มเล่าด้วยความล้มเหลวของกองทัพฟาสซิสต์เยอรมนี ในแนวรบด้านตะวันออก กองทัพแดงเรื่มบุกยุโรปตะวันออก โดยได้ข้ามแม่น้ำวอลกา, ดอน, Desna, นีเปอร์, Bug, ดิวิน่า, Neman, วิสวา, และที่สุดท้ายคือแม่น้ำโอเดอร์ ในตอนนั้นเองที่กองทัพแดงเปิดฉากโจมดีกรุงเบอร์ลินด้วยปืนใหญ่และจรวด Katyusha จากนั้นหลังข้ามแม่น้ำโอเดอร์กองทัพแดง ได้บุกกรุงเบอร์ลินและต่อสู้กับกองทัพฟาสซิสต์เยอรมนี จากนั้นภาพตัดมาเป็นภาพยนตร์โฆษณาชวนเชื่อของเยอรมนีเป็นระยะ ตอนสุดท้ายกองทัพแดงสามารถยึดอาคารรัฐสภาไรชส์ทาค และชูธงเหนือไรชส์ทาคได้ ภาพยนตร์จบลงโดยภาพการเซ็น ตราสารยอมจำนนของเยอรมนี และชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตรและสหภาพโซเวียต.

ใหม่!!: ยุทธการที่เบอร์ลินและเบียร์ลิน - 1945 · ดูเพิ่มเติม »

เกออร์กี จูคอฟ

กออร์กี คอนสตันตีโนวิช จูคอฟ (Georgy Konstantinovich Zhukov; Гео́ргий Константи́нович Жу́ков; 1 ธันวาคม พ.ศ. 2439 – 18 มิถุนายน พ.ศ. 2517) เป็นนายทหารอาชีพชาวโซเวียตในกองทัพแดง ซึ่งในห้วงสงครามโลกครั้งที่สองมีบทบาทสำคัญที่สุดในการนำกองทัพแดงยกผ่านยุโรปตะวันออกส่วนใหญ่เพื่อปลดปล่อยสหภาพโซเวียตและชาติอื่นจากการยึดครองของฝ่ายอักษะและพิชิตกรุงเบอร์ลินได้ในที่สุด เขาเป็นนายพลที่ได้รางวัลมากที่สุดในประวัติศาสตร์สหภาพโซเวียตและรัสเซีย เป็นนายพลที่ขึ้นชื่อที่สุดคนหนึ่งในสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งได้อันดับต้น ๆ เพราะจำนวนและขนาดของชัยชนะ และคนจำนวนมากยอมรับความสามารถในการบังคับบัญชาทางปฏิบัติการและยุทธศาสตร์ของเขา สัมฤทธิภาพการรบของเขาพัฒนาความรู้ทางทหารของมนุษยชาติอย่างสำคัญ โดยมีอิทธิพลมากทั้งต่อทฤษฎีทางทหารของโซเวียตและทั้งโลก.

ใหม่!!: ยุทธการที่เบอร์ลินและเกออร์กี จูคอฟ · ดูเพิ่มเติม »

เฮลมุท ไวด์ลิง

ลมุท ออทโท ลุดวิจ ไวด์ลิง (Helmuth Otto Ludwig Weidling) เป็นนายพลในกองทัพบกเยอรมันระหว่างก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ต่อมาไวด์ลิงได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการกองทัพในการป้องกันกรุงเบอร์ลินในพื้นที่การต่อสู้ในยุทธการเบอร์ลินในปี 1945 ต่อมาหลังจากอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ได้กระทำอัตวินิบาตกรรมในฟือเรอร์บุงเคอร์ ไวด์ลิงตัดสินใจประกาศยอมจำนนต่อกองทัพแดงแห่งสหภาพโซเวียต ทำให้เป็นอันสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป หลังสงคราม ไวด์ลิงถูกจับกุมและกลายเป็นนักโทษสงครามของโซเวียต เขาถูกส่งตัวไปยังกรุงมอสโก  ศาลทหารโซเวียตได้ตัดสินให้จำคุก 25 ปีให้ข้อหาก่ออาชญากรรมสงครามในดินแดนสหภาพโซเวียต ต่อมาเขาได้เสียชีวิตในค่ายกักกันเชลยศึกชาวเยอรมันในเมืองวลาดิเมียร์ภายใต้การควบคุมของหน่วยเคจีบีด้วยสภาวะหัวใจวายล้มเหลว เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 1955.

ใหม่!!: ยุทธการที่เบอร์ลินและเฮลมุท ไวด์ลิง · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »