โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ยุทธการที่บริเตนและสงครามอังกฤษ–ซูลู

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ยุทธการที่บริเตนและสงครามอังกฤษ–ซูลู

ยุทธการที่บริเตน vs. สงครามอังกฤษ–ซูลู

ยุทธการบริเตน (Battle of Britain) คือการรบทางอากาศที่กองทัพอากาศเยอรมันหรือลุฟท์วัฟเฟอ (Luftwaffe) เปิดการโจมตีทางอากาศเพื่อชิงความได้เปรียบกับกองทัพอากาศหลวงของสหราชอาณาจักร ก่อนที่จะดำเนินการบุกทางทะเลและการทิ้งทหารพลร่มจากอากาศในปฏิบัติการสิงโตทะเล (Unternehmen Seelöwe) ที่ทางเยอรมันได้วางแผนไว้ก่อนหน้า ต้นเหตุของการรบครั้งนี้มาจากความคิดของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และนายทหารในกองทัพบกเยอรมันที่เชื่อว่าการบุกหมู่เกาะบริเตนข้ามทะเลจะไม่สามารถทำได้โดยง่ายถ้ากองทัพอากาศหลวงไม่ถูกทำลายเสียก่อน เป้าหมายหลักของลุฟวาฟเฟิลในการเปิดศึกทางอากาศคือเพื่อบั่นทอนหรือทำลายกองกำลังทางอากาศของอังกฤษจนอ่อนแอกว่าที่จะยับยั้งการบุกได้ ส่วนเป้าหมายรองก็คือทำลายโรงงานผลิตเครื่องบินและสาธารณูปโภคต่างๆ รวมทั้งทิ้งระเบิดใส่พื้นที่ที่มีความสำคัญทางการเมือง เพื่อข่มขู่ชาวบริเตนให้ยอมแพ้หรือยอมสงบศึกด้วย กระนั้น แม้เยอรมนีจะมีเครื่องบินรบที่ดีกว่าและนักบินที่มีประสบการณ์มากกว่า (สืบเนื่องจากการบุกครองโปแลนด์ก่อนหน้านี้) แต่ความเด็ดขาดของกองทัพอากาศหลวงและจำนวนเครื่องบินที่มากกว่า ทำให้ฝ่ายเยอรมันประสบกับความล้มเหลวในการทำลาย หรือแม้แต่จะบั่นทอนกำลังของกองทัพอากาศหลวงของอังกฤษ (หรือแม้แต่จะทำลายขวัญกำลังใจของชาวบริเตน)และพ่ายแพ้ไปในที่สุดซึ่งความพ่ายแพ้ครั้งนี้ของเยอรมันถือเป็นหนึ่งในความพ่ายแพ่ครั้งสำคัญของเยอรมันที่จะนำไปสู่ชัยชนะเหนือฝ่ายอักษะของฝ่ายสัมพันธมิตรในที่สุดเพราะเวลาต่อมานาซีเยอรมันได้หันเหไปโจมตีสหภาพโซเวียตแทนทำให้อังกฤษสามารถตั้งตัวได้และได้พันธมิตรใหม่เข้าร่วมต่อสู้กับนาซีเยอรมันคือ สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ยุทธการบริเตนถือเป็นการรบครั้งแรกที่สู้กันทางอากาศตลอดทั้งศึก รวมถึงเป็นศึกที่มีปฏิบัติการณ์ทิ้งระเบิดที่ยาวนานและสูญเสียมากที่สุดเท่าที่เคยมีมาจนถึงปัจจุบัน และเป็นศึกที่มีการทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ (ที่มีจุดประสงค์เพื่อทำลายเศรษฐกิจ หรือการผลิตของศัตรู ไม่ใช่การทำลายข้าศึกโดยตรง) ที่ถูกคิดค้นขึ้นตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แต่ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้จริง หมวดหมู่:แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง) หมวดหมู่:ยุทธการและปฏิบัติการทางทหารในสงครามโลกครั้งที่สอง หมวดหมู่:ปฏิบัติการและยุทธการทางอากาศ. งครามอังกฤษ–ชูลู เป็นสงครามระหว่างจักรวรรดิบริติชและราชอาณาจักรซูลู ในปี 1879 หลังจากลอร์ดคายร์นาร์วอนริเริ่มสหพันธรัฐในแคนนาดาได้สำเร็จ จึงมีความคิดว่าความพยายามทางการเมืองคล้ายกันกอปรกับการทัพ อาจประสบความสำเร็จกับราชอาณาจักรแอฟริกา พื้นที่ชนเผ่าและสาธารณะโบเออร์ในแแอฟริกาใต้เช่นกัน ในปี 1876 เชอร์ เฮนรี บาร์เทิล เฟรียร์ ถูกส่งไปเป็นข้าหลวงใหญ่จักรวรรดิบริติชประจำแอฟริกาใต้เพื่อนำแผนดังกล่าวไปปฏิบัติ หนึ่งในอุปสรรคนั้นคือ การมีรัฐเอกราชสาธารณะแอฟริกาใต้ ราชอาณาจักรแห่งซูลูแลนด์ และกองทัพของสองรัฐ จากความคิดริเริ่มของเฟรียร์ โดยไม่ได้รับคำยินยอมจากรัฐบาลบริติช และด้วยเจตนาเริ่มสงครามกับซูลู ยื่นคำขาดในวันที่ 11 ธันวาคม 1878 ให้กับพระมหากษัตริย์ซูลู เซเตวาโย (Cetshwayo) ซึ่งพระองค์ไม่อาจปฏิบัติตามได้ ที่ข้อตกลงนั้นรวมการปลดประจำการกองทัพและเลิกประเพณีทางวัฒนธรรมสำคัญของตน บาร์เทิล เฟรียร์ ได้ส่งลอร์ดเชล์มฟอร์ดไปบุกครองซูลูแลนด์หลังไม่ยอมปฏิบัติตามคำขาด สงครามนี้ได้เป็นที่รู้จักจากยุทธการนองเลือดเป็นพิเศษหลายครั้ง รวมถึงชัยของซูลูที่ไอแซนด์ลวานา (Isandlwana) ในขั้นแรก ตามมาด้วยความปราชัยของกองทัพซูลูขนาดใหญ่ที่ยุทธการแห่งร็อคส์ดริฟท์ด้วยด้วยกำลังบริติชเพียงหยิบมือ สุดท้ายบริเตนชนะและยุติภาวะครอบงำของซูลูในภูม.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ยุทธการที่บริเตนและสงครามอังกฤษ–ซูลู

ยุทธการที่บริเตนและสงครามอังกฤษ–ซูลู มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ยุทธการที่บริเตนและสงครามอังกฤษ–ซูลู

ยุทธการที่บริเตน มี 15 ความสัมพันธ์ขณะที่ สงครามอังกฤษ–ซูลู มี 1 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (15 + 1)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ยุทธการที่บริเตนและสงครามอังกฤษ–ซูลู หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »