โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ยุทธการที่กอกามีลา

ดัชนี ยุทธการที่กอกามีลา

ทธการที่กอกามีลา (Battle of Gaugamela) หรือ ยุทธการที่อาร์เบลา (Battle of Arbela) เป็นยุทธการที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 331 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นการสู้รบระหว่างทัพมาซิดอนร่วมกับสันนิบาตโครินธ์ นำโดยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชและทัพเปอร์เซีย นำโดยพระเจ้าดาไรอัสที่ 3 ยุทธการครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของสงครามพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช สนามรบอยู่ใกล้กับเมืองโมซูล ประเทศอิรักในปัจจุบัน.

16 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 213พระเจ้าดาไรอัสที่ 3การล้อมกาซาราชอาณาจักรมาเกโดนีอารูปขบวนแฟแลงซ์ลิแวนต์อานาโตเลียอเล็กซานเดอร์มหาราชจักรวรรดิอะคีเมนิดทหารม้าทหารราบประเทศอิรักแม่น้ำยูเฟรทีสโมซูลเฮฟีสเทียน1 ตุลาคม

พ.ศ. 213

ทธศักราช 213 ใกล้เคียงกับ ก่อน..

ใหม่!!: ยุทธการที่กอกามีลาและพ.ศ. 213 · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าดาไรอัสที่ 3

ระสาทิสลักษณ์ของพระเจ้าดาไรอัสที่ 3 พระเจ้าดาไรอัสที่ 3 แห่งเปอร์เซีย (Darius III of Persia, 380 – กรกฎาคม 330 ปีก่อนคริสตกาล) พระนามเดิม อาร์ตาชาตา (Artashata) ตามที่กรีกเรียกก่อนจะเปลี่ยนเป็นดาไรอัสในภายหลัง.

ใหม่!!: ยุทธการที่กอกามีลาและพระเจ้าดาไรอัสที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

การล้อมกาซา

การล้อมกาซา (Siege of Gaza) เป็นการสู้รบระหว่างพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งราชอาณาจักรมาซิโดเนียกับฝ่ายจักรวรรดิเปอร์เซียอะคีเมนิด เกิดขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม 332 ปีก่อนคริสต์ศักราชที่เมืองกาซา บาติส (Batis) ผู้บัญชาการเมืองกาซาต้องการยึดอียิปต์จนกว่าผู้ปกครองเปอร์เซียจะส่งกองทัพมารบกับมาซิโดเนียที่นี่ เมืองกาซาเป็นเมืองชายขอบทะเลทรายและมีถนนจากซีเรียไปถึงอียิปต์ ตั้งอยู่สูงกว่า 60 ฟุต (18.29 เมตร) ท่ามกลางชุมชนเปอร์เซีย บาติสรู้ด้วยว่าพระเจ้าอเล็กซานเดอร์จะยกทัพมาที่นี่หลังจากยึดเมืองไทร์ได้ เมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ยกทัพมาถึง พระองค์พบว่ากำแพงเมืองด้านใต้เป็นจุดที่เหมาะจะโจมตีที่สุด จึงสั่งให้มีการสร้างเนินขึ้นเพื่อใช้เป็นทางเข้าเมือง วันหนึ่งฝ่ายเปอร์เซียพยายามตีฝ่าวงล้อม พระเจ้าอเล็กซานเดอร์สั่งให้ทหารใช้โล่เป็นแนวป้องกันจนพระองค์ได้รับบาดเจ็บ อาร์ริอัน นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกบันทึกว่า "เนินถูกสร้างรอบ ๆ กำแพงเมืองและใช้เครื่องทุ่นแรงจากไทร์ร่วมด้วย" หลังจากความพยายามสามครั้ง ทหารมาซิโดเนียก็ทลายกำแพงและบุกเข้าเมืองได้สำเร็จ ผู้ชายถูกฆ่า ส่วนผู้หญิงและเด็กถูกจับไปเป็นทาส กวินตุส กูร์ตีอุส รูฟุส (Quintus Curtius Rufus) นักประวัติศาสตร์ชาวโรมันบันทึกว่า "บาติสถูกลากไปรอบกำแพงเมืองจนเสียชีวิตเช่นเดียวกับเจ้าชายเฮกเตอร์แห่งทรอย" หลังเมืองถูกยึด พระเจ้าอเล็กซานเดอร์สามารถเดินทัพไปที่อียิปต์ได้โดยไม่มีผู้ใดขัดขวาง.

ใหม่!!: ยุทธการที่กอกามีลาและการล้อมกาซา · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรมาเกโดนีอา

มาเกโดนีอา (Μακεδονία) หรือ มาซิโดเนีย (Macedonia) เป็นราชอาณาจักรในกรีซโบราณที่มีศูนย์กลางอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของคาบสมุทรกรีซ มาเกโดนีอาดินแดนของชนมาเกโดนีอาโบราณมีเขตแดนติดกับราชอาณาจักรอิไพรัส (Epirus) ทางตะวันตก, ราชอาณาจักรไพโอเนีย (Paionia) ทางตอนเหนือ, เทรซทางตะวันออก และเทสซาลี (Thessaly) ทางด้านใต้ ในช่วงระยะเวลาอันสั้นหลังจากการพิชิตดินแดนต่างๆ ของอเล็กซานเดอร์มหาราชราชอาณาจักรมาเกโดนีอาก็เป็นราชอาณาจักรที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลกที่มีดินแดนที่ครอบคลุมกรีซทั้งหมดไปจนถึงอินเดีย ซึ่งเป็นการเริ่มต้นยุคประวัติศาสตร์ที่เรียกว่าสมัยเฮเลนนิสต.

ใหม่!!: ยุทธการที่กอกามีลาและราชอาณาจักรมาเกโดนีอา · ดูเพิ่มเติม »

รูปขบวนแฟแลงซ์

วาดฮอปไลต์กรีกเดินในรูปขบวนแฟแลงซ์ แฟแลงซ์ หรือ ฟาลังซ์ (phalanx; φάλαγξ, พหูพจน์ phalanxes หรือ phalanges, φάλαγγες) เป็นรูปขบวนทหารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยทั่วไปประกอบด้วยทหารราบหนักทั้งหมดที่ถือหอก ไพค์ (pike) ซาริสซา (sarissa) หรืออาวุธที่คล้ายกัน คำนี้เจาะจง (และแต่แรก) ใช้อธิบายการใช้รูปขบวนนี้ในการสงครามกรีกโบราณ แม้นักเขียนกรีกโบราณใช้คำนี้อธิบายรูปขบวนทหารราบใดก็ตามที่เป็นกลุ่ม (massed) ไม่ว่าจะถือยุทธภัณฑ์ใด ในเอกสารกรีกโบราณพูดถึงแฟแลงซ์ว่า อาจเป็นการวางกำลังสำหรับการยุทธ์ การเดิน หรือแม้แต่การตั้งค่าย ฉะนั้นจึงอธิบายกลุ่มทหารราบหรือทหารม้าที่จะจัดวางกำลังเป็นเส้นตรงระหว่างการยุทธ์ ทหารเหล่านี้เดินหน้าเป็นหน่วยเดียวและบดขยี้ข้าศึก คำว่า แฟแลงซ์ มาจากภาษากรีก หมายถึง นิ้ว ในปัจจุบัน คำนี้ไม่ได้ใช้เรียกหน่วยทหารหรือกองพล (เช่น ลีเจียนของโรมันหรือกองพันแบบตะวันตกร่วมสมัย) แต่ใช้เรียกรูปขบวนทั่วไปของทหาร ฉะนั้น แฟแลงซ์จึงไม่มีกำลังรบหรือการประกอบกำลังมาตรฐาน ทว่ารวมเรียกทหารราบทั้งหมดซึ่งวางหรือจะวางกำลังในหน้าที่ในรูปขบวนแฟแลงซ์เดี่ยว ทหารถือหอกจำนวนมากในอดีตสู้รบกันในรูปขบวนที่อาจเรียกได้ว่าคล้ายแฟแลงซ์ คำนี้จึงมีใช้ในภาษาอังกฤษทั่วไปเพื่ออธิบาย "กลุ่มคนที่กำลังยืนหรือกำลังเคลื่อนไปด้านหน้าใกล้กัน".

ใหม่!!: ยุทธการที่กอกามีลาและรูปขบวนแฟแลงซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ลิแวนต์

ริเวณที่เรียกว่าลิแวนต์ บริเวณที่เรียกว่าลิแวนต์ปัจจุบันที่ประกอบด้วยจอร์แดน เลบานอน อิสราเอล ดินแดนปาเลสไตน์ และซีเรีย ลิแวนต์ (Levant; بلاد الشام, Bilad ash-Shām) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า อัชชาม (الشام, ash-Shām) ตามความหมายดั้งเดิมหมายถึงบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก แต่ในความหมายทางภูมิศาสตร์หมายถึงบริเวณอันกว้างใหญ่ในเอเชียตะวันตกทางฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โดยมีเทือกเขาทอรัสเป็นเขตแดนทางตอนเหนือ ทะเลทรายอาหรับทางใต้ และทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตะวันตก ขณะที่ทางตะวันออกเป็นเทือกเขาแซกรอส ลิแวนต์เดิมมีความหมายอย่างหลวม ๆ หมายถึง "ดินแดนเมดิเตอร์เรเนียนทางตะวันออกของอิตาลี" มาจากภาษาฝรั่งเศสกลางที่แปลว่า "ตะวันออก" ในประวัติศาสตร์ การค้าขายระหว่างยุโรปตะวันตกกับจักรวรรดิออตโตมันเป็นเศรษฐกิจอันสำคัญของบริเวณนี้ คำว่าลิแวนต์โดยทั่วไปมีความหมายทางวัฒนธรรมมากกว่าที่จะเป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่ใดที่หนึ่งที่เฉพาะเจาะจง และความหมายของคำก็เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ตลอดมาในประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และทัศนคติในการอ้างอิง.

ใหม่!!: ยุทธการที่กอกามีลาและลิแวนต์ · ดูเพิ่มเติม »

อานาโตเลีย

อานาโตเลีย (อังกฤษ: (Anatolia), กรีก: ανατολή หมายถึง "อาทิตย์อุทัย" หรือ "ตะวันออก") นิยมเรียกในภาษาละตินว่า เอเชียน้อย อีกด้วย เป็นดินแดนทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ที่เชื่อมต่อระหว่างเอเชียกับยุโรป คาบสมุทรอานาโตเลียมีพื้นที่ประมาณ 757,000 ตร.กม.

ใหม่!!: ยุทธการที่กอกามีลาและอานาโตเลีย · ดูเพิ่มเติม »

อเล็กซานเดอร์มหาราช

อเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งมาเกโดนีอา (356-323 ปีก่อนคริสตกาล) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า อเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great, Μέγας Ἀλέξανδρος) เป็นกษัตริย์กรีกจากราชอาณาจักรมาเกโดนีอา ผู้สร้างชื่อเสียงมากที่สุดของราชวงศ์อาร์กีด เป็นผู้สร้างจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ยุคโบราณ เกิดที่เมืองเพลลา ตอนเหนือของมาเกโดนีอา เมื่อปีที่ 356 ก่อนคริสตกาล ได้รับการศึกษาตามแบบกรีกดั้งเดิมภายใต้การกำกับดูแลของอริสโตเติล นักปรัชญากรีกผู้มีชื่อเสียง สืบทอดราชบัลลังก์ต่อจาก พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา เมื่อปีที่ 336 ก่อนคริสตกาลหลังจากที่พระบิดาถูกลอบสังหาร สวรรคตในอีก 13 ปีต่อมาเมื่อพระชนมายุเพียง 32 พรรษา แม้ว่าราชบัลลังก์และจักรวรรดิของอเล็กซานเดอร์จะอยู่เพียงชั่วครู่ยาม แต่ผลกระทบจากการพิชิตดินแดนของพระองค์ส่งผลสืบเนื่องต่อมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ อเล็กซานเดอร์ถือเป็นหนึ่งในบุรุษผู้มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลกยุคโบราณ มีชื่อเสียงเลื่องลือในความสามารถทางการรบ ยุทธวิธี และการเผยแพร่อารยธรรมกรีกไปในดินแดนตะวันออก พระเจ้าพีลิปโปสทรงนำแว่นแคว้นกรีกโดยมากบนแผ่นดินใหญ่กรีซให้มาอยู่ภายใต้การปกครองของมาเกโดนีอา โดยใช้ทั้งกลวิธีทางการทูตและทางทหาร เมื่อพีลิปโปสสวรรคต อเล็กซานเดอร์จึงได้สืบทอดราชอาณาจักรที่เข้มแข็งและกองทัพที่เปี่ยมประสบการณ์ พระองค์เป็นที่ยอมรับในด้านการรบจากแว่นแคว้นกรีซ และได้เริ่มแผนการขยายอำนาจแผ่อาณาจักรตามที่บิดาเคยริเริ่มไว้ พระองค์ยกทัพรุกรานดินแดนเอเชียไมเนอร์ภายใต้การปกครองของอาณาจักรเปอร์เซีย และกระทำการรณยุทธ์อย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลาร่วมสิบปี อเล็กซานเดอร์เอาชนะชาวเปอร์เซียครั้งแล้วครั้งเล่า นำทัพข้ามซีเรีย อียิปต์ เมโสโปเตเมีย เปอร์เซีย และแบคเทรีย ทรงโค่นล้มกษัตริย์พระเจ้าดาไรอัสที่ 3 แห่งเปอร์เซีย และพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซียได้ทั้งหมด พระองค์ไล่ตามความปรารถนาที่ต้องการเห็น "จุดสิ้นสุดของโลกและมหาสมุทรใหญ่ที่เบื้องปลาย" จึงยกทัพบุกอินเดีย แต่ต่อมาถูกบีบให้ต้องถอยทัพกลับโดยบรรดาทหารที่กำเริบขึ้นเนื่องจากเบื่อหน่ายการสงคราม การสูญเสียเฮฟีสเทียนทำให้อเล็กซานเดอร์ตรอมใจจนสวรรคตที่เมืองบาบิโลน ในปี 323 ก่อนคริสตกาล ก่อนจะเริ่มแผนการรบต่อเนื่องในการรุกรานคาบสมุทรอาระเบีย ในปีถัดจากการสวรรคตของอเล็กซานเดอร์ เกิดสงครามกลางเมืองทั่วไปจนอาณาจักรของพระองค์แตกเป็นเสี่ยงๆ ทำให้เกิดเป็นรัฐใหญ่น้อยมากมายปกครองโดยบรรดาขุนนางชาวมาเกโดนีอา แม้ความเป็นผู้พิชิตของพระองค์จะโดดเด่นอย่างยิ่ง แต่มรดกของอเล็กซานเดอร์ที่ยืนยงต่อมากลับมิใช่ราชบัลลังก์ กลายเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมที่ติดตามมาจากการพิชิตดินแดนเหล่านั้น การก่อร่างสร้างเมืองอาณานิคมกรีกและวัฒนธรรมกรีกที่เผยแพร่ไปในแดนตะวันออกทำให้เกิดเป็นวัฒนธรรมเฮเลนนิสติก ซึ่งยังคงสืบทอดต่อมาในจักรวรรดิไบแซนไทน์กระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 อเล็กซานเดอร์เป็นบุคคลในตำนานในฐานะวีรบุรุษผู้ตามอย่างอคิลลีส มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมปรัมปราทั้งของฝ่ายกรีกและที่ไม่ใช่กรีก เป็นหลักเกณฑ์มาตรฐานซึ่งบรรดานายพลทั้งหลายใช้เปรียบเทียบกับตนเองแม้จนถึงปัจจุบัน โรงเรียนการทหารทั่วโลกยังคงใช้ยุทธวิธีการรบของพระองค์เป็นแบบอย่างในการเรียนการสอน.

ใหม่!!: ยุทธการที่กอกามีลาและอเล็กซานเดอร์มหาราช · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิอะคีเมนิด

ักรวรรดิอะคีเมนียะห์ หรือ จักรวรรดิเปอร์เชียอะคีเมนียะห์ (Achaemenid Empire หรือ Achaemenid Persian Empire, هخامنشیان) (550–330 ก.ค.ศ.) เป็นหนึ่งในจักรวรรดิแรกของจักรวรรดิเปอร์เชียที่ปกครองอาณาบริเวณส่วนใหญ่ของเกรตเตอร์อิหร่านที่ตามมาจากจักรวรรดิมีเดีย ในยุคที่รุ่งเรืองที่สุดจักรวรรดิอะคีเมนียะห์มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 7.5 ล้านตารางกิโลเมตร ที่ทำให้เป็นจักรวรรดิที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในยุคโบราณ และเป็นจักรวรรดิที่วางรากฐานของระบบการปกครองจากศูนย์กลางSchmitt Achaemenid dynasty (i. The clan and dynasty) จักรวรรดิอะคีเมนียะห์ที่ก่อตั้งขึ้นโดยจักรพรรดิไซรัสมหาราชครอบคลุมอาณาบริเวณสามทวีปที่รวมทั้งดินแดนในอัฟกานิสถาน และ ปากีสถาน, บางส่วนของเอเชียกลาง, อานาโตเลีย, เธรซ, บริเวณริมฝั่งทะเลดำส่วนใหญ่, อิรัก, ตอนเหนือของซาอุดีอาระเบีย, จอร์แดน, ปาเลสไตน์, เลบานอน, ซีเรีย และอียิปต์ไปจนถึงลิเบีย จักรวรรดิอะคีเมนียะห์เป็นศัตรูของนครรัฐกรีกในสงครามกรีซ-เปอร์เชีย เพราะไปปล่อยชาวยิวจากบาบิโลเนีย และในการก่อตั้งให้ภาษาอราเมอิกเป็นภาษาราชการ และพ่ายแพ้ต่ออเล็กซานเดอร์มหาราชในปี 330 ก่อนคริสต์ศักราช ความสำคัญทางประวัติศาสตร์โลกของจักรวรรดิอะคีเมนียะห์ที่ก่อตั้งโดยจักรพรรดิไซรัสมหาราชก็คือกาวางรากฐานที่ได้รับความสำเร็จของระบบการบริหารการปกครองจากศูนย์กลาง และของรัฐบาลที่มีปรัชญาในการสร้างประโยชน์ให้แก่มวลชนSchmitt Achaemenid dynasty (i. The clan and dynasty).

ใหม่!!: ยุทธการที่กอกามีลาและจักรวรรดิอะคีเมนิด · ดูเพิ่มเติม »

ทหารม้า

ทหารม้าโปแลนด์ (Polish cavalry) ในปี 1938 ทหารม้าบนรถถัง ทหารม้า (Cavalry) หมายถึง ทหารที่จะต้องทำการรบ โดยใช้อาวุธต่างๆ เช่น ดาบ, ทวน หรือปืน บนหลังม้า แต่ในปัจจุบันได้เปลี่ยนมาเป็นใช้รถถังและพาหนะเคลื่อนที่เร็วแทน ทหารม้าเป็นทหารเหล่าหนึ่งในกองทัพบก ที่ใช้ม้าหรือสิ่งกำเนิดความเร็วอื่นๆ เป็นพาหนะ เป็นเหล่ารบที่มีความสำคัญและจำเป็นเหล่าหนึ่งสำหรับกองทหารขนาดใหญ่ เช่นเดียวกับเหล่าทหารราบ ทหารปืนใหญ่ ทหารช่าง ฯลฯ มีความแตกต่างกับ ทหารราบขี่ม้า (Light Horse) ทหารราบบรรทุกม้าหรือยานพาหนะใดๆ ก็ตาม จะใช้ม้าหรือยานพาหนะที่ว่าในการเดินทางเข้า-ออกสนามรบเท่านั้นในกรณีปกติ เครื่องหมายเหล่าเป็นรูปกระบี่ไขว้ประกอบกับเกือกม้าและรถถัง นอกจากนี้ เฮลิคอปเตอร์เอง ก็ถูกจัดว่าเป็นหน่วยทหารม้าเช่นกัน.

ใหม่!!: ยุทธการที่กอกามีลาและทหารม้า · ดูเพิ่มเติม »

ทหารราบ

ทหารราบชาวอังกฤษในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ทหารราบ (infantry) คือทหารที่มีหน้าที่เข้าดำเนินกลยุทธ์ในการรบโดยใช้อำนาจการยิงจากอาวุธประจำกาย เพื่อเข้ายึดพื้นที่ และทำลายข้าศึก มีขีดสามารถเคลื่อนที่โดยตนเอง ไม่จำเป็นต้องพึ่งยานพาหนะเป็นจำนวนมาก ถือได้ว่าเป็นเหล่าทหารที่มีจำนวนมากที่สุด ได้รับฉายาว่า "ราชินีแห่งสนามรบ" มีเครื่องหมายเป็นรูปปืนเล็กไขว้ประกอบกับตับกระสุน หมวดหมู่:ทหาร หมวดหมู่:ทหารราบ.

ใหม่!!: ยุทธการที่กอกามีลาและทหารราบ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิรัก

ประเทศอิรัก (العراق; عێراق อังกฤษ: Iraq) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอิรัก (جمهورية العراق; كؤماری عێراق) เป็นประเทศในตะวันออกกลาง มีอาณาเขตทางทิศเหนือจดประเทศตุรกี ทางทิศตะวันออกจดประเทศอิหร่าน ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้จดประเทศคูเวต ทางทิศใต้จดประเทศซาอุดีอาระเบีย ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศจอร์แดน และทางทิศตะวันตกจดประเทศซีเรีย กรุงแบกแดด ซึ่งเป็นเมืองหลวง ตั้งอยู่ในกลางประเทศ ราว 97% ของประชากรอิรัก 36 ล้านคนเป็นชาวมุสลิม ส่วนใหญ่มีเชื้อสายซุนนีย์ ชีอะฮ์และเคิร์ด ประเทศอิรักมีแนวชายฝั่งส่วนแคบวัดความยาวได้ 58 กิโลเมตรทางเหนือของอ่าวเปอร์เซีย และอาณาเขตของประเทศครอบคลุมที่ราบลุ่มแม่น้ำเมโสโปเตเมีย ปลายทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเทือกเขาซากรอส และทะเลทรายซีเรียส่วนตะวันออก สองแม่น้ำหลัก แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส ไหลลงใต้ผ่านใจกลางประเทศและไหลลงสู่ชัฏฏุลอะร็อบใกล้อ่าวเปอร์เซีย แม่น้ำเหล่านี้ทำให้ประเทศอิรักมีดินแดนอุดมสมบูรณ์มากมาย ภูมิภาคระหว่างแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีสมักเรยกว่า เมโสโปเตเมีย และคาดว่าเป็นบ่อเกิดของการเขียนและอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดของโลก พื้นที่นี้ยังเป็นที่ตั้งของอารยธรรมที่สืบทอดต่อกันมานับแต่ 6 สหัสวรรษก่อนคริสตกาล ในแต่ละช่วงของประวัติศาสตร์ อิรักเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิอัคคาเดีย ซูเมเรีย อัสซีเรีย และบาบิโลเนีย นอกจากนี้ยังเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิมีเดีย อะคีเมนิด เฮลเลนนิสติก พาร์เธีย แซสซานิด โรมัน รอชิดีน อุมัยยะฮ์ อับบาซียะห์ มองโกล ซาฟาวิด อาฟชาริยะห์และออตโตมัน และเคยเป็นอาณาเขตในอาณัติสันนิบาตชาติภายใต้การควบคุมของอังกฤษ พรมแดนสมัยใหม่ของประเทศอิรักส่วนใหญ่ปักใน..

ใหม่!!: ยุทธการที่กอกามีลาและประเทศอิรัก · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำยูเฟรทีส

ยูเฟรทีส (Euphrates) คือแม่น้ำที่มีต้นน้ำอยู่ในเทือกเขาทางตะวันออกของประเทศตุรกี ยาวประมาณ 2,300 กิโลเมตร ไหลเข้าประเทศซีเรีย เข้าดินแดนอารยธรรมเมโสโปเตเมียเดิมหรือประเทศอิรักในปัจจุบัน แล้วมารวมกับแม่น้ำไทกริสใกล้เมืองบัสรา เกิดเป็นแม่น้ำใหม่ชื่อ ชัฏฏุลอะร็อบ ที่มีความยาวประมาณ 200 กิโลเมตร ก่อนไหลลงสู่อ่าวเปอร์เซีย ย ย ย หมวดหมู่:แม่น้ำนานาชาติในทวีปเอเชีย.

ใหม่!!: ยุทธการที่กอกามีลาและแม่น้ำยูเฟรทีส · ดูเพิ่มเติม »

โมซูล

มซูล (Mosul) หรือ อัลเมาศิล (الموصل‎, al-Mawṣil) เป็นนครในภาคเหนือของประเทศอิรัก และเมืองหลวงของจังหวัดนีนะวา ห่างจากกรุงแบกแดด เมืองหลวงของประเทศ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือราว 400 กิโลเมตร นครเดิมตั้งอยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำไทกริส ตรงข้ามกับนครนีนะวาของอัสซีเรียโบราณที่อยู่ฝั่งตะวันออก แต่ปัจจุบันพื้นที่มหานครได้เติบโตขึ้นครอบคลุมพื้นที่ทั้งสองฝั่งแม่น้ำ โดยมีสะพานห้าแห่งเชื่อมระหว่างสองฝั่ง ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวอาหรับ (โดยมีชนกลุ่มน้อยอัสซีเรีย เติร์กเมนอิรัก และเคิร์ด) เป็นนครขนาดใหญ่อันดับสองของประเทศ รองจากกรุงแบกแดด ในปี 2530 นครมีประชากร 664,221 คน ปี 2545 ประมาณการประชากรอยู่ที่ 1,740,000 คน และในปี 2551 ประเมินที่ 1,800,000 คน โมซูลเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยโมซูล ศูนย์กลางการศึกษาและวิจัยใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศอิรักและตะวันออกกลาง ในเดือนมิถุนายน 2557 นครถูกรัฐอิสลามอิรักและเลแวนต์ยึดระหว่างการรุกภาคเหนือของอิรัก..

ใหม่!!: ยุทธการที่กอกามีลาและโมซูล · ดูเพิ่มเติม »

เฮฟีสเทียน

ฟีสเทียน (Hephaestion) หรือ แฮไพส์ตีออน (Ἡφαιστίων, Hēphaistíōn) เป็นแม่ทัพชาวมาเกโดนีอา ของกองทัพอเล็กซานเดอร์มหาราช เขาเป็นเพื่อนสนิทกับอเล็กซานเดอร์มาตั้งแต่เยาว์วัย จนในที่สุด ความสัมพันธ์ของทั้งสองก็ได้พัฒนาเหนือกว่ามิตรภาพระหว่างเพื่อน จนอาจกล่าวได้ว่า เขาคือวิญญาณครึ่งหนึ่งของอเล็กซานเดอร์ และเป็นบุคคลที่อเล็กซานเดอร์ไว้ใจมากที่สุด อย่างไรก็ตาม ด้วยการเสื่อมลงของวัฒนธรรมกรีกและการมีอิทธิพลขึ้นมาของศาสนาคริสต์ซึ่งต่อต้านการรักร่วมเพศ ทำให้ประวัติศาสตร์ได้บันทึกเรื่องราวของทั้งสองว่าเป็น "เพื่อนที่ดีที่สุด" แทนเพื่อให้ได้รับการยอมรับ วันเกิดที่ชัดเจนของเฮฟีสเทียนนั้นไม่เป็นที่แน่ชัด แทบไม่มีข้อมูลเรื่องประวัติที่มาของเขา แต่นักวิชาการจำนวนมากเชื่อว่า เฮฟีสเทียนซึ่งเป็นเพื่อนตั้งแต่วัยเด็กกับอเล็กซานเดอร์ มีอายุเท่ากับอเล็กซานเดอร์ ทำให้คาดเดาได้ว่า เขาน่าจะเกิดเมื่อ 356 ปีก่อนคริสตกาล และมีเกร็ดเล็กน้อย จากตำนาน Alexander romance ซึ่งได้บันทึกว่า "...วันหนึ่ง เมื่ออเล็กซานเดอร์อายุได้ 15 ชันษา ได้แล่นเรือไปกับสหายแฮไพส์ตีออนจนไปถึงปิซา แล้วจึงลงไปเดินเล่นกับแฮไพส์ตีออน" ซึ่งอายุของอเล็กซานเดอร์ในบันทึกนี้เอง เป็นเบาะแสที่สำคัญต่อการศึกษาที่มาของเฮฟีสเทียน เพราะขณะอเล็กซานเดอร์อายุ 15 ชันษา เขาต้องกำลังศึกษาอยู่ที่มีเอซา ภายใต้การประสาทวิชาโดยอริสโตเติล และด้วยมิตรภาพของทั้งสองที่แน่นแฟ้น ทำให้รู้ได้ว่า เฮฟีสเทียนเป็นหนึ่งในนักเรียนที่นี่เช่นกัน.

ใหม่!!: ยุทธการที่กอกามีลาและเฮฟีสเทียน · ดูเพิ่มเติม »

1 ตุลาคม

วันที่ 1 ตุลาคม เป็นวันที่ 274 ของปี (วันที่ 275 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 91 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ยุทธการที่กอกามีลาและ1 ตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Battle of Gaugamelaยุทธการที่กัวกาเมลา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »