โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ยุงลาย

ดัชนี ยุงลาย

Aedes หรือยุงลาย เป็นสกุลของยุงที่เดิมพบในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน แต่ปัจจุบันพบได้ทุกทวีปยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา กิจกรรมของมนุษย์เป็นสาเหตุทำให้ยุงลายบางสปีชีส์แพร่กระจาย Meigen อธิบายและตั้งชื่อเป็นครั้งแรกในปี..

19 ความสัมพันธ์: ชิคุนกุนยากึ่งเขตร้อนมุ้งยาฆ่าแมลงยุงยุงลายบ้านวัคซีนสมองอักเสบสัตว์สัตว์ขาปล้องสารขับไล่แมลงสปีชีส์แมลงแมลงวันไวรัสเวสต์ไนล์ไข้ไข้เหลืองไข้เด็งกีเขตร้อน

ชิคุนกุนยา

นกุนยา (チクングンヤ熱; Chikungunya virus; CHIKV) เป็นเชื้อไวรัสที่มีแมลงเป็นพาหะนำโรค เป็นไวรัสในจีนัส Alphavirus ซึ่งติดต่อมาสู่มนุษย์ทางยุงลาย (Aedes) การระบาดของ CHIKV ทำให้เกิดการพิการอย่างรุนแรงและทำให้เกิดความเจ็บป่วยและกลุ่มอาการคล้ายโรคไข้เลือดออก (dengue fever) โดยผู้ป่วยจะมีอาการไข้ (acute febrile phase) 2-5 วัน ตามด้วยอาการปวดข้อของแขนและขาเป็นระยะเวลานาน เป็นเวลาหลายอาทิตย์หรือเป็นเดือนๆ (prolonged arthralgic disease) ต้นกำเนิดของไวรัสชิคุนกุนยามาจากทวีปแอฟริกา โดยพบครั้งแรกเมื่อปี..

ใหม่!!: ยุงลายและชิคุนกุนยา · ดูเพิ่มเติม »

กึ่งเขตร้อน

กึ่งเขตร้อน (subtropics) คือ เขตทางภูมิศาสตร์และภูมิอากาศซึ่งบอกได้คร่าว ๆ ว่าตั้งอยู่ระหว่างเส้นละติจูดเขตร้อน (ทรอปิกออฟแคนเซอร์และทรอปิกออฟแคปริคอร์น) และเส้นขนานที่ 38 ในซีกโลกเหนือและใต้ ภูมิอากาศแบบกึ่งเขตร้อนสามารถพบได้ในที่สูงในเขตร้อน เช่น ตลอดที่ราบสูงเม็กซิโกและในประเทศเวียดนามและไต้หวัน การจัดประเภทภูมิอากาศออกเป็นหกประเภทใช้คำดังกล่าวเพื่อช่วยนิยามหมวดอุณหภูมิและหยาดน้ำฟ้าต่าง ๆ ของโลก ในเขตอบอุ่น แปดเดือนแต่ละปีมีอุณหภูมิเฉลี่ยมากกว่าหรือเท่ากับ 10 °C (50.0 °F) โดยเดือนที่มีอุณหภูมิต่ำสุดมีอุณหภูมิระหว่าง 2 ถึง 13 °C (35.6 ถึง 55.4 °F) หมวดหมู่:ภูมิอากาศ หมวดหมู่:ภูมิศาสตร์กายภาพ.

ใหม่!!: ยุงลายและกึ่งเขตร้อน · ดูเพิ่มเติม »

มุ้ง

มุ้งไว้ป้องกันยุง หมัดและแมลงอื่น จึงสามารถป้องกันโรคที่สัตว์เหล่านี้เป็นพาหะได้ด้วย ตัวอย่างโรคที่สัตว์เหล่านี้เป็นพาหะ รวมถึงมาลาเรีย ไข้เด็งกี ไข้เหลือง สมองอักเสบหลายรูปแบบ ซึ่งรวมถึงไวรัสไนล์ตะวันตก มุ้งจะมีประสิทธิภาพได้ ตาต้องละเอียดพอที่จะกันแมลงได้โดยไม่ขัดขวางทัศนวิสัยหรือการไหลของอากาศจนรับไม่ได้ นอกจากนี้ ยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของมุ้งได้มากโดยชุบยาฆ่าแมลงหรือสารขับไล่แมลงที่เหมาะสม มุ้งทำมาจากฝ้าย พอลิเอทีลีน พอลิเอสเทอร์ พอลิโพรพีลีน หรือไนลอน ขนาดตา 1.2 มิลลิเมตรสามารถกันยุงได้ และตาที่ขนาดเล็กกว่านั้น เช่น 0.6 มิลลิเมตร สามารถกันแมลงกัดอื่นได้ เช่น ริ้นน้ำเค็ม.

ใหม่!!: ยุงลายและมุ้ง · ดูเพิ่มเติม »

ยาฆ่าแมลง

แมลง เป็นสารที่ใช้ฆ่า กำจัด หรือลดการแพร่พันธุ์ของแมลง ยาฆ่าแมลงใช้ในการเกษตรกรรม, การแพทย์, อุตสาหกรรม และใช้ในครัวเรือน การใช้ยาฆ่าแมลงเชื่อว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรในศตวรรษที่ 20 ยาฆ่าแมลงเกือบทุกชนิดมีผลข้างเคียงกับระบบนิเวศ ยาฆ่าแมลงหลายชนิดเป็นอันตรายกับมนุษ.

ใหม่!!: ยุงลายและยาฆ่าแมลง · ดูเพิ่มเติม »

ยุง

ง เป็นแมลงที่พบได้ทั่วโลกแต่พบมากในเขตร้อนและเขตอบอุ่น โดยปกติ ตัวเมียมักจะกินเลือดเป็นอาหาร ส่วนตัวผู้มักจะกินน้ำหวานในดอกไม้ ยุงยังเป็นแมลงที่เป็นพาหะแพร่เชื้อโรคอีกด้วย เช่น ไข้เลือดออก ยุงทั่วโลกมีอยู่ประมาณ 3,450 ชนิด แต่พบในประเทศไทยประมาณ 412 ชนิด แต่ที่คุ้นเคยกันดี คือ ยุงก้นปล่อง (Anopheles) และยุงลาย (Aedes).

ใหม่!!: ยุงลายและยุง · ดูเพิ่มเติม »

ยุงลายบ้าน

งลายบ้าน หรือยุงไข้เหลือง เป็นยุงที่สามารถแพร่ไวรัสไข้เด็งกี ชิคุนกุนยาและไข้เหลือง ตลอดจนโรคอื่น ๆ ได้ ยุงลายบ้านสามารถสังเกตได้จากรอยสีขาวที่ขาและเครื่องหมายรูปพิณโบราณ (lyre) บนอก ยุงลายบ้านมีกำเนิดในทวีปแอฟริกา แต่ปัจจุบันพบได้ในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนทั่วโลก.

ใหม่!!: ยุงลายและยุงลายบ้าน · ดูเพิ่มเติม »

วัคซีน

็กกำลังรับวัคซีนโปลิโอชนิดหยอด วัคซีน (Vaccine) เป็นชีววัตถุที่เตรียมขึ้นจากเชื้อจุลินทรีย์หรือส่วนของเชื้อจุลินทรีย์ซึ่งจะมีกลไกชักนำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันที่จำเพาะต่อจุลินทรีย์ชนิดนั้น ๆ กล่าวคือมีฤทธิ์ชักนำการสร้างภูมิคุ้มกันอันจำเพาะกับโรค วัคซีนโดยทั่วไปจะประกอบด้วยส่วนประกอบของจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรค (แอนติเจน) ซึ่งถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ลง, ตาย หรือการใช้ส่วนที่เป็นพิษที่อ่อนฤทธิ์ลง (toxoid) โดยวัคซีนจะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและสามารถจดจำได้ว่าเป็นสารก่อโรคซึ่งจะมีกลไกการทำลายต่อไป คุณสมบัติการจดจำแอนติเจนของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำให้ร่างกายสามารถกำจัดแอนติเจนหากเมื่อได้รับอีกในภายหลังได้รวดเร็วยิ่งขึ้น วัคซีนเริ่มมีการพัฒนาในราวคริสต์ทศวรรษที่ 1770 โดยเอดเวิร์ด เจนเนอร์ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ประสบความสำเร็จในการสกัดเชื้อ cowpox เพื่อป้องกันโรคฝีดาษ (small pox) ในมนุษย์ได้ วัคซีนในระยะเริ่มแรกเป็นการนำเชื้อมาทำให้ตายหรือการใช้เชื้อที่อ่อนฤทธิ์เท่านั้น จนกระทั่งปัจจุบันมีการพัฒนาโดยนำเทคโนโลยีรีคอมบีแนนต์มาช่วยในการพัฒนาโดยอาศัยความรู้ทางชีววิทยาระดับโมเลกุล และมีความพยายามพัฒนาวัคซีนโดยการสังเคราะห์แอนติเจนในการผลิตซับยูนิตวัคซีน (subunit vaccine) อีกด้วย คำว่า "วัคซีน" (vaccine) ได้มาจากครั้งที่เอ็ดวาร์ดให้เชื้อ cowpox แก่มนุษย์ โดยคำว่า variolæ vaccinæ มาจากคำว่า vaccīn-us หรือ vacca ซึ่งแปลว่า cow หรือวัวซึ่งมีความสัมพันธ์กับเชื้อ cowpox.

ใหม่!!: ยุงลายและวัคซีน · ดูเพิ่มเติม »

สมองอักเสบ

มองอักเสบ (encephalitis) เป็นภาวะซึ่งมีการอักเสบเฉียบพลันของสมอง หากเกิดร่วมกับเยื่อหุ้มสมองอักเสบเรียกว่าเยื่อหุ้มสมองและสมองอักเสบ อาการที่พบได้เช่นปวดศีรษะ ไข้ สับสน ซึม และอ่อนเพลีย หากเป็นมากอาจมีอาการรุนแรง เช่น ชัก สั่น ประสาทหลอน ความจำเสื่อม เป็นต้น.

ใหม่!!: ยุงลายและสมองอักเสบ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ยุงลายและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ขาปล้อง

ัตว์ขาปล้อง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Arthropoda อาร์โธรโพดา) หรือที่รู้จักกันดีและนิยมเรียกว่า อาร์โธพอด เป็นไฟลัมหลักของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ที่มีขนาดของลำตัวแบ่งเป็นส่วน ๆ 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนหัว ส่วนอกและส่วนท้อง ซึ่งสัตว์ขาปล้องบางจำพวกอาจจะมีส่วนหัวและส่วนอกที่เชื่อต่อกันเป็นส่วนเดียวกันด้วยก็ได้ จะมีเปลือกแข็งหุ้มบริเวณลำตัวสำหรับทำหน้าที่ป้องกันและช่วยพยุงร่างกายที่อ่อนนิ่มที่ซ่อนอยู่ภายใต้เปลือกแข็ง ชั้นคิวติเคิลเปลี่ยนไปตามรายละเอียดของรูปร่าง ประกอบด้วยสามชั้นคือ ชั้นผิวนอก (epicuticle) เป็นชั้นนอกที่บาง มีขี้ผึ้งเคลือบเพื่อป้องกันความชื้น ชั้นนอก (exocuticle) ประกอบด้วยไคติน และโปรตีนที่ทำให้แข็ง และชั้นใน (endocuticle) ที่ประกอบด้วยไคตินและโปรตีนที่ไม่ทำให้แข็ง ชั้นนอกและชั้นในเรียกรวมกันว่า procuticle และที่สำคัญคือช่วยพยุงให้ร่างกายของพวกสัตว์ขาปล้องมีรูปร่างที่แน่นอน.

ใหม่!!: ยุงลายและสัตว์ขาปล้อง · ดูเพิ่มเติม »

สารขับไล่แมลง

รขับไล่แมลง เป็นสารที่ทาบนผิวหนัง เสื้อผ้าหรือพื้นผิวอื่น ซึ่งทำให้แมลง (และสัตว์ขาปล้องทั่วไป) บนลงมาเกาะหรือปีนบนพื้นผิวนั้นน้อยลง นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์สารขับไล่แมลงที่ใช้การสร้างเสียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอัลตราซาวน์ (เสียงความถี่สูงกว่าที่มนุษย์จะได้ยิน) ทว่า การศึกษาโดยสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐและหลายมหาวิทยาลัยพบว่า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ไม่มีผลขับไล่ยุง สารขับไล่แมลงช่วยป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคที่มาจากแมลง เช่น มาลาเรีย โรคไลม์ ไข้เด็งกี กาฬโรคที่ต่อมน้ำเหลือง และไข้ไนล์ตะวันตก สัตว์รังควานที่มักเป็นพาหะของโรคที่กล่าวมารวมถึงหมัด แมลงวันและยุง ตลอดจนหมั.

ใหม่!!: ยุงลายและสารขับไล่แมลง · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: ยุงลายและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

แมลง

แมลง (Insect) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ในไฟลัมอาร์โทรโพดา จำแนกออกเป็นไฟลัมต่าง ๆ ได้ 13 กลุ่ม มีลักษณะสำคัญคือมีลำตัวเป็นปล้องคล้อง ซึ่งอาจแบ่งเป็น 2 หรือ 3 ส่วน สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ลำตัวทั้งสองด้านซ้ายขวามีความเหมือนและมีขนาดเท่ากัน มีเปลือกห่อหุ้มลำตัวด้วยสารไคติน (Chitinous Exoskeleton) ไม่มีขน หายใจแบบใช้เหงือกหรือใช้รูหายใจ มีวัฎจักรวงจรชีวิตในการเจริญเติบโตแบบไข่ มีการลอกคราบเป็นบางครั้งแล้วสร้างผนังหรือเปลือกห่อหุ้มลำตัวใหม่ มีรยางค์เป็นคู่และเป็นปล้อง ส่วนใหญ่นักกีฏวิทยามักใช้รยางค์ในการแบ่งเพศผู้เพศเมียของแมลง มีอวัยวะภายในที่มีท่อทางเดินอาหารเป็นท่อยาวตลอดจากปากไปถึงทวารหนัก ระบบเลือดเป็นแบบเปิดและมีท่อเลือดอยู่ทางด้านสันหลังเหนือระบบทางเดินอาหาร มีระบบประสาทที่ประกอบไปด้วยสมองอยู่เหนือท่ออาหาร มีเส้นประสาทขนาดใหญ่หนึ่งคู่เชื่อมต่อจากสมอง มีการรวมตัวเป็นระยะก่อเกิดเป็นปมประสาท เส้นประสาทขนาดใหญ่ของแมลง จะอยู่ทางด้านล่างของลำตัวใต้ท่ออาหาร มีกล้ามเนื้อแบบเรียบอยู่ตามลำตัวบทปฏิบัติการกีฎวิทยาเบื้องต้น, ภาควิชากีฎวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ร. ดร.สาวิตรี มาไลยพันธุ์, สำนักพิมพ์รั้วเขียว,..

ใหม่!!: ยุงลายและแมลง · ดูเพิ่มเติม »

แมลงวัน

แมลงวัน (ภาษาไทยถิ่นเหนือ: แมงงุน) เป็น แมลง ใน อันดับ Diptera (di.

ใหม่!!: ยุงลายและแมลงวัน · ดูเพิ่มเติม »

ไวรัสเวสต์ไนล์

วรัสเวสต์ไนล์ เป็นเชื้อไวรัสที่ติดต่อผ่านการถูกยุงกัดชนิดหนึ่ง อยู่ในจีนัส Flavivirus แฟมิลี Flaviviridae พบครั้งแรกใน West Nile subregion ในประเทศอูกันดาเมื่อ..

ใหม่!!: ยุงลายและไวรัสเวสต์ไนล์ · ดูเพิ่มเติม »

ไข้

้ หรือ อาการตัวร้อน ปรับปรุงเมื่อ 6..

ใหม่!!: ยุงลายและไข้ · ดูเพิ่มเติม »

ไข้เหลือง

ไข้เหลืองเป็นโรคชนิดหนึ่งในกลุ่มโรคไข้เลือดออกจากไวรัส ไวรัสไข้เหลืองมีขนาด 40-50 นาโนเมตร เป็นไวรัสชนิดอาร์เอ็นเอไวรัสเซนส์บวก มีปลอกหุ้ม อยู่ในแฟมิลีฟลาวิไวริดี ติดต่อผ่านทางการถูกยุงตัวเมียที่มีเชื้อกัด อาจเป็นยุงไข้เหลือง ยุงลาย หรือยุงอื่นๆ บางชนิด พบในพื้นที่เขตร้อนของทวีปอเมริกาใต้และทวีปแอฟริกาและพื้นที่ข้างเคียง แต่ไม่พบในทวีปเอเชีย โฮสต์ของไวรัสไข้เหลืองคือลิงไพรเมทรวมถึงมนุษย์และยุงบางชนิด เชื่อว่าโรคนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่แอฟริกา ระบาดมายังอเมริกาใต้พร้อมกับการค้าทาสในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ต่อมาในศตวรรษที่ 17 เริ่มมีบันทึกการระบาดครั้งใหญ่หลายครั้งในอเมริกา แอฟริกา และยุโรป จนในศตวรรษที่ 19 ไข้เหลืองก็ถูกยกระดับเป็นโรคติดต่อที่อันตรายที่สุดโรคหนึ่ง ผู้ป่วยไข้เหลืองส่วนใหญ่มีอาการไข้ หนาวสั่น คลื่นไส้ เบื่ออาหาร ปวดกล้ามเนื้อ (โดยเฉพาะหลัง) และปวดศีรษะ ส่วนใหญ่หายได้เองในเวลาหลายวัน ผู้ป่วยบางคนจะมีระยะพิษตามหลังจากระยะไข้ เซลล์ตับเสียหายจนมีดีซ่าน (เป็นที่มาของชื่อโรค) และอาจเป็นมากจนเสียชีวิตได้ ไข้เหลืองอาจทำให้ผู้ป่วยมีเลือดออกง่าย จึงจัดอยูในกลุ่มโรคไข้เลือดออก องค์การอนามัยโลกประมาณไว้ว่ามีคนที่ไม่ได้รับวัคซีนไข้เหลืองป่วยเป็นไข้เหลือง 200,000 รายต่อปี และเสียชีวิต 30,000 รายต่อปี ปัจจุบันผู้ป่วยโรคไข้เหลืองกว่า 90% อยู่ในแอฟริกา วัคซีนไข้เหลืองที่ปลอดภัยและใช้ได้ผลนั้นผลิตสำเร็จตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 20 บางประเทศยังกำหนดให้นักท่องเที่ยวต้องได้รับวัคซีนนี้ก่อนเข้าประเทศ เนื่องจากเป็นโรคที่ยังไม่มีวิธีการรักษาจำเพาะจึงมีความจำเป็นต้องจัดให้ผู้ที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงได้มีโอกาสเข้าถึงวัคซีนอย่างทั่วถึง พร้อมๆ กับลดจำนวนยุงและลดโอกาสถูกยุงกัด ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา จำนวนผู้ป่วยไข้เหลืองเริ่มเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้ง จึงจัดอยู่ในกลุ่มโรคอุบัติซ้ำ (re-emerging disease) เชื่อว่าเป็นผลจากสภาพสังคมและสงครามในหลายๆ ประเทศในแอฟริกา หมวดหมู่:ไข้จากไวรัสที่มีแมลงเป็นพาหะและไข้เลือดออกที่เกิดจากไวรัส หมวดหมู่:ฟลาวิไวรัส หมวดหมู่:โรคเขตร้อน หมวดหมู่:วิทยาตับ หมวดหมู่:โรคติดเชื้อจากแมลง หมวดหมู่:โรคที่ไม่ได้รับการรักษา หมวดหมู่:อาวุธชีวภาพ.

ใหม่!!: ยุงลายและไข้เหลือง · ดูเพิ่มเติม »

ไข้เด็งกี

้เด็งกี (Dengue fever) หรือในประเทศไทยนิยมเรียกว่า ไข้เลือดออก เป็นโรคติดเชื้อซึ่งระบาดในเขตร้อน เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเด็งกี ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ และมีผื่นลักษณะเฉพาะซึ่งคล้ายกับผื่นของโรคหัด ผู้ป่วยส่วนหนึ่งจะมีอาการรุนแรง จนกลายเป็นไข้เลือดออกเด็งกี (Dengue hemorrhagic fever) ที่เป็นอันตรายถึงชีวิต ซึ่งทำให้มีเลือดออกง่าย มีเกล็ดเลือดต่ำ และมีการรั่วของพลาสมา หรือรุนแรงมากขึ้นเป็นกลุ่มอาการไข้เลือดออกช็อก (Dengue shock syndrome) ซึ่งมีความดันโลหิตต่ำอย่างเป็นอันตรายได้ ไข้เลือดออกติดต่อผ่านทางพาหะคือยุงหลายสปีชีส์ในจีนัส Aedes โดยเฉพาะ A. aegypti หรือยุงลายบ้าน ไวรัสเด็งกีมีชนิดย่อยอยู่สี่ชนิด การติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งมักทำให้ผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสชนิดนั้น ๆ ไปตลอดชีวิต แต่มีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสเด็งกีชนิดอื่น ๆ ในเวลาสั้น ๆ การติดเชื้อไวรัสเด็งกีชนิดอื่นในภายหลังเพิ่มความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนรุนแรง การป้องกันโรคทำโดยลดจำนวนแหล่งเพาะพันธุ์และจำนวนของยุง และป้องกันมิให้ยุงลายกัด เพราะยังไม่มีวัคซีนในทางพาณิชย์ ยังไม่มีวิธีจำเพาะในการรักษาไข้เลือดออก การรักษาหลัก ๆ เป็นการรักษาประคับประคอง สำหรับผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรงรักษาโดยการคืนน้ำ อาจใช้การกินทางปากหรือการให้ทางหลอดเลือดดำ และสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงรักษาโดยให้สารน้ำหรือเลือดหรือองค์ประกอบของเลือดทางหลอดเลือดดำ อุบัติการณ์ของไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นมากตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1960 โดยมีผู้ป่วยติดเชื้อ 50-100 ล้านคนต่อปี โรคนี้มีการอธิบายเอาไว้ครั้งแรกตั้งแต..

ใหม่!!: ยุงลายและไข้เด็งกี · ดูเพิ่มเติม »

เขตร้อน

แผนที่โลกที่เน้นเขตร้อนด้วยสีแดง เขตร้อนหรือโซนร้อน (tropics) เป็นบริเวณของโลกที่อยู่รอบเส้นศูนย์สูตร จำกัดด้วยเส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ในซีกโลกเหนือ ที่ละติจูด 23° 26′ 16″ (หรือ 23.4378°) เหนือ และทรอปิกออฟแคปริคอร์นในซีกโลกใต้ ที่ละติจูด 23° 26′ 16″ (หรือ 23.4378°) ใต้ ละติจูดนี้ใกล้เคียงกับความเอียงของแกนโลก เขตร้อนรวมทุกพื้นที่บนโลกซึ่งดวงอาทิตย์ถึงจุดใต้แสงอาทิตย์ (subsolar point) คือ จุดที่ดวงอาทิตย์อยู่ตรงเหนือศีรษะพอดี อย่างน้อยครั้งหนึ่งในปีสุริยคติ.

ใหม่!!: ยุงลายและเขตร้อน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Aedes

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »