โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มุฮัมมัด

ดัชนี มุฮัมมัด

นบีมุฮัมมัด หรือ มุหัมมัด หรือ พระมะหะหมัด (محمد แปลว่า ผู้ได้รับการสรรเสริญ) เป็นนบีคนสุดท้ายของศาสนาอิสลาม ที่อัลลอฮ์ทรงแต่งตั้ง ท่านมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกหลายชื่อ เช่น มุสตอฟา, ฏอฮา, ยาซีน และ อะฮฺมั.

52 ความสัมพันธ์: ชาวยิวชาวอาหรับชีอะฮ์ช้างฟาฏิมะฮ์พ.ศ. 1113พ.ศ. 1162พระบะฮาอุลลอฮ์พระบาบพระพุทธเจ้าพระกฤษณะพระแม่องค์ธรรมพระโคตมพุทธเจ้าพระเยซูกะอ์บะฮ์การมาครั้งที่สองกาเบรียลกุเรชมักกะฮ์ยุคสามกัปสุดท้ายรอบีอุลเอาวัลละหมาดลัทธิอนุตตรธรรมลู่ จงอีวิวรณ์ศาสนาบาไฮศาสนาอิสลามศาสนาคริสต์หะดีษหินดำอะบูฏอลิบอับราฮัมอัลกุรอานอัลมะดีนะฮ์อัลลอฮ์อาณาจักรอักซุมอิชมาเอลอุปราชอีซาฮุซัยน์ อิบน์ อะลีผู้เผยพระวจนะผีซัมซัมซาราธุสตราปฏิทินฮิจเราะห์ประเทศอิหร่านปีช้างนบีโมเสสเทวรูป...เคาะดีญะฮ์ บินต์ คุวัยลิดเตี่ยนฉวนซือ ขยายดัชนี (2 มากกว่า) »

ชาวยิว

ว (ภาษาฮิบรู: יהודים) หรือที่เรียกว่า ชาวยิว (Jewish people) เป็นชนชาติและกลุ่มศาสนพันธุ์หนึ่ง ซึ่งมีเชื้อสายมาจากวงศ์วานอิสราเอลหรือชนเผ่าฮีบรูในแผ่นดินตะวันออกใกล้ยุคโบราณ ซึ่งคัมภีร์ฮีบรูได้ระบุว่า ชาวยิวเป็นชนชาติที่พระเจ้าทรงเลือกสรรที่จะอุปถัมป์ค้ำชูไว้เหนือชาติอื่นๆ ด้วยความเชื่อว่ายิวเป็นชนชาติที่พระเจ้าทรงค้ำชูและมีศาสนายูดาห์เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวนี้เอง ทำให้แม้ชาวยิวจะกระจัดกระจายไปในหลายดินแดน แต่ก็ยังคงความเป็นกลุ่มก้อนและมีการสืบทอดความเป็นยิวจากรุ่นสู่รุ่นอย่างไม่มีเสื่อมถอย ปัจจุบันบุคคลเชื้อสายยิวทั่วทั้งโลกมีอยู่ราว 14.4 ถึง 17.5 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในประเทศอิสราเอลและสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: มุฮัมมัดและชาวยิว · ดูเพิ่มเติม »

ชาวอาหรับ

วอาหรับ (عرب) เป็นกลุ่มชนเซมิติกที่พูดภาษาอาหรับโดยมีประชากรอาศัยในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้และแอฟริกาเหนือ ซึ่งกลุ่มชาวอาหรับประกอบด้วยชาวเลบานอน, ชาวซีเรีย, ชาวเอมิเรตส์, ชาวกาตาร์, ชาวซาอุดี, ชาวบาห์เรน, ชาวคูเวต, ชาวอิรัก, ชาวโอมาน, ชาวจอร์แดน, ชาวปาเลสไตน์, ชาวเยเมน, ชาวซูดาน, ชาวแอลจีเรีย, ชาวโมร็อกโก, ชาวตูนีเซีย, ชาวลิเบีย และชาวอียิปต.

ใหม่!!: มุฮัมมัดและชาวอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

ชีอะฮ์

ีอะฮ์ (บ้างสะกด ชีอะห์) เป็นนิกายหนึ่งในอิสลาม ซึ่งนับถือพระเจ้าพระองค์เดียว และท่านนบีมูฮัมมัด(ศ็อลฯ)เป็นนบีคนสุดท้าย หากแต่มีความแตกต่างกับซุนนีย์ในเรื่องของผู้นำศาสนาต่อจากท่านนบีมุฮัมมัด ว่ามาจากการแต่งตั้งของอัลลอฮ์และท่านนบีมุฮัมมัดเท่านั้น หากผู้ใดได้ศึกษาประวัติของวันอีดฆอดีรคุมแล้ว จะพบว่าวันนั้นเป็นวันที่อัลลอฮฺทรงแต่งตั้งอะลีให้เป็นอิมามหรือผู้นำศาสนาคนต่อไปโดยผ่านท่านนบี(ศ็อลฯ) นั้นคืออิมามสิบสองคน อันได้แก่อิมามอะลีย์และบุตรหลานของอิมามอะลีกับท่านหญิงฟาติมะห์(บุตรีของท่านนบี(ศ็อลฯ)อีก 11 คน ชีอะฮ์ ตามความหมายของปทานุกรมหมายถึง ผู้ปฏิบัติตามหรือผู้ติดตาม ซึ่งบุคคลที่เป็นชีอะฮ์หมายถึง บุคคลที่เชื่อว่า ผู้นำศาสนาหลังจากท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) เสียชีวิตแล้ว เป็นสิทธิของลูกหลานของท่านเท่านั้น ซึ่งชีอะฮ์จึงยึดถือและปฏิบัติ ตามแนวทางของลูกหลานของท่านศาสดา(อะฮฺลุลบัยตฺ) ทั้งด้านความรู้ และการปฏิบัติ ชีอะฮ์มีความเชื่อว่า พระองค์อัลลอฮ์ คือพระผู้ทรงสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดิน คือพระผู้ทรงบริสุทธิ์ยิ่ง ศาสนาของพระองค์ก็เป็นศาสนาที่บริสุทธิ์ ศาสดามุฮัมมัด (ศ) ศาสนทูตของพระองค์ก็ต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ และผู้สืบทอดตำแหน่งของศาสดาของพระองค์ก็จำเป็นจะต้องเป็นผู้บริสุทธิ์เท่านั้น และเมื่อศาสนทูตของพระองค์ พระองค์เป็นผู้ทรงแต่งตั้ง ดังนั้นตัวแทนของศาสนทูตของพระองค์ พระองค์ก็จะต้องเป็นผู้แต่งตั้งเช่นเดียวกัน มิใช่ปล่อยให้ใครก็ได้มาเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งศาสนทูตของพระองค์ มิใช่ปล่อยให้ใครก็ได้มาแต่งตั้งผู้สืบทอดตำแหน่งศาสนทูตของพระอง.

ใหม่!!: มุฮัมมัดและชีอะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

ช้าง

รงกระดูกช้างแอฟริกา ช้าง เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดใหญ่วงศ์ Elephantidae โดยแบ่งเป็นสองสกุล ได้แก่ Elephas และ Loxodonta ช้างในปัจจุบันเหลือ 3 สปีชีส์ คือ ช้างแอฟริกา, ช้างป่าแอฟริกา และช้างเอเชีย (หรือที่รู้จักกันในชื่อ ช้างอินเดีย) ส่วนสปีชีส์และสกุลอื่นของวงศ์ Elephantidae ล้วนสูญพันธุ์ไปหมดแล้ว บางสปีชีส์หรือสกุลสูญพันธุ์ไปตั้งแต่ยุคน้ำแข็งครั้งหลังสุด ถึงแม้ว่าช้างแมมมอธในรูปแคระอาจสืบสายพันธุ์ต่อมาจนถึง 2,000 ปีก่อนคริสตกาล ช้างและสัตว์ในวงศ์ Elephantidae อื่น ๆ เคยถูกจัดเป็นประเภทเดียวกับสัตว์หนังหนาอื่น ๆ ชื่อว่าอันดับ Pachydermata ซึ่งปัจจุบันเลิกใช้แล้ว ช้างนับเป็นสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน ใช้เวลาการตั้งครรภ์ถึง 22 เดือน ซึ่งนับว่านานที่สุดในบรรดาสัตว์บกทุกชนิด ช้างแรกเกิดมีน้ำหนักเฉลี่ย 120 กิโลกรัม มีอายุขัยอยู่ระหว่าง 50 ถึง 70 ปี แต่ช้างอายุมากที่สุดที่เคยบันทึกไว้มีอายุถึง 109 ปี ช้างขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยบันทึกไว้อาศัยอยู่ในแองโกลาในปี..

ใหม่!!: มุฮัมมัดและช้าง · ดูเพิ่มเติม »

ฟาฏิมะฮ์

ฟาฏิมะห์ อัซ ซะรออ์ หรือ ท่าหญิงฟาฏิมะหฺ บิดาคือศาสดามุฮัมมัด มารดาคือท่านหญิงคอดีญะหฺ เป็นภรรยาของอะลี บินอะบีฏอลิบ เสียชีวิตในมะดีนะหฺ ปีฮิจญ์เราะหฺศักราชที่ 10 หลังบิดาเพียง 6 เดือน ท่านหญิงฟาฏิมะหฺ เป็นสตรีที่มีความสำคัญมากที่สุดในศาสนาอิสลาม นางไม่เพียงแต่เป็นบุตรสาวของศาสนทูตแห่งอิสลาม นางยังเป็นมารดาของท่านฮะซัน และท่านฮุซัยน์ ผู้ซึ่งมีบุตรหลานเป็นอิมามในสำนักคิดชีอะฮ์และบุคคลสำคัญมากมาย ท่านหญิงฟาติมะห์ มีบุตรและธิดารวมกันแล้ว4คน ได้แก่ ท่านอิมามฮะซัน อิมามฮุซัยน์ ท่านหญิงซัยนับ และท่านหญิงอุมมุลกุลซุม ท่านนั้นเสียมารดา(ท่านหญิงคอิยะฮ์)ตั้งแต่ยังเด็ก แล้วท่านก็เป็นผู้คอยปรนนิบัตรบิดาทุกอย่าง ท่านจึงได้สมยานมว่า "มารดาของผู้เป็นบิดา" หมายความว่าท่านนั้นคอยดูแลท่านนบีมูฮัมหมัดทุกอย่าง หมวดหมู่:ชาวอาหรับ หมวดหมู่:บุคคลในศาสนาอิสลาม หมวดหมู่:ศาสนาอิสลาม หมวดหมู่:บุคคลจากมักกะฮ์.

ใหม่!!: มุฮัมมัดและฟาฏิมะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1113

ทธศักราช 1113 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: มุฮัมมัดและพ.ศ. 1113 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1162

ทธศักราช 1162 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: มุฮัมมัดและพ.ศ. 1162 · ดูเพิ่มเติม »

พระบะฮาอุลลอฮ์

ระบะฮาอุลลอฮ์ หรือ พระบาฮาอุลลาห์ (بهاء الله.; Bahá'u'lláh; 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2360 - 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2435) เป็นศาสดาของศาสนาบาไฮ ท่านประกาศตนเป็นผู้เผยพระวจนะตามคำทำนายของขบวนการบาบี พระบะฮาอุลลอฮ์สอนว่ามนุษยชาติทั้งปวงเป็นเชื้อชาติเดียวกัน และถึงเวลาแล้วที่จะรวมประชาชาติทั้งหลายให้เป็นหนึ่งเดียว ท่านอ้างว่าได้รับพระวิวรณ์จากพระเป็นเจ้า จึงถูกทางการเปอร์เซียและจักรวรรดิออตโตมันจับขังคุก ในช่วง 24 ปีสุดท้ายท่านถูกขังที่เอเคอร์ ปาเลสไตน์ จนถึงแก่กรรมขณะอายุได้ 74 ปี ช่วงที่ยังมีชีวิตอยู่ท่านประพันธ์งานวรรณกรรมไว้หลายชิ้น ที่สำคัญ คือ คีตาบีอัคดัสและคีตาบีอีคาน ซึ่งกลายเป็นคัมภีร์ของศาสนาบาไฮในปัจจุบัน.

ใหม่!!: มุฮัมมัดและพระบะฮาอุลลอฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

พระบาบ

ซิยยิด อะลีย์ มุฮัมมัด ชีรอซีย์ หรือ พระบาบ ศาสนิกชนบาไฮในไทยเรียก พระบ๊อบ (سيد علی ‌محمد شیرازی; ตุลาคม พ.ศ. 2362 – 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2393) เป็นศาสดาผู้ก่อตั้งลัทธิบาบี.

ใหม่!!: มุฮัมมัดและพระบาบ · ดูเพิ่มเติม »

พระพุทธเจ้า

ระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ พระพุทธเจ้า เป็นพระสมัญญานามที่ใช้เรียกพระบรมศาสดาของศาสนาพุทธ พระพุทธศาสนาทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายานต่างนับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นศาสดาของตนเหมือนกันแต่รายละเอียดปลีกย่อยต่างกัน ฝ่ายเถรวาทให้ความสำคัญกับพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันคือ "พระโคตมพุทธเจ้า" ซึ่งเชื่อว่าเป็นพระองค์ที่ 4 ในภัทรกัปนี้ และมีกล่าวถึงพระพุทธเจ้าในอดีตกับในอนาคตบ้างแต่ไม่ให้ความสำคัญเท่า ฝ่ายมหายานนับถือพระพุทธเจ้าของฝ่ายเถรวาททั้งหมดและเชื่อว่านอกจากพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ที่ระบุในพุทธวงศ์ของพระไตรปิฎกภาษาบาลีแล้ว ยังมีพระพุทธเจ้าอีกมากมายเพิ่มเติมขึ้นมาจากตำนานของเถรวาท ผู้ปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าต้องบำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์ก่อน เมื่อบารมีเต็มแล้วจึงจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย พระพุทธเจ้าทุกพระองค์มีลักษณะพิเศษตรงกันคือ เป็นมนุษย์เพศชายเกิดในวรรณะกษัตริย์หรือพราหมณ์ พระวรกายสมบูรณ์ด้วยมหาปุริสลักขณะ ก่อนออกผนวชจะอภิเษกสมรสมีพระโอรสพระองค์หนึ่ง หลังจากนั้นทรงพบเทวทูตทำให้ตัดสินใจออกผนวช วันออกผนวชจะตรงกับวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ ตามคัมภีร์ฝ่ายพุทธ ถือกันว่าพระโคตมพุทธเจ้าดำรงพระชนม์ชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปีก่อนคริสตกาลตามตำราไทยอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล.

ใหม่!!: มุฮัมมัดและพระพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระกฤษณะ

ลปะโจฬะที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินิวเดลี ประเทศอินเดีย วัดพระศรีมหามาริอัมมันที่ประเทศสิงคโปร์ทั้งองค์ พระกฤษณะ (कृष्णLord Krishna) เป็นเทวะองค์หนึ่งในศาสนาพราหมณ์-ศาสนาฮินดูโดยถือว่ารูปแบบอวตารของพระวิษณุ และเป็นตัวดำเนินเรื่องสำคัญในมหากาพย์เรื่อง "มหาภารตะ" มหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่ของประเทศอินเดียและยังทรงเป็นต้นกำเนิดของคัมภีร์ภควัทคีตาหนึ่งในคัมภีร์สำคัญของคัมภีร์พระเวททั้งเป็นพระเจ้าสูงสุดของนิกายฮเรกฤษณ.

ใหม่!!: มุฮัมมัดและพระกฤษณะ · ดูเพิ่มเติม »

พระแม่องค์ธรรม

อักษร 母 ''หมู่'' หมายถึง ''''พระแม่องค์ธรรม'''' พระเป็นเจ้าตามความเชื่อของลัทธิเซียนเทียนเต้าและอีก 5 ลัทธิที่แตกแขนงออกมา พระแม่องค์ธรรม (老母 เหลาหมู่)สายทอง (พงศาธรรม ๑), ศุภนิมิต ผู้แปล, กรุงเทพฯ: ส่งเสริมคุณภาพชีวิต, ม.ป.ป., หน้า 9 คือพระเป็นเจ้าตามความเชื่อของลัทธิบัวขาว รวมถึงลัทธิศาสนาต่าง ๆ ในประเทศจีนที่สืบมาจากลัทธินี้ด้วย เช่น ลัทธิเซียนเทียนเต้า ลัทธิอนุตตรธรรม ลัทธิถงซั่นเซ่อ ลัทธิฉือฮุ่ยถัง ลัทธิเทียนเต๋อเซิ่ง และลัทธิเต้าเยวี่ยน, Division of Religion and Philosophy, University of Cumbria, เรียกข้อมูลวันที่ 7 มกราคม..

ใหม่!!: มุฮัมมัดและพระแม่องค์ธรรม · ดูเพิ่มเติม »

พระโคตมพุทธเจ้า

ระโคตมพุทธเจ้า มีพระนามเดิมในภาษาบาลีว่า สิทธัตถะ โคตมะ หรือในภาษาสันสกฤตว่า สิทฺธารฺถ เคาตมะ (อ่านว่า /สิดทาด —/) (เทวนาครี: सिद्धार्थ गौतम) เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ผู้เป็นศาสดาของศาสนาพุทธ สาวกของพระองค์ไม่นิยมออกพระนามโดยตรง แต่เรียกตามพระสมัญญาว่า "ภควา" (พระผู้มีพระภาคเจ้า) คัมภีร์พุทธศาสนาทั้งนิกายเถรวาทและนิกายมหายานบันทึกตรงกันว่า พระโคตมพุทธเจ้าทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปี ก่อนคริสตกาลตามตำราไทยซึ่งอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และตรงกับ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล พระโคตมพุทธเจ้าเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายาแห่งศากยวงศ์ โคตมโคตร อันเป็นราชสกุลวงศ์ที่ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์มาช้านาน ก่อนออกผนวชทรงดำรงพระอิสสริยยศเป็นรัชทายาท เมื่อเสด็จออกผนวชและบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ทรงได้รับการถวายพระนามต่าง ๆ อาทิ พระศากยมุนี, พระพุทธโคดม, พระโคดมพุทธเจ้า ฯลฯ แต่ทรงเรียกพระองค์เองว่า ตถาคต แปลว่า พระผู้ไปแล้วอย่างนั้น คือ ทรงปฏิญาณว่า ทรงพ้นจากทุกข์ทั้งปวง สำเร็จแล้วซึ่งอรหัตผล.

ใหม่!!: มุฮัมมัดและพระโคตมพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระเยซู

ระเยซู (Jesus) หรือ เยซูชาวนาซาเร็ธ (Jesus of Nazareth; 4-2 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 30-33Sanders (1993).) เป็นชาวยิวผู้เป็นศาสดาของศาสนาคริสต์ คริสต์ศาสนิกชนเรียกพระองค์ว่า พระเยซูคริสต์ เพราะถือว่าพระองค์เป็นพระคริสต์ พระผู้ช่วยให้รอด เป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าพระบุตรซึ่งเป็นพระบุคคลหนึ่งในพระตรีเอกภาพ นอกจากนี้ในคัมภีร์ไบเบิลยังบันทึกว่าพระเยซูทรงแสดงปาฏิหาริย์ทรงรักษาคนตาบอดให้หายขาด รักษาคนพิการ โดยตรัสว่า บาปของเจ้าได้รับการให้อภัยแล้ว หลังพระเยซูสิ้นพระชนม์ ก็ได้ทรงฟื้นขึ้นจากความตายหลังสิ้นพระชนม์ได้เพียง 3 วัน และเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ ชาวมุสลิมก็ให้ความเคารพพระเยซูเช่นกัน แต่เชื่อต่างจากชาวคริสต์ โดยชาวมุสลิมเรียกพระเยซูว่านบีอีซา คัมภีร์อัลกุรอานระบุว่าพระเยซูไม่ใช่ทั้งพระเจ้าและพระบุตรของพระเจ้า แต่เป็นบ่าวคนหนึ่งของพระเจ้า และเป็นเราะซูลที่พระเจ้าส่งมาเป็นแบบอย่างทางศีลธรรมให้แก่ชาวอิสราเอลเช่นเดียวกับเราะซูลอื่น ๆ นอกจากนี้กุรอานยังอ้างว่าพระเยซูได้ทำนายถึงเราะซูลอีกท่านหนึ่งที่จะมาในอนาคตด้วยว่าชื่ออะหมัด คำว่า "เยซู" มาจากคำในภาษากรีกคือ "เยซุส" Ιησους ซึ่งมาจากการถ่ายอักษรชื่อ Yeshua ในภาษาแอราเมอิกหรือฮีบรูอีกทอดหนึ่ง คริสตชนอาหรับเรียกเยซูว่า "ยาซูอฺ" ตามภาษาซีรีแอก ส่วนชาวอาหรับมุสลิมเรียกว่า "อีซา" ตามอัลกุรอาน ความหมายคือ "ผู้ช่วยให้รอด" เป็นชื่อที่ใช้กันมากในหมู่ชาวยิวตั้งแต่สมัยโยชูวาเป็นต้นมา ภาษาละตินแผลงเป็นเยซูส ภาษาโปรตุเกสแผลงต่อเป็นเยซู ภาษาไทยทับศัพท์ภาษาโปรตุเกสมาจนทุกวันนี้ ส่วนคำว่า "คริสต์" เป็นสมญาซึ่งมาจากคำในภาษากรีกว่า "คริสตอส" Χριστός ซึ่งเป็นคำแปลของคำภาษาฮีบรู Messiah อันหมายถึง "ผู้ได้รับการเจิม" ชาวอาหรับเรียกว่า "มะซีฮฺ" ซึ่งหมายถึงการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่สูงส่ง เช่น พระมหากษัตริย์ ปุโรหิต ผู้เผยพระวจนะ เป็นต้น เมื่อราชอาณาจักรยูดาห์เสียแก่บาบิโลน ก็สิ้นกษัตริย์ที่ได้รับการเจิม ต่อจากนั้นชาวยิวก็โหยหาพระเมสสิยาห์ที่จะมาสร้างอาณาจักรใหม่ของพระเจ้า "พระคริสต์" จึงเป็นชื่อตำแหน่ง ไม่ใช่ชื่อตัวบุคคล ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านมักเรียกพระองค์ว่า "พระเยซู" และเพื่อให้แตกต่างจากคนอื่น ๆ ที่ชื่อเหมือนกัน ก็เรียกเป็น "พระเยซูชาวนาซาเรธ" หรือ "พระเยซูบุตรของโยเซฟ" แต่นักบุญเปาโลหรือเปาโลอัครทูตมักเรียกพระองค์ว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเยซูคริสต์" ที่เรียกว่า "พระคริสต์เยซู" ก็มี.

ใหม่!!: มุฮัมมัดและพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

กะอ์บะฮ์

กะอ์บะฮ์ กะอ์บะฮ์ หรือ กะอ์บะห์ เป็นคำภาษาอาหรับ แปลว่า ลูกบาศก์ กะอ์บะฮ์ตั้งอยู่ในใจกลางมัสยิดฮะรอม ในนครมักกะฮ์ เป็น กิบลัต (ชุมทิศ, จุดหมายในการผินหน้าไป) ของมุสลิมยามนมาซ และเป็นสถานที่ฏอวาฟ (เวียนรอบ) ในการประกอบพิธีอุมเราะฮ์และฮัจญ์ มีคำบันทึกบอกเล่าว่า อาคารหลังนี้ถูกสร้างขึ้นมาโดยนบีอาดัมมนุษย์คนแรกเพื่อใช้เป็นสถานที่เคารพสักการะอัลลอฮ์ในโลก แต่หลังจากนั้นก็พังทลายลงเมื่อเกิดเหตุการณ์ อุทกภัยครั้งยิ่งใหญ่ จนน้ำท่วมโลกในสมัยศาสดานูฮฺ คัมภีร์อัลกุรอาน (2:127 และ 22:26-27) ระบุว่า กะอ์บะฮ์ได้ถูกสร้างขึ้นโดยนบีอิบรอฮีมและอิสมาอีล บุตรชายของท่านตามคำบัญชาของอัลลอฮ์ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นสถานที่ในการเคารพสักการะพระองค์ หลังจากนั้นอัลลอฮ์ก็ได้บัญชานบีอิบรอฮีมให้เรียกร้องเชิญชวนผู้คนให้มาเคารพสักการะพระองค์ ณ ที่บ้านหลังนี้ นับตั้งแต่นั้นมา ผู้คนที่ศรัทธาในอัลลอฮ์ตามคำเชิญชวนของนบีอิบรอฮีมจากทั่วสารทิศก็ได้ทยอยกันเดินทางมาสักการะอัลลอฮ์ต่อเนื่องกันมาโดยมิได้ขาด เนื่องจากกะอ์บะฮ์เป็นบ้านแห่งแรกที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่สำหรับการเคารพสักการะอัลลอฮ์ ดังนั้น กะอ์บะฮ์จึงได้รับการขนามว่า บัยตุลลอฮฺ บ้านแห่งอัลลอฮ์ หลังจากนบีอิบรอฮีมและอิสมาอีลเสียชีวิต ผู้คนในแผ่นดินอารเบียได้ละทิ้งคำสอนของท่านทั้งสอง และได้นำเอาเทวรูปต่าง ๆ มาเคารพสักการะแทนอัลลอฮ์ หรือไม่ก็ตั้งเทวรูปขึ้นเป็นพระเจ้าควบคู่ไปกับอัลลอฮ์ จนกระทั่งมีเทวรูปรอบกะอ์บะฮ์เป็นจำนวนมากมายถึงสามร้อยกว่ารูป ตั้งเรียงรายทั้งในและนอกกะอ์บะฮ์ แต่หลังจากที่นบีมุฮัมมัดได้เข้ายึดนครมักกะฮ์แล้ว ท่านก็ได้สั่งให้ทำลายเทวรูปทั้งหมดที่อยู่ข้างในและรอบกะอบะฮฺ ตั้งแต่นั้นมาแผ่นดินฮะรอมก็เป็นเขตปลอดเทวรูป ไม่มีการเคารพสักการะสิ่งอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์แต่เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น ในตอนที่ท่านมุฮัมมัดยังไม่ได้เป็นศาสดา ชาวนครมักกะฮ์ได้ร่วมแรงร่วมใจพากันซ่อมแซมกะอ์บะฮ์ที่สึกหรอเนื่องจากอุทกภัย แต่เนื่องจากทุนในการบูรณะอันเป็นทรัพย์สินที่บริสุทธิ์ที่เรี่ยไรมามีไม่เพียงพอ ชาวนครมักกะฮ์จึงสามารถซ่อมแซมได้ไม่เหมือนกับอาคารดั้งเดิม ปล่อยให้ส่วนที่เรียกว่า ฮิญรุ อิสมาอีล (ห้องและที่ฝังศพของท่านนบีอิสมาอีล) ว่างอยู่ เพียงแต่เอาหินก่อขึ้นเป็นกำแพงกั้นไว้ ในเวลาต่อมาท่านนบีมุฮัมมัดได้กล่าวว่า หากมิเพราะ ยุคญาหิลียะฮฺเพิ่งผ่านไปได้ไม่นาน ฉันก็คงจะต่อเติมกะอ์บะฮ์ให้เป็นเช่นแบบเดิม ในสมัยที่อับดุลลอฮฺ อิบนุซซุเบร หลานตาคอลีฟะฮฺ อะบูบักรฺ แข็งเมืองต่อ อับดุลมะลิก บินมัรวาน คอลีฟะฮฺ (กษัตริย์) ซีเรีย ตั้งตนเป็นเจ้าเมืองปกครองเมืองมักกะฮ์ งานชิ้นหนึ่งที่ท่านทำก็คือการบูรณะต่อเติมผนังกะอ์บะฮ์ออกไปสองด้านจนถึงกำแพง ฮิจญ์รุ อิสมาอีล ให้อาคารกะอ์บะฮ์เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทว่าเมื่ออับดุลลอฮฺแพ้ศึกและถูกสังหาร พวกทหารซีเรียก็เผาและถล่มทำลายกะอ์บะฮ์ที่อับดุลลอฮฺทำไว้ แล้วให้สร้างขึ้นมาใหม่เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเหมือนเดิมอีกครั้ง กะอฺบะหที่มีอยู่ในวันนี้ เป็นอาคารที่ถูกสร้างขึ้นด้วยหินธรรมชาติ ตัวอาคารเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมมีความกว้างยาวด้านละประมาณ 40 ฟุต และสูงประมาณ 50 ฟุต ผนังทั้งสี่ไม่มีหน้าต่าง มีแต่เพียงประตูด้านเดียว ข้างในว่างเปล่า ตรงมุมด้านหนึ่งของตัวอาคารเป็นที่ตั้งของ หินดำ (อัลฮะญัร อัลอัสวัด) ซึ่งในอดีตเป็นพลอยสีดำเม็ดใหญ่ แต่ต่อมาที่ได้แตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย แต่ก็ยังตั้งอยู่ที่มุมข้างประตู ปกปิดด้วยแก้วและครอบทับด้วยเงิน ประตูของกะอ์บะฮ์ที่เปลี่ยนเมื่อเวลา 20 ปีมานี้ ทำด้วยทองคำบริสุทธิ์ มุมที่ติดตั้งพลอยสีดำนี้ใช้เป็นจุดเริ่มต้นและจุดครบรอบของการเวียนรอบกะอ์บะฮ์ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่จำเป็นอย่างหนึ่งของการประกอบพิธีอุมเราะฮฺและฮัจญ์ ตั้งแต่อดีตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน รัฐบาลผู้ปกครองมหานครมักกะฮ์จะมีหน้าที่เป็นผู้ดูแลกะอ์บะฮ์และจัดเตรียมความสะดวกให้แก่ผู้ที่มาทำฮัจญ์ สิ่งที่ต้องทำทุกปีคือการเปลี่ยนมุ้งกะอ์บะฮ์ ในซาอุดีอาระเบียจะมีโรงงานทอมุ้งนี้โดยเฉพาะ โดยจะมีช่างผู้มีฝีมือจากต่างประเทศมาทำมุ้งนี้โดยเฉพาะ มุ้งกะอ์บะฮ์นี้ทอด้วยด้ายไหมสีดำ แล้วประดับด้วยการปักดิ้นทองเป็นตัวอักษรภาษาอาหรับวิจิตรงดงาม ตัวอักษรที่เขียนคือโองการจากอัลกุรอานและพระนามของอัลลอฮ์ เมื่อถึงเทศกาลฮัจญ์จะมีการเปลี่ยนมุ้งใหม่และยกขอบมุ้งขึ้นจนจนเห็นฝาผนังทั้งสี่ด้าน เนื่องจากมุ้งนี้มีสีดำ จึงทำให้คนเข้าใจว่าหินดำคือตัวกะอ์บะฮ์ แต่ความจริงแล้วหินดำคือพลอยสีดำที่ประดิษฐานอยู่ที่มุมกะอ์บะฮ์ต่างหาก อีกอย่างกะอ์บะฮ์เป็นชุมทิศ เวลานมาซจะมีการหันไปทางกะอ์บะฮ์นี้ จึงทำให้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่ากะอ์บะฮ์คือหินดำศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวมุสลิมเคารพบูชา ซึ่งความจริงแล้ว กะอ์บะฮ์เป็นเพียงจุดศูนย์รวมและจุดศูนย์กลางในการประกอบศาสนกิจของมุสลิมทั่วโลกเท่านั้น.

ใหม่!!: มุฮัมมัดและกะอ์บะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

การมาครั้งที่สอง

การมาครั้งที่สอง ตามความเชื่อของคริสต์ศาสนิกชนและชาวมุสลิม การมาครั้งที่สอง (Second Coming) หมายถึงการที่พระเยซูจะเสด็จมาบนโลกอีกครั้งในอนาคต ความเชื่อนี้มีที่มาจากข้อความในพระวรสารในสารบบและถูกพัฒนาต่อมาตามอวสานวิทยาของศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลาม แนวคิดเรื่องการมาครั้งที่สองถือเป็นหลักความเชื่อสำคัญ จึงปรากฏรายละเอียดในหลักข้อเชื่อไนซีนว.

ใหม่!!: มุฮัมมัดและการมาครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

กาเบรียล

กาเบรียล เป็นทูตสวรรค์ในศาสนาอับราฮัม โดยชาวยิวและชาวคริสต์เรียกว่ากาเบรียล ส่วนชาวมุสลิมเรียกว่าญิบรีล (גַּבְרִיאֵל, ภาษาฮีบรูมาตรฐาน: “Gavriʼel”, Gabrielus, Γαβριήλ, ภาษาฮิบรูไทบีเรียน: “Gaḇrîʼēl”, جبريل “Jibrīl” หรือ “Jibrail”) แปลตรงตัวว่า 'พละกำลังของพระเจ้า' เชื่อว่าเป็นอัครทูตสวรรค์ผู้นำสารมาจากพระเป็นเจ้.

ใหม่!!: มุฮัมมัดและกาเบรียล · ดูเพิ่มเติม »

กุเรช

กุเรช คือชาวอาหรับเผ่าหนึ่ง เป็นบุตรหลานของ นัซรุ บินกินานะหฺ สืบเชื้อสายมาจากศาสนทูตอิสมาอีล บุตรศาสนทูตอิบรอฮีม เผ่ากุเรชนี้อาศัยอยู่ในมักกะหฺ ซึ่งศาสนทูตมุฮัมมัดก็ได้กำเนิดในเผ่านี้ กุเรชเป็นเผ่าที่มีเกียรติมากที่สุด นั่นก็เพราะว่ากุเรชเป็นผู้ดูแลกะอฺบะหฺ และอาศัยอยู่ในแผ่นดินมักกะหฺอันศักดิ์สิทธิ์ หมวดหมู่:บุคคลในศาสนาอิสลาม.

ใหม่!!: มุฮัมมัดและกุเรช · ดูเพิ่มเติม »

มักกะฮ์

มักกะฮ์ มีชื่อเต็มว่า มักกะตุลมุกัรเราะมะฮ์ (مكة المكرمة) นอกจากนี้ยังมีชื่ออื่น ๆ อีก เช่น อุมมุลกุรอ (มารดาบ้านเมือง) และบักกะฮ์ เป็นเมืองตั้งอยู่ที่พิกัด ในประเทศซาอุดีอาระเบีย ห่างจากเมืองท่าญิดดะฮ์ 73 กิโลเมตร อยู่เหนือระดับน้ำทะเล 277 เมตร ห่างจากทะเลแดง 80 กิโลเมตร มักกะฮ์เป็นพระนครชุมทิศของโลกอิสลาม เป็นสถานที่ตั้งของกะอ์บะฮ์ มักกะฮ์ หมวดหมู่:ศาสนสถานอิสลาม หมวดหมู่:เมืองศักดิ์สิทธิ์.

ใหม่!!: มุฮัมมัดและมักกะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคสามกัปสุดท้าย

วิธีประสานมือเป็นลัญจกรรูปรากบัวประจำยุคขาวยุคสามกัปสุดท้าย (三期末劫) เป็นความเชื่อทางอันตวิทยาของลัทธิบัวขาว และได้สืบทอดมาจนกลายเป็นคำสอนหลักของลัทธิอนุตตรธรรมในปัจจุบัน ความเชื่อนี้ระบุว่าในช่วงปลายกัป พระแม่องค์ธรรมได้แบ่งธรรมกาล (陽) ออกเป็น 3 ยุค คือ คือยุคเขียวของพระทีปังกรพุทธเจ้า ยุคแดงของพระศากยมุนีพุทธเจ้า ซึ่งสิ้นสุดไปแล้ว และปัจจุบันคือยุคขาวของพระเมตไตรยพุทธเจ้.

ใหม่!!: มุฮัมมัดและยุคสามกัปสุดท้าย · ดูเพิ่มเติม »

รอบีอุลเอาวัล

รอบีอุลเอาวัล (ربيع الاول) เดือนที่ 3 ในปฏิทินฮิจญ์เราะฮ์ เรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า เดือนเมาลิด เพราะเป็นเดือนที่ท่านนบีมุฮัมมัดประสูติ หมวดหมู่:ปฏิทินฮิจญ์เราะฮ์ หมวดหมู่:ศาสนาอิสลาม sv:Rabi' al-Awwal.

ใหม่!!: มุฮัมมัดและรอบีอุลเอาวัล · ดูเพิ่มเติม »

ละหมาด

ละหมาด หรือ นมาซ คือการนมัสการพระเจ้า อันเป็นศาสนกิจอย่างหนึ่งในศาสนาอิสลาม เพื่อแสดงถึงความเคารพสักการะ ความขอบคุณ และความภักดีต่ออัลลอฮ์บรรจง บินกาซัน.

ใหม่!!: มุฮัมมัดและละหมาด · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิอนุตตรธรรม

อักษร ''หมู่'' หมายถึง "พระแม่องค์ธรรม" พระเป็นเจ้าตามความเชื่อของลัทธิบัวขาว ลัทธิเซียนเทียนเต้า และลัทธิอื่น ๆ ที่แตกแขนงมาภายหลัง รวมทั้งลัทธิอนุตตรธรรม ลัทธิอนุตตรธรรม (一貫道 Yīguàn Dào อีก้วนเต้า) ในประเทศไทยเรียกว่า วิถีอนุตตรธรรม เป็นศาสนาที่หวัง เจฺว๋อี ก่อตั้งขึ้นในประเทศจีนสมัยราชวงศ์ชิงเมื่อปี..

ใหม่!!: มุฮัมมัดและลัทธิอนุตตรธรรม · ดูเพิ่มเติม »

ลู่ จงอี

ลัทธิอนุตตรธรรมเชื่อว่าพระศรีอริยเมตไตรยแบ่งภาคมาเกิดเป็น ลู่ จงอี (路中一) เพื่อสืบต่อพงศาธรรมเป็นจู่ซือรุ่นที่ 17 ในประเทศจีนและเป็นจู่ซือองค์แรกในธรรมกาลยุคขาว.

ใหม่!!: มุฮัมมัดและลู่ จงอี · ดูเพิ่มเติม »

วิวรณ์

อห์นแห่งปัทมอสกำลังเขียนหนังสือวิวรณ์ตามที่ได้รับการเปิดเผยจากพระเจ้า ภาพวาดโดยเฮียโรนิมัส บอส ในศาสนาแบบเทวนิยมและเทววิทยา วิวรณ์ (revelation) หมายถึง การที่สิ่งเหนือธรรมชาติ เช่น เทวดา พระเป็นเจ้า ได้เปิดเผยความจริงหรือความรู้สำคัญบางประการแก่มนุษย์ หลาย ๆ ศาสนาเชื่อว่า คัมภีร์ของตนมาจากการวิวรณ์ของพระเจ้าหรือสิ่งเหนือธรรมชาติ เช่น ชาวยิวเชื่อว่าพระยาห์เวห์ได้ประทานคัมภีร์โทราห์ที่ภูเขาซีนาย ชาวมุสลิมเชื่อว่าอัลลอฮ์ได้ประทานคัมภีร์อัลกุรอานแก่นบีมุฮัมมัดเป็นคำ ๆ ทีละอักษร ส่วนศาสนาฮินดูก็ถือว่าพระเวทเป็น “อเปารุเษยะ” (ไม่ใช่ฝีมือมนุษย์) แต่บรรดาฤๅษีได้สดับฟังจากพระเจ้ามาโดยตรง จึงเรียกว่า "ศรุติ" (สิ่งที่ได้ฟังมา) คริสต์ศาสนิกชนก็เชื่อว่าคัมภีร์ไบเบิลทั้งพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ถูกเขียนขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้า ในศาสนาอับราฮัม วิวรณ์จึงถือเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะเป็นการแสดงถึงเจตจำนงและพระญาณสอดส่องของพระเจ้าต่อมนุษย์ ในพันธสัญญาใหม่มีหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ "หนังสือวิวรณ์" เป็นส่วนสุดท้ายของคัมภีร์ไบเบิล กล่าวถึงวันสิ้นโลกและการพิพากษาครั้งสุดท้.

ใหม่!!: มุฮัมมัดและวิวรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาบาไฮ

อาคารของธรรมสภายุติธรรมสากลบาไฮ ที่ประเทศอิสราเอล ศาสนาบาไฮราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 316 หรือลัทธิบาไฮ (الدّين البهائي; Bahá'í Faith) เป็นศาสนาเอกเทวนิยมที่แยกตัวออกมาจากลัทธิบาบีในปี ค.ศ. 1863 ถือกำเนิดในจักรวรรดิเปอร์เซีย (ปัจจุบันอยู่ในอาณาเขตของประเทศอิหร่าน) ศาสดาคือพระบะฮาอุลลอฮ์ (พ.ศ 2360-2435) ศูนย์กลางบาไฮโลกอยู่ที่เมืองไฮฟา มีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด 2 แห่ง คือ พระสถูปของพระบะฮาอุลลอฮ์อยู่ที่เมืองอัคคา และพระสถูปของพระบาบอยู่ที่เมืองไฮฟา ประเทศอิสราเอล ปัจจุบันเป็นศาสนาที่เผยแผ่ได้กว้างขวางเป็นอันดับสองของโลก โดยมีศาสนิกชนกว่า 5 ล้านคนทั่วโลก บาไฮศาสนิกชนมาจากภูมิหลังที่แตกต่างกัน และอาศัยอยู่ในแทบทุกประเทศทั่วโลก.

ใหม่!!: มุฮัมมัดและศาสนาบาไฮ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาอิสลาม

นาอิสลาม (Islam) เป็นศาสนาเอกเทวนิยมและศาสนาอับราฮัม บัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามซึ่งสาวกถือว่าเป็นพระวจนะคำต่อคำของพระเป็นเจ้า (อัลลอฮฺ) และสำหรับสาวกส่วนใหญ่ เป็นคำสอนและตัวอย่างเชิงบรรทัดฐาน (เรียกว่า สุนัต และประกอบด้วยหะดีษ) ของมุฮัมมัด (ประมาณ 570–8 มิถุนายน 632)เป็นศาสดา (นบี) องค์สุดท้ายของพระเป็นเจ้า สาวกของศาสนาอิสลาม เรียกว่า มุสลิม มุสลิมเชื่อว่า พระเจ้าเป็นหนึ่งและหาที่เปรียบไม่ได้ และจุดประสงค์ของการดำรงอยู่ คือ เพื่อรักและรับใช้พระเป็นเจ้า มุสลิมยังเชื่อว่า ศาสนาอิสลามเป็นบรรพศรัทธาฉบับสมบูรณ์และเป็นสากลที่สุดซึ่งได้ประจักษ์มาหลายครั้งก่อนหน้านั้น ผ่านศาสดาซึ่งรวมอาดัม โนอาห์ อับราฮัม โมเสส และพระเยซู พวกเขายึดมั่นว่า สารและวิวรณ์ถูกแปลผิดหรือเปลี่ยนแปลงบางส่วนตามกาลดู.

ใหม่!!: มุฮัมมัดและศาสนาอิสลาม · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

ใหม่!!: มุฮัมมัดและศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

หะดีษ

ีษ บ้างก็สะกด หะดีษ, หาดีษ, ฮาดีษ (الحديث /อัลฮะดีษ/) แปลว่าคำพูด หรือใหม่ ตามทัศนะซุนนีย์หมายถึงคำพูด การกระทำ และการยอมรับของนบีมุฮัมมัด ตามทัศนะชีอะฮ์ยังรวมถึงถึงคำพูด การกระทำ และการยอมรับของบรรดามะอฺศูมอีกด้วย ฮะดีษต่าง ๆ ได้มีการรวบรวมเป็นเล่ม เรียกในภาษาไทยว่า พระวจนานุกรม มีการแบ่งเป็นอนุกรมและหมวดหมู่ สะดวกแก่การค้นห.

ใหม่!!: มุฮัมมัดและหะดีษ · ดูเพิ่มเติม »

หินดำ

หินดำ (الحجر الأسود; อัลฮะญัร อัลอัสวัด) คือหินสีดำที่ประดิษฐานอยู่ที่มุมหนึ่งของกะอฺบะหฺ มีทรงกลมรี มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 50 ซม.

ใหม่!!: มุฮัมมัดและหินดำ · ดูเพิ่มเติม »

อะบูฏอลิบ

อะบูฏอลิบ บิน อับดิลมุฏฏอลิบ เป็นพี่ชายของ อับดุลลอหฺ บิดาของศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เป็นศาสดาของอิสลาม และเป็นบิดาของ อะลีย์ ผู้เป็นอิมามคนแรกของอิสลามชีอะหฺ และคอลีฟะหฺคนที่ 4 ของอิสลามซุนนี อะบูฏอลิบ รับศาสนทูตมุฮัมมัด มาเลี้ยงตั้งแต่อายุ 8 ขวบ อะบูฏอลิบ มีภรรยาชื่อ ฟาฏิมะหฺ บินตุ อะสัด มีบุตรธิดา 6 คนคือ 1.

ใหม่!!: มุฮัมมัดและอะบูฏอลิบ · ดูเพิ่มเติม »

อับราฮัม

ทูตสวรรค์ยับยั้งอับราฮัม ขณะกำลังจะถวายอิสอัคแด่พระยาห์เวห์ อับราฮัม(ศัพท์ศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์) หรือ อิบรอฮีม (ศัพท์ศาสนาอิสลาม) (Abraham; אברהם; إبراهيم) เป็นบุคคลสำคัญในกลุ่มศาสนาอับราฮัม เรื่องราวของท่านถูกบันทึกไว้ในหนังสือปฐมกาล บทที่ 11 ถึง บทที่ 25 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์ฮีบรูของศาสนายูดาห์ และคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลามก็ถืออับราฮัมเป็นเราะซูลของอัลลอฮ์ด้วย อับราฮัม เดิมชื่อ "อับราม" เป็นบุตรของ เทราห์ สืบเชื้อสายมาจาก เชม บุตรของโนอาห.

ใหม่!!: มุฮัมมัดและอับราฮัม · ดูเพิ่มเติม »

อัลกุรอาน

อัลกุรอาน บ้างเรียก โกหร่าน (الْقُرآن) เป็นคัมภีร์ในศาสนาอิสลาม ชาวมุสลิมเชื่อว่าเป็นพระวจนะของอัลลอฮ์ที่ประทานผ่านทางเทวทูตญิบรีล มาสู่นบีมุฮัมมัด คำว่า กุรอาน มาจากรากศัพท์ในภาษาอาหรับแปลว่า การอ่าน หรือ อาขยาน อัลลอฮ์ได้ประทานคัมภีร์อัลกรุอานแก่นบีมุฮัมมัดซึ่งชาวมุสลิมถือว่าเป็นศาสนทูตคนสุดท้าย และคัมภีร์นี้ก็เป็นคัมภีร์สุดท้ายที่อัลลอฮ์ได้ส่งมาให้แก่มวลมนุษยชาติ หลังจากนี้แล้วจะไม่มีคัมภีร์ใด ๆ จากพระเป็นเจ้าอีก คัมภีร์กรุอานนี้ได้ประทานมาเพื่อยกเลิกคัมภีร์เก่า ๆ ที่เคยได้ทรงประทานมาในอดีตนั่นคือคัมภีร์เตารอต ที่เคยทรงประทานมาแก่นบีมูซา คัมภีร์ซะบูร ที่เคยทรงประทานมาแก่นบีดาวูด (ดาวิด) และคัมภีร์อินญีลที่เคยทรงประทานมาแก่นบีอีซา (พระเยซู) เป็นคัมภีร์ที่บริบูรณ์ไม่มีการเพี้ยนเปลี่ยนแปลง ภาษาของคัมภีร์อัลกุรอานนั้นคือภาษาอาหรับ ที่ยังใช้อยู่ในปัจจุบัน การศรัทธาในคัมภีร์อัลกุรอานทั้งเล่มเป็นหลักการหนึ่งที่มุสลิมทุกคนต้องศรัทธา นั่นก็หมายความว่าหากไม่ศรัทธาในอัลกุรอาน หรือศรัทธาเพียงบางส่วนก็จะเป็นมุสลิมไม่ได้ เช่นเดียวกับที่ต้องศรัทธาว่าคัมภีร์อัลกุรอานนี้มีความบริบูรณ์ภายใต้การพิทักษ์ของพระผู้เป็นเจ้า ด้วยเหตุนี้จึง ตั้งแต่วันที่ท่านศาสดาเสียชีวิตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน โดยมีความเหมือนกันในทุกฉบับบนโลก และภาษาอาหรับในคัมภีร์จึงเป็นภาษาโบราณภาษาเดียว ที่มีใช้อย่างคงเดิมอยู่จนกระทั่งวันนี้ได้ และได้กลายเป็นภาษามาตรฐานของประเทศอาหรับทั้งหลาย เป็นภาษาวิชาการของอิสลาม และเป็นภาษาที่ใช้ในการปฏิบัติศาสนพิธีของมุสลิมทุกคนทั่วโลก.

ใหม่!!: มุฮัมมัดและอัลกุรอาน · ดูเพิ่มเติม »

อัลมะดีนะฮ์

อัลมะดีนะตุลมุเนาวะเราะฮ์ (المدينة المنورة) บ่อยครั้งเรียกว่า อัลมะดีนะฮ์ หรือเรียกว่า เมดีนา (Medina) เป็นนครที่สำคัญทางศาสนาอิสลามอันดับที่สองรองจากมักกะฮ์ ตั้งอยู่ในประเทศซาอุดีอาระเบีย เป็นนครของศาสนทูตมุฮัมมัด ซึ่งศพของท่านฝังอยู่ในมัสยิดนะบะวีหรือมัสยิดศาสนทูต มะดีนะฮ์ หมวดหมู่:เมืองศักดิ์สิทธิ์ หมวดหมู่:ศาสนสถานอิสลาม hu:Medina.

ใหม่!!: มุฮัมมัดและอัลมะดีนะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

อัลลอฮ์

นาอิสลามเรียกพระเป็นเจ้าว่า อัลลอฮ์ บ้างก็สะกดว่า อัลลอฮฺ, อัลลอหฺ หรือ อัลเลาะห์ ตรงกับภาษาอังกฤษ "God" เชื่อว่าทรงเป็นพระผู้สร้างมนุษย์ สิ่งมีชีวิต สิ่งไม่มีชีวิต และทุกสรรพสิ่งในจักรวาล พระองค์ทรงมีโดยไร้จุดเริ่มต้น และทรงมีอยู่นิรันดร์โดยไม่มีจุดจบ พระองค์แตกต่างกับทุกสรรพสิ่งอย่างสิ้นเชิง ทรงดำรงด้วยพระองค์เอง มิต้องทรงพึ่งพาสิ่งใด พระองค์เป็นพระผู้เป็นเจ้าเอกองค์เดียว ไม่มีพระผู้เป็นเจ้าอื่นใดอีกนอกเหนือจากพระองค์ ตามความเชื่อของอิสลาม อัลลอฮ์ทรงมีความสามารถในการบันดาลทุกสรรพสิ่ง ทรงรอบรู้โดยไม่จำกัดขอบเขต อัลลอฮ์เป็นพระปฐมนามแห่งพระองค์ พระองค์มีพระนามอันวิจิตรอื่น ๆ อีกมากถึง 99 พระนาม ซึ่งบ่าวของพระองค์สามารถใช้นามเหล่านั้นเรียกพระองค์ได้ พระองค์ทรงบริสุทธิ์ ไม่มีบุตร ไร้ภาคี ทรงอยู่นอกเหนือกาละและเทศะ เพราะทั้งสองสิ่งนั้น เป็นสิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง พระองค์ทรงกำหนดระบบและปัจจัยของทุกสรรพสิ่ง อีกทั้งยังได้กำหนดจุดเริ่มต้นและจุดจบของสรรพสิ่งที่พระองค์สร้างทั้งมวล อัลลอฮ์ คืออัตมันที่ทรงสิทธิในการได้รับการเคารพบูชาอย่างแท้จริง ไม่มีสิ่งใดอย่างเด็ดขาดที่ควรแก่การเคารพบูชานอกเหนือจากพระองค์ ชาวมุสลิมถือว่าอัลลอฮ์คือพระยาห์เวห์ในศาสนาคริสต์และศาสนายูดาห.

ใหม่!!: มุฮัมมัดและอัลลอฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรอักซุม

ักรวรรดิอัคซูไมท์ (Aksumite Empire หรือ Axumite Empire) เป็นจักรวรรดิสำคัญทางการค้าขายที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของแอฟริกาที่เริ่มก่อตัวมาตั้งแต่ราวศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราชและมารุ่งเรืองเอาเมื่อคริสต์ศักราชที่ 1 เมืองหลวงเก่าก่อตั้งทางตอนเหนือของเอธิโอเปีย อาณาจักรใช้คำว่า “เอธิโอเปีย” มาตั้งแต่คริสต์ศักราชที่ 4Stuart Munro-Hay, Aksum: An African Civilization of Late Antiquity.

ใหม่!!: มุฮัมมัดและอาณาจักรอักซุม · ดูเพิ่มเติม »

อิชมาเอล

อิชมาเอล (ศัพท์ศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์) หรือ อิสมาอีล (ศัพท์ศาสนาอิสลาม) (Ishmael; إسماعيل /อิสมาอีล/; יִשְׁמָעֵאל /ยิชมาเอล/) เป็นบุคคลสำคัญในศาสนาอับราฮัม และเป็นเราะซูลของอัลลอฮ์ตามคติของศาสนาอิสลาม อิชมาเอลเป็นบุตรของอับราฮัม (อิบรอฮีม) และนางฮาการ์ (ฮาญัร).

ใหม่!!: มุฮัมมัดและอิชมาเอล · ดูเพิ่มเติม »

อุปราช

หลุยส์ เมานต์แบ็ทแตน อุปราชแห่งอินเดียคนสุดท้าย อุปราช หรือ "ไวซรอย" (Viceroy) เป็นตำแหน่งที่แต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์เพื่อให้ปกครองเขต แว่นแคว้น หรืออาณาจักร เป็นผู้สำเร็จราชการในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ มาจากภาษาละติน "vice-" แปลว่า ผู้แทน กับภาษาฝรั่งเศส "roi" แปลว่าพระมหากษัตริย์ หากอุปราชเป็นสตรี จะเรียกว่า "ไวซแรน" ซึ่งใช้เรียกพระชายาของอุปราชด้วย ในยุโรป โดยเฉพาะก่อนช่วงศตวรรษที่ 18 พระมหากษัตริย์สเปนได้แต่งตั้งอุปราชประจำแคว้นอารากอง บาเลนเซีย คาตาโลเนีย นาวารร์ ซาร์ดีเนีย ซิซิลี เนเปิลส์ และโปรตุเกส (ช่วงปี ค.ศ. 1580-1640) โดยภายหลังการเถลิงอำนาจของราชวงศ์บูร์บงของสเปน เขตการปกครองของอุปราช ได้ถูกเปลี่ยนไปอยู่ในรูปของ Captaincies General แทน ต่อมาในภายหลังสงครามสืบราชบัลลังก์สเปน แคว้นเหล่านี้ที่อยู่ในอิตาลีได้แยกตัวเองเป็นอิสระ โดยยังใช้ระบบอุปราชเพื่อปกครองอยู่ เช่นแคว้นซาร์ดีเนียยังมีตำแหน่งอุปราชอยู่จนถึงปี..1848 ตำแหน่งอุปราชในไทยเรียกว่ากรมพระราชวังบวรสถานมงคล.

ใหม่!!: มุฮัมมัดและอุปราช · ดูเพิ่มเติม »

อีซา

อีซา อิบนุ มัรยัม (t "อีซาบุตรนางมัรยัม") คือบุคคลเดียวกันกับ พระเยซู ศาสดาของศาสนาคริสต์ แต่ในคติของศาสนาอิสลาม ถือเป็นเพียง ศาสนทูตท่านหนึ่งของอัลลอ.

ใหม่!!: มุฮัมมัดและอีซา · ดูเพิ่มเติม »

ฮุซัยน์ อิบน์ อะลี

ซัยน์ อิบน์ อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ (حسين بن علي بن أﺑﻲ طالب‎; Hussein ibn ‘Alī ibn Abī Ṭālib) เกิดปี..

ใหม่!!: มุฮัมมัดและฮุซัยน์ อิบน์ อะลี · ดูเพิ่มเติม »

ผู้เผยพระวจนะ

''อิสยาห์ผู้เผยพระวจนะ'' วาดโดยเบนจามิน เวสต์ (1782, Bob Jones University Museum and Gallery). ผู้เผยพระวจนะ (ศัพท์โปรเตสแตนต์) ประกาศก (ศัพท์คาทอลิก) หรือ ศาสดาพยากรณ์ (prophet; προφήτης,: จากคำนิบาต προ- pro- แปลว่า เบื้องหน้า และ φημί แปลว่า พูด, กล่าวออกไป) หมายถึง ผู้ที่พระเป็นเจ้าทรงเจิมตั้งไว้เพื่อการรับพระดำรัสของพระองค์มาถ่ายทอดสู่มวลมนุษย์ เป็นผู้ที่ทำนายอนาคต ผู้บอกเล่าอนาคต หรือประกาศคำสั่งสอนของพระเป็นเจ้า ปรากฏในความเชื่อของศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม ภาคผนวกจากพระคริสตธรรมคัมภีร์ฉบับอมตธรรมร่วมสมัยได้อธิบายคำว่า “ผู้เผยพระวจนะ” ไว้ว่า “กระบอกเสียงของพระเจ้า คนที่ได้รับข่าวสารหรือพระดำรัสของพระเจ้าและประกาศให้แก่กลุ่มคนที่เจาะจง”.

ใหม่!!: มุฮัมมัดและผู้เผยพระวจนะ · ดูเพิ่มเติม »

ผี

ตรีสีน้ำตาลแห่งไรน์แฮมฮอลล์ ถ่ายโดยกัปตัน ฮูเบิร์ต ซี.โปรแวนด์ ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสารคันทรี่ไลฟ์ ค.ศ. 1936 ตามความเชื่อและบันเทิงคดีแต่โบราณ ผี (ghost) เป็นวิญญาณ (soul) หรือสปิริต (spirit) ของคนหรือสัตว์ที่ตาย ซึ่งสามารถปรากฏให้คนเป็นเห็นได้ ไม่ว่าจะในรูปที่มองเห็นได้หรือสำแดงออกมาในรูปอื่น รายละเอียดการปรากฏตัวของผีมีหลากหลายมากตั้งแต่การแสดงตนแบบมองไม่เห็น ปรากฏเป็นรูปร่างบอบบางที่โปร่งแสงหรือแทบมองไม่เห็น ไปจนถึงการเห็นภาพสมจริงดุจมีชีวิต ความเชื่อในการแสดงตนของวิญญาณผู้ตายนั้นมีแพร่หลาย ย้อนไปตั้งแต่วิญญาณนิยมหรือการบูชาบรรพบุรุษในวัฒนธรรมก่อนรู้หนังสือ หลักในบางศาสนา เช่น พิธีกรรมงานศพ พิธีไล่ผี หลักเจตนิยมบางประการและเวทมนตร์ ได้รับการออกแบบมาเพื่อปลอบวิญญาณของผู้ตายให้สงบโดยเฉพาะ ผีมักได้รับการอธิบายว่า เป็นสิ่งที่อยู่โดดเดี่ยวซึ่งสิงสู่ในสถานที่ วัตถุหรือบุคคลหนึ่ง ๆ ที่ผีผูกพันยามมีชีวิตอยู.

ใหม่!!: มุฮัมมัดและผี · ดูเพิ่มเติม »

ซัมซัม

ซัมซัม (زمزم, Zamzam) เป็นชื่อน้ำแร่จากบ่อน้ำที่อยู่ทางทิศตะวันออกของกะอฺบะหฺราว 20 เมตร ตั้งอยู่ ณ ใจกลางอัลมัสญิด อัลฮะรอม ในมักกะหฺ มีมาก่อนนบีมุฮัมมัด ชาวมุสลิมถือว่าเป็นน้ำศักดิ์สิท.

ใหม่!!: มุฮัมมัดและซัมซัม · ดูเพิ่มเติม »

ซาราธุสตรา

โรงเรียนแห่งเอเธนส์'' โดย ราฟาเอล แสดงภาพของโซโรอัสเตอร์ที่สวมชุดสีขาวถือดาวอยู่ในมือ ซาราธุสตรา หรือ โซโรอัสเตอร์ คือพระศาสดาแห่งศาสนาโซโรอัสเตอร์ มีบุตร 6 คน เป็นชาย 3 หญิง 3 เกิดแต่ภรรยา 3 คน สิ้นชีพเมื่ออายุ 77 ปี จากการลอบสังหารในขณะที่ทำพิธีกรรม หมวดหมู่:ศาสนาโซโรอัสเตอร์ หมวดหมู่:ชาวอิหร่าน หมวดหมู่:ศาสดา หมวดหมู่:บุคคลในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: มุฮัมมัดและซาราธุสตรา · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิทินฮิจเราะห์

ปฏิทินฮิจเราะห์ หรือ ปฏิทินอิสลาม หรือ ปฏิทินมุสลิม (อังกฤษ: Islamic calendar) เป็นระบบปฏิทินจันทรคติ ซึ่งประกอบด้วย 12 เดือนทางจันทรคติ ซึ่งในหนึ่งปีจะมี 354 หรือ 355 วัน ใช้กำหนดวันเหตุการณ์ในหลายประเทศมุสลิม (ควบคู่ไปกับปฏิทินเกรโกเรียน) และใช้โดยมุสลิมทั่วโลกเพื่อกำหนดวันที่เหมาะสมในการเฉลิมฉลองวันสำคัญและเทศกาลในศาสนาอิสลาม ปฏิทินฮิจเราะห์เริ่มนับเมื่อศาสดาแห่งอิสลาม นบีมุฮัมมัดอพยพจากมักกะฮ์ไปยังมะดีนะฮ์ หรือที่รู้จักกันว่า hijra, hijrah ในภาษาอังกฤษ ฮิจเราะห์ศักราชจะถูกระบุโดยใช้ตัวย่อ H หรือ AH อันเป็นตัวย่อของวลีภาษาละติน anno Hegirae (ในปีแห่งฮิจเราะห์) ปัจจุบันอยู่ในฮิจเราะห์ศักราช เนื่องจากปฏิทินฮิจเราะห์เป็นปฏิทินจันทรคติ จึงไม่เกิดขึ้นพร้อมกับฤดูกาล โดยในแต่ละปีมีวันคาดเคลื่อนไปจากปฏิทินเกรโกเรียนอยู่ 11 หรือ 12 วัน ทำให้ฤดูกาลจะกลับมาซ้ำเดิมทุก 33 ปีอิสลาม.

ใหม่!!: มุฮัมมัดและปฏิทินฮิจเราะห์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิหร่าน

อิหร่าน (ایران, อีรอน) หรือ เปอร์เซีย มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (جمهوری اسلامی ايران) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตก มีเขตแดนติดกับประเทศอาร์มีเนีย สาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคโดยพฤตินัย และอาเซอร์ไบจานทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดประเทศคาซัคสถานและรัสเซียโดยมีทะเลแคสเปียนคั่น ติดประเทศเติร์กเมนิสถานทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดประเทศอัฟกานิสถานและปากีสถานทางทิศตะวันออก ติดอ่าวเปอร์เซียและอ่าวโอมานทางทิศใต้ และติดประเทศตุรกีและอิรักทางทิศตะวันตก มีพื้นที่ดินแดน 1,648,195 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศใหญ่ที่สุดอันดับที่สองในตะวันออกกลางและอันดับที่ 18 ในโลก มีประชากร 78.4 ล้านคน มากที่สุดเป็นอันดับที่ 17 ของโลก เป็นประเทศเดียวที่มีชายฝั่งทะเลแคสเปียนและมหาสมุทรอินเดีย ประเทศอิหร่านมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์มาช้านานเนื่องจากที่ตั้งอยู่ในกลางยูเรเชียและเอเชียตะวันตก และอยู่ใกล้กับช่องแคบฮอร์มุซ อิหร่านเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมหลากหลายที่มีกลุ่มชาติพันธุ์และภาษาต่างๆมากมาย เปอร์เซียที่ใหญ่ที่สุด (61%) อาเซอร์ไบจาน (16%), Kurds (10%) และ Lorestan (6%) ประเทศอิหร่านเป็นที่ตั้งของอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เริ่มต้นด้วยการตั้งราชอาณาจักรก่อนเอลามและเอลามใน 3200–2800 ปีก่อน..

ใหม่!!: มุฮัมมัดและประเทศอิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

ปีช้าง

ปีช้าง คือปีที่กองทัพช้างที่นำโดย อับรอหะหฺ อัลอัชรอม อุปราชแห่งฮะบะชะหฺ (อบิสสิเนีย หรือเอธิโอเปียปัจจุบัน) หมายโจมตีมักกะหฺ อับรอหะหฺนับถือศาสนาคริสต์ พวกเขาได้สร้างโบสถ์คริสเตียนที่ใหญ่โตในเมืองศอนอาอฺ (ซานา) ในยะมัน (เยเมน) เพื่อให้เป็นที่แสวงบุญของชาวคริสเตียนในอาระเบียและแอฟริกา และเพื่อให้เป็นศูนย์กลางการค้าขายแห่งใหม่ในภูมิภาค เมื่อพวกเขาเห็นว่า กะอฺบะหฺในมักกะหฺเป็นอุปสรรคต่อการเผยแพร่ศาสนาคริสเตียนและการดึงดูดผู้คนไปศอนอาอฺ ก็คิดทำลายกะอฺบะหฺ ด้วยเหตุนี้จึงกรีฑาทัพช้างมุ่งหน้าสู่พระมหานครมักกะหฺ ในปี ค.ศ. 570 ซึ่งเป็นปีเดียวกันที่นบีมุฮัมมัด(ศ)ประสูติ เมื่อมาถึงชานเมืองมักกะหฺ กองทัพของอับรอหะหฺก็ปล้นฝูงอูฐของอับดุลมุฏฏอลิบ ปู่ของนบีมุฮัมมัด ไป 700 ตัว แล้วส่งทูตเข้ามาพบกับอับดุลมุฏฏอลิบ ผู้เป็นหัวหน้าชาวเมืองมักกะหฺ เพื่อบอกจุดประสงค์ของการยกทัพมาครั้งนี้ว่า มาเพื่อถล่มทำลายกะอฺบะหฺ อับดุลมุฏฏอลิบจึงขอเจรจากับอับรอหะหฺเป็นการส่วนตัว เมื่ออับดุลมุฏฏอลิบเข้าพบอับรอหะหฺ เขาก็ขอร้องให้อับรอหะหฺคืนอูฐที่ทหารปล้นไป อับรอหะหฺจึงแปลกใจเหตุใดจึงไม่ได้ขอร้องเรื่องกะอฺบะหฺ อับดุลมุฏฏอลิบกล่าวว่า "อูฐเป็นของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจึงมาทวง ทว่ากะอฺบะหฺเป็นของอัลลอหฺ จึงเป็นหน้าที่ของพระองค์ที่จะพิทักษ์ หรือจะปล่อยให้ชะตาของมันอยู่ในมือของท่าน" อับรอหะหฺรู้สึกแปลกใจในคำตอบนั้น จึงคืนอูฐทั้งหมดให้อับดุลมุฏฏอลิบ เมื่ออับดุลมุฏฏอลิบกลับไป ก็ป่าวประกาศให้ชาวมักกะหฺหลบหนีออกจากพระมหานคร ไปซ่อนตัวตามภูเขาต่าง ๆ เพื่อไม่ให้ไพร่พลของอับรอหะหฺทำร้าย เมื่อทัพอับรอหะหฺเข้ามาถึงมักกะหฺ ก็ปรากฏมีฝูงนกบินว่อนเหนือพระมหานครจนมืดฟ้ามัวดิน แล้วนกแต่ละตัวก็ทิ้งก้อนหินลงมา จนทำให้ไพร่พลของอับรอหะหฺล้มตายเป็นอันมาก อับร่อฮะหฺเองจึงหนีกลับไปศอนอาอ์ แต่ก็มีนกตัวหนึ่งบินตามเขาไปตลอดทาง เมื่ออับรอหะหฺเข้าพบกษัตริย์แห่งฮะบะชะหฺก็เล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟัง กษัตริย์ถามว่า นกอะไรหรือที่ทำปาฏิหาริย์เช่นนั้น อับรอหะหฺจึงเงยหน้าขึ้นชี้นกที่ติดตามเขามาตลอดทาง นกตัวนั้นก็ทิ้งก้อนหินตกลงมาบนศีรษะของเขา อับรอหะหฺก็สิ้นชีพในบัดดล ไม่ใช่ปกติวิสัยที่ชาวอาหรับจะได้เห็นช้างหรือกองทัพช้าง จึงเรียกกองทัพของอับรอหะหฺว่า ”อัศฮาบ อัลฟีล” (บรรดาเจ้าของช้าง) และจดจำเหตุการณ์ปีนั้นได้อย่างแม่นยำ และเรียกปีนั้นว่า ”อาม อัลฟีล” (ปีช้าง) ตั้งแต่นั้นมามีการนับศักราชโดยเริ่มจากปีช้าง เช่นมุฮัมมัดเกิดในปีช้าง เป็นต้น อัลกุรอานได้กล่าวถึงเรื่องกองทัพช้างในซูเราะหฺที่ 105 เหตุการณ์กองทัพช้างยังอยู่ในความทรงจำของชาวมักกะหฺตลอดมา เมื่อโองการนี้ประทานลงมา ชาวมักกะหฺจึงรำลึกถึงปาฏิหาริย์ ที่เคยปรากฏในอดีตเมื่อสี่สิบกว่าปีที่แล้ว และไม่สามารถปฏิเสธต่อการอารักขาของอัลลอหฺต่อกะอฺบะหฺอันศักดิ์สิทธิ์นั้น เหตุการณ์ดังกล่าวยังชี้ให้เห็นถึงความศรัทธามั่นของอับดุลมุฏฏอลิบที่มีต่ออัลลอหฺ อันเป็นหลักฐานหนึ่งที่บ่งบอกว่า อับดุลมุฏฏอลิบ บิดาของอับดุลลอหฺ ผู้ซึ่งเป็นบิดาของมุฮัมมัด และบิดาของ อะบูฏอลิบ ผู้ซึ่งเป็นบิดาของอะลีย์ เป็นผู้ที่ยึดมั่นในศาสนาของอิบรอฮีมและอิสมาอีล เขาได้กล่าวในบทกวีว่า หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์ศาสนาอิสลาม.

ใหม่!!: มุฮัมมัดและปีช้าง · ดูเพิ่มเติม »

นบี

นบี (نبي) หมายถึง ศาสดาในศาสนาอิสลาม คำว่า นบี มาจากคำว่า นับบะอะ หรือ อัมบะอะ แปลว่า แจ้งข่าว ใช้หมายถึงการนำวจนะของพระเจ้ามาประกาศแก่มวลมนุษย์ คำว่านบีในศาสนาอิสลามจึงหมายถึงผู้เผยพระวจนะในศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต.

ใหม่!!: มุฮัมมัดและนบี · ดูเพิ่มเติม »

โมเสส

มเสสกับแผ่นจารึก, พ.ศ. 2202 (1659), โดยแร็มบรันต์ โมเสสเมื่อลงมาหลังจากเข้าเฝ้าพระเจ้าที่ภูเขาซีนาย, พ.ศ. 2181 (1638), โดย ไรเบรา เดอ โจเซ รูปปั้นของโมเสส โดยมีเกลันเจโล โมเสส (ศัพท์ศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์) หรือ มูซา (ศัพท์ศาสนาอิสลาม) (Moses; מֹשֶׁה; موسى มูซา) เป็นผู้บัญญัติกฎและผู้เผยพระวจนะแก่วงศ์วานอิสราเอล ซึ่งเป็นที่มาของคัมภีร์โทราห์ในศาสนายูดาห์ หรือคัมภีร์เบญจบรรณในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต์ อีกทั้งยังเป็นเราะซูลของอัลลอฮ์ตามคติของศาสนาอิสลาม และเป็นศาสดาตามคติของศาสน.

ใหม่!!: มุฮัมมัดและโมเสส · ดูเพิ่มเติม »

เทวรูป

ทวรูปพระพรหม ที่พิพิธภัณฑ์กีเมต์ จากจังหวัดพระตะบอง ประเทศกัมพูชา เทวรูป (Cult image) เป็นประติมากรรมลอยตัว สร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของเทพเจ้า (ถ้าสร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของสิ่งที่เคารพนับถือที่ไม่ใช่เทพเจ้าเรียกว่า "รูปเคารพ") เทวรูปนั้นได้มีการนำมาใช้เพื่อกิจกรรมหรือพิธีกรรมทางศาสนา และการสักการบูชาเคารพ มีการสักการบูชาที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น การถวายข้าวตอกดอกไม้ การไหว้ หรือมีพิธีกระบวนแห่ต่างๆ เป็นต้น.

ใหม่!!: มุฮัมมัดและเทวรูป · ดูเพิ่มเติม »

เคาะดีญะฮ์ บินต์ คุวัยลิด

อดีญะห์ คอดีญะหฺ หรือ คอดีญะห์ (ค.ศ. 555-623) เป็นภรรยาศาสนทูตมุฮัมมัด เป็นบุตรีของคุวัยลิด บินอะสัด แห่งเผ่ากุเร.

ใหม่!!: มุฮัมมัดและเคาะดีญะฮ์ บินต์ คุวัยลิด · ดูเพิ่มเติม »

เตี่ยนฉวนซือ

ตี่ยนฉวนซือ (點傳師) บางตำราแปลว่าอาจารย์ถ่ายทอดเบิกธรรม เป็นตำแหน่งอาจารย์อาวุโสในลัทธิอนุตตรธรรม.

ใหม่!!: มุฮัมมัดและเตี่ยนฉวนซือ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Mohammadมุหัมมัดมุฮัมหมัดมูฮัมหมัดนบี มูฮัมหมัดนบีมุฮัมมัดนบีมูฮัมมัด

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »