โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มัสยิด

ดัชนี มัสยิด

มืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น มัสยิด (مسجد มัสญิด) หรือ สุเหร่า (Surau) เป็นศาสนสถานของชาวมุสลิม คำว่า มัสญิด เป็นคำภาษาอาหรับแปลว่า สถานที่กราบ ชาวมุสลิมในแต่ละชุมชนจะสร้างมัสยิดขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา อันได้แก่การนมาซ และการวิงวอน การปลีกตนเพื่อบำเพ็ญตบะ หาความสันโดษ (อิอฺติกาฟ และ คอลวะหฺ) นอกจากนี้มัสยิดยังเป็นโรงเรียนสอนอัลกุรอาน และศาสนา สถานที่ชุมนุมพบปะ ประชุม เฉลิมฉลอง ทำบุญเลี้ยง สถานที่ทำพิธีสมรส และสถานที่พักพิงของผู้สัญจรผู้ไร้ที่พำนัก โดยที่จะต้องรักษามารยาทของมัสยิด เช่นการไม่คละเคล้าระหว่างเพศชายและหญิง การกระทำที่ขัดกับบทบัญญัติห้ามของอิสลาม (ฮะรอม) ทั้งมวล.

21 ความสัมพันธ์: ชีอะฮ์พ.ศ. 2551กะอ์บะฮ์กุฎีเจริญพาศน์ภาษามลายูภาษาอาหรับภาษาอูรดูภาษาเปอร์เซียมักกะฮ์มัสยิดบางหลวงมัสยิดกรือเซะมัสยิดต้นสนมุสลิมอัลกุรอานอัลมะดีนะฮ์อิหม่ามฮะรอมซุนนีประเทศญี่ปุ่นโดมโคเบะ

ชีอะฮ์

ีอะฮ์ (บ้างสะกด ชีอะห์) เป็นนิกายหนึ่งในอิสลาม ซึ่งนับถือพระเจ้าพระองค์เดียว และท่านนบีมูฮัมมัด(ศ็อลฯ)เป็นนบีคนสุดท้าย หากแต่มีความแตกต่างกับซุนนีย์ในเรื่องของผู้นำศาสนาต่อจากท่านนบีมุฮัมมัด ว่ามาจากการแต่งตั้งของอัลลอฮ์และท่านนบีมุฮัมมัดเท่านั้น หากผู้ใดได้ศึกษาประวัติของวันอีดฆอดีรคุมแล้ว จะพบว่าวันนั้นเป็นวันที่อัลลอฮฺทรงแต่งตั้งอะลีให้เป็นอิมามหรือผู้นำศาสนาคนต่อไปโดยผ่านท่านนบี(ศ็อลฯ) นั้นคืออิมามสิบสองคน อันได้แก่อิมามอะลีย์และบุตรหลานของอิมามอะลีกับท่านหญิงฟาติมะห์(บุตรีของท่านนบี(ศ็อลฯ)อีก 11 คน ชีอะฮ์ ตามความหมายของปทานุกรมหมายถึง ผู้ปฏิบัติตามหรือผู้ติดตาม ซึ่งบุคคลที่เป็นชีอะฮ์หมายถึง บุคคลที่เชื่อว่า ผู้นำศาสนาหลังจากท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) เสียชีวิตแล้ว เป็นสิทธิของลูกหลานของท่านเท่านั้น ซึ่งชีอะฮ์จึงยึดถือและปฏิบัติ ตามแนวทางของลูกหลานของท่านศาสดา(อะฮฺลุลบัยตฺ) ทั้งด้านความรู้ และการปฏิบัติ ชีอะฮ์มีความเชื่อว่า พระองค์อัลลอฮ์ คือพระผู้ทรงสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดิน คือพระผู้ทรงบริสุทธิ์ยิ่ง ศาสนาของพระองค์ก็เป็นศาสนาที่บริสุทธิ์ ศาสดามุฮัมมัด (ศ) ศาสนทูตของพระองค์ก็ต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ และผู้สืบทอดตำแหน่งของศาสดาของพระองค์ก็จำเป็นจะต้องเป็นผู้บริสุทธิ์เท่านั้น และเมื่อศาสนทูตของพระองค์ พระองค์เป็นผู้ทรงแต่งตั้ง ดังนั้นตัวแทนของศาสนทูตของพระองค์ พระองค์ก็จะต้องเป็นผู้แต่งตั้งเช่นเดียวกัน มิใช่ปล่อยให้ใครก็ได้มาเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งศาสนทูตของพระองค์ มิใช่ปล่อยให้ใครก็ได้มาแต่งตั้งผู้สืบทอดตำแหน่งศาสนทูตของพระอง.

ใหม่!!: มัสยิดและชีอะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2551

ทธศักราช 2551 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2008 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: มัสยิดและพ.ศ. 2551 · ดูเพิ่มเติม »

กะอ์บะฮ์

กะอ์บะฮ์ กะอ์บะฮ์ หรือ กะอ์บะห์ เป็นคำภาษาอาหรับ แปลว่า ลูกบาศก์ กะอ์บะฮ์ตั้งอยู่ในใจกลางมัสยิดฮะรอม ในนครมักกะฮ์ เป็น กิบลัต (ชุมทิศ, จุดหมายในการผินหน้าไป) ของมุสลิมยามนมาซ และเป็นสถานที่ฏอวาฟ (เวียนรอบ) ในการประกอบพิธีอุมเราะฮ์และฮัจญ์ มีคำบันทึกบอกเล่าว่า อาคารหลังนี้ถูกสร้างขึ้นมาโดยนบีอาดัมมนุษย์คนแรกเพื่อใช้เป็นสถานที่เคารพสักการะอัลลอฮ์ในโลก แต่หลังจากนั้นก็พังทลายลงเมื่อเกิดเหตุการณ์ อุทกภัยครั้งยิ่งใหญ่ จนน้ำท่วมโลกในสมัยศาสดานูฮฺ คัมภีร์อัลกุรอาน (2:127 และ 22:26-27) ระบุว่า กะอ์บะฮ์ได้ถูกสร้างขึ้นโดยนบีอิบรอฮีมและอิสมาอีล บุตรชายของท่านตามคำบัญชาของอัลลอฮ์ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นสถานที่ในการเคารพสักการะพระองค์ หลังจากนั้นอัลลอฮ์ก็ได้บัญชานบีอิบรอฮีมให้เรียกร้องเชิญชวนผู้คนให้มาเคารพสักการะพระองค์ ณ ที่บ้านหลังนี้ นับตั้งแต่นั้นมา ผู้คนที่ศรัทธาในอัลลอฮ์ตามคำเชิญชวนของนบีอิบรอฮีมจากทั่วสารทิศก็ได้ทยอยกันเดินทางมาสักการะอัลลอฮ์ต่อเนื่องกันมาโดยมิได้ขาด เนื่องจากกะอ์บะฮ์เป็นบ้านแห่งแรกที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่สำหรับการเคารพสักการะอัลลอฮ์ ดังนั้น กะอ์บะฮ์จึงได้รับการขนามว่า บัยตุลลอฮฺ บ้านแห่งอัลลอฮ์ หลังจากนบีอิบรอฮีมและอิสมาอีลเสียชีวิต ผู้คนในแผ่นดินอารเบียได้ละทิ้งคำสอนของท่านทั้งสอง และได้นำเอาเทวรูปต่าง ๆ มาเคารพสักการะแทนอัลลอฮ์ หรือไม่ก็ตั้งเทวรูปขึ้นเป็นพระเจ้าควบคู่ไปกับอัลลอฮ์ จนกระทั่งมีเทวรูปรอบกะอ์บะฮ์เป็นจำนวนมากมายถึงสามร้อยกว่ารูป ตั้งเรียงรายทั้งในและนอกกะอ์บะฮ์ แต่หลังจากที่นบีมุฮัมมัดได้เข้ายึดนครมักกะฮ์แล้ว ท่านก็ได้สั่งให้ทำลายเทวรูปทั้งหมดที่อยู่ข้างในและรอบกะอบะฮฺ ตั้งแต่นั้นมาแผ่นดินฮะรอมก็เป็นเขตปลอดเทวรูป ไม่มีการเคารพสักการะสิ่งอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์แต่เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น ในตอนที่ท่านมุฮัมมัดยังไม่ได้เป็นศาสดา ชาวนครมักกะฮ์ได้ร่วมแรงร่วมใจพากันซ่อมแซมกะอ์บะฮ์ที่สึกหรอเนื่องจากอุทกภัย แต่เนื่องจากทุนในการบูรณะอันเป็นทรัพย์สินที่บริสุทธิ์ที่เรี่ยไรมามีไม่เพียงพอ ชาวนครมักกะฮ์จึงสามารถซ่อมแซมได้ไม่เหมือนกับอาคารดั้งเดิม ปล่อยให้ส่วนที่เรียกว่า ฮิญรุ อิสมาอีล (ห้องและที่ฝังศพของท่านนบีอิสมาอีล) ว่างอยู่ เพียงแต่เอาหินก่อขึ้นเป็นกำแพงกั้นไว้ ในเวลาต่อมาท่านนบีมุฮัมมัดได้กล่าวว่า หากมิเพราะ ยุคญาหิลียะฮฺเพิ่งผ่านไปได้ไม่นาน ฉันก็คงจะต่อเติมกะอ์บะฮ์ให้เป็นเช่นแบบเดิม ในสมัยที่อับดุลลอฮฺ อิบนุซซุเบร หลานตาคอลีฟะฮฺ อะบูบักรฺ แข็งเมืองต่อ อับดุลมะลิก บินมัรวาน คอลีฟะฮฺ (กษัตริย์) ซีเรีย ตั้งตนเป็นเจ้าเมืองปกครองเมืองมักกะฮ์ งานชิ้นหนึ่งที่ท่านทำก็คือการบูรณะต่อเติมผนังกะอ์บะฮ์ออกไปสองด้านจนถึงกำแพง ฮิจญ์รุ อิสมาอีล ให้อาคารกะอ์บะฮ์เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทว่าเมื่ออับดุลลอฮฺแพ้ศึกและถูกสังหาร พวกทหารซีเรียก็เผาและถล่มทำลายกะอ์บะฮ์ที่อับดุลลอฮฺทำไว้ แล้วให้สร้างขึ้นมาใหม่เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเหมือนเดิมอีกครั้ง กะอฺบะหที่มีอยู่ในวันนี้ เป็นอาคารที่ถูกสร้างขึ้นด้วยหินธรรมชาติ ตัวอาคารเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมมีความกว้างยาวด้านละประมาณ 40 ฟุต และสูงประมาณ 50 ฟุต ผนังทั้งสี่ไม่มีหน้าต่าง มีแต่เพียงประตูด้านเดียว ข้างในว่างเปล่า ตรงมุมด้านหนึ่งของตัวอาคารเป็นที่ตั้งของ หินดำ (อัลฮะญัร อัลอัสวัด) ซึ่งในอดีตเป็นพลอยสีดำเม็ดใหญ่ แต่ต่อมาที่ได้แตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย แต่ก็ยังตั้งอยู่ที่มุมข้างประตู ปกปิดด้วยแก้วและครอบทับด้วยเงิน ประตูของกะอ์บะฮ์ที่เปลี่ยนเมื่อเวลา 20 ปีมานี้ ทำด้วยทองคำบริสุทธิ์ มุมที่ติดตั้งพลอยสีดำนี้ใช้เป็นจุดเริ่มต้นและจุดครบรอบของการเวียนรอบกะอ์บะฮ์ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่จำเป็นอย่างหนึ่งของการประกอบพิธีอุมเราะฮฺและฮัจญ์ ตั้งแต่อดีตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน รัฐบาลผู้ปกครองมหานครมักกะฮ์จะมีหน้าที่เป็นผู้ดูแลกะอ์บะฮ์และจัดเตรียมความสะดวกให้แก่ผู้ที่มาทำฮัจญ์ สิ่งที่ต้องทำทุกปีคือการเปลี่ยนมุ้งกะอ์บะฮ์ ในซาอุดีอาระเบียจะมีโรงงานทอมุ้งนี้โดยเฉพาะ โดยจะมีช่างผู้มีฝีมือจากต่างประเทศมาทำมุ้งนี้โดยเฉพาะ มุ้งกะอ์บะฮ์นี้ทอด้วยด้ายไหมสีดำ แล้วประดับด้วยการปักดิ้นทองเป็นตัวอักษรภาษาอาหรับวิจิตรงดงาม ตัวอักษรที่เขียนคือโองการจากอัลกุรอานและพระนามของอัลลอฮ์ เมื่อถึงเทศกาลฮัจญ์จะมีการเปลี่ยนมุ้งใหม่และยกขอบมุ้งขึ้นจนจนเห็นฝาผนังทั้งสี่ด้าน เนื่องจากมุ้งนี้มีสีดำ จึงทำให้คนเข้าใจว่าหินดำคือตัวกะอ์บะฮ์ แต่ความจริงแล้วหินดำคือพลอยสีดำที่ประดิษฐานอยู่ที่มุมกะอ์บะฮ์ต่างหาก อีกอย่างกะอ์บะฮ์เป็นชุมทิศ เวลานมาซจะมีการหันไปทางกะอ์บะฮ์นี้ จึงทำให้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่ากะอ์บะฮ์คือหินดำศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวมุสลิมเคารพบูชา ซึ่งความจริงแล้ว กะอ์บะฮ์เป็นเพียงจุดศูนย์รวมและจุดศูนย์กลางในการประกอบศาสนกิจของมุสลิมทั่วโลกเท่านั้น.

ใหม่!!: มัสยิดและกะอ์บะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

กุฎีเจริญพาศน์

กุฎีเจริญพาศน์ หรือ กุฎีล่าง หรือ กุฎีกลาง เป็นอิมามบาระฮ์ชีอะฮ์แห่งหนึ่งตั้งอยู่ริมคลองบางหลวง ถนนอิสรภาพ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: มัสยิดและกุฎีเจริญพาศน์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามลายู

ษามลายู (Bahasa Melayu) เป็นภาษาหลักภาษาหนึ่งในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มีสถานะเป็นภาษาราชการในบรูไน, มาเลเซีย, สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย มีผู้พูดประมาณ 200–250 ล้านคน (ณ ปี พ.ศ. 2552) โดยเป็นภาษาแม่ของผู้คนตลอดสองฟากช่องแคบมะละกา ซึ่งได้แก่ ชายฝั่งคาบสมุทรมลายูของมาเลเซียและชายฝั่งตะวันออกของเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย และได้รับการยอมรับเป็นภาษาแม่ในชายฝั่งตะวันตกของซาราวะก์และกาลีมันตันตะวันตกในเกาะบอร์เนียว นอกจากนี้ยังใช้เป็นภาษาการค้าในภาคใต้ของฟิลิปปินส์ ซึ่งได้แก่ ตอนใต้ของคาบสมุทรซัมบวงกา, กลุ่มเกาะซูลู และเมืองบาตาราซาและบาลาบัก (ซึ่งมีชาวมุสลิมอาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่) ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะปาลาวัน ในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติ (Bahasa Kebangsaan หรือ Bahasa Nasional) ของรัฐเอกราชหลายรัฐ ภาษามลายูมาตรฐานมีชื่อทางการแตกต่างกันไป ในบรูไนและสิงคโปร์เรียกว่า "ภาษามลายู" (Bahasa Melayu) ในมาเลเซียเรียกว่า "ภาษามาเลเซีย" (Bahasa Malaysia) และในอินโดนีเซียเรียกว่า "ภาษาอินโดนีเซีย" (Bahasa Indonesia) อย่างไรก็ตาม ในหลายพื้นที่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะสุมาตราที่ซึ่งภาษามลายูเป็นภาษาพื้นเมือง ชาวอินโดนีเซียจะเรียกภาษานี้ว่า "ภาษามลายู" และมองว่าเป็นภาษาหนึ่งในบรรดาภาษาประจำภูมิภาคของตน ภาษามลายูมาตรฐาน (หรือที่เรียกว่าภาษามลายูราชสำนัก) เคยเป็นวิธภาษามาตรฐานในวรรณกรรมของรัฐสุลต่านมะละกาและยะโฮร์สมัยก่อนอาณานิคม ดังนั้น บางครั้งจึงเรียกว่าภาษานี้ว่าภาษามลายูมะละกา, ภาษามลายูยะโฮร์ หรือภาษามลายูเรียว (หรือชื่ออื่น ๆ ที่ใช้ชื่อเหล่านี้ประกอบกัน) เพื่อแยกให้แตกต่างกับภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาในกลุ่มภาษามลายู จากข้อมูลของเอ็ทนอล็อก (Ethnologue) วิธภาษามลายูต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันมีรายชื่อเป็นภาษาแยกต่างหาก (รวมถึงวิธภาษาโอรังอัซลีในมาเลเซียตะวันตก) มีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกับภาษามลายูมาตรฐานมากจนอาจพิสูจน์ได้ว่าเป็นภาษาถิ่นของภาษาเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมีภาษามลายูการค้าและภาษาครีโอล (creole) จากภาษามลายูอีกจำนวนมากซึ่งมีพื้นฐานจากภาษากลางที่พัฒนามาจากภาษามลายูตามแบบแผนดั้งเดิม เช่นเดียวกับภาษามลายูมากัสซาร์ซึ่งปรากฏว่าเป็นภาษาผสม.

ใหม่!!: มัสยิดและภาษามลายู · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอาหรับ

ษาอาหรับ (العربية; Arabic Language) เป็นภาษากลุ่มเซมิติก ที่มีผู้พูดมากที่สุด ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดพอควรกับภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิก โดยพัฒนามาจากภาษาเดียวกันคือภาษาเซมิติกดั้งเดิม ภาษาอาหรับสมัยใหม่ถือว่าเป็นภาษาขนาดใหญ่ แบ่งเป็นสำเนียงย่อยได้ถึง 27 สำเนียง ในระบบ ISO 639-3 ความแตกต่างของการใช้ภาษาพบได้ทั่วโลกอาหรับ โดยมีภาษาอาหรับมาตรฐานซึ่งใช้ในหมู่ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาอาหรับสมัยใหม่มาจากภาษาอาหรับคลาสสิกซึ่งเป็นภาษาเดียวที่เหลืออยู่ในภาษากลุ่มอาหรับเหนือโบราณ เริ่มพบในพุทธศตวรรษที่ 11 และกลายเป็นภาษาทางศาสนาของศาสนาอิสลามตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 เป็นภาษาของคัมภีร์อัลกุรอาน และภาษาของการนมาซและบทวิงวอนของชาวมุสลิมทั่วโลก ชาวมุสลิมจะเริ่มศึกษาภาษาอาหรับตั้งแต่ยังเด็ก เพื่ออ่านอัลกุรอานและทำการนมาซ ภาษาอาหรับเป็นแหล่งกำเนิดของคำยืมจำนวนมากในภาษาที่ใช้โดยมุสลิมและภาษาส่วนใหญ่ในยุโรป ภาษาอาหรับเองก็มีการยืมคำจากภาษาเปอร์เซียและภาษาสันสกฤตด้วย ในช่วงยุคกลาง ภาษาอาหรับเป็นภาษาหลักในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมโดยเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และปรัชญา จึงทำให้ภาษาในยุโรปจำนวนมากยืมคำไปจากภาษาอาหรับ โดยเฉพาะภาษาสเปนและภาษาโปรตุเกส ทั้งนี้เพราะอารยธรรมอาหรับเคยแผ่ขยายไปถึงคาบสมุทรไอบีเรี.

ใหม่!!: มัสยิดและภาษาอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอูรดู

ษาอูรดู (اردو) เป็นภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-อารยัน ซึ่งพัฒนามาจากหลายภาษารวมกันคือ ภาษาเปอร์เซีย ตุรกี อาหรับ ฮินดี และ สันสกฤต นิยมใช้กันมากในช่วงสมัยรัฐสุลต่านเดลฮี และจักรวรรดิโมกุล (ค.ศ.๑๒๐๐ - ๑๘๐๐) ภาษาอูรดู อยู่ในอันดับที่ ๒๐ ของภาษาที่มีคนใช้เป็นภาษาแม่ และเป็นภาษาราชการของประเทศปากีสถาน นอกจากนี้ยังเป็นภาษาหนึ่งในภาษาราชการ ๒๓ ภาษา ของประเทศอินเดี.

ใหม่!!: มัสยิดและภาษาอูรดู · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเปอร์เซีย

ษาเปอร์เซีย หรือ ฟาร์ซี (فارسی Farsi, ฟอร์ซี ชื่อท้องถิ่นใน ประเทศอิหร่าน และประเทศอัฟกานิสถาน), ทาจิก (Tajik, ภาษาย่อยในเอเชียกลาง) หรือ ดารี (Dari ชื่อท้องถิ่นในประเทศอัฟกานิสถาน) เป็นภาษาที่พูดใน ประเทศอิหร่าน ประเทศอัฟกานิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศบาห์เรน และประเทศอุซเบกิสถาน เป็นภาษาทางการใน 3 ประเทศแรกที่กล่าวไว้ คนที่พูดเป็นภาษาแม่มีอยู่ประมาณ 75 ล้านคน เป็นสมาชิกของภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เป็นชนิดประธาน กรรม กร.

ใหม่!!: มัสยิดและภาษาเปอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

มักกะฮ์

มักกะฮ์ มีชื่อเต็มว่า มักกะตุลมุกัรเราะมะฮ์ (مكة المكرمة) นอกจากนี้ยังมีชื่ออื่น ๆ อีก เช่น อุมมุลกุรอ (มารดาบ้านเมือง) และบักกะฮ์ เป็นเมืองตั้งอยู่ที่พิกัด ในประเทศซาอุดีอาระเบีย ห่างจากเมืองท่าญิดดะฮ์ 73 กิโลเมตร อยู่เหนือระดับน้ำทะเล 277 เมตร ห่างจากทะเลแดง 80 กิโลเมตร มักกะฮ์เป็นพระนครชุมทิศของโลกอิสลาม เป็นสถานที่ตั้งของกะอ์บะฮ์ มักกะฮ์ หมวดหมู่:ศาสนสถานอิสลาม หมวดหมู่:เมืองศักดิ์สิทธิ์.

ใหม่!!: มัสยิดและมักกะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

มัสยิดบางหลวง

มัสยิดบางหลวง (บ้างเรียก กุฎีโต๊ะหยี, กุฎีขาว) เป็นมัสยิดทรงไทย ตั้งอยู่บริเวณชุมชนริมคลองบางหลวง แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (คาดว่าราวปี พ.ศ. 2328) โดยโต๊ะหยี พ่อค้าแขกที่เดินทางมายังประเทศไทย ตัวมัสยิดมีความโดดเด่นกว่ามัสยิดทั่ว ๆ ไป ด้วยการก่ออิฐถือปูนขาวทั้งหลัง แล้วทาสีไม้ด้วยสีเขียว แทนที่การออกแบบอาคารเป็นโดมตามหลักสากล รวมไปถึงการตกแต่งภายในด้วยศิลปะ 3 ชาติ คือ แบบไทย จีน และยุโรป ซึ่งถือเป็นมัสยิดทรงไทยแห่งเดียวในโลกอีกด้วย บริเวณด้านหน้ามัสยิดบางหลวง เป็นสุสาน เยื่องมาทางด้านขวาเมื่อมองหันหน้าเข้าสู่มัสยิด เป็นศาลาทรงไทย ที่ในอดีตโต๊ะพิมพ์เสน ได้ขอซื้อพระตำหนักวังเก่ามาทำเป็นศาลา ใช้เป็นศาลาเลี้ยงและเก็บวัสดุต่าง ๆ ของมัสยิด, alisuasaming.com.วันที่ 11/07/2559 ปัจจุบันมัสยิดแห่งนี้ได้จัดเป็น "อันซีนกรุงเทพ" แห่งหนึ่ง เนื่องจากไม่มีถนนใหญ่ตัดเข้าไปด้านใน การเดินทางจึงต้องเดินเท้าผ่านทางซอยแคบริมคลองของชุมชน.

ใหม่!!: มัสยิดและมัสยิดบางหลวง · ดูเพิ่มเติม »

มัสยิดกรือเซะ

มัสยิดกรือเซะ (Masjid Kerisek) หรือ มัสยิดสุลต่านมูซัฟฟาร์ชาห์ เป็นมัสยิดเก่าแก่อายุกว่า 200 ปีในจังหวัดปัตตานี สันนิษฐานได้ว่าเป็นศาสนสถานที่สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 22 ร่วมสมัยกรุงศรีอยุธยา มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัสยิดปิตูกรือบัน ชื่อนี้เรียกตามรูปทรงของประตูมัสยิด ซึ่งมีลักษณะเป็นวงโค้งแหลมแบบกอทิกของชาวยุโรป และแบบสถาปัตยกรรมของชาวตะวันออกกลาง (คำว่า ปิตู แปลว่า ประตู กรือบัน แปลว่า ช่องประตูที่มีรูปโค้ง) ช่วงเวลาที่มัสยิดกรือเซะถูกสร้างนั้นยังเป็นที่ถกเถียง บ้างว่าสร้างในรัชสมัยสุลต่านมูซัฟฟาร์ชาห์ บ้างก็ว่าสร้างในรัชสมัยรายาบีรู ส่วนกรณีที่มัสยิดสร้างไม่สำเร็จนั้น ก็มีการยึดโยงกับตำนานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวซึ่งมีสุสานอยู่ใกล้กับมัสยิดกรือเซะ ที่ถูกเล่าต่อเติมภายหลังว่าเจ้าแม่ได้สาปให้มัสยิดนี้สร้างไม่สำเร็จ จนกลายเป็นปัญหากินแหนงแคลงใจระหว่างชาวไทยเชื้อสายมลายูและชาวไทยเชื้อสายจีนในพื้นที่ แต่จากการสำรวจและบูรณะของกรมศิลปากร พบว่าโครงสร้างโดมนั้นมีลักษณะไม่แข็งแรงและขาดความสมดุลจึงทำให้พังทลาย ทั้งยังไม่พบร่องรอยถูกเผาหรือถูกฟ้าผ่าตามตำนานที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด เพราะหลังราชวงศ์กลันตันปกครองปัตตานีถัดจากราชวงศ์ศรีวังสา ได้ย้ายศูนย์กลางเมืองไปยังบานาและจะบังติกอตามลำดับ มัสยิดกรือเซะจึงถูกทิ้งให้โรยราไป.

ใหม่!!: มัสยิดและมัสยิดกรือเซะ · ดูเพิ่มเติม »

มัสยิดต้นสน

มัสยิดต้นสน มัสยิดต้นสน หรือ กุฎีบางกอกใหญ่ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า กุฎีใหญ่ เป็นมัสยิดซุนนีที่เก่าแก่ที่สุดในกรุงเทพมหานคร ประมาณกันว่าเป็นมัสยิดที่เริ่มมีขึ้นตั้งแต่ก่อนสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (พ.ศ. 2153 -2171) ในช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยา ชื่อกุฎีบางกอกใหญ่ หรือกุฎีใหญ่นั้น ก็เพราะมัสยิดตั้งอยู่ปากคลองบางกอกใหญ่ ส่วนชื่อมัสยิดต้นสนนั้น ได้มาจากต้นสนคู่ที่ปลูกใหม่หน้าประตูกำแพงหลังเสร็จสิ้นการก่อสร้างอาคารหลังใหม่ จึงเรียกชื่อดังกล่าวสืบม.

ใหม่!!: มัสยิดและมัสยิดต้นสน · ดูเพิ่มเติม »

มุสลิม

มุสลิม ผู้นับถือศาสนาอิสลาม หากเป็นบุรุษจะเรียกว่า มุสลิม หรือเป็นสตรีจะเรียกว่า มุสลิมะฮ์ หรือเรียกโดยรวมว่า อิสลามิกชน คำว่า "มุสลิม" เป็นคำที่ยืมมาจากภาษาอาหรับ مسلم แปลว่า ผู้ศิโรราบ ผู้ภักดี มนุษย์ทุกคนสามารถเป็นมุสลิมได้โดยการปฏิญาณตน มุสลิมนั้นไม่จำกัดเผ่าพันธุ์ อายุ เพศ และวรรณะ ผู้ที่เป็นมุสลิมจะต้องปฏิบัติตามศาสนวินัยต่าง ๆ ของอิสลาม (ทั้งวาญิบ และฮะรอม) ผู้ที่เป็นมุสลิมต้องปฏิบัติตามหลักศาสนกิจ 5 ประการดังนี้ คือ การกล่าวคำปฏิญานตนเข้ารับอิสลาม, การละหมาด 5 เวลาในแต่ละวัน, การถือศีลอดในเดือนรอมดอน, การบริจาคทาน (ซะกาต), และการทำฮัจญ์ ผู้ที่เป็นมุสลิมมีหลักความเชื่อหลัก 6 ประการ นั่นคือ เชื่อในพระเจ้าองค์เดียว (อัลลอฮ์), เชื่อในบรรดามลาอีกะฮ์, เชื่อในคัมภีร์ที่ถูกประทานมาจากพระเจ้า, เชื่อในบรรดาศาสนทูตต่างๆ, เชื่อในวันสิ้นโลก (วันกียามะฮ์), และเชื่อในกฎแห่งความดีความชั่ว (กอดอและกอดัร).

ใหม่!!: มัสยิดและมุสลิม · ดูเพิ่มเติม »

อัลกุรอาน

อัลกุรอาน บ้างเรียก โกหร่าน (الْقُرآن) เป็นคัมภีร์ในศาสนาอิสลาม ชาวมุสลิมเชื่อว่าเป็นพระวจนะของอัลลอฮ์ที่ประทานผ่านทางเทวทูตญิบรีล มาสู่นบีมุฮัมมัด คำว่า กุรอาน มาจากรากศัพท์ในภาษาอาหรับแปลว่า การอ่าน หรือ อาขยาน อัลลอฮ์ได้ประทานคัมภีร์อัลกรุอานแก่นบีมุฮัมมัดซึ่งชาวมุสลิมถือว่าเป็นศาสนทูตคนสุดท้าย และคัมภีร์นี้ก็เป็นคัมภีร์สุดท้ายที่อัลลอฮ์ได้ส่งมาให้แก่มวลมนุษยชาติ หลังจากนี้แล้วจะไม่มีคัมภีร์ใด ๆ จากพระเป็นเจ้าอีก คัมภีร์กรุอานนี้ได้ประทานมาเพื่อยกเลิกคัมภีร์เก่า ๆ ที่เคยได้ทรงประทานมาในอดีตนั่นคือคัมภีร์เตารอต ที่เคยทรงประทานมาแก่นบีมูซา คัมภีร์ซะบูร ที่เคยทรงประทานมาแก่นบีดาวูด (ดาวิด) และคัมภีร์อินญีลที่เคยทรงประทานมาแก่นบีอีซา (พระเยซู) เป็นคัมภีร์ที่บริบูรณ์ไม่มีการเพี้ยนเปลี่ยนแปลง ภาษาของคัมภีร์อัลกุรอานนั้นคือภาษาอาหรับ ที่ยังใช้อยู่ในปัจจุบัน การศรัทธาในคัมภีร์อัลกุรอานทั้งเล่มเป็นหลักการหนึ่งที่มุสลิมทุกคนต้องศรัทธา นั่นก็หมายความว่าหากไม่ศรัทธาในอัลกุรอาน หรือศรัทธาเพียงบางส่วนก็จะเป็นมุสลิมไม่ได้ เช่นเดียวกับที่ต้องศรัทธาว่าคัมภีร์อัลกุรอานนี้มีความบริบูรณ์ภายใต้การพิทักษ์ของพระผู้เป็นเจ้า ด้วยเหตุนี้จึง ตั้งแต่วันที่ท่านศาสดาเสียชีวิตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน โดยมีความเหมือนกันในทุกฉบับบนโลก และภาษาอาหรับในคัมภีร์จึงเป็นภาษาโบราณภาษาเดียว ที่มีใช้อย่างคงเดิมอยู่จนกระทั่งวันนี้ได้ และได้กลายเป็นภาษามาตรฐานของประเทศอาหรับทั้งหลาย เป็นภาษาวิชาการของอิสลาม และเป็นภาษาที่ใช้ในการปฏิบัติศาสนพิธีของมุสลิมทุกคนทั่วโลก.

ใหม่!!: มัสยิดและอัลกุรอาน · ดูเพิ่มเติม »

อัลมะดีนะฮ์

อัลมะดีนะตุลมุเนาวะเราะฮ์ (المدينة المنورة) บ่อยครั้งเรียกว่า อัลมะดีนะฮ์ หรือเรียกว่า เมดีนา (Medina) เป็นนครที่สำคัญทางศาสนาอิสลามอันดับที่สองรองจากมักกะฮ์ ตั้งอยู่ในประเทศซาอุดีอาระเบีย เป็นนครของศาสนทูตมุฮัมมัด ซึ่งศพของท่านฝังอยู่ในมัสยิดนะบะวีหรือมัสยิดศาสนทูต มะดีนะฮ์ หมวดหมู่:เมืองศักดิ์สิทธิ์ หมวดหมู่:ศาสนสถานอิสลาม hu:Medina.

ใหม่!!: มัสยิดและอัลมะดีนะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

อิหม่าม

อิหม่าม หรือ โต๊ะอิหม่าม หรือภาษามลายูปัตตานีว่า โต๊ะอีแม มาจากคำอาหรับว่า อิมาม (إمام) แปลว่าผู้นำ มีหน้าที่สอนและปฏิบัติการละหมาดแก่สัปบุรุษเพื่อมุ่งศรัทธาต่ออัลลอฮ์และนบีมุฮัมมัดประพนธ์ เรืองณรง.

ใหม่!!: มัสยิดและอิหม่าม · ดูเพิ่มเติม »

ฮะรอม

รอม เป็นคำศัพท์นิติบัญญัติอิสลาม จากภาษาอาหรับ วิธีการสะกดอื่น ๆ มีเช่น หะรอม, ฮารอม ในภาษาพูดคำว่า ฮะรอม เพี้ยนเป็น ฮาหร่าม ฮะรอม คือกฎบัญญัติห้าม ที่มุกัลลัฟ (มุสลิมผู้อยู่ในศาสนนิติภาวะ) ทุกคนต้องละเว้น เช่น.

ใหม่!!: มัสยิดและฮะรอม · ดูเพิ่มเติม »

ซุนนี

ซุนนี (سُنِّي) คือนิกายหนึ่งในศาสนาอิสลาม มีชื่อเต็มในภาษาอาหรับว่า อะฮ์ลุสซุนนะฮ์วะอัลญะมาอะฮ์ (أهل السنة والجماعة, นิยมอ่านว่า อะฮ์ลุสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์) เป็นนิกายที่ใหญ่ที่สุดในอิสลาม แบ่งเป็นสำนักหรือมัซฮับย่อย ๆ ออกเป็นหลายมัซฮับ แต่ปัจจุบันเหลือแค่เพียง 4 มัซฮับ นอกจากนี้ยังมีมัซฮับมุสลิมซุนนีที่ไม่ยึดถือมัซฮับ เรียกตนเองว่า พวกซะละฟี.

ใหม่!!: มัสยิดและซุนนี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่น (ชื่ออย่างเป็นทางการ) เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้นซึ่งมีเกาะประมาณ 6,852 เกาะ เกาะใหญ่สุดคือ เกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ชาวญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน..

ใหม่!!: มัสยิดและประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

โดม

มหัวหอมของโบสถ์เซนต์เบซิล โดม (dome) คือส่วนโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะครึ่งทรงกลมหรือใกล้เคียง โดมจะมีลักษณะผิวโค้งและมีฐานเป็นรูปวงกลม โดมสามารถสร้างได้โดยใช้คอนกรีตหรืออิฐ แรงภายในที่กระทำกับโครงสร้างของจะมีลักษณะเป็นแรงอัดในส่วนบนและ แรงดึงในส่วนล่างของโดม.

ใหม่!!: มัสยิดและโดม · ดูเพิ่มเติม »

โคเบะ

() เป็นเมืองเอกของจังหวัดเฮียวโงะ ประเทศญี่ปุ่น เป็นเมืองขนาดใหญ่อันดับที่ 5 และเป็นเมืองท่าที่สำคัญของญี่ปุ่น ตั้งอยู่ทางฝั่งใต้ของเกาะฮนชู ห่างจากเมืองโอซะกะไปทางตะวันตกประมาณ 30 กิโลเมตร มีประชากรประมาณ 1.5 ล้านคนและเป็นส่วนหนึ่งของมหานครเคฮันชิง โคเบะปรากฏในหลักฐานลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรกในพงศาวดารนิฮงโชะกิที่กล่าวถึงการก่อตั้งศาลเจ้าอิกุตะโดยพระจักรพรรดิจิงกูเมื่อ..

ใหม่!!: มัสยิดและโคเบะ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Mosqueสุเหร่า

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »