โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มะเร็งหลอดอาหาร

ดัชนี มะเร็งหลอดอาหาร

มะเร็งหลอดอาหาร (esophageal cancer) เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นกับหลอดอาหาร มีชนิดย่อยหลายชนิด ส่วนใหญ่เป็นอะดีโนคาร์ซิโนมา (ประมาณ 50-80% ของมะเร็งหลอดอาหาร) และมะเร็งเซลล์สความัส มะเร็งเซลล์สความัสเกิดขึ้นมาจากเซลล์ที่บุผิวเยื่อเมือกส่วนบนของหลอดอาหาร ส่วนอะดีโนคาร์ซิโนมาเกิดขึ้นมาจากเซลล์แกลนดูลาร์ที่อยู่ที่บริเวณรอยต่อระหว่างหลอดอาหารกับกระเพาะอาหาร เนื้องอกในหลอดอาหารมักทำให้มีอาการกลืนลำบาก (dysphagia) อาการเจ็บ และอาการอื่นๆ โดยจะต้องได้รับการวินิจฉัยด้วยการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา เนื้องอกที่มีขนาดเล็กและอยู่เฉพาะที่อาจรักษาหายได้ด้วยการผ่าตัด เนื้องอกขนาดใหญ่มักไม่สามารถผ่าตัดได้ซึ่งจะได้รับการรักษาด้วยการรักษาประทัง ซึ่งสามารถชะลอการโตของเนื้องอกได้ด้วยการใช้เคมีบำบัด รังสีรักษา หรือรักษาร่วมกัน ในบางกรณีการใช้เคบีบำบัดหรือรังสีรักษาอาจทำให้เนื้องอกมีขนาดเล็กลงจนสามารถผ่าตัดได้ก็ได้ พยากรณ์โรคขึ้นอยู่กับว่าโรคกระจายไปมากแค่ไหนและมีปัญหาทางการแพทย์อื่นๆ หรือไม่ แต่โดยส่วนใหญ่จะมีพยากรณ์โรคไม่ค่อยดี.

7 ความสัมพันธ์: การบริบาลบรรเทาการตัดเนื้อออกตรวจมะเร็งมะเร็งชนิดต่อมศัลยศาสตร์หลอดอาหารเคมีบำบัด

การบริบาลบรรเทา

การรักษาบรรเทา, การบริบาลประทัง (palliative treatment, palliative care) หรือนิยมเรียกว่าการรักษาแบบประคับประคอง คือการให้การดูแลรักษาแบบใดๆ ทางการแพทย์ ที่เน้นไปที่การลดความรุนแรงของอาการของโรค มากกว่าจะหยุด ชะลอ หรือย้อนกระบวนการของโรค หรือรักษาให้หายจากโรค เป้าหมายของการรักษาแบบนี้คือเพื่อลดความทุกข์ทรมานและเพิ่มคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้ป่วยที่มีโรครุนแรงหรือซับซ้อนมาก การรักษาบรรเทานี้ไม่จำเป็นต้องขึ้นอยู่กับพยากรณ์โรคของผู้ป่วยว่าดีหรือแย่เพียงใด และสามารถให้พร้อมกันกับการรักษาเพื่อให้หายและการรักษาอื่นๆ ทั้งหลายได้ ในประเทศสหรัฐอเมริกามีการแบ่งแยกชัดเจนระหว่างการรักษาบรรเทากับการรักษาระยะสุดท้าย (hospice care) ซึ่งเป็นการให้การรักษาบรรเทากับผู้ป่วยระยะสุดท้าย การรักษาทั้งสองแบบในสหรัฐอเมริกามีหลักการบางอย่างร่วมกันแต่มีแหล่งเงินสนับสนุนคนละแหล่งกัน.

ใหม่!!: มะเร็งหลอดอาหารและการบริบาลบรรเทา · ดูเพิ่มเติม »

การตัดเนื้อออกตรวจ

การตัดเนื้อสมองออกตรวจ การตัดเนื้อออกตรว.

ใหม่!!: มะเร็งหลอดอาหารและการตัดเนื้อออกตรวจ · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็ง

มะเร็ง หรือทางการแพทย์ว่า เนื้องอกร้าย (malignant tumor) เป็นกลุ่มของโรคที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ คือ เซลล์จะแบ่งตัวและเจริญอย่างควบคุมไม่ได้ ก่อเป็นเนื้องอกร้าย และมีศักยภาพในการรุกรานร่างกายส่วนข้างเคียง มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังร่างกายส่วนที่อยู่ห่างไกลได้ผ่านระบบน้ำเหลืองหรือกระแสเลือด แต่ไม่ใช่เนื้องอกทุกชนิดจะเป็นมะเร็ง เพราะเนื้องอกไม่ร้ายจะไม่ลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงและไม่กระจายไปทั่วร่างกาย อาการและอาการแสดงของโรคมะเร็งที่เป็นไปได้รวมถึง:..

ใหม่!!: มะเร็งหลอดอาหารและมะเร็ง · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งชนิดต่อม

มะเร็งชนิดต่อม หรือ อะดีโนคาร์ซิโนมา (adenocarcinoma) เป็นมะเร็งที่เจริญมาจากเนื้อเยื่อต่อม (glandular tissue) ซึ่งเป็นเยื่อบุผิว (epitheliam) ชนิดหนึ่ง การที่เซลล์มะเร็งจะได้รับการจัดชนิดเป็นมะเร็งชนิดต่อมนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นส่วนประกอบของต่อมใดๆ ตราบใดที่ยังแสดงถึงความสามารถในการหลั่งสารอยู่ มะเร็งชนิดนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชั้นสูงบางชนิดรวมถึงมนุษย์ มะเร็งชนิดต่อมที่มีการเปลี่ยนสภาพของเซลล์ดีอาจมีลักษณะคล้ายเนื้อเยื่อต่อมที่เจริญมาได้ ในขณะที่ชนิดที่มีการเปลี่ยนสภาพของเซลล์แย่อาจไม่คล้ายเลยก็ได้ การย้อมสีชิ้นเนื้อจากการตัดชิ้นเนื้อตรวจจะทำให้นักพยาธิวิทยาหรือพยาธิแพทย์สามารถตรวจพบได้ว่าเนื้องอกนั้นๆ เป็นมะเร็งชนิดต่อมหรือชนิดอื่น มะเร็งชนิดต่อมสามารถเกิดขึ้นได้ในหลายๆ ที่ในร่างกายจากการที่มีเนื้อเยื่อต่อมอยู่หลายที่ในร่างกาย เนื้องอกของต่อมไร้ท่อหลายๆ ชนิด เช่น VIPoma insulinoma pheochromocytoma และอื่นๆ มักไม่ถูกเรียกว่าเป็นมะเร็งชนิดต่อมแต่จะถูกเรียกว่า neuroendocrine tumor แทน หากเนื้อเยื่อที่เจริญจากต่อมนั้นมีความผิดปกติแต่ไม่เป็นเนื้อร้ายจะเรียกว่าเนื้องอกต่อม (adenoma) โดยเนื้องอกต่อมซึ่งไม่เป็นเนือ้ร้ายนี้จะไม่ลุกลามเข้าเนื้อเยื่อข้างเคียงและน้อยมากที่จะมีการแพร่กระจาย ในขณะที่มะเร็งชนิดต่อมสามารถลุกลามและแพร่กระจายได้.

ใหม่!!: มะเร็งหลอดอาหารและมะเร็งชนิดต่อม · ดูเพิ่มเติม »

ศัลยศาสตร์

ัลยแพทย์ทรวงอกกำลังผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ศัลยศาสตร์ หรือ ศัลยกรรม (surgery) เป็นการแพทย์เฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับการใช้หัตถการหรือเครื่องมือในการผ่าตัดเข้าในร่างกายผู้ป่วยเพื่อสืบค้นอาการ และ/หรือรักษาความผิดปกติ เช่น โรค หรือการบาดเจ็บต่าง ๆ เพื่อช่วยในการแก้ไขการทำงานหรือรูปลักษณ์ของร่างกาย หรือด้วยเหตุผลอื่น ๆ เรียกแพทย์ที่ศึกษามาเฉพาะทางศัลยศาสตร์ว่า ศัลยแพทย์ (surgeon) ศัลยแพทย์ในประเทศไทยต้องสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต และสำเร็จการศึกษาแพทย์ประจำบ้านด้านศัลยศาสตร์แล้วได้ผ่านการสอบเพื่อวุฒิบัตรและหนังสืออนุมัติเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาศัลยศาสตร์ ของแพทยสภา และเป็นสมาชิกของราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไท.

ใหม่!!: มะเร็งหลอดอาหารและศัลยศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

หลอดอาหาร

หลอดอาหาร (อังกฤษ: oesophagus/esophagus/œsophagus; กรีก: οἰσοφάγος) เป็นอวัยวะของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่เป็นท่อกลวงประกอบด้วยกล้ามเนื้อที่อาหารจะผ่านจากคอหอยไปยังกระเพาะอาหาร ในมนุษย์ หลอดอาหารต่อเนื่องกับส่วนกล่องเสียงของคอหอย (laryngeal part of the pharynx) ที่ระดับของกระดูกสันหลังส่วนคอชิ้นที่ 6.

ใหม่!!: มะเร็งหลอดอาหารและหลอดอาหาร · ดูเพิ่มเติม »

เคมีบำบัด

มีบำบัด (chemotherapy) หรือ คีโม (chemo) เป็นวิธีรักษามะเร็งประเภทหนึ่ง ซึ่งใช้ยาต้านมะเร็งชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดมาประกอบกับเป็นสูตรยาเคมีบำบัดมาตรฐาน เคมีบำบัดอาจให้โดยมีเป้าหมายเพื่อรักษามะเร็งให้หาย หรือให้เพื่อยืดชีวิตและบรรเทาอาการก็ได้ (เรียกว่า เคมีบำบัดแบบประคับประคอง) ในปัจจุบันคำว่าเคมีบำบัดถูกใช้เมื่อหมายถึงการรักษาด้วยยารักษามะเร็งที่ออกฤทธิ์ด้วยวิธียับยั้งการแบ่งเซลล์ ซึ่งบางครั้งอาจไม่นับรวมยาที่ออกฤทธิ์ผ่านกลไกอื่น เช่น ยาที่ออกฤทธิ์โดยการจับกับตำแหน่งเป้าหมายบนโมเลกุลหรือยีน เพื่อป้องกันไม่ให้มีการกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งผ่านฮอร์โมน (เช่น เอสโตรเจน สำหรับมะเร็งเต้านม หรือ แอนโดรเจน สำหรับมะเร็งต่อมลูกหมาก) ก็จะถูกเรียกว่า ฮอร์โมนบำบัด หรือการรักษาด้วยฮอร์โมน ส่วนยาที่ออกฤทธิ์ด้วยการยับยั้งการส่งสัญญาณผ่านตัวรับ เช่น ผ่านตัวรับไทโรซีนไคเนส ก็จะถูกเรียกว่า การรักษาแบบมุ่งเป้า เป็นต้น ไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยยาแบบเคมีบำบัด ฮอร์โมนบำบัด หรือรักษาแบบมุ่งเป้า ก็ตาม ปัจจุบันส่วนใหญ่ยังเป็นการรักษาที่ออกฤทธิ์ทั่วร่างกาย กล่าวคือเมื่อให้ยาเข้าสู่ร่างกายแล้วยาจะเข้าสู่กระแสเลือดและสามารถส่งไปออกฤทธิ์ต่อเซลล์มะเร็งได้ทุกที่ที่มีเลือดไปถึง หรือก็คือทั่วร่างกายนั่นเอง การรักษาแบบทั่วร่างนี้บางครั้งนิยมใช้ร่วมกับการรักษาแบบเฉพาะที่ เช่น การรักษาด้วยรังสี การผ่าตัด หรือการรักษาด้วยความร้อน เป็นต้น ยาเคมีบำบัดแบบดั้งเดิมเป็นยาที่เป็นพิษต่อเซลล์ หมายถึงไปรบกวนหรือยับยั้งกระบวนการแบ่งเซลล์ (ไมโทซิส) แต่เซลล์มะเร็งซึ่งมีหลายชนิดนั้นก็ตอบสนองต่อการรักษาแบบนี้แตกต่างกัน อาจกล่าวได้ว่าเคมีบำบัดเป็นยาที่ทำลายหรือทำร้ายเซลล์ ซึ่งอาจทำให้เซลล์ตายลงผ่านกระบวนการอะพอพโทซิส ผลข้างเคียงของเคมีบำบัดนั้นส่วนหนึ่งมาจากการที่เซลล์ปกติที่มีการแบ่งเซลล์บ่อยครั้งนั้นถูกทำลายไปพร้อมกันกับเซลล์มะเร็ง เซลล์เหล่านี้ เช่น เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดในไขกระดูก เซลล์เยื่อบุทางเดินอาหาร และเซลล์รากผม เป็นต้น ทำให้เกิดผลข้างเคียงที่พบบ่อยของเคมีบำบัด ได้แก่ การกดไขกระดูก ทำให้สร้างเม็ดเลือดได้น้อย และทำให้มีภูมิคุ้มกันต่ำตามมา เยื่อบุทางเดินอาหารอักเสบ และผมร่วง เนื่องจากผลต่อเซลล์ภูมิคุ้มกันนี้เอง ทำให้บางครั้งยาเคมีบำบัดเหล่านี้มีที่ใช้ในโรคอื่นที่เกิดจากการที่เซลล์ภูมิคุ้มกันทำงานมากเกินไปหรือทำงานผิดปกติ โรคเหล่านี้เรียกว่าโรคภูมิต้านตนเอง เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ ลูปัสอิริทีมาโทซัสทั่วร่าง มัลติเพิลสเคลอโรซิส โรคหลอดเลือดอักเสบต่างๆ เป็นต้น.

ใหม่!!: มะเร็งหลอดอาหารและเคมีบำบัด · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »