โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลินและลัทธิมากซ์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง มหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลินและลัทธิมากซ์

มหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลิน vs. ลัทธิมากซ์

มหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลิน (Humboldt-Universität zu Berlin) เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในกรุงเบอร์ลิน เดิมทีเรียกว่า มหาวิทยาลัยเบอร์ลิน ก่อตั้งในปี.. ลัทธิมากซ์ (Marxism) หรือมักใช้ทับศัพท์ว่า มาร์กซิสต์ เป็นวิธีการวิเคราะห์สังคมและเศรษฐกิจซึ่งวิพากษ์ทุนนิยมผ่านกระบวนทัศน์การขูดรีด วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นและความขัดแย้งทางสังคมโดยใช้การตีความพัฒนาการประวัติศาสตร์แบบวัสดุนิยม และทัศนะวิภาษวิธีการแปลงสังคม (social transformation) ถือกำเนิดจากนักปรัชญาชาวเยอรมันสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 คาร์ล มากซ์และฟรีดริช เองเงิลส์ ลัทธิมากซ์ใช้วิธีวิทยาที่เรียก วัสดุนิยมทางประวัติศาสตร์ เพื่อวิเคราะห์และวิพากษ์การพัฒนาของทุนนิยมและบทบาทของการต่อสู้ระหว่างชนชั้นในการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจทั้งระบบ ตามทฤษฎีลัทธิมากซ์ ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นเกิดในสังคมทุนนิยมอันเนือ่งจากความขัดกันระหว่างผลประโยชน์ทางวัตถุของชนกรรมาชีพที่ถูกกดขี่ ชนกรรมาชีพคือผู้ใช้แรงงานเอาค่าจ้างที่ชนชั้นกระฎุมพีว่าจ้างเพื่อผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งชนชั้นกระฎุมพีนี้เป็นชนชั้นปกครองที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและเอาความมั่งคั่งมาจากการจัดสรรผลิตภัณฑ์ส่วนเกิน (กำไร) ที่ชนกรรมาชีพผลิตขึ้น การต่อสู้ระหว่างชนชั้นนี้ซึ่งมักแสดงออกมาเป็นการกบฏของกำลังการผลิตของสังคม (productive force) ต่อความสัมพันธ์การผลิต (relation of production) ของสังคม ส่งผลให้เกิดวิกฤติระยะสั้นเมื่อชนชั้นกระฎุมพีประสบความลำบากในการจัดการความแปลกแยกของแรงงาน (alienation of labor) ที่ทวีความรุนแรงขึ้นของชนกรรมาชีพ แม้ว่ามีความสำนึกเรื่องชนชั้น (class consciousness) ระดับมากน้อย วิกฤตนี้ลงเอยด้วยการปฏิวัติของชนกรรมาชีพและการสถาปนาสังคมนิยมในที่สุด ซึ่งเป็นระบบทางสังคมและเศรษฐกิจที่ยึดสังคมเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต กระจายให้แต่ละคนตามการมีส่วนร่วมและการผลิตที่จัดระเบียบโดยตรงสำหรับการใช้ เมื่อกำลังการผลิตก้าวหน้าขึ้น มากซ์ตั้งสมมติฐานว่าสังคมนิยมสุดท้ายจะแปลงเป็นสังคมคอมมิวนิสต์ หมายถึง สังคมไร้ชนชั้น ไร้รัฐ และมีมนุษยธรรมที่ยึดกรรมสิทธิ์ร่วมและหลักการพื้นเดิม "จากแต่ละคนตามความสามารถ ให้แต่ละคนตามความต้องการ" (From each according to his ability, to each according to his needs) ลัทธิมากซ์พัฒนาเป็นหลายแขนงและสำนักคิด แม้ปัจจุบันไม่มีทฤษฎีลัทธิมากซ์หนึ่งเดียว สำนักลัทธิมากซ์ต่าง ๆ เน้นแง่มุมบางอย่างของลัทธิมากซ์คลาสสิกต่างกัน และปฏิเสธหรือดัดแปลงแง่มุมบางอย่าง หลายสำนักคิดมุ่งรวมมโนทัศน์ลัทธิมากซ์กับมโนทัศน์ที่มิใช่มากซ์ ซึ่งมักนำไปสู่บทสรุปที่ขัดแย้งกัน ทว่า สมัยหลังมีขบวนการสู่การรับรองวัสดุนิยมทางประวัติศาสตร์และวัสดุนิยมวิภาษวิธียังเป็นแง่มุมหลักของสำนักคิดลัทธิมากซ์ทุกสำนัก ซึ่งทำให้มีความเห็นตรงกันระหว่างสำนักต่าง ๆ มากขึ้น.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง มหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลินและลัทธิมากซ์

มหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลินและลัทธิมากซ์ มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ฟรีดริช เองเงิลส์คาร์ล มากซ์

ฟรีดริช เองเงิลส์

ฟรีดริช เองเงิลส์ (Friedrich Engels) เป็นนักคิดนักเขียนชาวเยอรมัน และนักทฤษฎีสังคมนิยมวิทยาศาสตร์ เป็นเพื่อนร่วมงานและคู่คิดที่ใกล้ชิดของ คาร์ล มาร์กซ์ โดยร่วมกันวางรากฐานของอุดมการณ์คอมมิวนิสต์และลัทธิมาร์กซ และมีบทบาทสำคัญในการปรับปรุงหลักการของลัทธิมาร์กซว่าด้วยวัตถุนิยมทางประวัติศาสตร์ และวัตถุนิยมวิภาษวิธี ให้ก้าวหน้าจนเป็นที่ยอมรับทั่วไปในขบวนการสังคมนิยม.

ฟรีดริช เองเงิลส์และมหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลิน · ฟรีดริช เองเงิลส์และลัทธิมากซ์ · ดูเพิ่มเติม »

คาร์ล มากซ์

ร์ล ไฮน์ริช มากซ์ (Karl Heinrich Marx, 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2361 — 14 มีนาคม พ.ศ. 2426) เป็นนักปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์ นักประวัติศาสตร์ นักทฤษฎีการเมือง นักสังคมวิทยา นักหนังสือพิมพ์และนักสังคมนิยมปฏิวัติชาวเยอรมัน มากซ์เกิดในครอบครัวชนชั้นกลางในเทรียร์ เขาศึกษากฎหมายและปรัชญาแบบเฮเกิล เนื่องจากงานพิมพ์การเมืองของเขาทำให้เขาไร้สัญชาติและอาศัยลี้ภัยในกรุงลอนดอน ซึ่งเขายังพัฒนาความคิดของเขาต่อโดยร่วมมือกับนักคิดชาวเยอรมัน ฟรีดริช เองเงิลส์ และจัดพิมพ์งานเขียนของเขา เรื่องที่ขึ้นชื่อของเขา ได้แก่ จุลสารปี 2391, แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์ และทุน จำนวนสามเล่ม ความคิดทางการเมืองและปรัชญาของเขามีอิทธิพลใหญ่หลวงต่อปัญญาชนรุ่นหลัง วิชาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจและประวัติศาสตร์การเมือง ชื่อของเขาเป็นคำคุณศัพท์ นามและสำนักทฤษฎีสังคม ทฤษฎีของมากซ์เกี่ยวกับสังคม เศรษฐศาสตร์และการเมือง ที่เรียกรวมว่า ลัทธิมากซ์ ถือว่าสังคมมนุษย์พัฒนาผ่านการต่อสู้ระหว่างชนชั้น ในทุนนิยม การต่อสู้ระหว่างชนชั้นแสดงออกมาในรูปการต่อสู้ระหว่างชนชั้นปกครอง (เรียก ชนชั้นกระฎุมพี) ซึ่งควบคุมปัจจัยการผลิตและชนชั้นแรงงาน (เรียก ชนกรรมาชีพ) นำปัจจัยการผลิตดังกล่าวไปใช้โดยขายากำลังแรงงานของพวกตนเพื่อแลกกับค่าจ้าง มากซ์ใช้แนวเข้าสู่การศึกษาวิพากษ์ที่เรียก วัสดุนิยมทางประวัติศาสตร์ ทำนายว่าทุนนิยมจะก่อเกิดความตึงเครียดภายในซึงจะนำไปสู่การทำลายตนเองเช่นเดียวกับระบบสังคมและเศรษฐกิจก่อนหน้านี้ และแทนท่ด้วยระบบใหม่ คือ สังคมนิยม; สำหรับมากซ์ การต่อต้านชนชั้นภายใต้ทุนนิยมซึ่งบางส่วนมีสาเหตุจากความไม่มั่นคงและสภาพที่มีแนวโน้มเกิดวิกฤติ จะลงเอยด้วยการพัฒนาความสำนึกเรื่องชั้นชนของชนชั้นแรงงาน และนำไปสู่การพิชิตอำนาจทางการเมืองและสุดท้ายการสถาปนาสังคมคอมมิวนิสต์ปราศจากชนชั้นอันประกอบด้วยการรวมกันเป็นสมาคมอิสระของผู้ผลิต มากซ์เรียกร้องให้นำความคิดดังกล่าวไปปฏิบัติอย่างแข็งขัน โดยแย้งว่าชนชั้นแรงงานควรเป็นผู้ลงมือปฏิวัติแบบจัดระเบียบเพื่อโค่นทุนนิยมและนำมาซึ่งการปลดปล่อยให้เป็นอิสระทางสังคมและเศรษฐกิจ มีผู้อธิบายว่ามากซ์เป็นบุคคลทรงอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์มนุษย์ และงานของเขาได้รับการสรรเสริญและวิพากษ์ งานของเขาในวิชาเศรษฐศาสตร์วางรากฐานสำหรับความเข้าใจในปัจจุบันของแรงงานและความสัมพันธ์กับทุน และความคิดทางเศษฐศาสตร์สมัยหลัง ปัญญาชน สหภาพแรงงาน ศิลปินและพรรคการเมืองจำนวนมากทั่วโลกได้รับอิทธิพลจากงานของมากซ์ มีหลายคนดัดแปลงหรือรับความคิดของเขามาใช้ มักออกชื่อมากซ์ว่าเป็นผู้สร้างสังคมศาสตร์สมัยใหม่คนสำคัญคนหนึ่ง.

คาร์ล มากซ์และมหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลิน · คาร์ล มากซ์และลัทธิมากซ์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง มหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลินและลัทธิมากซ์

มหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลิน มี 24 ความสัมพันธ์ขณะที่ ลัทธิมากซ์ มี 10 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 5.88% = 2 / (24 + 10)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง มหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลินและลัทธิมากซ์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »