โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน

ดัชนี มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน

มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน (University of Wisconsin-Madison) หรือนิยมเรียก มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เป็นมหาวิทยาลัยรัฐบาลในสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่เมืองแมดิสัน ในรัฐวิสคอนซิน มหาวิทยาลัยก่อตั้งในปี พ.ศ. 2391 (ค.ศ. 1848) ในปัจจุบัน (ปี 2548 เทอมฤดูใบไม้ร่วง) มีนึกศึกษาทั้งหมด 41,480 คน ซึ่งทำให้มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน มีนักศึกษามากเป็นอันดับ 10 ของมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน มีชื่อเสียงในด้านแพทยศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์ นิติศาสตร์ และ รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยตั้งอยู่ในตัวเมืองโดยด้านหลังมหาวิทยาลัยเป็นทะเลสาบขนาดใหญ่ และด้านหน้ามหาวิทยาลัยเป็นถนนชื่อสเตต เป็นแหล่งชอปปิงชื่อดังของเมืองแมดิสัน ภาพในมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ด้านหลังเป็นตึกแคปิตอลของรัฐวิสคอนซิน.

31 ความสัมพันธ์: ชัยอนันต์ สมุทวณิชชาติชาย ณ เชียงใหม่พ.ศ. 2391พรชัย มาตังคสมบัติกัญจนา ศิลปอาชาภักดี โพธิศิริภาคการศึกษาภูมิศาสตร์รัฐวิสคอนซินรัฐศาสตร์วิชัย ริ้วตระกูลศึกษาศาสตร์สังคมศาสตร์สืบแสง พรหมบุญหม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุลอิสสรีย์ หรรษาจรูญโรจน์ธวัช วิชัยดิษฐธเนศ วงศ์ยานนาวาณหทัย ทิวไผ่งามดอลลาร์สหรัฐคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐประวัติศาสตร์ประเสริฐ โศภนปิยะบุตร ชลวิจารณ์นิติศาสตร์แพทยศาสตร์แก้วสรร อติโพธิไชยันต์ ไชยพรเกษม ศิริสัมพันธ์เสริมลาภ วสุวัต1000000000

ชัยอนันต์ สมุทวณิช

ตราจารย์ ชัยอนันต์ สมุทวณิช สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ อดีตผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อดีตประธานกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เกิดวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2487 เป็นบุตรของ พล.ต.ต.ชนะ สมุทวณิช นามสกุล "สมุทวณิช" เป็นนามสกุลพระราชทาน ในสมัยรัชกาลที่ 6 ศาสตราจารย์ ชัยอนันต์ สมุทวณิช หรือ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช สมรสกับ นางสุภาธร สมุทวณิช (สกุลเดิม สาครบุตร) มีบุตร 3 คนคือ นายพชร สมุทวณิช ผู้บริหารหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ,พลอย จริยะเวช นักเขียน นักแปล (สมรสกับ พันโทธีระ จริยะเวช กรมยุทธบริการ กองบัญชาการทหารสูงสุด) และ นายพลาย สมุทวณ.ดร.ชัยอนันต์ ไม่ใช่เด็กเรียนดีมาก่อน จบมัธยมศึกษาปีที่ 8 จากวชิราวุธวิทยาลัย ด้วยคะแนนเพียง 57.3% แต่พยายามจนสอบเข้า คณะรัฐศาสตร์ แผนกนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้สำเร็จ เรียนอยู่ 1 ปีสามารถสอบชิง ทุนโคลัมโบ ไปเรียนปริญญาตรีที่ มหาวิทยาลัยวิกตอเรีย ประเทศนิวซีแลนด์ ต่อมาสำเร็จปริญญาโท และ ปริญญาเอกทางรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา ในปี..

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสันและชัยอนันต์ สมุทวณิช · ดูเพิ่มเติม »

ชาติชาย ณ เชียงใหม่

ตราจารย์ ดร.ชาติชาย ณ เชียงใหม่ กรรมการในคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ยกร่าง พ.ศ. 2558) สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ คณะทำงานรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการเตรียมการยุทธศาสตร์ชาติ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 8/2560 อดีตรองอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และเป็นอดีตผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี หน่วยบริการรูปแบบพิเศษในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสันและชาติชาย ณ เชียงใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2391

ทธศักราช 2391 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสันและพ.ศ. 2391 · ดูเพิ่มเติม »

พรชัย มาตังคสมบัติ

ตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ พรชัย มาตังคสมบัติ เกิดเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2483 ที่กรุงเทพมหานคร สมรสกับ ร.ดร.อรพรรณ มาตังคสมบัติ มีธิดา 2 คน คือ ทพญ.อรนาฏ มาตังคสมบัติ และ พญ.พรพรรณ มาตังคสมบัติ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ พรชัย มาตังคสมบัติ หรือ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ ดร.พรชัย มาตังคสมบัติ เป็นผู้มีความมุ่งมั่นและให้ความสำคัญต่อการพัฒนาระบบการศึกษาวิทยาศาสตร์ของประเทศ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรสายวิทยาศาสตร์อย่างครบวงจร การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน และกระบวนการสอนวิทยาศาสตร์ระดับประเทศ รวมทั้งการสร้างเครือข่ายภายในประเทศและต่างประเทศทั้งระดับภูมิภาคและทั่วโลก เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ผู้มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนามหาวิทยาลัย ระหว่างดำรงตำแหน่งอธิการบดี ได้ทำให้มหาวิทยาลัยมหิดลพัฒนาขึ้นเป็นอย่างมาก จึงได้รับความไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีเป็นวาระที่สอง ไม่นานมานี้ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ พรชัย มาตังคสมบัติได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์ปาล์มส์อะกาเดมิกส์ ชั้นอัศวิน (Commandeur dans l’Ordre des Palmes Academiques) ในฐานะผู้พัฒนาความร่วมมือทางวิชาการและทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศไทยกับประเทศฝรั่งเศส ขณะเดียวกัน มหาวิทยาลัยมหิดลก็ได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณประเภทธุรกิจบริการดีเด่นกลุ่มการศึกษานานาชาติ ปี 2549 (Prime Minister’s Export Award 2006) จากนายกรัฐมนตรี เพื่อประกาศเกียรติคุณมหาวิทยาลัยในฐานะที่ได้รับความนิยมจากชาวต่างประเทศมากที่สุด ในพิธีประกาศเกียรติคุณและมอบรางวัล เมื่อวันจันทร์ที่ 28 สิงหาคม 2549 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นอกจากนั้น มหาวิทยาลัยมหิดลในยุคสมัยของท่านได้รับการจัดอันดับจาก สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) แห่งชาติให้เป็นมหาวิทยาลัยดีเลิศอันดับ 1 ของไทยทั้งด้านการเรียนการสอนและการวิจัย เมื่อเปรียบเทียบกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ ภายในประเทศทั้งหม.

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสันและพรชัย มาตังคสมบัติ · ดูเพิ่มเติม »

กัญจนา ศิลปอาชา

นางสาวกัญจนา ศิลปอาชา อดีตรองหัวหน้าพรรคชาติไทย และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุพรรณบุรี หลายสมัย เกิดวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 เป็นบุตรีของนายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตนายกรัฐมนตรี และคุณหญิงแจ่มใส ศิลปอ.

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสันและกัญจนา ศิลปอาชา · ดูเพิ่มเติม »

ภักดี โพธิศิริ

ัชกร ศาสตราจารย์(พิเศษ) ดร.ภักดี โพธิศิริ (เกิด 18 มิถุนายน พ.ศ. 2490) เป็น กรรมการในคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารในคณะกรรมการบริหารศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์อดีตกรรมการ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติและอดีตเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณ.

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสันและภักดี โพธิศิริ · ดูเพิ่มเติม »

ภาคการศึกษา

การศึกษา, ภาคเรียน หรือ เทอม (academic term เป็นช่วงหนึ่งของปีการศึกษาซึ่งสถานศึกษาจัดให้มีการเรียนการสอน ระบบปฏิทินการศึกษามีแตกต่างกันไปดังนี้.

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสันและภาคการศึกษา · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิศาสตร์

แผนที่โลก ภูมิศาสตร์ (geography) เป็นสาขาวิชาหนึ่งที่ทำการศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะเฉพาะ ของสถานที่ที่ปรากฏอยู่บนพื้นผิวโลก ภูมิศาสตร์จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดวางสิ่งต่าง ๆ และความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่แบ่งแยกสิ่งหนึ่งออกจากสิ่งอื่น ๆ โดยภูมิศาสตร์พยายามค้นหาเพื่อที่จะตีความให้กระจ่างถึงความสำคัญ ของสิ่งที่เหมือนและแตกต่างกันระหว่างพื้นที่ในรูปของสาเหตุและความเกี่ยวเนื่อง ปัจจุบันการศึกษาด้านภูมิศาสตร์ จะมุ่งเน้นความเข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียดเบื้องต้นที่เกี่ยวกับพื้นที่มากกว่าที่จะศึกษาลักษณะเฉพาะและสถานที่ต่าง ๆ ของโลกอย่างคร่าว ๆ อย่างที่เคยปฏิบัติขึ้นมาในระยะแรก ๆ ภูมิศาสตร์ได้เปลี่ยนแนวทางมาสู่การศึกษารายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่นั้น ๆ โดยเฉพาะ ซึ่งจะใช้การศึกษานี้พิจารณาว่า "มีสิ่งใดบ้างที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดสิ่งนั้นสิ่งนี้ขึ้น และแต่ละสิ่งมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างไร" โดยถือรูปแบบและวิธีการดังกล่าวว่า เป็นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ ภายใต้สภาวะต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดลักษณะเฉพาะหรือเกิดปรากฏการณ์พิเศษในพื้นที่นั้น ๆ ขึ้น และถือว่าเป็น ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ ที่เกิดขึ้น ซึ่งมีหลายลักษณะ เช่น ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะทางธรณีวิทยาของโลก ลักษณะทางสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น โดยจะมีความเกี่ยวเนื่องและมีความสัมพันธ์ระหว่างกันในแต่ละลักษณะที่กล่าวถึง.

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสันและภูมิศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐวิสคอนซิน

รัฐวิสคอนซิน (Wisconsin) เป็นรัฐที่ตั้งอยู่ตอนกลางของสหรัฐอเมริกาตั้งอยู่ในเขตมิดเวสต์ ชื่อวิสคอนซินมาจากชื่อแม่น้ำวิสคอนซิน ซึ่งบันทึกในภาษาฝรั่งเศสว่า "Ouisconsin" มาจากอินเดียนแดง หมายถึงดินแดนของหินแดง รัฐวิสคอนซินมีชื่อเสียงในเรื่องของชีสและผลิตภัณฑ์อื่นจากวัว เมืองสำคัญในรัฐวิสคอนซินได้แก่ มิลวอกี แมดิสัน และ กรีนเบย์ มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงได้แก่ มหาวิทยาลัยวิสคอนซินในเมืองแมดิสันและเมืองมิลวอกี ทีมกีฬาที่มีชื่อเสียงได้แก่ ทีมอเมริกันฟุตบอลกรีนเบย์ แพคเกอร์ และ ทีมบาสเกตบอลมิลวอกี บักส์ ในปี 2551 วิสคอนซินมีประชากร 5,601,640 คน.

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสันและรัฐวิสคอนซิน · ดูเพิ่มเติม »

รัฐศาสตร์

รัฐศาสตร์ (political science) เป็นสาขาวิชาที่เกิดขึ้นในราวศตวรรษที่ 19 ซึ่งนักรัฐศาสตร์ยุคแรกนั้นพัฒนากระบวนวิชาขึ้นมาให้สอดคล้องกับแนวนิยมทางวิทยาศาสตร์ สารานุกรมบริทานิกา คอนไซส์ (Britanica Concise Encyclopedia) อธิบายรัฐศาสตร์ว่า เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการปกครองและการเมืองด้วยแนวทางประจักษ์นิยม (empiricism) นักรัฐศาสตร์คือนักวิทยาศาสตร์ที่พยายามแสวงหา และทำความเข้าใจธรรมชาติของการเมือง ส่วนพจนานุกรมการเมืองของออกซ์ฟอร์ด (Oxford Dictionary of Politics) นิยามว่า รัฐศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องรัฐ รัฐบาล/การปกครอง (government) หรือการเมือง กล่าวอย่างรวบรัดรัฐศาสตร์เป็นวิชาในสายสังคมศาสตร์ สาขาหนึ่งซึ่งแบ่งการศึกษาออกเป็นสาขาต่างๆ อาทิ ปรัชญาการเมือง ประวัติศาสตร์การเมือง ประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมือง ทฤษฎีการเมือง อุดมการณ์ทางการเมือง การบริหารรัฐกิจ หรือการบริหารจัดการสาธารณะ หรือ รัฐประศาสนศาสตร์ การเมืองเปรียบเทียบ (comparative politics), การพัฒนาการเมือง, สถาบันทางการเมือง, การเมืองระหว่างประเทศ การปกครองและการบริหารรัฐ (national politics), การเมืองการปกครองท้องถิ่น (local politics) เป็นต้น ซึ่งสาขาต่างๆเหล่านี้อาจแปรเปลี่ยนไปตามแต่ละสถาบันว่าจะจัดการเรียนการสอนอย่างไร อย่างไรก็ตามหากจะเรียกว่าการจัดกระบวนวิชาใดนั้นเป็นรัฐศาสตร์หรือไม่ ก็ขึ้นกับว่าการจัดการเรียนการสอนดังกล่าวใช้มโนทัศน์ "การเมือง" เป็นมโนทัศน์หลัก (crucial concept/key concept) หรือไม่ แต่โดยจารีตของกระบวนวิชา(scholar) นั้นรัฐศาสตร์ จะมีสาขาย่อยที่เป็นหลักอย่างน้อย 3 สาขาคือ สาขาการปกครอง (government), สาขาการบริหารกิจการสาธารณะ (public administration) และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ(international relation).

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสันและรัฐศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

วิชัย ริ้วตระกูล

ตาจารย์ วิชัย ริ้วตระกูล (12 ตุลาคม 2485 -) กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ ของมหาวิทยาลัยนครพนม นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช ประจำปี..

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสันและวิชัย ริ้วตระกูล · ดูเพิ่มเติม »

ศึกษาศาสตร์

ศึกษาศาสตร์ เป็นการศึกษาว่าด้วยการสร้างพื้นฐานและความรู้ของการเป็นครู ประกอบด้วยวิชาการศึกษาเป็นต้น หมวดหมู่:จิตวิทยาการศึกษา หมวดหมู่:การศึกษา.

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสันและศึกษาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

สังคมศาสตร์

กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ (social science) คือ สาขาวิชาที่ใช้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์เพื่อศึกษาโลกในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ หน่วยสังคมต่าง ๆ ของมนุษย์ รวมทั้งพฤติกรรมของมนุษย์ในแง่มุมต่าง ๆ วิชาในสังคมศาสตร์แตกต่างจากวิชาในกลุ่มมนุษยศาสตร์ เนื่องจากหลาย ๆ สาขาวิชาในสังคมศาสตร์เน้นการหาความรู้และความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการดำเนินพฤติกรรมของมนุษย์และปรากฏการณ์ทางสังคมด้วยกระบวนการแบบปฏิฐานและประจักษ์นิยม ทั้งเชิงปริมาณ (quantitative method) และเชิงคุณภาพ (qualitative method) อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ อย่างไรก็ตาม บางสาขาก็อาจจะนำระเบียบวิธีเชิงคุณภาพแบบการตีความ การคาดการณ์ วิเคราห์ตามหลักปรัชญาและตรรกะ หรือความเชื่อส่วนบุคคล และการวิจารณ์มาใช้ในการอธิบายพฤติกรรมในบางกรณีที่เหมาะสมหากจำเป็น อย่างไรก็ตาม ระเบียบวิธีการศึกษาทางสังคมศาสตร์แบบใหม่ได้รับอิทธิพลจากสังคมศาสตร์แบบอเมริกันอย่างมาก ทำให้การศึกษาแบบปฏิฐานนิยมได้รับความนิยมและการยอมรับมากกว่าระเบียบวิธีแบบเก่าที่คล้ายคลึงกับสาขามนุษยศาสตร์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ (2529: 129) ทรงกล่าวถึงความหมายของสังคมศาสตร์และขอบเขตของการศึกษาวิชานี้ไว้ว่า สังคมศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของมนุษย์ในทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ตามความเป็นจริง สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ.

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสันและสังคมศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

สืบแสง พรหมบุญ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สืบแสง พรหมบุญ อดีตนักวิชาการทางประวัติศาสตร์ นักการศึกษา และนักการเมืองชาวไทย ผ.ดร.สืบแสง เกิดเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2484 จบการศึกษาระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนพิณพลราษฎร์ จังหวัดพิษณุโลก ระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ระดับปริญญาตรีจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เกียรตินิยม) ปริญญาโทและปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยทุนของมูลนิธิเอ็ดวาร์ด ดับเบิลยู เฮเซน และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน รุ่นที่ 77 (วปรอ.377) รับราชการโดยเริ่มจากการเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นพระอาจารย์ถวายการสอนวิชาประวัติศาสตร์จีนแด่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อครั้งที่ทรงเป็นนิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้เป็นนายกสมาคมประวัติศาสตร์ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ต่อมาได้ย้ายไปเป็นอาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และได้เป็นคณบดีระหว่างปี พ.ศ. 2526-พ.ศ. 2528 ผ.ดร.สืบแสง เป็นอาจารย์พิเศษในสาขาวิชาประวัติศาสตร์ ในหลายสถาบันการศึกษา และเป็นรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและยุทธศาสตร์องค์กร และอธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต ในปี พ.ศ. 2538 ในทางด้านการศึกษา ได้เป็นผู้วางรากฐานการศึกษา โดยเฉพาะวิชาประวัติศาสตร์ในหลายสถาบัน เป็นกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย และ ประธานคณะกรรมการสืบค้นประวัติศาสตร์ไทยจากเอกสารจีน สำนักนายกรัฐมนตรี ทางด้านการเมือง ได้ร่วมงานกับพรรคพลังใหม่ จากนั้นได้ย้ายเข้าสู่พรรคประชาธิปัตย์ ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เขต 7 กรุงเทพมหานคร ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ) เมื่อปี พ.ศ. 2553 ต่อมาในการเลือกตั้ง..

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสันและสืบแสง พรหมบุญ · ดูเพิ่มเติม »

หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล

ร้อยตรี หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล พิธีกร และผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ อดีตผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2552 และความรู้ความสามารถในการเป็นพิธีกร ทั้งเรื่องประเด็นข่าวเศรษฐกิจ และต่างประเทศอีกด้ว.

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสันและหม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล · ดูเพิ่มเติม »

อิสสรีย์ หรรษาจรูญโรจน์

รศ.ดร.อิสสรีย์ หรรษาจรูญโรจน์ รองศาสตราจารย์ อิสสรีย์ หรรษาจรูญโรจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร.

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสันและอิสสรีย์ หรรษาจรูญโรจน์ · ดูเพิ่มเติม »

ธวัช วิชัยดิษฐ

รองศาสตราจารย์ ดร.ธวัช วิชัยดิษฐ (12 พฤศจิกายน 2483 - 11 ธันวาคม 2541) อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (นายชวน หลีกภัย) และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ ธวัช วิชัยดิษฐ เสียชีวิตในเหตุการณ์เครื่องบินสายการบินไทยตก ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อปี พ.ศ. 2541 เป็นเหตุการณ์เดียวกันกับที่นายเรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์ รอดชีวิต.

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสันและธวัช วิชัยดิษฐ · ดูเพิ่มเติม »

ธเนศ วงศ์ยานนาวา

นศ วงศ์ยานนาวา (เกิด 22 มิถุนายน พ.ศ. 2500) เป็นศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักวิชาการชาวไทยที่มีความถนัดและผลงานทางด้านสังคมศาสตร์โดยเฉพาะด้านปรัชญาการเมือง ทฤษฎีสังคม ประวัติศาสตร์ความคิด โดยเฉพาะในเรื่องของแนวคิดหลังยุคนวนิยมหรือ โพสต์โมเดิร์น จนได้รับฉายาว่าเป็น "'เจ้าพ่อโพสต์โมเดิร์น'" คนหนึ่งของเมืองไทย นอกจากนี้เขายังมีความสนใจในเรื่องของวัฒนธรรมทางสังคมเช่น ดนตรี ภาพยนตร์ เพศและ อาหาร อีกด้วย ธเนศยังเป็นบรรณาธิการรัฐศาสตร์สารของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเขียนคอลัมน์เกี่ยวกับดนตรีและภาพยนตร์ในสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์โดยใช้นามปากกา "ธนา วงศ์ญาณณาเวช" ซึ่งเป็นคำผวนของชื่อจริงและนามสกุลของธเนศเอง นอกจากนี้ธเนศยังมีรายการ ทางช่องใน Youtube ทำร่วมกับแขกผู้ดำเนินรายการอื่นๆ และยังมีกลุ่ม ใน Facebook ที่ซึ่งสมาชิกจะสามารถถามคำถามต่างๆได้ตั้งแต่ก้อนขี้หมายันก้อนอุกาบาต โดยอาจารย์จะเข้ามาตอบคำถามเพื่อคลายข้อสงสัยนั้น.

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสันและธเนศ วงศ์ยานนาวา · ดูเพิ่มเติม »

ณหทัย ทิวไผ่งาม

ร.ณหทัย ทิวไผ่งาม อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปี 2544 และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคไทยรักไท.

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสันและณหทัย ทิวไผ่งาม · ดูเพิ่มเติม »

ดอลลาร์สหรัฐ

100 ดอลลาร์สหรัฐ ธนบัตรที่มีค่ามากสุดในสหรัฐในปัจจุบัน ดอลลาร์สหรัฐ (United States dollar; ในเอกสารเก่าอาจพบการใช้ เหรียญสหรัฐ) เป็นสกุลเงินของประเทศสหรัฐอเมริกา และยังใช้เป็นสกุลเงินสำรองในหลายประเทศทั่วโลก รหัสสากลคือ ISO 4217 ใช้ตัวย่อว่า USD และสัญลักษณ์ $ โดย 1 ดอลลาร์สหรัฐมีค่าเท่ากับเกือบ 34 บาท (baht) สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศหนึ่งที่ใช้หน่วยเงิน ดอลลาร์ เป็นสกุลเงินประจำชาติ และยังมีประเทศอื่นที่มีเงินดอลลาร์เช่นกัน แต่ใช้ชื่อเรียกอื่น เช่น ดอลลาร์สิงคโปร์ ดอลลาร์ฮ่องกง ดอลลาร์ไต้หวัน นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐ ยังเป็นสกุลเงินหลักในหลายประเทศ และในบางประเทศถึงแม้ว่าดอลลาร์สหรัฐไม่ใช่สกุลเงินหลัก แต่ยังมีการยอมรับในการใช้จ่ายสินค้าทั่วไป ชื่อเล่นที่ชาวอเมริกันเรียก 1 เซนต์ ว่า "เพนนี" (penny), 5 เซนต์ ว่า "นิกเกิล" (nickel), 10 เซนต์ ว่า "ไดม์" (dime), 25 เซนต์ ว่า "ควอเตอร์" (quarter), 1 ดอลลาร์สหรัฐ ว่า "บั๊ก (ภาษาสแลง, ภาษาพูด)" (buck) และเรียก หนึ่งพันดอลลาร์สหรัฐ ว่า แกรนด์ (grand).

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสันและดอลลาร์สหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ

ณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (ชื่อย่อ คตส.) เป็นคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน ในเรื่องที่ได้กระทำการให้รัฐเสียหายเฉพาะรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรเท่านั้น ตั้งขึ้นตาม ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 30 ลงวันที่ 30 กันยายน..

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสันและคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์ (history; รากศัพท์ภาษากรีก ἱστορία หมายถึง "การสอบถามหาความรู้ที่ได้มาโดยการสอบสวน") เป็นการค้นพบ ค้นหา รวบรวม จัดระเบียบและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีตประวัติศาสตร์ยังอาจหมายถึงช่วงเวลาหลังมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้น นักวิชาการผู้เขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เรียกนักประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์เป็นสาขาการวิจัยซึ่งใช้การบรรยายเพื่อพิจารณาและวิเคราะห์ลำดับของเหตุการณ์ และบางครั้งพยายามสอบสวนรูปแบบของเหตุและผลซึ่งมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์อย่างยุติธรรม นักประวัติศาสตร์ถกเถียงกันเรื่องธรรมชาติของประวัติศาสตร์และประโยชน์ของมัน ซึ่งรวมทั้งถกเถียงการศึกษาสาขาวิชาเป็นจุดจบในตัวมันเองและเป็นเสมือนวิถีการให้ "มุมมอง" ต่อปัญหาในปัจจุบันp 52 เรื่องเล่าซึ่งเป็นสิ่งธรรมดาในวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่ง แต่ไม่มีการสนับสนุนจากแหล่งข้อมูลภายนอก (เช่น ตำนานเกี่ยวกับกษัตริย์อาเธอร์) มักจัดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมากกว่า "การสอบสวนอย่างไม่นำพา" ที่จำเป็นตามสาขาประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ในอดีตก่อนมีบันทึกลายลักษณ์อักษรเรียกว่า ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในบรรดานักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล เฮโรโดตัส ถูกพิจารณาว่าเป็น "บิดาแห่งประวัติศาสตร์" เขาร่วมกับธูซิดดิดีส0 นักประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ก่อตั้งรากฐานของการศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่ อิทธิพลของพวกเขา ร่วมกับแบบแผนทางประวัติศาสตร์อื่นในส่วนอื่นของโลก ได้ก่อให้เกิดการตีความธรรมชาติของประวัติศาสตร์ไปต่าง ๆ นานา ซึ่งได้วิวัฒนามาเป็นเวลาหลายศตวรรษและยังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในปัจจุบัน การศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่มีหลายสาขา รวมทั้งสาขาที่มุ่งศึกษาภูมิภาคหนึ่งโดยเฉพาะ และสาขาที่มุ่งศึกษาองค์ประกอบเฉพาะหัวข้อหรือใจความของการสอบสวนประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์มักสอนเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาขั้นประถมและมัธยม และการศึกษาวิชาการประวัติศาสตร์เป็นสาขาหลักในระดับอุดมศึกษ.

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสันและประวัติศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเสริฐ โศภน

ตราจารย์เกียรติคุณ ประเสริฐ โศภน (8 ธันวาคม 2486 -) เกิดที่จังหวัดสกลนคร เป็นบุตรคนที่ 6 ในจำนวน 10 คน ของ นายสุนทร และนางสว่างจิต โศภน เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวไทย ที่มีผลงานดีเด่นในสาขากายวิภาคศาสตร์และเซลล์ชีววิทยา เจ้าของรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น สาขาเซลล์ชีววิทยา ของมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปี..

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสันและประเสริฐ โศภน · ดูเพิ่มเติม »

ปิยะบุตร ชลวิจารณ์

ปิยะบุตร ชลวิจารณ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ และนายกสมาคมอัสสัมชัญ (สมาคมศิษย์เก่า) คนปัจจุบัน ประธานกรรมการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประธานอำนวยการและรองประธานกรรมการสถาบันคีนันแห่งเอเซี.

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสันและปิยะบุตร ชลวิจารณ์ · ดูเพิ่มเติม »

นิติศาสตร์

นิติศาสตร์ เป็นวิชาที่ว่าด้วยกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม.

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสันและนิติศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

แพทยศาสตร์

right แพทยศาสตร์ (Medicine) เป็นสาขาของวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพและเยียวยารักษาโรคหรืออาการเจ็บป่วย การแพทย์เป็นแขนงอาชีพที่ต้องใช้ทั้งความรู้และทักษะอย่างสูง แพทยศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เก่าแก่มีความสำคัญ ผู้ประกอบอาชีพทางการแพทย์มักได้รับความนับถือในสังคม แพทยศาสตร์มีศาสตร์เฉพาะทางต่าง ๆ อีกมากมายเช่น กุมารเวชศาสตร์, อายุรศาสตร์, ศัลยศาสตร์, ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ (ศัลยศาสตร์กระดูก), สูติศาสตร์, นรีเวชวิทยา, โสตศอนาสิกวิทยา, นิติเวชศาสตร์, จักษุวิทยา, จิตเวชศาสตร์,รังสีวิทยา,ตจวิทยา, พยาธิวิทยา, เวชศาสตร์ชุมชน, อาชีวเวชศาสตร์, เวชศาสตร์ฟื้นฟู, เวชระเบียน, เวชสถิติ และอื่น ๆ อีกมากมาย และในแต่ละสาขายังแบ่งย่อยเป็นสาขาย่อยลงไปอีกตามอวัยวะหรือกลุ่มของโรค เช่น ศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก อายุรศาสตร์โรคไต เป็นต้น.

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสันและแพทยศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

แก้วสรร อติโพธิ

นายแก้วสรร อติโพธิ สมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร เกิดเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2494 ที่จังหวัดลำพูน นายแก้วสรรเป็นพี่น้องฝาแฝดกับ นายขวัญสรวง อติโพธิ บิดาคือ นาย ศิริ อติโพธิ อดีตปลัดกระทรวงยุติธรรม, ประธาน ปปป.

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสันและแก้วสรร อติโพธิ · ดูเพิ่มเติม »

ไชยันต์ ไชยพร

ตราจารย์ ดร.ไชยันต์ ไชยพร (เกิด 18 กันยายน พ.ศ. 2502 -) เป็นอาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นที่รู้จักกันในฐานะอาจารย์รัฐศาสตร์จุฬาฯ ผู้ฉีกบัตรเลือกตั้งต่อหน้าสื่อมวลชนในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2549 ในแนวทางอารยะขัดขืน นอกจากนี้ไชยันต์ยังเป็นนักวิชาการที่เขียนบทความเผยแพร่ตามสื่อต่างๆ อีกมากมาย ไชยันต์มีความเชี่ยวชาญด้านทฤษฎีและปรัชญาการเมือง โดยทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเกี่ยวกับแนวคิดทางการเมืองในงานของเพลโต เคยดำรงตำแหน่งรองคณบดีฝ่ายวิชาการ และหัวหน้าภาควิชาการปกครอง นิสิตชอบเรียกว่า "โสกราตีสคนสุดท้าย" จากรูปแบบการสอนหนังสือ ที่เน้นการถามคำถามและสนทนามากกว่าบรรยายอย่างเดียว ในการประท้วงขับไล่นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ไชยันต์อยู่ในกลุ่มนักวิชาการกลุ่มแรก ๆ ที่ออกมาเคลื่อนไหว ในการเลือกตั้งวันที่ 2 เม.ย. พ.ศ. 2549 ไชยันต์ได้ฉีกบัตรเลือกตั้งของตนทิ้งโดยเป็นการเคลื่อนไหวในแนวทางอารยะขัดขืน ให้เหตุผลว่าการยุบสภาและการเลือกตั้งในครั้งนั้นไม่มีความชอบธรรม เขายอมรับว่ากระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งและพร้อมสู้คดีในทางกฎหมายต่อไป อย่างไรก็ตามไชยันต์ยืนยันสิทธิของตนตามรัฐธรรมนูญมาตรา 65 ว่าบุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธี หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เชิญตัวไปสอบสวน และ หลังจากนั้นได้มีผู้ร่วมฉีกบัตรเลือกตั้งโดยกล่าวว่ามีอุดมการณ์เดียวกับไชยันต์ด้วย ล่าสุดศูนย์นิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ยืนยันว่าจะช่วยเหลือไชยันต์ในทางกฎหมายแล้ว.

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสันและไชยันต์ ไชยพร · ดูเพิ่มเติม »

เกษม ศิริสัมพันธ์

กษม ศิริสัมพันธ์ (17 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 - 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2550) เคยเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี..

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสันและเกษม ศิริสัมพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

เสริมลาภ วสุวัต

ริมลาภ วสุวัต หรือที่รู้จักในนาม ดร.เสริมลาภ วสุวัต ประธานชมรมผู้รักบัวแห่งประเทศไทย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพันธุ์พืชในรัฐบาล เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ผู้เชี่ยวชาญพรรณไม้ประเภท บัว มีผลงานด้านวิชาการ คิดค้นผสมพันธุ์สายพันธุ์ใหม่ ๆ มากมาย ดูแลปลูกบัวพันธุ์ต่าง ๆ ให้กับวังสระปทุม เกิดเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2473 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของ พล..หลวงประเสริฐศัสตราวุธ (ลาภ วสุวัต) และ นางทองสุก วสุวัต ชีวิตส่วนตัวสมรสกับ นางศศิธร (นามสกุลเดิม: มุตตามระ) วสุวัต มีบุตรชายหญิงอย่างละคน ดร.เสริมลาภ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สาขากสิกรรมและสัตวบาล, ปริญญาโท พืชไร่ พืชสวนมหาวิทยาลัยมิสซิสซิปปี และปริญญาเอกโรคพืช พันธุ์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ประเทศสหรัฐอเมริกา เริ่มรับราชการเป็นผู้เชี่ยวชาญกรมวิชาการเกษตรเมื่อปี..

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสันและเสริมลาภ วสุวัต · ดูเพิ่มเติม »

1000000000

1000000000 (พันล้าน) เป็นจำนวนธรรมชาติที่อยู่ถัดจาก 999999999 (เก้าร้อยเก้าสิบเก้าล้านเก้าแสนเก้าหมื่นเก้าพันเก้าร้อยเก้าสิบเก้า) และอยู่ก่อนหน้า 1000000001 (พันล้านเอ็ด).

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสันและ1000000000 · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

University of Wisconsin MadisonUniversity of Wisconsin-Madisonมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »