โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มหาทวีปลอเรเชีย

ดัชนี มหาทวีปลอเรเชีย

มหาทวีปลอเรเชีย (Laurasia or) เป็นมหาทวีปที่ตั้งอยู่ทางเหนือของ มหาทวีปกอนด์วานา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมหาทวีปแพนเจีย เมื่อประมาณ 335 - 175 ล้านปีก่อน มหาทวีปนี้แยกออกจากมหาทวีปกอนด์วานา ในช่วง 215 - 175 ล้านปีก่อน (เริ่มต้นในปลายยุคไทรแอสซิก) ในระหว่างการล่มสลายของมหาทวีปแพนเจีย และล่องลอยไปทางทิศเหนือหลังจากแยกตัวออก ชื่อนี้รวมชื่อของ ทวีปลอเร็นเทีย เป็นชื่อที่ระบุไว้ใน North American craton และEurasia ตามที่ได้รับการแนะนำโดยการตั้งชื่อธรณีวิทยา Laurasia ได้รวบตัวพื้นที่ส่วนใหญ่ของแผ่นดินซึ่งสร้างขึ้นในทวีปปัจจุบันของซีกโลกเหนือ,ส่วนใหญ่ที่ทวีปลอเร็นเทีย,ทวีปบอลติกา,ทวีปคาซัคสถาเนีย,ทวีปไซบีเรีย,North China,South China และEast China.

14 ความสัมพันธ์: บอลข่านมหาทวีปมหาทวีปกอนด์วานามหาทวีปแพนเจียยุคไทรแอสซิกอัลเฟรด เวเกเนอร์อนุทวีปอินเดียธรณีวิทยาทวีปยุโรปทวีปอเมริกาเหนือทวีปเอเชียซีกโลกเหนือแผ่นยูเรเชียแผ่นอเมริกาเหนือ

บอลข่าน

แผนที่ทางอากาศของคาบสมุทรบอลข่าน คาบสมุทรบอลข่าน (Balkans) เป็นชื่อทางประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ หมายถึงดินแดนทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป มีพื้นที่ประมาณ 550,000 ตร.กม. และมีประชากรรวมกันราว 53 ล้านคน ชื่อนี้มาจากชื่อของเทือกเขาบอลข่านที่พาดผ่านใจกลางประเทศบัลแกเรียไปยังด้านตะวันออกของสาธารณรัฐเซอร์เบี.

ใหม่!!: มหาทวีปลอเรเชียและบอลข่าน · ดูเพิ่มเติม »

มหาทวีป

ลื่อนไหวของการเคลื่อนที่ของมหาทวีปแพนเจีย ในทาง ธรณีวิทยา มหาทวีป เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยแกนทวีปมากกว่าหนึ่งแกน หรือ เปลือกโลกที่คงตัวแล้ว การชุมนุมของเปลือกโลกที่คงตัวแล้ว และ การเกิดหิน ที่สร้างทวีปยูเรเชียขึ้น ถูกเรียกว่ามหาทวีปในปัจจุบัน.

ใหม่!!: มหาทวีปลอเรเชียและมหาทวีป · ดูเพิ่มเติม »

มหาทวีปกอนด์วานา

มหาทวีปกอนด์วานา, หรือ กอนด์วานาแลนด์เป็นมหาทวีปที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวของหลายหินฐานธรณี ในมหายุคนีโอโพรเทอโรโซอิก โดยรวม มหาทวีปลอเรเชีย ในยุคคาร์บอนิเฟอรัส เข้ากับมหาทวีปแพนเจีย และเริ่มแยกในมหายุคมีโซโซอิก เป็นทวีปที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยครอบคลุมพื้นที่ถึง หรือ 64% ของจำนวนทวีปทั้งหมดในปัจจุบัน ตั้งอยู่ทางซีกโลกใต้ โดยรวมหลายพื้นที่ ซึ่งรวมถึงทวีปแอนตาร์กติกา, ทวีปอเมริกาใต้, ทวีปแอฟริกา, ประเทศมาดากัสการ์, และทวีปออสเตรเลีย เช่นเดียวกับ คาบสมุทรอาหรับ และอนุทวีปอินเดีย ซึ่งปัจจุบันได้เคลื่อนตัวมาอยู่ทางซีกโลกเหนือ การก่อตัวของมหาทวีปกอนด์วานานั้น เริ่มต้นขึ้นในช่วง 800 - 650 ล้านปีก่อน ด้วยเทือกเขาแอฟริกาตะวันออก โดยการปะทะกันของอินเดีย,มาดากัสการ์ และศรีลังกาเข้าด้วยกันกับแอฟริกาตะวันออก และเสร็จสิ้นในช่วง 600 - 530 ล้านปีก่อน ด้วยการทับซ้อนระหว่างเทือกเขาบราซิลเลียโน่ กับเทือกเขาคุนกะ ซึ่งเป็นการปะทะกันของทวีปอเมริกาใต้กับทวีปแอฟริกา และทวีปออสเตรเลีย กับทวีปแอนตาร์กติกาตามลำดั.

ใหม่!!: มหาทวีปลอเรเชียและมหาทวีปกอนด์วานา · ดูเพิ่มเติม »

มหาทวีปแพนเจีย

แผนที่ของทวีปแพนเจีย ภาพเคลื่อนไหวที่แสดงการแยกตัวของมหาทวีปแพนเจีย สู่ทวีปในยุคปัจจุบัน มหาทวีปแพนเจีย หรือ มหาทวีปพันเจีย Pangaea (แพน หมายถึง ทั้งหมด; และ เจีย หมายถึง โลก ในภาษากรีกโบราณ) เป็นมหาทวีป อยู่ในช่วง มหายุคพาลีโอโซอิก และ มหายุคมีโซโซอิก มหาทวีปแพนเจียก่อตัวขึ้นจากหน่วยทวีปต่างๆ เมื่อประมาณ 335 ล้านปีที่แล้ว ก่อนที่จะเริ่มแยกตัวกันออกเป็นทวีปต่างๆอีกครั้งราว 175 ล้านปีก่อน เป็นทวีปลอเรเชียทางตอนเหนือ-ออสเตรเลียและกอนด์วานาทางตอนใต้-อินเดีย-อเมริกาใต้-แอฟริกา มหาทวีปแพนเจียตั้งอยู่ในซีกโลกทางใต้ ล้อมรอบโดยมหาสมุทรยักษ์ แพนธาลัสซา (Panthallssa; (จากภาษากรีก πᾶν "ทั้งปวง" และ θάλασσα "ทะเล")) แพนเจีย เป็นการเกิดขึ้นของมหาทวีปครั้งล่าสุดนับแต่การอุบัติขึ้นของดาวเคราะห์โลก และเป็นมหาทวีปแรกที่นักธรณีวิทยาหาหลักฐานมายืนยันได้ว่ามีอยู่จริง.

ใหม่!!: มหาทวีปลอเรเชียและมหาทวีปแพนเจีย · ดูเพิ่มเติม »

ยุคไทรแอสซิก

อร์เมียน←ยุคไทรแอสซิก→ยุคจูแรสซิก ยุคไทรแอสซิก (Triassic) เป็นยุคหนึ่งทางธรณีกาลของโลก ตรงกับช่วงเวลาประมาณ 251 ± 0.4 ถึง 199.6 ± 0.6 ล้านปีก่อน ยุคไทรแอสซิกเป็นยุคแรกของมหายุคมีโซโซอิก อยู่หลังยุคเพอร์เมียนและอยู่หน้ายุคจูแรสซิก จุดเริ่มต้นและสิ้นสุดยุคไทรแอสซิกกำหนดจากเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดการสูญพันธุ์มากมาย ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวสามารถกำหนดจากชั้นหินได้แน่นอน แต่ช่วงเวลาที่เกิดขึ้นยังไม่สามารถระบุได้ละเอียดจริง ๆ มีค่าความผิดพลาดได้หลายล้านปี ในยุคไทรแอสซิก สิ่งมีชีวิตทั้งบนบกและในทะเลมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ จากพื้นผิวโลกที่มีสภาพแย่ลงอย่างรวดเร็วหลังการสูญพันธุ์ในช่วงรอยต่อระหว่าง ยุคเพอร์เมียน และ ยุคไทรแอสซิก ปะการังในกลุ่มเฮกซะคอราลเลีย (hexacorallia) ถือกำเนิดขึ้น พืชดอกอาจจะวิวัฒนาการในยุคนี้ รวมกระทั่งสัตว์มีกระดูกสันหลังที่บินได้คือเทอโรซอร์ (Pterosaur).

ใหม่!!: มหาทวีปลอเรเชียและยุคไทรแอสซิก · ดูเพิ่มเติม »

อัลเฟรด เวเกเนอร์

อัลเฟรด โลธาร์ เวเกเนอร์หรืออัลเฟรด โลธาร์ เวเกแนร์ (Alfred Lothar Wegener, 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1880 - พฤศจิกายน ค.ศ. 1930) เป็นนักวิทยาศาสตร์ นักธรณีฟิสิกส์และนักอุตุนิยมวิทยาชาวเยอรมัน เขามีชื่อเสียงมากที่สุดจากทฤษฎีทวีปเลื่อนของเขา ซึ่งเสนอใน..

ใหม่!!: มหาทวีปลอเรเชียและอัลเฟรด เวเกเนอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อนุทวีปอินเดีย

วเทียมของอนุทวีปอินเดีย อนุทวีปอินเดีย เป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ในเอเชียใต้ เป็นที่ตั้งของประเทศอินเดีย, บังกลาเทศ, ปากีสถาน, ศรีลังกา รวมทั้งบางส่วนของประเทศเนปาล, ภูฏาน, พม่า, ไทย, และดินแดนบางส่วนที่อยู่ภายใต้การปกครองของจีน.

ใหม่!!: มหาทวีปลอเรเชียและอนุทวีปอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ธรณีวิทยา

The Blue Marble: ภาพนี้เป็นภาพถ่ายของโลก เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1972 ที่ถ่ายโดยแฮร์ริสสัน ชมิตต์ (Harrison Schmitt) นักธรณีวิทยาคนแรกที่ร่วมเดินทางไปกับยานอวกาศอะพอลโล 17 (Apollo 17) ที่เดินทางไปยังดวงจันทร์ ธรณีวิทยา, ธรณีศาสตร์ (Geology จากγη- (''เก-'', โลก) และ λογος (''ลอกอส'', ถ้อยคำ หรือ เหตุผล).) เป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับโลก สสารต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของโลก เช่น แร่ หิน ดินและน้ำ รวมทั้งกระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลก ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ ตั้งแต่กำเนิดโลกจนถึงปัจจุบัน เป็นการศึกษาทั้งในระดับโครงสร้าง ส่วนประกอบทางกายภาพ เคมี และชีววิทยา ทำให้รู้ถึงประวัติความเป็นมา และสภาวะแวดล้อมในอดีตจนถึงปัจจุบัน ศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายใน และภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นผิว วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ตลอดจนรูปแบบ และวิธีการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติ มาใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนอีกด้วย นักธรณีวิทยาศึกษาพบว่าโลกมีอายุประมาณ 4,500 ล้านปี (4.5x109 ปี) และเห็นตรงกันว่าเปลือกโลกแยกออกเป็นหลายแผ่น เรียกว่าแผ่นเปลือกโลก แต่ละแผ่นเคลื่อนที่อยู่เหนือเนื้อโลกหรือแมนเทิลที่มีสภาวะกึ่งหลอมเหลว เรียกกระบวนการนี้ว่าการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก นอกจากนี้ นักธรณีวิทยายังทำหน้าที่ระบุตำแหน่งและจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติ เช่น แหล่งหิน แหล่งแร่ แหล่งปิโตรเลียมเช่น น้ำมันและถ่านหิน รวมทั้งโลหะอย่างเหล็ก ทองแดง และยูเรเนียม วิชาธรณีวิทยา มีความเกี่ยวข้องกับหลากหลายสาขาวิชา เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ มีการบูรณการความรู้จากหลากหลายวิชา เพื่อวิเคราะห์หาคำตอบเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นบนโลก โดยสามารถแบ่งออกเป็นหลากหลายสาขาวิชา เช่น ธรณีวิทยากายภาพ (Physical Geology) ธรณีวิทยาโครงสร้าง (Structural Geology) ธรณีวิทยาแปรสัณฐาน (Geotectonics, Tectonics) ตะกอนวิทยา (Sedimentology) ธรณีสัณฐานวิทยา (Geomorphology) ธรณีเคมี (Geochemistry) ธรณีฟิสิกส์ (Geophysics) ธรณีอุทกวิทยา (Geohydrology) บรรพชีวินวิทยา (Paleontology) เป็นต้น '''การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก''' วิชาธรณีวิทยานอกโลก ศึกษาองค์ประกอบทางธรณีวิทยาของวัตถุในระบบสุริยะ อย่างไรก็ตาม ยังมีศัพท์เฉพาะอื่น ๆ ที่ใช้เรียกธรณีวิทยานอกโลก เช่น "ศศิวิทยา" (selenology) ศึกษาธรณีวิทยาบนดวงจันทร์, areology ศึกษาธรณีวิทยาบนดาวอังคาร เป็นต้น วิชาธรณีวิทยา สามารถตอบปัญหาต่างๆ มากมาย ที่เกี่ยวข้องกับ วิวัฒนาการของโลก ดาวเคราะห์ และ จักรวาล ธรณีพิบัติภัย ภูเขาไฟ แผ่นดินไหว รอยเลื่อน สึนามิ อุทกภัย น้ำท่วม น้ำหลาก การกัดเซาะ ดินถล่ม หลุมยุบ ภูเขา แม่น้ำ ทะเล มหาสมุทร ทะเลทราย ไดโนเสาร์ ซากดึกดำบรรพ์หรือบรรพชีวินหรือฟอสซิล บั้งไฟพญานาค ไม้กลายเป็นหิน ถ่านหิน น้ำมัน ปิโตรเลียม เชื้อเพลิง แหล่งแร่ เหล็กไหล อุลกมณี โลกศาสตร.

ใหม่!!: มหาทวีปลอเรเชียและธรณีวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป (อ่านว่า "ยุ-โหฺรบ") มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68-9); "Asia" (pp. 90-1): "A commonly accepted division between Asia and Europe...

ใหม่!!: มหาทวีปลอเรเชียและทวีปยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปอเมริกาเหนือ

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาเหนือ (North America; Amérique du Nord; América del Norte; Nordamerika) เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากทวีปเอเชียและแอฟริกาตามลำดับ ประกอบด้วยภูมิภาคอเมริกาเหนือและอเมริกากลาง ซึ่งแบ่งแยกกันอย่างชัดเจนตามขอบเขตของประเทศโดยมีแม่น้ำริโอแกรนด์เป็นแนวเขตแดน ภูมิภาคอเมริกาเหนือมีเพียง 2 ประเทศ คือ ประเทศแคนาดา สหรัฐอเมริกา ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ส่วนอเมริกากลางใช้ภาษาสเปนเป็นหลัก ประกอบด้วยประเทศทั้งใหญ่และเล็ก รวมถึงประเทศที่เป็นหมู่เกาะจำนวน 23 ประเทศ โดยกรีนแลนด์เป็นประเทศอยู่เหนือที่สุด และประเทศปานามาอยู่ใต้สุด มีพรมแดนติดกับทวีปอเมริกาใต้ สภาพโดยรวมแล้วประชากรในอเมริกาเหนือมีชีวิตความเป็นอยู่ดีกว่าอเมริกากลาง ทวีปอเมริกาเหนือได้แก่พื้นที่ตอนเหนือทั้งหมดของดินแดนที่เรียกว่า โลกใหม่ ซีกโลกตะวันตก หรือ ทวีปอเมริกา อเมริกาเหนือมีส่วนเชื่อมต่อกับทวีปอเมริกาใต้บริเวณคอคอดปานามา ผู้เชี่ยวชาญบางคนกล่าวว่าอเมริกาเหนือไม่ได้เริ่มจากคอคอดปานามา แต่เริ่มจากคอคอดเตวานเตเปก (Tehuantepec) ในประเทศเม็กซิโก ซึ่งอยู่ในอเมริกากลาง.

ใหม่!!: มหาทวีปลอเรเชียและทวีปอเมริกาเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปเอเชีย

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปเอเชีย เอเชีย (Asia; Ασία อาเซีย) เป็นทวีปใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลก พื้นที่ส่วนมากตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและตะวันออก ทวีปเอเชียตั้งอยู่ในทวีปยูเรเชียรวมกับทวีปยุโรป และอยู่ในทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียร่วมกับยุโรปและแอฟริกา ทวีปเอเชียมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 44,579,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 30% ของแผ่นดินทั่วโลกหรือคิดเป็น 8.7% ของผิวโลกทั้งหมด ทวีปเอเชียเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มานานและเป็นแหล่งกำเนินอารยธรรมแรก ๆ ของโลกหลายแห่ง เอเชียไม่ได้เพียงแค่มีขนานใหญ่และมีประชากรเยอะแต่ยังมีสถานที่ ๆ ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นและมีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับที่ยังมีบริเวณที่ประชากรตั้งถิ่นฐานเบาบางด้วย ทั้งนี้ทวีปเอเชียมีประชากรราว 4.5 พันล้านคน คิดเป็น 60% ของประชากรโลก โดยทั้วไปทางตะวันออกของทวีปติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทางใต้ติดมหาสมุทรอินเดียและทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก บริเวณชายแดนระหว่างเอเชียและยุโรปมีประวัติศาสตร์และโครงสร้างวัฒนธรรมมากมายเพราะไม่มีการแยกกันด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจน จึงมีการโยกย้ายติดต่อกันในช่วงสมัยคลาสสิก ทำให้บริเวณนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม ภาษา ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของตะวันออกกับตะวันตกและแบ่งจากกันอย่างเด่นชัดกว่าการขีดเส้นแบ่ง เขตแดนที่เด่นชัดของเอเชียคือตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของคลองสุเอซ, แม่น้ำยูรัล, เทือกเขายูรัล, ช่องแคบตุรกี, ทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัส, ทะเลดำและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68–69); "Asia" (pp. 90–91): "A commonly accepted division between Asia and Europe is formed by the Ural Mountains, Ural River, Caspian Sea, Caucasus Mountains, and the Black Sea with its outlets, the Bosporus and Dardanelles." จีนและอินเดียเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกตั้งแต่คริสต์ศักราชที่ 1 ถึง 1800 จีนเป็นประเทศที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจที่สำคัญและดึงดูดผู้คนจำนวนมากให้ไปทางตะวันออก และตำนาน ความมั่งคั่งและความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมโบราณของอินเดียกลายเป็นสัญลักษณ์ของเอเชีย สิ่งเหล่านี้จึงดึงดูดการค้า การสำรวจและการล่าอาณานิคมของชาวยุโรป การค้นพบเส้นทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกโดยบังเอิญจากยุโรปไปอเมริกาของโคลัมบัสในขณะที่กำลังค้นหาเส้นทางไปยังอินเดียแสดงให้เห็นความดึงดูดใจเหล่านี้ เส้นทางสายไหมกลายเป็นเส้นทางการค้าหลักของฝั่งตะวันออกกับฝั่งตะวันตกในขณะที่ช่องแคบมะละกากลายเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญ ช่วงศตวรรษที่ 20 ความแข็งแรงของประชากรเอเชียและเศรษฐกิจ (โดยเฉพาะเอเชียตะวันออก) เติบโตเป็นอย่างมากแต่การเติบโตของประชากรโดยรวมลดลงเรื่อย ๆ เอเชียเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาหลักบนโลกหลายศาสนา อาทิศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสลาม, ศาสนายูดาห์, ศาสนาฮินดู, ศาสนาพุทธ, ลัทธิขงจื๊อ, ลัทธิเต๋า, ศาสนาเชน, ศาสนาซิกข์, ศาสนาโซโรอัสเตอร์และศาสนาอื่น ๆ อีกมากมาย เนื่องเอเชียจากมีขนาดใหญ่และมีความหลากหลายทางแนวคิด ภูมินามวิทยาของเอเชียมีตั้งแต่สมัยคลาสสิกซึ่งคาดว่าน่าจะตั้งตามลักษณะผู้คนมากกว่าลักษณะทางกายภาพ เอเชียมีความแตกต่างกันอย่างมากทั้งด้านภูมิภาค กลุ่มชาติพันธุ์ วัฒนธรรม, สภาพแวดล้อม, เศรษฐศาสตร์, ประวัติศาสตร์และระบบรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีสภาพอากาศที่แตกต่างกันอย่างมากเช่น พื้นเขตร้อนหรือทะเลทรายในตะวันออกกลาง, ภูมิอากาศแบบอบอุ่นทางตะวันออก ภูมิอากาศแบบกึ่งอารกติกทางตอนกลางของทวีปและภูมิอากาศแบบขั่วโลกในไซบีเรี.

ใหม่!!: มหาทวีปลอเรเชียและทวีปเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ซีกโลกเหนือ

แผนที่ทางภูมิศาสตร์ของซีกโลกเหนือ บริเวณสีน้ำเงินคือซีกโลกเหนือ ส่วนบริเวณสีเหลืองคือซีกโลกใต้ เส้นที่ลากผ่านกึ่งกลางภาพคือเส้นศูนย์สูตร ซีกโลกเหนือ (northern hemisphere) คือบริเวณของโลกที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรขึ้นไปจนถึงขั้วโลกเหนือ ตรงข้ามกับซีกโลกใต้ ค่าพิกัดภูมิศาสตร์ของละติจูดของตำแหน่งใดก็ตามบนซีกโลกเหนือจะเป็นบวกเสมอและใช้สัญลักษณ์แทนด้วยตัว N ฤดูหนาวของพื้นที่ในซีกโลกเหนือจะเริ่มตั้งแต่เหมายัน (ราววันที่ 21 ธันวาคม) จนถึงวสันตวิษุวัต (ราววันที่ 20 มีนาคม) ส่วนฤดูร้อนจะเริ่มตั้งแต่ครีษมายัน (ราววันที่ 21 มิถุนายน) ไปจนถึงศารทวิษุวัต (ราววันที่ 23 กันยายน) ซีกโลกเหนือประกอบด้วยพื้นน้ำมากกว่าแผ่นดินอย่างชัดเจน แต่ก็ยังปกคลุมด้วยแผ่นดินมากกว่าซีกโลกใต้ ซีกโลกเหนือประกอบด้วยแผ่นดิน 39 % และพื้นน้ำ 61 % ประชากรราว 90 % ของโลกอาศัยอยู่ในซีกโลกเหนือ แผ่นดินส่วนใหญ่เป็นทวีปยุโรป ทวีปเอเชีย ซึ่งเป็นทวีปที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทวีปอเมริกาเหนือ และส่วนใหญ่ของทวีปแอฟริกา นอกจากนี้ยังมีบางส่วนของทวีปอเมริกาใต้ กรีนแลนด์ เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก มหาสมุทรที่มีพื้นที่อยู่ในซีกโลกเหนือได้แก่มหาสมุทรอาร์กติก มหาสมุทรแปซิฟิกและแอตแลนติกราวครึ่งหนึ่ง และมหาสมุทรอินเดียบางส่วน จุดศูนย์กลางของซีกโลกเหนือคือขั้วโลกเหนือ ซึ่งเป็นจุดตัดทิศเหนือระหว่างขั้วโลกกับพื้นผิวของโลก ส่วนขั้วแม่เหล็กเหนือจะแปรผันไปเหนือเส้นอาร์กติกเซอร์เคิล ออโรราที่เกิดขึ้นในซีกโลกเหนือเรียกว่า aurora borealis หรือ แสงเหนือ ในภาษาไทย เนื่องจากแรงโคริออลิสจากการหมุนของโลก บริเวณความกดอากาศต่ำที่กำเนิดในซีกโลกเหนือ เช่น เฮอร์ริเคนหรือไต้ฝุ่น จะปรากฏการหมุนของพายุในทิศทวนเข็มนาฬิกาเสมอ ซีกเหนือของดาวเคราะห์ดวงอื่นในระบบสุริยะสามารถนิยามได้จาก บริเวณของดาวที่มีซีกฟ้าเดียวกับขั้วโลกเหนือเมื่อเทียบกับระนาบไม่แปรผันของระบบสุร.

ใหม่!!: มหาทวีปลอเรเชียและซีกโลกเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

แผ่นยูเรเชีย

แผ่นยูเรเชียแสดงในสีเขียว แผ่นยูเรเชีย (Euresian Plate) คือแผ่นเปลือกโลกที่รองรับพื้นที่เกือบทั้งหมดของทวีปยูเรเชียแต่ไม่ได้รองรับประเทศอินเดีย อนุภูมิภาคอาหรับและพื้นที่ทางตะวันออกของเทือกเขาเชอร์สกีทางตะวันออกของไซบีเรีย นอกจากนี้ยังมีส่วนที่รองรับมหาสมุทรแอตแลนติกทางตอนเหนือไปจนถึงเทือกเขากลางสมุทรแอตแลนติกและเทือกเขาการ์กเกิลทางตอนเหนือและมีพื้นที่ประมาณ 67,800,000 ตารางกิโลเมตร การปะทุของภูเขาไฟทั้งหมดในไอซ์แลนด์อย่างเช่นการปะทุของภูเขาไฟแอลเฟจในปี 1973 การปะทุของภูเขาไฟลาไคปี 1783 และการปะทุของเอยาฟยาตลาเยอคุตล์ พ.ศ. 2553ล้วนเกิดจากการแยกตัวออกจากกันของแผ่นอเมริกาเหนือกับแผ่นยูเรเชีย ธรณีพลศาสตร์ของเอเชียกลางมักเป็นผลมาจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างแผ่นยูเรเชียและแผ่นอินเดี.

ใหม่!!: มหาทวีปลอเรเชียและแผ่นยูเรเชีย · ดูเพิ่มเติม »

แผ่นอเมริกาเหนือ

แผ่นอเมริกาเหนือแสดงในสีน้ำตาล แผ่นอเมริกาเหนือ (North American Plate) คือแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปอเมริกาเหนือ กรีนแลนด์ คิวบา บาฮามาส เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือไอร์แลนด์ และบางส่วนของไอซ์แลนด์ แผ่นเปลือกโลกนี้รองรับทั้งทวีปและมหาสมุทร หมวดหมู่:แผ่นเปลือกโลก.

ใหม่!!: มหาทวีปลอเรเชียและแผ่นอเมริกาเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »