โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มณฑลหูหนาน

ดัชนี มณฑลหูหนาน

มณฑลหูหนาน (จีน: 湖南省) ชื่อย่อ เซียง (湘)ตั้งอยู่บนลองจิจูด 108 องศา 47 ลิปดาถึง 114 องศา 45 ลิปดา ตะวันออก และละติจูด 24 องศา 39 ลิปดาถึง 30 องศา 28 ลิปดาเหนือ ทางตอนใต้ของทะเลสาบต้งถิง (洞庭湖) ทะเลสาบใหญ่ทางตอนกลางของแม่น้ำแยงซี มีเมืองหลวงชื่อ ฉางชา มีเนื้อที่ 211,800 ตาราง ก.ม.

22 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2547พ.ศ. 2548พินอินกลุ่มภาษาจีนมณฑลกวางตุ้งมณฑลกุ้ยโจวมณฑลหูเป่ย์มณฑลเสฉวนมณฑลเจียงซีม้งรายชื่อมณฑลของประเทศจีนเรียงตามจำนวนประชากรรายชื่อมณฑลของประเทศจีนเรียงตามขนาดพื้นที่รายชื่อมณฑลของประเทศจีนเรียงตามความหนาแน่นของประชากรอักษรจีนฮั่นตารางกิโลเมตรต้งฉางชาแม่น้ำแยงซีเหรินหมินปี้เขตพื้นที่ที่ปกครองตนเองเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง

พ.ศ. 2547

ทธศักราช 2547 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2004 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน เป็นปีอธิกมาส ปกติวาร ตามปฏิทินไทยจันทรคติ และกำหนดให้เป็น.

ใหม่!!: มณฑลหูหนานและพ.ศ. 2547 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2548

ทธศักราช 2548 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2005 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรโกเรียน และเป็น.

ใหม่!!: มณฑลหูหนานและพ.ศ. 2548 · ดูเพิ่มเติม »

พินอิน

นอิน หรือ ฮั่นยฺหวี่พินอิน (แปลว่า สะกดเสียงภาษาจีน) คือระบบในการถอดเสียงภาษาจีนมาตรฐาน ด้วยตัวอักษรละติน ความหมายของพินอินคือ "การรวมเสียงเข้าด้วยกัน" (โดยนัยก็คือ การเขียนแบบสัทศาสตร์ การสะกด การถอดเสียง หรือการทับศัพท์) พินอินเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2501 และเริ่มใช้กันในปี พ.ศ. 2522 โดย รัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยใช้แทนที่ระบบการถอดเสียงแบบเก่า เช่น ระบบเวดและไจลส์ และระบบจู้อิน นอกจากนี้ ยังมีการออกแบบระบบอื่น ๆ สำหรับนำไปใช้กับภาษาพูดของจีนในถิ่นต่าง ๆ และภาษาของชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช้ภาษาฮั่น ในสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วย นับแต่นั้นมา พินอินก็เป็นที่ยอมรับจากสถาบันนานาชาติหลายแห่ง รวมทั้งรัฐบาลสิงคโปร์ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และสมาคมหอสมุดอเมริกัน โดยถือว่าเป็นระบบการถอดเสียงที่เหมาะสมสำหรับภาษาจีนกลาง ครั้นปี พ.ศ. 2522 องค์การมาตรฐานนานาชาติ (ISO) ก็ได้รับเอาพินอินเป็นระบบมาตรฐาน (ISO 7098) ในการถ่ายทอดเสียงภาษาจีนปัจจุบันด้วยอักษรโรมัน (the standard romanization for modern Chinese) สิ่งสำคัญที่ต้องระลึกไว้ก็คือ พินอินนั้น เป็นการทับศัพท์ด้วยอักษรโรมัน (Romanization) มิใช่การถอดเสียงแบบภาษาอังกฤษ (Anglicization) นั่นคือ การกำหนดให้ใช้ตัวอักษรตัวหนึ่ง สำหรับแทนเสียงหนึ่ง ๆ ในภาษาจีนไว้อย่างตายตัว เช่น b และ d ในระบบพินอิน เป็นเสียง "ป" และ "ต" ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างจากระบบการออกเสียงส่วนใหญ่ ไม่ว่าอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือภาษาอื่นในยุโรป ขณะที่อักษร j หรือ q นั้นมีเสียงไม่ตรงกับในภาษาอังกฤษเลย กล่าวสั้น ๆ ก็คือ พินอินมุ่งที่จะใช้อักษรโรมัน เพื่อแทนเสียงใดเสียงหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อความสะดวกในการเขียน มิได้ยืมเสียงจากระบบของอักษรโรมันมาใช้ การใช้ระบบนี้นอกจากทำให้ชาวต่างชาติเขียนอ่านภาษาจีนได้สะดวกแล้ว ยังสามารถใช้กับคอมพิวเตอร์ได้สะดวกอย่างยิ่งด้วย ต่อไปนี้เป็นการถอดเสียงภาษาจีน (ที่เขียนด้วยอักษรโรมันในระบบพินอิน) ด้วยอักษรไทย โปรดสังเกตว่า บางหน่วยเสียงในภาษาจีนไม่มีหน่วยเสียงที่ตรงกันในภาษาไทย จึงต้องอนุโลมใช้อักษรที่ใกล้เคียง ในที่นี้จึงมีอักษรไทยบางตัว ที่ต้องใช้แทนหน่วยเสียงในภาษาจีนมากกว่าหนึ่งหน่วยเสียง ทั้งนี้เพื่อเป็น "เกณฑ์อย่างคร่าว ๆ" สำหรับการเขียนคำทับศัพท์ภาษาจีน.

ใหม่!!: มณฑลหูหนานและพินอิน · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาจีน

ัฒนาการของภาษาจีนสำเนียงต่างๆ ภาษาจีน (汉语 - 漢語 - Hànyǔ - ฮั่นอวี่, 华语 - 華語 - Huáyǔ - หัวอวี่ หรือ 中文 - Zhōngwén - จงเหวิน) เป็นหนึ่งในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ชาวจีนส่วนใหญ่ถือภาษาจีนพูดชนิดต่าง ๆ ว่าเป็นภาษาเดียว โดยทั่วไปแล้ว ภาษาพูดในกลุ่มภาษาจีนเป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์และไม่อ่านเนื่องเสียง อย่างไรก็ดี ยังมีความแตกต่างกันในภาษาพูดแต่ละภาษาอยู่มาก ความต่างเหล่านี้เทียบได้กับ ความแตกต่างระหว่างภาษาของภาษากลุ่มโรมานซ์ เราอาจแบ่งภาษาพูดของจีนได้ 6 ถึง 12 กลุ่ม ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่ง ที่เป็นที่รู้จักดี เช่น กลุ่มแมนดาริน กลุ่มหวู และกลุ่มกวางตุ้ง ยังเป็นที่โต้เถียงกันถึงปัจจุบันว่าภาษาพูดบางกลุ่มควรจัดเป็น "ภาษา" หรือเป็นแค่ "สำเนียง" ประชากรประมาณ 1/5 ของโลกพูดภาษาจีนแบบใดแบบหนึ่งเป็นภาษาแม่ ทำให้เป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุด สำเนียงพูดที่ถือเป็นมาตรฐาน คือ สำเนียงปักกิ่ง หรือ ภาษาฮั่น ซึ่งอยู่ในกลุ่มภาษาแมนดาริน ภาษาจีนกลาง หรือ ภาษาจีนแมนดาริน (Standard Mandarin) เป็นภาษาทางการของสาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐจีนหรือไต้หวัน เป็นหนึ่งในภาษาทางการ 4 ภาษาทางการของประเทศสิงคโปร์ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู และภาษาทมิฬ) และเป็นหนึ่งใน 6 ภาษาที่ใช้ในองค์การสหประชาชาติ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษาอาหรับ ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาสเปน) ภาษาจีนกวางตุ้ง เป็นภาษาทางการของ ฮ่องกง (ร่วมกับภาษาอังกฤษ) และมาเก๊า (ร่วมกับภาษาโปรตุเกส) นอกจากนี้ ภาษาเขียนยังได้เปลี่ยนแปลงตามระยะเวลา แต่การเปลี่ยนแปลงของภาษาเขียน ช้ากว่าการเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดอย่างมาก จึงไม่ถูกจำกัดโดยความเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดโดยส่วนใหญ่ ในปัจจุบัน ภาษาจีนใช้อักษรมาตรฐาน 2 รูปแบบทั่วโลก ได้แก่ อักษรจีนตัวเต็ม และ อักษรจีนตัวย่อ แผ้นที่แสดงพื้นที่ที่มีกลุ่มคนพูดภาษาจีนต่างๆ ในประเทศจีน.

ใหม่!!: มณฑลหูหนานและกลุ่มภาษาจีน · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลกวางตุ้ง

มณฑลกวางตุ้ง หรือ กว่างตง แบ่งการปกครองออกเป็น 21 เมืองใหญ่ 30 เมืองระดับอำเภอ 42 อำเภอและ 3 เขตปกครองตนเอง ตั้งอยู่ตอนใต้สุดของประเทศ ทางใต้ติดกับทะเลจีนใต้ ใกล้กับเกาะฮ่องกงและมาเก๊า เป็นประตูสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ มณฑลนี้นี่เองที่ประชากรส่วนมากได้อพยพไปตั้งถิ่นฐานในต่างประเทศ 100 กว่าปีที่แล้ว.

ใหม่!!: มณฑลหูหนานและมณฑลกวางตุ้ง · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลกุ้ยโจว

มณฑลกุ้ยโจว หรือเดิมไทยเรียกว่า กุยจิว (จีนตัวย่อ: 贵州省 จีนตัวเต็ม: 貴州省 Guizhou) ชื่อย่อ เฉียน (黔) หรือ กุ้ย (贵) ตั้งอยู่บนที่ราบสูงหยุนกุ้ยส่วนตะวันออก ระหว่างเส้นลองจิจูด 103.36 - 109.31 องศาตะวันออก และ ละติจูด 24.37 - 29.13 องศาเหนือ ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน มีเมืองหลวงชื่อ กุ้ยหยาง มีเนื้อที่ 176,100 ก.ม. มีประชากร 39,040,000 คน ความหนาแน่น 222 ต่อตารางกิโลเมตร จีดีพี 159.2 พันล้านเหรินหมินปี้ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น.

ใหม่!!: มณฑลหูหนานและมณฑลกุ้ยโจว · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลหูเป่ย์

มณฑลหูเป่ย์ (จีน: 湖北省 Húběi Shěng) ชื่อย่อ เอ้อ (鄂) ตั้งอยู่ตอนกลาง ของประเทศ มีอาณาเขตอยู่ในพื้นที่ของแม่น้ำ 2 สายคือ แม่น้ำฉางเจียง (แยงซีเกียง) และฮั่นเจียง เนื่องจากอยู่ ทางเหนือของทะเลสาบต้งถิงทางตอนกลางของแม่น้ำ ฉางเจียง จึงได้ชื่อว่า ‘หูเป่ย’ ซึ่งแปลว่า เหนือทะเลสาบ มีเมืองหลวงชื่อ อู่ฮั่น มีเนื้อที่ 185,900 ตร.ก.ม. มีประชากร 60,160,000 คน ความหนาแน่น 324/ตร.

ใหม่!!: มณฑลหูหนานและมณฑลหูเป่ย์ · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลเสฉวน

มณฑลเสฉวน หรือ ซื่อชวน หรือชื่อย่อว่า ชวน(川)หรือ สู่(蜀)เป็นมณฑลหนึ่งของประเทศจีน มีเมืองเอกชื่อเฉิงตู มณฑลเสฉวนอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีนตอนบนของแม่น้ำแยงซีเกียง มีพื้นที่ 485,000 ตาราง ก.ม. มีประชากรประมาณ 87,250,000 คน นับเป็นมณฑลที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของจีน ทั้งขนาดพื้นที่และจำนวนประชากร ความหนาแน่น 180/ก.ม. จีดีพี 655.6 พันล้านเหรินหมินปี้ ต่อประชากร 7,510 ชื่อ "เสฉวน" มีความหมายว่า "แม่น้ำสี่สาย" เพราะมณฑลเสฉวนตั้งอยู่บนพื้นที่ของแม่น้ำ 3 สายมาบรรจบกัน คือ แม่น้ำแยงซีเกียง, แม่น้ำหลินเจียง, แม่น้ำจินซางเจียง สภาพอากาศเป็นแบบกึ่งร้อนชื้น สภาพโดยทั่วไปจะมีความชื้นในอากาศสูง สภาพอากาศจึงค่อนข้างครึ้มไม่ค่อยมีแสงแดด โดยในรอบสัปดาห์จะมีแสงแดดหรือเห็นพระอาทิตย์เพียงไม่กี่วัน แต่จะมีหมอกปกคลุมเป็นปกติ จนได้รับฉายาว่า "เมืองในหมอก" หรือ "หมาเห่าพระอาทิตย์" และได้รับการกล่าวขานว่า เพราะสภาพอากาศเป็นเช่นนี้ ผู้หญิงในมณฑลเสฉวนมีผิวสวยที่สุดในประเทศจีน ในทางประวัติศาสตร์เคยเป็นราชธานีก๊กสู่ฮั่นของเล่าปี่และขงเบ้งในสมัยสามก๊ก ปลายราชวงศ์ฮั่น ขงเบ้งได้เลือกเอาเสฉวนเป็นราชธานีของก๊กสู่ เพื่อหมายฟื้นฟูราชวงศ์ฮั่น.

ใหม่!!: มณฑลหูหนานและมณฑลเสฉวน · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลเจียงซี

มณฑลเจียงซี หรือเดิมไทยเรียกว่า เกียงซี ชื่อย่อ กั้น(赣)ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก เฉียงใต้ของประเทศจีน บนชายฝั่งตอนใต้ของลุ่มน้ำฉางเจียง (แยงซีเกียง) ตอนล่าง โดยด้านตะวันออกติดกับมณฑลเจ้อเจียง และฝูเจี้ยน ด้านใต้ติดกับกว่างตง ด้านตะวันตกติดกับหูหนัน ด้านเหนือติดกับหูเป่ย และอันฮุย มีเมืองหลวงชื่อ หนันชาง มีเนื้อที่ 166,900 ก.ม.

ใหม่!!: มณฑลหูหนานและมณฑลเจียงซี · ดูเพิ่มเติม »

ม้ง

ม้ง หรือ เมียว (Miao; 苗; พินอิน: Miáo) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ในเขาภูเขาของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ชาวม้งอพยพลงมาทางใต้ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 เนื่องจากสถานการณ์ที่ไม่สงบทางการเมืองและหาพื้นที่ที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก ปัจจุบันมีชาวม้งอาศัยอยู่ในประเทศจีน ไทย เวียดนาม ลาว และสหรัฐอเมริกา โดยชุมชนชาวม้งที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยอยู่ที่ตำบลเข็กน้อย อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ สำหรับในประเทศไทยคำว่า "แม้ว" เป็นคำเรียกที่ไม่สุภาพในการเรียกกลุ่มคนม้ง ชาวม้งโดยส่วนใหญ่ไม่ชอบให้เรียกว่าแม้ว โดยถือว่าเป็นการดูถูกเหยียดหยาม ระหว่างสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่งและสงครามอินโดจีนครั้งที่สอง ชาวม้งในลาวได้ต่อสู้ขบวนการปะเทดลาว ชาวม้งหลายคนอพยพมาประเทศไทย และ ชาติตะวันตก.

ใหม่!!: มณฑลหูหนานและม้ง · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อมณฑลของประเทศจีนเรียงตามจำนวนประชากร

แผนที่มณฑลของจีนเรียงตามจำนวนประชากร ประชากรประเทศจีนปี 2004.

ใหม่!!: มณฑลหูหนานและรายชื่อมณฑลของประเทศจีนเรียงตามจำนวนประชากร · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อมณฑลของประเทศจีนเรียงตามขนาดพื้นที่

มณฑลของประเทศจีนเรียงตามขนาดเนื้อที่ หมวดหมู่: มณฑลของประเทศจีน.

ใหม่!!: มณฑลหูหนานและรายชื่อมณฑลของประเทศจีนเรียงตามขนาดพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อมณฑลของประเทศจีนเรียงตามความหนาแน่นของประชากร

แผนที่แสดงความหนาแน่นแต่ละพื้นที่ของจีน นี่คือ รายชื่อมณฑลของจีนเรียงตามความหนาแน่นของประชากร.

ใหม่!!: มณฑลหูหนานและรายชื่อมณฑลของประเทศจีนเรียงตามความหนาแน่นของประชากร · ดูเพิ่มเติม »

อักษรจีน

รูปอักษรจีนของคำว่า "ฮั่นจื้อ"-คันจิ-ฮันจา-ฮั้นถื่อ (漢字 / 汉字 หมายถึง "อักษรจีน") สีแดงเป็นอักษรจีนตัวย่อ อักษรจีน คืออักษรภาพ (logogram) ที่โดยหลัก ๆ ในปัจจุบันใช้สำหรับเขียนภาษาจีน (เรียกว่า ฮั่นจื้อ) และภาษาญี่ปุ่น (เรียกว่า คันจิ) นอกจากนี้ก็ยังใช้เขียนระบบเลขของภาษาอื่นด้วย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดเช่นภาษาเกาหลี (เรียกว่า ฮันจา) และภาษาเวียดนาม (เรียกว่า จื๋อโนม) และยังคงหลงเหลืออยู่ในภาษาเหล่านี้ในบางระดับ อักษรจีนเป็นระบบการเขียนที่ใช้กันมาอย่างต่อเนื่องอันเก่าแก่ที่สุดในโลก นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่า การเขียนในจีนที่เก่าสุดเริ่มเมื่อ 957 ปีก่อนพุทธศักราช ไม่มีหลักฐานแสดงความเกี่ยวข้องกับการเขียนในบริเวณอื่น ตัวอย่างการเขียนภาษาจีนที่เก่าสุดมีอายุราว 957 – 407 ปี ก่อนพุทธศักราช (ราชวงศ์ซาง) ซึ่งเป็นจารึกบนกระดูกวัวและกระดองเต..

ใหม่!!: มณฑลหูหนานและอักษรจีน · ดูเพิ่มเติม »

ฮั่น

ั่น ในภาษาจีนอาจหมายถึง.

ใหม่!!: มณฑลหูหนานและฮั่น · ดูเพิ่มเติม »

ตารางกิโลเมตร

ตารางกิโลเมตร คือหน่วยของพื้นที่ มักย่อว่า ตร.กม.

ใหม่!!: มณฑลหูหนานและตารางกิโลเมตร · ดูเพิ่มเติม »

ต้ง

ต้ง เป็นกลุ่มชนซึ่งมีถิ่นฐานอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของมณฑลกุ้ยโจว ทางตอนใต้ของมณฑลหูหนาน และทางตะวันออกของเขตปกครองตนเองกวางสีจ้วงของประเทศจีน พวกเขาเรียกพวกตนเองว่า ก๊ำ หรือ อ้ายก๊ำ หรือ ปู้ก๊ำ ซึ่งก็คือ ผู้คำ พวกเขาเชื่อว่าพวกตนเองสืบเชื้อสายมาจากชนเผ่านก ชาวปู้ก๊ำ หรือ อ้ายก๊ำ มีจำนวนประชากร 2,960,293 คน พวกเขาใช้ภาษาต้งซึ่งอยู่ในตระกูลภาษาไท-กะได (จ้วง-ต้ง) และส่วนมากจะใช้อักษรจีนในการเขียน ต่อมาใน ค.ศ. 1958 ก็มีการใช้อักษรละติน แต่ไม่ค่อยนิยมมากนัก.

ใหม่!!: มณฑลหูหนานและต้ง · ดูเพิ่มเติม »

ฉางชา

ฉางชา เป็นเมืองหลวงของมณฑลหูหนาน ประเทศจีน ในประเทศไทยนั้นบางครั้งฉางชาถูกเรียกเป็นฉางซา ซึ่งไม่ตรงกับในพินอิน.

ใหม่!!: มณฑลหูหนานและฉางชา · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำแยงซี

้นทางแม่น้ำแยงซีในประเทศจีน แม่น้ำแยงซี, แยงซีเกียง (Yangtze river) หรือแม่น้ำฉางเจียง เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในทวีปเอเชีย และเป็นแม่น้ำที่ยาวเป็นอันดับที่ 3 ของโลก รองจากแม่น้ำไนล์ในทวีปแอฟริกาและแม่น้ำแอมะซอนในทวีปอเมริกาใต้ แม่น้ำแยงซียาว 6,300 กิโลเมตร ต้นน้ำอยู่ที่มณฑลชิงไห่และทิเบต ในทิศตะวันตกของสาธารณรัฐประชาชนจีน และไหลมาทางทิศตะวันออก ออกสู่ทะเลจีนตะวันออก.

ใหม่!!: มณฑลหูหนานและแม่น้ำแยงซี · ดูเพิ่มเติม »

เหรินหมินปี้

หรินหมินปี้ (จีนตัวย่อ: 人民币; จีนตัวเต็ม: 人民幣; พินอิน: rénmínbì; ตามตัวอักษรหมายถึง "เงินตราของประชาชน") เป็นเงินตราอย่างเป็นทางการของสาธารณรัฐประชาชนจีน ออกโดย ธนาคารประชาชนแห่งชาติจีน (People's Bank of China) ซึ่งเป็นหน่วยงานทางด้านเงินตราของ จีนแผ่นดินใหญ่ ตัวย่อใน ISO 4217 คือ CNY ภาพด้านหน้าของธนบัตรใบละ 1 หยวน ภาพด้านหน้าของธนบัตรใบละ 5 เจียว.

ใหม่!!: มณฑลหูหนานและเหรินหมินปี้ · ดูเพิ่มเติม »

เขตพื้นที่ที่ปกครองตนเอง

ตพื้นที่ที่ปกครองตนเอง (autonomous area) หมายถึง เขตหรือดินแดนที่รัฐบาลกลางให้ปกครองตัวเอง โดยอาจมีกฎหมายพิเศษที่เรียกว่ารัฐบัญญัติ (Statute) เป็นธรรมนูญการปกครอง ส่วนใหญ่มักนำมาใช้กับเขตที่มีชนส่วนน้อยจำนวนมาก หรือ มีความแตกต่างทางด้านภูมิศาสตร์เช่น เป็นภูมิภาคที่อยู่ห่างไกลและไม่ต่อเนื่องกับดินแดนส่วนใหญ่ของประเทศ เขตปกครองตนเองอิสระ อาจเทียบได้กับลักษณะการปกครองประเทศราชของไทยในสมัยโบราณ ที่รัฐบาลกลางจะให้อิสระแก่เมืองขึ้นให้ปกครองกันเอง ประเทศที่มีเขตปกครองตนเองอิสระ เช่น สเปน สาธารณรัฐประชาชนจีน สหพันธรัฐรัสเซีย อิตาลี เป็นต้น.

ใหม่!!: มณฑลหูหนานและเขตพื้นที่ที่ปกครองตนเอง · ดูเพิ่มเติม »

เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง

ตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง หรือ กวางสี หรือ กวางไซ (จ้วง: Gvangjsih Bouxcuengh Swcigih) หรือชื่อย่อว่า กุ้ย (桂; จ้วง: Gvei) เป็นเขตปกครองตนเองระดับจังหวัดตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศจีน มีเมืองเอกคือหนานหนิง.

ใหม่!!: มณฑลหูหนานและเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Hunan

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »