โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มณฑลยูนนาน

ดัชนี มณฑลยูนนาน

มณฑลยูนนาน หรือ หยุนหนาน มีชื่อย่อว่า หยุน(云)หรือ เตียน(滇)มีชื่อในภาษาไทยถิ่นเหนือว่า วิเทหราช ตั้งอยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจีน มีเมืองหลวงชื่อ คุนหมิง มีเนื้อที่ 394,100 ก.ม. มีประชากร ประมาณ 45,966,000 คน (2010) จีดีพี 10309.47 พันล้านหยวน (2012) ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น นอกจากนั้นยังมีกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆอีก 25 กลุ่มชาติพัน.

71 ความสัมพันธ์: ชาวฮั่นพ.ศ. 2547พ.ศ. 2548ภาษาไทยถิ่นเหนือมณฑลกุ้ยโจวมณฑลเสฉวนม้งยวี่ซีรัฐชานรัฐกะฉิ่นรายชื่อมณฑลของประเทศจีนเรียงตามจำนวนประชากรรายชื่อมณฑลของประเทศจีนเรียงตามขนาดพื้นที่รายชื่อมณฑลของประเทศจีนเรียงตามความหนาแน่นของประชากรลี่เจียงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมสปีชีส์หลินชางหุยอาข่าอู๋ ซานกุ้ยอ่าวตังเกี๋ยฮั่นผูเอ่อร์จักรพรรดิหงอู่จักรพรรดิถังเสฺวียนจงจักรพรรดิซุ่นจื้อจิตร ภูมิศักดิ์จ้วงทะเลอันดามันทาคินทิเบตความหลากหลายทางชีวภาพคุนหมิงตารางกิโลเมตรต้าหลี่ฉวี่จิ้งประเทศพม่าประเทศลาวประเทศจีนประเทศเวียดนามแชงกรี-ลาแพนด้าแดงแม่น้ำสาละวินแม่น้ำอิรวดีแม่น้ำแยงซีแม่น้ำแดงแม่น้ำโขงแขวงพงสาลีแขวงหลวงน้ำทาแขวงอุดมไซ...โอเคเนชั่นไทลื้อเชียงรุ่งเมิ้งล่าเมิ้งฮายเมืองหลวงเสือดาวหิมะเหรินหมินปี้เจาทงเขตปกครองตนเองชนชาติลีซอ นู่เจียงเขตปกครองตนเองชนชาติอาข่าและอี๋ หงเหอเขตปกครองตนเองชนชาติอี๋ ฉู่สยงเขตปกครองตนเองชนชาติจ้วงและม้ง เหวินซานเขตปกครองตนเองชนชาติทิเบต ตี๋ชิ่งเขตปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนาเขตปกครองตนเองชนชาติไทและจิ่งพัว เต๋อหงเขตปกครองตนเองชนชาติไป๋ ต้าหลี่เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงเขตปกครองตนเองทิเบตเดียนเบียนฟูเป่าซาน ขยายดัชนี (21 มากกว่า) »

ชาวฮั่น

วฮั่น (漢族) เป็นประชากรส่วนใหญ่ในประเทศจีน ผลสำรวจจำนวนประชากรในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 พบว่า มีชาวฮั่นราว 1,200 ล้านคนอาศัยในประเทศจีน และนับเป็นกลุ่มชนชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วย มีหลักฐานว่าชาวฮั่นถือกำเนิดมาตั้งแต่สมัยหวงตี้ (黃帝) อาศัยอยู่ในแถบดินแดนจงหยวน และกระจายอยู่ทั่วประเทศจีนมายาวนานกว่า 5,000 ปี นับตั้งแต่สมัยเซี่ย ซาง โจว ชุนชิว-จั้นกั๋ว จนมาเริ่มเป็นปึกแผ่นในสมัยฉินและฮั่น สมัยฮั่นนี่เองที่เริ่มมีคำเรียก 'ฮั่น' ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่มีความเชื่อตามแบบลัทธิเต๋า ชาวฮั่นมีกิจกรรมด้านการเกษตรและหัตถกรรมที่เจริญก้าวหน้า อีกทั้งมีการประดิษฐ์เครื่องสำริด การถักทอ เครื่องเคลือบดินเผา สถาปัตยกรรม และศิลปะการวาดภาพที่เป็นหน้าตาของชนชาติมาตั้งแต่ยุคโบราณ นอกจากนี้ ยังรวมถึงผลงานวรรณกรรมรูปแบบต่างๆ ที่เป็นที่ยอมรับไปทั่วด้วย และที่ลืมไม่ได้ก็คือ การเป็นชนกลุ่มแรกของโลกที่ค้นพบและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ 4 อย่าง คือ กระดาษ เทคนิคการพิมพ์ เข็มทิศ และดินปืน บุคคลสำคัญเชื้อสายฮั่นในแผ่นดินจีนไม่ว่าจะเป็นนักทฤษฎี นักปฏิวัติ นักการเมือง กวี ศิลปินต่าง ๆ ที่ถูกจารึกนามในหน้าประวัติศาสตร์จีนและของโลกที่เรารู้จักกันดี ได้แก่ ดร.ซุนยัตเซ็น เหมาเจ๋อตง โจวเอินไหล หลิวเส้าฉี จูเต๋อ เติ้งเสี่ยวผิง หลู่ซวิ่น ฯลฯ ล้วนเป็นชาวฮั่นที่สร้างคุณูปการต่อลูกหลานชนชาวฮั่นในวันนี้ และยังรวมถึง ขงจื๊อ ปรัชญาเมธีผู้เรืองนามของจีน เป็นเวลาเนิ่นนานหลายร้อยปี ที่แนวคิดของขงจื๊อซึ่งเป็นรากฐานคุณธรรมคำสอนของชาวฮั่น ได้แผ่อิทธิพลไปทั่วทวีปเอเชียตะวันออก (East-Asia) ชาวฮั่นมีวันสำคัญทางประเพณีได้แก่ เทศกาลตรุษจีน 春節 เทศกาลหยวนเซียว 元宵節 เทศกาลไหว้บะจ่าง 端午節 เทศกาลไหว้พระจันทร์ 中秋節 (จงชิวเจี๋ย) เป็นต้น ชาวฮั่นมีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเองเรียกว่า ภาษาฮั่น 漢語 (ฮั่นอวี่) มีตัวอักษรเรียกว่า อักษรฮั่น 漢字 (ฮั่นจื่อ) ซึ่งยังแบ่งเป็นภาษาถิ่นอีกหลายภาษา อาทิ ภาษาถิ่นทางภาคเหนือ (北方話) ภาษากวางตุ้ง (粵語) ภาษาแคะ (客家話) ภาษาถิ่นแถบเซี่ยเหมิน (閩南語) ภาษาถิ่นฮกเกี๊ยน (閩北語) ภาษาถิ่นแถบเซี่ยงไฮ้-เจียงซู-เจ้อเจียง (吳語) ภาษาถิ่นแถบหูหนัน (湘語) และภาษาถิ่นแถบเจียงซี (贛語).

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและชาวฮั่น · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2547

ทธศักราช 2547 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2004 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน เป็นปีอธิกมาส ปกติวาร ตามปฏิทินไทยจันทรคติ และกำหนดให้เป็น.

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและพ.ศ. 2547 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2548

ทธศักราช 2548 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2005 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรโกเรียน และเป็น.

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและพ.ศ. 2548 · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทยถิ่นเหนือ

ำเมือง (40px)) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า ภาษาถิ่นภาคพายัพ เป็นภาษาถิ่นของชาวไทยวนทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ซึ่งเป็นอาณาจักรล้านนาเดิม ได้แก่ เชียงใหม่, เชียงราย, อุตรดิตถ์, แพร่, น่าน, แม่ฮ่องสอน, ลำพูน, ลำปาง, พะเยา และยังมีการพูดและการผสมภาษากันในบางพื้นที่ของจังหวัดตาก, สุโขทัย และเพชรบูรณ์ ปัจจุบันกลุ่มคนไทยวนได้กระจัดกระจายและมีถิ่นที่อยู่ในจังหวัดสระบุรี, จังหวัดราชบุรี และอำเภอของจังหวัดอื่นที่ใกล้เคียงกับราชบุรีอีกด้วย คำเมืองยังสามารถแบ่งออกเป็นสำเนียงล้านนาตะวันตก (ในจังหวัดเชียงใหม่, ลำพูน และแม่ฮ่องสอน) และสำเนียงล้านนาตะวันออก (ในจังหวัดเชียงราย, พะเยา, ลำปาง, อุตรดิตถ์, แพร่ และน่าน) ซึ่งจะมีความแตกต่างกันบ้าง คือ สำเนียงล้านนาตะวันออกส่วนใหญ่จะไม่พบสระเอือะ เอือ แต่จะใช้สระเอียะ เอียแทน (มีเสียงเอือะและเอือเพียงแต่คนต่างถิ่นฟังไม่ออกเอง เนื่องจากเสียงที่ออกมาจะเป็นเสียงนาสิกใกล้เคียงกับเอียะ เอีย) ส่วนคนในจังหวัดลำพูนมักจะพูดสำเนียงเมืองยอง เพราะชาวลำพูนจำนวนมากสืบเชื้อสายมาจากชาวยองในรัฐฉาน จึงมีสำเนียงที่เป็นเอกลักษณ์ คำเมืองมีไวยากรณ์คล้ายกับภาษาไทยกลางแต่ใช้คำศัพท์ไม่เหมือนกันและไวยากรณ์ที่แตกต่างกันอยู่บ้าง แต่เดิมใช้คู่กับ อักษรธรรมล้านนา ซึ่งเป็นตัวอักษรของอาณาจักรล้านนาที่ใช้อักษรมอญเป็นต้นแ.

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและภาษาไทยถิ่นเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลกุ้ยโจว

มณฑลกุ้ยโจว หรือเดิมไทยเรียกว่า กุยจิว (จีนตัวย่อ: 贵州省 จีนตัวเต็ม: 貴州省 Guizhou) ชื่อย่อ เฉียน (黔) หรือ กุ้ย (贵) ตั้งอยู่บนที่ราบสูงหยุนกุ้ยส่วนตะวันออก ระหว่างเส้นลองจิจูด 103.36 - 109.31 องศาตะวันออก และ ละติจูด 24.37 - 29.13 องศาเหนือ ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน มีเมืองหลวงชื่อ กุ้ยหยาง มีเนื้อที่ 176,100 ก.ม. มีประชากร 39,040,000 คน ความหนาแน่น 222 ต่อตารางกิโลเมตร จีดีพี 159.2 พันล้านเหรินหมินปี้ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น.

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและมณฑลกุ้ยโจว · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลเสฉวน

มณฑลเสฉวน หรือ ซื่อชวน หรือชื่อย่อว่า ชวน(川)หรือ สู่(蜀)เป็นมณฑลหนึ่งของประเทศจีน มีเมืองเอกชื่อเฉิงตู มณฑลเสฉวนอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีนตอนบนของแม่น้ำแยงซีเกียง มีพื้นที่ 485,000 ตาราง ก.ม. มีประชากรประมาณ 87,250,000 คน นับเป็นมณฑลที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของจีน ทั้งขนาดพื้นที่และจำนวนประชากร ความหนาแน่น 180/ก.ม. จีดีพี 655.6 พันล้านเหรินหมินปี้ ต่อประชากร 7,510 ชื่อ "เสฉวน" มีความหมายว่า "แม่น้ำสี่สาย" เพราะมณฑลเสฉวนตั้งอยู่บนพื้นที่ของแม่น้ำ 3 สายมาบรรจบกัน คือ แม่น้ำแยงซีเกียง, แม่น้ำหลินเจียง, แม่น้ำจินซางเจียง สภาพอากาศเป็นแบบกึ่งร้อนชื้น สภาพโดยทั่วไปจะมีความชื้นในอากาศสูง สภาพอากาศจึงค่อนข้างครึ้มไม่ค่อยมีแสงแดด โดยในรอบสัปดาห์จะมีแสงแดดหรือเห็นพระอาทิตย์เพียงไม่กี่วัน แต่จะมีหมอกปกคลุมเป็นปกติ จนได้รับฉายาว่า "เมืองในหมอก" หรือ "หมาเห่าพระอาทิตย์" และได้รับการกล่าวขานว่า เพราะสภาพอากาศเป็นเช่นนี้ ผู้หญิงในมณฑลเสฉวนมีผิวสวยที่สุดในประเทศจีน ในทางประวัติศาสตร์เคยเป็นราชธานีก๊กสู่ฮั่นของเล่าปี่และขงเบ้งในสมัยสามก๊ก ปลายราชวงศ์ฮั่น ขงเบ้งได้เลือกเอาเสฉวนเป็นราชธานีของก๊กสู่ เพื่อหมายฟื้นฟูราชวงศ์ฮั่น.

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและมณฑลเสฉวน · ดูเพิ่มเติม »

ม้ง

ม้ง หรือ เมียว (Miao; 苗; พินอิน: Miáo) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ในเขาภูเขาของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ชาวม้งอพยพลงมาทางใต้ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 เนื่องจากสถานการณ์ที่ไม่สงบทางการเมืองและหาพื้นที่ที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก ปัจจุบันมีชาวม้งอาศัยอยู่ในประเทศจีน ไทย เวียดนาม ลาว และสหรัฐอเมริกา โดยชุมชนชาวม้งที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยอยู่ที่ตำบลเข็กน้อย อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ สำหรับในประเทศไทยคำว่า "แม้ว" เป็นคำเรียกที่ไม่สุภาพในการเรียกกลุ่มคนม้ง ชาวม้งโดยส่วนใหญ่ไม่ชอบให้เรียกว่าแม้ว โดยถือว่าเป็นการดูถูกเหยียดหยาม ระหว่างสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่งและสงครามอินโดจีนครั้งที่สอง ชาวม้งในลาวได้ต่อสู้ขบวนการปะเทดลาว ชาวม้งหลายคนอพยพมาประเทศไทย และ ชาติตะวันตก.

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและม้ง · ดูเพิ่มเติม »

ยวี่ซี

วี่ซี (玉溪, พินอิน: Yùxī) เป็นเมืองหนึ่งในทางตอนกลางของมณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน.

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและยวี่ซี · ดูเพิ่มเติม »

รัฐชาน

รัฐชาน หรือ รัฐฉาน (ရှမ်းပြည်နယ်, ช้าน ปหฺยี่แหน่; ไทใหญ่:; เมิ้งไต๊) บ้างเรียก รัฐไทใหญ่ เป็นรัฐหนึ่งในประเทศพม.

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและรัฐชาน · ดูเพิ่มเติม »

รัฐกะฉิ่น

รัฐกะฉิ่น (ကချင်ပြည်နယ်; กะฉิ่น: Jingphaw Mungdaw) เป็นเขตปกครองหนึ่ง ตั้งอยู่ทางตอนเหนือสุดของประเทศพม.

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและรัฐกะฉิ่น · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อมณฑลของประเทศจีนเรียงตามจำนวนประชากร

แผนที่มณฑลของจีนเรียงตามจำนวนประชากร ประชากรประเทศจีนปี 2004.

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและรายชื่อมณฑลของประเทศจีนเรียงตามจำนวนประชากร · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อมณฑลของประเทศจีนเรียงตามขนาดพื้นที่

มณฑลของประเทศจีนเรียงตามขนาดเนื้อที่ หมวดหมู่: มณฑลของประเทศจีน.

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและรายชื่อมณฑลของประเทศจีนเรียงตามขนาดพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อมณฑลของประเทศจีนเรียงตามความหนาแน่นของประชากร

แผนที่แสดงความหนาแน่นแต่ละพื้นที่ของจีน นี่คือ รายชื่อมณฑลของจีนเรียงตามความหนาแน่นของประชากร.

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและรายชื่อมณฑลของประเทศจีนเรียงตามความหนาแน่นของประชากร · ดูเพิ่มเติม »

ลี่เจียง

ลี่เจียง (ลี่เจียงซื่อ หรือ; ลี่เจียงกู่เฉิง) เป็นเขตการปกครองที่ประกอบด้วยส่วนที่เป็นเขตเมืองและเขตชนบททางตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน มีจำนวนประชากรราว 1,100,000 คน มีย่านเมืองเก่าลี่เจียงที่มีชื่อเสียงมาก ซึ่งมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า เมืองเก่าต้าเหยียน (大研, Dàyán).

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและลี่เจียง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

หลินชาง

หลินชาง (临沧市, พินอิน: Líncāng Shì) เป็นจังหวัดหนึ่งในมณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน.

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและหลินชาง · ดูเพิ่มเติม »

หุย

วหุย (จีน:回族;พินอิน:Huízú, อาหรับ:هوي) เป็นมุสลิมกลุ่มหนึ่งในประเทศจีน มีประชากร 9.82 ล้านคน มีประชากรเพียงหนึ่งในสามของประชากรทั้งหมดในเขตปกครองตนเองหุยหนิงเซี่ย ชาวหุยก็คือชาวจีนที่นับถือศาสนาอิสลาม ชาวหุยส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่บริเวณพื้นที่ทุรกันดารทางตอนใต้ของเขตปกครองตนเอง ถึงแม้ว่าชาวหุยจะเป็นมุสลิม นับถืออิสลาม แต่ในปัจจุบันการแยกความแตกต่างของชาวหุยกับชาวจีนฮั่นโดยใช้ศาสนาค่อนข้างจะยากอยู่ ชาวหุยที่เป็นผู้ชายจะสวมหมวกสีขาว ส่วนผู้หญิงชาวหุยบางคนในปัจจุบันยังคงใส่ม่านบังหน้า ชาวหุยหลายคนที่ไม่คิดว่าคำว่า "เมกกะ" มีความสำคัญแต่อย่างใด แต่ในประเทศไทยชาวจีนที่นับถืออิสลาม จะเรียกว่า "จีนฮ่อ" ในพม่าจะเรียกว่า "ปันทาย" (Panthay) และชาวจีนมุสลิมที่อยู่ในเอเชียกลางจะถูกเรียกว่า "ดันกัน" (Dungans;дунгане).

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและหุย · ดูเพิ่มเติม »

อาข่า

อาข่า เป็นชนเผ่าที่อาศัยกระจัดกระจายอยู่ ในภาคเหนือของประเทศไทย, เชียงตุง, รัฐฉาน ของประเทศพม่า และทางแคว้นสิบสองปันนาทางตอนใต้ของจีน และลาวที่ติดกับพม่าไทยและเวียดนาน จัดอยู่ในกลุ่มภาษาจีน - ทิเบต ตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า อาข่าโดยส่วนมากพูดได้หลายภาษาเพราะต้องอาศัยปะปนกับหลายชนเผ.

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและอาข่า · ดูเพิ่มเติม »

อู๋ ซานกุ้ย

วาดอู๋ซานกุ้ย อู๋ซานกุ้ย (อังกฤษ: Wu Sangui, จีนตัวเต็ม: 吳三桂, พินอิน: Wú Sānguì) แม่ทัพในปลายราชวงศ์หมิง ผู้เปิดประตูเมืองให้แมนจูบุกเข้าปักกิ่งในสมัยหลี่ จื้อเฉิง เป็นเหตุให้ชาวแมนจูได้รับชัยชนะและตั้งราชวงศ์ชิง.

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและอู๋ ซานกุ้ย · ดูเพิ่มเติม »

อ่าวตังเกี๋ย

อ่าวตังเกี๋ย (Gulf of Tonkin; Vịnh Bắc Bộ; จีนตัวเต็ม: 東京灣) เป็นอ่าวขนาด 480 x 240 กิโลเมตร อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของทะเลจีนใต้ ระหว่างประเทศเวียดนามกับประเทศจีน ทะเลในอ่าวมีความลึกน้อยกว่า 60 เมตร แม่น้ำสำคัญที่น้ำไหลลงสู่อ่าวตังเกี๋ย คือ แม่น้ำแดงในเวียดนาม ท่าเรือสำคัญอยู่ในเมืองไฮฟองของเวียดนาม และเป๋ย์ไห่ของจีน อ่าวตังเกี๋ยมีเกาะขนาดใหญ่ คือ เกาะไหหลำ (ไห่หนาน) ของจีน อ่าวตังเกี๋ยมีความสำคัญในประวัติศาสตร์ อุบัติการณ์อ่าวตังเกี๋ยเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964) นำไปสู่การมีส่วนร่วมอย่างเปิดเผยของสหรัฐอเมริกาในสงครามเวียดนาม ตังเกี๋ย หมวดหมู่:ธรณีสัณฐานในประเทศเวียดนาม หมวดหมู่:ธรณีสัณฐานในประเทศจีน หมวดหมู่:อ่าวตังเกี๋ย.

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและอ่าวตังเกี๋ย · ดูเพิ่มเติม »

ฮั่น

ั่น ในภาษาจีนอาจหมายถึง.

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและฮั่น · ดูเพิ่มเติม »

ผูเอ่อร์

ผูเอ่อร์ เป็นจังหวัดหนึ่งในมณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน แบ่งเขตปกครองออกเป็น.

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและผูเอ่อร์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิหงอู่

มเด็จพระจักรพรรดิหงอู่ (21 ตุลาคม พ.ศ. 1871 – 24 มิถุนายน พ.ศ. 1941) คือจักรพรรดิพระองค์แรกแห่งราชวงศ์หมิงของจีน.

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและจักรพรรดิหงอู่ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิถังเสฺวียนจง

thumb จักรพรรดิถังเสฺวียนจง (ค.ศ. 685–762) จักรพรรดิองค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์ถัง เป็นโอรสในจักรพรรดิถังรุ่ยจง มีพระนามเดิมว่า หลี่หลงจี ภายหลังรัชกาลของบูเช็กเทียน สภาพการเมืองภายในราชสำนักปั่นป่วนวุ่นวาย เนื่องจากถังจงจงอ่อนแอ อำนาจทั้งมวลตกอยู่ในมือของเหวยฮองเฮา(韦皇后)ที่คิดจะยิ่งใหญ่ได้เช่นเดียวกับบูเช็กเทียน เหวยฮองเฮาหาเหตุประหารรัชทายาท จากนั้นในปี 710 วางยาพิษสังหารถังจงจง โอรสองค์ที่สามของถังรุ่ยจง นามหลี่หลงจี(李隆基)ภายใต้การสนับสนุนขององค์หญิงไท่ผิง(太平公主)ชิงนำกำลังทหารบุกเข้าวังหลวงสังหารเหวยฮองเฮาและพวก ภายหลังเหตุการณ์องค์หญิงไท่ผิงหนุนถังรุ่ยจงขึ้นครองราชย์ แต่งตั้งหลี่หลงจีเป็นรัชทายาท แต่แล้วองค์หญิงไท่ผิงพยายามเข้ากุมอำนาจเบ็ดเสร็จ แต่เกิดขัดแย้งกับรัชทายาทหลี่หลงจี ปี 712 ถังรุ่ยจงสละราชย์ให้กับโอรส หลี่หลงจีเมื่อขึ้นครองราชย์ทรงพระนามว่า ถังเสวียนจง (唐玄宗) สิ่งแรกที่กระทำคือกวาดล้างขุมกำลังขององค์หญิงไท่ผิง นำพาสันติสุขกลับคืนมาอีกครั้ง ตลอด 32 ปีในรัชสมัย ทรงปฏิรูปการปกครองกวาดล้างขุนนางกังฉิน ทรงทำให้ฉางอานกลายเมืองศูนย์กลางของโลกในขณะนั้น ประชากรในเมืองฉางอานสูงกว่า1ล้านคน เป็นปลายทางของเส้นทางสายไหม และยังเป็นจุดหมายปลายทางของพวกพ่อค้าชาวตะวันตก ต้าถังในรัชสมัยของพระองค์เจริญรุ่งเรือง เต็มไปด้วยนักดนตรี นักประพันธ์ เจริญด้วยวรรณกรรม วรรณคดีมากมาย สังคมงสบสุข พระบารมีแผ่ขยายไปกว้างไกล ประวัติศาสตร์ยุคนี้ได้รับการขนานนามว่า "ปฐมศักราชแห่งความรุ่งโรจน์" นอกจากนี้ยังมีนักศึกษาต่างชาติพากันลั่งไหลเข้ามาเรียนรู้ในผ่นดินต้าถังนตลอดไม่ขาดสาย ฉางอานเมืองหลวงของต้าถังในขณะนั้น กลายเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของโลกมีความเจริญในทุกๆด้าน.

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและจักรพรรดิถังเสฺวียนจง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิซุ่นจื้อ

มเด็จพระจักรพรรดิซุ่นจื้อ จักรพรรดิองค์ที่ 3 ของราชวงศ์ชิง แต่ในบางครั้งจะนับพระองค์เป็น ปฐมจักรพรรดิ ของราชวงศ์ชิง ด้วยทรงเป็นจักรพรรดิแมนจูพระองค์แรกที่ได้ประทับในพระราชวังต้องห้ามที่กรุงปักกิ่ง และราชวงศ์หมิงถึงกาลสิ้นสุดอย่างแท้จริง มีพระนามเดิมว่า อ้ายซินเจี๋ยว์หลอ ฝูหลิน (爱新觉罗福临) ซึ่งเป็นพระโอรสคนที่ 9 ของหวงไท่จี๋ ทรงขึ้นครองราชย์เพียงพระชนมพรรษา 6 ขวบ ในปี พ.ศ. 2186 (ค.ศ. 1643) หลังการสวรรคตของจักรพรรดิหวงไถจี๋ พระราชบิดา และ เซี่ยวจวงก็เลื่อนศักดิ์ขึ้นมาเป็นไทเฮา โดยมีตัวเอ่อกุ่นที่มีศักดิ์เป็นพระปิตุลาเป็นผู้สำเร็จราชการ (摄政王) และมีเจิ้งชินหวัง (郑亲王) คอยให้การช่วยเหลือ ตั่วเอ่อกุ่นได้พยายามยึดกุมอำนาจปกครองอันแท้จริงเอาไว้ อีกทั้งยังตั้งตนเองเป็นพระราชบิดา ควบคุมกองทัพกองธงไว้ถึง 3 กองธง ในขณะที่ฮ่องเต้ปกครองอยู่เพียง 2 กองธง พระองค์ต้องอยู่ใต้การสำเร็จราชการแผ่นดินของตั่วเอ่อกุ่น พระอนุชาต่างพระมารดาของพระราชบิดา ซึ่งตั่วเอ่อกุ่นนับว่าเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลอย่างมาก อีกทั้งยังมีสิทธิ์ที่จะได้ขึ้นครองราชย์อีกด้วย ตั่วเอ่อกุ่นได้กระทำการหลายอย่างที่จะไม่ให้พระองค์เจริญชันษามาด้วยความปรีชาสามารถ เช่น ไม่สนับสนุนให้ทรงเล่าเรียน เป็นต้น แต่ทว่า อำนาจของตั่วเอ่อกุ่นก็ถูกคานจาก พระนางเสี้ยวจวงไทเฮา (孝庄太后)พระมารดา กระทั่งปี..1650 เมื่อตัวเอ่อกุ่นเสียชีวิตลง ซุ่นจื้อที่เริ่มหลุดจากการเป็นหุ่นเชิด ได้ประกาศราชโองการยกเลิกตำแหน่ง บรรดาศักดิ์ และริบทรัพย์ทั้งหมดของตัวเอ่อกุ่นเป็นการลงโทษในข้อหาใช้อำนาจบาตรใหญ่ในขณะที่มีชีวิตอยู่ นอกจากนั้นยังลือกันว่ามีการขุดศพของตัวเอ่อกุ่นขึ้นมาทำการตีด้วยไม้และโบยด้วยแส้อีกด้วย หลังจากนั้น เพื่อให้อำนาจกลับคืนสู่ฮ่องเต้อย่างแท้จริง ซุ่นจื้อยังได้ทำการปลดองค์ชายและเชื้อพระวงศ์หลายคนที่เคยดูแลหน้าที่ในกระทรวงต่างๆ อีกทั้งเพื่อลดความขัดแย้งระหว่างชนชาติ จึงทรงมีรับสั่งให้มีการหยุดการเวนคืนที่ดินจากประชาชน ผ่อนปรนกฎหมายคนหลบหนี ผลักดันวัฒนธรรมชาวฮั่น ซึ่งการยกย่องวัฒนธรรมของชาวฮั่นกับความคิดในการปฏิรูปเพื่อให้แมนจูกับชาวฮั่นสามารถอยู่ร่วมกันของซุ่นจื้อ ได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งกับขุนนางใหญ่จำนวนไม่น้อย ความผิดหวังในทางการเมือง ได้ทำให้ซุ่นจื้อหันมาทุ่มเทให้กับความรักให้กับพระมเหสีต่งเอ้อ พระสนมต่งเอ้อ โดยเล่าขานกันว่า พระมเหสีต่งเอ้อเดิมเป็นน้องสะใภ้ของซุ่นจื้อ เป็นภรรยาของป๋อมู่ป๋อกั่วเอ่อ (博穆博果尔) แต่มีความสนิทสนมใกล้ชิดกับซุ่นจื้อมาก หลังป๋อกั่วเอ่อเสียชีวิตในปีซุ่นจื้อที่ 13 ฮ่องเต้ซุ่นจื้อจึงได้แต่งตั้งนางให้เป็นพระสนมของตน หลังจากเป็นสนมของซุ่นจื้อได้หนึ่งปี พระมเหสีต่งเอ้อก็ได้ให้กำเนิดพระโอรส ซึ่งเดิมจะได้รับการแต่งตั้งเป็นรัชทายาท ทว่าพระโอรสพระองค์นี้กลับเสียชีวิตไปเมื่ออายุได้เพียง 3 เดือน ทำให้พระมเหสีต่งเอ้อตรอมใจจนสิ้นพระชนม์ และได้รับการอวยยศตามหลังจากเซี่ยวจวงฮองไทเฮา ให้เป็นเสี้ยวเซี่ยนตวนจิ้งฮองเฮา จักรพรรดิซุ่นจื้อครองราชย์ถึงปีที่ 18 (ค.ศ. 1661) ก็สวรรคตไปด้วยพระชนมายุเพียง 24 พรรษา ทว่าการสวรรคตของพระองค์กลับเป็นปริศนาถูกกล่าวขานไว้หลายรูปแบบ โดยบ้างระบุว่าพระองค์เสียพระทัยกับการสูญเสียพระสนมและพระโอรส ทำให้ร่างกายและจิตใจได้รับความกระทบกระเทือน และสิ้นพระชนม์ด้วยโรคฝีดาษ (ไข้ทรพิษ)ในปี พ.ศ. 2204 (ค.ศ. 1661) ในขณะที่บันทึกของชาวบ้านกลับระบุว่า พระองค์ทรงมีความฝักใฝ่ในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า สุดท้ายเมื่อสูญเสียพระสนมอันเป็นที่รัก จึงได้ออกผนวช ณ เขาอู่ไถ (五台山) และต่อมาพระโอรสลำดับที่ 3 ของพระองค์ ที่ประสูติแต่ พระมเหสีคัง คือ องค์ชายเสวียนเยว่ (玄燁) พระชนมายุเพียง 8 พรรษา ได้ขึ้นครองราชย์เป็นฮ่องเต้คังซีตามพระพินัยกรรมของซุ่นจื้อในนาม จักรพรรดิคังซี ซึ่งต่อมาทรงเป็นจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ของราชวงศ์ชิง และพระนางเสี้ยวจวงก็เป็นผู้อุปการะพระองค์มาโดยตลอด และได้เลื่อนพระอิสริยยศเป็นไท่หวงไท.

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและจักรพรรดิซุ่นจื้อ · ดูเพิ่มเติม »

จิตร ภูมิศักดิ์

ตร ภูมิศักดิ์ (25 กันยายน พ.ศ. 2473 — 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2509) เป็นนักคิดด้านการเมือง นักประวัติศาสตร์ และนักภาษาศาสตร์ นับเป็นนักปราชญ์และนักปฏิวัติทางความคิดและวิชาการคนสำคัญของประเทศไทย จิตรเป็นนักวิชาการคนแรกๆ ที่กล้าถกเถียงและคัดค้านปราชญ์คนสำคัญ ด้วยวิธีคิดที่มีเหตุผลและลุ่มลึก มีความโดดเด่นจากผลงานการค้นคว้าทางวิชาการที่แปลกใหม่และลึกซึ้ง ขณะเดียวกันจิตรยังมีความคิดต่อต้านระบบเผด็จการและการใช้อำนาจกดขี่ของชนชั้นสูงมาโดยตลอด, จากโซ่ตรวนถึงความตายวาระสุดท้ายแห่งชีวิตจิตร ภูมิศักดิ์ จิตรเสียชีวิตในปี..

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและจิตร ภูมิศักดิ์ · ดูเพิ่มเติม »

จ้วง

้วง หรือ ปู้จ้วง (จ้วง: Bouчcueŋь/Bouxcuengh) เป็นกลุ่มชนในกลุ่มชาติพันธุ์ไท-กะได มีประชากรมากที่สุด ราว 18 ล้านคน แต่พวกเขาเพิ่งยอมรับคำว่า จ้วง เป็นชื่อชนชาติ เมื่อทางการจีนใช้คำเขียนใหม่ที่มีความหมายในทางที่ดีขึ้น เพราะในสมัยราชวงศ์ซ้อง คำว่า จ้วง (僮) ใช้เรียกทหารที่เป็นจ้วง สมัยราชวงศ์หยวน ใช้ตัวอักษรจีน ที่แปลว่า ปะทะ สมัยราชวงศ์หมิง ราชวงศ์ชิง จนถึงสมัยก๊กมินตั๋ง เปลี่ยนอักษรตัวแรกเป็นความหมายว่า "สัตว์" (獞) จนถึง พ.ศ. 2508 จึงเปลี่ยนเป็นตัวที่มีความหมายว่า เติบโต และแข็งแรง (壯/壮).

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและจ้วง · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลอันดามัน

แนวแผ่นดินไหวของเกาะสุมาตรา (2547) ภาพดาวเทียมของทะเลอันดามัน แสดงให้เห็นสาหร่ายสีเขียวและตะกอนจากแม่น้ำอิรวดี ทะเลอันดามัน (Andaman Sea; আন্দামান সাগর; अंडमान सागर) หรือ ทะเลพม่า (မြန်မာပင်လယ်,; มยะหม่าปิ่นแหล่) เป็นทะลที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอ่าวเบงกอล เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรอินเดีย ทางเหนือของทะเลติดกับปากแม่น้ำอิระวดีในประเทศพม่า ทางตะวันออกเป็นคาบสมุทรประเทศพม่า ประเทศไทย และประเทศมาเลเซีย ทางตะวันตกเป็นหมู่เกาะอันดามัน และหมู่เกาะนิโคบาร์ ภายใต้การปกครองของอินเดีย ทางใต้ติดกับเกาะสุมาตรา ของอินโดนีเซีย และช่องแคบมะละกา ทะเลอันดามันมีความยาวจากเหนือจรดใต้ประมาณ 1,200 กิโลเมตร กว้าง 645 กิโลเมตร มีพื้นน้ำประมาณ 600,000 ตร.กม. มีความลึกเฉลี่ย 1,096 เมตร จุดที่ลึกที่สุดมีระดับความลึก 4,198 เมตร.

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและทะเลอันดามัน · ดูเพิ่มเติม »

ทาคิน

ทาคิน (Takin) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง (Phylum Chordata) ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (Class Mammalia) เป็นสัตว์ประจำชาติของภูฏาน ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงในพื้นที่หนาวเย็น มีหน้าและเขาคล้ายแพะ แต่ว่าไม่มีเครา ตัวใหญ่ประมาณวัว เมื่อโตเต็มที่มีน้ำหนักประมาณ 250 กิโลกรัม ทาคินจะกินใบไผ่ หน่อไม้ เป็นอาหารหลัก.

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและทาคิน · ดูเพิ่มเติม »

ทิเบต

ทิเบต (ภาษาทิเบต: བོད་ เป้อ, ภาษาจีน: 西藏 xīzàng ซีจ้าง) เป็นเขตที่ราบสูงในทวีปเอเชีย ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเทือกเขาหิมาลัย เป็นที่อยู่ของชาวทิเบต และกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ และปัจจุบันมีชาวฮั่นและหุยมาอยู่อาศัยด้วยเป็นจำนวนมาก ทิเบตเป็นบริเวณที่สูงที่สุดในโลก มีระดับความสูงเฉลี่ย 4,900 เมตร หมวดหมู่:เอเชียกลาง หมวดหมู่:เอเชียตะวันออก.

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

ความหลากหลายทางชีวภาพ

วามหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) หมายถึง การมีสิ่งมีชีวิตน้อยนิด พันธุ์ในระบบนิเวศอันเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ซึ่งมีมากมายและแตกต่างกันทั่วโลก หรือง่ายๆ คือ การที่มีชนิดพันธุ์ (Species) สายพันธุ์ (Genetic) และระบบนิเวศ (Ecosystem.) ที่แตกต่างหลากหลายบนจักรวาล ความหลากหลายทางชีวภาพสามารถพิจารณาได้จากความหลากหลายระหว่างสายพันธุ์ ระหว่างชนิดพันธุ์ และระหว่างระบบนิเวศ ความหลากหลายทางชีวภาพระหว่างสายพันธุ์ ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด คือ ความแตกต่างระหว่างพันธุ์พืชและสัตว์ต่างๆ ที่ใช้ในการเกษตร ความแตกต่างหลากหลายระหว่างสายพันธุ์ ทำให้สามารถเลือกบริโภคข้าวเจ้า หรือข้าวเหนียว ตามที่ต้องการได้ หากไม่มีความหลากหลายของสายพันธุ์ต่างๆ แล้ว อาจจะต้องรับประทานส้มตำปูเค็มกับข้าวจ้าวก็เป็นได้ ความแตกต่างที่มีอยู่ในสายพันธุ์ต่างๆ ยังช่วยให้เกษตรกรสามารถเลือกสายพันธุ์ปศุสัตว์ เพื่อให้เหมาะสมตามความต้องการของตลาดได้ เช่น ไก่พันธุ์เนื้อ ไก่พันธุ์ไข่ดก วัวพันธุ์นม และวัวพันธุ์เนื้อ เป็นต้น ความหลากหลายระหว่างชนิดพันธุ์ สามารถพบเห็นได้โดยทั่วไปถึงความแตกต่างระหว่างพืชและสัตว์แต่ละชนิด ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ที่อยู่ใกล้ตัว เช่น สุนัข แมว จิ้งจก ตุ๊กแก กา นกพิราบ และนกกระจอก เป็นต้น หรือสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในป่าเขาลำเนาไพร เช่น เสือ ช้าง กวาง กระจง เก้ง ลิง ชะนี หมี และวัวแดง เป็นต้น พื้นที่ธรรมชาติเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างหลากหลาย แต่ว่ามนุษย์ได้นำเอาสิ่งมีชีวิตมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร และอุตสาหกรรม น้อยกว่าร้อยละ 5 ของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด ในความเป็นจริงพบว่ามนุษย์ได้ใช้พืชเป็นอาหารเพียง 3,000 ชนิด จากพืชมีท่อลำเลียง (vascular plant) ที่มีอยู่ทั้งหมดในโลกถึง 320,000 ชนิด ทั้งๆ ที่ประมาณร้อยละ 25 ของพืชที่มีท่อลำเลียงนี้สามารถนำมาบริโภคได้ สำหรับชนิดพันธุ์สัตว์นั้น มนุษย์ได้นำเอาสัตว์เลี้ยงมาเพื่อใช้ประโยชน์เพียง 30 ชนิด จากสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหมดที่มีในโลกประมาณ 50,000 ชนิด (UNEP 1995) ความหลากหลายระหว่างระบบนิเวศเป็นความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งซับซ้อน สามารถเห็นได้จากความแตกต่างระหว่างระบบนิเวศประเภทต่างๆ เช่น ป่าดงดิบ ทุ่งหญ้า ป่าชายเลน ทะเลสาบ บึง หนอง ชายหาด แนวปะการัง ตลอดจนระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ทุ่งนา อ่างเก็บน้ำ หรือแม้กระทั่งชุมชนเมืองของเราเอง ในระบบนิเวศเหล่านี้ สิ่งมีชีวิตก็ต่างชนิดกัน และมีสภาพการอยู่อาศัยแตกต่างกัน ความแตกต่างหลากหลายระหว่างระบบนิเวศ ทำให้โลกมีถิ่นที่อยู่อาศัยเหมาะสมสำหรับสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ระบบนิเวศแต่ละประเภทให้ประโยชน์แก่การดำรงชีวิตของมนุษย์แตกต่างกัน หรืออีกนัยหนึ่งให้ 'บริการทางสิ่งแวดล้อม' (environmental service) ต่างกันด้วย อาทิเช่น ป่าไม้ทำหน้าที่ดูดซับน้ำ ไม่ให้เกิดน้ำท่วมและการพังทลายของดิน ส่วนป่าชายเลนทำหน้าที่เก็บตะกอนไม่ให้ไปทบถมจนบริเวณปากอ่าวตื้นเขิน ตลอดจนป้องกันการกัดเซาะบริเวณชายฝั่งจากกระแสลมและคลื่นด้วย เป็นต้น.

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและความหลากหลายทางชีวภาพ · ดูเพิ่มเติม »

คุนหมิง

ทะเลสาบเตียนฉือ อาคารไม้เก่าแก่ กับตึกระฟ้าสมัยใหม่ที่อยู่เบื้องหลัง คลองในย่านใจกลางเมือง คุนหมิง เป็นเมืองเอกในมณฑลยูนนานในสาธารณรัฐประชาชนจีน มีจำนวนประชากรประมาณ 3,740,000 คน โดยมีประมาณ 1,055,000 คนที่อาศัยอยู่ในเขตเมือง ตัวเมืองตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลสาบเตียนฉือด้านทิศเหนือ เนื่องจากมีอากาศอบอุ่นตลอดทั้งปี จึงถูกขนานนามว่า "นครแห่งฤดูใบไม้ผลิ".

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและคุนหมิง · ดูเพิ่มเติม »

ตารางกิโลเมตร

ตารางกิโลเมตร คือหน่วยของพื้นที่ มักย่อว่า ตร.กม.

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและตารางกิโลเมตร · ดูเพิ่มเติม »

ต้าหลี่

แผนที่มณฑลยูนนานแสดงที่ตั้ง เขตปกครองตนเองชนชาติไป๋ ต้าหลี่ ตำแหน่งของมณฑลยูนนานในสาธารณรัฐประชาชนจีน ประตูเมืองเก่า ทิวทัศน์ยามค่ำคืนของย่านเมืองโบราณในต้าหลี่ เจดีย์สามองค์ในวัดฉงเซิ่ง ประตูทิศใต้ของย่านเมืองโบราณ ต้าหลี่ หรือภาษาไทใหญ่ว่า แสหลวง หรือ มิถิลา เป็นเมืองเอกของ เขตปกครองตนเองชนชาติไป๋ ต้าหลี่ มณฑลยูนนานทางตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งอยู่บนที่ราบสูงระหว่างเทือกเขาชางซานทางด้านตะวันตก และทะเลสาบเอ๋อร์ไห่ทางด้านตะวันออก เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของชาวไป๋และชาวอี๋มาตั้งแต่สมัยโบราณ.

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและต้าหลี่ · ดูเพิ่มเติม »

ฉวี่จิ้ง

ฉวี่จิ้ง เป็นจังหวัดหนึ่งในมณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน.

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและฉวี่จิ้ง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศพม่า

ม่า หรือ เมียนมา (မြန်မာ,, มฺยะหฺม่า) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า หรือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (ပြည်ထောင်စု သမ္မတ မြန်မာနိုင်ငံတော်, ปหฺยี่เด่าง์ซุ ตัมมะดะ มฺยะหฺม่า ไหฺน่หฺงั่นด่อ) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดกับอินเดีย บังกลาเทศ จีน ลาว และไทย หนึ่งในสามของพรมแดนพม่าที่มีความยาว 1,930 กิโลเมตรเป็นแนวชายฝั่งตามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน ด้วยพื้นที่ 676,578 ตารางกิโลเมตร ประเทศพม่าเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 40 ของโลก และใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำมะโนของประเทศในปี 2557 เผยว่าประเทศพม่ามีประชากรน้อยกว่าที่คาดการณ์ โดยมีบันทึกประชากร 51 ล้านคน มีเมืองหลวง คือ กรุงเนปยีดอ และนครใหญ่สุด คือ ย่างกุ้ง อารยธรรมช่วงต้นของประเทศพม่ามีนครรัฐปยูที่พูดภาษาตระกูลทิเบต-พม่าในพม่าตอนบน และราชอาณาจักรมอญในพม่าตอนล่าง ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ชาวพม่าได้เข้าครอบครองบริเวณลุ่มแม่น้ำอิรวดีตอนบน และสถาปนาราชอาณาจักรพุกามในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1050 ภาษาและวัฒนธรรมพม่าพร้อมด้วยศาสนาพุทธนิกายเถรวาทค่อย ๆ ครอบงำในประเทศ อาณาจักรพุกามล่มสลายเพราะการบุกครองของมองโกลและรัฐหลายรัฐกำเนิดขึ้น ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ราชวงศ์ตองอูสร้างเอกภาพอีกครั้ง และช่วงสั้น ๆ เป็นจักรวรรรดิใหญ่สุดในประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้นศตวรรษที่ 19 ราชวงศ์คองบองได้ปกครองพื้นที่ประเทศพม่าและควบคุมมณีปุระและอัสสัมในช่วงสั้น ๆ ด้วย บริติชพิชิตพม่าหลังสงครามอังกฤษ-พม่าทั้งสามครั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และประเทศกลายเป็นอาณานิคมบริติช ประเทศพม่าได้รับเอกราชใน..

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและประเทศพม่า · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศลาว

ลาว (ລາວ) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ສາທາລະນະລັດ ປະຊາທິປະໄຕ ປະຊາຊົນລາວ, อักษรย่อ: ປປ.ລາວ) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนติดต่อกับจีน ทางทิศเหนือ ติดต่อกับพม่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดต่อกับเวียดนามทางทิศตะวันออก ติดต่อกับกัมพูชาทางทิศใต้ และติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก กั้นด้วยแม่น้ำโขงเป็นบางช่วง.

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและประเทศลาว · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเวียดนาม

วียดนาม (Việt Nam เหฺวียดนาม) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Cộng hòa xã hội chủ nghĩa Việt Nam, ก่ง ฮหว่า สา โห่ย จู๋ เหงีย เหวียต นาม) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนติดกับประเทศจีน ทางทิศเหนือ ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา ทางทิศตะวันตก และอ่าวตังเกี๋ย ทะเลจีนใต้ ทางทิศตะวันออกและใต้ หรือในภาษาเวียดนามเรียกเฉพาะทะเลทางทิศตะวันออกว่า ทะเลตะวันออก (Biển Đông, เบี๋ยน ดง) เวียดนามมีประชากรมากกว่า 89 ล้านคน ถือเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 13 ของโลก.

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและประเทศเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

แชงกรี-ลา

แชงกรี-ลา (Shangri-La) เป็นดินแดนสมมุติที่ปรากฏในนวนิยายเรื่อง Lost Horizon ฉบับภาษาไทยใช้ชื่อว่า "ลับฟ้าปลายฝัน" ของเจมส์ ฮิลตัน นักเขียนชาวอังกฤษ ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1933 ฮิลตันพรรณนาว่าแชงกรี-ลาเป็นดินแดนลึกลับอยู่ในเทือกเขาสูงชันทอดยาว ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเทือกเขาคุนลุน ในนวนิยายกล่าวว่าผู้คนที่อาศัยอยู่ที่นี่ล้วนมีชีวิตยืนยาว มีความสุข อาจกล่าวได้ว่าสถานที่นี้เปรียบเหมือนสวรรค์บนดิน ชื่อ แชงกรี-ลา มาจากภาษาทิเบต ཞང་(Shang) + རི (ri) + ལ (La) มีความหมายว่า "Shang Mountain Pass" (ช่องเขาฉาง) มาจากชื่อจังหวัด Ü-Tsang ทางเหนือของวัดจ๋าสือหลุนปู้ (Tashilhunpo Monastery) ในทิเบต" นักวิชาการจำนวนหนึ่งเชื่อว่า แชงกรี-ลา คือ ศัมภาล นครในตำนานพุทธศาสนาแบบทิเบต.

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและแชงกรี-ลา · ดูเพิ่มเติม »

แพนด้าแดง

แพนด้าแดง (Red panda, Shining cat; 小熊貓; พินอิน: Xiǎo xióngmāo) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ailurus fulgens อยู่ในวงศ์ Ailuridae จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในวงศ์นี้ที่ยังสืบทอดสายพันธุ์อยู่ จึงจัดเป็นซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตอยู่ชนิดหนึ่ง และเป็นเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Ailurus มีรูปร่างหน้าตาคล้ายแรคคูนและกระรอกรวมกัน หัวมีขนาดใหญ่ จมูกแหลม ขาสั้นคล้ายหมี ขนตามลำตัวมีหลากหลาย มีทั้งสีน้ำตาลเข้ม น้ำตาลเหลืองและน้ำตาลแดง ขนบริเวณลำคอยาวและนุ่มฟู หางเป็นพวงยาวคล้ายกับหางของกระรอก มีลายปล้องสีน้ำตาลแดงสลับขาว มีความยาวของลำตัวและหัว 51-64 เซนติเมตร หางยาว 50-63 เซนติเมตร มีน้ำหนัก 3-4.5 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์พบตามแนวเทือกเขาหิมาลัย ตั้งแต่ภาคเหนือของประเทศอินเดีย, ทิเบต, เนปาล, ภูฏาน, จีน, ภาคเหนือของพม่า และภาคเหนือของประเทศลาวบริเวณที่ติดกับจีน โดยอาศัยอยู่ในป่าที่มีระดับความสูงตั้งแต่ 1,500-4,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีพฤติกรรมออกหากินตามลำพัง มักหากินบนต้นไม้ กินอาหารเพียงไม่กี่ประเภท โดยกินเฉพาะใบไม้อ่อนเท่านั้น บางครั้งอาจกินไข่นก สัตว์ขนาดเล็กและผลไม้บางชนิดด้วย ใช้เวลาตอนกลางวันในการนอนหลับพักผ่อน แพนด้าแดงตัวผู้จะหวงอาณาเขตมากและมักเคลื่อนย้ายไปเรื่อย ๆ แต่แพนด้าแดงตัวเมียจะอาศัยอยู่ในพื้นที่ครอบครองของตัวเอง บางครั้งตัวผู้อาจเข้ามาหากินภายในอาณาเขตของตัวเมียด้วย โดยทั่วไปอาณาเขตของแพนด้าแดงตัวผู้จะกว้างประมาณ 1.1-9.6 ตารางกิโลเมตร ส่วนอาณาเขตของตัวเมียจะกว้างประมาณ 1.0-1.5 ตารางกิโลเมตร ผสมพันธุ์ในช่วงเดือนมกราคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์ โดยตัวเมียจะยอมให้ตัวผู้ผสมพันธุ์อยู่เพียง 1-3 วันเท่านั้น แม่แพนด้าแดงใช้เวลาตั้งท้องประมาณ 90-145 วัน และจะออกลูกในโพรงไม้หรือถ้ำเล็ก ๆ ออกลูกครั้งละ 4 ตัว ลูกที่เกิดใหม่จะยังมองไม่เห็น มีสีขนตามลำตัวออกสีเหลืองอ่อน และจะกินนมแม่อยู่นาน 5 เดือน หลังจากนั้นจึงหย่านมและเปลี่ยนมากินใบไผ่แทน เมื่ออายุได้ 2 ปี ก็จะแยกออกไปหากินตามลำพัง มีข้อสังเกตว่า แพนด้าแดงที่อยู่บริเวณภาคเหนือของอินเดียจะมีขนาดเล็กกว่าตัวที่อยู่ค่อนมาทางเอเชียตะวันออก และมีสีที่ใบหน้าซีดจางกว่า ซึ่งเป็นชนิดย่อยที่แยกออกไป สำหรับในประเทศไทย สวนสัตว์พาต้าเคยนำเข้ามาเลี้ยงในสวนสัตว์ครั้งหนึ่ง โดยให้อยู่ในห้องปรับอากาศ ปัจจุบันมีแสดงที่สวนสัตว์ดุสิต และสวนสัตว์เปิดเขาเขียวเท่านั้น.

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและแพนด้าแดง · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำสาละวิน

แม่น้ำสาละวิน (Salween River; သံလွင်မြစ်; 40px; กะเหรี่ยงสะกอ: โคโหล่โกล) เป็นแม่น้ำสายที่ยาวเป็นอันดับที่ 26 ของโลก ยาว 2,800 กิโลเมตร และเป็นแม่น้ำที่มีความยาวเป็นอันดับสองของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ รองมาจากแม่น้ำโขง จากไทยพีบีเอส มีต้นกำเนิดจากการละลายของหิมะเหนือเทือกเขาหิมาลัย ไหลผ่านมณฑลยูนนาน ประเทศจีน ที่ซึ่งเรียกแม่น้ำนี้ว่า นู่เจียง (怒江) หมายถึง "แม่น้ำพิโรธ" และผ่านประเทศพม่าผ่านรัฐฉาน รัฐกะยา รัฐกะเหรี่ยง ซึ่งเป็นแม่น้ำกั้นพรมแดน ระหว่างพม่ากับไทยที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน และไหลลงมาบรรจบกับแม่น้ำเมย หลังจากนั้นแม่น้ำสาละวินจึงไหลวกกลับเข้าประเทศพม่า และไหลลงสู่มหาสมุทรอินเดียที่อ่าวเมาะตะมะ รัฐมอญ แม่น้ำสาละวินมีต้นกำเนิดที่เดียวกับแม่น้ำโขง และแม่น้ำแยงซี โดยแบ่งแยกออกจากกันอย่างชัดเจนจากต้นกำเนิด และเนื่องจากเป็นน้ำที่เกิดจากการละลายของหิมะ อุณหภูมิของน้ำในแม่น้ำสาละวินจึงมีความเย็นกว่าน้ำในแม่น้ำอื่น ๆ ในประเทศไทย บางช่วงมีความลึกมากและน้ำไหลแรง นอกจากนี้ ในประเทศ จีน แม่น้ำสาละวิน เป็น 1 ในแม่น้ำ 3 สาย ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น "มรดกโลก" ร่วมกับ แม่น้ำโขง และ แม่น้ำแยงซี ในเขตพื้นที่มณฑลยูนนาน ภายใต้ชื่อ พื้นที่คุ้มครองแม่น้ำขนานสามสายแห่งยูนนาน โดยพื้นที่ดังกล่าว นับได้ว่าเป็นสถานที่แห่งหนึ่งบนโลกที่มีความอุดมสมบูรณ์และความหลายหลายทางชีวภาพสูง.

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและแม่น้ำสาละวิน · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำอิรวดี

แม่น้ำอิรวดี (ออกเสียง เอยาวะดี) เป็นแม่น้ำที่ไหลจากเหนือจรดใต้ผ่านประเทศพม่า เป็นแม่น้ำที่ใหญ่สุดในประเทศและเป็นเส้นทางการค้าที่สำคัญที่สุด ชื่ออิรวดีในพม่ามาจาก ภาษาบาลี Irāvatī Airavati Erāvatī เป็นชื่อบาลีของช้างเอราวัณพาหนะของพระอินทร์ ช้างมักถูกใช้เป็นสัญลักษณ์สำหรับน้ำ และถูกนำมาใช้เป็นชื่อของแม่น้ำอื่น ๆ ในหลายภูมิภาคเช่น แม่น้ำอจิรวดี ในอินเดีย แม่น้ำอิรวดีมีต้นกำเนิดจากจุดบรรจบกันของ แม่น้ำมะลิขา และ แม่น้ำเมขา ที่ไหลลงมาจากธารน้ำแข็งบริเวณเทือกเขาหิมาลัยทางตอนเหนือของปูตาโอในพม่าตอนบน แม่น้ำค่อนข้างไหลเป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ผ่านดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดี และไหลลงสู่ทะเลอันดามัน แม่น้ำอิรวดีมีพื้นที่ลุ่มน้ำ 404,200 ตารางกิโลเมตร (156,026 ตารางไมล์) ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศพม่า นักกวีชาวอังกฤษ รัดยาร์ด คิปลิง มีการบรรยายถึงแม่น้ำอิรวดีในบทกวีที่เขาแต่งเรื่อง 'ถนนสู่มัณฑะเลย์' กว่าหกศตวรรษที่แม่น้ำถูกใช้สำหรับการค้าขายและการขนส่ง แม่น้ำมีความสำคัญต่อจักรวรรดิอังกฤษหลังได้พม่าเข้ามาอยู่ในอาณานิคมได้มีการพัฒนาเครือข่ายคลองชลประทาน แม่น้ำยังคงมีความสำคัญในปัจจุบันเนื่องจากเป็นเส้นทางการจราจรและเป็นเส้นทางของสินค้าส่งออกจำนวนมาก ข้าวมีการผลิตในเขตดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดีซึ่งมีการใช้น้ำจากแม่น้ำ ในปี..

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและแม่น้ำอิรวดี · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำแยงซี

้นทางแม่น้ำแยงซีในประเทศจีน แม่น้ำแยงซี, แยงซีเกียง (Yangtze river) หรือแม่น้ำฉางเจียง เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในทวีปเอเชีย และเป็นแม่น้ำที่ยาวเป็นอันดับที่ 3 ของโลก รองจากแม่น้ำไนล์ในทวีปแอฟริกาและแม่น้ำแอมะซอนในทวีปอเมริกาใต้ แม่น้ำแยงซียาว 6,300 กิโลเมตร ต้นน้ำอยู่ที่มณฑลชิงไห่และทิเบต ในทิศตะวันตกของสาธารณรัฐประชาชนจีน และไหลมาทางทิศตะวันออก ออกสู่ทะเลจีนตะวันออก.

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและแม่น้ำแยงซี · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำแดง

ทิวทัศน์แม่น้ำแดงช่วงที่ไหลผ่านประเทศจีน แม่น้ำแดง (红河; Sông Hồng) เป็นแม่น้ำที่ไหลจากทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีนผ่านทางตอนเหนือของประเทศเวียดนาม ไปสิ้นสุดที่อ่าวตังเกี๋ย แม่น้ำแดงมีจุดกำเนิดในเทือกเขาทางตอนใต้ของต้าหลี่ในมณฑลยูนนาน ไหลไปทางตะวันออกเฉียงใต้ผ่านพื้นที่ที่เป็นถิ่นที่อยู่ของชาวไทลื้อ และไหลออกจากจีนที่เขตปกครองตนเองชนชาติอาข่าและอี๋ หงเหอ เข้าสู่เวียดนามที่จังหวัดหล่าวกาย เมื่อแม่น้ำไหลถึงที่ลุ่มใกล้ ๆ กับเหวียตจี่ก็จะเริ่มเข้าสู่พื้นที่ที่เรียกว่าดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดง หลังจากนั้นแม่น้ำแดงจะไหลผ่านฮานอย และไหลลงสู่อ่าวตัวเกี๋ยในที่สุด ด ด หมวดหมู่:แม่น้ำแดง หมวดหมู่:แม่น้ำนานาชาติในทวีปเอเชีย.

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและแม่น้ำแดง · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำโขง

แม่น้ำโขง (မဲခေါင်မြစ်; ແມ່ນ້ຳຂອງ; ទន្លេដ៏ធំ; Mê Kông) มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหิมาลัย ไหลผ่านบริเวณที่ราบสูงทิเบตและมณฑลชิงไห่ ประเทศจีน ผ่านประเทศจีน ประเทศพม่า ประเทศลาว ประเทศไทย ประเทศกัมพูชา และออกสู่ทะเลจีนใต้ที่ประเทศเวียดนาม มีความยาวทั้งหมด 4,880 กิโลเมตร เป็นความยาวในประเทศจีน 2,130 กิโลเมตร ช่วงที่แม่น้ำไหลผ่านประเทศจีนมีชื่อเรียกว่า แม่น้ำหลานชาง หรือ หลานชางเจียง (จีนตัวย่อ: 澜沧江, จีนตัวเต็ม: 瀾滄江) แปลว่า "แม่น้ำที่มีความเชี่ยวกราก" และเมื่อไหลผ่านเข้าเขตประเทศพม่าและประเทศลาว เรียกว่า แม่น้ำของ รวมถึงคำเมืองล้านนาก็เรียก น้ำของ เช่นกัน ส่วนในภาษาไทยเรียกว่า แม่น้ำโขง ลักษณะสำคัญของแม่น้ำโขงคือ มีตลิ่งที่สูงชันมากทั้งสองฝั่ง ไหลเลี้ยวเลาะไปตามไหล่เขา กระแสน้ำจะไหลจากทางเหนือลงสู่ทางใต้ตลอดทั้งปี ระดับน้ำในฤดูฝนกับฤดูแล้งจะมีความแตกต่างกันอย่างมาก ความเร็วของกระแสน้ำขึ้นอยู่กับแต่ละฤดูกาล ดินในแม่น้ำโขงเป็นดินทราย มีเกาะแก่งน้อยใหญ่กว่าหนึ่งร้อยแห่งเรียงรายตลอดแม่น้ำ การที่แม่น้ำโขงไหลผ่านหลายประเทศเช่นเดียวกับแม่น้ำดานูบในยุโรป ทำให้บางคนเรียกว่าแม่น้ำนานาชาติ และทำให้ได้รับการขนานนามว่า แม่น้ำดานูบตะวันออก นอกจากนี้ ในประเทศจีน แม่น้ำโขงยังเป็น 1 ในแม่น้ำ 3 สาย ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกร่วมกับแม่น้ำแยงซีและแม่น้ำสาละวินในเขตพื้นที่มณฑลยูนนาน ภายใต้ชื่อ พื้นที่คุ้มครองแม่น้ำขนานสามสายแห่งยูนนาน พื้นที่ดังกล่าวนับได้ว่าเป็นสถานที่แห่งหนึ่งบนโลกที่มีความอุดมสมบูรณ์และความหลายหลายทางชีวภาพสูง สัตว์น้ำขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญและพบได้เฉพาะในแม่น้ำโขงได้แก่ ปลาบึก.

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและแม่น้ำโขง · ดูเพิ่มเติม »

แขวงพงสาลี

งสาลี (ຜົ້ງສາລີ, ผ้งสาลี) เป็นหนึ่งในแขวงของประเทศลาว ตั้งอยู่ตอนบนสุดของประเทศ เดิมพื้นที่แขวงพงสาลีเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นสิบสองปันนา ประเทศจีน เรียกว่า ปันนาอู ต่อมาตกเป็นของฝรั่งเศสแล้วถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศลาวในปัจจุบัน ล้อมรอบด้วยภูเขาสูงตั้งแต่ 450 เมตร ถึง 1,800 เมตร อากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทลื้อและชนเผ่าต่าง.

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและแขวงพงสาลี · ดูเพิ่มเติม »

แขวงหลวงน้ำทา

หลวงน้ำทา (ຫຼວງນໍ້າທາ, ຫລວງນໍ້າທາ) เป็นหนึ่งในแขวงของประเทศลาว ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือสุดของประเทศ ทิศเหนือติดกับประเทศจีน ทิศใต้ติดกับแขวงบ่อแก้ว ทิศตะวันออกติดกับแขวงอุดมไซ และทิศตะวันตกติดกับประเทศพม.

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและแขวงหลวงน้ำทา · ดูเพิ่มเติม »

แขวงอุดมไซ

อุดมไซ (ອຸດົມໄຊ) เป็นหนึ่งในแขวงของประเทศลาว ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเท.

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและแขวงอุดมไซ · ดูเพิ่มเติม »

โอเคเนชั่น

ลโก้เว็บไซต์โอเคเนชั่น โอเคเนชั่น เป็นบริการฟรีบล็อก แห่งหนึ่งในประเทศไทย ของเครือเนชั่น เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2550 โดยผู้เขียนบล็อกมีทั้งบรรณาธิการ คอลัมนิสต์ ผู้สื่อข่าวจากสื่อในเครือเนชั่น และสมาชิกที่ลงทะเบียนร่วมกันผลิตเนื้อหา โดยมีเนื้อหาหลากหลาย ทั้งนี้ รูปแบบการนำเสนอเป็นไปในลักษณะที่เรียกว่า Citizen Reporter โดยให้สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการผลิตเนื้อหา โอเคเนชั่นเป็นเว็บไซต์ที่มีผู้เข้าชมจากประเทศไทยมากเป็นอันดับที่ 89 (19 กันยายน 2557) จากการจัดอันดับโดยอะเล็กซ.

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและโอเคเนชั่น · ดูเพิ่มเติม »

ไทลื้อ

ทลื้อ หรือ ไตลื้อ หรือ คนลื้อ เป็นชาวไทกลุ่มหนึ่ง มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในแถบสิบสองปันนาของจีน มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นคือการใช้ภาษาไทลื้อ และยังมีวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์อื่นๆ เช่น การแต่งกาย ศิลปะและประเพณีต่าง.

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและไทลื้อ · ดูเพิ่มเติม »

เชียงรุ่ง

แผนที่เชียงรุ่ง แม่น้ำโขงช่วงที่ไหลผ่านเชียงรุ่ง เชียงรุ่ง หรือในภาษาจีนคือ จิ่งหง, เจียงฮุ่ง หรือออกเสียงในภาษาไทลื้อว่า เจงฮุ่ง (ไทลื้อใหม่: ᦵᦋᧂᦣᦳᧂᧈ ;) คือเมืองเอกในเขตปกครองตนเองชนชาติไท - สิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ประเทศจีน มีชายแดนทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับประเทศพม่า และทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับประเทศลาว.

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและเชียงรุ่ง · ดูเพิ่มเติม »

เมิ้งล่า

มิ้งล่า หรือ เมืองหล้า (勐腊县; พินอิน: Měnglà Xiàn) เป็นเขตปกครองระดับเทศมณฑลในเขตปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ประเทศจีน ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ เมิ้งล่า มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขตพฤษชาติเขตร้อน มีพันธุ์ไม้มากกว่า 13,000 ชน.

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและเมิ้งล่า · ดูเพิ่มเติม »

เมิ้งฮาย

มิ้งฮาย หรือ เมืองฮาย (勐海县; พินอิน: Měnghǎi Xiàn) คือเขตปกครองระดับเทศมณฑลในเขตปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ประเทศจีน.

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและเมิ้งฮาย · ดูเพิ่มเติม »

เมืองหลวง

มืองหลวง หรือ ราชธานี คือ เมืองหลักที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล ส่วนใหญ่เป็นที่ตั้งของทำเนียบรัฐบาล คำในภาษาอังกฤษ capital มาจากภาษาละติน caput หมายถึง "หัว" และอาจเกี่ยวข้อง เนินเขาแคปิทอไลน์ เนินเขาที่สูงที่สุดในโรมโบราณ ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์และศาสนา ในภาษาไทย มีหลายคำที่ใช้ในความหมายนี้ เช่น กรุง หรือ พระนคร สำหรับคำว่าเมืองหลวงนั้นยังก็มีความหมายเป็นสองนัย กล่าวคือ หมายถึงเมืองใหญ่ (หลวง หมายถึง ใหญ่) หรือเมืองของหลวง (คือเมืองของพระเจ้าแผ่นดิน, เพราะเป็นที่ประทับของกษัตริย์) เมืองหลวงในบางประเทศ มีขนาดเล็กกว่าเมืองอื่น เช่นใน สหรัฐอเมริกา อินเดีย บราซิล สำหรับคำว่าเมืองหลวงนี้ อาจเป็นเมืองหลวงของรัฐ (ในประเทศที่ปกครองแบบสาธารณรัฐ เป็นต้น) หรือเมืองหลวงของเขตการปกครองระดับใดๆ ก็ได้ เช่น อำเภอเมือง เปรียบเหมือนเป็นเมืองหลวงของจังหวั.

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและเมืองหลวง · ดูเพิ่มเติม »

เสือดาวหิมะ

ือดาวหิมะ (Snow leopard, Ounce) สัตว์ในวงศ์ Felidae ชนิดหนึ่ง เป็นสัตว์ป่าที่หายากใกล้สูญพันธุ์ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera uncia เดิมทีเสือดาวหิมะ ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Uncia uncia โดยถือว่าเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Uncia โดยใช้มาตั้งแต่ยุคทศวรรษที่ 30 แต่จากการศึกษาด้านจีโนไทป์พบว่าอยู่ในสกุล Panthera เช่นเดียวกับเสือใหญ่หลายชนิด ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและเสือดาวหิมะ · ดูเพิ่มเติม »

เหรินหมินปี้

หรินหมินปี้ (จีนตัวย่อ: 人民币; จีนตัวเต็ม: 人民幣; พินอิน: rénmínbì; ตามตัวอักษรหมายถึง "เงินตราของประชาชน") เป็นเงินตราอย่างเป็นทางการของสาธารณรัฐประชาชนจีน ออกโดย ธนาคารประชาชนแห่งชาติจีน (People's Bank of China) ซึ่งเป็นหน่วยงานทางด้านเงินตราของ จีนแผ่นดินใหญ่ ตัวย่อใน ISO 4217 คือ CNY ภาพด้านหน้าของธนบัตรใบละ 1 หยวน ภาพด้านหน้าของธนบัตรใบละ 5 เจียว.

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและเหรินหมินปี้ · ดูเพิ่มเติม »

เจาทง

ทง เป็นจังหวัดหนึ่งในมณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน.

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและเจาทง · ดูเพิ่มเติม »

เขตปกครองตนเองชนชาติลีซอ นู่เจียง

แผนที่มณฑลยูนนานแสดงที่ตั้ง เขตปกครองตนเองชนชาติลีซอ นู่เจียง เขตปกครองตนเองชนชาติลีซอ นู่เจียง (นู่เจียงลี่สู้สูซื่อจื้อโจว) คือหนึ่งในเขตปกครองตนเองระดับจังหวัดของมณฑลยูนนาน ประเทศจีน.

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและเขตปกครองตนเองชนชาติลีซอ นู่เจียง · ดูเพิ่มเติม »

เขตปกครองตนเองชนชาติอาข่าและอี๋ หงเหอ

แผนที่มณฑลยูนนานแสดงที่ตั้ง เขตปกครองตนเองชนชาติอาข่าและอี๋ หงเหอ เขตปกครองตนเองชนชาติอาข่าและอี๋ หงเหอ (หงเหอฮาหนีสูอี๋สูซื่อจื้อโจว) คือหนึ่งในเขตปกครองตนเองระดับจังหวัดของมณฑลยูนนาน ประเทศจีน มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 32.929 ตร.

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและเขตปกครองตนเองชนชาติอาข่าและอี๋ หงเหอ · ดูเพิ่มเติม »

เขตปกครองตนเองชนชาติอี๋ ฉู่สยง

แผนที่มณฑลยูนนานแสดงที่ตั้ง เขตปกครองตนเองชนชาติอี๋ ฉู่สยง เขตปกครองตนเองชนชาติอี๋ ฉู่สยง (ฉู่สยง อี๋จู๋ จื้อจื้อโจว) คือหนึ่งในเขตปกครองตนเองระดับจังหวัดของมณฑลยูนนาน ประเทศจีน มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 29.256 ตร.

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและเขตปกครองตนเองชนชาติอี๋ ฉู่สยง · ดูเพิ่มเติม »

เขตปกครองตนเองชนชาติจ้วงและม้ง เหวินซาน

แผนที่มณฑลยูนนานแสดงที่ตั้ง เขตปกครองตนเองชนชาติจ้วงและม้ง เหวินซาน เขตปกครองตนเองชนชาติจ้วงและม้ง เหวินซาน (เหวินซาน จ้วงจู๋ เหมียวจู๋ จื้อจื้อโจว) คือหนึ่งในเขตปกครองตนเองระดับจังหวัดของมณฑลยูนนาน ประเทศจีน.

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและเขตปกครองตนเองชนชาติจ้วงและม้ง เหวินซาน · ดูเพิ่มเติม »

เขตปกครองตนเองชนชาติทิเบต ตี๋ชิ่ง

แผนที่มณฑลยูนนานแสดงที่ตั้ง เขตปกครองตนเองชนชาติทิเบต ตี๋ชิ่ง เขตปกครองตนเองชนชาติทิเบต ตี๋ชิ่ง (བདེ་ཆེན་བོད་རིགས་རང་སྐྱོང་ཁུལ་ / Bde-chen Bod-rigs rang-skyong khul;; ตี๋ชิ่งจ้างสูซื่อจื้อโจว) คือหนึ่งในเขตปกครองตนเองระดับจังหวัดของมณฑลยูนนาน ประเทศจีน มีชื่อเสียงจากการเป็นเขตปกครองที่มีเมืองชื่อ แชงกรี-ล.

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและเขตปกครองตนเองชนชาติทิเบต ตี๋ชิ่ง · ดูเพิ่มเติม »

เขตปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนา

ตปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนา (อักษรธรรม: ᩈᩥ᩠ᨷᩈ᩠ᩋᨦᨻᩢ᩠ᨶᨶᩣ ไทลื้อใหม่: ᦈᦹᧈᦈᦹᧈᦋᦵᦲᧁᦘᦱᦉᦱᦑᦺ᧑᧒ᦗᧃᦓᦱ) หรือชื่อย่อว่า ซีไต่ ตั้งอยู่ทางใต้สุดของมณฑลยูนนาน ประเทศจีน มีเมืองเอก คือ เมืองเชียงรุ่ง.

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและเขตปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนา · ดูเพิ่มเติม »

เขตปกครองตนเองชนชาติไทและจิ่งพัว เต๋อหง

ตปกครองตนเองชนชาติไทและจิ่งพัว เต๋อหง หรือเขตปกครองตนเองใต้คง (ไทเหนือ: 60px; เต๋อหง ไต่จู๋ จิ่งพัวจู๋ จื้อจื้อโจว) คือหนึ่งในเขตปกครองตนเองระดับจังหวัดของมณฑลยูนนาน ประเทศจีน มีพื้นที่ประมาณ 11,526 ตร.

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและเขตปกครองตนเองชนชาติไทและจิ่งพัว เต๋อหง · ดูเพิ่มเติม »

เขตปกครองตนเองชนชาติไป๋ ต้าหลี่

แผนที่มณฑลยูนนานแสดงที่ตั้ง เขตปกครองตนเองชนชาติไป๋ ต้าหลี่ เขตปกครองตนเองชนชาติไป๋ ต้าหลี่ (ต้าหลี่ไป๋จู๋จื้อจื้อโจว) คือหนึ่งในเขตปกครองตนเองระดับจังหวัดของมณฑลยูนนาน ประเทศจีน มีพื้นที่ประมาณ 29,460 ตร.

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและเขตปกครองตนเองชนชาติไป๋ ต้าหลี่ · ดูเพิ่มเติม »

เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง

ตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง หรือ กวางสี หรือ กวางไซ (จ้วง: Gvangjsih Bouxcuengh Swcigih) หรือชื่อย่อว่า กุ้ย (桂; จ้วง: Gvei) เป็นเขตปกครองตนเองระดับจังหวัดตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศจีน มีเมืองเอกคือหนานหนิง.

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง · ดูเพิ่มเติม »

เขตปกครองตนเองทิเบต

ตปกครองตนเองทิเบต (ทิเบต:བོད་- โบด์; ซีจ้าง) เป็นเขตปกครองตนเองของประเทศจีน มีเชื้อสายมาจากชาวอินเดีย ชาวทิเบต มีพระเป็นผู้นำของเขตปกครองพิเศษนี้ ชนพวกนี้นับถือศาสนาพุทธนิกายวัชรยาน คล้ายกับประเทศภูฏาน ทิเบตตั้งอยู่บนเทือกเขาหิมาลัย เป็นที่ราบสูงที่สูงที่สุดในโลก จนได้รับฉายาว่า หลังคาโลก ทิเบตมีอากาศที่หนาวเย็นมาก และมีความกดอากาศและอ๊อกซิเจนที่ต่ำ ฉะนั้นผู้ที่จะมาในทิเบตจะต้องปรับสภาพร่างกายก่อน และด้วยเหตุนี้ประชากรที่อาศัยอยู่ในทิเบตจึงน้อย พลเมืองชายของทิเบตกว่าครึ่งบวชเป็นพระ ก่อนจีนจะยึดครองทิเบต ทิเบตมีสามเณริกามากที่สุดในโลก ในทิเบตเคยมีคัมภีร์มากมาย พลเมืองนับถือศาสนาอย่างเคร่งครัด จนได้รับฉายาว่า "แดนแห่งพระธรรม" (land of dharma) ทิเบตมีเมืองหลวงชื่อ ลาซา (Lhasa).

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและเขตปกครองตนเองทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

เดียนเบียนฟู

ียนเบียนฟู (Dien Bien Phu) หรือ เดี่ยนเบียนฝู (Điện Biên Phủ) (ชื่อเดิม: แถง) เป็นเมืองหนึ่งในจังหวัดเดี่ยนเบียนซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศเวียดนาม ห่างจากกรุงฮานอยประมาณ 200 กิโลเมตร มีชื่อเสียงเนื่องจากเป็นที่รบยุทธการที่เดียนเบียนฟูระหว่างฝรั่งเศสกับเวียดมินห์ เมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1954.

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและเดียนเบียนฟู · ดูเพิ่มเติม »

เป่าซาน

เป่าซาน เป็นจังหวัดหนึ่งในมณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน หมวดหมู่:เมืองในประเทศจีน หมวดหมู่:เมืองในมณฑลยูนนาน.

ใหม่!!: มณฑลยูนนานและเป่าซาน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Yunnanมณฑลยูนานมณฑลหยุนหนานยูนานยูนนาน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »