โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาษามันดาอิก

ดัชนี ภาษามันดาอิก

ษามันดาอิก เป็นภาษาที่ใช้ในศาสนามันเดียน ใกล้เคียงกับภาษาอราเมอิก และได้รับอิทธิพลจากภาษากลุ่มอิหร่านอื่นๆทั้งในด้านไวยากรณ์และรากศัพท์ ภาษามันดาอิกคลาสสิก จัดอยู่ในภาษากลุ่มเซมิติกตะวันออก สาขาตะวันออกเฉียงเหนือ ใกล้เคียงกับภาษาอราเมอิกที่ใช้พูดในบาบิโลเนียและภาษาในเมโสโปเตเมียอื่นๆ มีความใกล้เคียงกับภาษาซีเรียค ที่เป็นภาษาของชาวคริสต์ในตะวันออกกลาง.

22 ความสัมพันธ์: บาบิโลเนียกลุ่มภาษาอิหร่านกลุ่มภาษาเซมิติกกลุ่มภาษาเซมิติกกลางกลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตกเฉียงเหนือภาษามลาโซภาษาอราเมอิกซามาริทันภาษาอราเมอิกใหม่ภาษาอราเมอิกใหม่คัลเดียภาษาอราเมอิกใหม่ตะวันตกภาษาตูโรโยภาษาซีรีแอกภาษาแอราเมอิกภาษาแอราเมอิกใหม่อัสซีเรียสหรัฐอัสซีเรียดามัสกัสตะวันออกกลางประเทศอิรักประเทศอิหร่านปาเลสไตน์ (ภูมิภาค)เมโสโปเตเมีย

บาบิโลเนีย

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ภาษามันดาอิกและบาบิโลเนีย · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาอิหร่าน

การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์ของผุ้พูดกลุ่มภาษาอิหร่าน กลุ่มภาษาอิหร่านเป็นสาขาย่อยของกลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านที่อยู่ในตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียน ภาษาอเวสตะถือเป็นภาษาที่เก่าที่สุดของกลุ่มนี้ที่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร กลุ่มภาษานี้มีผู้พูดเป็นภาษาแม่ราว 150 - 200 ล้านคน ภาษาที่มีผู้พูดมากที่สุดคือภาษาเปอร์เซีย (ประมาณ 70 ล้านคน) ภาษาพาซตู (ประมาณ 40 ล้านคน) ภาษาเคิร์ด (35 ล้านคน) และภาษาบาโลชิ (ประมาณ 7 ล้านคน).

ใหม่!!: ภาษามันดาอิกและกลุ่มภาษาอิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาเซมิติก

หมายของอมาร์นา เขียนด้วย ภาษาอัคคาเดีย กลุ่มภาษาเซมิติก (Semitic languages) เป็นกลุ่มของภาษาที่มีผู้พูดมากกว่า 300 ล้านคนในปริเวณแอฟริกาเหนือ ตะวันออกกลางและจะงอยของแอฟริกา เป็นสาขาย่อยในตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก และเป็นสาขาเดียวของตระกูลนี้ที่มีผู้พูดในทวีปเอเชีย กลุ่มภาษาเซมิติกที่มีผู้พูดมากที่สุดคือภาษาอาหรับ (ภาษาแม่ 325 ล้านคน) รองลงมาคือภาษาอัมฮารา (27 ล้านคน) ภาษาตึกรึญญา (6.9 ล้านคน) และภาษาฮีบรู (5 ล้านคน) กลุ่มภาษาเซมิติกเป็นกลุ่มภาษาแรกๆ ที่มีระบบการเขียน ภาษาอัคคาเดียเริ่มเขียนตั้งแต่ราว 2,000 ปีก่อนพุทธศักราช นอกจากนั้นยังมีอักษรโบราณที่ใช้เขียนกลุ่มภาษาเซมิติกมากมาย เช่น อักษรฟินิเชีย อักษรอาหรับ อักษรแอราเมอิก อักษรซีรีแอก อักษรอาระเบียใต้ และอักษรเอธิโอปิก มีภาษามอลตาเท่านั้นที่เป็นกลุ่มภาษานี้แต่เขียนด้วยอักษรโรมัน ชื่อของกลุ่มภาษานี้มาจาก เซม บุตรชายของโนอาห์ ในไบเบิล.

ใหม่!!: ภาษามันดาอิกและกลุ่มภาษาเซมิติก · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาเซมิติกกลาง

กลุ่มภาษาเซมิติกกลาง เป็นกลุ่มย่อยของกลุ่มภาษาเซมิติก ประกอบด้วยภาษาอาหรับและกลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตกเฉียงเหนือ (รวม ภาษาคานาอันไนต์ ภาษาฮีบรู ภาษาอราเมอิก และภาษายูการิติก)ในบางครั้ง ในกลุ่มนี้ ยังแบ่งเป็นกลุ่มภาษาเซมิติกกลางใต้ (รวมภาษาอาหรับและภาษาฮีบรู) กับภาษาอราเมอิก การแบ่งแยกระหว่างภาษาอาหรับกับกลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตกเฉียงเหนือคือการสร้างรูปพหูพจน์ ภาษาอาหรับสร้างโดยการแทรกสระ ส่วนกลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตกเฉียงเหนือสร้างด้วยปัจจัย เช่น.

ใหม่!!: ภาษามันดาอิกและกลุ่มภาษาเซมิติกกลาง · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตกเฉียงเหนือ

กลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตกเฉียงเหนือ (Northwest Semitic languages) เป็นกลุ่มย่อยของกลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตก มีผู้พูดประมาณ 8 ล้านคนในปัจจุบัน แบ่งได้เป็น 3 สาขา คือ ภาษายูการิติก (ตายแล้ว) ภาษาคานาอันไนต์ (รวมภาษาฮีบรู) และภาษาอราเมอิก บางครั้งรวมกลุ่มภาษานี้เข้ากับภาษาอาหรับแล้วจัดเป็นกลุ่มภาษาเซมิติกกลาง ภาษายูการิติกที่ตายแล้วเป็นหลักฐานรุ่นแรกสุดของกลุ่มภาษานี้ ภาษายูการิติกไม่มีเสียง /dˤ/ (ḍ) แต่แทนที่ด้วยเสียง /sˤ/ (ṣ) (ลักษณะเดียวกับที่ปรากฏในภาษาอัคคาเดีย) เสียงนี้กลายเป็นเสียง /ʕ/ ในภาษาอราเมอิก (ในภาษาอราเมอิกโบราณ เสียงนี้เขียนด้วยอักษรกอฟ) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าภาษายูการิติกไม่ได้เป็นภาษาต้นแบบของกลุ่มนี้ ตัวอย่างการเปลี่ยนเสียงนี้พบได้ในคำว่า “โลก”: ภาษายูการิติก /ʔarsˤ/ (’arṣ), ภาษาฮีบรู /ʔɛrɛsˤ/ (’ereṣ) และภาษาอราเมอิก /ʔarʕaː/ (’ar‘ā’) ภาษายูการิติกต่างจากภาษาในกลุ่มเดียวกันตรงที่ว่ายังคงมีคำที่ขึ้นต้นด้วย /w/ ในขณะที่ภาษาที่เหลือแทนที่ด้วย /y/ แหล่งที่เป็นต้นกำเนิดของภาษานี้ได้แก่บริเวณที่ในปัจจุบันเป็นประเทศอิสราเอล ซีเรีย จอร์แดน เลบานอนและคาบสมุทรไซนาย การเลื่อนเสียงสระจาก /aː/ เป็น /oː/ เป็นการแยกภาษาคานาอันไนต์ออกจากภาษายูการิติก ตัวอย่างการเปลี่ยนเสียง ได้แก.

ใหม่!!: ภาษามันดาอิกและกลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตกเฉียงเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามลาโซ

ษามลาโซ เป็นภาษาซีเรียคสมัยใหม่สำเนียงตะวันตก ซึ่งจัดเป็นสำเนียงของภาษาอราเมอิก มีผู้พูดในตุรกีตะวันออกและซีเรียตะวันออกเฉียงเหนือ โดยชาวคริสต์นิกายซีเรียคออร์ธอดอกซ์ ภาษามลาโซใกล้เคียงกับภาษาตูโรโย ใช้พูดในหมู่บ้าน Mlahsó และ `Ansha ใกล้กับ Lice, Diyarbakır, ในตุรกี ชื่อของหมู่บ้านและภาษามาจากภาษาซีเรียค melħo, 'เกลือ' ชื่อในทางวรรณคดีของภาษานี้ในภาษาซีเรียคคือ Mlaħthoyo ผู้พูดภาษานี้จะเรียกภาษาของตนว่า Suryö ซึ่งหมายถึงภาษาซีเรียค ผู้พูดภาษามลาโซเป็นภาษาแม่คนสุดท้ายคือ Ibrahim Hanna ตายเมื่อ..

ใหม่!!: ภาษามันดาอิกและภาษามลาโซ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอราเมอิกซามาริทัน

ษาอราเมอิกซามาริทัน หรือภาษาซามาริทันเป็นสำเนียงของภาษาอราเมอิกที่ใช้โดยชาวซามาริทันทั้งทางศาสนาและวิชาการ ภาษานี้ต่างจากภาษาฮีบรูซามาริทัน ภาษาอราเมอิกซามาริทันนี้คาดว่าเคยใช้เป็นภาษาพูดในช่วงพุทธศตวรรษที่ 15-17 มีความคล้ายคลึงกับภาษาอราเมอิกในตาร์ฆูมีม เขียนด้วยอักษรซามาริทัน.

ใหม่!!: ภาษามันดาอิกและภาษาอราเมอิกซามาริทัน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอราเมอิกใหม่

ษาอราเมอิกใหม่ เป็นภาษาที่พัฒนามาจากภาษาอราเมอิกในสมัยโบราณ มีหลายภาษาได้แก.

ใหม่!!: ภาษามันดาอิกและภาษาอราเมอิกใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอราเมอิกใหม่คัลเดีย

ษาอราเมอิกใหม่คัลเดีย เป็นภาษาอราเมอิกตะวันออกหรือภาษาซีเรียค ยุคใหม่ต่างจากภาษาคัลเดียที่เป็นภาษาอราเมอิกยุคเก่าที่ใช้พูดใสมัยราชวงศ์คัลเดียแห่งบาบิโลน เริ่มแรกใช้พูดในที่ราบโมซุลทางตอนเหนือของอิรัก ผู้พูดภาษานี้ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกคัลเดี.

ใหม่!!: ภาษามันดาอิกและภาษาอราเมอิกใหม่คัลเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอราเมอิกใหม่ตะวันตก

ษาอราเมอิกใหม่ตะวันตก เป็นภาษาอราเมอิกใหม่ที่ใช้พูดในซีเรียตะวันตก เป็นสำเนียงของภาษาอราเมอิกตะวันตกสำเนียงเดียวที่เหลืออยู่ ส่วนภาษาอราเมอิกใหม่ที่เหลืออื่นๆอยู่ในกลุ่มตะวันออก คาดว่าภาษานี้อาจเป็นส่วนที่เหลืออยู่ของสำเนียงยุคกลางตะวันตกที่เคยใช้พูดในหุบเขาดอโรนเตสในพุทธศตวรรษที่ 15 ปัจจุบันใช้พูดในหมู่บ้านมาอัลโออูลา (ภาษาอาหรับ: معلولة‎) บาคอา (ภาษาอาหรับ: بخعة‎) และ จุบบาดิน (ภาษาอาหรับ: جبّعدين‎) ที่อยู่ทางเหนือของดามัสกัสไป 60 กม.

ใหม่!!: ภาษามันดาอิกและภาษาอราเมอิกใหม่ตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาตูโรโย

ษาตูโรโย เป็นภาษาซีเรียคใหม่หรือภาษาอราเมอิกใหม่ ใช้พูดในตุรกีตะวันออกและซีเรียตะวันออกเฉียงเหนือ โดยผู้นับถือศาสนาคริสต์นิกายซีเรียคออร์ธอดอกซ์ คำว่าตูโร (ṭuro), หมายถึงภูเขา ตูโรโย (Ṭuroyo) จึงหมายถึงสำเนียงภูเขาทงตะวันออกเฉียงใต้ของตุรกี ชื่อเก่าของภาษานี้คือซูรายต์ (Ṣurayt) ซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องกับคำว่าซีเรียค ผู้พูดภาษานี้ใช้ภาษาซีเรียคคลาสสิกเป็นภาษาทางศาสนาและวรรณคดี และมีความพยายามที่จะนำกลับมาใช้เป็นภาษาพูด ไม่มีการใช้ภาษาตูโรโยเป็นภาษาเขียนแต่เขียนด้วยภาษาซีเรียคคลาสสิกแทน.

ใหม่!!: ภาษามันดาอิกและภาษาตูโรโย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาซีรีแอก

อกสารภาษาซีรีแอกอายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 ภาษาซีรีแอก (Syriac language; ซีรีแอก: ܣܘܪܝܝܐ Suryāyā) เป็นสำเนียงตะวันออกของภาษาแอราเมอิก ใช้พูดใกลุ่มชาวคริสต์ ที่อยู่ระหว่างจักรวรรดิโรมันและเปอร์เซีย ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 1 –12 ปัจจุบันยังคงใช้ในทางศาสนา โดยผู้พูดภาษาแอราเมอิกใหม่ในซีเรีย และใช้ในโบสถ์คริสต์ของชาวซีเรีย ในรัฐเกรละ ประเทศอินเดีย เป็นภาษาทางศาสนาในตะวันออกกลางในช่วงพุทธศตวรรษที่ 7 – 13 ความหมายอย่างกว้างหมายถึงภาษาแอราเมอิกตะวันออกทั้งหมดที่ใช้ในหมู่ชาวคริสต์ ความหมายอย่างจำเพาะเจาะจงหมายถึงภาษาคลาสสิกของอีเดสซา ซึ่งเป็นภาษาทางศาสนาของชาวซีรีแอกที่นับถือศาสนาคริสต์ และกลายเป็นสื่อในการเผยแพร่วัฒนธรรมและศาสนาคริสต์จากทางเหนือไปสู่มาลาบาร์ และจากทางตะวันออกไปถึงจีนเคยใช้เป็นภาษากลางระหว่างชาวอาหรับกับชาวเปอร์เซียก่อนจะถูกแทนที่ด้วยภาษาอาหรับเมื่อ พุทธศตวรรษที่ 13.

ใหม่!!: ภาษามันดาอิกและภาษาซีรีแอก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาแอราเมอิก

ษาแอราเมอิก (Aramaic language) เป็นภาษาตระกูลเซมิติกที่มีความเป็นมายาวนานกว่า 3,000 ปืเป็นภาษากลางของบริเวณตะวันออกใกล้ในช่วง 157 ปีก่อนพุทธศักราชถึง..

ใหม่!!: ภาษามันดาอิกและภาษาแอราเมอิก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาแอราเมอิกใหม่อัสซีเรีย

ษาแอราเมอิกใหม่อัสซีเรีย เป็นรูปแบบใหม่ของภาษาแอราเมอิกตะวันออกหรือภาษาซีรีแอก แต่ไม่เกี่ยวข้องกับภาษาอัคคาเดียที่ใช้พูดในจักรวรรดิอัสซีเรีย หรือภาษาแอราเมอิกที่เป็นภาษากลางในจักรวรรดิอัสซีเรีย ในช่วง 257 ปีก่อนพุทธศักราช เริ่มแรกภาษานี้ ใช้พูดนบริเวณทะเลสาบอูร์เมีย ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอิหร่านและซิอิต ตะวันออกเฉียงใต้ของตุรกี ปัจจุบันมีผู้พูดกระจายไปทั่วโลก ผู้พูดส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายอัสซีเรียแห่งตะวันออก มีผู้พูดราว 200,000 คน ในอิรัก ซีเรีย อิหร่าน อาร์มีเนีย จอร์เจีย และตุรกี เขียนด้วย อักษรซีรีแอก อักษรละติน และอักษรฮีบรู.

ใหม่!!: ภาษามันดาอิกและภาษาแอราเมอิกใหม่อัสซีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: ภาษามันดาอิกและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

อัสซีเรีย

อัสซีเรีย หรือ จักรวรรดิอัสซีเรีย (Assyria หรือ Assyrian Empire) เป็นอาณาจักรที่มีศูนย์กลางอยู่ที่แม่น้ำไทกริสในเมโสโปเตเมีย (อิรัก) ที่มามีอำนาจปกครองจักรวรรดิเป็นช่วงๆ หลายครั้งในประวัติศาสตร์ “อัสซีเรีย” เป็นชื่อที่ตั้งตามชื่อเมืองหลวงเดิม “อัสเซอร์” (Assur) (Aššur; أشور; אַשּׁוּר) นอกจากนั้นคำว่า “อัสซีเรีย” ก็ยังหมายถึงภูมิภาคทางภูมิศาสตร์หรือดินแดนที่เป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิด้วย ระหว่างสมัยอัสซีเรียเก่าระหว่างศตวรรษที่ 20 ถึง 15 ก่อนคริสต์ศักราชอัสเซอร์มีอำนาจในบริเวณส่วนใหญ่ของเมโสโปเตเมียเหนือ ในยุคกลางของอัสซีเรียระหว่างศตวรรษที่ 15 ถึง 10 ก่อนคริสต์ศักราชอำนาจของอัสซีเรียก็เสื่อมโทรมลง แต่ต่อมาก็สามารถกู้ดินแดนที่เสียไปคืนได้ในชัยชนะที่ได้รับหลายครั้ง เมื่อมาถึงสมัยจักรวรรดิอัสซีเรียในยุคเหล็กตอนต้นระหว่างปี 911 ถึง 612 ก่อนคริสต์ศักราชอัสซีเรียก็ขยายอำนาจไกลออกไป และภายใต้การปกครองของอัสเชอร์บานิปาล (Ashurbanipal) (ปกครอง 668 – 627 ก่อนคริสต์ศักราช) อัสซีเรียก็ปกครอง Fertile Crescent ทั้งหมด รวมทั้งอียิปต์จนกระทั่งมาพ่ายแพ้เมื่อจักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ และเปอร์เชียขยายอำนาจ และในที่สุดก็มาล่มสลายเมื่อราชวงศ์ชาลเดียของจักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ปล้นทำลายเมืองนิเนเวห์ในปี 612 ก่อนคริสต์ศักร.

ใหม่!!: ภาษามันดาอิกและอัสซีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ดามัสกัส

มัสกัส (Damascus) เป็นเมืองหลวงของประเทศซีเรีย เป็นเมืองเก่าแก่ซึ่งมีผู้อยู่อาศัยอย่างต่อเนื่อง มีความสำคัญในประวัติศาสตร์ตั้งแต่ 2,457 ปีก่อนพุทธศักราช มีมัสยิดเก่าที่สร้างตั้งแต..

ใหม่!!: ภาษามันดาอิกและดามัสกัส · ดูเพิ่มเติม »

ตะวันออกกลาง

แผนที่แสดงที่ตั้งของประเทศต่าง ๆ ในตะวันออกกลาง ตะวันออกกลาง คือ พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ซึ่งประกอบด้วยดินแดนรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางด้านใต้และตะวันออก ซึ่งเป็นอาณาบริเวณที่ต่อเนื่องจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออกไปยังอ่าวเปอร์เซีย เอเชียตะวันออกกลางเป็นอนุภูมิภาคของแอฟริกา-ยูเรเชีย หรือให้เฉพาะเจาะจงลงไปก็คือทวีปเอเชีย และบางส่วนของแอฟริกา สามวัฒนธรรมหลักของภูมิภาคเอเชียตะวันออกกลางได้แก่ วัฒนธรรมเปอร์เซีย วัฒนธรรมอาหรับ และวัฒนธรรมตุรกี อิทธิพลของวัฒนธรรมทั้งสามนี้ ได้ก่อกำเนิดเชื้อชาติและภาษาที่แตกต่างกันสามกลุ่ม คือ เปอร์เซีย เตอร์กิกและอาหรั.

ใหม่!!: ภาษามันดาอิกและตะวันออกกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิรัก

ประเทศอิรัก (العراق; عێراق อังกฤษ: Iraq) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอิรัก (جمهورية العراق; كؤماری عێراق) เป็นประเทศในตะวันออกกลาง มีอาณาเขตทางทิศเหนือจดประเทศตุรกี ทางทิศตะวันออกจดประเทศอิหร่าน ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้จดประเทศคูเวต ทางทิศใต้จดประเทศซาอุดีอาระเบีย ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศจอร์แดน และทางทิศตะวันตกจดประเทศซีเรีย กรุงแบกแดด ซึ่งเป็นเมืองหลวง ตั้งอยู่ในกลางประเทศ ราว 97% ของประชากรอิรัก 36 ล้านคนเป็นชาวมุสลิม ส่วนใหญ่มีเชื้อสายซุนนีย์ ชีอะฮ์และเคิร์ด ประเทศอิรักมีแนวชายฝั่งส่วนแคบวัดความยาวได้ 58 กิโลเมตรทางเหนือของอ่าวเปอร์เซีย และอาณาเขตของประเทศครอบคลุมที่ราบลุ่มแม่น้ำเมโสโปเตเมีย ปลายทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเทือกเขาซากรอส และทะเลทรายซีเรียส่วนตะวันออก สองแม่น้ำหลัก แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส ไหลลงใต้ผ่านใจกลางประเทศและไหลลงสู่ชัฏฏุลอะร็อบใกล้อ่าวเปอร์เซีย แม่น้ำเหล่านี้ทำให้ประเทศอิรักมีดินแดนอุดมสมบูรณ์มากมาย ภูมิภาคระหว่างแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีสมักเรยกว่า เมโสโปเตเมีย และคาดว่าเป็นบ่อเกิดของการเขียนและอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดของโลก พื้นที่นี้ยังเป็นที่ตั้งของอารยธรรมที่สืบทอดต่อกันมานับแต่ 6 สหัสวรรษก่อนคริสตกาล ในแต่ละช่วงของประวัติศาสตร์ อิรักเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิอัคคาเดีย ซูเมเรีย อัสซีเรีย และบาบิโลเนีย นอกจากนี้ยังเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิมีเดีย อะคีเมนิด เฮลเลนนิสติก พาร์เธีย แซสซานิด โรมัน รอชิดีน อุมัยยะฮ์ อับบาซียะห์ มองโกล ซาฟาวิด อาฟชาริยะห์และออตโตมัน และเคยเป็นอาณาเขตในอาณัติสันนิบาตชาติภายใต้การควบคุมของอังกฤษ พรมแดนสมัยใหม่ของประเทศอิรักส่วนใหญ่ปักใน..

ใหม่!!: ภาษามันดาอิกและประเทศอิรัก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิหร่าน

อิหร่าน (ایران, อีรอน) หรือ เปอร์เซีย มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (جمهوری اسلامی ايران) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตก มีเขตแดนติดกับประเทศอาร์มีเนีย สาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคโดยพฤตินัย และอาเซอร์ไบจานทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดประเทศคาซัคสถานและรัสเซียโดยมีทะเลแคสเปียนคั่น ติดประเทศเติร์กเมนิสถานทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดประเทศอัฟกานิสถานและปากีสถานทางทิศตะวันออก ติดอ่าวเปอร์เซียและอ่าวโอมานทางทิศใต้ และติดประเทศตุรกีและอิรักทางทิศตะวันตก มีพื้นที่ดินแดน 1,648,195 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศใหญ่ที่สุดอันดับที่สองในตะวันออกกลางและอันดับที่ 18 ในโลก มีประชากร 78.4 ล้านคน มากที่สุดเป็นอันดับที่ 17 ของโลก เป็นประเทศเดียวที่มีชายฝั่งทะเลแคสเปียนและมหาสมุทรอินเดีย ประเทศอิหร่านมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์มาช้านานเนื่องจากที่ตั้งอยู่ในกลางยูเรเชียและเอเชียตะวันตก และอยู่ใกล้กับช่องแคบฮอร์มุซ อิหร่านเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมหลากหลายที่มีกลุ่มชาติพันธุ์และภาษาต่างๆมากมาย เปอร์เซียที่ใหญ่ที่สุด (61%) อาเซอร์ไบจาน (16%), Kurds (10%) และ Lorestan (6%) ประเทศอิหร่านเป็นที่ตั้งของอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เริ่มต้นด้วยการตั้งราชอาณาจักรก่อนเอลามและเอลามใน 3200–2800 ปีก่อน..

ใหม่!!: ภาษามันดาอิกและประเทศอิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

ปาเลสไตน์ (ภูมิภาค)

ปาเลสไตน์ (فلسطين‎ ฟาลัสติน) (Palestine) เป็นชื่อสามัญของภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ในเอเชียตะวันตกระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับแม่น้ำจอร์แดน และ ดินแดนใกล้เคียงต่าง ๆ Carl S. Ehrlich "Philistines" The Oxford Guide to People and Places of the Bible.

ใหม่!!: ภาษามันดาอิกและปาเลสไตน์ (ภูมิภาค) · ดูเพิ่มเติม »

เมโสโปเตเมีย

แผนที่บริเวณเมโสโปเตเมีย เมโสโปเตเมีย (Mesopotamia; Μεσοποταμία, เมโซโปตามีอา) เป็นคำกรีกโบราณ ตามรูปศัพท์แปลว่า "ที่ระหว่างแม่น้ำ" (meso.

ใหม่!!: ภาษามันดาอิกและเมโสโปเตเมีย · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »