โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาษาซากา

ดัชนี ภาษาซากา

ษาซากา เป็นภาษากลุ่มอิหร่านที่ตายแล้ว เคยใช้พูดในมณฑลซินเจียง ประเทศจีน มีสองสำเนียง แบ่งตามเมืองที่ใช้พูดคือ โคตานและตุมซุก คำยืมจากภาษาปรากฤตที่พบมากในภาษาโตชาเรียน คาดว่าเป็นคำยืมจากสำเนียงโคตานของภาษานี้.

6 ความสัมพันธ์: กลุ่มภาษาอิหร่านกลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านกลุ่มภาษาโตคาเรียนภาษาปรากฤตประเทศจีนเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์

กลุ่มภาษาอิหร่าน

การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์ของผุ้พูดกลุ่มภาษาอิหร่าน กลุ่มภาษาอิหร่านเป็นสาขาย่อยของกลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านที่อยู่ในตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียน ภาษาอเวสตะถือเป็นภาษาที่เก่าที่สุดของกลุ่มนี้ที่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร กลุ่มภาษานี้มีผู้พูดเป็นภาษาแม่ราว 150 - 200 ล้านคน ภาษาที่มีผู้พูดมากที่สุดคือภาษาเปอร์เซีย (ประมาณ 70 ล้านคน) ภาษาพาซตู (ประมาณ 40 ล้านคน) ภาษาเคิร์ด (35 ล้านคน) และภาษาบาโลชิ (ประมาณ 7 ล้านคน).

ใหม่!!: ภาษาซากาและกลุ่มภาษาอิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่าน

กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่าน หรืออินโด-อิราเนียนเป็นสาขาทางตะวันออกสุดของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนประกอยด้วย 3 กลุ่มย่อย คือ กลุ่มภาษาอินโด-อารยัน กลุ่มภาษาอิราเนียน และกลุ่มภาษาดาร์ดิก มีการใช้คำว่า "อารยัน" ในการอ้างถีงกลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านจากทฤษฎีส่วนใหญ่เกี่ยวกับการอพยพของชาวอารยัน คนที่พูดภาษาโปรโต-อินโด-อิราเนียนที่เรียกตัวเองว่าอารยัน ตั้งหลักแหล่งอยู่ทางใต้และตะวันออกของทะเลสาบแคสเปียนในอินเดียเหนือ ปากีสถาน อิหร่าน และอัฟกานิสถาน คาดว่าการแพร่กระจายเกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์รถม้.

ใหม่!!: ภาษาซากาและกลุ่มภาษาอินโด-อิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาโตคาเรียน

กลุ่มภาษาโตคาเรียน หรือ ภาษาโตชาเรียน เป็นภาษาตระกูลอินโด-ยุโรเปียน แบ่งเป็นภาษาย่อยได้สองภาษาคือ ภาษาโตคาเรียนตะวันออกและโตคาเรียนตะวันตก ใช้พูดในพุทธศตวรรษที่ 11 – 13 ก่อนจะกลายเป็นภาษาตาย ผู้พูดภาษานี้หันไปพูดภาษาอุยกูร์ ทั้งสองภาษาใช้พูดในบริเวณแอ่งตาริมในเอเชียกลาง ปัจจุบันอยู่ในมณฑลซินเจียง ประเทศจีน ชื่อของภาษานี้มาจาก โตคาเรียน นักประวัติศาสตร์ชาวกรีก ชื่อของภาษานี้ในภาษาโตคาเรียนคือ arish- käna ภาษาโตคาเรียน เอหรือโตคาเรียนตะวันออก นั้น เคยพูดกันในแถบเตอร์ฟาน ซึ่งอยู่ทางตะวันออก ส่วนภาษาโตคาเรียน บีหรือโตคาเรียนตะวันตก นั้น เคยพูดกันส่วนใหญ่ในแถบคูชา ทางตะวันตก แต่ก็มีพูดกันในเตอร์ฟานด้วย ภาษาโตคาเรียนนั้นเขียนด้วยอักษรที่ดัดแปลงจากอักษรอินเดียฝ่ายเหนือ เรียกว่าอักษรพราหมี ซึ่งเป็นอักษรที่เคยใช้เขียนภาษาสันสกฤตในภูมิภาคนี้ด้วยเช่นกัน แม้ว่าภาษาโตคาเรียนจะเป็นภาษาที่เก่าแก่ แต่นักวิชาการเพิ่งรู้จักและได้วิเคราะห์ไวยากรณ์ รวมทั้งแปลภาษาโตคาเรียนได้เป็นครั้งแรก เมื่อ..

ใหม่!!: ภาษาซากาและกลุ่มภาษาโตคาเรียน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาปรากฤต

ษาปรากฤต (Prakrit) เป็นภาษาโบราณกลุ่มหนึ่งในอินเดียสมัยโบราณ จัดอยู่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (อินเดีย-ยุโรป)ในสาขาย่อย ภาษากลุ่มอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) โดยมากจะจัดเป็นภาษาที่มีวิวัฒนาการในกึ่งกลาง ระหว่างภาษาโบราณกับภาษาสมัยใหม่ ที่เรียก ภาษาปรากฤตนี้ ไม่ได้หมายจำเพาะไปที่ตัวภาษาหนึ่งภาษาใด แต่เป็นการเรียกภาษากลุ่มหนึ่งในระดับภาษาถิ่น และเป็นการยากที่จะระบุให้ชัดว่าภาษาปรากฤตคืออย่างไร และนักวิชาการด้านภาษาอินเดียก็ยังมีความเห็นไม่ลงรอยกัน บ้างก็ว่าหมายถึงภาษาถิ่นอินเดียยุคใหม่ รวมทั้งในยุคกลาง หรือกล่าวโดยย่อก็คือ ภาษาอื่นนอกเหนือจากภาษาสันสกฤตและภาษาพระเวท บ้างก็ว่าหมายถึงภาษาอินเดียยุคใหม่ ที่วิวัฒนาการมาจากภาษาปรากฤตยุคกลาง นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอว่า ภาษาปรากฤตคือภาษาถิ่นของภาษาสันสกฤต และยังมีความเห็นว่า ภาษาบาลี ก็อาจจัดอยู่ในกลุ่มภาษาปรากฤตก็ได้ หลักฐานภาษาปรากฤตที่เก่าแก่ที่สุด คือจารึกอโศก บนเสาอโศก ที่พระเจ้าอโศกมหาราชรับสั่งให้สร้างขึ้น โดยใช้อักษรพราหมี ทว่าไม่ปรากฏว่ามีการใช้ภาษาปรากฤตในงานวรรณกรรมอย่างกว้างขวาง แต่กลับมีการใช้ในรูปของภาษาพูด ดังจะพบได้จากบทละครภาษาสันสกฤต ที่ให้ตัวละครในวรรณะสูงพูดภาษาสันสกฤต ขณะที่วรรณะต่ำจะพูดภาษาปรากฤต หรือภาษาอปรภรัมศะ คำว่า ปรากฤต ในภาษาสันสกฤต นั้น หมายถึง ธรรมชาติ ปกติ ดั้งเดิม หรือท้องถิ่น ฯลฯ นักภาษาศาสตร์จึงสันนิษฐานว่า ภาษาปรากฤต น่าจะหมายถึงภาษาที่มีวิวัฒนาการโดยธรรมชาติตามกระบวนการทางภาษา ซึ่งตรงข้ามกับภาษา สันสกฤต ที่หมายถึง ขัดเกลาแล้ว อันเป็นภาษาที่ได้รับการวางระเบียบกฎเกณฑ์โดยนักปราชญ์ ในแง่ของไวยากรณ์แล้ว ภาษาปรากฤตมีความซับซ้อนน้อยกว่าภาษาสันสกฤตอย่างมาก ไม่มีทวิพจน์ มีการกน้อยกว่า และมีการแจกกริยาที่ง่ายกว่า และคำศัพท์ทั้งหมดในภาษาปรากฤตก็มาจากต้นกำเนิดในภาษาอินเดียโบราณ ภาษาอรรธมคธีเป็นรูปแบบโบราณของภาษามคธี ซึ่งใช้ในการเขียนเอกสารทางศาสนาเชน และมักเป็นตัวแทนของภาษาปรากฤต นักไวยากรณ์ของภาษาปรากฤตจะแสดงไวยากรณ์ของภาษาอรรธมคธีก่อน เพราะฉะนั้นในการเรียนภาษาปรากฤต มักจะเริ่มด้วยภาษาอรรธมคธี.

ใหม่!!: ภาษาซากาและภาษาปรากฤต · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: ภาษาซากาและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์

ตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ (شىنجاڭ ئۇيغۇر ئاپتونوم رايونى-; 新疆维吾尔自治区) เป็นเขตปกครองตนเองของจีนในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ เป็นเขตปกครองใหญ่ที่สุดของจีน เป็นเขตการปกครองชาติที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 8 ของโลก กินพื้นที่กว่า 1.6 ล้านตารางกิโลเมตรและเป็นเขตการปกครองที่มีประชากรมากที่สุดติดอันดับหนึ่งในสิบ มีดินแดนพิพาทอักไสชินที่จีนบริหารอยู่ ซินเจียงมีพรมแดนติดต่อกับประเทศรัสเซีย มองโกเลีย คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน ทาจิกิซสถาน อัฟกานิสถาน ปากีสถานและอินเดีย นอกจากนี้ยังมีพรมแดนติดต่อกับทิเบต มีน้ำมันสำรองอุดมสมบูรณ์และเป็นภาคที่ผลิตแก๊สธรรมชาติใหญ่ที่สุดของจีน.

ใหม่!!: ภาษาซากาและเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »