โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาษาจ้วง

ดัชนี ภาษาจ้วง

ษาจ้วง (จ้วง: Vahcuengh) เป็นภาษาของชาวจ้วงในเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ประเทศจีน เป็นภาษาตระกูลไท-กะได มีวรรณยุกต์ 6 เสียง ระบบการเขียนมีทั้งแบบที่ยืมมาจากอักษรจีน คล้ายกับอักษรจื๋อโนมของเวียดนาม เรียก สือดิบผู้จ่อง และแบบที่เขียนด้วยอักษรละติน ซึ่งเริ่มใช้เมื่อ พ.ศ. 2500 และปรับปรุงอีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2529 ภาษาจ้วงแบ่งเป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ คือ.

18 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2500พ.ศ. 2529กลุ่มภาษากัม-ไทกลุ่มภาษาไทภาษาภาษาจ้วงหยางภาษาจ้วงหยงหนานภาษาจ้วงจั่วเจียงภาษาจ้วงไดสือดิบผู้จ่องอักษรละตินอักษรจีนจื๋อโนมจ้วงตระกูลภาษาไท-กะไดประเทศจีนประเทศเวียดนามเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง

พ.ศ. 2500

ทธศักราช 2500 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1957 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: ภาษาจ้วงและพ.ศ. 2500 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2529

ทธศักราช 2529 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1986 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ภาษาจ้วงและพ.ศ. 2529 · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษากัม-ไท

กลุ่มภาษากัม-ไท (Kam–Tai languages) หรือ กลุ่มภาษาจ้วง-ต้ง (Zhuang–Dong languages) เป็นสาขาภาษาหลักที่มีการเสนอให้จัดแบ่งขึ้นในตระกูลภาษาไท-กะได ประกอบด้วยภาษาของชนชาติต่าง ๆ ในจีนตอนใต้และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประมาณกว่าร้อยละ 80 ของภาษาทั้งหมดในตระกูลดังกล่าว กลุ่มภาษากัม-สุย, เบ และไท (ซึ่งเป็นกลุ่มภาษาหลัก 3 ใน 5 กลุ่มของตระกูลไท-กะได) มักถูกจัดอยู่รวมกันในกลุ่มภาษากัม-ไทเนื่องจากมีคำศัพท์ที่ใช้ร่วมกันจำนวนมาก อย่างไรก็ตามการจัดแบ่งเช่นนี้มีผู้โต้แย้งโดยมองว่าเป็น "หลักฐานของการไม่มีจริง" (negative evidence) ซึ่งอาจเป็นเพราะมีการแทนที่ศัพท์เข้าไปในสาขาอื่น ความคล้ายกันของระบบหน่วยคำทำให้มีนักภาษาศาสตร์จัดสาขาขร้ากับกัม-สุย เป็นกลุ่มกะไดเหนือทางหนึ่ง และสาขาไหลกับไท เป็นกลุ่มกะไดใต้อีกทางหนึ่งแทน ตำแหน่งของภาษาอังเบในข้อเสนอดังกล่าวไม่ได้ถูกพิจารณาไปด้ว.

ใหม่!!: ภาษาจ้วงและกลุ่มภาษากัม-ไท · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาไท

กลุ่มภาษาไท หรือ᩵ กลุ่มภาษาไต (Tai languages; 台語支, พินอิน: tái yǔ zhī) เป็นกลุ่มภาษาย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได ประกอบด้วยภาษาไทยในประเทศไทย ภาษาลาวในประเทศลาว ภาษาไทใหญ่ในรัฐฉานของประเทศพม่า และภาษาจ้วง หนึ่งในภาษาหลักของประเทศจีนตอนใต้.

ใหม่!!: ภาษาจ้วงและกลุ่มภาษาไท · ดูเพิ่มเติม »

ภาษา

ษาในความหมายอย่างกว้าง หมายถึง การพูดอะไรก็ได้ที่เป็นภาษาเช่น สวัสดี คน สวย ให้ พี่ ไป ส่ง ป่าว เป็นราก...

ใหม่!!: ภาษาจ้วงและภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาจ้วงหยาง

ษาจ้วงหยาง (Yang Zhuang language) มีผู้พูดทั้งหมด 870,000 คน (พ.ศ. 2543) ในประเทศจีน พบในเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงและมณฑลยูนนาน มีในประเทศเวียดนามเช่นกัน แต่ไม่ทราบจำนวนแน่นอน อยู่ทางภาคเหนือบริเวณจังหวัดกาวบั่ง จัดอยู่ในตระกูลภาษาไท-กะได กลุ่มภาษากัม-ไท สาขาเบ-ไท สาขาย่อยไท-แสก จัดเป็นสำเนียงทางใต้ของภาษาจ้วง ผู้พูดภาษานี้ในจีนจะพูดภาษาจีนกลาง ภาษาจีนผิง หรือภาษาจีนกวางตุ้งเป็นภาษาที่สอง.

ใหม่!!: ภาษาจ้วงและภาษาจ้วงหยาง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาจ้วงหยงหนาน

ษาจ้วงหยงหนาน (Yongnan Zhuang) มีผู้พูดทั้งหมด 1,810,000 คน อยู่ในประเทศจีน1,800,000 คน (พ.ศ. 2543) ทางตอนใต้ของมณฑลกวางสี และบางส่วนของมณฑลยูนนาน อยู่ในประเทศเวียดนามราว 10,000 คน (พ.ศ. 2543) ในจังหวัดเกาบัง ประมาณครึ่งหนึ่งพูดได้ภาษาเดียว จัดอยู่ในตระกูลภาษาไต-กะได กลุ่มภาษาคำ-ไต สาขาเบ-ไต สาขาย่อยไต-แสก เป็นสำเนียงทางใต้ของภาษาจ้วง ผู้พูดภาษานี้ในประเทศจีนจะใช้ภาษาจีนกลางในการติดต่อทางธุรกิจและทางราชการ.

ใหม่!!: ภาษาจ้วงและภาษาจ้วงหยงหนาน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาจ้วงจั่วเจียง

ษาจ้วงจั่วเจียง (Zuojiang Zhuang ISO 639-3) มีผู้พูดทั้งหมด 1,840,000 คน อยู่ในจีน 1,500,000 คน (พ.ศ. 2543) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของมณฑลกวางสี มณฑลยูนนาน มีผู้พูดในเวียดนาม 340,000 คน (พ.ศ. 2543) ใกล้เคียงกับภาษาจ้วงหยงหนาน ภาษาจ้วงหยาง ภาษาจ้วงนองและกลุ่มภาษานุงอื่นๆมาก มีรากศัพท์ร่วมกันประมาณ 70% จัดอยู่ในตระกูลภาษาไท-กะได กลุ่มภาษาคำ-ไต สาขาเบ-ไต สาขาย่อยไต-แสก ผู้พูดภาษานี้ในจีนจะพูดภาษาจีนกลาง เขียนด้วยอักษรฮันซี ชื่อของภาษานี้มาจากชื่อแม่น้ำจั่วเจียงที่ไหลผ่านบริเวณที่ผู้พูดภาษานี้ตั้งรกรากอยู.

ใหม่!!: ภาษาจ้วงและภาษาจ้วงจั่วเจียง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาจ้วงได

ษาจ้วงได (Dai Zhuang) มีผู้พูดทั้งหมด 120,200 คน พบในจีน 120,000 คน (พ.ศ. 2550) ทางตะวันออกเฉียงใต้ของมณฑลยูนนาน เขตปกครองตนเองของชาวจ้วงและชาวแม้วในมณฑลกวางสี พบในเวียดนาม 200 คน (พ.ศ. 2550) ในจังหวัดลาวก่ายทางภาคเหนือ จัดอยู่ในตระกูลภาษาไท-กะได กลุ่มภาษาคำ-ไต สาขาเบ-ไต สาขาย่อยไต-แสก จัดเป็นสำเนียงทางใต้ของภาษาจ้วง แต่ค่อนข้างต่างจากสำเนียงทางใต้อื่นๆ ใกล้เคียงกับภาษาจ้วงนอง ผู้พูดภาษานี้ในจีนใช้ภาษาจีนกลางเป็นภาษาที่สอง.

ใหม่!!: ภาษาจ้วงและภาษาจ้วงได · ดูเพิ่มเติม »

สือดิบผู้จ่อง

ือดิบผู้จ่อง(古壮字 gǔ Zhuàngzì หรือ 方块壮字 fāngkuài Zhuàngzì)เป็นตัวอักษรพื้นเมืองของชาวจ้วงซึ่งเรียกตนเองว่าผู้จ่อง วิวัฒนาการมาจากอักษรจีนแบบเดียวกับอักษรจื๋อโนมที่ใช้เขียนภาษาเวียดนาม โดยสือดิบหนึ่งตัวจะประกอบด้วยอักษรจีนสองตัว ตัวหนึ่งแทนเสียง อีกตัวหนึ่งแทนความหมาย เช่นคำว่า "นา" จะใช้อักษรจีนที่อ่านว่า "หน่า" ผสมกับตัวที่อ่านว่า "หลาย"ซึ่งหมายถึงนาในภาษาจีน มาสร้างเป็นตัวสือดิบอ่านเป็นภาษาจ้วงว่า "นา" เป็นต้น ต้นกำเนิดของอักษรสือดิบนั้นไม่มีหลักฐานแน่นอน นักวิชาการบางส่วนกล่าวว่ามีกำเนิดสมัยราชวงศ์ถัง บางส่วนกล่าวว่าเริ่มใช้ในสมัยราชวงศ์ซ้อง อย่างไรก็ตาม สือดิบไม่ได้มีสถานะเป็นอักษรราชการ เพราะชาวจ้วงอยู่ภายใต้การปกครองของจีน จึงใช้ภาษาจีนและอักษรจีนเป็นภาษาและอักษรราชการ ส่วนมากชาวจ้วงใช้สือดิบบันทึกเพลงและวรรณกรรมพื้นบ้าน เขียนจดหมายหรือใช้ในทางไสยศาสตร์ในแวดวงของหมอผีโดยใช้ปนกับอักษรจีน สือดิบจัดว่าเป็นอักษรที่ไม่ได้พัฒนามากนัก ปัจจุบันมีสือดิบเพียง 2,000 ตัวซึ่งถือว่าไม่เพียงพอต่อการใช้งานในฐานะอักษรภาพ นอกจากนั้น ภาษาจ้วงยังมีแตกต่างไปหลายสำเนียง แต่ละท้องถิ่น กำหนดสือดิบของตนขึ้นใช้โดยไม่มีสือดิบมาตรฐานสำหรับคนที่อยู่ต่างท้องที่กัน นอกจากนี้ การนำอักษรจีนมาใช้ปนกับสือดิบก็มีวิธีใช้ต่างกันไป บางครั้งนำมาใช้แทนเสียงโดยไม่คำนึงถึงความหมาย บางครั้งนำมาใช้โดยยึดความหมายแต่อ่านเป็นภาษาจ้วง ตัวอย่างเช่น อักษรจีนที่แปลว่า "ข้าพเจ้า" เมื่อนำมาใช้ในสือดิบจะใช้แต่ความหมาย โดยอ่านออกเสียงว่าเป็นภาษาจ้วงว่า "กู" เป็นต้น.

ใหม่!!: ภาษาจ้วงและสือดิบผู้จ่อง · ดูเพิ่มเติม »

อักษรละติน

อักษรละติน หรือ อักษรโรมัน เป็นระบบตัวเขียนแบบตัวอักษร สันนิษฐานว่าอักษรละตินมีที่มาจากอักษรคิวมี (Cumae alphabet) ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรกรีกอีกทอดหนึ่ง ที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก โดยเฉพาะประเทศในยุโรปและอเมริกา และประเทศในเอเชียที่นำอักษรละตินมาใช้ในภายหลังเช่น ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเวียดนาม ประเทศมาเลเซีย ประเทศเติร์กเมนิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศอาเซอร์ไบจาน ประเทศตุรกี และประเทศฟิลิปปินส์ รวมถึงการเขียนภาษาด้วยอักษรโรมัน (romanization) ในภาษาต่างๆ เช่น พินอิน (ภาษาจีน) หรือ โรมะจิ (ภาษาญี่ปุ่น).

ใหม่!!: ภาษาจ้วงและอักษรละติน · ดูเพิ่มเติม »

อักษรจีน

รูปอักษรจีนของคำว่า "ฮั่นจื้อ"-คันจิ-ฮันจา-ฮั้นถื่อ (漢字 / 汉字 หมายถึง "อักษรจีน") สีแดงเป็นอักษรจีนตัวย่อ อักษรจีน คืออักษรภาพ (logogram) ที่โดยหลัก ๆ ในปัจจุบันใช้สำหรับเขียนภาษาจีน (เรียกว่า ฮั่นจื้อ) และภาษาญี่ปุ่น (เรียกว่า คันจิ) นอกจากนี้ก็ยังใช้เขียนระบบเลขของภาษาอื่นด้วย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดเช่นภาษาเกาหลี (เรียกว่า ฮันจา) และภาษาเวียดนาม (เรียกว่า จื๋อโนม) และยังคงหลงเหลืออยู่ในภาษาเหล่านี้ในบางระดับ อักษรจีนเป็นระบบการเขียนที่ใช้กันมาอย่างต่อเนื่องอันเก่าแก่ที่สุดในโลก นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่า การเขียนในจีนที่เก่าสุดเริ่มเมื่อ 957 ปีก่อนพุทธศักราช ไม่มีหลักฐานแสดงความเกี่ยวข้องกับการเขียนในบริเวณอื่น ตัวอย่างการเขียนภาษาจีนที่เก่าสุดมีอายุราว 957 – 407 ปี ก่อนพุทธศักราช (ราชวงศ์ซาง) ซึ่งเป็นจารึกบนกระดูกวัวและกระดองเต..

ใหม่!!: ภาษาจ้วงและอักษรจีน · ดูเพิ่มเติม »

จื๋อโนม

ื๋อโนม (chữ Nôm, 字喃/𡨸喃/𡦂喃) เป็นระบบอักษรที่ใช้เขียนภาษาเวียดนาม ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว จื๋อโนมประกอบด้วยอักษรจีน ("ฮั่นจื้อ" เรียกเป็นภาษาเวียดนามว่า "ฮ้านตึ" - Hán tự) และอักขระที่ประดิษฐ์ขึ้นตามแบบอักษรจีน ตัวอย่างที่เก่าที่สุดอยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 มักนิยมใช้เฉพาะในหมู่ชนชั้นสูงของเวียดนาม โดยส่วนใหญ่ใช้บันทึกวรรณคดีเวียดนาม (งานเขียนที่เป็นทางการส่วนใหญ่จะใช้ภาษาจีนแบบแผน ไม่ใช่ภาษาเวียดนาม) ปัจจุบันถือว่าถูกแทนที่โดยสมบูรณ์ด้วยจื๋อโกว๊กหงือซึ่งดัดแปลงจากอักษรละติน.

ใหม่!!: ภาษาจ้วงและจื๋อโนม · ดูเพิ่มเติม »

จ้วง

้วง หรือ ปู้จ้วง (จ้วง: Bouчcueŋь/Bouxcuengh) เป็นกลุ่มชนในกลุ่มชาติพันธุ์ไท-กะได มีประชากรมากที่สุด ราว 18 ล้านคน แต่พวกเขาเพิ่งยอมรับคำว่า จ้วง เป็นชื่อชนชาติ เมื่อทางการจีนใช้คำเขียนใหม่ที่มีความหมายในทางที่ดีขึ้น เพราะในสมัยราชวงศ์ซ้อง คำว่า จ้วง (僮) ใช้เรียกทหารที่เป็นจ้วง สมัยราชวงศ์หยวน ใช้ตัวอักษรจีน ที่แปลว่า ปะทะ สมัยราชวงศ์หมิง ราชวงศ์ชิง จนถึงสมัยก๊กมินตั๋ง เปลี่ยนอักษรตัวแรกเป็นความหมายว่า "สัตว์" (獞) จนถึง พ.ศ. 2508 จึงเปลี่ยนเป็นตัวที่มีความหมายว่า เติบโต และแข็งแรง (壯/壮).

ใหม่!!: ภาษาจ้วงและจ้วง · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลภาษาไท-กะได

ตระกูลภาษาไท-กะได (Tai–Kadai languages) หรือรู้จักกันในนาม กะได (Kadai), ขร้าไท (Kradai) หรือ ขร้า-ไท (Kra–Dai) เป็นตระกูลภาษาของภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์ที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และตอนใต้ของประเทศจีน ในช่วงแรก ตระกูลภาษาไท-กะไดเคยถูกกำหนดให้เป็นอยู่ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต แต่ปัจจุบันได้แยกมาเป็นอีกตระกูลภาษาหนึ่ง และยังมีผู้เห็นว่าตระกูลภาษาไท-กะไดนี้มีความสัมพันธ์กับตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน โดยอยู่ในกลุ่มภาษาที่เรียกว่า "ออสโตร-ไท" หรือจัดเป็นตระกูลภาษาใหญ่ออสตริก รอเจอร์ เบลนช์ (Roger Blench) ได้กล่าวว่า ถ้าข้อจำกัดของความเชื่อมต่อของตระกูลภาษาออสโตร-ไทมีความสำคัญมาก แสดงว่าความสัมพันธ์ทั้งสองตระกูลอาจไม่ใช่ภาษาที่เป็นพี่น้องกัน กลุ่มภาษากะไดอาจเป็นสาขาของภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนที่อพยพจากฟิลิปปินส์ไปสู่เกาะไหหลำ แล้วแพร่สู่จีนแผ่นดินใหญ่ ในขณะที่สาขาไดของภาษากลุ่มกะไดมีการปรับโครงสร้างใหม่โดยได้รับอิทธิพลจากกลุ่มภาษาม้ง-เมี่ยนและภาษาจีน โลร็อง ซาการ์ (Laurent Sagart) ได้เสนอว่า ภาษาไท-กะไดดั้งเดิมได้เกิดขึ้นในยุคต้นของตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนที่อาจจะอพยพกลับจากทางตะวันตกเฉียงเหนือของไต้หวันไปยังชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของจีน หรือจากจีนไปไต้หวันและเกิดการพัฒนาของภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนบนเกาะนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนและไท-กะไดอาจจะอธิบายได้จากคำศัพท์ที่ใกล้เคียงกัน คำยืมในยุคก่อนประวัติศาสตร์และอื่น ๆ ที่ยังไม่รู้ นอกจากนั้นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนอาจจะมีความสัมพันธ์กับตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ซึ่งมีจุดเริ่มต้นในบริเวณชายฝั่งของจีนภาคเหนือและภาคตะวันออก ความหลากหลายของตระกูลภาษาไท-กะไดในทางตอนใต้ของประเทศจีนบ่งบอกถึงมีความสัมพันธ์กับถิ่นกำเนิดของภาษา ผู้พูดภาษาสาขาไทอพยพจากตอนใต้ของจีนลงทางใต้เข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แต่ครั้งโบราณ เข้าสู่ดินแดนที่เป็นประเทศไทยและลาวบริเวณนี้เป็นบริเวณที่พบผู้พูดภาษาในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก ชื่อ "ไท-กะได" มาจากการจัดแบ่งตระกูลภาษาออกเป็นสองสาขาคือ "ไท" และ "กะได" ซึ่งเลิกใช้แล้ว เนื่องจากกะไดจะเป็นกลุ่มภาษาที่เป็นไปได้ก็ต่อเมื่อมีกลุ่มภาษาไทรวมอยู่ด้วย ในบางบริบทคำว่ากะไดจึงใช้เรียกตระกูลภาษาไท-กะไดทั้งตระกูล แต่บางบริบทก็จำกัดการใช้คำนี้ให้แคบลง โดยหมายถึงกลุ่มภาษาขร้าที่เป็นส่วนหนึ่งของตระกูลภาษานี้.

ใหม่!!: ภาษาจ้วงและตระกูลภาษาไท-กะได · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: ภาษาจ้วงและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเวียดนาม

วียดนาม (Việt Nam เหฺวียดนาม) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Cộng hòa xã hội chủ nghĩa Việt Nam, ก่ง ฮหว่า สา โห่ย จู๋ เหงีย เหวียต นาม) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนติดกับประเทศจีน ทางทิศเหนือ ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา ทางทิศตะวันตก และอ่าวตังเกี๋ย ทะเลจีนใต้ ทางทิศตะวันออกและใต้ หรือในภาษาเวียดนามเรียกเฉพาะทะเลทางทิศตะวันออกว่า ทะเลตะวันออก (Biển Đông, เบี๋ยน ดง) เวียดนามมีประชากรมากกว่า 89 ล้านคน ถือเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 13 ของโลก.

ใหม่!!: ภาษาจ้วงและประเทศเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง

ตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง หรือ กวางสี หรือ กวางไซ (จ้วง: Gvangjsih Bouxcuengh Swcigih) หรือชื่อย่อว่า กุ้ย (桂; จ้วง: Gvei) เป็นเขตปกครองตนเองระดับจังหวัดตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศจีน มีเมืองเอกคือหนานหนิง.

ใหม่!!: ภาษาจ้วงและเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »