โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาษากรีกคอยนี

ดัชนี ภาษากรีกคอยนี

ษากรีกคอยนี หรือ ภาษากรีกคอยเน (Koine Greek,, และในชื่อเรียกต่างๆกัน ได้แก่ สำเนียงอเล็กซานเดรีย, แอตติกพื้นบ้าน, ภาษาเฮลเลนิก หรือ ภาษากรีกไบเบิ้ล (โดยเฉพาะพระคริสต์ธรรมใหม่) เป็นรูปแบบของภาษากรีกมาตรฐาน หรือภาษากลาง (ทางวิชาการเรียกว่า ภาษาคอยเน่ หรือ koine language) ที่ใช้ทั้งในการพูดและเขียน ทั่วทั้งบริเวณเมดิเตอเรเนียน และบางส่วนของตะวันออกกลาง ในสมัยเฮลเลนิสติก และสมัยโรมันโบราณ จนถึงช่วงต้นของสมัยไบแซนไทน์ หรือช่วงปลายสมัยโบราณ (late antiquity) ภาษากรีกคอยนี เป็นวิวัฒนาการมาจากภาษากรีกโบราณ โดยเริ่มจากการแพร่กระจายของภาษากรีก ในสมัยของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ช่วงศตวรรษที่ 4 ก่อนค.ศ. ภาษากรีกคอยนีมีพื้นฐานหลักๆ มาจากภาษากรีกสำเนียงแอตติก และภาษากรีกไอโอนิก ซึ่งเป็นภาษาทางการศึกษาและวรรณคดีในโลกของกรีซโบราณ คำว่า คอยนี หรือ คอยเน่ (Koine) มาจากคำกรีกว่า ἡ κοινὴ διάλεκτος แปลว่า ภาษาสำเนียงกลาง โดยคำกรีก คอยแน (κοινή) หมายถึง "ที่ใช้ร่วมกัน" ในประเทศกรีซเรียกภาษานี้ว่า "ภาษาภูมิภาคเฮลเลนิสติก" (Ελληνιστική Κοινή) เมื่อภาษากรีกคอยนี กลายมาเป็นภาษาที่ใช้ในวงการวรรณกรรม เมื่อราวศตวรรษที่ 1 ก่อนค.ศ. จึงเกิดการแยกภาษาคอยนีที่เป็นภาษาพูด และที่เป็นภาษาเขียนออกจากกัน โดยถือว่าภาษาเขียนของ กรีกคอยนี เป็นภาษาวรรณกรรมหลังยุคคลาสสิก ส่วนภาษาพูดถือว่าเป็นภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ไมใช่ภาษาหนังสือ ฯ บางท่านก็เรียกภาษากรีกคอยนีว่าเป็น "ภาษาสำนวนอเล็กซานเดรีย" (Ἀλεξανδρέων διάλεκτος) ซึ่งถือเป็นสำเนียงสากลของภาษากรีกในสมัยนั้น ภาษากรีกคอยนีมีบทบาทในทางวรรณกรรมมาก โดยเป็นภาษาสื่อสารของยุคหลังคลาสสิก ที่นักวิชาการ และนักเขียนใช้อย่างแพร่หลาย รวมถึง พลูทาร์ก และโพลีบิอัส นอกจากนี้ กรีกคอยนียังเป็นภาษาของพระคริสต์ธรรมใหม่ และของเซปตัวจินท์ (Septuagint) หรือคัมภีร์พระคริสต์ธรรมเก่าภาษากรีกฉบับแปลศตวรรษที่ 3 นอกจากนี้งานเขียนทางเทววิทยาของเหล่าปิตาจารย์แห่งคริสตจักรในช่วงแรกๆ ก็เป็นภาษากรีกคอยนีเกือบทั้งหมด ปัจจุบันภาษานี้ยังใช้อยู่ในฐานะภาษาทางพิธีกรรมของศาสนจักรกรีกออร์โธด็อกซ.

9 ความสัมพันธ์: พลูทาร์กพอลิเบียสภาษากรีกภาษากรีกโบราณสมัยเฮลเลนิสต์อักษรกรีกจักรวรรดิไบแซนไทน์ปลายสมัยโบราณปิตาจารย์แห่งคริสตจักร

พลูทาร์ก

ลูทาร์ก (Plutarch) เมื่อเกิดมีชื่อว่า ปลูตาร์โคส (Πλούταρχος) ต่อมาเมื่อเป็นพลเมืองโรมันได้เปลี่ยนชื่อเป็น ลูกิอุส แม็สตริอุส ปลูตาร์คุส (Lvcivs Mestrivs Plvtarchvs; ราว ค.ศ. 46 – ราว ค.ศ. 120) เป็นนักประวัติศาสตร์ นักเขียนชีวประวัติ นักเขียนบทความ และนักปรัชญาเพลโตชาวชาวโรมันเชื้อสายกรีกผู้เป็นผู้เชี่ยวชาญในการเขียนชีวประวัติและสาขาวิชาต่าง ๆ ''Moralia'', 1531 งานเขียนที่สำคัญของพลูทาร์กก็คือ ชีวิตของชาวกรีกและโรมันชนชั้นขุนนาง (Parallel Lives) และ โมราเลีย (Moralia) พลูทาร์กเกิดในครอบครัวจากตระกูลสูงในเคโรเนียที่อยู่ทางตะวันออกของเดลฟีราว 20 ไมล.

ใหม่!!: ภาษากรีกคอยนีและพลูทาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

พอลิเบียส

''Wounded Philopoemen'' by David d'Angers, 1837, Louvre พอลิเบียส (Polybius, Πολύβιος; 200-118 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นนักประวัติศาสตร์ชาวกรีกในสมัยเฮลเลนิสติก มีชื่อเสียงจากงานเขียนเรื่อง The Histories ซึ่งครอบคลุมเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ตั้งแต่ช่วง 220-146 ปีก่อนคริสตกาล บรรยายถึงการรุ่งเรืองขึ้นของสาธารณรัฐโรมัน และการที่โรมันสามารถเข้าครอบครองกรีก นอกจากนี้ยังมีชื่อเสียงจากแนวคิดเรื่องสมดุลทางการเมืองของรัฐบาล ซึ่งต่อมานำมาใช้ใน The Spirit of the Laws ของมงแต็สกีเยอ และเป็นต้นร่างของรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา หมวดหมู่:ชาวกรีกโบราณ.

ใหม่!!: ภาษากรีกคอยนีและพอลิเบียส · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากรีก

ษากรีก ซึ่งคนที่พูดและเขียนภาษานี้เรียกว่า เฮลเลนิก หรือ เอลเลนิกา (Ελληνικά) เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เกิดในประเทศกรีซ และเคยเป็นภาษาพูดตามชายฝั่งของเอเชียไมเนอร์และทางใต้ของประเทศอิตาลีในยุคโบราณ มีการพูดภาษาถิ่นจำนวนหนึ่ง เช่น ไอโอนิก ดอริก และแอททิก การเรียนการสอนภาษากรีกในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายนัก ปัจจุบันมีเพียง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, รูปแบบไฟล.doc /สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม..

ใหม่!!: ภาษากรีกคอยนีและภาษากรีก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากรีกโบราณ

ทเปิดเรื่องมหากาพย์ ''โอดิสซีย์'' ภาษากรีกโบราณ เป็นรูปแบบของภาษากรีกที่ใช้ในยุคกรีซโบราณ และกรีซยุคคลาสสิค ตลอดจนโลกยุคโบราณของอารยธรรมเมดิเตอเรเนียน ตั้งแต่ราวศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสตกาล จนถึง ศตวรรษที่ 6..

ใหม่!!: ภาษากรีกคอยนีและภาษากรีกโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

สมัยเฮลเลนิสต์

มัยเฮลเลนิสต์ (Hellenistic period) เป็นสมัยที่เริ่มขึ้นหลังจากอเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งมาซิดอนได้รับชัยชนะต่อจักรวรรดิเปอร์เชีย ในช่วงนี้อารยธรรมของกรีกก็ขึ้นถึงจุดสูงสุดทั้งในยุโรปและเอเชีย มักจะถือกันว่าเป็นสมัยคาบเกี่ยว (transition) หรือบางครั้งก็เกือบจะถือว่าเป็นสมัยของความเสื่อมโทรมหรือสมัยของการใช้ชีวิตอันเกินเลย (decadence) ระหว่างความรุ่งเรืองของสมัยกรีกคลาสสิก (Classical Greece) กับการเริ่มก่อตัวของจักรวรรดิโรมัน สมัยเฮลเลนิสต์ถือกันว่าเริ่มขึ้นหลังจากการเสด็จสวรรคตของอเล็กซานเดอร์มหาราชในปี 323 ก่อนคริสต์ศตวรรษ จนมาสิ้นสุดลงราวปี 146 ก่อนคริสต์ศตวรรษซึ่งเป็นปีที่สาธารณรัฐโรมันได้รับชัยชนะต่อดินแดนสำคัญของกรีซ หรืออาจจะดำเนินต่อมาถึงปี 30 ก่อนคริสต์ศตวรรษเมื่อมาเสียราชอาณาจักรทอเลมีในอียิปต์แก่จักรวรรดิโรมันซึ่งเป็นดินแดนสุดท้ายที่ยังคงรักษาอารยธรรมเฮลเลนิสต์ สมัยเฮลเลนิสต์เป็นสมัยทีเป็นการก่อตั้งราชอาณาจักร และเมืองต่าง ๆ ของกรีกในเอเชียและแอฟริก.

ใหม่!!: ภาษากรีกคอยนีและสมัยเฮลเลนิสต์ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรกรีก

อักษรกรีก เป็นอักษรที่ใช้สำหรับเขียนภาษากรีก โดยมีพัฒนาการมาตั้งแต่ยุคคลาสสิก ประมาณ 357 ปีก่อนพุทธศักราช (ศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสต์ศักราช) และยังคงใช้สืบต่อเรื่อยมา นับเป็นอักษรที่เก่าแก่ที่สุดแบบหนึ่งที่ยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน ในสมัยกรีกโบราณนั้น อักษรกรีกยังใช้เขียนแทนจำนวนอีกด้วย ซึ่งในกรณีนี้จะเรียกว่าเลขกรีก ในทำนองเดียวกับเลขโรมัน ทุกวันนี้เราใช้อักษรกรีกเป็นสัญลักษณ์คณิตศาสตร์ เป็นชื่อดาวฤกษ์ เป็นชื่อกลุ่มภราดรและกลุ่มภคินี และใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ อีกมาก.

ใหม่!!: ภาษากรีกคอยนีและอักษรกรีก · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิไบแซนไทน์

ักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine Empire) หรือ จักรวรรดิไบแซนทิอุม (Βασιλεία των Ρωμαίων) เป็นจักรววรรดิที่สืบทอดโดยตรงจากจักรวรรดิโรมันในปลายสมัยโบราณ และยุคกลาง มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล ในบริบทสมัยโบราณตอนปลาย จักรวรรดิยังถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า จักรวรรดิโรมันตะวันออก ขณะที่ยังมีจักรวรรดิโรมันตะวันตกอยู่ ทั้งคำว่า "จักรวรรดิไบแซนไทน์" และ "จักรวรรดิโรมันตะวันออก" เป็นคำทางภูมิประวัติศาสตร์ที่สร้างขึ้นและใช้กันในหลายศตวรรษต่อมา ขณะที่พลเมืองยังเรียกจักรวรรดิของตนว่า "จักรวรรดิโรมัน" หรือ "โรมาเนีย" เรื่อยมากระทั่งล่มสลายไป ขณะที่จักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลายไปในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ส่วนตะวันออกยังดำเนินต่อมาอีกพันปีก่อนจะเสียแก่เติร์กออตโตมันใน..

ใหม่!!: ภาษากรีกคอยนีและจักรวรรดิไบแซนไทน์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลายสมัยโบราณ

ราณตอนปลาย (Late Antiquity) เป็นสมัยประวัติศาสตร์ที่ใช้โดยนักประวัติศาสตร์ในการบรรยายช่วงเวลาที่เปลี่ยนจากยุคโบราณคลาสสิกไปเป็นยุคกลางทั้งบนแผ่นดินใหญ่ยุโรปและบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน ของเขตของสมัยยังคงเป็นเรื่องที่โต้แย้งกันอยู่ แต่นักประวัติศาสตร์คนสำคัญปีเตอร์ บราวน์เสนอว่าเป็นช่วงเวลาระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 2 ถึง ที่ 8 โดยทั่วไปแล้วก็อาจจะเทียบได้กับช่วงเวลาตั้งแต่การสิ้นสุดของวิกฤติการณ์ของคริสต์ศตวรรษที่ 3 (ค.ศ. 235-ค.ศ. 284) ของจักรวรรดิโรมัน ไปจนถึงการจัดระบบบริหารของจักรวรรดิโรมันตะวันออกภายใต้การนำของจักรพรรดิเฮราคลิอัส และการพิชิตดินแดนโดยมุสลิมในยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 7 จักรวรรดิโรมันประสบกับความเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่ทั้งทางด้านสังคม, วัฒนธรรม และ ระบบการปกครองที่เริ่มขึ้นในรัชสมัยของจักรพรรดิไดโอคลีเชียนผู้ทรงเป็นผู้เริ่มการแบ่งจักรวรรดิออกเป็นสองส่วนคือจักรวรรดิโรมันตะวันออกและจักรวรรดิโรมันตะวันตกที่ปกครองโดยพระจักรพรรดิหลายพระองค์ เริ่มด้วยจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 เมื่อจักรวรรดิถูกเปลี่ยนเป็นจักรวรรดิคริสเตียน และการก่อตั้งคอนสแตนติโนเปิลเป็นเมืองหลวง การโยกย้ายถิ่นฐานของกลุ่มชนเจอร์มานิคต่อมาก็บั่นทอนเสถียรภาพของจักรวรรดิยิ่งขึ้นไปอีก ที่ในที่สุดก็นำไปสู่การล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกในปี ค.ศ. 476 และมาแทนที่ด้วยระบอบพระมหากษัตริย์ของชนเจอร์มานิค หรือ “ระบอบพระมหากษัตริย์ของอนารยชน” ผลก็คือการผสานระหว่างวัฒนธรรมกรีก-โรมัน เจอร์มานิค และ คริสเตียนที่กลายมาเป็นพื้นฐานของวัฒนธรรมของยุโรปตะวันตก การสูญเสียประชากร, ความรู้ทางเทคโนโลยี และ มาตรฐานความเป็นอยู่ของยุโรปตะวันตกในยุคนี้เป็นลักษณะของสถานภาพที่เรียกว่า “การล่มสลายของสังคม” (Societal collapse) โดยนักเขียนตั้งแต่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยามาจนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ จากความเสื่อมโทรมที่เกิดขึ้นและการขาดหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของยุโรปตะวันตกในช่วงนี้โดยเฉพาะ ในช่วงระหว่างการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกมาจนถึงยุคกลาง ทำให้ได้ชื่อว่าเป็น “ยุคมืด” ที่มาแทนที่ด้วยคำว่า “ยุคโบราณตอนปลาย”.

ใหม่!!: ภาษากรีกคอยนีและปลายสมัยโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

ปิตาจารย์แห่งคริสตจักร

ปิตาจารย์แห่งคริสตจักร ปิตาจารย์แห่งคริสตจักร (Church Fathers, Fathers of the Church) ปิตาจารย์แห่งคริสตจักรยุคแรก (Early Church Fathers) หรือ ปิตาจารย์ศาสนาคริสต์ (Christian Fathers) คือนักเทววิทยาที่มีบทบาทสำคัญในศาสนาคริสต์ยุคแรก ปิตาจารย์เหล่านี้มักเป็นอาจารย์หรือมุขนายกที่มีบทบาทสำคัญในยุคนั้น งานเขียนของปิตาจารย์ถือเป็นบรรทัดฐานความเชื่อของคริสต์ศาสนิกชนในศตวรรษต่อ ๆ มา ปิตาจารย์บางคนอาจไม่ใช่นักบุญ ไม่ได้รับศีลอนุกรม แต่ส่วนมากก็ได้รับความเคารพจากคริสตจักรต่าง ๆ ทั้งโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ แองกลิคันคอมมิวเนียน และลูเทอแรน ออริเจนและเทอร์ทิวเลียนเป็นสองปิตาจารย์ที่มีชื่อเสียงมาก แต่ก็ไม่ได้รับการประกาศเป็นนักบุญในคริสตจักรคาทอลิก ออริเจนแม้จะมีอิทธิพลมากในศาสนาคริสต์ตะวันออก แต่เนื่องจากเขาเชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดจึงถูกประณามว่าเป็นพวกนอกรีต ส่วนเทอร์ทิวเลียนตอนแรกเป็นที่ยอมรับในคริสตจักรเพราะสนับสนุนแนวคิดตรีเอกภาพนิยม แต่ต่อมาได้รับแนวคิดของลัทธิมอนทานิสต์จึงถูกประณามว่าเป็นพวกนอกรีตเช่นกันTabbernee, Prophets and Gravestones, p. 98 note 1.

ใหม่!!: ภาษากรีกคอยนีและปิตาจารย์แห่งคริสตจักร · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »