โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ฟาโรห์แรเมซีสที่ 2

ดัชนี ฟาโรห์แรเมซีสที่ 2

แรเมซีสที่ 2 หรือ แรมซีสที่ 2 (url หรือ Ramses II; ประสูติ ราว 1303 ปีก่อนคริสตกาล; สวรรคต กรกฏาคมหรือสิงหาคม 1213 ปีก่อนคริสตกาล; เสวยราชย์ 1279–1213 ปีก่อนคริสตกาล หรือ 1276–1210 ปีก่อนคริสตกาล) สมัญญา แรเมซีสมหาราช (Ramesses the Great) เป็นฟาโรห์รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์ที่ 19 ของจักรวรรดิอียิปต์ เป็นกษัตริย์ที่ถือกันว่า ยิ่งใหญ่ ทรงอำนาจ และมีชื่อเสียงมากที่สุดของอียิปต์ ผู้ครองราชย์สืบต่อจากพระองค์และชนอียิปต์รุ่นหลังขนานนามพระองค์ว่า มหาบรรพชน (Great Ancestor) ส่วนเอกสารกรีกออกนามพระองค์ว่า โอซีแมนเดียส (Ozymandias) ซึ่งมาจากการทับศัพท์ชื่อรัชกาลพระองค์ในภาษาอียิปต์ คือ Usermaatre Setepenre ("ความยุติธรรมของรานั้นทรงพลานุภาพ — ผู้ได้รับเลือกแห่งรา") ออกเป็นภาษากรีก ขณะที่พระองค์มีพระชนม์ได้ 14 ชันษา ฟาโรห์เซติที่ 1 (Seti I) พระบิดาของพระองค์ ทรงตั้งพระองค์เป็นเจ้าชายผู้สำเร็จราชการ (Prince Regent)Putnam (1990) พระองค์ทรงยกทัพเข้าลิแวนต์ (Levant) หลายครั้งเพื่ออ้างย้ำซึ่งอำนาจของอียิปต์ในการปกครองเคนัน (Canaan) ทั้งมีการยกพลลงใต้ไปนิวเบีย (Nubia) โดยจารึกไว้เป็นอนุสรณ์ไว้ที่เบตเอล-วาลี (Beit el-Wali) และเกิร์ฟฮุสเซน (Gerf Hussein) หลังขึ้นเสวยราชย์แล้ว ต้นรัชกาล เน้นการสร้างบ้านแปงเมือง ก่ออารามวิหาร สถาปนาอนุสรณ์สถาน ในการนี้ พระองค์ทรงตั้งเมืองเพีย-ราเมส (Pi-Ramesses) ขึ้นที่ดินดอนสามเหลี่ยมไนล์ (Nile Delta) ให้เป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ของพระองค์ และเป็นฐานที่มั่นเตรียมการศึก รัชกาลของพระองค์ยังมีการฉลองเทศกาลเซด (sed festival) ถึง 14 ครั้ง ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ และมากครั้งกว่าฟาโรห์พระองค์อื่นใด ตามธรรมเนียมแล้ว เทศกาลดังกล่าวจัดขึ้นเมื่อกษัตริย์เสวยราชสมบัติครบ 30 ปี จากนั้นก็จัดอีกทุก 3 ปี เชื่อกันว่า พระองค์ขึ้นสู่ราชสมบัติเมื่อพระชนมายุเข้าสู่ปลายวัยรุ่นแล้ว เป็นที่รับรู้กันว่า ทรงปกครองอียิปต์ตั้งแต่ 1279 ถึง 1213 ปีก่อนคริสตกาล นักบวชแมนีโท (Manetho) ระบุว่า พระองค์ทรงครองราชย์ 66 ปี 2 เดือน นักวิทยาการอียิปต์ส่วนใหญ่ในปัจจุบันนี้เชื่อว่า พระองค์ขึ้นครองราชย์วันที่ 31 พฤษภาคม 1279 ปีก่อนคริสตกาล โดยอ้างอิงวันขึ้นครองราชย์ที่ตรวจทราบได้ว่า คือ วัน 27 ฤดูเก็บเกี่ยว 3 (III Shemu day 27) ส่วนพระชนม์ขณะสวรรคตนั้นมีการประมาณแตกต่างกันไป โดย 90 หรือ 91 ชันษาน่าจะเป็นไปได้ที่สุด เมื่อสวรรคตแล้ว พระศพของพระองค์ฝังไว้ที่หลุมแห่งหนึ่งในหุบเขากษัตริย์ (Valley of the Kings) ภายหลัง ย้ายไปฝังยังอีกหลุมหนึ่ง ที่ซึ่งค้นพบใน..

13 ความสัมพันธ์: ฟาโรห์ฟาโรห์เมร์เนปทาห์ฟาโรห์เซติที่ 1รา (เทพ)รายพระนามพระราชบุตรของฟาโรห์แรเมซีสที่ 2ลักซอร์ลิแวนต์สนธิสัญญาแรเมซีส-ฮัททูซิลีหุบเขากษัตริย์อะบูซิมเบลจักรวรรดิอียิปต์คานาอันนิวเบีย

ฟาโรห์

หลังรัชสมัยฟาโรห์โจเซอร์ (Djoser) แห่งราชวงศ์ที่ 3 แล้ว มักปรากฏภาพพระเจ้าแผ่นดินอียิปต์ฉลองพระองค์ด้วยศิราภรณ์เนเมส (Nemes), พระมัสสุเทียม, และกระโปรงจีบ ฟาโรห์ (Pharaoh; อ่านว่า เฟโรห์ (ˈ/feɪroʊ/) หรือ แฟโรห์ (/ˈfæroʊ/)) เป็นชื่อตำแหน่งพระเจ้าแผ่นดินอียิปต์โบราณทุกราชวงศ์ มีต้นศัพท์คือคำว่า "pr-aa" แปลว่า บ้านหลังใหญ่ (great house) ซึ่งเป็นคำอุปมาถึง พระราชมนเทียร คำ "ฟาโรห์" นั้นปัจจุบันใช้เรียกพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ของอียิปต์โบราณ แต่ตามประวัติศาสตร์แล้ว เริ่มเรียกพระมหากษัตริย์อียิปต์ว่า "ฟาโรห์" กันในสมัยราชอาณาจักรใหม่ โดยเฉพาะตั้งแต่ช่วงกลางราชวงศ์ที่ 18 เมื่อพ้นรัชกาลของพระนางแฮตเชปซุต (Hatshepsut) ไปแล้วDodson, Aidan and Hilton, Dyan.

ใหม่!!: ฟาโรห์แรเมซีสที่ 2และฟาโรห์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟาโรห์เมร์เนปทาห์

ฟาโรห์เมร์เนปทาห์ เป็นผู้ปกครองที่สี่ของราชวงศ์ที่สิบเก้าของอียิปต์โบราณ เขาอาจจะเกิดในปี 1273 ปีก่อนคริสต์ศักราชอียิปต์นับเกือบสิบปี แต่ปลายเดือนกรกฎาคมหรือต้นเดือนสิงหาคม 1213 จนถึงสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 1746 ปีก่อนคริสตกาล ตามบันทึกประวัติศาสตร์ร่วมสมัย พระองค์เป็นบุตรชายที่สามของฟาโรห์แรเมซีสที่ 2 และเข้ามามีอำนาจเพราะพี่ชายทั้งสองคนรวมทั้งน้องชาย คาเอมวาเซท หรือ คาเอมวาเซ เสียชีวิต เมื่อถึงเวลาที่เขาขึ้นสู่บัลลังก์เขาอายุเกือบหกสิบปี ชื่อบัลลังก์ของเขาคือ บา-เอน-เร เมริ-เนตเจรู ซึ่งแปลว่า "The Soul of Ra, Beloved of the Gods".

ใหม่!!: ฟาโรห์แรเมซีสที่ 2และฟาโรห์เมร์เนปทาห์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟาโรห์เซติที่ 1

ฟาโรห์เมนมาตเร เซติที่ 1 (หรือ เซทธอทที่ 1 เป็นภาษากรีก) เป็นฟาโรห์ของราชวงศ์ใหม่ของราชวงศ์อียิปต์สิบเก้า เป็นบุตรของฟาโรห์รามเสสที่ 1 และพระราชินีซิทเรและเป็นพ่อของฟาโรห์รามเสสที่ 2 เช่นเดียวกับวันที่ในอียิปต์โบราณวันที่ที่เกิดขึ้นจริงในรัชสมัยของพระองค์ยังไม่ชัดเจนและนักประวัติศาสตร์หลายคนเรียกร้องวันที่แตกต่างกันโดยมี 1294 ถึง 1279 ก่อนคริสต์ศักราชและ 1290 ถึง 1279 เป็นสมัยที่นักวิชาการใช้กันมากที.

ใหม่!!: ฟาโรห์แรเมซีสที่ 2และฟาโรห์เซติที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

รา (เทพ)

145px รา (Ra) หรือ เร (Re) หรือ อาเมน-รา (Amen-Ra) หรือ อามอน-รา (Amon-Ra) คือ เทพแห่งดวงอาทิตย์ในตำนานเทพเจ้าแห่งไอยคุปต์ของอียิปต์ โบราณสัญลักษณ์ของเทพราคือวงกลมหนุนอยู่บนเรือ แต่ส่วนมากมักเป็นมนุษย์ พระเศียรเป็นนกเหยี่ยว เชื่อว่าถือกำเนิดมาจากแม่น้ำแห่งเทพนุน กายล้อมรอบด้วยกลีบดอกบัว ทุกวันเมื่อเข้าสู่ราตรีกาล เทพราจะกลับมาบรรทมในดอกบัวนี้ สัญลักษณ์ของพระองค์เป็นนกศักดิ์สิทธิ์ เรียกว่า นกเบนนู (Bennu bird) เกาะที่ยอดพีระมิด ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งแสงอาทิตย์ เทพราเป็นดั่งบิดาแห่งมวลมนุษย์และสรรพสิ่งทั้งหลาย ทรงสร้างเทพชู เทพแห่งลม เทพีเตฟนุต เทวีแห่งสายฝน เทพเกบ เทพแห่งปฐพี เทพีนัต เทวีแห่งท้องฟ้าและ เทพฮาปี เทพแห่งแม่น้ำนิลนาม เทพรามีหลายพระนามด้วยกันคือ ในตอนเช้ามักถูกเรียกว่า เฆปรี (Khepri) หรือ เฆเปรา (Khepera) เรียกว่าราในตอนกลางวัน และตุม (Tum) หรืออาตุม (Atum) ในตอนเย็น เทพรา จะเสด็จออกจากเมืองเฮลีโอโปลิสพร้อมกับเหล่าเทพเจ้า โดยใช้เรือสุริยันเป็นยานพาหนะ เพื่อตรวจเยื่ยมราษฎรในแคว้นทั้ง 12 แคว้น ทำให้เกิดแสงอาทิตย์ตลอด 12 ชั่วโมงใน 1 วัน และในเวลากลางคืนพระองค์จะท่องไปในแดนมตภพดูอัตจากฝั่งตะวันตกไปฝั่งตะวันออก และมีตำนานเกี่ยวกับเทพราอีกมากมาย แต่ก่อนเทพราจะมีเฉพาะฟาโรห์เท่านั้นที่สักการะได้.

ใหม่!!: ฟาโรห์แรเมซีสที่ 2และรา (เทพ) · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระราชบุตรของฟาโรห์แรเมซีสที่ 2

แม่แบบ:ยังเขียนไม่จบ ฟาโรห์แรเมซีสที่ 2 มหาราช มีพระราชโอรส และ พระราชธิดาจำนวนมาก ซึ่งมีพระราชโอรสประมาณ 48 ถึง 50 องค์ และพระราชธิดาประมาณ 40 ถึง 53 พระองค์ ซึ่งพระองค์ก็ได้ให้สลักรายพระนามพระราชบุตรไว้ในอนุสาวรีย์วิหารหลายแห่ง พระราชโอรสองค์แรกของฟาโรห์แรเมซีสที่ 2 มักจะปรากฏในลำดับเดียวกันกับคำพรรณนา รายพระนามพระราชบุตรถูกค้นพบใน Ramesseum, Luxor, Wadi es-Sebua และ Abydos พระนามบางพระนามเป็นที่รู้จักจาก ostraka สุสานและที่อื่น ๆ พระราชโอรสของฟาโรห์แรเมซีสที่ 2 ปรากฏในภาพวาดสงครามและชัยชนะจากสงครามเช่นสงครามแห่งคาเดชและสงครามบุกเมืองซีเรีย ในช่วงรัชกาลของพระองค์ (ปีที่ 5 และ 10 ตามลำดับ) ดังนั้นจึงมีแนวโน้มพระราชบุตรของฟาโรห์แรเมซีสที่ 2 สิ้นพระชนม์ก่อนที่จะขึ้นครองบัลลังก์ไอยคุปต์ ดังนั้นพระราชบุตรของฟาโรห์แรเมซีสที่ 2 หลายพระองค์จึงถูกฝังไว้ในหุบเขากษัตริย์ รหัสสุสาน KV5 ฟาโรห์แรเมซีสที่ 2 มหาราช พยามสลักพระนามพระราชบุตรของพระองค์เอาไว้ในอนุสาวรีย์วิหาร ซึ่งขัดกับประเพณีของอียิปต์มาแต่เดิม ที่คือการสลักชายหนุ่มอยู่เบื้องหลัง จนกว่าจะมีพระนามเป็นทางการที่สำคัญ นี่อาจเป็นหลักฐานที่ว่าพระวงษ์ของพระองค์ไม่ได้มาจากราชวง.

ใหม่!!: ฟาโรห์แรเมซีสที่ 2และรายพระนามพระราชบุตรของฟาโรห์แรเมซีสที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

ลักซอร์

ลักซอร์ (Luxor; الأقصر) เป็นนครในประเทศอียิปต์ เป็นเมืองหลวงของเขตผู้ว่าการลักซอร์ มีประชากร 487,896 คน (ค.ศ. 2010) (retrieved 2010-7-27) เมืองมีพื้นที่ราว 416 ตร.กม.

ใหม่!!: ฟาโรห์แรเมซีสที่ 2และลักซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ลิแวนต์

ริเวณที่เรียกว่าลิแวนต์ บริเวณที่เรียกว่าลิแวนต์ปัจจุบันที่ประกอบด้วยจอร์แดน เลบานอน อิสราเอล ดินแดนปาเลสไตน์ และซีเรีย ลิแวนต์ (Levant; بلاد الشام, Bilad ash-Shām) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า อัชชาม (الشام, ash-Shām) ตามความหมายดั้งเดิมหมายถึงบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก แต่ในความหมายทางภูมิศาสตร์หมายถึงบริเวณอันกว้างใหญ่ในเอเชียตะวันตกทางฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โดยมีเทือกเขาทอรัสเป็นเขตแดนทางตอนเหนือ ทะเลทรายอาหรับทางใต้ และทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตะวันตก ขณะที่ทางตะวันออกเป็นเทือกเขาแซกรอส ลิแวนต์เดิมมีความหมายอย่างหลวม ๆ หมายถึง "ดินแดนเมดิเตอร์เรเนียนทางตะวันออกของอิตาลี" มาจากภาษาฝรั่งเศสกลางที่แปลว่า "ตะวันออก" ในประวัติศาสตร์ การค้าขายระหว่างยุโรปตะวันตกกับจักรวรรดิออตโตมันเป็นเศรษฐกิจอันสำคัญของบริเวณนี้ คำว่าลิแวนต์โดยทั่วไปมีความหมายทางวัฒนธรรมมากกว่าที่จะเป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่ใดที่หนึ่งที่เฉพาะเจาะจง และความหมายของคำก็เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ตลอดมาในประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และทัศนคติในการอ้างอิง.

ใหม่!!: ฟาโรห์แรเมซีสที่ 2และลิแวนต์ · ดูเพิ่มเติม »

สนธิสัญญาแรเมซีส-ฮัททูซิลี

นธิสัญญาฉบับฮิตไทต์ ซึ่งเป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังเหลือรอดมาจนถึงปัจจุบัน สนธิสัญญาแรเมซีส-ฮัททูซิลี หรือ สนธิสัญญาคาเดซ มีการลงนามและให้สัตยาบันระหว่างศตวรรษที่ 13 ก่อนคริสตกาล ระหว่างฟาโรห์แรเมซีสที่ 2 แห่งอียิปต์ และกษัตริย์ฮัททูซิลีที่ 2 แห่งฮิตไทต์ จุดประสงค์ของข้อตกลงนี้คือสร้างและรักษาความสัมพันธ์อย่างสันติระหว่างทั้งสองฝ่าย มันเป็นความตกลงที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่รู้จักกันจากตะวันออกใกล้Barker, Craig J. International Law and International Relations.

ใหม่!!: ฟาโรห์แรเมซีสที่ 2และสนธิสัญญาแรเมซีส-ฮัททูซิลี · ดูเพิ่มเติม »

หุบเขากษัตริย์

นที่ตั้งของหุบเขาในหุบเขาธีบัน ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไนล์ ในเดือนตุลาคม 1988 (ลูกศรแดง แสดงถึงที่ตั้ง) หุบเขากษัตริย์ (وادي الملوك Wādī al-Mulūk; The Valley of the Kings) เป็นหุบเขาในประเทศอียิปต์ เป็นหลุมศพของกษัตริย์และราชวงศ์ในราชอาณาจักรใหม่ (ตั้งแต่ราชวงศ์ที่ 18 ถึง 20 ของอียิปต์โบราณ).

ใหม่!!: ฟาโรห์แรเมซีสที่ 2และหุบเขากษัตริย์ · ดูเพิ่มเติม »

อะบูซิมเบล

250px อะบูซิมเบล (أبو سمبل,أبو سنبل; Abu Simbel) เป็นมหาวิหารของอียิปต์โบราณอันประกอบขึ้นจากหินขนาดใหญ่สองก้อน มีลักษณะเป็นรูปปั้นองค์ฟาโรห์ทั้งสี่ ส่วนองค์ที่สองถล่มลงเนื่องจากแผ่นดินไหว ตั้งอยู่ทางใต้ของอียิปต์ บนริมฝั่งตะวันตกของทะเลสาบนัสซอร์ ระยะทางประมาณ 290 กิโลเมตรจากอัสวาน และเป็นโบราณสถานหนึ่งในมรดกโลกขององค์การยูเนสโก นอกจากนี้ยังรู้จักกันในนาม อนุสรณ์สถานแห่งนิวเบีย แต่เดิมมหาวิหารถูกก่อสร้างโดยการเจาะแกะสลักเข้าไปในภูเขาหินในช่วงรัชสมัยของฟาโรห์รามเสสที่ 2 ในช่วงศตวรรษที่ 13 ก่อนคริสตกาล และยังเป็นอนุสรณ์สถานแห่งสุดท้ายของพระองค์และพระมเหสีของพระองค์นั้นคือพระนางเนเฟอร์ทารี ซึ่งอะบูซิมเบล ยังมีจุดประสงค์เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองกับชัยชนะของอียิปต์ที่มีต่อนิวเบียที่สมรภูมิแห่งคาเดส อีกทั้งเพื่อเป็นการข่มขู่นิวเบียไม่ให้มารุกรานอียิปต์ซึ่งเป็นอาณาจักรใกล้เคียง อย่างไรก็ตามมหาวิหารทั้งหมดถูกเคลื่อนย้ายโดยคณะวิศวกรจากสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งใช้เวลาตลอดทั้งทศวรรษที่ 1960 เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาน้ำท่วมจากการสร้างเขื่อนอัสวาน อันจะส่งผลให้มหาวิหารและโบราณสถานที่รายรอบอยู่ต้องจมอยู่ก้นทะเลสาบนัสซอร์ ปัจจุบันมหาวิหารเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมอย่างมากและโด่งดังแห่งหนึ่งของอียิปต์ ซึ่งครั้งหนึ่งนักท่องเที่ยวชาวเยอรมันและญี่ปุ่นเคยถูกลอบสังหารขณะเดินทางไปยังสถานที่แห่งนี้.

ใหม่!!: ฟาโรห์แรเมซีสที่ 2และอะบูซิมเบล · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิอียิปต์

แผนที่แสดงบรเวณเมื่อมีอำนาจมากที่สุดในศตวรรษที่ 15 ก่อนคริสต์ศักราช จักรวรรดิอียิปต์ หรือ ราชอาณาจักรใหม่ (New Kingdom หรือ Egyptian Empire) เป็นสมัยประวัติศาสตร์ของอียิปต์โบราณที่รุ่งเรืองระหว่าง 1600 ปีก่อนคริสต์ศักราชมาจนถึง 1100 ปีก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งเป็นสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดของอียิปต์และเป็นจุดสูงสุดของมหาอำนาจในประวัติศาสตร.

ใหม่!!: ฟาโรห์แรเมซีสที่ 2และจักรวรรดิอียิปต์ · ดูเพิ่มเติม »

คานาอัน

แผนที่ประเทศอิสราเอลปัจจุบัน ตามคัมภีร์ฮีบรู คานาอันคือบริเวณที่ล้อมรอบด้วยเส้นสีแดง คานาอัน (ฟินิเชีย: 𐤊‏𐤍‏𐤏‏𐤍‏, Kana'n; כְּנָעַן‎ kna-an; كنعان Kanaʿān) คือ ดินแดนของชนเผ่าที่พูดภาษาเซมิติกราวปลายสหัสวรรตที่ 2 ก่อนคริสต์กาล ปัจจุบันครอบคลุมพื้นที่ลิแวนต์ใต้ในตะวันออกกลาง ตรงกับบริเวณที่ตั้งประเทศอิสราเอล เลบานอน ดินแดนปาเลสไตน์ และบางส่วนของประเทศซีเรียและประเทศอียิปต์ มีชายฝั่งทางทิศตะวันตกจรดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คำว่า คานาอัน ปรากฏอยู่บ่อยครั้งในคัมภีร์ไบเบิ้ล หรือพันธสัญญาเดิม โดยบรรยายว่าเป็นดินแดนที่พระยาห์เวห์สัญญามอบให้แก่วงศ์วานอิสราเอล หมวดหมู่:ตะวันออกกลาง หมวดหมู่:อาณาจักรโบราณ.

ใหม่!!: ฟาโรห์แรเมซีสที่ 2และคานาอัน · ดูเพิ่มเติม »

นิวเบีย

ูมิภาคนิวเบียปัจจุบัน นิวเบีย หรือ นูเบีย (Nubia) เป็นภูมิภาคตามแม่น้ำไนล์ซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศซูดานตอนเหนือและประเทศอียิปต์ตอนใต้ เป็นอารยธรรมแรก ๆ ในแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือโบราณ โดยสามารถสืบย้อนประวัติศาสตร์มาแต่ 2,000 ปีก่อนคริสต์ศักราชเป็นต้นมา (ผ่านสิ่งก่อสร้างและสิ่งประดิษฐ์นิวเบีย ตลอดจนบันทึกลายลักษณ์จากอียิปต์และโรม) และเป็นที่ตั้งของจักรวรรดิแห่งหนึ่งของแอฟริกา มีราชอาณาจักรนิวเบียขนาดใหญ่จำนวนหนึ่งตลอดสมัยหลังคลาสสิก ราชอาณาจักรแห่งสุดท้ายล่มสลายใน..

ใหม่!!: ฟาโรห์แรเมซีสที่ 2และนิวเบีย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Ramesses IIRamses IIรามเซสที่ ๒ฟาโรห์รามเสสที่ 2ฟาโรห์รามเสสที่ 2 มหาราชฟาโรห์รามเสสที่สองฟาโรห์รามเซสที่ 2ฟาโรห์รามเซสที่ ๒แรเมซีสที่ 2

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »