โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ฟาโรห์สเมงห์คาเร

ดัชนี ฟาโรห์สเมงห์คาเร

ฟาโรห์สเมงห์คาเร (Smenkhkare หมายถึง พลังอำนาจของวิญญาณแห่งรา) ผู้ได้ครองบัลลังก์ต่อจากฟาโรห์อเคนาเตนเพียงช่วงระยะสั้น ๆ เป็นฟาโรห์ที่ลึกลับที่สุดในบรรดาฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่ 18 นักประวัติศาสตร์บางคนสันนิษฐานว่า พระองค์อาจเป็นพระ อนุชาของฟาโรห์อเคนาเตน บ้างก็อาจจะเป็นพระนางเนเฟอร์ตีติที่ขึ้นครองราชย์เป็นฟาโรห์หญิงโดย เปลี่ยนพระนามใหม่เสียด้วยซ้ำ แต่ไม่ว่าสเมงห์คาเรจะเป็นใคร เขาหรือเธอก็ปกครองอยู่เพียงไม่กี่ปี (ประมาณ 1 ปี, ก่อนคริสต์ศักราช 1356 ปี - ก่อนคริสต์ศักราช 1355 ปี).

6 ความสัมพันธ์: ฟาโรห์ฟาโรห์แอเคนาเทนรา (เทพ)วิญญาณคริสต์ศักราชเนเฟอร์ติติ

ฟาโรห์

หลังรัชสมัยฟาโรห์โจเซอร์ (Djoser) แห่งราชวงศ์ที่ 3 แล้ว มักปรากฏภาพพระเจ้าแผ่นดินอียิปต์ฉลองพระองค์ด้วยศิราภรณ์เนเมส (Nemes), พระมัสสุเทียม, และกระโปรงจีบ ฟาโรห์ (Pharaoh; อ่านว่า เฟโรห์ (ˈ/feɪroʊ/) หรือ แฟโรห์ (/ˈfæroʊ/)) เป็นชื่อตำแหน่งพระเจ้าแผ่นดินอียิปต์โบราณทุกราชวงศ์ มีต้นศัพท์คือคำว่า "pr-aa" แปลว่า บ้านหลังใหญ่ (great house) ซึ่งเป็นคำอุปมาถึง พระราชมนเทียร คำ "ฟาโรห์" นั้นปัจจุบันใช้เรียกพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ของอียิปต์โบราณ แต่ตามประวัติศาสตร์แล้ว เริ่มเรียกพระมหากษัตริย์อียิปต์ว่า "ฟาโรห์" กันในสมัยราชอาณาจักรใหม่ โดยเฉพาะตั้งแต่ช่วงกลางราชวงศ์ที่ 18 เมื่อพ้นรัชกาลของพระนางแฮตเชปซุต (Hatshepsut) ไปแล้วDodson, Aidan and Hilton, Dyan.

ใหม่!!: ฟาโรห์สเมงห์คาเรและฟาโรห์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟาโรห์แอเคนาเทน

รูปสลักฟาโรห์แอเคนาเทน แอเคนาเทน (Akhenaten, Ikhnaton, Akhenaton, Ikhnaton, Khuenaten) หรือ แอเมนโฮเทปที่ 4 (Amenhotep IV) หรือ อาเมโนฟิสที่ 4 (Amenophis IV) เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 10 แห่งราชวงศ์ที่สิบแปดแห่งอียิปต์ (Eighteenth dynasty) ฟาโรห์แอเคนาเทน มีพระมเหสีที่เป็นราชินีที่มีชื่อเสียงโด่งดัง คือ ราชินีเนเฟอร์ติติ (Nefertiti) และพระราชโอรสที่มีชื่อเสียงอีกเช่นกัน คือ ฟาโรห์ทุตอังค์อามุน (Tutankhamun) ฟาโรห์แอเคนาเทน ขึ้นครองราชย์ระหว่าง 1350 ปีก่อนคริสต์ศักราช และครองราชย์อยู่นาน 17 ปี ปัจจุบัน นักประวัติศาสตร์เชื่อว่า พระองค์เป็นฟาโรห์องค์แรกที่ปฏิวัติความเชื่อในอาณาจักรอียิปต์ พระองค์ทรงนับถือพระเจ้าเพียงองค์เดียว คือ อาเตน (Aten) (สุริยเทพ สันนิษฐานว่าเป็นไปได้ว่าอาจเป็นองค์เดียวกับ รา) ถึงขนาดสร้างเมืองใหม่ที่ชื่อ อมาน่า (Amarna) ที่มีศาสนสถานขนาดใหญ่เพื่อบูชาเทพอาเตน พร้อมกับเปลี่ยนพระนามใหม่เป็น แอเคนาเทน ด้วย เพื่อให้เชื่อมโยงกับคำว่า อาเตน (แอเคนาเทน แปลว่า "มีประโยชน์ต่ออาเตน") ซึ่งนักประวัติศาสตร์เชื่อว่า การที่นับถือเทพเจ้าเพียงองค์เดียวของพระองค์นั้น เป็นแรงบันดาลใจให้โมเสสเป็นกบฏต่อฟาโรห์แรเมซีสที่สอง (Ramesses II) ในอีกราว 50 ปี ต่อมา ที่วิหารและราชวังในเมือง อะมานา พระองค์ได้สร้างศิลปกรรมฝาผนังไว้อย่างงดงาม ที่มีบทสรรเสริญเทพอาเตน แต่เมื่อพระองค์สวรรคตลง เมืองอมาน่าแห่งนี้ก็ได้ถูกทิ้งร้างทันที ทายาทรุ่นหลังได้ทำลายวิหารและบทสรรเสริญเหล่านี้เสีย รวมทั้งได้ประนาณพระองค์และทำลายรูปสลักพระพักตร์ของพระองค์ด้วย ซึ่งเชื่อว่า ทั้งนี้เป็นเพราะต้องการทำลายหลักความเชื่อของการนับถือเทพเจ้าองค์เดียว (Monotheism) ภาพฝาผนังที่แสดงถึงฟาโรห์แอเคนาเทน พระนางเนเฟอร์ติติ และพระธิดา 3 องค์ ที่แสดงถึงความนับถือต่อเทพอาเตน (เทพเจ้าทรงฉายแสงอยู่ข้างบน).

ใหม่!!: ฟาโรห์สเมงห์คาเรและฟาโรห์แอเคนาเทน · ดูเพิ่มเติม »

รา (เทพ)

145px รา (Ra) หรือ เร (Re) หรือ อาเมน-รา (Amen-Ra) หรือ อามอน-รา (Amon-Ra) คือ เทพแห่งดวงอาทิตย์ในตำนานเทพเจ้าแห่งไอยคุปต์ของอียิปต์ โบราณสัญลักษณ์ของเทพราคือวงกลมหนุนอยู่บนเรือ แต่ส่วนมากมักเป็นมนุษย์ พระเศียรเป็นนกเหยี่ยว เชื่อว่าถือกำเนิดมาจากแม่น้ำแห่งเทพนุน กายล้อมรอบด้วยกลีบดอกบัว ทุกวันเมื่อเข้าสู่ราตรีกาล เทพราจะกลับมาบรรทมในดอกบัวนี้ สัญลักษณ์ของพระองค์เป็นนกศักดิ์สิทธิ์ เรียกว่า นกเบนนู (Bennu bird) เกาะที่ยอดพีระมิด ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งแสงอาทิตย์ เทพราเป็นดั่งบิดาแห่งมวลมนุษย์และสรรพสิ่งทั้งหลาย ทรงสร้างเทพชู เทพแห่งลม เทพีเตฟนุต เทวีแห่งสายฝน เทพเกบ เทพแห่งปฐพี เทพีนัต เทวีแห่งท้องฟ้าและ เทพฮาปี เทพแห่งแม่น้ำนิลนาม เทพรามีหลายพระนามด้วยกันคือ ในตอนเช้ามักถูกเรียกว่า เฆปรี (Khepri) หรือ เฆเปรา (Khepera) เรียกว่าราในตอนกลางวัน และตุม (Tum) หรืออาตุม (Atum) ในตอนเย็น เทพรา จะเสด็จออกจากเมืองเฮลีโอโปลิสพร้อมกับเหล่าเทพเจ้า โดยใช้เรือสุริยันเป็นยานพาหนะ เพื่อตรวจเยื่ยมราษฎรในแคว้นทั้ง 12 แคว้น ทำให้เกิดแสงอาทิตย์ตลอด 12 ชั่วโมงใน 1 วัน และในเวลากลางคืนพระองค์จะท่องไปในแดนมตภพดูอัตจากฝั่งตะวันตกไปฝั่งตะวันออก และมีตำนานเกี่ยวกับเทพราอีกมากมาย แต่ก่อนเทพราจะมีเฉพาะฟาโรห์เท่านั้นที่สักการะได้.

ใหม่!!: ฟาโรห์สเมงห์คาเรและรา (เทพ) · ดูเพิ่มเติม »

วิญญาณ

วิญญาณ (soul; जीव) ในทางปรัชญาหมายถึงสิ่งซึ่งเชื่อกันว่าเป็นสารัตถะของชีวิตมนุษย์ อาจรวมถึงสิ่งมีชีวิตประเภทอื่น ๆ ด้วย วิญญาณเป็นสิ่งที่ไม่เน่าเปื่อย เป็นอมตะ ศาสนาอับราฮัมเชื่อว่าเฉพาะมนุษย์เท่านั้นที่มีวิญญาณ มนุษย์จึงเป็นสิ่งมีชีวิตประเภทเดียวที่ไม่ตาย (ในส่วนวิญญาณ) และอาจไปรวมกับพระเป็นเจ้าได้ ขณะที่ศาสนาอื่น ๆ บางศาสนา เช่น ศาสนาเชนเชื่อว่าไม่เฉพาะมนุษย์แต่สิ่งมีชีวิตทุกชีวิตมีวิญญาณ ส่วนลัทธิวิญญาณนิยมเชื่อว่าทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต (เช่น แม่น้ำ ภูเขา) ล้วนมีวิญญาณทั้งสิ้น บางลัทธิเชื่อว่าโลกก็มีวิญญาณเรียกว่าวิญญาณโลก หรืออาตมันในศาสนาฮินดู คำว่าวิญญาณ มักมีความหมายแนวเดียวกับจิต สปิริต และตัวตน.

ใหม่!!: ฟาโรห์สเมงห์คาเรและวิญญาณ · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศักราช

ริสต์ศักราช (Anno Domini Nostri Iesu Christi Anno Domini: AD หรือ A.D. ส: คฺฤสฺตศกฺราช ป: คิตฺถสกฺกาช) เขียนย่อว.. หมายถึง ปีของพระเยซูคริสต์ โดยเริ่มนับจากปีที่เชื่อว่าพระเยซูทรงประสูติ เป็น..

ใหม่!!: ฟาโรห์สเมงห์คาเรและคริสต์ศักราช · ดูเพิ่มเติม »

เนเฟอร์ติติ

รูปแกะสลักในท่ายืนของเนเฟอร์ติติจากเมืองอามาร์นา ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์อียิปต์ แห่งกรุงเบอร์ลิน รูปแกะสลักของเนเฟอร์ติติกับ อาเคนาเตน และธิดาสามองค์ จากเมืองอามาร์นา ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์อียิปต์ แห่งกรุงเบอร์ลิน เนเฟอร์ติติ (1370 - 1330 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นราชินีของฟาโรห์อาเมนโฮเทป ที่ 4 แห่งอียิปต์ (ภายหลังได้เปลี่ยนพระนามมาเป็นอาเคนาเทน) และพระมารดาสะใภ้ของฟาโรห์ตุตันคามุน กล่าวกันว่าเนเฟอร์ติติอาจเคยขึ้นครองบัลลังก์อียิปต์เป็นช่วงเวลาสั้นๆหลังจากพระสวามีสิ้นพระชนม์ และก่อนที่ฟาโรห์ตุตันคามุนจะเถลิงศิริราชสมบัติ แต่ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันในหมู่นักวิชาการ ชื่อของพระนางอาจแปลได้โดยสังเขปว่า โฉมงามผู้มาสู่ และยังพ้องกับคำเรียกเครื่องประดับชนิดหนึ่งที่เป็นลูกปัดทองคำรูปยาวรี ดังที่เราเห็นรูปปั้นของเธอสวมใส่อยู่เสมอ ลูกปัดชนิดนี้เรียกว่า ลูกปัด"เนเฟอร์" เนเฟอร์ติติโด่งดังจากรูปปั้นท่อนบน ที่ตอนนี้จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์อียิปต์แห่งชาติเยอรมนีในนครเบอร์ลิน รูปปั้นดังกล่าวเป็นรูปที่ถูกทำเลียนแบบซ้ำมากที่สุดในบรรดาศิลปวัตถุของไอยคุปต์ สร้างขึ้นโดยประติมากร Djhutmose และถูกค้นพบในห้องทำงานศิลปะของเขา รูปปั้นท่อนบนนี้มีชื่อเสียงโด่งดังเนื่องจากเป็นตัวอย่างของความเข้าใจอย่างถ่องแท้ของชาวอียิปต์โบราณเกี่ยวสัดส่วนขององค์ประกอบบนใบหน้า พระนางถูกเรียกขานมากมายหลายชื่อ ที่วิหารคาร์นัก มีศิลาจารึกที่ขานพระนางว่าเป็น 'ผู้สืบทอด' 'ที่สุดของผู้เป็นที่โปรดปราน' 'ผู้มีสเน่ห์' 'ผู้แผ่ความสุข' 'ชายาผู้อ่อนหวาน' 'ผู้เป็นที่รัก' 'ผู้ปลอบประโลมหัวใจขององค์ราชาในวัง' 'ผู้มีถ้อยคำอ่อนโยน' 'ชายาแห่งอียิปต์ตอนบนและอียิปต์ตอนล่าง' 'ชายาของกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่' 'ผู้ที่กษัตริย์ทรงรัก' 'สตรีแห่งดินแดนทั้งสอง' 'เนเฟอร์ติติ'.

ใหม่!!: ฟาโรห์สเมงห์คาเรและเนเฟอร์ติติ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

สเมงห์คาเร

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »