โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ฟาโรห์ทุตอังค์อามุนและหุบเขากษัตริย์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ฟาโรห์ทุตอังค์อามุนและหุบเขากษัตริย์

ฟาโรห์ทุตอังค์อามุน vs. หุบเขากษัตริย์

ทุตอังค์อามุน (Tutankhamun) เป็นฟาโรห์อียิปต์จากราชวงศ์ที่ 18 เสวยราชย์ตั้งแต่ราวปีที่ 1332 ถึง 1323 ก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นช่วงเวลาในประวัติศาสตร์อียิปต์ที่เรียกว่า "อาณาจักรใหม่" พระองค์มีพระนามเดิมว่า "ทุตอังค์อาเท็น" (Tutankhaten) หมายความว่า "องค์อวตารแห่งอาเท็น" ส่วนพระนาม "ทุตอังค์อามุน" หมายความว่า "องค์อวตารแห่งอามุน" พระนามหลังนี้ในอักษรไฮเออโรกลิฟส์ (hieroglyphs) เขียนว่า "อาเมน-ทุต-อังค์" (Amen-tut-ankh) เพราะตามประเพณีแล้วต้องเอานามเทพยดาขึ้นก่อน นอกจากนี้ เป็นไปได้ว่า พระองค์คือ "นีบูร์เรเรยา" (Nibhurrereya) ดังที่เขียนไว้ด้วยอักษรอะมาร์นา และ "ราโททิส" (Rathotis) พระเจ้าแผ่นดินในราชวงศ์ที่ 18 ซึ่งมาเนโท (Manetho) นักประวัติศาสตร์ ระบุว่า เสด็จอยู่ในพระราชสมบัติ 9 ปี ในปี 1922 เฮาเวิร์ด คาร์เตอร์ (Howard Carter) กับจอร์จ เฮอร์เบิร์ต เอิร์ลที่ 5 แห่งคาร์นาวอน (George Herbert, 5th Earl of Carnarvon) ค้นพบสุสานของพระองค์ซึ่งอยู่ในสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ การค้นพบดังกล่าวได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนทั่วโลก ทั้งยังก่อให้สาธารณชนกลับมาสนใจอียิปต์โบราณ และหน้ากากพระศพก็ได้รับการใช้เป็นสัญลักษณ์ของอียิปต์โบราณมาจนทุกวันนี้ ข้าวของเครื่องใช้จากสุสานของพระองค์ยังได้รับการนำพาไปจัดแสดงทั่วโลก ครั้นเดือนกุมภาพันธ์ 2010 ผลตรวจทางพันธุกรรมยืนยันว่า พระองค์เป็นพระโอรสฟาโรห์แอเคนาเท็น (Akhenaten) กับพระกนิษฐภคินีพระองค์ 1 ของแอเคนาเท็นซึ่งบัดนี้ยังไม่ทราบพระนามและพระศพได้รับการเรียกขานว่า "ท่านหญิงน้อย" (The Younger Lady). นที่ตั้งของหุบเขาในหุบเขาธีบัน ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไนล์ ในเดือนตุลาคม 1988 (ลูกศรแดง แสดงถึงที่ตั้ง) หุบเขากษัตริย์ (وادي الملوك Wādī al-Mulūk; The Valley of the Kings) เป็นหุบเขาในประเทศอียิปต์ เป็นหลุมศพของกษัตริย์และราชวงศ์ในราชอาณาจักรใหม่ (ตั้งแต่ราชวงศ์ที่ 18 ถึง 20 ของอียิปต์โบราณ).

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ฟาโรห์ทุตอังค์อามุนและหุบเขากษัตริย์

ฟาโรห์ทุตอังค์อามุนและหุบเขากษัตริย์ มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ลักซอร์อียิปต์โบราณเควี 62

ลักซอร์

ลักซอร์ (Luxor; الأقصر) เป็นนครในประเทศอียิปต์ เป็นเมืองหลวงของเขตผู้ว่าการลักซอร์ มีประชากร 487,896 คน (ค.ศ. 2010) (retrieved 2010-7-27) เมืองมีพื้นที่ราว 416 ตร.กม.

ฟาโรห์ทุตอังค์อามุนและลักซอร์ · ลักซอร์และหุบเขากษัตริย์ · ดูเพิ่มเติม »

อียิปต์โบราณ

มมฟิสและสุสานโบราณ อียิปต์โบราณ หรือ ไอยคุปต์ เป็นหนึ่งในอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ทางตอนตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา มีพื้นที่ตั้งแต่ตอนกลางจนถึงปากแม่น้ำไนล์ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศอียิปต์ อารยธรรมอียิปต์โบราณเริ่มขึ้นประมาณ 3150 ปีก่อนคริตศักราช โดยการรวมอำนาจทางการเมืองของอียิปต์ตอนเหนือและตอนใต้ ภายใต้ฟาโรห์องค์แรกแห่งอียิปต์ และมีการพัฒนาอารยธรรมเรื่อยมากว่า 5,000 ปี ประวัติของอียิปต์โบราณปรากฏขึ้นในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรือที่รู้จักกันว่า "ราชอาณาจักร" มีการแบ่งยุคสมัยของอียิปต์โบราณเป็นราชอาณาจักร ส่วนมากแบ่งตามราชวงศ์ที่ขึ้นมาปกครอง จนกระทั่งราชอาณาจักรสุดท้าย หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า "ราชอาณาจักรกลาง" อารยธรรมอียิปต์อยู่ในช่วงที่มีการพัฒนาที่ยมาก และส่วนมากลดลง ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันที่อียิปต์ชนพ่ายต่อการทำสงครามจากชาติอื่น ดังเช่นชาวอัสซีเรียและเปอร์เซีย จนกระทั่งเมื่อ 332 ปีก่อนคริสตศักราช ก็เป็นการสิ้นสุดอารยธรรมอียิปต์โบราณลง เมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชสามารถยึดครองอียิปต์ และจัดอียิปต์เป็นเพียงจังหวัดหนึ่งในจักรวรรดิมาซิโดเนีย อารยธรรมอียิปต์พัฒนาการมาจากสภาพของลุ่มแม่น้ำไนล์ การควบคุมระบบชลประทาน, การควบคุมการผลิตพืชผลทางการเกษตร พร้อมกับพัฒนาอารยธรรมทางสังคม และวัฒนธรรม พื้นที่ของอียิปต์นั้นล้อมรอบด้วยทะเลทรายเสมือนปราการป้องกันการรุกรานจากศัตรูภายนอก นอกจากนี้ยังมีการทำเหมืองแร่ และอียิปต์ยังเป็นชนชาติแรกๆที่มีการพัฒนาการด้วยการเขียน ประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้,การบริหารอียิปต์เน้นไปทางสิ่งปลูกสร้าง และการเกษตรกรรม พร้อมกันนั้นก็มีการพัฒนาการทางทหารของอียิปต์ที่เสริมสร้างความแข็งแกร่งแก่ราชอาณาจักร โดยประชาชนจะให้ความเคารพกษัตริย์หรือฟาโรห์เสมือนหนึ่งเทพเจ้า ฟาโรห์มีอำนาจและโหดร้ายมาก ทำให้การบริหารราชการบ้านเมืองและการควบคุมอำนาจนั้นทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ชาวอียิปต์โบราณไม่ได้เป็นเพียงแต่นักเกษตรกรรม และนักสร้างสรรค์อารยธรรมเท่านั้น แต่ยังเป็นนักคิด, นักปรัชญา ได้มาซึ่งความรู้ในศาสตร์ต่างๆมากมายตลอดการพัฒนาอารยธรรมกว่า 4,000 ปี ทั้งในด้านคณิตศาสตร์, เทคนิคการสร้างพีระมิด, วัด, โอเบลิสก์, ตัวอักษร และเทคนิคโลยีด้านกระจก นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาประสิทธิภาพทางด้านการแพทย์, ระบบชลประทานและการเกษตรกรรม อียิปต์ทิ้งมรดกสุดท้ายแก่อนุชนรุ่นหลังไว้คือศิลปะ และสถาปัตยกรรม ซึ่งถูกคัดลอกนำไปใช้ทั่วโลก อนุสรณ์สถานที่ต่างๆในอียิปต์ต่างดึงดูดนักท่องเที่ยว นักประพันธ์กว่าหลายศตวรรษที่ผ่านมา ปัจจุบันมีการค้นพบวัตถุใหม่ๆในอียิปต์มากมายซึ่งกำลังตรวจสอบถึงประวัติความเป็นมา เพื่อเป็นหลักฐานให้แก่อารยธรรมอียิปต์ และเป็นหลักฐานแก่อารยธรรมของโลกต่อไป.

ฟาโรห์ทุตอังค์อามุนและอียิปต์โบราณ · หุบเขากษัตริย์และอียิปต์โบราณ · ดูเพิ่มเติม »

เควี 62

วี 62 (KV62) เป็นชื่อสุสานในหุบผากษัตริย์ (Valley of the Kings) ประเทศอียิปต์ ที่ไว้พระศพของทุตอังค์อามุน (Tutankhamun) และมีชื่อเสียงเพราะทรัพย์สมบัติที่พบข้างใน ในปี 1922 เฮาเวิร์ด คาร์เตอร์ (Howard Carter) พบสุสานนี้อยู่ในหุบผาซึ่งมีซากบ้านเรือนคนงานที่สร้างขึ้นในสมัยอาณาจักรใหม่ปกคลุมอยู่ นี้เป็นเหตุผลที่สุสานรอดพ้นจากการระดมขุดกรุอย่างร้ายแรงที่สุดในช่วงนั้น เมื่อพบสุสานแล้ว ปรากฏว่า ภายในมีข้าวของเรียงไว้ระเกะระกะ คาร์เตอร์ได้ถ่ายภาพพวงมาลัยพวงหนึ่งไว้ซึ่งพอแตะแล้วก็สลายเป็นผงธุลีไป การขนทรัพย์สินออกจากสุสานใช้เวลา 8 ปี เนื่องจากสภาพของสุสานเอง และความประสงค์ของคาร์เตอร์ที่จะบันทึกข้อมูลไว้ให้ละเอียดที่สุด ทรัพย์สินดังกล่าวขนไปไว้ที่พิพิธภัณฑ์อียิปต์ในกรุงไคโร หลังฝังพระศพแล้วไม่นาน ขโมยขึ้นสุสานนี้อย่างน้อย 2 ครั้ง พระทวารบานนอกสุดของห้องไว้พระศพนั้นถูกเปิดทิ้งไว้และมิได้ลั่นดาล มีการประเมินว่า ร้อยละ 60 ของอัญมณีในพระคลังของสุสานถูกลักพาออกไป.

ฟาโรห์ทุตอังค์อามุนและเควี 62 · หุบเขากษัตริย์และเควี 62 · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ฟาโรห์ทุตอังค์อามุนและหุบเขากษัตริย์

ฟาโรห์ทุตอังค์อามุน มี 26 ความสัมพันธ์ขณะที่ หุบเขากษัตริย์ มี 9 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 8.57% = 3 / (26 + 9)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ฟาโรห์ทุตอังค์อามุนและหุบเขากษัตริย์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »