พิพิธภัณฑ์บริติชและฟาโรห์ทุตอังค์อามุน
ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง
ความแตกต่างระหว่าง พิพิธภัณฑ์บริติชและฟาโรห์ทุตอังค์อามุน
พิพิธภัณฑ์บริติช vs. ฟาโรห์ทุตอังค์อามุน
้านหน้าของ '''บริติช มิวเซียม''' ใจกลางของพิพิธภัณฑ์มีการรื้อพัฒนาใหม่ใน ปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) ให้เป็นมหาราชสำนักของสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 ล้อมรอบห้องอ่านหนังสือเดิม ห้องสมุดอันโด่งดังภายในบริติชมิวเซียม บริติชมิวเซียม หรือที่นิยมเรียกกันว่า พิพิธภัณฑ์อังกฤษ (British Museum) ในกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์ด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของมนุษยที่สำคัญที่สุดและใหญ่ที่สุดในโลก มีการก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2296 (ค.ศ. 1753) ในเบื้องต้นวัตถุที่เก็บรวบรวมไว้ส่วนใหญ่เป็นของสะสมของเซอร์ แฮนส์ สโลน (Hans Sloane) ซึ่งเป็นแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เปิดให้บริการแก่สาธารณะเป็นครั้งแรกในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2302 (ค.ศ. 1759) ในมงตากูเฮาส์ เมืองบลูมส์เบอร์รี กรุงลอนดอน อันเป็นสถานที่ตั้งของอาคารพิพิธภัณฑ์ในปัจจุบัน บริติชมิวเซียมเป็นแหล่งรวบรวมวัตถุต่างๆ จากทุกทวีป จำนวนกว่า 7 ล้านชิ้น ซึ่งล้วนมีชื่อเสียง และมีการบันทึกเรื่องราวของวัฒนธรรมมนุษน์จากจุดเริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน วัตถุจำนวนมากถูกเก็บไว้ในชั้นใต้ดินของพิพิธภัณฑ์ เนื่องจากไม่มีเนื้อที่เพียงพอ ประธานอำนวยการพิพิธภัณฑ์คนปัจจุบัน คือเซอร์ จอห์น บอยด์ (John Boyd) และผู้อำนวยการคือ นีล แมกกรีเกอร์ (Neil MacGregor) บริติชมิวเซียมนั้นคล้ายกับพิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่และหอศิลปะอื่นๆ ในอังกฤษ นั่นคือ ไม่คิดค่าเข้าชม แต่อาจคิดค่าธรรมเนียมพิเศษสำหรับการจัดแสดงพิเศษชั่วคราว บริติชมิวเซียมนับว่าให้ประสบการณ์การเรียนรู้แก่ทุกคน นับตั้งแต่นักเรียน ครอบครัว จนถึงผู้ใหญ่ และยังมีประกาศนียบัตรหลังปริญญาตรี ที่เน้นศิลปะยุคคลาสสิกและศิลป์ตกแต่งของเอเชียด้ว. ทุตอังค์อามุน (Tutankhamun) เป็นฟาโรห์อียิปต์จากราชวงศ์ที่ 18 เสวยราชย์ตั้งแต่ราวปีที่ 1332 ถึง 1323 ก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นช่วงเวลาในประวัติศาสตร์อียิปต์ที่เรียกว่า "อาณาจักรใหม่" พระองค์มีพระนามเดิมว่า "ทุตอังค์อาเท็น" (Tutankhaten) หมายความว่า "องค์อวตารแห่งอาเท็น" ส่วนพระนาม "ทุตอังค์อามุน" หมายความว่า "องค์อวตารแห่งอามุน" พระนามหลังนี้ในอักษรไฮเออโรกลิฟส์ (hieroglyphs) เขียนว่า "อาเมน-ทุต-อังค์" (Amen-tut-ankh) เพราะตามประเพณีแล้วต้องเอานามเทพยดาขึ้นก่อน นอกจากนี้ เป็นไปได้ว่า พระองค์คือ "นีบูร์เรเรยา" (Nibhurrereya) ดังที่เขียนไว้ด้วยอักษรอะมาร์นา และ "ราโททิส" (Rathotis) พระเจ้าแผ่นดินในราชวงศ์ที่ 18 ซึ่งมาเนโท (Manetho) นักประวัติศาสตร์ ระบุว่า เสด็จอยู่ในพระราชสมบัติ 9 ปี ในปี 1922 เฮาเวิร์ด คาร์เตอร์ (Howard Carter) กับจอร์จ เฮอร์เบิร์ต เอิร์ลที่ 5 แห่งคาร์นาวอน (George Herbert, 5th Earl of Carnarvon) ค้นพบสุสานของพระองค์ซึ่งอยู่ในสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ การค้นพบดังกล่าวได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนทั่วโลก ทั้งยังก่อให้สาธารณชนกลับมาสนใจอียิปต์โบราณ และหน้ากากพระศพก็ได้รับการใช้เป็นสัญลักษณ์ของอียิปต์โบราณมาจนทุกวันนี้ ข้าวของเครื่องใช้จากสุสานของพระองค์ยังได้รับการนำพาไปจัดแสดงทั่วโลก ครั้นเดือนกุมภาพันธ์ 2010 ผลตรวจทางพันธุกรรมยืนยันว่า พระองค์เป็นพระโอรสฟาโรห์แอเคนาเท็น (Akhenaten) กับพระกนิษฐภคินีพระองค์ 1 ของแอเคนาเท็นซึ่งบัดนี้ยังไม่ทราบพระนามและพระศพได้รับการเรียกขานว่า "ท่านหญิงน้อย" (The Younger Lady).
ความคล้ายคลึงกันระหว่าง พิพิธภัณฑ์บริติชและฟาโรห์ทุตอังค์อามุน
พิพิธภัณฑ์บริติชและฟาโรห์ทุตอังค์อามุน มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ พิพิธภัณฑ์บริติชและฟาโรห์ทุตอังค์อามุน มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง พิพิธภัณฑ์บริติชและฟาโรห์ทุตอังค์อามุน
การเปรียบเทียบระหว่าง พิพิธภัณฑ์บริติชและฟาโรห์ทุตอังค์อามุน
พิพิธภัณฑ์บริติช มี 8 ความสัมพันธ์ขณะที่ ฟาโรห์ทุตอังค์อามุน มี 26 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (8 + 26)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง พิพิธภัณฑ์บริติชและฟาโรห์ทุตอังค์อามุน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: