โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พายุหมุนเขตร้อน

ดัชนี พายุหมุนเขตร้อน

รนแบนด์โดยรอบ, และลักษณะของพายุหมุนเขตร้อน ที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนจากอวกาศ พายุหมุนเขตร้อน คือ ระบบพายุที่พัฒนามาจากศูนย์กลางของหย่อมความกดอากาศต่ำ, ลมแรง และการจัดเกลียวของพายุฝนฟ้าคะนอง ทั้งนี้ขึ้นกับสถานที่และความรุนแรง ซึ่งเกิดขึ้นบริเวณเขตร้อนของโลก ซึ่งมีชื่อเรียกต่างๆ กัน เช่น พายุเฮอร์ริเคน, พายุโซนร้อน, พายุไซโคลน, พายุดีเปรสชันเขตร้อน และพายุไซโคลนอย่างง่าย โดยทั่วไปรูปแบบพายุหมุนเขตร้อนจะมีขนาดใหญ่ขึ้นกับความสัมพันธ์กับน้ำอุ่น โดยพายุจะได้รับพลังงานผ่านการระเหยของน้ำบริเวณพื้นผิวมหาสมุทร ซึ่งในที่สุดน้ำเหล่านั้นจะควบแน่นอีกครั้งและเข้าไปอยู่ในกลุ่มเมฆและฝน เมื่ออากาศชื้นและความเย็นอิ่มตัว ซึ่งแหล่งพลังงานนี้จะแตกต่างกับพายุหมุนละติจูดกลาง ตัวอย่างเช่น นอร์อิสเทิร์น และพายุลมยุโรป ซึ่งได้รับพลังพลักดันหลักจากความแตกต่างของอุณหภูมิในแนวนอน โดยลมหมุนวนรอบอย่างรุนแรงของพายุหมุนเขตร้อนนั้นเป็นผลมาจากการอนุรักษ์โมเมนตัมเชิงมุม ซึ่งเกิดจากสภาวะการหมุนรอบตัวเองของโลก ขณะที่อากาศไหลเข้ามาสู่แกนกลางของการหมุน ผลที่ตามมา คือ พายุมักไม่ค่อยเกิดขึ้นภายใน 5° จากศูนย์สูตร พายุหมุนเขตร้อนโดยทั่วไปเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ 100 - 4,000 กิโลเมตร คำว่า พายุหมุน (หรือไซโคลน) หมายถึง พายุหมุนตามธรรมชาติ ซึ่งลมจะพัดหมุนทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือ และจะพัดหมุนตามเข็มนาฬิกาในซีกโลกใต้ ซึ่งทิศทางตรงข้ามการของการไหลเวียนลม เป็นผลมาจากคอริโอลิส ส่วนคำว่า เขตร้อน หมายถึง แหล่งกำเนิดของพายุทางภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นรูปแบบพิเศษของทะเลในเขตร้อน นอกจากลมแรงและฝนตก พายุหมุนเขตร้อนมีความสามารถในการสร้างคลื่นสูง และก่อให้เกิดความเสียหายจากน้ำขึ้นจากพายุ และทอร์นาโด ซึ่งมักจะลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงที่พายุอยู่บนแผ่นดิน เนื่องจากถูกตัดขาดจากแหล่งพลังงานหลักของมัน จากเหตุผลนี้ ทำให้บริเวณชายฝั่งทะเล มักมีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายจากพายุหมุนเขตร้อนมากกว่า เมื่อเทียบกับในแผ่นดิน อย่างไรก็ตามในแผ่นดินเองก็เกิดความเสียหายได้จากน้ำท่วมบนแผ่นดิน จากฝนตกหนัก และน้ำขึ้นจากพายุสามารถก่อให้เกิดน้ำท่วมบนแผ่นดินได้กว้างถึง 40 กิโลเมตร จากชายฝั่งทะเล แม้ว่าพายุหมุนเขตร้อนจะส่งผลกระทบต่อประชากรมนุษย์มหาศาล แต่พายุยังสามารถช่วยบรรเทาภาวะภัยแล้งได้ พวกมันยังพาพลังงานความร้อนออกไปจากเขตร้อน ข้ามผ่านไปยังละติจูดในเขตอบอุ่น ซึ่งอาจมีบทบาทสำคัญในการปรับเปลี่ยนสภาวะภูมิอากาศในระดับภูมิภาคและระดับโลก.

93 ความสัมพันธ์: บริเวณความกดอากาศต่ำชะวากทะเลพลังงานกลพายุพายุฟ้าคะนองพายุหมุนนอกเขตร้อนพายุหมุนเขตร้อนพายุโซนร้อนแฮเรียตพายุไต้ฝุ่นเกย์พายุเฮอร์ริเคนแคทรีนากรมอุตุนิยมวิทยาฟีจีกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นกรดกวมกองทัพเรือสหรัฐการบริโภคพลังงานของโลกการควบแน่นการตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อนการแผ่รังสีความร้อนการแปรใช้ใหม่ภัยแล้งภาษากรีกภาษากวางตุ้งมาตรฐานภาษาอาหรับภาษาอูรดูภาษาฮินดีภาษาโปรตุเกสภาษาเปอร์เซียภูมิอากาศมหาวิทยาลัยฟลอริดามหาวิทยาลัยวอชิงตันมหาสมุทรมหาสมุทรอินเดียมหาสมุทรแอตแลนติกมหาสมุทรแปซิฟิกมาตราเฮอร์ริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สันยูเอสเอทูเดย์ระดับน้ำทะเลรัฐบาลกลางสหรัฐฤดูกาลลมลมค้าลมเฉือนละติจูดลานีญาศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมสภาวะสมดุลอุทกสถิตสมมูลทีเอ็นทีสถานีอวกาศนานาชาติ...สงครามโลกครั้งที่สองสเกลพายุหมุนเขตร้อนสเปกตรัมมองเห็นได้หยาดน้ำฟ้าอาวุธนิวเคลียร์อินฟราเรดองค์การอุตุนิยมวิทยาโลกอ่าวไทยจูลทอร์นาโดดาวเทียมความกดอากาศความร้อนความร้อนแฝงจำเพาะงาน (ฟิสิกส์)ตา (พายุหมุน)ซีกโลกใต้ซีกโลกเหนือประเทศบราซิลประเทศฟิลิปปินส์ประเทศจีนปริภูมิสามมิตินครนิวยอร์กน้ำน้ำท่วมน้ำขึ้นจากพายุแอนไทไซโคลนแอ่งพายุหมุนเขตร้อนโมเมนตัมเชิงมุมโทรโพพอสโทรโพสเฟียร์ไมโครซอฟท์ พาวเวอร์พอยต์ไทฟอนไต้ฝุ่นเมฆเรดาร์เส้นศูนย์สูตรเส้นแบ่งเขตวันสากลเอลนีโญเทพปกรณัมกรีกเขตร้อนเครื่องจักรความร้อนเครื่องจักรความร้อนการ์โนต์ ขยายดัชนี (43 มากกว่า) »

บริเวณความกดอากาศต่ำ

การหมุนทวนเข็มนาฬิกาของบริเวณความกดอากาศต่ำในซีกโลกเหนือ บริเวณเหนือประเทศไอซ์แลนด์ การหมุนตามเข็มนาฬิกาของบริเวณความกดอากาศต่ำในซีกโลกใต้(ในภาพเป็นบริเวณทางใต้ของประเทศออสเตรเลีย) บริเวณจุดศูนย์กลางมักจะเป็นบริเวณที่มีค่าความกดอากาศต่ำสุด บริเวณความกดอากาศต่ำ หรือ หย่อมความกดอากาศต่ำ (Low-pressure area) คือ บริเวณที่มีค่าความกดอากาศต่ำจากการเปรียบเทียบกับบริเวณรอบโดยรอบ การเกิดความกดอากาศต่ำ เกิดจากการที่มวลของอากาศได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ มวลอากาศจะยกตัวสูงขึ้นทำให้ความกดอากาศบริเวณนั้นมีค่าลดลง เมื่อมวลอากาศที่ลอยตัวขึ้นเนี่องจากความร้อนเย็นตัวลงด้านบนทำให้เกิดเป็นเมฆขึ้น โดยทั่วไปท้องฟ้าบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำจะมีเมฆปกคลุม ผลคือทำให้อุณหภูมิของพื้นที่นั้นลดลงจากการสะท้อนแสงและคลื่นที่มาจากดวงอาทิตย์ในช่วงเวลากลางวัน ในยุโรปการเรียกชื่อบริเวณความกดอากาศต่ำจะใช้ชื่อเรียกว่า "ดีเปรสชั่น" (depression).

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและบริเวณความกดอากาศต่ำ · ดูเพิ่มเติม »

ชะวากทะเล

ริเวณปากชะวากทะเล ชะวากทะเลบริเวณปากน้ำรีโอเดลาปลาตา (Río de la Plata) อเมริกาใต้ ชะวากทะเลบริเวณปากแม่น้ำนิท (Nith River) สกอตแลนด์ ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงลักษณะชะวากทะเล บริเวณปากแม่น้ำแอมะซอน ชะวากทะเล (Estuary) คือ บริเวณส่วนล่างของปากแม่น้ำที่มีความกว้างมากจนมีลักษณะคล้ายอ่าว ตอนบนของชะวากทะเลนั้นจะตอบแหลมเป็นรูปกรวยและจะค่อยขยายขนาดออกไปเมื่อเข้าหาในส่วนที่เป็นทะเลมากขึ้น บริเวณนี้เป็นบริเวณที่มีการผสมกันระหว่างน้ำจืดกับน้ำเค็ม เนื่องจากเป็นพื้นที่บริเวณปากแม่น้ำยุบตัวลงสู่แนวชายฝั่งทะเลจึงได้รับอิทธิพลของน้ำทะเล ตัวอย่างของชะวากทะเลในประเทศไทย ได้แก่ บริเวณปากแม่น้ำกระบุรี จังหวัดระนอง, ปากแม่น้ำเวฬุ จังหวัดจันทบุรี และปากแม่น้ำชุมพร จังหวัดชุมพร โดยชะวากทะเลที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ อ่าวเซนต์ลอว์เรนซ์ ในประเทศแคนาดา ที่มีความกว้างถึง 145 กิโลเมตร ชะวากทะเล เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลที่มีแม่น้ำหรือลำธารไหลผ่านเชื่อมต่อลงสู่ทะเล ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เกิดขึ้นบริเวณรอยต่อระหว่างสภาพแวดล้อมแบบทางน้ำและสภาพแวดล้อมแบบทะเล จึงทำให้พื้นที่ในบริเวณนี้ได้รับทั้งอิทธิพลจากทะเลอันได้แก่ น้ำขึ้น - น้ำลง, คลื่นและการไหลเวียนของน้ำเกลือ รวมถึงอิทธิพลจากแม่น้ำอันได้แก่ ตะกอนและการไหลเวียนของน้ำจืด ซึ่งการที่มีน้ำจืดและน้ำเค็มไหลเวียนแบบนี้นั้นส่งผลให้พื้นที่ชะวากทะเลประกอบด้วยธาตุอาหารที่สำคัญจำนวนมาก จึงเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการเป็นแหล่งอาศัยของสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดได้ ชะวากทะเลที่พบในปัจจุบันนั้นส่วนใหญ่เป็นชะวากทะเลที่เกิดขึ้นในช่วงยุคโฮโลซีน (Holocene) โดยการไหลท่วมของแม่น้ำหรือการกัดเซาะจากธารน้ำแข็งในช่วงที่มีก่รเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลในช่วงประมาณ 10,000 - 12,000 ปีที่ผ่านมา และการจำแนกลักษณะของชะวากทะเลนั้นจะอาศัยลักษณะทางธรณีสัณฐานหรือรูปแบบการไหลของน้ำในการจำแนก ซึ่งหมายถึงการจำแนกเป็นอ่าว (Bay) หรือลากูน (Lagoon) เป็นต้น ชะวากทะเลเป็นพื้นที่มีประชากรมาอาศัยอยู่จำนวนมาก คือประมาณร้อยละ 60 จากประชากรทั้งหมดของโลกที่ชอบอาศัยตามแนวชายฝั่งทะเลและชะวากทะเล เป็นผลให้พื้นที่ชะวากทะเลนี้ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก เพราะได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆได้แก่ การตกตะกอนของตะกอนจากการพังทลายของหน้าดินเนื่องจากการตัดไม้ทำลายป่า การเพิ่มความเข้มข้นของปริมาณสารเคมีในระบบนิเวศจากสิ่งปฏิกูลและมูลสัตว์ (Eutrophication) มลพิษจากโลหะหนัก, สารพีซีบีเอส (PCBs), ธาตุกัมมันตรังสีและสารประกอบไฮโดรคาร์บอนจากสิ่งปฏิกูล และแนวกั้นน้ำหรือเขื่อนที่ใช้ในการควบคุมปริมาณการไหลของน้ำ.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและชะวากทะเล · ดูเพิ่มเติม »

พลังงานกล

ลังงานกลคือพลังงานที่เกิดจากการกระทำของแรงที่ เกี่ยวข้องกับ การเคลื่อนที่ของวัตถุ หรือวัตถุพร้อมที่จะเคลื่อนที่ เช่นลูกมะพร้าวซึ่งจะลงบนพื้นดิน พลังงาที่สำคัญ 2 อย่างคือ พลังงานจลน์ พลังงานศักย์ 1.พลังงานจลน์ เป็นพลังงานของวัตถุขณะเคลื่อนที่ เราสามารถหาค่าพลังงานจลน์ของวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ เช่นจรวด รถยนต์ เป็นต้น 2.พลังงานศักย์ เป็นพลังงานที่สะสมอยู่ในวัตถุพร้อมที่จะทำงาน พลังงานศักย์ แบ่ง 2 ชนิดคือ จากกรณีที่กล่าวมาจะเห็นว่า เมื่อวัตถุ อยู่สูงจากระดับพื้นดิน วัตถุจะมีพลังงานในตัวเองขณะที่อยู่ ณ ระดับที่สุงนั้นๆ คือแรงดึงดูดของโลกที่จะพยายามจะดึงดูดวัตถุให้เข้าหาโลก เราเรียกพลังงานที่กระทำต่อวัตถุหรือดึงดูดวัตถุนี้ว่า พลังงานศักย์โน้มถ่วง การทำงานของศักย์โน้มถ่วงหาได้ดังนี้ งานของแรงโน้มถ่วง W.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและพลังงานกล · ดูเพิ่มเติม »

พายุ

มฆพายุหมุนเหนือเมือง เอนสเกเด ประเทศเนเธอร์แลนด์ พายุ คือ สภาพบรรยากาศที่ถูกรบกวนแบบใด ๆ ก็ตาม โดยเฉพาะที่มีผลกระทบต่อพื้นผิวโลก และบ่งบอกถึงสภาพอากาศที่รุนแรง เวลากล่าวถึงความรุนแรงของพายุ จะมีปัจจัยสำคัญอยู่บางประการคือ ความเร็วใกล้ศูนย์กลาง ซึ่งอาจสูงถึง 400 กม./ชม.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและพายุ · ดูเพิ่มเติม »

พายุฟ้าคะนอง

ฝนฟ้าคะนองตรงแบบเหนือทุ่ง พายุฝนฟ้าคะนอง เป็นพายุชนิดหนึ่งที่ถูกจัดลักษณะโดยปรากฏการณ์จากผลกระทบของ แสง และ เสียง บนบรรยากาศของโลก ที่รู้จักกันในชื่อ ฟ้าร้อง อุตุนิยมวิทยาได้กำหนดชนิดของ เมฆ ที่เกี่ยวข้องกับพายุฝนฟ้าคะนองว่าเป็นคิวมูโลนิมบัส ปกติแล้วพายุฝนฟ้าคะนองจะมาพร้อมกับลมแรง, ฝนตกหนัก และบางครั้งมี หิมะ ฝนหิมะ หรืออาจไม่ตกลงสู่พื้นดินเลยก็ได้ ทั้งหมดนั้นอาจเป็นสาเหตุให้เกิดลูกเห็บตกซึ่งเรียก พายุลูกเห็บ พายุฝนฟ้าคะนองอาจจะตกหนักเป็นหย่อม ๆ หรือตกหนักแบบกระจายตัวที่เรียก ซูเปอร์เซลล์ ก็ได้ พายุฝนฟ้าคะนองอย่างหนักหรือรุนแรงอาจเกิดการหมุนตัวซึ่งเรียกว่าซูปเปอร์เซลล์ ในขณะที่พายุฝนฟ้าคะนองส่วนใหญ่เคลื่อนที่ด้วยแรงลมปกติผ่านชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์ ที่มันสถิตย์อยู่ เมื่อเกิดแรงลมพัดเฉือนในแนวตั้งเกิดขึ้นจะก่อให้เกิดการหันเหเบี่ยงเบนในทิศทางที่ลมพัดเฉือนนั้นพัดมาเป็นสาเหตุให้พายุเคลื่อนตัว ผลของพายุฝนฟ้าคะนองที่เกิดจากการเคลื่อนตัวขึ้นลงอย่างรวดเร็วของอากาศที่อุ่นและชื้น มันก่อให้เกิดมวลอากาศที่อุ่นและชื้นขึ้นภายในและด้านหน้าของกลุ่มพายุฝนฟ้าคะนองนั้น ในขณะที่มวลอากาศอุ่นและชื้นเคลื่อนตัวขึ้นลงนั้น มันเกิดความเย็น,กลั่นตัวจนควบแน่นและก่อตัวเป็นกลุ่มก้อนเมฆที่แผ่ตัวต่ำปกคลุมทั่วท้องฟ้าจนมาถึงความสูงเกิน 20 กม.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและพายุฟ้าคะนอง · ดูเพิ่มเติม »

พายุหมุนนอกเขตร้อน

พายุหมุนนอกเขตร้อนลูกหนึ่งเหนือมหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือในเดือนมกราคม 2560 โดยมีลักษณะคล้ายตาและแนวปะทะอากาศเย็นยาวไปถึงเขตร้อน พายุหมุนนอกเขตร้อน (extratropical cyclone) บางทีเรียก พายุหมุนละติจูดปานกลาง (mid-latitude cyclone) หรือ พายุหมุนคลื่น (wave cyclone) เป็นบริเวณความกดอากาศต่ำซึ่งขับเคลื่อนลมฟ้าอากาศในพื้นที่ส่วนใหญ่ของโลกร่วมกับแอนไทไซโคลนในเขตละติจูดสูง พายุหมุนนอกเขตร้อนสามารถทำให้เกิดท้องฟ้ามีเมฆมากและมีฝนตกปรอย ๆ ไปจนถึงพายุเกลหนัก พายุฝนฟ้าคะนอง พายุหิมะและทอร์เนโด พายุหมุนเหล่านี้นิยามเป็นระบบลมฟ้าอากาศความกดอากาศต่ำขนาดใหญ่ที่เกิดในละติจูดปานกลางของโลก พายุหมุนนอกเขตร้อนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและจุดน้ำค้างอย่างรวดเร็วตามแนวปะทะอากาศ ซึ่งอยู่ประมาณใจกลางของพายุหมุน นับว่าตรงข้ามกับพายุหมุนเขตร้อน.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและพายุหมุนนอกเขตร้อน · ดูเพิ่มเติม »

พายุหมุนเขตร้อน

รนแบนด์โดยรอบ, และลักษณะของพายุหมุนเขตร้อน ที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนจากอวกาศ พายุหมุนเขตร้อน คือ ระบบพายุที่พัฒนามาจากศูนย์กลางของหย่อมความกดอากาศต่ำ, ลมแรง และการจัดเกลียวของพายุฝนฟ้าคะนอง ทั้งนี้ขึ้นกับสถานที่และความรุนแรง ซึ่งเกิดขึ้นบริเวณเขตร้อนของโลก ซึ่งมีชื่อเรียกต่างๆ กัน เช่น พายุเฮอร์ริเคน, พายุโซนร้อน, พายุไซโคลน, พายุดีเปรสชันเขตร้อน และพายุไซโคลนอย่างง่าย โดยทั่วไปรูปแบบพายุหมุนเขตร้อนจะมีขนาดใหญ่ขึ้นกับความสัมพันธ์กับน้ำอุ่น โดยพายุจะได้รับพลังงานผ่านการระเหยของน้ำบริเวณพื้นผิวมหาสมุทร ซึ่งในที่สุดน้ำเหล่านั้นจะควบแน่นอีกครั้งและเข้าไปอยู่ในกลุ่มเมฆและฝน เมื่ออากาศชื้นและความเย็นอิ่มตัว ซึ่งแหล่งพลังงานนี้จะแตกต่างกับพายุหมุนละติจูดกลาง ตัวอย่างเช่น นอร์อิสเทิร์น และพายุลมยุโรป ซึ่งได้รับพลังพลักดันหลักจากความแตกต่างของอุณหภูมิในแนวนอน โดยลมหมุนวนรอบอย่างรุนแรงของพายุหมุนเขตร้อนนั้นเป็นผลมาจากการอนุรักษ์โมเมนตัมเชิงมุม ซึ่งเกิดจากสภาวะการหมุนรอบตัวเองของโลก ขณะที่อากาศไหลเข้ามาสู่แกนกลางของการหมุน ผลที่ตามมา คือ พายุมักไม่ค่อยเกิดขึ้นภายใน 5° จากศูนย์สูตร พายุหมุนเขตร้อนโดยทั่วไปเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ 100 - 4,000 กิโลเมตร คำว่า พายุหมุน (หรือไซโคลน) หมายถึง พายุหมุนตามธรรมชาติ ซึ่งลมจะพัดหมุนทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือ และจะพัดหมุนตามเข็มนาฬิกาในซีกโลกใต้ ซึ่งทิศทางตรงข้ามการของการไหลเวียนลม เป็นผลมาจากคอริโอลิส ส่วนคำว่า เขตร้อน หมายถึง แหล่งกำเนิดของพายุทางภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นรูปแบบพิเศษของทะเลในเขตร้อน นอกจากลมแรงและฝนตก พายุหมุนเขตร้อนมีความสามารถในการสร้างคลื่นสูง และก่อให้เกิดความเสียหายจากน้ำขึ้นจากพายุ และทอร์นาโด ซึ่งมักจะลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงที่พายุอยู่บนแผ่นดิน เนื่องจากถูกตัดขาดจากแหล่งพลังงานหลักของมัน จากเหตุผลนี้ ทำให้บริเวณชายฝั่งทะเล มักมีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายจากพายุหมุนเขตร้อนมากกว่า เมื่อเทียบกับในแผ่นดิน อย่างไรก็ตามในแผ่นดินเองก็เกิดความเสียหายได้จากน้ำท่วมบนแผ่นดิน จากฝนตกหนัก และน้ำขึ้นจากพายุสามารถก่อให้เกิดน้ำท่วมบนแผ่นดินได้กว้างถึง 40 กิโลเมตร จากชายฝั่งทะเล แม้ว่าพายุหมุนเขตร้อนจะส่งผลกระทบต่อประชากรมนุษย์มหาศาล แต่พายุยังสามารถช่วยบรรเทาภาวะภัยแล้งได้ พวกมันยังพาพลังงานความร้อนออกไปจากเขตร้อน ข้ามผ่านไปยังละติจูดในเขตอบอุ่น ซึ่งอาจมีบทบาทสำคัญในการปรับเปลี่ยนสภาวะภูมิอากาศในระดับภูมิภาคและระดับโลก.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและพายุหมุนเขตร้อน · ดูเพิ่มเติม »

พายุโซนร้อนแฮเรียต

ซนร้อนแฮเรียต เป็นพายุที่สร้างความเสียหายให้กับประเทศไทยอย่างไม่เคยมีมาก่อน โดยเมื่อเดือนตุลาคม ปี..

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและพายุโซนร้อนแฮเรียต · ดูเพิ่มเติม »

พายุไต้ฝุ่นเกย์

้นทางเคลื่อนตัวของพายุ พายุไต้ฝุ่นเกย์ (Typhoon Gay) เป็นพายุหมุนเขตร้อนทรงพลังซึ่งสร้างความเสียหายอย่างหนักในจังหวัดชุมพรและประเทศอินเดียฝั่งตะวันออกในเดือนพฤศจิกายน..

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและพายุไต้ฝุ่นเกย์ · ดูเพิ่มเติม »

พายุเฮอร์ริเคนแคทรีนา

อร์ริเคนแคทรีนา (Hurricane Katrina) คือพายุเฮอร์ริเคนที่รุนแรง และสร้างความเสียหายที่สุด ในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา ถูกจัดความรุนแรงตาม มาตราเฮอร์ริเคนในประเภทที่ 5 (ตามมาตราของ Saffir-Simpson Hurricane Scale) ซึ่งถือว่ารุนแรงที่สุด และมีพายุเฮอร์ริเคนที่อยู่ในประเภทนี้มาก่อนเพียง 3 ลูกเท่านั้น ได้แก่เฮอร์ริเคนเลเบอร์เดย์ (Hurricane Labor Day, 1935) ในปี พ.ศ. 2478, เฮอร์ริเคนคามิลล์ (Hurricane Camille, 1969) ในปี พ.ศ. 2512 และเฮอร์ริเคนแอนดรูว์ (Hurricane Andrew) ในปี พ.ศ. 2535 ก่อนที่จะถูกลดระดับความรุนแรงให้อยู่ในประเภทที่ 4 เฮอร์ริเคนดังกล่าวสร้างความเสียหายมหาศาลให้แก่ชายฝั่งด้านตะวันออกของสหรัฐอเมริกา ทางตอนใต้ของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน เมืองนิวออร์ลีนส์ในรัฐลุยเซียนา ซึ่งตามแถลงการณ์ของทางการสหรัฐฯ ในวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2548 พายุดังกล่าวกินเนื้อที่ความเสียหายประมาณ 90,000 ตารางไมล์ (233,000 ตารางกิโลเมตร) ซึ่งกว้างเกือบเท่าเกาะบริเตนใหญ่ทั้งเกาะ พายุดังกล่าวทำให้คนประมาณห้าล้านคนไม่มีไฟฟ้าใช้ ซึ่งกว่าจะแก้ปัญหาดังกล่าวได้คาดว่าจะต้องใช้เวลาประมาณ 2 เดือน และแผนบรรเทาภัยพิบัติหลายแผนได้ถูกนำมาใช้ในพื้นที่ที่ประสบภั.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและพายุเฮอร์ริเคนแคทรีนา · ดูเพิ่มเติม »

กรมอุตุนิยมวิทยาฟีจี

กรมอุตุนิยมวิทยาฟีจี (Fiji Meteorological Service, FMS) คือหน่วยงานระดับกรมของรัฐบาลฟีจี ทำหน้าที่รับผิดชอบในการพยากรณ์อากาศ และมีฐานที่ตั้งอยู่ในนันจี ปัจจุบันเจ้ากรมคือ Ravind Kumar ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและกรมอุตุนิยมวิทยาฟีจี · ดูเพิ่มเติม »

กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น

กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น หรือ JMA เป็นหน่วยราชการระดับกรม สังกัดกระทรวงที่ดินโครงสร้างพื้นฐานและคมนาคม ให้บริการด้านสภาพอากาศของรัฐบาลญี่ปุ่น มีหน้าที่รับผิดชอบในการรวบรวมและรายงานข้อมูลสภาพอากาศและพยากรณ์อากาศในญี่ปุ่น และยังรับผิดชอบในการสังเกตการณ์และเตือนภัยแผ่นดินไหว คลื่นสึนามิ และการปะทุของภูเขาไฟ มีที่ทำการกรมตั้งอยู่ในแขวงชิโยะดะ กรุงโตเกียว แบ่งการจัดการออกเป็น 6 สำนักงานส่วนภูมิภาค นอกจากนี้ JMA ยังได้ดำเนินการเป็นศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับไซโคลนเขตร้อนในพื้นที่ JMA มีจุดตรวจวัด 627 จุดทั่วประเทศ ทำหน้าที่ตรวจวัดความรุนแรงของแผ่นดินไหว.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

กรด

กรด (อังกฤษ: acid, มาจากภาษาละติน acidus/acēre หมายถึง "เปรี้ยว") เป็นสสารซึ่งทำปฏิกิริยากับเบส โดยทั่วไป กรดสามารถระบุได้ด้วยรสเปรี้ยว,สมบัติทำปฏิกิริยากับโลหะอย่างแคลเซียม และเบสอย่างโซเดียมคาร์บอเนต กรดที่ละลายน้ำมี pH น้อยกว่า 7 โดยที่กรดจะแรงขึ้นตามค่า pH ที่ลดลง และเปลี่ยนกระดาษลิตมัสสีน้ำเงินเป็นแดง ตัวอย่างทั่วไปของกรด รวมไปถึง กรดน้ำส้ม (น้ำส้มสายชู), กรดซัลฟิวริก (ในแบตเตอรีรถยนต์), และกรดทาร์ทาริก (ในการทำขนม) ดังสามตัวอย่างข้างต้น กรดสามารถเป็นได้ทั้งสารละลาย ของเหลวหรือของแข็ง สำหรับแก๊ส อย่างเช่น ไฮโดรเจนคลอไรด์ ก็เป็นกรดได้เช่นกัน กรดแรงและกรดอ่อนเข้มข้นบางตัวมีฤทธิ์กัดกร่อน แต่มีข้อยกเว้น เช่น คาร์บอรีนและกรดบอริก นิยามกรดโดยทั่วไปมีสามนิยาม ได้แก่ นิยามอาร์เรเนียส นิยามเบรินสเตด-ลาวรี และนิยามลิวอิส นิยามอาร์เรเนียสกล่าววว่า กรดคือ สสารที่เพิ่มความเข้มข้นของไฮโดรเนียมไอออน (H3O+) ในสารละลาย นิยามเบรินสเตด-ลาวรีเป็นการขยายขึ้น คือ กรดเป็นสสารซึ่งสามารถทำหน้าที่ให้โปรตอน กรดส่วนมากที่พบในชีวิตประจำวันเป็นสารละลายในน้ำ หรือสามารถละลายได้ในน้ำ และสองนิยามนี้เกี่ยวเนื่องที่สุด สาเหตุที่ pH ของกรดน้อยกว่า 7 นั้น เป็นเพราะความเข้มข้นของไฮโดรเนียมไอออนมากกว่า 10-7 โมลต่อลิตร เนื่องจาก pH นิยามเป็นลอการิทึมลบของความเข้มข้นของไฮโดรเนียมไออน ดังนั้น กรดจึงมี pH น้อยกว่า 7 ตามนิยามเบรินสเตด-ลาวรี สารประกอบใดซึ่งสามารถให้โปรตอนง่ายสามารถพิจารณาได้ว่าเป็นกรด ตัวอย่างมีแอลกอฮอล์และเอมีน ซึ่งมีหมู่ O-H หรือ N-H ในทางเคมี นิยามกรดลิวอิสเป็นนิยามที่พบมากที่สุด กรดลิวอิสเป็นตัวรับอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว ตัวอย่างกรดลิวอิส รวมไปถึงไอออนลบโลหะทั้งหมด และโมเลกุลอิเล็กตรอนน้อย เช่น โบรอนฟลูออไรด์ และอะลูมิเนียมไตรคลอไรด์ ไฮโดรเนียมไอออนเป็นกรดตามทั้งสามนิยามข้างต้น ที่น่าสนใจคือ แม้แอลกอฮอล์และเอมีนสามารถเป็นกรดเบรินเสตด-ลาวรีได้ตามที่อธิบายข้างต้น ทั้งสองยังทำหน้าที่เป็นเบสลิวอิสได้ เนื่องจากอะตอมออกซิเจนและไนโตรเจนมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและกรด · ดูเพิ่มเติม »

กวม

กวม (Guam; ชามอร์โร: Guåhån) หรือชื่อทางการว่า ดินแดนกวมของสหรัฐอเมริกา (U.S. Territory of Guam) เป็นเกาะหนึ่งในมหาสมุทรแปซิฟิก และเป็นดินแดนที่ยังไม่ได้ปกครองตนเองของสหรัฐอเมริกา ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวชามอร์โรซึ่งอพยพมาอยู่ที่เกาะเป็นครั้งแรกเมื่อ 3,500 ปีมาแล้ว กวมเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดและอยู่ทางใต้สุดของหมู่เกาะมาเรียนา มีเมืองหลวงคือ ฮากัตญา (Hagåtña) เดิมเรียกว่า "อากาญา" (Agana) รายได้หลักของเกาะมาจากการท่องเที่ยว (โดยเฉพาะจากญี่ปุ่น) และจากการเป็นฐานทัพเรือสหรัฐอเมริกา สหประชาชาติจัดให้กวมอยู่ในรายชื่อดินแดนที่ไม่ได้ปกครองตนเองและมีประชากรทั้งเกาะประมาณ 173,000คน.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและกวม · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพเรือสหรัฐ

ระวังสับสนกับ กระทรวงทหารเรือสหรัฐ กองทัพเรือสหรัฐ (อังกฤษ: United States Navy, USN) เป็นกองกำลังทางทะเลในสังกัดกองทัพสหรัฐ และหนึ่งในเจ็ดองค์กรในเครื่องแบบของสหรัฐ กองทัพเรือสหรัฐเป็นกองทัพเรือที่ใหญ่ และมีความสามารถมากที่สุดในโลก โดยมีขนาดกองเรือตามน้ำหนักที่มากที่สุด กองทัพเรือสหรัฐมีกองเรือบรรทุกอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีเรือบรรทุกอากาศยาน 10 ลำในสถานะประจำการ อีก 2 ลำในสถานะกองเรือสำรอง และกำลังก่อสร้างเรือบรรทุกอากาศยานใหม่อีก 3 ลำ กองทัพเรือสหรัฐมีกำลัง 323,792 นายในสถานะประจำการ และอีก 108,515 นายในกองทัพเรือสำรอง มีเรือรบพร้อมประจำการ 274 ลำ และมีอากาศยานที่ใช้การได้มากกว่า 3,700 ลำ ตามข้อมูลในเดือนตุลาคม..

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและกองทัพเรือสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

การบริโภคพลังงานของโลก

การใช้พลังงานของโลก หมายถึง พลังงานทั้งหมดที่มนุษย์เพื่อการดำรงชีวิต โดยการใช้พลังงานในแต่ละปี เป็นพลังงานที่มนุษย์ใช้ภาคอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีของแต่ละประเทศ การใช้พลังงานของโลกในปัจจุบันส่งผลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ สถานบันต่างๆ เช่น สถาบันพลังงานระหว่างประเทศ ได้มีการบันทึกข้อมูลการใชัพลังงานของโลกอยู่ตลอดเวลา ซึ่งข้อมูลที่รวบรวมได้จะเป็นประโยชน์ในการศึกษาแนวโน้มการใชัพลังงานของโลกและการวางแผนการใช้พลังงานในอนาคต การใช้พลังงานฟอสซิลที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดใน..

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและการบริโภคพลังงานของโลก · ดูเพิ่มเติม »

การควบแน่น

ไอน้ำควบแน่นเป็นของเหลวหลังสัมผัสกับผิวขวดเย็น การควบแน่น (condensation) เป็นการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสารเชิงกายภาพจากสถานะแก๊สเป็นสถานะของเหลว ตรงกันข้ามกับการระเหย นอกจากนี้ ยังนิยามเป็นการเปลีย่นแปลงสถานะของไอน้ำเป็นน้ำเหลวเมื่อสัมผัสกับผิวใด ๆ เมื่อเกิดการเปลี่ยนผ่านจากสถานะแก๊สเป็นสถานะของแข็งโดยตรง เรียก การพอกพูน (deposition) หมวดหมู่:อุณหพลศาสตร์ หมวดหมู่:การเปลี่ยนสถานะ หมวดหมู่:การถ่ายเทความร้อน.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและการควบแน่น · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อน

หมุนเขตร้อนและพายุหมุนกึ่งเขตร้อนจะได้รับการตั้งชื่อโดยศูนย์เตือนภัยต่าง ๆ เพื่อความสะดวกระหว่างนักพยากรณ์อากาศกับประชาชนทั่วไปในการคาดการณ์, ผู้สังเกตการณ์, และการเตือนภัย เนื่องจากระบบของพายุนั้น สามารถมีอายุนานกว่าสัปดาห์หรือมากกว่านั้น และในเวลาเดียวกัน ก็อาจมีพายุเกิดขึ้นได้มากกว่าหนึ่งลูกภายในแอ่งเดียวกัน การตั้งชื่อพายุจึงเกิดขึ้นเพื่อป้องกันการสับสนเกี่ยวกับพายุแต่ละลูก การใช้ชื่อที่ระบุเฉพาะตัวของพายุหมุนเขตร้อนแต่ละลูกต้องย้อนกลับไปหลายปี พร้อมกับระบบการตั้งชื่อตามชื่อสถานที่หรือสิ่งต่าง ๆ ก่อนจะมีการเริ่มต้นการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการ โดยการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการมีใช้กับพายุที่ก่อตัวในแอ่งพายุหมุนเขตร้อนในแอตแลนติกเหนือ, พายุหมุนเขตร้อนในแปซิฟิกตะวันออก, กลาง, พายุหมุนเขตร้อนในแปซิฟิกตะวันตก, พายุหมุนเขตร้อนในแปซิฟิกใต้ ซึ่งรู้จักกันดีในชื่อพายุหมุนเขตร้อนในภูมิภาคออสเตรเลีย และพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรอินเดีย โดยชื่อต่าง ๆ จะได้รับการกำหนดไว้ล่วงหน้า โดยเมื่อมีพายุหมุนเขตร้อนมีความเร็วลมเฉลี่ยในหนึ่ง, สาม หรือ สิบนาที มากกว่า 65 กิโลเมตร/ชั่วโมง ซึ่งขึ้นอยู่กับแอ่งนั้น.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและการตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อน · ดูเพิ่มเติม »

การแผ่รังสีความร้อน

การแผ่รังสีความร้อนเป็นการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดจากการเคลื่อนที่ความร้อน (thermal motion) ของอนุภาคมีประจุในสสาร ทุกสสารที่มีอุณหภูมิสูงกว่าศูนย์องศาสัมบูรณ์แผ่รังสีความร้อนทั้งสิ้น เมื่ออุณหภูมิกายสูงกว่าศูนย์องศาสัมบูรณ์ การชนระหว่างอะตอมก่อให้พลังงานจลน์ของอะตอมหรือโมเลกุลเปลี่ยน ซึ่งส่งผลให้มีการเร่งประจุและ/หรือการสั่นไดโพล (dipole) ซึ่งผลิตการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า และรังสีสเปกตรัมกว้างสะท้อนพลังงานสเปกตรัมกว้างและความเร่งซึ่งเกิดแม้ที่อุณหภูมิหนึ่ง การประยุกต์การใช้งาน เช่น คอมเพสเซอร์ หรือ แผงคอลย์ร้อน ที่เป็นสีดำ สามารถดูดกลืนพลังงานได้ดีกว่าสีอื่น หมวดหมู่:การแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า หมวดหมู่:การถ่ายเทความร้อน หมวดหมู่:อุณหพลศาสตร์.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและการแผ่รังสีความร้อน · ดูเพิ่มเติม »

การแปรใช้ใหม่

right การแปรใช้ใหม่ (recycling) เป็นการจัดการวัสดุเหลือใช้ที่กำลังจะเป็นขยะโดยนำไปผ่านกระบวนการแปรสภาพ (โดยเฉพาะการหลอม) เพื่อให้เป็นวัสดุใหม่แล้วนำกลับมาใช้ได้อีก วัสดุที่ผ่านการแปรสภาพนั้นอาจจะเป็นผลิตภัณฑ์เดิมหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ก็ได้ การแปรใช้ใหม่มีความหมายต่างจาก การใช้ซ้ำ (reusing) ซึ่งหมายถึง การนำกลับมาใช้ใหม่โดยไม่ผ่านกระบวนการแปรสภาพใด ๆ ทั้งสิ้น ในความเข้าใจของคนบางกลุ่มนั้น การแปรใช้ใหม่ยังหมายถึง การนำวัสดุเหลือใช้กลับมาปรับเปลี่ยนรูปแบบหรือพัฒนารูปร่างใหม่ให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบอื่น ๆ เช่น ขวดน้ำพลาสติก หากนำมาใช้ใส่น้ำอีกครั้งเป็นการใช้ซ้ำ แต่ถ้านำเอาขวดนำพลาสติกมาตัดให้เป็นกระป๋อง แล้วนำไปใช้ตัดดินบรรจุในถุง หรือนำขวดพลาสติกมาตัดครึ่งทำเป็นแจกันใส่ดอกไม้หรือเป็นที่ใส่ปากกา มักถูกเรียกว่าเป็นการแปรขวดน้ำพลาสติกเพื่อใช้ใหม.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและการแปรใช้ใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

ภัยแล้ง

ื้นดินแตกระแหง พื้นที่แห้งแล้ง เป็นสภาพอากาศที่แห้งและไม่มีน้ำ เกิดขึ้นเมื่อพื้นที่ที่ได้รับฝนตกน้อย ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย สิ่งที่มีผลมากที่สุดคือการเกษตร องค์การสหประชาชาติคาดว่าในแต่ละปี พื้นที่ดินอุดมสมบูรณ์มีจำนวนลดลงเท่ากับขนาดเนื้อที่ของประเทศยูเครน เนื่องจากภาวะฝนแล้ง และความไม่แน่นอนของสภาพอาก.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและภัยแล้ง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากรีก

ษากรีก ซึ่งคนที่พูดและเขียนภาษานี้เรียกว่า เฮลเลนิก หรือ เอลเลนิกา (Ελληνικά) เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เกิดในประเทศกรีซ และเคยเป็นภาษาพูดตามชายฝั่งของเอเชียไมเนอร์และทางใต้ของประเทศอิตาลีในยุคโบราณ มีการพูดภาษาถิ่นจำนวนหนึ่ง เช่น ไอโอนิก ดอริก และแอททิก การเรียนการสอนภาษากรีกในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายนัก ปัจจุบันมีเพียง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, รูปแบบไฟล.doc /สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม..

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและภาษากรีก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากวางตุ้งมาตรฐาน

ษากวางตุ้งมาตรฐาน หรือ สำเนียงกวางเจา คือสำเนียงของภาษากวางตุ้งที่เป็นที่ยอมรับให้เป็นสำเนียงมาตรฐาน ใช้เป็นภาษาราชการที่พูดกันในฮ่องกงและมาเก๊า ทั้งในรัฐบาลและการเรียนการสอนในโรงเรียน ภาษานี้เป็นภาษาประจำถิ่นของเมืองกวางเจา มณฑลกวางตุ้ง และบริเวณโดยรอบทางตอนใต้ของประเทศจีน.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและภาษากวางตุ้งมาตรฐาน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอาหรับ

ษาอาหรับ (العربية; Arabic Language) เป็นภาษากลุ่มเซมิติก ที่มีผู้พูดมากที่สุด ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดพอควรกับภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิก โดยพัฒนามาจากภาษาเดียวกันคือภาษาเซมิติกดั้งเดิม ภาษาอาหรับสมัยใหม่ถือว่าเป็นภาษาขนาดใหญ่ แบ่งเป็นสำเนียงย่อยได้ถึง 27 สำเนียง ในระบบ ISO 639-3 ความแตกต่างของการใช้ภาษาพบได้ทั่วโลกอาหรับ โดยมีภาษาอาหรับมาตรฐานซึ่งใช้ในหมู่ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาอาหรับสมัยใหม่มาจากภาษาอาหรับคลาสสิกซึ่งเป็นภาษาเดียวที่เหลืออยู่ในภาษากลุ่มอาหรับเหนือโบราณ เริ่มพบในพุทธศตวรรษที่ 11 และกลายเป็นภาษาทางศาสนาของศาสนาอิสลามตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 เป็นภาษาของคัมภีร์อัลกุรอาน และภาษาของการนมาซและบทวิงวอนของชาวมุสลิมทั่วโลก ชาวมุสลิมจะเริ่มศึกษาภาษาอาหรับตั้งแต่ยังเด็ก เพื่ออ่านอัลกุรอานและทำการนมาซ ภาษาอาหรับเป็นแหล่งกำเนิดของคำยืมจำนวนมากในภาษาที่ใช้โดยมุสลิมและภาษาส่วนใหญ่ในยุโรป ภาษาอาหรับเองก็มีการยืมคำจากภาษาเปอร์เซียและภาษาสันสกฤตด้วย ในช่วงยุคกลาง ภาษาอาหรับเป็นภาษาหลักในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมโดยเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และปรัชญา จึงทำให้ภาษาในยุโรปจำนวนมากยืมคำไปจากภาษาอาหรับ โดยเฉพาะภาษาสเปนและภาษาโปรตุเกส ทั้งนี้เพราะอารยธรรมอาหรับเคยแผ่ขยายไปถึงคาบสมุทรไอบีเรี.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและภาษาอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอูรดู

ษาอูรดู (اردو) เป็นภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-อารยัน ซึ่งพัฒนามาจากหลายภาษารวมกันคือ ภาษาเปอร์เซีย ตุรกี อาหรับ ฮินดี และ สันสกฤต นิยมใช้กันมากในช่วงสมัยรัฐสุลต่านเดลฮี และจักรวรรดิโมกุล (ค.ศ.๑๒๐๐ - ๑๘๐๐) ภาษาอูรดู อยู่ในอันดับที่ ๒๐ ของภาษาที่มีคนใช้เป็นภาษาแม่ และเป็นภาษาราชการของประเทศปากีสถาน นอกจากนี้ยังเป็นภาษาหนึ่งในภาษาราชการ ๒๓ ภาษา ของประเทศอินเดี.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและภาษาอูรดู · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฮินดี

ษาฮินดีเป็นภาษาที่พูด ส่วนใหญ่ในประเทศอินเดียเหนือและกลาง เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน อยู่ในกลุ่มย่อย อินโด-อิหร่าน มีวิวัฒนาการมาจากภาษาปรากฤต ในสาขาอินโด-อารยันกลาง ของยุคกลาง และมีวิวัฒนาการทางอ้อมจากภาษาสันสกฤต ภาษาฮินดีได้นำคำศัพท์ชั้นสูงส่วนใหญ่มาจากภาษาสันสกฤต นอกจากนี้ เนื่องจากอิทธิพลของชาวมุสลิมในอินเดียเหนือ ภาษาฮินดียังมีคำที่ยืมมาจากภาษาเปอร์เซีย ภาษาอาหรับ และ ภาษาตุรกี เป็นจำนวนมาก และในที่สุดได้ก่อให้เกิดภาษาอูรดูขึ้น สำหรับภาษา"ฮินดีมาตรฐาน" หรือ "ฮินดีแท้" นั้น มีใช้เฉพะการสื่อสารที่เป็นทางการ ขณะที่ภาษาซึ่งใช้ในชีวิตประจำวันในพื้นที่ส่วนใหญ่นั้น ถือว่าเป็นหนึ่งในภาษาถิ่นย่อย ของภาษาฮินดูสตานี ในแง่ความสัมพันธ์ทางภาษาศาสตร์นั้น ภาษาฮินดีและภาษาอูรดู ถือว่าเป็นภาษาเดียวกัน แตกต่างตรงที่ ภาษาฮินดีนั้นเขียนด้วยอักษรเทวนาครี (Devanāgarī) ขณะที่ภาษาอูรดูนั้น เขียนด้วยอักษรเปอร์เซียและอาหรั.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและภาษาฮินดี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโปรตุเกส

ษาโปรตุเกส (português ปุรตุเกฌ) เป็นภาษากลุ่มโรมานซ์ที่พูดในประเทศต่าง ๆ เช่น ประเทศโปรตุเกส ประเทศบราซิล ประเทศแองโกลา ประเทศโมซัมบิก และประเทศติมอร์-เลสเต ภาษาโปรตุเกสมีคนพูดเป็นภาษาแม่มากกว่า 200 ล้านคน ทำให้เป็นหนึ่งในไม่กี่ภาษาที่พูดทั่วโลก และเป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากเป็นอันดับ 5 หรือ 6 ของโลกปัจจุบัน ภาษาโปรตุเกสถูกขนานนามว่า A língua de Camões อาลิงกวาดึกามอยช์ ("ภาษาของกามอยช์" ตามชื่อลูอิช ดึ กามอยช์ ผู้ประพันธ์ The Lusiad: ลูเซียด) และ A última flor do Lácio อาอุลตีมาโฟลร์ดูลาซีอู ("ดอกไม้ดอกสุดท้ายของละติอุม") คนที่พูดภาษาโปรตุเกสเรียกว่า ลูซิตานิก: Lusitanic หรือ ลูโซโฟน: Lusophones.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและภาษาโปรตุเกส · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเปอร์เซีย

ษาเปอร์เซีย หรือ ฟาร์ซี (فارسی Farsi, ฟอร์ซี ชื่อท้องถิ่นใน ประเทศอิหร่าน และประเทศอัฟกานิสถาน), ทาจิก (Tajik, ภาษาย่อยในเอเชียกลาง) หรือ ดารี (Dari ชื่อท้องถิ่นในประเทศอัฟกานิสถาน) เป็นภาษาที่พูดใน ประเทศอิหร่าน ประเทศอัฟกานิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศบาห์เรน และประเทศอุซเบกิสถาน เป็นภาษาทางการใน 3 ประเทศแรกที่กล่าวไว้ คนที่พูดเป็นภาษาแม่มีอยู่ประมาณ 75 ล้านคน เป็นสมาชิกของภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เป็นชนิดประธาน กรรม กร.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและภาษาเปอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิอากาศ

การแบ่งประเภทของภูมิอากาศทั่วโลก ภูมิอากาศ (climate) เป็นการวัดอย่างหนึ่งของรูปแบบค่าเฉลี่ยของการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ความชื้น ความกดอากาศ หยาดน้ำฟ้า(ฝน ลูกเห็บ หิมะ) ปริมาณอนุภาคในบรรยากาศ และตัวแปรทางอุตุนิยมวิทยาอื่นในภูมิภาคหนึ่งๆในช่วงระยะเวลานาน ภูมิอากาศแตกต่างจากลมฟ้าอากาศ (weather) ที่นำเสนอสภาพขององค์ประกอบเหล่านี้และการแปรผันในเวลาสั้นๆในพื้นที่ที่กำหนด ภูมิอากาศของภูมิภาคหนึ่งเกิดจาก "ระบบภูมิอากาศ" ซึ่งประกอบด้วยห้าองค์ประกอบ ได้แก่ บรรยากาศ (atmosphere) อุทกบรรยากาศ (hydrosphere) เยือกแข็ง (cryosphere) เปลือกโลก (lithosphere) และ ชีวมณฑล (biosphere).

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและภูมิอากาศ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยฟลอริดา

รูปปั้นหน้าตึกแห่งหนึ่งที่มหาวิทยาลัยฟลอริดา มหาวิทยาลัยฟลอริดา (University of Florida ชื่อย่อว่า Florida หรือ UF) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐในสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่เมืองเกนส์วิลล์ รัฐฟลอริดา ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2396 (ค.ศ. 1853) มหาวิทยาลัยฟลอริดาเป็นมหาวิทยาลัยที่ใหญ่อันดับหกในสหรัฐอเมริกาตามจำนวนนักเรียน โดยมีนักเรียนทั้งหมด 49,6795 คน (เทอมฤดูใบไม้ร่วง 2552) และได้งบประมาณมากเป็นอันดับ 8 ของประเทศ (ประมาณ 1.9 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี) มหาวิทยาลัยประกอบด้วย 17 คณะ และศูนย์วิจัยกว่า 150 ศูนย์ มหาวิทยาลัยฟลอริดายังคงเป็นที่ค้นพบเครื่องดื่มบำรุงกำลังเกเตอร์เรด มหาวิทยาลัยฟลอริดายังได้ชื่อว่ามีทีมกีฬาที่เก่งใน NCAA โดยสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยคือ ฟลอริดาเกเตอส์ (Florida Gators) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์จระเข้.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและมหาวิทยาลัยฟลอริดา · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยวอชิงตัน

มหาวิทยาลัยวอชิงตัน (University of Washington) หรือรู้จักในชื่อ ยูดับ (UW) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐในสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่รัฐวอชิงตัน เป็นมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในบริเวณชายฝั่งตะวันตกของประเทศ มหาวิทยาลัยวอชิงตันมี 3 วิทยาเขต โดยวิทยาเขตที่ใหญ่ที่สุดอยู่ที่เมืองซีแอทเทิล และวิทยาเขตอื่นอยู่ที่เมืองทาโคมา และโบเธลล์ มหาวิทยาลัยก่อตั้งเมื่อ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1861 มหาวิทยาลัยวอชิงตันมีชื่อเสียงอย่างมากในด้านการแพทย์และการพยาบาล และในด้านอื่น ๆ เช่น วิศวกรรมศาสตร์ และสถาปัตยกรรมศาสตร.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและมหาวิทยาลัยวอชิงตัน · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทร

การแบ่งมหาสมุทรตามแบบต่างๆ แผ่นที่กายภาพก้นทะเล มหาสมุทร (ocean) เป็นผืนน้ำทะเลขนาดใหญ่เชื่อมต่อกัน และครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 3 ใน 4 (71%) ของพื้นผิวโลก มหาสมุทรเรียงตามลำดับขนาดจากมากไปน้อยได้แก่ มหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรใต้ และมหาสมุทรอาร์กติก คำว่า sea หรือทะเล บางครั้งใช้แทนคำว่า "ocean" หรือ "มหาสมุทร" ในภาษาอังกฤษแบบอเมริกันได้ แต่หากเจาะจงการพูดแล้ว sea คือแหล่งน้ำเค็ม (ส่วนหนึ่งของมหาสมุทร) ส่วนที่มีพื้นที่ติดพื้นดิน มวลน้ำเค็มปกคลุมประมาณ 72% ของพื้นผิวโลก (~3.6 กม.2) และถูกแบ่งเป็นมหาสมุทรหลัก ๆ และทะเลขนาดเล็กอีกหลายแห่ง โดยมหาสมุทรจะครอบคลุมพื้นที่โลกประมาณ 71% มหาสมุทรประกอบด้วยน้ำของโลก 97% และนักสมุทรศาสตร์กล่าวว่ามหาสมุทรในโลกเพิ่งได้มีการสำรวจไปได้เพียง 5% เท่านั้น ปริมาตรสุทธิมีประมาณ 1.35 พันล้านลูกบาศก์กิโลเมตร (320 ล้านลูกบาศก์ไมล์) มีความลึกเฉลี่ยที่ เนื่องจากมหาสมุทรเป็นส่วนประกอบหลักของอุทกภาคของโลก มหาสมุทรจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิด เป็นส่วนหนึ่งในวัฏจักรคาร์บอน และมีอิทธิพลต่อภูมิอากาศและลมฟ้าอากาศ มหาสมุทรเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตกว่า 230,000 สปีชีส์ แม้ว่ามหาสมุทรในส่วนที่ลึก ๆ ส่วนมากยังคงไม่ถูกสำรวจ และเชื่อกันว่ามีสิ่งมีชีวิตใต้น้ำมากกว่า 2 ล้านชนิดอยู่ในนั้น จุดกำเนิดของมหาสมุทรนั้นยังไม่มีคำตอบ แต่มีความคิดว่ามันเกิดขึ้นในบรมยุคเฮเดียน และอาจจะเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดกระบวนการกำเนิดชีวิตจากสิ่งไร้ชีวิต.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและมหาสมุทร · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรอินเดีย

มหาสมุทรอินเดีย เป็นผืนน้ำที่มีขนาดกว้างใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก กินพื้นที่ประมาณ 20% ของพื้นน้ำบนโลก ทางเหนือติดกับตอนใต้ของทวีปเอเชีย (อนุทวีปอินเดีย) ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรอาหรับและทวีปแอฟริกา ทางตะวันออกติดกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แถบทะเลอันดามัน และประเทศออสเตรเลีย ทางใต้ติดกับมหาสมุทรใต้ แยกจากมหาสมุทรแอตแลนติกที่บริเวณตอนใต้ของทวีปแอฟริกาบนเส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรแปซิฟิกที่เส้นเมริเดียน 147° ตะวันออก ตอนเหนือสุดของมหาสมุทรอินเดียอยู่ในอ่าวเปอร์เซีย ที่บริเวณละติจูด 30° เหนือ มหาสมุทรมีความกว้างมากที่สุดอยู่ระหว่างจุดใต้สุดของแอฟริกาและออสเตรเลีย ด้วยระยะทางเกือบ 10,000 กิโลเมตร มีพื้นน้ำ 70,560,000 ตารางกิโลเมตร รวมทะเลแดงและอ่าวเปอร์เซีย แต่ไม่รวมมหาสมุทรใต้หรือ 19.5% ของมหาสมุทรโลก มหาสมุทรอินเดียมีปริมาตรประมาณ 264,000,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร หรือ 19.8% ของปริมาณมหาสมุทรโลก มีความลึกเฉลี่ย 3,741 เมตร และมีความลึกสูงสุด 7,906 เมตร.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและมหาสมุทรอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแอตแลนติก

มหาสมุทรแอตแลนติก (Atlantic Ocean) เป็นมหาสมุทรที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1 ใน 5 ของพื้นผิวโลก ชื่อของมหาสมุทรมาจากนิยายปรัมปรากรีก หมายถึง "ทะเลของแอตลาส" มหาสมุทรแอตแลนติกเป็นแอ่งที่มีรูปร่างเหมือนตัวเอส (S) ติดกับทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ทางตะวันตก ส่วนทางตะวันออกติดกับ ทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา ปัจจุบันมีการแบ่งมหาสมุทรแอตแลนติกเป็น 2 ส่วน คือ แอตแลนติกเหนือและแอตแลนติกใต้ โดยใช้บริเวณที่เกิดการเปลี่ยนทิศของกระแสน้ำที่ละติจูด 8° เหนือเป็นแนวแบ่ง มหาสมุทรแอตแลนติกเชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกทางมหาสมุทรอาร์กติกซึ่งอยู่ทางเหนือ ส่วนทางใต้เชื่อมทางช่องแคบเดรก จุดเชื่อมต่ออีกแห่งหนึ่งที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ คือ คลองปานามา เส้นแบ่งระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกกับมหาสมุทรอินเดีย คือ เส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรอาร์กติกด้วยเส้นที่ลากจากกรีนแลนด์ ผ่านตอนใต้สุดของสฟาลบาร์ (Svalbard) ไปยังตอนเหนือของนอร์เวย์ มหาสมุทรแอตแลนติกมีพื้นน้ำประมาณ 106,460,000 ตารางกิโลเมตร ปริมาตรของมหาสมุทรเมื่อรวมทะเลที่อยู่ติดกันมีค่า 310,410,900 ลูกบาศก์กิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 3,646 เมตร จุดที่ลึกที่สุดคือปวยร์โตรีโกเทรนช์มีความลึก 8,486 เมตร (27,840 ฟุต).

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและมหาสมุทรแอตแลนติก · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแปซิฟิก

มหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) ตั้งชื่อโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ว่า Mare Pacificum เป็นภาษาละติน แปลว่า peaceful sea ภาษาฝรั่งเศส pacifique (ปาซีฟีก) หมายถึง "สงบสุข" เป็นผืนน้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นน้ำประมาณ 165,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ผิวทั้งหมดของโลก ความยาวในแนวลองจิจูดมีระยะทางประมาณ 15,500 กิโลเมตร จากทะเลเบริงในเขตอาร์กติกที่อยู่ทางเหนือจรดริมฝั่งทะเลรอสส์ในแอนตาร์กติกาที่อยู่ทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกมีด้านที่กว้างที่สุดตามแนวตะวันออก-ตะวันตก อยู่ ณ บริเวณละติจูด 5 องศาเหนือ ด้วยความยาวประมาณ 19,800 กิโลเมตร จากอินโดนีเซียถึงชายฝั่งโคลอมเบีย สุดเขตด้านตะวันตก คือ ช่องแคบมะละกา จุดที่ลึกที่สุดในโลก คือ ร่องลึกมาเรียนา (Mariana Trench) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก จุดที่ลึกที่สุดวัดได้ 10,911 เมตร มหาสมุทรแปซิฟิก ความเค็มประมาณ 33-37 ส่วนต่อพันส่วน กระแสน้ำที่สำคัญของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ (เปรู) กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา และกระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะ (กุโรชิโว) มหาสมุทรแปซิฟิกมีเกาะอยู่ประมาณ 25,000 เกาะ (มากกว่าเกาะในมหาสมุทรอื่น ๆ ที่เหลือรวมกัน) ส่วนใหญ่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ริมมหาสมุทรประกอบด้วยทะเลจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ ทะเลเซเลบีส ทะเลคอรัล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลญี่ปุ่น ทะเลจีนใต้ ทะเลซูลู ทะเลแทสมัน และทะเลเหลือง ทางด้านตะวันตก ช่องแคบมะละกาเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางด้านตะวันออก ช่องแคบมาเจลลันเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับ มหาสมุทรแอตแลนติก.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและมหาสมุทรแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

มาตราเฮอร์ริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน

มาตราเฮอร์ริเคนแซฟเฟอร์-ซิมป์สัน (Saffir–Simpson Hurricane Scale, SSHS หรือ Saffir–Simpson Hurricane Wind Scale, SSHWS) คือมาตราการวัดระดับลมพายุที่มีระดับความเร็วมากกว่าดีเพรสชั่นและพายุโซนร้อน โดยแยกเป็นระดับความรุนแรงตามความเร็วลมของพายุเฮอร์ริเคนได้ 5 ระดั.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและมาตราเฮอร์ริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน · ดูเพิ่มเติม »

ยูเอสเอทูเดย์

อาคารสำนักงานใหญ่ของ ยูเอสเอ ทูเดย์ ในเมืองแมกลีน รัฐเวอร์จิเนีย ยูเอสเอทูเดย์ (USA Today) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันของสหรัฐอเมริกา ตีพิมพ์โดยบริษัทแกนเนตต์ ก่อตั้งโดยอัล นูฮาร์ธ ถือเป็นหนังสือพิมพ์ที่มียอดขายมากที่สุดกว่าหนังสือพิมพ์ใดในสหรัฐอเมริกา (เฉลี่ย 2.11 ล้านเล่ม ในวันธรรมดา) และในบรรดาหนังสือพิมพ์ขนาดใหญ่ภาษาอังกฤษทั่วโลกแล้ว มียอดขายเป็นอันดับ 2 รองจาก เดอะไทมส์ออฟอินเดีย ที่ขายได้ 3.14 ล้านเล่มต่อวัน ยูเอสเอทูเดย์ ออกวางขายใน 50 รัฐของสหรัฐอเมริกา แคนาดา วอชิงตันดีซี เปอร์โตริโก และเกาะกวม.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและยูเอสเอทูเดย์ · ดูเพิ่มเติม »

ระดับน้ำทะเล

กราฟระดับน้ำทะเลที่วัดได้จากบริเวณที่มีความเสถียรทางธรณีวิทยา แสดงถึงระดับน้ำทะเลซึ่งสูงขึ้นถึง 24 เซนติเมตรในรอบ 120 ปี (2 มิลลิเมตร/ปี) ระดับทะเลปานกลาง* (Mean Sea-Level) หรือ ร.ท.ก. เป็นค่าการวัด ระดับน้ำทะเลขึ้นสูงสุด (High Tide: HT) และลงต่ำสุด (Low Tide: LT) ของแต่ละวันในช่วงระยะเวลาที่กำหนด แล้วนำค่ามาเฉลี่ยเป็นระดับน้ำทะเลปานกลาง สำหรับระยะเวลาที่ทำการรังวัดโดยทั่วไปจะต้องวัดเป็นเวลา 18.6 ปี ตามวัฏจักรของน้ำ ระดับน้ำทะเลปานกลางของแต่ละบริเวณทั่วโลกอาจจะมีความสูงไม่เท่ากัน ในประเทศไทยใช้เวลาในการวัด 5 ปี โดยเลือกที่ ถนนเกาะหลัก ตำบลเกาะหลัก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นที่วัด แล้วนำมาหาค่าเฉลี่ย เพื่อใช้เป็นค่าระดับน้ำทะเลปานกลาง ให้มีค่า 0.000 เมตร ที่ 11°47'42.92"N/ 99°47'31.40"E ทำการถ่ายโยงมายังหมุด BM-A (ซึ่งถือว่าเป็นหมุดหลักฐานหมุดแรกของประเทศไทย) ที่ 13°46'23.74"N/100°31'45.39"E ซึ่งมีค่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 1.4477 เมตร ประโยชน์ของการวัดระดับน้ำทะเลปานกลาง เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการเปรียบเทียบระดับความสูงต่ำของดิน หรือสิ่งก่อสร้างในงานสำรวจฯ งานก่อสร้างฯ และงานทั่วไป *มักถูกเขียนว่า ระดับน้ำทะเลปานกลาง หากอ้างอิงจากพจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่มพิมพ์ครั้งที่ 4 ใช้คำว่า "ระดับทะเลปานกลาง" หมุด BM-A ระดับน้ำทะเลปานกลาง.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและระดับน้ำทะเล · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบาลกลางสหรัฐ

รัฐบาลกลางสหรัฐ (Federal Government of the United States) เป็นรัฐบาลกลางของสหรัฐอเมริกาซึ่งใช้การปกครองแบบสาธารณรัฐตามรัฐธรรมนูญและประกอบด้วยรัฐห้าสิบรัฐ รวมตลอดถึงเขตการปกครองใหญ่หนึ่งแห่ง และดินแดนอื่น ๆ แบ่งเป็นสามฝ่าย คือ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกาให้ใช้อำนาจผ่านรัฐสภา ประธานาธิบดี และศาลกลาง รวมถึง ศาลสูงสุด ตามลำดับ อำนาจหน้าที่ของแต่ละฝ่ายนั้น กับทั้งการจัดตั้งกระทรวงในฝ่ายบริหารและศาลชั้นรองนั้น เป็นไปตามที่บัญญัติเพิ่มเติมไว้ในรัฐบัญญัติ ชื่อเต็มของประเทศ คือ "สหรัฐอเมริกา" (The United States of America) ไม่ปรากฏชื่ออื่นในรัฐธรรมนูญ และชื่อนี้ยังปรากฏบนเงินตรา สนธิสัญญา และคดีความซึ่งรัฐเป็นคู่ความ (เช่น คดีระหว่างชาลส์ ที. เช็งก์ กับสหรัฐอเมริกา) ส่วนคำว่า "รัฐบาลแห่งสหรัฐอเมริกา" (Government of the United States of America) หรือ "รัฐบาลสหรัฐ" (United States Government) นั้นนิยมใช้ในเอกสารราชการเพื่อแทนรัฐบาลกลางแยกจากรัฐทั้งหลายโดยรวม ในระดับภาษาเขียนหรือสนทนาอย่างเป็นกันเองนั้น นิยมใช้ว่า "รัฐบาลกลาง" (Federal Government) และบางทีก็ใช้ว่า "รัฐบาลแห่งชาติ" (National Government) คำว่า "กลาง" และ "แห่งชาติ" ที่ปรากฏในชื่อส่วนราชการและโครงการราชการนั้นมักบ่งบอกการสังกัดรัฐบาลกลาง (เช่น สำนักงานสอบสวนกลาง และองค์การบริหารบรรยากาศและมหาสมุทรแห่งชาติ) นอกจากนี้ เพราะรัฐบาลกลางตั้งอยู่ในวอชิงตัน ดี.ซี. โดยทั่วไปจึงใช้ "วอชิงตัน" เรียกแทนรัฐบาลกลาง.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและรัฐบาลกลางสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ฤดูกาล

การโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลก ฤดูกาล (Season) เป็นช่วงเวลาในแต่ละปีที่แบ่งตามสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป เกิดขึ้นจากการที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ เนื่องจากแกนโลกเอียงเป็นมุม 23.5 องศา จึงทำให้ในแต่ละช่วงของปี แต่ละบริเวณจะได้รับแสงแดดไม่เท่ากัน ทำให้มีอุณหภูมิต่างกัน จึงเกิดเป็นฤดูกาลต่าง ๆ ขึ้น ในเขตอบอุ่นและเขตหนาว จะแบ่งออกเป็น 4 ฤดู ได้แก่ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว ซึ่งโดยทั่วไป ฤดูในเขตอบอุ่นของซีกโลกเหนือจะมีระยะเวลาดังนี้.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและฤดูกาล · ดูเพิ่มเติม »

ลม

ต้นไม้ที่กำลังถูกลมพัด ลม เป็นการไหลเวียนของแก๊สในขนาดใหญ่ บนโลก ลมประกอบด้วยการเคลื่อนที่ของอากาศขนาดใหญ่ ส่วนในอวกาศ ลมสุริยะเป็นการเคลื่อนที่ของแก๊สหรืออนุภาคมีประจุจากดวงอาทิตย์ผ่านอวกาศ ขณะที่ลมดาวเคราะห์เป็นการปล่อยแก๊ส (outgassing) ของธาตุเคมีเบาจากชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์สู่อวกาศ โดยทั่วไป การจำแนกประเภทของลมใช้ขนาดเชิงพื้นที่, ความเร็ว, ประเภทของแรงที่เป็นสาเหตุ, ภูมิภาคที่เกิด และผลกระทบ ลมที่แรงที่สุดเท่าที่สังเกตพบบนดาวเคราะห์ในระบบสุริยะเกิดขึ้นบนดาวเนปจูนและดาวเสาร์ ในทางอุตุนิยมวิทยา ลมมักถูกเรียกชื่อตามพลัง และทิศทางซึ่งลมพัดมาจาก ลมความเร็วสูงที่พัดมาสั้น ๆ เรียก ลมกระโชก (gust) ลมแรงที่มีระยะการเกิดปานกลาง (ประมาณหนึ่งนาที) เรียก ลมพายุฝน (squall) ส่วนลมที่มีระยะการเกิดนานนั้นมีหลายชื่อตามความแรงเฉลี่ย เช่น ลม (breeze), เกล, พายุ, เฮอร์ริเคนและไต้ฝุ่น ลมเกิดขึ้นได้หลายขนาด ตั้งแต่พายุฝนฟ้าคะนองที่ไหลเวียนนานหลายสิบนาที ไปถึงลมท้องถิ่นที่เกิดจากการให้ความร้อนจากผิวดิน และเกิดนานไม่กี่ชั่วโมง ไปจนถึงลมทั่วโลกที่เกิดจากความแตกต่างในการดูดซับพลังงานจากดวงอาทิตย์ระหว่างเขตภูมิอากาศบนโลก สองสาเหตุหลักของวงรอบอากาศขนาดใหญ่เกิดจากการให้ความร้อนที่ต่างกันระหว่างเส้นศูนย์สูตรกับขั้วโลก และการหมุนของดาวเคราะห์ (ปรากฏการณ์คอริออลิส) ในเขตร้อน วงรอบความร้อนต่ำเหนือภูมิประเทศและที่ราบสูงสามารถก่อให้เกิดวงรอบมรสุมได้ ในพื้นที่ชายฝั่ง วัฏจักรลมบก/ลมทะเลสามารถกำหนดลมท้องถิ่นได้ ในพื้นที่ซึ่งมีภูมิประเทศขึ้น ๆ ลง ๆ ลมภูเขาและหุบเขาสามารถมีอิทธิพลเหนือลมท้องถิ่นได้ ในอารยธรรมมนุษย์ ลมจุดประกายเทพปกรณัม ส่งอิทธิพลต่อเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ ขยายพิสัยการขนส่งและการสงคราม และเป็นแหล่งพลังงานแก่งานเชิงกล ไฟฟ้าและสันทนาการ ลมเป็นพลังงานแก่การเดินทางโดยแล่นเรือข้ามมหาสมุทรของโลก บอลลูนลมร้อนใช้ลมเพื่อเดินทางระยะสั้น ๆ และการบินที่มีเครื่องยนต์ขับเคลื่อนใช้ลมเพื่อเพิ่มแรงยกและลดการบริโภคเชื้อเพลิง พื้นที่ลมเฉือนเกิดขึ้นจากปรากฏการณ์สภาพบรรยากาศหลายปรากฏการณ์ ซึ่งสามารถนำไปสู่สถานการณ์อันตรายแก่อากาศยานได้ เมื่อลมพัดแรง ต้นไม้และสิ่งปลูกสร้างที่มนุษย์สร้างขึ้นจะได้รับความเสียหายหรือถูกทำลายได้ Yed vav.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและลม · ดูเพิ่มเติม »

ลมค้า

ลมค้า (ลูกศรสีเหลืองและน้ำตาล) และลมตะวันตก (ลูกศรสีน้ำเงิน) ลมค้า (trade wind) เป็นลมประจำปีทางทิศตะวันออก เป็นลมที่มีความเร็วลมปานกลางถึงแรงจัด ทำให้อากาศแจ่มใสและใช้ประโยชน์ได้ในด้านการเดินเรือและการบิน.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและลมค้า · ดูเพิ่มเติม »

ลมเฉือน

ลมเฉือน (wind shear, windshear) คือกระแสลมหลายกระแสที่มีความแตกต่างด้านความเร็ว และอาจมีความแตกต่างด้านทิศทางร่วมด้วย เกิดขึ้นเหนือบริเวณใดบริเวณหนึ่งในชั้นบรรยากาศที่กินบริเวณไม่กว้างนัก ลมเฉือนมีทั้งแบบแนวตั้งและแนวนอน ลมเฉือนแนวตั้งคือการที่ในบริเวณนั้นความเร็วลมที่ระดับความสูงต่าง ๆ มีความแตกต่างกัน ลมเฉือนแนวนอนคือการที่กระแสลม ณ ระดับความสูงใดความสูงหนึ่ง มีความเร็วไม่เท่ากัน ณ ตำแหน่งต่าง ๆ ที่ความสูงนั้น ๆ ลมเฉือนสร้างผลกระทบต่อการควบคุมการขึ้นบินและลงจอดของอากาศยานอย่างมีนัยสำคัญ และเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุของอุบัติเหตุในการขนส่งทางอาก.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและลมเฉือน · ดูเพิ่มเติม »

ละติจูด

ละติจูด (latitude) หรือเดิมเรียกว่า เส้นรุ้ง แทนด้วยอักษรกรีก φ เป็นพิกัดที่ใช้บอกตำแหน่งบนพื้นโลกและแบ่งเขตสภาวะอากาศโดยวัดจากเส้นศูนย์สูตร พิกัดที่ใช้คู่กัน คือ ลองจิจูด พื้นที่ที่มีพิกัดละติจูดต่างกัน จะมีภูมิอากาศ (climate) และสภาพอากาศ (weather) ต่างกัน ละติจูดมีค่าตั้งแต่ 0 องศาที่เส้นศูนย์สูตร ไปจนถึง 90 องศาที่บริเวณขั้วโลก (นับเป็น 90 องศาเหนือหรือใต้) เนื่องจากเป็นการวัดมุมจากจุดสมมติที่เส้นศูนย์สูตรไปยังจุดขั้วโลกที่ 90 อง.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและละติจูด · ดูเพิ่มเติม »

ลานีญา

วามผิดปกติของอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 แสดงปรากฏการณ์ลานีญา ลานีญา (La Niña) เป็นปรากฏการณ์บรรยากาศมหาสมุทรคู่กันซึ่งเกิดขึ้นคู่กับเอลนีโญอันเป็นส่วนหนึ่งของเอลนีโญ-ความผันแปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้ ในช่วงที่เกิดลานีญา อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลตลอดมหาสมุทรแแปซิฟิกตอนกลางตะวันออกแถบเส้นศูนย์สูตรจะต่ำกว่าปกติ 3-5 °C ชื่อลานีญากำเนิดจากภาษาสเปน หมายถึง "เด็กหญิง" คล้ายกับเอลนีโญที่หมายถึง "เด็กชาย" ลานีญา หรือที่บางทีเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "แอนติเอลนีโญ" เป็นปรากฏการณ์ตรงกันข้ามกับเอลนีโญ ซึ่งปรากฏการณ์เอลนีโญนี้จะเป็นช่วงที่อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นอย่างน้อย 0.5 °C และผลกระทบของลานีญามักจะตรงกันข้ามกับของเอลนีโญ เอลนีโญเป็นปรากฏการณ์ที่มีชื่อเสียงเนื่องจากสามารถมีผลกระทบร้ายแรงต่อสภาพอากาศของทั้งชายฝั่งชิลี เปรูและออสเตรเลีย รวมทั้งอีกหลายประเทศ ลานีญามักเกิดขึ้นหลังปรากฏการณ์เอลนีโญรุนแรง.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและลานีญา · ดูเพิ่มเติม »

ศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาค

ูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาค (Regional Specialized Meteorological Center, ย่อว่า RSMC) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบการเผยแพร่ข้อมูล คำแนะนำ และคำเตือนทางอุตุนิยมวิทยาในภูมิภาคที่ตนเองตั้งอยู่ ได้รับการยอมรับโดยความเห็นพ้องที่องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกในฐานะส่วนหนึ่งของหน่วยงานการเฝ้าระวังสภาพอากาศโลก.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาค · ดูเพิ่มเติม »

ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม

ูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่น (Joint Typhoon Warning Center (JTWC)) เป็นศูนย์ใน กองทัพเรือสหรัฐอเมริกา - กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา ทำงานที่ศูนย์พยากรณ์อากาศทางทะเลกองทัพเรือ (Naval Maritime Forecast Center) ในท่าเรือเพิร์ล, รัฐฮาวาย JTWC จะรับผิดชอบตรวจสอบพายุหมุนเขตร้อนและออกคำเตือนให้กับประเทศทางตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก, ทางใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย สำหรับกระทรวงกลาโหมแห่งสหรัฐอเมริกาจะรับผิดชอบสหรัฐอเมริกาและไมโครนีเซีย ศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่นมีจุดประสงค์คือ ป้องกันกองทัพเรือและกองทัพอากาศของสหรัฐอเมริกาและติดต่อกับประเทศอื่นๆทั่วโลกด้วยJoint Typhoon Warning Center.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม · ดูเพิ่มเติม »

สภาวะสมดุลอุทกสถิต

้าปริมาตรแก๊สส่วนที่ระบายสีไม่มีการเคลื่อนที่ แรงที่กระทำต่อแก๊สทางด้านขึ้นจะต้องเท่ากับแรงที่กระทำทางด้านลง สภาวะสมดุลอุทกสถิต (Hydrostatic equilibrium) เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อแรงกดจากความโน้มถ่วงมีค่าเท่ากับแรงดันต้านที่เกิดจากความดันในทิศทางตรงกันข้าม ตามกฎของนิวตัน แรงที่กระทำต่อปริมาตรของไหลที่ไม่มีการเคลื่อนที่ หรือมีการเคลื่อนที่ในอัตราคงที่ จะต้องมีผลรวมแรงเท่ากับศูนย์ กล่าวคือ แรงกระทำทางด้านขึ้นต้องเท่ากับแรงกระทำทางด้านลง สมดุลของแรงในลักษณะนี้เรียกว่า "สมดุลอุทกสถิต" (hydrostatic balance).

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและสภาวะสมดุลอุทกสถิต · ดูเพิ่มเติม »

สมมูลทีเอ็นที

มมูลทีเอ็นที (TNT equivalent) เป็นวิธีวัดพลังงานที่ปลดปล่อยออกมาในการระเบิด ตันของทีเอ็นทีเป็นหน่วยพลังงานเทียบเท่ากับ 4.184 จิกะจูล ซึ่งประมาณเท่ากับปริมาณพลังงานที่ปลดปล่อยออกมาในการระเบิดทีเอ็นทีหนึ่งตัน เมกะตันเป็นหน่วยพลังงานเท่ากับ 4.184 พีตาจูล กิโลตันและเมกะตันของทีเอ็นที เดิมใช้วัดอัตราพลังงานที่ปลดปล่อยออกมา และใช้วัดอำนาจทำลายล้างของอาวุธนิวเคลียร์ หน่วยนี้ถูกเขียนไว้ในสนธิสัญญาควบคุมอาวุธนิวเคลียร์หลายฉบับ และระบุอำนาจทำลายล้างเมื่อเทียบกับระเบิดธรรมดาอย่างทีเอ็นที ล่าสุด สมมูลทีเอ็นทีใช้อธิบายพลังงานที่ปลดปล่อยออกมาในเหตุการณ์ทำลายล้างสูงอื่น อาทิ การพุ่งชนของอุกกาบาต อย่างไรก็ตาม ทีเอ็นทีมิใช่ระเบิดตามแบบที่มีพลังงานมากที่สุด ตัวอย่างเช่น ไดนาไมต์มีความหนาแน่นของพลังงานมากกว่าทีเอ็นที 60%.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและสมมูลทีเอ็นที · ดูเพิ่มเติม »

สถานีอวกาศนานาชาติ

นีอวกาศนานาชาติ (International Space Station, ISS, Междунаро́дная косми́ческая ста́нция, МКС, Station spatiale internationale, SSI) เป็นห้องทดลองและสถานอำนวยความสะดวกสำหรับงานค้นคว้าวิจัยในระดับนานาชาติซึ่งถูกประกอบขึ้นในวงโคจรต่ำของโลก การก่อสร้างเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและสถานีอวกาศนานาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สเกลพายุหมุนเขตร้อน

หมุนเขตร้อนจะถูกจัดระดับความรุนแรงอย่างเป็นทางการโดยการวัดลมที่หมุนเวียน ณ บนิเวณศูนย์กลางของระบบอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนมากการจัดระดับความรุนแรงของพายุจะกระทำโดยสำนักงานอุตุนิยมวิทยา แต่บางเครื่องวัดจะมีการวัดที่แตกต่างออกไปเช่น วัดพลังงานสะสมพายุหมุนเขตร้อน (Accumulated cyclone energy), ดัชนีการสูญเสียพลังงาน, ดัชนีพลังงานแบบบูรณาการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว และดัชนีความรุนแรงพายุเฮอร์ริเคน (Hurricane Severity Index) พายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือและทางตะวันออกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกจะใช้การจัดระดับความรุนแรงตามสเกลเฮอร์ริเคนของแซฟเฟอร์-ซิมป์สัน ส่วนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือจะใช้การจัดระดับความรุนแรงตามสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น ส่วนศูนย์อุตุนิยมวิทยาภูมิภาค (RSMC) ในนิวเดลี, อินเดีย จะใช้สเกลที่แตกต่างออกไปเพื่อประเมินความเร็วลมสูงสุดของพายุหมุนเขตร้อน ส่วนในซีกโลกใต้ ศูนย์พยากรณ์สำนักงานอุตุนิยมวิทยาฝรั่งเศส ในเรอูว์นียงจะใช้สเกลวัดครอบคลุมพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรอินเดีย ส่วนศูนย์อุตุนิยมวิทยาแห่งออสเตรเลียและ RSMC ใน นานดี, ฟิจิ จะใช้สเกลความรุนแรงพายุหมุนเขตร้อนของออสเตรเลีย คำนิยามของความเร็วลมตามที่องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกให้ไว้คือ คือเฉลี่ยของความเร็วลมสูงสุด 10 นาที ที่ความสูง 10 ม. (33 ฟุต) อย่างไรก็ตามสเกลเฮอร์ริเคนของแซฟเฟอร์-ซิมป์สัน จะใช้การวัดความเร็วลมสูงสุดใน 1 นาที ที่ความสูง 10 ม. (33 ฟุต) และสเกลที่ RSMC นิวเดลี ใช้คือเวลาเฉลี่ย 3 นาที และออสเตรเลียจะใช้ค่าลมกรรโชกสูงสุดเฉลี่ยใน 10 นาที จึงทำให้การเปรียบเทียบระดับความรุนแรงของแต่ละแอ่งนั้นเป็นไปโดยยาก โดยพายุหมุนเขตร้อนจะเริ่มถูกตั้งชื่อเมื่อมีความเร็วลมมากกว่า 35 นอต (40 ไมล์/ชม. หรือ 65 กม./ชม.).

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและสเกลพายุหมุนเขตร้อน · ดูเพิ่มเติม »

สเปกตรัมมองเห็นได้

การกระจายของแสงเมื่อเดินทางผ่านปริซึม สเปกตรัมมองเห็นได้ (visible spectrum) เป็นช่วงหนึ่งของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่สามารถมองเห็นได้ด้วยดวงตาของมนุษย์ การแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงความยาวคลื่นนี้บางครั้งก็เรียกว่า "แสงที่ตามองเห็น" หรือ "แสง" เฉยๆ ความยาวคลื่นช่วงนี้อยู่ระหว่าง 380-750 นาโนเมตร สเปคตรัมของแสงไม่ได้มีสีทุกสีที่ตาและสมองของมนุษย์สามารถรับรู้ บางสีที่หายไปเช่นชมพู หรือม่วงอมแดง แต่สามารถเกิดขึ้นได้จากการผสมช่วงคลื่นที่มีความยาวคลื่นหลายแ.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและสเปกตรัมมองเห็นได้ · ดูเพิ่มเติม »

หยาดน้ำฟ้า

ในทางอุตุนิยมวิทยา หยาดน้ำฟ้า (precipitation) เป็นปรากฏการณ์ของน้ำในอากาศ (hydrometeor) ประเภทหนึ่ง ซึ่งหมายความถึงผลิตภัณฑ์ใด ๆ อันเกิดจากการควบแน่นของไอน้ำในบรรยากาศและตกลงมาด้วยอิทธิพลของแรงโน้มถ่วง รูปแบบหลักของหยาดน้ำฟ้าประกอบด้วยฝนละออง (drizzle), ฝน, ฝนน้ำแข็ง (sleet), หิมะ, ลูกปรายหิมะ (graupel) และลูกเห็บ หยาดน้ำฟ้าเกิดขึ้นเมื่อบรรยากาศเหนือพื้นดินบริเวณหนึ่งอิ่มตัวด้วยไอน้ำ จากนั้นน้ำเกิดการควบแน่นและตกลงมา หมอกและหมอกน้ำค้างจึงไม่จัดเป็นหยาดน้ำฟ้า มีอยู่สองกระบวนการที่อากาศอิ่มตัวได้ คือ อากาศได้รับความเย็นหรือเพิ่มไอน้ำเข้าไปในอากาศ ซึ่งสองกระบวนการนี้อาจเกิดร่วมกันได้ โดยทั่วไป หยาดน้ำฟ้าจะตกกลับคืนสู่พื้นดิน แต่ยกเว้นน้ำโปรยฐานเมฆ (virga) ซึ่งระเหยไปหมดก่อนตกถึงพื้น หยาดน้ำฟ้าก่อตัวขึ้นเป็นหยาดเล็กที่รวมกันโดยชนกับหยดฝนหรือผลึกน้ำแข็งอื่นภายในเมฆ หยดฝนที่ตกลงมามีขนาดแตกต่างกันตั้งแต่รูปทรงคล้ายแพนเค้กกลมแป้นสำหรับหยดขนาดใหญ่ ถึงทรงกลมเล็กสำหรับหยดขนาดเล็ก เกล็ดหิมะ (snowflake) มีหลายรูปทรงและแบบ ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและความชื้นของอากาศที่เกล็ดหิมะเคลื่อนผ่านก่อนตกสู่พื้น หิมะและลูกปรายหิมะจะเกิดเฉพาะเมื่ออุณหภูมิใกล้ผิวดินใกล้หรือต่ำกว่าจุดเยือกแข็งของน้ำ ส่วนลูกเห็บสามารถเกิดขึ้นในเขตอุณหภูมิอบอุ่นได้จากกระบวนการก่อตัว โดยรวมหยาดน้ำฟ้าเกิดจากความชื้นเหนือแนวปะทะ (weather front) เป็นหลัก หากมีความชื้นเพียงพอและมีการเคลื่อนที่ขึ้น หยาดน้ำฟ้าจะตกจากมวลอากาศร้อนขึ้นทางแนวดิ่ง (convective cloud) เช่น คิวมูโลนิมบัส และสามารถก่อตัวเป็นบริเวณแถบฝนแคบ ๆ ได้.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและหยาดน้ำฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

อาวุธนิวเคลียร์

ญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ. 2488 ปลายสงครามโลกครั้งที่สอง อาวุธนิวเคลียร์ เป็นวัตถุระเบิดซึ่งมีอำนาจทำลายล้างมาจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ ไม่ว่าจะเป็นปฏิกิริยาฟิชชัน(atomic bomb)อย่างเดียว หรือ ฟิชชันและฟิวชัน(hydrogen bomb)รวมกัน ปฏิกิริยาทั้งสองปลดปล่อยพลังงานปริมาณมหาศาลจากสสารปริมาณค่อนข้างน้อย การทดสอบระเบิดฟิชชัน ("อะตอม") ลูกแรกปลดปล่อยพลังงานออกมาเทียบเท่ากับทีเอ็นทีประมาณ 20,000 ตัน การทดสอบระเบิดเทอร์โมนิวเคลียร์ ("ระเบิดไฮโดรเจน") ลูกแรก ปลดปล่อยพลังงานออกมาเท่ากับทีเอ็นทีประมาณ 10,000,000 ตัน อาวุธเทอร์โมนิวเคลียร์สมัยใหม่ที่หนักกว่า 1,100 กิโลกรัมเล็กน้อย สามารถก่อให้เกิดแรงระเบิดเทียบเท่ากับการจุดจามทีเอ็นทีมากกว่า 1.2 ล้านตัน ดังนั้น กระทั่งวัตถุนิวเคลียร์ลูกเล็กๆ ที่ขนาดไม่ใหญ่ไปกว่าระเบิดธรรมดา สามารถทำลายล้างนครทั้งนครได้ ด้วยแรงระเบิด ไฟและกัมมันตรังสี อาวุธนิวเคลียร์ถูกพิจารณาว่าเป็นอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง และการใช้และควบคุมอาวุธนิวเคลียร์ได้กลายเป็นจุดสนใจสำคัญของนโยบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนับแต่ถือกำเนิดขึ้น มีอาวุธนิวเคลียร์เพียงสองชิ้นเท่านั้นที่เคยใช้ตลอดห้วงการสงคราม ทั้งสองครั้งโดยสหรัฐอเมริกายามสงครามโลกครั้งที่สองใกล้ยุติ วันที่ 6 สิงหาคม..

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและอาวุธนิวเคลียร์ · ดูเพิ่มเติม »

อินฟราเรด

มนุษย์ในย่าน mid-infrared เป็นภาพที่เกิดจากรังสีความร้อนที่แผ่ออกมาจากคน รังสีอินฟราเรด (Infrared (IR)) มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า รังสีใต้แดง หรือรังสีความร้อน เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นอยู่ระหว่างคลื่นวิทยุและแสงมีความถี่ในช่วง 1011 – 1014 เฮิร์ตซ์หรือความยาวคลื่นตั้งแต่ 1-1000 ไมโครเมตร มีความถี่ในช่วงเดียวกับไมโครเวฟ มีความยาวคลื่นอยู่ระหว่างแสงสีแดงกับคลื่นวิทยุสสารทุกชนิดที่มีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง -200 องศาเซลเซียสถึง 4,000 องศาเซลเซียส จะปล่อยรังสีอินฟราเรดออกมา คุณสมบัติเฉพาะตัวของรังสีอินฟราเรด เช่น ไม่เบี่ยงเบนในสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ที่แตกต่างกันก็คือ คุณสมบัติที่ขึ้นอยู่กับความถี่ คือยิ่งความถี่สูงมากขึ้น พลังงานก็สูงขึ้นด้วย  ถูกค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ คือ Sir William Herschel ซึ่งได้ค้นพบ รังสีอินฟราเรดสเปกตรัมในปี.. 1800จากการทดลองโดยทดสอบว่าในเลนส์แต่ละสี จะเปลี่ยนค่าแสดงความร้อนของดวงอาทิตย์หรือไม่ จึงประดิษฐ์อุปกรณ์การทดลองเพื่อหาคำตอบใช้ปริซึมแยกแสง แล้วให้แสงต่างๆมาตกที่เทอร์โมมิเตอร์ก็ตั้งเทอร์โมมิเตอร์ตัวหนึ่งนอกเหนือจากแสงสีต่าง ๆ นั้น เพื่อเป็นตัวควบคุมการทดลอง ปรากฏว่า แสงสีต่าง มีอุณหภูมิสูงกว่าแสงสีขาว และอุณหภูมิสูงขึ้นจาก สีม่วง ไปหาสีแดง ปรากฏว่า เทอร์โมมิเตอร์ ตัวที่อยู่นอกเหนือจากแสงสีแดงนั้น กลับวัดได้อุณหภูมิสูงกว่าทุกตัว พบว่า ส่วนของแสงที่มองไม่เห็นแต่ร้อนกว่าสีแดงนี้ มีคุณสมบัติทางกายภาพเช่นเดียวกับคลื่นแสงที่มองเห็นได้ทุกประการ เช่น การหักเห ดูดซับ ส่องผ่านหรือไม่ผ่านตัวกลาง รังสีที่ถูกค้นพบใหม่นี้ตั้งชื่อว่า " รังสีอินฟราเรด " (ขอบเขตที่ต่ำกว่าแถบสีแดงหรือรังสีใต้แดง)  ในการใช้ประโยชน์ ใช้ในการควบคุมเครื่องใช้ระบบไกล (remote control) สร้างกล้องอินฟราเรดที่สามารถมองเห็นวัตถุในความมืดได้ เช่น อเมริกาสามารถใช้กล้องอินฟราเรดมองเห็นเวียตกงได้ตั้งแต่สมัยสงครามเวียดนาม และสัตว์หลายชนิดมีนัยน์ตารับรู้รังสีชนิดนี้ได้ ทำให้มองเห็นหรือล่าเหยื่อได้ในเวลากลางคืน เรามองไม่เห็นรังสีอินฟราเรด แต่เราก็รู้สึกถึงความร้อนได้ สัตว์บางชนิด เช่น งู มีประสาทสัมผัสรังสีอินฟราเรด มันสามารถทราบตำแหน่งของเหยื่อได้ โดยการสัมผัสรังสีอินฟราเรดซึ่งแผ่ออกมาจากร่างกายของเหยื่อ รังสีที่มีความยาวคลื่นน้อยกว่าแสงสีม่วงเรียกว่า “รังสีอุลตราไวโอเล็ต” โลกและสิ่งชีวิตแผ่รังสีอินฟราเรดออกมา เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ และไอน้ำ ในบรรยากาศดูดซับรังสีนี้ไว้ ทำให้โลกมีความอบอุ่น เหมาะกับการดำรงชีวิต .

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและอินฟราเรด · ดูเพิ่มเติม »

องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก

ตราสัญลักษณ์ องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization; ย่อ WMO) เป็นองค์การระหว่างรัฐบาลซึ่งมีรัฐและดินแดนสมาชิกจำนวนหนึ่งร้อยเก้าสิบเอ็ดราย จัดตั้งขึ้นเป็นทบวงการชำนัญพิเศษขององค์การสหประชาชาติเมื่อ..

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก · ดูเพิ่มเติม »

อ่าวไทย

อ่าวไทย อ่าวไทย เป็นน่านน้ำที่อยู่ในทะเลจีนใต้ มหาสมุทรแปซิฟิก ล้อมรอบด้วยประเทศไทย มาเลเซีย กัมพูชา และเวียดนาม อ่าวไทยไม่เพียงแต่มีความสำคัญในทางภูมิศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ แต่ยังมีความสำคัญในทางกฎหมายอาญาอย่างยิ่ง โดยถือเป็นอาณาเขตที่ศาลไทยมีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับความผิดที่เกิดขึ้นในอาณาบริเวณอ่าวไทยตามที่กำหนดเขตไว้ในกฎหมายให้ถือเป็นราชอาณาจักรไทยด้ว.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและอ่าวไทย · ดูเพิ่มเติม »

จูล

ูล (joule; สัญลักษณ์ J) เป็นหน่วยเอสไอ ของ พลังงาน, หรือ งาน ใช้ชื่อนี้เพื่อเป็นเกียรติแก่นักฟิสิกส์ที่ชื่อ เจมส์ เพรสคอตต์ จูล (James Prescott Joule-พ.ศ. 2361–2432).

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและจูล · ดูเพิ่มเติม »

ทอร์นาโด

ทอร์นาโดที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา ทอร์นาโด หรือ ทอร์เนโด (tornado) หรือ ลมงวง (ช้าง) เป็นพายุที่เกิดจากการหมุนของอากาศ สามารถเกิดขึ้นได้ในหลายลักษณะ โดยลักษณะที่พบได้บ่อยที่สุดคือลักษณะรูปทรงกรวย โดยส่วนปลายโคนชี้ลงที่พื้น ทอร์นาโดสามารถก่อพลังทำลายได้สูง โดยความเร็วลมสามารถสูงมากถึง 500 กม/ชม (300 ไมล์/ชม) ซึ่งก่อให้เกิดการพังทลายของสิ่งก่อสร้างได้ ถึงแม้ว่าทอร์นาโดส่วนใหญ่เกิดในสหรัฐอเมริกา ทอร์นาโดยังสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกทวีปและในหลายประเทศ อาทิเช่น ประเทศญี่ปุ่นมีการเกิดประมาณปีละ 20 ครั้ง.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและทอร์นาโด · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเทียม

นีบนพื้นโลก ดาวเทียม (satellite) คือ สิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์คิดค้นขึ้นเป็นสิ่ง ที่สามารถโคจรรอบโลก โดยอาศัยแรงดึงดูดของโลก ส่งผลให้สามารถโคจรรอบโลกได้ในลักษณะเดียวกันกับที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก และโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ วัตถุประสงค์ของสิ่งประดิษฐ์นี้เพื่อใช้ ทางการทหาร การสื่อสาร การรายงานสภาพอากาศ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์เช่นการสำรวจทางธรณีวิทยาสังเกตการณ์สภาพของอวกาศ โลก ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวอื่นๆ รวมถึงการสังเกตวัตถุ และดวงดาว ดาราจักร ต่าง.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและดาวเทียม · ดูเพิ่มเติม »

ความกดอากาศ

'ความดันบรรยากาศความกดอากาศ, ความดันอากาศหรือเป็น ความกดดันอยู่จุดใดหนึ่งของชั้นบรรยากาศของโลก โดยทั่วไปความกดอากาศจะประมาณเท่ากับความกดดันที่เกิดขึ้นย้อนน้ำหนักของอากาศอยู่บนจุดนั้น ๆ ซึ่งหมายความว่า จุดที่มีความกดอากาศต่ำจะมีอากาศที่มีมวลสารต่ำกว่าจะอยู่ข้างบนนั้น ด้วยเหตุผลแบบเดียวกัน ความกดอากาศจะต่ำลงเมื่อระดับความสูงเพิ่มขึ้น ความกดอากาศที่ความสูงระดับน้ำทะเล จะเท่ากับ 1 atm (หนึ่งหน่วยบรรยากาศ) นั่นก็คือ 760 mmHg (มิลลิเมตรปรอท)นั่นเอง.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและความกดอากาศ · ดูเพิ่มเติม »

ความร้อน

ในทางฟิสิกส์ ความร้อน (ใช้สัญลักษณ์ว่า Q) หมายถึง พลังงานที่ถ่ายเทจากสสารหรือระบบหนึ่งไปยังสสารหรือระบบอื่นโดยอาศัยความแตกต่างของอุณหภูมิ ในทางอุณหพลศาสตร์จะใช้ปริมาณ TdS ในการวัดปริมาณความร้อน ซึ่งมีความหมายถึง อุณหภูมิสัมบูรณ์ของวัตถุ (T) คูณกับอัตราการเพิ่มของเอนโทรปีในระบบเมื่อวัดที่พื้นผิวของวัตถุ ความร้อนสามารถไหลผ่านจากวัตถุที่มีอุณหภูมิสูงไปสู่วัตถุที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า หากต้องการให้ความร้อนถ่ายเทไปยังวัตถุที่มีอุณหภูมิเท่ากันหรือสูงกว่าจะทำได้ก็ต่อเมื่อใช้ปั๊มความร้อนเท่านั้น การสร้างแหล่งความร้อนที่มีอุณหภูมิสูงสามารถทำได้จากปฏิกิริยาเคมี (เช่นการเผาไหม้) ปฏิกิริยานิวเคลียร์ (เช่นฟิวชันในดวงอาทิตย์) การเคลื่อนที่ของอนุภาคแม่เหล็กไฟฟ้า (เช่นเตาไฟฟ้า) หรือการเคลื่อนที่ทางกล (เช่นการเสียดสี) โดยที่อุณหภูมิเป็นหน่วยวัดปริมาณของพลังงานภายในหรือเอนทาลปี ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ส่งผลต่ออัตราการถ่ายเทความร้อนของวัตถุนั้นๆ ความร้อนสามารถถ่ายเทระหว่างวัตถุได้สามวิธีคือ การแผ่รังสี การนำความร้อน และการพาความร้อน นอกจากนี้มีกระบวนการถ่ายเทความร้อนอีกแบบหนึ่งคือ ความร้อนแฝง ซึ่งเกิดขึ้นในกระบวนการเปลี่ยนแปลงสถานะ เช่น จากของแข็งเป็นของเหลว หรือจากของเหลวเป็นก๊าซ เป็นต้น.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและความร้อน · ดูเพิ่มเติม »

ความร้อนแฝงจำเพาะ

วามร้อนแฝงจำเพาะ (Specific Latent Heat.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและความร้อนแฝงจำเพาะ · ดูเพิ่มเติม »

งาน (ฟิสิกส์)

งาน หรือ งานเชิงกล ในทางฟิสิกส์ คือปริมาณของพลังงานซึ่งถูกส่งมาจากแรงที่กระทำต่อวัตถุให้เคลื่อนที่ไปได้ระยะทางขนาดหนึ่ง งานเป็นปริมาณสเกลาร์เช่นเดียวกับพลังงาน มีหน่วยเอสไอเป็นจูล คำศัพท์ งาน (work) ที่ใช้อธิบายพลังงานเช่นนี้บัญญัติโดย Gaspard-Gustave Coriolis นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ทฤษฎีบทงาน-พลังงาน กล่าวว่า ถ้ามีแรงภายนอกมากระทำต่อวัตถุคงรูป ซึ่งทำให้พลังงานจลน์ของวัตถุเปลี่ยนจาก Ek1 เป็น Ek2 ดังนั้นงานเชิงกล W หาได้จากสูตรดังนี้ เมื่อ m คือมวลของวัตถุ และ v คือความเร็วของวัตถุ ถ้าแรง F ที่กระทำต่อวัตถุ ส่งผลให้วัตถุนั้นเคลื่อนที่ไปเป็นระยะทาง d และทิศทางของแรงขนานกับการกระจัด งานที่เกิดขึ้นต่อวัตถุนั้นก็สามารถคำนวณได้จากขนาดของแรง F คูณด้วย d Resnick, Robert and Halliday, David (1966), Physics, Section 7-2 (Vol I and II, Combined edition), Wiley International Edition, Library of Congress Catalog Card No.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและงาน (ฟิสิกส์) · ดูเพิ่มเติม »

ตา (พายุหมุน)

ตาพายุ คือบริเวณที่สภาพอากาศโดยส่วนมากสงบที่จุดศูนย์กลางของพายุหมุนเขตร้อนที่มีพลัง ตาของพายุมีลักษณะเป็นพื้นที่วงกลมอย่างคร่าว ๆ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางโดยปกติที่ 30–65 กม.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและตา (พายุหมุน) · ดูเพิ่มเติม »

ซีกโลกใต้

ซีกโลกใต้จากเหนือขั้วโลกใต้ ซีกโลกใต้เป็นครึ่งทรงกลมของโลกที่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร มีทั้งหมดหรือบางส่วนของห้าทวีป (แอนตาร์กติกา ออสเตรเลีย ประมาณ 9/10 ของทวีปอเมริกาใต้ 1/3 ทางใต้ของทวีปแอฟริกา และหลายหมู่เกาะทางใต้นอกฝั่งแผ่นดินใหญ่ทวีปเอเชีย) สี่มหาสมุทร (อินเดีย แอตแลนติกใต้ ใต้และแปซิฟิกใต้) และโอเชียเนียส่วนมาก เนื่องจากความเอียงของการหมุนของโลกเทียบกับดวงอาทิตย์และระนาบอุปราคา ฤดูร้อนจึงกินเวลาตั้งแต่เดือนธันวาคมถึงมีนาคม และฤดูหนาวกินเวลาตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงกันยายน วันที่ 22 หรือ 23 กันยายนเป็นวสันตวิษุวัต และวันที่ 20 หรือ 21 มีนาคมเป็นศารทวิษุวัต.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและซีกโลกใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ซีกโลกเหนือ

แผนที่ทางภูมิศาสตร์ของซีกโลกเหนือ บริเวณสีน้ำเงินคือซีกโลกเหนือ ส่วนบริเวณสีเหลืองคือซีกโลกใต้ เส้นที่ลากผ่านกึ่งกลางภาพคือเส้นศูนย์สูตร ซีกโลกเหนือ (northern hemisphere) คือบริเวณของโลกที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรขึ้นไปจนถึงขั้วโลกเหนือ ตรงข้ามกับซีกโลกใต้ ค่าพิกัดภูมิศาสตร์ของละติจูดของตำแหน่งใดก็ตามบนซีกโลกเหนือจะเป็นบวกเสมอและใช้สัญลักษณ์แทนด้วยตัว N ฤดูหนาวของพื้นที่ในซีกโลกเหนือจะเริ่มตั้งแต่เหมายัน (ราววันที่ 21 ธันวาคม) จนถึงวสันตวิษุวัต (ราววันที่ 20 มีนาคม) ส่วนฤดูร้อนจะเริ่มตั้งแต่ครีษมายัน (ราววันที่ 21 มิถุนายน) ไปจนถึงศารทวิษุวัต (ราววันที่ 23 กันยายน) ซีกโลกเหนือประกอบด้วยพื้นน้ำมากกว่าแผ่นดินอย่างชัดเจน แต่ก็ยังปกคลุมด้วยแผ่นดินมากกว่าซีกโลกใต้ ซีกโลกเหนือประกอบด้วยแผ่นดิน 39 % และพื้นน้ำ 61 % ประชากรราว 90 % ของโลกอาศัยอยู่ในซีกโลกเหนือ แผ่นดินส่วนใหญ่เป็นทวีปยุโรป ทวีปเอเชีย ซึ่งเป็นทวีปที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทวีปอเมริกาเหนือ และส่วนใหญ่ของทวีปแอฟริกา นอกจากนี้ยังมีบางส่วนของทวีปอเมริกาใต้ กรีนแลนด์ เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก มหาสมุทรที่มีพื้นที่อยู่ในซีกโลกเหนือได้แก่มหาสมุทรอาร์กติก มหาสมุทรแปซิฟิกและแอตแลนติกราวครึ่งหนึ่ง และมหาสมุทรอินเดียบางส่วน จุดศูนย์กลางของซีกโลกเหนือคือขั้วโลกเหนือ ซึ่งเป็นจุดตัดทิศเหนือระหว่างขั้วโลกกับพื้นผิวของโลก ส่วนขั้วแม่เหล็กเหนือจะแปรผันไปเหนือเส้นอาร์กติกเซอร์เคิล ออโรราที่เกิดขึ้นในซีกโลกเหนือเรียกว่า aurora borealis หรือ แสงเหนือ ในภาษาไทย เนื่องจากแรงโคริออลิสจากการหมุนของโลก บริเวณความกดอากาศต่ำที่กำเนิดในซีกโลกเหนือ เช่น เฮอร์ริเคนหรือไต้ฝุ่น จะปรากฏการหมุนของพายุในทิศทวนเข็มนาฬิกาเสมอ ซีกเหนือของดาวเคราะห์ดวงอื่นในระบบสุริยะสามารถนิยามได้จาก บริเวณของดาวที่มีซีกฟ้าเดียวกับขั้วโลกเหนือเมื่อเทียบกับระนาบไม่แปรผันของระบบสุร.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและซีกโลกเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศบราซิล

ราซิล (Brazil; Brasil) หรือชื่อทางการว่า สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล (Federal Republic of Brazil; República Federativa do Brasil) เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ และเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 5 ของโลก มีพื้นที่กว้างขวางระหว่างตอนกลางของทวีปอเมริกาใต้และ มหาสมุทรแอตแลนติก มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศอุรุกวัย อาร์เจนตินา ปารากวัย โบลิเวีย เปรู โคลอมเบีย เวเนซุเอลา กายอานา ซูรินาม และแคว้นเฟรนช์เกียนาของฝรั่งเศส (ติดกับทุกประเทศในทวีปอเมริกาใต้ ยกเว้นเอกวาดอร์และชิลี) ชื่อ "บราซิล" มาจากต้นไม้ชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า บราซิลวูด (Pau-Brasil ในภาษาโปรตุเกส) ซึ่งนำไปใช้ย้อมผ้าด้วยสีแดงจากเปลือกไม้ของมัน บราซิลเป็นดินแดนแห่งเกษตรกรรมและป่าเขตร้อน การที่บราซิลมีทรัพยากรธรรมชาติที่มากมายและมีแรงงานเป็นจำนวนมาก ทำให้เป็นประเทศที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) สูงที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ (สูงเป็นอันดับที่ 10 ของโลก) และเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคในปัจจุบัน บราซิลใช้ภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาทางการ.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและประเทศบราซิล · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฟิลิปปินส์

ฟิลิปปินส์ (Philippines; Pilipinas) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines; Republika ng Pilipinas) เป็นประเทศเอกราชที่เป็นหมู่เกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ประกอบด้วยเกาะ 7,641 เกาะ ซึ่งจัดอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ใหญ่ 3 เขตจากเหนือจรดใต้ ได้แก่ ลูซอน, วิซายัส และมินดาเนา เมืองหลวงของประเทศคือมะนิลา ส่วนเมืองที่มีประชากรมากที่สุดคือนครเกซอน ทั้งสองเป็นส่วนหนึ่งของเมโทรมะนิลา ฟิลิปปินส์มีอาณาเขตติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางทิศตะวันตก ทะเลฟิลิปปินทางทิศตะวันออก และทะเลเซเลบีสทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับไต้หวันทางทิศเหนือ ปาเลาทางทิศตะวันออก มาเลเซียและอินโดนีเซียทางทิศใต้ และเวียดนามทางทิศตะวันตก ฟิลิปปินส์ตั้งอยู่ในแถบวงแหวนไฟและใกล้กับเส้นศูนย์สูตร ทำให้มีแนวโน้มสูงที่จะประสบภัยจากแผ่นดินไหวและไต้ฝุ่น แต่ก็ทำให้มีทั้งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่งเช่นกัน ฟิลิปปินส์มีเนื้อที่ประมาณ 300,000 ตารางกิโลเมตร (115,831 ตารางไมล์) และมีประชากรประมาณ 100 ล้านคน นับเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 8 ในเอเชีย และเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 12 ของโลก นอกจากนี้ ณ ปี..

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและประเทศฟิลิปปินส์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

ปริภูมิสามมิติ

ระบบพิกัดคาร์ทีเซียน 3 มิติ แบบมือขวา ปริภูมิสามมิติ (3D space) หรือเรียกโดยย่อว่า สามมิติ (3D) เป็นแบบจำลองทางเรขาคณิตของจักรวาลที่เราอยู่ โดยปกติในแต่ละมิติจะประกอบด้วย ความกว้าง ความยาว และความสูงหรือความลึก แม้ว่าในความเป็นจริงทิศทางสามทิศทางใดๆที่ตั้งฉากซึ่งกันและกันก็สามารถถูกเรียกได้ว่าเป็นสามมิติ ในฟิสิกส์ อวกาศสามมิติสามารถมองขยายให้เป็นสี่มิติ ได้โดยการรวมมิติที่สี่ คือ เวลา เข้าไปด้วย เรียกว่า กาล-อวกาศ (space-time) หรือ Minkowski space (ดู ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป) หมวดหมู่:เรขาคณิตหลายมิติ หมวดหมู่:เรขาคณิตทรงตันแบบยุคลิด.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและปริภูมิสามมิติ · ดูเพิ่มเติม »

นครนิวยอร์ก

นครนิวยอร์ก หรือที่นิยมเรียกกันว่า นิวยอร์กซิตี (New York City; NYC) เป็นเมืองใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา เป็นเมืองที่เจริญที่สุดในโลก เป็นมหานครเอกของโลก จัดได้ว่าเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเงิน วัฒนธรรม บันเทิง ที่สำคัญที่สุดของโลก เป็นเมืองที่มี ตึกระฟ้า ตึกสูงมาก ตลอดระยะเวลา 150 ปี และยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ นิวยอร์กตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วย 5 เขตปกครองที่เรียกว่า โบโรฮ์ (Borough) คือ เดอะบรองซ์ บรูคลิน แมนแฮตตัน ควีนส์ และสแตตัน ไอส์แลนด์ ประชากรรวมทั้งหมดประมาณ 8,274,527 คน ภายในพื้นที่ 790 ตร.กม.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและนครนิวยอร์ก · ดูเพิ่มเติม »

น้ำ

น้ำในสองสถานะ: ของเหลว (รวมทั้งก้อนเมฆซึ่งเป็นตัวอย่างของละอองลอย) และของแข็ง (น้ำแข็ง) น้ำเป็นสิ่งที่โปร่งใส ไม่มีรส ไม่มีกลิ่น และเกือบจะไม่มีสี ซึ่งเป็นสารเคมีที่เป็นองค์ประกอบหลักของลำธาร, แม่น้ำ, และมหาสมุทรในโลก เป็นต้น และยังเป็นของเหลวในสิ่งมีชีวิต มีสูตรเคมีคือ H2O โมเลกุลของน้ำประกอบด้วยออกซิเจน 1 อะตอมและไฮโดรเจน 2 อะตอมเชื่อมติดกันด้วยพันธะโควาเลนต์ น้ำเป็นของเหลวที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน แต่พบบนโลกที่สถานะของแข็ง (น้ำแข็ง) และสถานะแก๊ส (ไอน้ำ) น้ำยังมีในสถานะของผลึกของเหลวที่บริเวณพื้นผิวที่ขอบน้ำ นอกจากนี้ยังสามารถเกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น หิมะ, ธารน้ำแข็ง, และภูเขาน้ำแข็ง, ก้อนเมฆ, หมอก, น้ำค้าง, ชั้นหินอุ้มน้ำ และ ความชื้นในบรรยากาศ น้ำปกคลุม 71% บนพื้นผิวโลก และเป็นปัจจัยสำคัญต่อชีวิต น้ำบนโลก 96.5% พบในมหาสมุทร 1.7% ในน้ำใต้ดิน 1.7% ในธารน้ำแข็งและชั้นน้ำแข็งของทวีปแอนตาร์กติกาและเกาะกรีนแลนด์ ซึ่งเป็นเศษส่วนเล็กน้อยบนผิวน้ำขนาดใหญ่ และ 0.001% พบในอากาศเป็นไอน้ำ ก้อนเมฆ (ก่อตัวขึ้นจากอนุภาคน้ำในสถานะของแข็งและของเหลวแขวนลอยอยู่บนอากาศ) และหยาดน้ำฟ้า น้ำบนโลกเพียง 2.5% เป็นน้ำจืด และ 98.8% ของน้ำจำนวนนั้นพบในน้ำแข็งและน้ำใต้ดิน น้ำจืดน้อยกว่า 0.3% พบในแม่น้ำ ทะเลสาบ และชั้นบรรยากาศ และน้ำจืดบนโลกในปริมาณที่เล็กลงไปอีก (0.003%) พบในร่างกายของสิ่งมีชีวิตและผลิตภัณฑ์ น้ำบนโลกเคลื่อนที่ต่อเนื่องตามวัฏจักรของการระเหยเป็นไอและการคายน้ำ (การคายระเหย) การควบแน่น การตกตะกอน และการไหลผ่าน โดยปกติจะไปถึงทะเล การระเหยและการคายน้ำนำมาซึ่งการตกตะกอนลงสู่พื้นดิน น้ำดื่มสะอาดเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ แม้ว่าน้ำจะไม่มีแคลอรีหรือสารอาหารที่เป็นสารประกอบอินทรีย์ใดๆ การเข้าถึงน้ำดื่มสะอาดได้เปลี่ยนแปลงไปในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมาในเกือบทุกส่วนของโลก แต่ประชากรประมาณ 1 พันล้านคนยังคงขาดแคลนน้ำดื่มสะอาดและกว่า 2.5 พันล้านคนขาดแคลนสุขอนามัยที่เพียงพอ มีความเกี่ยวพันกันเรื่องน้ำสะอาดและค่า GDP ต่อคน อย่างไรก็ดี นักสังเกตบางคนประมาณไว้ว่าภายในปี..

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

น้ำท่วม

วัดไชยวัฒนารามที่ถูกน้ำท่วมในอุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554 น้ำท่วม เป็นการไหลล้นของห้วงน้ำซึ่งทำให้แผ่นดินจมอยู่ใต้น้ำ คำว่า "น้ำเอ่อล้น" (flowing water) ยังอาจใช้กับการไหลเข้าของกระแสน้ำ น้ำท่วมอาจเป็นผลของปริมาตรน้ำภายในแหล่งน้ำ เช่น แม่น้ำหรือทะเลสาบ ซึ่งไหลล้นหรือทลายคันดิน เป็นผลให้น้ำบางส่วนออกจากขอบเขตตามปกติของมัน ขณะที่ขนาดของทะเลสาบหรือแหล่งน้ำอื่นมีความแตกต่างกันตามการเปลี่ยนแปลงหยาดน้ำฟ้าและการละลายของหิมะตามฤดูกาล แต่น้ำนั้นมิใช่อุทกภัยที่สำคัญเว้นแต่น้ำนั้นออกมาคุกคามพื้นที่ดินที่มนุษย์ใช้ เช่น หมู่บ้าน นครหรือพื้นที่อยู่อาศัยอื่น น้ำท่วมยังสามารถเกิดในแม่น้ำได้ เมื่อการไหลนั้นเกินความจุของฝั่งน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่หัวเลี้ยว (bend) หรือทางน้ำโค้งตวัด (meander) อุทกภัยมักทำความเสียหายแก่บ้านและธุรกิจหากตั้งอยู่ในที่ราบน้ำท่วมถึงตามธรรมชาติ ขณะที่ความเสียหายอันเกิดจากอุทกภัยนั้นแท้จริงแล้วหมดไปได้โดยการย้ายออกจากแม่น้ำหรือแหล่งน้ำอื่น หากตั้งแต่สมัยโบราณ ผู้คนได้อาศัยและทำงานอยู่ริมน้ำเพื่อการยังชีพและได้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวและการพาณิชย์ที่ถูกและง่ายโดยอาศัยอยู่ใกล้น้ำ การที่มนุษย์ยังคงอาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมนั้นเป็นหลักฐานว่า มูลค่าที่สัมผัสได้ของการอาศัยอยู่ใกล้น้ำมีมากเกินมูลค่าของน้ำท่วมที่เกิดซ้ำเป็นเวล.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและน้ำท่วม · ดูเพิ่มเติม »

น้ำขึ้นจากพายุ

ผลกระทบของน้ำขึ้นจากพายุ น้ำขึ้นจากพายุ (storm surge หรือ tidal surge) คือคลื่นที่เกิดจากการยกตัวขึ้นของน้ำทะเลนอกชายฝั่งด้วยอิทธิพลของความกดอากาศต่ำและอิทธิพลของพายุหมุนเขตร้อน น้ำขึ้นจากพายุขั้นตอนแรกเกิดจากลมความเร็วสูงที่พัดผลักดันผิวมหาสมุทร ลมจะทำให้น้ำยกตัวสูงขึ้นจากระดับน้ำทะเลปกติ ขั้นตอนที่สองคือความกดอากาศต่ำที่ศูนย์กลางพายุ (ตาพายุ) มีผลเพิ่มยกระดับน้ำขึ้นอีกเล็กน้อย และอีกสาเหตุคือชั้นความลึก (bathymetry) ของน้ำทะเล ผลกระทบรวมจากปรากฏการณ์ความกดอากาศต่ำร่วมกับการพัดของลมพายุเหนือทะเลน้ำตื้นนี้เองที่เป็นต้นเหตุของอุทกภัยจากน้ำขึ้นจากพายุ คำว่า "storm surge" ในภาษาอังกฤษยังมีคำอื่น ๆ ที่ใช้แบบไม่เป็นทางการ (ไม่ใช่ศัพท์ทางวิทยาศาสตร์) คือ "storm tide" (น้ำขึ้นหนุนจากพายุ) นั่นเพราะมันเกี่ยวโยงกับการยกขึ้นของน้ำทะเลจากพายุ, ภาวะน้ำขึ้นหนุน (plus tide), คลื่นเคลื่อนยกตัว (wave run-up), และการท่วมหลากของน้ำจืด เมื่อเอ่ยถึงอ้างอิงความสูงของน้ำขึ้นจากพายุ สิ่งสำคัญคือความชัดเจนของจุดอ้างอิง จากรายงานพายุหมุนเขตร้อนของศูนย์พายุหมุนแห่งชาติ (National Hurricane Center, NHC) รายงานอ้างอิงน้ำขึ้นจากพายุจากความสูงของระดับน้ำที่สูงเหนือจากระดับน้ำขึ้นของอุตุพยากรณ์ และความสูงของระดับน้ำที่ถูกพายุยกขึ้นเหนือจากสถิติระดับน้ำทะเลที่อ้างอิงใน พ.ศ. 2472 (NGVD-29).

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและน้ำขึ้นจากพายุ · ดูเพิ่มเติม »

แอนไทไซโคลน

แอนไทไซโคลนที่ออสเตรเลียเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2555 ขณะหมุนเวียนซ้ายเป็นวงรีไปเหนือท้องฟ้าโปร่ง แอนไทไซโคลน หรือ แอนติไซโคลน (anticyclone) เป็นปรากฏการณ์ของสภาพภูมิอากาศซึ่งสำนักงานอากาศแห่งชาติ (National Weather Service) ของสหรัฐอเมริกา นิยามว่า เป็น "ลมที่สัญจรเป็นวงกว้างรอบ ๆ บริเวณกลางความกดอากาศที่มีระดับสูง โดยหมุนเวียนขวาไปทางซีกโลกเหนือ แล้วหมุนเวียนซ้ายไปทางซีกโลกใต้" แอนไทโซโคลนมีผลให้ท้องฟ้าโปร่งขึ้น ทั้งอากาศเย็นสบายและแห้งขึ้น ถ้าเกิดในยามวิกาล ณ ท้องที่ที่มีความกดอากาศสูง ก็อาจก่อให้เกิดหมอกได้ด้ว.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและแอนไทไซโคลน · ดูเพิ่มเติม »

แอ่งพายุหมุนเขตร้อน

thumb ตามธรรมเนียม พายุหมุนเขตร้อนจะก่อตัวขึ้นแยกกันภายในทั้งหมดเจ็ดแอ่ง ซึ่งประกอบไปด้วย มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ, ด้านตะวันออกและตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ, ด้านตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก, ด้านตะวันตกเฉียงใต้และตะวันออกเฉียงใต้ของมหาสมุทรอินเดีย และด้านเหนือของมหาสมุทรอินเดีย (ทะเลอาหรับ และ อ่าวเบงกอล) ซึ่งในเจ็ดแอ่งนี้ มหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกมีการกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนบ่อยที่สุด และด้านเหนือของมหาสมุทรอินเดียมีกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนน้อยที่สุด ค่าเฉลี่ยของพายุหมุนเขตร้อน ที่มีความรุนแรงในระดับมากกว่าพายุโซนร้อน ทั่วโลกอยู่ที่ 86 ลูก ในจำนวนนี้ 47 ลูก มีความรุนแรงเป็นถึงพายุเฮอร์ริเคน/พายุไต้ฝุ่น และอีก 20 ลูก มีความรุนแรงเป็นถึงพายุหมุนเขตร้อนที่รุนแรง (อย่างน้อยมีความรุนแรงอยู่ในระดับ 3).

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและแอ่งพายุหมุนเขตร้อน · ดูเพิ่มเติม »

โมเมนตัมเชิงมุม

วามสัมพันธ์ระหว่างแรง (F) แรงบิด (τ) และเวกเตอร์โมเมนตัม (p และ L) ในระบบหมุนแห่งหนึ่ง ในทางฟิสิกส์ โมเมนตัมเชิงมุมของวัตถุรอบจุดกำเนิด (Angular Momentum) คือปริมาณเวกเตอร์ที่แสดงถึงการหมุนของวัตถุ มีค่าเท่ากับมวลของวัตถุคูณกับผลคูณเชิงเวกเตอร์ของเวกเตอร์ตำแหน่งและเวกเตอร์ความเร็ว (หรือผลคูณระหว่างโมเมนต์ความเฉื่อยกับความเร็วเชิงมุม) โมเมนตัมเชิงมุมเป็นปริมาณอนุรักษ์ กล่าวคือมันจะมีค่าคงที่เสมอจนกว่าจะมีแรงบิดภายนอกมากระทำ คุณลักษณะการอนุรักษ์ของโมเมนตัมเชิงมุมช่วยอธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติหลายประการ โมเมนตัมเชิงมุมนั้นเป็นผลระหว่างระยะห่างของวัตถุหรืออนุภาคกับแกนหมุน (r) คูณกับ โมเมนตัมเชิงเส้น (p).

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและโมเมนตัมเชิงมุม · ดูเพิ่มเติม »

โทรโพพอส

ภาพแสดงชั้นบรรยากาศของโลก โทรโพพอส (tropopause) เป็นขอบในชั้นบรรยากาศของโลกที่กั้นระหว่างชั้นโทรโพสเฟียร์และสตาร์โตสเฟียร์ มีความสูงจากพื้นโลกประมาณ 7 - 17 กิโลเมตร หมวดหมู่:บรรยากาศของโลก หมวดหมู่:บรรยากาศ.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและโทรโพพอส · ดูเพิ่มเติม »

โทรโพสเฟียร์

แสดงชั้นบรรยากาศของโลก โทรโพสเฟียร์ (Troposphere) (คำว่าโทรโพ (Tropo) มาจากภาษากรีกแปลว่า หมุน หรือ ผสม) บรรยากาศชั้นล่างสุดสูงจากผิวโลก 8 - 15 กิโลเมตร มีอิทธิพลต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมมากที่สุด อากาศที่มนุษย์หายใจเข้าไปคืออากาศชั้นนี้ เมฆ  พายุ  ลม และลักษณะอากาศต่าง ๆ  เกิดขึ้นในบรรยากาศชั้นนี้  อุณหภูมิจะเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้งและรวดเร็วกว่าบรรยากาศชั้นอื่น ๆอยู่ระหว่าง 0-10 กม.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและโทรโพสเฟียร์ · ดูเพิ่มเติม »

ไมโครซอฟท์ พาวเวอร์พอยต์

มโครซอฟท์ พาวเวอร์พอยต์ เป็นโปรแกรมนำเสนอในชุดโปรแกรมไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ ผลิตโดยบริษัทไมโครซอฟท์ พาวเวอร์พอยต์ทำงานบนระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์และบนแมคโอเอสโดยรุ่นปัจจุบันคือไมโครซอฟท์ พาวเวอร์พอยต์ 2013 บนไมโครซอฟท์ วินโดวส์และ ไมโครซอฟท์ พาวเวอร์พอยต์ 2011 บนแมคโอเอ.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและไมโครซอฟท์ พาวเวอร์พอยต์ · ดูเพิ่มเติม »

ไทฟอน

ไทฟอน และ เซอุส ไทฟอน (Typhon) เป็นอสูรกายยักษ์ซึ่งได้เกิดมาจากพระแม่ธรณีไกอา (บ้างคัมภีร์บอกว่าเป็นเจอา ไกอา หรือไมอา) กับปีศาจทาร์ทารัสซึ่งถือกำเนิดเป็นไทฟอน (ในหนังสือ Mythology ของเฮดิธ แฮมิลต้น อธิบายไว้ว่าไทฟอนเป็นอสุรกายร้อยหัว ตาลุกไฟ และสามารถพ่นไฟได้)บ้างก็ว่าร่างกายเป็นคน น้ำตาเป็นพิษ มีหัวร้อยหัว ซึ่งเจอาได้สั่งให้ไทฟอนไปโค่นเขาโอลิมปัส พลังของไทฟอนร้ายกาจถึงขั้นสามารถกางปีกปิดโลกได้ เมื่อเคลื่อนไหวร่างกายจะกลายเป็นพายุขนาดใหญ่ นอกจากนี้ไทฟอนยังเป็นบิดาของปิศาจทั้งปวง ส่วนมารดาของปิศาจทั้งปวงนั้นคืออีคิดน่า และต่อมาผู้คนที่เคยเรียกพายุนี้ว่า ไทฟอน ก็เพี้ยนมาเป็น ไต้ฝุ่น จนถึงทุกวันนี้ หมวดหมู่:ยักษ์กรีก หมวดหมู่:มังกร หมวดหมู่:เทพปกรณัมกรีก.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและไทฟอน · ดูเพิ่มเติม »

ไต้ฝุ่น

ต้ฝุ่นสามลูกขณะหมุนอยู่เหนือมหาสมุทรแปซิฟิกฝั่งตะวันตกเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2549 พายุไต้ฝุ่น เป็นพายุหมุนเขตร้อนความเร็วลมสูงสุด ซึ่งก่อตัวขึ้นทางตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกระหว่าง 180° กับ 100° ตะวันออก ซึ่งภูมิภาคนี้ถูกตั้งชื่อว่า "แอ่งแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ" สำหรับจุดประสงค์เกี่ยวกับองค์กร มหาสมุทรแปซฟิกตอนเหนือถูกแบ่งออกเป็นสามเขต ได้แก่ ทางตะวันออก (ทวีปอเมริกาเหนือจนถึงลองติจูด 140° ตะวันตก) ตอนกลาง (140° ตะวันตกถึง 180°) และทางตะวันตก (180° ถึง 100° ตะวันออก) ปรากฏการณ์พายุแบบเดียวกันที่เกิดขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือทางตะวันออกจะถูกเรียกว่า เฮอร์ริเคน และพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนที่ไปยังมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันตกจะถูกเรียกว่า ไต้ฝุ่น ศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาค (RSMC) ซึ่งมีหน้าที่พยากรณ์การเกิดพายุหมุนเขตร้อนตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น และศูนย์เตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนอื่น ๆ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกตั้งอยู่ในโฮโนลูลู (ศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่น) ฟิลิปปินส์และฮ่องกง ขณะที่ RSMC ตั้งชื่อในแต่ละระบบ ตัวรายชื่อหลักนั้นเป็นความร่วมมือกันระหว่าง 18 ประเทศ รวมทั้งสหรัฐอเมริกา ซึ่งประเทศเหล่านี้ได้รับผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่นทุกปี ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ พายุไต้ฝุ่นไม่มีการกำหนดฤดูกาลอย่างเป็นทางการ เพราะพายุไต้ฝุ่นก่อตัวขึ้นตลอดทั้งปี เช่นเดียวกับพายุหมุนเขตร้อนทั่วไป ปัจจัยที่ทำให้พายุไต้ฝุ่นก่อตัวและมีความเร็วเพิ่มขึ้นนั้นมีหกประการ ได้แก่ อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลที่อุ่นเพียงพอ ความไม่แน่นอนของสภาพอากาศ ระดับความชื้นสัมพัทธ์สูงในชั้นโทรโพสเฟียร์ระดับล่างถึงกลาง แรงโคริโอลิสที่มากพอที่จะสร้างศูนย์ความดันอากาศต่ำ การรบกวนหรือจุดรวมระดับต่ำที่มีอยู่แล้ว และวินเชียร์แนวดิ่งต่ำ พายุไต้ฝุ่นส่วนมากก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนมิถุนายนและเดือนพฤศจิกายน ขณะที่พายุหมุ่นเขตร้อนก่อตัวขึ้นอย่างน้อยก็ระหว่างเดือนธันวาคมและพฤษภาคม โดยเฉลี่ยแล้ว มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือเป็นบริเวณที่เกิดพายุหมุนเขตร้อนบ่อยครั้งที่สุดและรุนแรงที่สุดในโลก เช่นเดียวกับแอ่งอื่น ๆ พายุจะถูกนำทางโดยลิ่มความกดอากาศสูงเหนือเขตร้อนไปทางตะวันตกหรือตะวันตกเฉยงเหนือ โดยมีบางลูกที่ย้อนกลับมาใกล้ทางตะวันออกของญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการขึ้นฝั่ง จีนและญี่ปุ่นได้รับผลกระทบน้อยกว่าบ้าง พายุไต้ฝุ่นที่สร้างความเสียหายมากที่สุดในประวัติศาสตร์ได้พัดเข้าถล่มจีน ทางตอนใต้ของจีนมีบันทึกผลกระทบของพายุไต้ฝุ่นที่ยาวนานที่สุด ซึ่งสามารถย้อนหลังไปได้นับพันปีผ่านเอกสารในหอจดหมายเหตุ ไต้หวันเคยประสบกับพายุไต้ฝุ่นที่เปียกที่สุดเท่าที่เคยบันทึกมาในแอ่งพายุหมุนเขตร้อนแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและไต้ฝุ่น · ดูเพิ่มเติม »

เมฆ

มฆชนิดคิวมูลัส เมฆ เกิดจากการรวมตัวหรือเกาะกลุ่มของไอน้ำในที่สุดก็จะเกิดการควบแน่นและตกลงมาเป็นฝน ละอองน้ำและเกล็ดน้ำแข็งที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนลอยตัวอยู่ในชั้นบรรยากาศ ที่เราสามารถมองเห็นได้ ไอน้ำที่ควบแน่น เป็นละอองน้ำ (โดยปกติแล้วจะมีขนาด 0.01 มม) หรือ เป็นเกล็ดน้ำแข็ง ซึ่งเมื่อเกาะตัวกันเป็นกลุ่มจะเห็นเป็นก้อนเมฆ ก้อนเมฆนี้สะท้อนคลื่นแสงในแต่ละความยาวคลื่นในช่วงที่ตามองเห็นได้ ในระดับที่เท่า ๆ กัน จึงทำให้เรามองเห็นก้อนเมฆนั้นเป็นสีขาว แต่ก็สามารถมองเห็นเป็นสีเทาหรือสีดำ ถ้าหากเมฆนั้นมีความหนาแน่นสูงมากจนแสงผ่านไม่ได้ เมฆบนดาวดวงอื่นนั้นประกอบด้วยสารอื่นนอกจากน้ำ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพบรรยากาศของดาวนั้น.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและเมฆ · ดูเพิ่มเติม »

เรดาร์

รดาร์ที่ศูนย์อวกาศเคนเนดีขององค์การนาซา เสาอากาศเรดาร์ระยะไกลที่เรียกว่า Altair ที่ใช้ในการตรวจจับและติดตามวัตถุในพื้นที่ร่วมกับการทดสอบ ABM ที่ไซต์ทดสอบโรนัลด์ เรแกนบนเกาะควาจาลีน (Kwajalein) เรดาร์ (radar) เป็นระบบที่ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นเครื่องมือในการระบุระยะ (range), ความสูง (altitude) รวมถึงทิศทางหรือความเร็วในการเคลื่อนที่ของวัตถุ เดิมทีตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและเรดาร์ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นศูนย์สูตร

้นศูนย์สูตรบนแผนที่โลก ในทางภูมิศาสตร์ เส้นศูนย์สูตร (Equator) คือ เส้นที่ลากผ่านศูนย์กลางวงกลมในแนวทิศตะวันตก-ตะวันออก และตั้งฉากกับแกนหมุนของโลก เป็นเส้นสมมุติที่ลากผ่านเส้นศูนย์กลางวงกลม แบ่งโลกออกเป็นสองซีกเท่า ๆ กัน ผู้สังเกตที่อยู่บนเส้นศูนย์สูตร มีระยะเวลาของกลางวันกับกลางคืนยาวนานเกือบเท่ากันตลอดทั้งปี และเห็นดวงอาทิตย์ผ่านจุดเหนือศีรษะในเวลาเที่ยงของวันวิษุวัต เส้นศูนย์สูตรของโลกมีความยาวประมาณ 40,075 กิโลเมตร ลากผ่าน 13 ประเทศ และเป็นหนึ่งในละติจูด 5 เส้นสำคัญของโลก เป็นละติจูดที่เรียกว่า "Great Circle" ที่ลากแบ่งครึ่งโลกเป็นวงกลมขนาดใหญ่ที่มีจุดศูนย์กลางและมีรัศมีเท่า ๆ กัน เมื่อขยายเส้นศูนย์สูตรโลกเป็นระนาบศูนย์สูตร (Equatorial Plane) ออกไปตัดทรงกลมฟ้า เกิดเป็นวงกลมใหญ่ เรียกว่า เส้นศูนย์สูตรท้องฟ้า (Celestial Equator).

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและเส้นศูนย์สูตร · ดูเพิ่มเติม »

เส้นแบ่งเขตวันสากล

รูปแสดงเส้นแบ่งเขตวันสากล (สีดำกลางภาพ) เส้นแบ่งเขตวันสากล (International Date Line: IDL) เป็นเส้นสมมติที่ลากในแนวเหนือ-ใต้บนพื้นผิวของโลก ผ่านใจกลางมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งกำหนดสถานที่ซึ่งวันตามปฏิทินเริ่มต้น เส้นดังกล่าวอยู่ที่ประมาณลองติจูด 180 องศา ตรงข้ามกับเส้นเมริเดียนแรก แต่ลากอ้อมบางดินแดนและกลุ่มเกาะบางกลุ่ม เวลาทางตะวันออกของเส้นแบ่งเขตวันสากลช้ากว่าทางตะวันตกอยู่ 1 วัน เมื่อข้ามเส้นดังกล่าวไปทางตะวันออกจึงต้องหักวันออกหนึ่งวัน และเมื่อข้ามเส้นดังกล่าวไปทางตะวันตกต้องเพิ่มวันเข้าหนึ่งวัน.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและเส้นแบ่งเขตวันสากล · ดูเพิ่มเติม »

เอลนีโญ

อลนีโญ (El Niño) เป็นรูปแบบสภาพอากาศที่เกิดขึ้นตลอดมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อน โดยเกิดขึ้นเฉลี่ยทุกห้าปี ลักษณะของเอลนีโญ คือ เกิดการเปลี่ยนแปลงในอุณหภูมิผิวน้ำทะเลของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก โดยอุ่นขึ้นหรือเย็นลงผิดปกติ ซึ่งเรียกว่า เอลนีโญและลานีญาตามลำดับ และความดันบรรยากาศบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกเขตร้อน ซึ่งเรียกว่า ความผันแปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้นได้สองกรณี: เอลนีโญ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิมหาสมุทรอุ่นขึ้นผิดปกติ ประกอบกับความดันบรรยากาศสูงบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก ส่วนลานีญา เป็นปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิมหาสมุทรเย็นลงผิดปกติ ประกอบกับความดันบรรยากาศต่ำบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก กลไกที่ทำให้เกิดความผันแปรดังกล่าวยังคงอยู่ในระหว่างการศึกษาวิจัย เอนโซก่อให้เกิดสภาพอากาศเลวร้าย อย่างเช่น อุทกภัย ภัยแล้ง หรือการรบกวนสภาพอากาศในหลายภูมิภาคของโลก ประเทศกำลังพัฒนาซึ่งมีเศรษฐกิจเน้นเกษตรกรรมและการประมง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อยู่ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก ได้รับผลกระทบมากที่สุด ส่วนใหญ่แล้ว ปรากฏการณ์เอลนีโญ-ความผันแปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้ มักถูกเรียกย่อเหลือเพียง "เอลนีโญ" ซึ่งเป็นคำในภาษาสเปน ซึ่งแปลว่า "เด็กชาย" และหมายความถึงบุตรพระคริสต์ เนื่องจากมีการสังเกตว่าความอุ่นขึ้นผิดปกตินี้มักเกิดขึ้นในช่วงเทศกาลคริสต์มาส ลักษณะที่เกิดจากเอนโซเป็นไปได้ว่าก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอันเป็นผลกระทบของปรากฏการณ์โลกร้อน และเป็นเป้าหมายสำหรับการวิจัยในการนี้.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและเอลนีโญ · ดูเพิ่มเติม »

เทพปกรณัมกรีก

รูปปั้นครึ่งตัวของซูส, ที่เมือง Otricoli พิพิธภัณฑ์ Pio-Clementino วาติกัน) เทพปกรณัมกรีก (ΜΥΘΟΛΟΓΊΑ ΕΛΛΗΝΙΚΉ) เป็นเรื่องปรัมปราและตำนานที่เกี่ยวข้องกับเทพเจ้า, วีรบุรุษ, ธรรมชาติของโลก รวมถึงจุดกำเนิดและความสำคัญของขนบ คติและจารีตพิธีในทางศาสนาของชาวกรีกโบราณ เทพปกรณัมกรีกเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาในกรีซโบราณ นักวิชาการสมัยใหม่มักอ้างถึงและศึกษาเรื่องปรัมปราเหล่านี้ เพื่อที่จะทราบเกี่ยวกับสถาบันทางศาสนา, สถาบันทางการเมืองในกรีซโบราณ, อารยธรรมของชาวกรีก และเพื่อเพิ่มความเข้าใจในธรรมชาติของการสร้างตำนานเทพปกรณัมขึ้น เทพปกรณัมกรีกได้ถูกรวบรวมขึ้นจากเรื่องเล่าและศิลปะที่แสดงออกในวัฒนธรรมกรีก เช่น การระบายสีแจกันและของแก้บน ตำนานกรีกอธิบายถึงการถือกำเนิดของโลก และรายละเอียดของเรื่องราวในชีวิต และการผจญภัยของบรรดาเทพเจ้า เทพธิดา วีรบุรุษ วีรสตรี และสิ่งมีชีวิตในตำนานอื่น ๆ ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ในตอนแรกเป็นเพียงการสืบทอดผ่านบทกวีตามประเพณีมุขปาฐะเท่านั้น ซึ่งอาจสืบย้อนหลังไปได้ถึงสมัยไมนอส และสมัยไมซีนี ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ก่อน..

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและเทพปกรณัมกรีก · ดูเพิ่มเติม »

เขตร้อน

แผนที่โลกที่เน้นเขตร้อนด้วยสีแดง เขตร้อนหรือโซนร้อน (tropics) เป็นบริเวณของโลกที่อยู่รอบเส้นศูนย์สูตร จำกัดด้วยเส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ในซีกโลกเหนือ ที่ละติจูด 23° 26′ 16″ (หรือ 23.4378°) เหนือ และทรอปิกออฟแคปริคอร์นในซีกโลกใต้ ที่ละติจูด 23° 26′ 16″ (หรือ 23.4378°) ใต้ ละติจูดนี้ใกล้เคียงกับความเอียงของแกนโลก เขตร้อนรวมทุกพื้นที่บนโลกซึ่งดวงอาทิตย์ถึงจุดใต้แสงอาทิตย์ (subsolar point) คือ จุดที่ดวงอาทิตย์อยู่ตรงเหนือศีรษะพอดี อย่างน้อยครั้งหนึ่งในปีสุริยคติ.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและเขตร้อน · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องจักรความร้อน

อะแกรมของเครื่องจักรไอน้ำวัตต์ ในสาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุณหพลศาสตร์, เครื่องจักรความร้อน (Heat Engine) เป็นเครื่องจักรที่ใช้เปลี่ยนพลังงานความร้อนไปสู่งานทางกลศาสตร์ โดยอาศัยความแตกต่างทางอุณหภูมิของแหล่งกำเนิดอุณหภูมิสูง (heat source) และแหล่งกำเนิดอุณหภูมิต่ำ (heat sink).

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและเครื่องจักรความร้อน · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องจักรความร้อนการ์โนต์

รื่องจักรความร้อนการ์โนต์ (Carnot Heat Engine) ถูกใช้ในการศึกษาวงจรอุณหพลศาสตร์โดย นิโคลัส ลีโอนาร์ด ซาดี การ์โนต์ (Nicolas Léonard Sadi Carnot) ในปี คริสต์ศักราช 1820 และได้รับการอธิบายเพิ่มเติมโดยเบอนัวต์ โปล เอมีล กลาปีรง (Benoit Paul Émile Clapeyron) ในทศวรรษต่อมา เครื่องจักรความร้อนเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ความร้อนในการสร้างงานโดยการนำพาสารไปตามกระบวนการที่เป็นวัฏจักร.

ใหม่!!: พายุหมุนเขตร้อนและเครื่องจักรความร้อนการ์โนต์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

วิลลี-วิลลีวิลลีวิลลีพายุหมุนโซนร้อนพายุโซนร้อนพายุไซโคลนพายุเฮอร์ริเคนพายุเฮอร์ริเคนวันแรงงาน ค.ศ. 1935ไซโคลนเฮอริเคนเฮอร์ริเคน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »