โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ไนดาเรีย

ดัชนี ไนดาเรีย

ฟลัมไนดาเรีย หรือ เคยมีชื่อว่า ไฟลัมซีเลนเตอราตา หรือพวก ซีเลนเตอราตา เป็นกลุ่มสัตว์ที่มีรูปร่างทรงกระบอก มีโพรงในลำตัว และมีเข็มพิษ เช่น แมงกะพรุน ดอกไม้ทะเล ไฮดรา ส่วนใหญ่พบตามชายฝั่งลงไปจนถึงทะเลลึก บางชนิดพบในน้ำจืด กลางลำตัวเป็นท่อกลวง มีอวัยวะคล้ายหนวดหลายเส้น ภายในหนวดนี้มีเข็มพิษจำนวนมาก เมื่อสัมผัสจะทำให้ผิวหนังระคายเคืองและพิษจากเข็มพิษบางชนิดทำให้สัตว์เป็นอัมพาตได้ สัตว์กลุ่มนี้มีประโยชน์ต่อมนุษย์โดยเฉพาะพวกปะการัง เสมือนเป็นป่าใต้น้ำ ที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ที่เจริญเติบโตและหลบภัยของสัตว์น้ำนานาชนิด สัตว์กลุ่มนี้ บางชนิดจะสืบพันธุ์ แบบไม่อาศัยเพศ โดยการแตกหน่อ เช่น ไฮดรา ปะการัง และกัลปังหา บางชนิดสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ เช่น แมงกะพรุน.

19 ความสัมพันธ์: กะพรุนน้ำจืดกะละปังหายูแคริโอตระบบประสาทสัตว์อัมพาตดอกไม้ทะเลคูโบซัวปะการังปากกาทะเลแมงกะพรุนแมงกะพรุนไฟแมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกสแอนโธซัวไฮดราไฮดรา (สกุล)ไฮโดรซัวไซโฟซัวเซลล์ประสาท

กะพรุนน้ำจืด

กะพรุนน้ำจืด หรือ แมงกะพรุนน้ำจืด (Freshwater jellyfish) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังสกุลหนึ่ง จัดอยู่ในพวกแมงกะพรุนที่อยู่ในชั้นไฮโดรซัว ต่างจากแมงกะพรุนที่พบในทะเลที่ส่วนมากจะอยู่ในชั้นไซโฟซัว ใช้ชื่อสกุลว่า Craspedacusta (/คราส-พี-ดา-คัส-ต้า/).

ใหม่!!: ไนดาเรียและกะพรุนน้ำจืด · ดูเพิ่มเติม »

กะละปังหา

กะละปังหา หรือ กัลปังหา (ยืมมาจากภาษามลายูคำว่า "kalam pangha") เป็นสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ละตัวมีขนาดเล็กมาก รูปร่างคล้ายทรงกระบอกหรือรูปถ้วย จัดอยู่ในพวกเดียวกับปะการัง กะละปังหาประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ตัวกะละปังหา (โพลิป) ตัวของกะละปังหานี้มีลักษณะคล้ายดอกไม้ทะเลขนาดเล็ก มีเนื้อเยื่ออ่อนนุ่ม และมีหนวดรอบปากจำนวนแปดเส้น ฝังและกระจายตัวอยู่ตามโครงสร้างกะละปังหา และอีกส่วนเป็นส่วนโครงสร้างที่เป็นกิ่งแตกกิ่งก้านคล้ายพัดและซี่หวี แล้วแต่ชนิดกิ่งโครงสร้างนี้ตัวกะละปังหาสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับตัวเองและเป็นสารเขาจำพวกสัตว.

ใหม่!!: ไนดาเรียและกะละปังหา · ดูเพิ่มเติม »

ยูแคริโอต

ูแคริโอต (eukaryote) คือ สิ่งมีชีวิตที่เซลล์มีนิวเคลียสและโครงสร้างอื่น (ออร์แกเนลล์) อยู่ภายในเยื่อหุ้มเซลล์ ยูแคริโอตเป็นหน่วยอนุกรมวิธาน ยูคาร์ยาหรือยูแคริโอตา อย่างเป็นทางการ เยื่อหุ้มนิวเคลียสเป็นโครงสร้างที่นิยามเซลล์ยูแคริโอตแยกจากเซลล์โปรแคริโอต โดยภายในเยื่อหุ้มนิวเคลียสมีสารพันธุกรรม การมีนิวเคลียสเป็นที่มาของชื่อยูแคริโอต ซึ่งมาจากภาษากรีก ευ (eu, "ดี") และ κάρυον (karyon, "ผลมีเมล็ดเดียว" หรือ "เมล็ด") เซลล์ยูแคริโอตส่วนใหญ่ยังมีออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้มอื่นด้วย เช่น ไมโทคอนเดรียหรือกอลจิแอพพาราตัส นอกเหนือจากนี้ พืชและสาหร่ายยังมีคลอโรพลาสต์ สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวหลายชนิดเป็นยูแคริโอต เช่น โปรโตซัว แต่สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ทุกชนิดเป็นยูแคริโอต ซึ่งได้แก่ สัตว์ พืชและเห็ดรา การแบ่งเซลล์ในยูแคริโอตแตกต่างจากสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีนิวเคลียส (โปรแคริโอต) มีกระบวนการแบ่งตัวสองประเภท คือ ไมโทซิสและไมโอซิส ไมโทซิสเป็นการที่เซลล์หนึ่งแบ่งตัวได้เซลล์ที่มีพันธุกรรมเหมือนกันสองเซลล์ ในไมโอซิสซึ่งจำเป็นในการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ เซลล์ดิพลอยด์หนึ่ง (ซึ่งมีโครโมโซมสองชุด ชุดหนึ่งมาจากพ่อ อีกชุดหนึ่งมาจากแม่) มีการจับคู่โครโมโซมจากพ่อแม่แต่ละคู่ใหม่ แล้วผ่านการแบ่งเซลล์อีกสองขั้นตอน จนได้เซลล์แฮพลอยด์สี่เซลล์ (เซลล์สืบพันธุ์) เซลล์สืบพันธุ์แต่ละเซลล์มีโครโมโซมชุดเดียว ซึ่งเป็นการผสมโครโมโซมจากพ่อแม่คู่เดียวกัน โดเมนยูแคริโอตาดูเหมือนมาจากชาติพันธุ์เดียว (monophyletic) จึงเป็นหนึ่งในสามโดเมนของสิ่งมีชีวิต อีกสองโดเมน ได้แก่ แบคทีเรียและอาร์เคีย เป็นโปรแคริโอตและไม่มีคุณสมบัติที่กล่าวมาข้างต้น ยูแคริโอตเป็นสิ่งมีชีวิตส่วนน้อยมาก อย่างไรก็ดี เนื่องจากยูแคริโอตมีขนาดใหญ่กว่ามาก มวลชีวภาพรวมทั่วโลกจึงประมาณว่าเท่ากับมวลชีวภาพของโปรแคริโอตWhitman, Coleman, and Wiebe,, Proc.

ใหม่!!: ไนดาเรียและยูแคริโอต · ดูเพิ่มเติม »

ระบบประสาท

ระบบประสาทของมนุษย์ ระบบประสาทของสัตว์ มีหน้าที่ในการออกคำสั่งการทำงานของกล้ามเนื้อ ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย และประมวลข้อมูลที่รับมาจากประสาทสัมผัสต่างๆ และสร้างคำสั่งต่าง ๆ (action) ให้อวัยวะต่าง ๆ ทำงาน (ดูเพิ่มเติมที่ ระบบประสาทกลาง) ระบบประสาทของสัตว์ที่มีสมองจะมีความคิดและอารมณ์ ระบบประสาทจึงเป็นส่วนของร่างกายที่ทำให้สัตว์มีการเคลื่อนไหว (ยกเว้นสัตว์ชั้นต่ำที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เช่น ฟองน้ำ) สารเคมีที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทหรือเส้นประสาท (nerve) เรียกว่า สารที่มีพิษต่อระบบประสาท (neurotoxin) ซึ่งมักจะมีผลทำให้เป็นอัมพาต หรือตายได้.

ใหม่!!: ไนดาเรียและระบบประสาท · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ไนดาเรียและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

อัมพาต

อัมพาต คือ อาการที่อวัยวะบางส่วนเช่นแขนขาเป็นต้นตายไปกระดิกไม่ได้ ตรงกันข้ามกับอัมพฤกษ์ที่อวัยวะร่างกายเพียงอ่อนแรง.

ใหม่!!: ไนดาเรียและอัมพาต · ดูเพิ่มเติม »

ดอกไม้ทะเล

อกไม้ทะเล (Sea Anemones) เป็นสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังหลายชนิดและหลายสกุล ในอันดับ Actiniaria อาศัยอยู่ภายใต้ท้องทะเลและมหาสมุทร ลักษณะของลำตัวที่มีรูปร่างคล้ายถุงรูปทรงกระบอก มีด้านหนึ่งเป็นฐานสำหรับยืด ด้านตรงข้ามเป็นช่องปาก(รูเปิด).

ใหม่!!: ไนดาเรียและดอกไม้ทะเล · ดูเพิ่มเติม »

คูโบซัว

ูโบซัว (ชั้น: Cubozoa; Box jellyfish, Sea wasp) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังชั้นหนึ่งของไฟลัมไนดาเรีย มีชื่อสามัญในภาษาอังกฤษเรียกโดยรวมว่า "แมงกะพรุนกล่อง" (Box jellyfish) หรือ "แมงกะพรุนสาหร่าย" หรือ "สาโหร่ง" (Sea wasp) เพราะมีพิษที่ร้ายแรงและมีรูปร่างคล้ายลูกบาศก์อันเป็นที่มาของชื่อ คูโบซัว จัดเป็นแมงกะพรุนที่แบ่งออกได้เป็น 2 อันดับใหญ่ ๆ โดยดูที่ลักษณะของหนวดที่มีพิษเป็นสำคัญ ได้แก่ พวกที่มีหนวดพิษเส้นเดี่ยวที่ขอบเมดูซ่า 4 มุม เช่น แมงกะพรุนอิรุคันจิ (Malo kingi) กับพวกที่มีหนวดเป็นกลุ่มที่ขอบเมดูซ่า 4 มุม มุมละ 15 เส้น ซึ่งจะเป็นหนวดที่ยาวมาก อาจยาวได้ถึง 3 เมตร ได้แก่ Chironex fleckeri มีเข็มพิษประมาณ 5,000,0000,000 เล่มที่หนวดแต่ละเส้น ซึ่งมีพิษร้ายแรงซึมเข้าสู่กระแสเลือดของผู้ที่ถูกต่อยได้ โดยมากจะพบตามชายฝั่งของทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่น เช่น ออสเตรเลียทางตอนเหนือ, ปาปัวนิวกินี, หมู่เกาะฟิลิปปิน, หมู่เกาะฮาวาย ช่วงที่พบได้มากคือ เดือนตุลาคม-เมษายน และหลังช่วงพายุฝนที่จะถูกน้ำทะเลพัดพาเข้ามาจนใกล้ฝั่ง.

ใหม่!!: ไนดาเรียและคูโบซัว · ดูเพิ่มเติม »

ปะการัง

ปะการัง หรือ กะรัง เป็นสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในทะเล จัดอยู่ในชั้นแอนโธซัวและจัดเป็นพวกดอกไม้ทะเล มีขนาดเล็กเรียกว่าโพลิฟ แต่จะอาศัยรวมกันอยู่เป็นโคโลนีที่ประกอบไปด้วยโพลิฟเดี่ยว ๆ จำนวนมาก เป็นกลุ่มที่สร้างแนวปะการังที่สำคัญพบในทะเลเขตร้อนที่สามารถดึงสารแคลเซียมคาร์บอเนตจากน้ำทะเลมาสร้างเป็นโครงสร้างแข็งเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยได้ หัวของปะการังหนึ่ง ๆ โดยปรกติจะสังเกตเห็นเป็นสิ่งมีชีวิตเดี่ยวๆอันหนึ่ง แต่ที่จริงนั้นมันประกอบขึ้นมาจากสิ่งมีชีวิตเดี่ยวๆขนาดเล็กนับเป็นพัน ๆ โพลิฟโดยในทางพันธุ์ศาสตร์แล้วจะเป็นโพลิฟชนิดพันธุ์เดียวกันทั้งหมด โพลิฟจะสร้างโครงสร้างแข็งที่มีลักษณะเฉพาะของปะการังแต่ละชนิด หัวของปะการังหนึ่งๆมีการเจริญเติบโตโดยการสืบพันธุ์แบบไม่ใช้เพศของโพลิฟเดี่ยวๆ แต่ปะการังก็สามารถสืบพันธุ์ออกลูกหลานโดยการใช้เพศกับปะการังชนิดเดียวกันด้วยการปล่อยเซลล์สืบพันธุ์พร้อม ๆ กันตลอดหนึ่งคืนหรือหลาย ๆ คืนในช่วงเดือนเพ็ญ แม้ว่าปะการังจะสามารถจับปลาและสัตว์เล็ก ๆ ขนาดแพลงตอนได้โดยใช้เข็มพิษ (เนมาโตซิสต์) ที่อยู่บนหนวดของมัน แต่ส่วนใหญ่แล้วปะการังจะได้รับสารอาหารจากสาหร่ายเซลล์เดียวที่สังเคราะห์แสงได้ที่เรียกว่าซูแซนทาลา นั่นทำให้ปะการังทั้งหลายมีการดำรงชีวิตที่ขึ้นตรงต่อแสงอาทิตย์และจะเจริญเติบโตได้ในน้ำทะเลใสตื้น ๆ โดยปรกติแล้วจะอาศัยอยู่บริเวณที่มีความลึกน้อยกว่า 60 เมตร ปะการังเหล่านี้ถือว่าเป็นผู้สร้างโครงสร้างทางกายภาพของแนวปะการังที่พัฒนาขึ้นมาในทะเลเขตร้อนและเขตกึ่งร้อนอย่างเช่นเกรตแบริเออร์รีฟบริเวณนอกชายฝั่งของรัฐควีนส์แลนด์ของประเทศออสเตรเลีย แต่ก็มีปะการังบางชนิดที่ดำรงชีวิตอยู่ได้โดยไม่เกี่ยวข้องกับสาหร่ายเนื่องจากอยู่ในทะเลลึกอย่างในมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรแปซิฟิก เช่น ปะการังสกุล “โลเฟเลีย” ที่อยู่ได้ในน้ำเย็นๆที่ระดับความลึกได้มากถึง 3000 เมตร ตัวอย่างของปะการังเหล่านี้สามารถพบได้ที่ดาร์วินมาวด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเคพแวร็ธในสก๊อตแลนด์ และยังพบได้บริเวณนอกชายฝั่งรัฐวอชิงตันและที่หมู่เกาะอะลูเชียนของอะแลสก.

ใหม่!!: ไนดาเรียและปะการัง · ดูเพิ่มเติม »

ปากกาทะเล

ปากกาทะเล (Sea pens) เป็นสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังจำพวกหนึ่ง ที่อยู่ในอันดับ Pennatulacea จัดเป็นแอนโธซัวอย่างหนึ่ง มีลักษณะใกล้เคียงกับปะการังอ่อน โดยแต่ละโพลิปมีหนวดจำนวน 8 เส้น โคโลนีของปากกาทะเลแต่ละชนิดมีรูปร่างแตกต่างกันออกไป บางชนิดเป็นท่อนคล้ายฝักข้าวโพด บางชนิดเป็นแท่งยาวคล้ายกิ่งไม้ก้านเดียว คล้ายแท่งปากกา อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ และบางชนิดคล้ายขนนก สีของปากกาทะเลส่วนใหญ่มีสีครีม, สีเหลืองและสีม่วงอ่อน ปากกาทะเลทุกชนิดอาศัยอยู่รวมกันเป็นโคโลนีเช่นเดียวกับกัลปังหาและปะการังอ่อน ด้านล่างเป็นด้ามใช้สำหรับฝังลงไปในทะเลที่เป็นโคลน หรือโคลนปนทราย ส่วนบนที่อยู่ของโพลิปรูปร่างเป็นทรงกระบอก สามารถยืดหดตัวจากเนื้อเยื่อของโคโลนีเพื่อจับเหยื่อ แต่ละโคโลนีมีโพลิปหรือตัวปากกาทะเลนับร้อยตัว ปากกาทะเลทุกชนิดอาศัยอยู่ตามพื้นทะเล โดยเฉพาะบริเวณที่มีกระแสน้ำไหลผ่าน เพราะโพลิปจะได้รับแพลงก์ตอนที่พัดมากับกระแสน้ำและได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ ปากกาทะเลรูปขนนกมีแขนงแตกออกทางด้านข้าง มักมีปูตัวแบนขนาดเล็กอาศัยอยู่แบบเกื้อกูลกัน ส่วนใหญ่มักพบปูอาศัยกันเป็นคู่ ซึ่งปูจำพวกนี้ไม่พบอยู่อย่างอิสระตามลำพัง แต่อาศัยปากกาทะเลเป็นที่พักพิง หาอาหาร และช่วยเก็บกินเศษอินทรีย์ที่ติดอยู่ตามผิวลำตัวของปากกาทะเล จึงทำหน้าที่คล้ายแม่บ้านหรือพนักงานทำความสะอาดให้กับปากกาทะเลด้วย ปากกาทะเลมีคุณสมบัติอยู่อย่างหนึ่งคือ ความสามารถในการเรืองแสงได้ในที่มืด ซึ่งการเรืองแสงอาจเกิดเป็นบางส่วนหรือเกิดพร้อมกันทั้งโคโลนีก็ได้ เหตุนี้บริเวณพื้นทะเลบางแห่งที่มีปากกาทะเลอาศัย จึงอาจมีแสงเรืองคล้ายไฟใต้น้ำส่องสว่างด้วย เนื่องจากปากกาทะเลอาศัยอยู่ตามพื้นทะเล จึงมักติดอวนลากของชาวประมงซึ่งลากสัตว์น้ำหน้าดินขึ้นมา แต่ปากกาทะเลไม่สามารถนำมาบริโภคได้ จึงถูกนำไปทำอาหารสัตว์ปะปนกับปลาเป็ด การศึกษาตัวอย่างของปากกาทะเลจึงกระทำได้ง่ายวิธีหนึ่งคือ การเก็บจากท่าเทียบเรือประมงนั่นเอง ปากกาทะเล โดยมากเป็นสัตว์ทะเลที่มักไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก จึงมีการศึกษาน้อยมาก ในน่านน้ำไทยเชื่อว่ามีปากกาทะเลอยู่อย่างน้อย 2 ชนิด โดยแบ่งออกได้เป็น 2 อันดับย่อย มีทั้งหมด 14 วงศ์ (ดูในตาราง).

ใหม่!!: ไนดาเรียและปากกาทะเล · ดูเพิ่มเติม »

แมงกะพรุน

แมงกะพรุน หรือ กะพรุน จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมไนดาเรีย ไฟลัมย่อยเมดูโซซัว แบ่งออกเป็นอันดับได้ 5 อันดับ (ดูในตาราง) ลักษณะลำตัวใสและนิ่มมีโพรงทำหน้าที่เป็นทางเดินอาหารมีเข็มพิษที่บริเวณหนวดที่อยู่ด้านล่าง ไว้ป้องกันตัวและจับเหยื่อ เมื่อโตเต็มวัย ส่วนประกอบหลักในลำตัวเป็นน้ำร้อยละ 94-98 ด้านบนเป็นวงโค้งคล้ายร่ม ด้านล่างตอนกลางเป็นอวัยวะทำหน้าที่กินและย่อยอาหาร พบได้ในทะเลทุกแห่งทั่วโลก แมงกะพรุนส่วนใหญ่จัดอยู่ในอันดับไซโฟซัว แต่ก็บางประเภทที่อยู่ในอันดับไฮโดรซัว อาทิ แมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส (Physalia physalis) ซึ่งเป็นแมงกะพรุนที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก และแมงกะพรุนอิรุคันจิ (Malo kingi) ที่อยู่ในอันดับคูโบซัว ก็ถูกเรียกว่าแมงกะพรุนเช่นกัน.

ใหม่!!: ไนดาเรียและแมงกะพรุน · ดูเพิ่มเติม »

แมงกะพรุนไฟ

แมงกะพรุนไฟ หรือ ตำแยทะเล เป็นสัตว์น้ำไม่มีกระดูกจำพวกแมงกะพรุนสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Chrysaora (/ไคร-เซ-ออ-รา/) จัดอยู่ในชั้นแมงกะพรุนแท้ หรือไซโฟซัว โดยแมงกะพรุนไฟ มีลักษณะทั่วไปคล้ายร่ม แต่มีสีลำตัวและหนวดเป็นสีแดงสดหรือสีส้ม ด้านบนมีจุดสีขาวอยู่ทั่วไป สังเกตได้ง่าย ปากและหนวดยื่นออกมาทางด้านล่างหรือด้านท้อง เส้นหนวดมีจำนวนมากเป็นสายยาวกว่าลำตัว พบในทะเลทั้งบริเวณชายฝั่งและไกลฝั่ง ในช่วงฤดูมรสุมอาจพบได้ในเขตน้ำกร่อย จัดเป็นแมงกะพรุนที่มีพิษร้ายแรงมากอีกจำพวกหนึ่ง เมื่อโดนต่อยจากเข็มพิษแล้วจะมีอาการเจ็บปวดที่บริเวณบาดแผล จะมีอาการเจ็บ ปวดบริเวณบาดแผลอย่างรุนแรงภายในระยะเวลา 44 นาที บางครั้งอาจพบหนวดแมงกะพรุนขาดติดอยู่บนผิวสัมผัส ผิวหนังมีแนวผื่นแดง หรือรอยไหม้ ตามรอยหนวด ปวดแสบปวดร้อน บวมแดงจากการอักเสบและอาจเป็นหนองจากการติดเชื้อสำทับ อาการบวมแดงอาจหายไปได้ในเวลาไม่ช้า แต่รอยไหม้และรอยแผลเป็นที่เกิดขึ้นจะต้องใช้เวลารักษานานหลายปี หรืออยู่ถาวรตลอดไป นอกจากนี้อาจมีอาการไอ, น้ำมูกและน้ำตาไหล และอาการข้างเคียงอื่น ๆ เช่น เหงื่อออกมาก กล้ามเนื้อเป็นตะคริว, อ่อนเพลีย และหมดสติ จากการฉีดพิษที่สกัดจากแมงกะพรุนไฟเข้าไปในสัตว์ทดลองพบว่าทำให้การทำงานของตับและไตผิดปรกติ จนอาจเป็นอันตรายถึงตายได้ แต่ยังไม่มีรายงานว่าเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตมนุษย์ และผลที่ออกมาค่อนข้างทุกข์โศกพอสมควร โดยที่ชื่อวิทยาศาสตร์ของแมงกะพรุนไฟนั้น คือ Chrysaora มีที่มาจากเทพปกรณัมกรีก คือ ไครเซออร์ซึ่งเป็นโอรสของโปเซดอน เทพเจ้าแห่งท้องทะเลกับเมดูซ่า เป็นอนุชาของเพกาซัส โดยที่ชื่อนี้มีความหมายว่า "บุรุษผู้ถืออาวุธทองคำ".

ใหม่!!: ไนดาเรียและแมงกะพรุนไฟ · ดูเพิ่มเติม »

แมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส

แมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส หรือ แมงกะพรุนไฟเรือรบโปรตุเกส (Portuguese man-of-war, Portuguese Man o' War, Blue bubble, Floating terror) เป็นไซโฟโนฟอร์ชนิดหนึ่ง อยู่ในไฟลัมไนดาเรีย ในชั้นไฮโดรซัว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Physalia physalis แม้จะถูกเรียกว่าเป็นแมงกะพรุน แต่เป็นสัตว์คนละชั้นกับแมงกะพรุนแท้ทั่วไป.

ใหม่!!: ไนดาเรียและแมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส · ดูเพิ่มเติม »

แอนโธซัว

แอนโธซัว (Anthozoa) เป็นชั้นหนึ่งในไฟลัมไนดาเรีย เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีรูปร่างเป็นแท่งคล้ายดอกไม้ มีโครงสร้างค้ำจุน อาศัยอยูเดี่ยวๆหรือเป็นโคโลนี อาศัยอยู่ในทะเลทั้งหมด แบ่งได้เป็นสี่กลุ่มคือ ดอกไม้ทะเล ปะการังแข็ง ปะการังอ่อน และกัลปังหา หมวดหมู่:ไนดาเรีย.

ใหม่!!: ไนดาเรียและแอนโธซัว · ดูเพิ่มเติม »

ไฮดรา

รา (Hydra) พบสะกดว่า ไฮดร้า อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ไนดาเรียและไฮดรา · ดูเพิ่มเติม »

ไฮดรา (สกุล)

รา (Hydras) เป็นสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง ลำตัวยาวประมาณ 0.5-1 นิ้ว สืบพันธุ์ด้วยการแตกหน่อ พบได้ในแหล่งน้ำนิ่งดำรงชีวิต อย่างง่าย ๆ ตามคูน้ำ หรือสระน้ำ ซึ่งมีระบบอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายไม่ยุ่งยากสลับซับซ้อน เราจัดไฮดราให้อยู่ในจำพวกเดียวกับแมงกะพรุนแต่มีขนาด ตัวเล็กกว่าแมงกะพรุนมาก โดยเฉพาะลำตัวไฮดราจะใสจึงยากแก่การสังเกตสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ มีลำตัวยาวเป็นรูปทรงกระบอกสูง มีลักษณะสมมาตรแบบรัศมี ปลายด้านหนึ่งประกอบด้วยหนวดเส้นเล็กล้อมรอบปาก โดยไฮดราจะใช้หนวดมัดอาหารเข้าทางช่อง ปากเพื่อเข้าในช่องว่างภายในลำตัว อาหารของไฮดราคือ ไรน้ำ (Daphia) หรือลูกไร (Cyclops) นอกจากหนวดของไฮดราจะทำหน้าที่ช่วยในการเคลื่อนที่ และจับอาหารแล้ว บริเวณหนวดของไฮดรามีบางเซลล์เปลี่ยนไปเป็นเข็มพิษ เมื่อไฮดรา ต้องการล่าเหยื่อ หรือทำลายศัตรูก็จะใช้หนวดปกป้องตัวเอง โดยใช้หนวดรัดและปล่อยเข็ม พิษออกมา แต่เข็มพิษของไฮดรา ไม่ทำให้มนุษย์เกิดการเจ็บปวดแต่อย่างไร ลำตัวของไฮดราบางครั้งจะพบปุ่มเล็ก ๆ ยื่นยาวออกมาข้างลำตัว เรียกกันทั่วไปว่า หน่อ (Bud) หน่อเหล่านี้สามารถหลุดออกมาเจริญเป็นตัวไฮดราใหม่ได้ เรียกการสืบพันธุ์วิธีนี้ว่าการแตกหน่อ (Budding) แต่ไฮดราก็มีอวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้ (testis) ซึ่งเป็นปุ่มเล็ก ๆ อยู่ตอนบนของลำตัว และมีอวัยวะสืบพันธุ์เพศเมีย (Ovary) ซึ่งเป็นปุ่มเล็ก ๆ อยู่ตอนล่างไว้สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศได้อีกด้วย ลำตัวของไฮดราจะประกอบไปด้วยเซลล์หลาย ๆ เซลล์ จัดเรียงเป็นเนื้อเยื่อ 2 ชั้น ชั้นนอกสุด (ectoderm) จะมีเซลล์ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับรู้ในเรื่องการรับสัมผัส ส่วนเนื้อเยื่อชั้นใน (endoderm) จะมีเซลล์ทำหน้าที่เกี่ยวกับการย่อยสลายอาหาร ฮไดรา.

ใหม่!!: ไนดาเรียและไฮดรา (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

ไฮโดรซัว

รซัว (Hydrozoa) เป็นชั้นหนึ่งในไฟลัมไนดาเรียเป็นคลาสที่ประกอบด้วยสัตว์ประมาณ 3,000 ชนิด ส่วนใหญ่อยู่ในทะเล ระยะเมดูซาของไฮโดรซัวจะมีขนาดเล็กมาก และจะมีเยื่อบางๆ เรียกเยื่อวีลัม (Velum) ติดอยู่ตามขอบ ซึ่งเยื่อนี้จะไม่พบในระยะเมดูซาของไซโฟซัว แบ่งเป็นสองกลุ่มคือ ไฮโดรซัวที่อยู่เป็นตัวเดี่ยว ได้แก่ ไฮดรา Sarsia Liriope โกนีโอนีมัส และไฮโดรซัวที่อยุ่เป็นโคโลนี ได้แก่ โอบีเลีย กะพรุนไฟ (Physalia).

ใหม่!!: ไนดาเรียและไฮโดรซัว · ดูเพิ่มเติม »

ไซโฟซัว

ซโฟซัว หรือ แมงกะพรุนแท้ เป็นชั้นของสัตวน้ำไม่มีกระดูกสันหลังในไฟลัมไนดาเรีย ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Scyphozoa.

ใหม่!!: ไนดาเรียและไซโฟซัว · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์ประสาท

ซลล์ประสาท หรือ นิวรอน (neuron,, หรือ) เป็นเซลล์เร้าได้ด้วยพลัง ของเซลล์อสุจิที่ทำหน้าที่ประมวลและส่งข้อมูลผ่านสัญญาณไฟฟ้าและเคมี โดยส่งผ่านจุดประสานประสาท (synapse) ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อโดยเฉพาะกับเซลล์อื่น ๆ นิวรอนอาจเชื่อมกันเป็นโครงข่ายประสาท (neural network) และเป็นองค์ประกอบหลักของสมองกับไขสันหลังในระบบประสาทกลาง (CNS) และของปมประสาท (ganglia) ในระบบประสาทนอกส่วนกลาง (PNS) นิวรอนที่ทำหน้าที่โดยเฉพาะ ๆ รวมทั้ง.

ใหม่!!: ไนดาเรียและเซลล์ประสาท · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Cnidariaพวกสัตว์ลำตัวกลมพวกสัตว์ลำตัวกลวงซีเลนเตอเรตไฟลัมซีเลนเตอราตา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »