โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระโพธิธรรม

ดัชนี พระโพธิธรรม

'''"พระโพธิธรรม"''' โดยโยะชิโทะชิ (ค.ศ. 1877) พระโพธิธรรม (โพธิธรฺม, เทวนาครี बोधिधर्म; อักษรโรมัน (NLAC): bōdhidharma; 菩提達摩, พินอิน: Pútídámó, Dámó) แต่ในนิยายกำลังภายในในประเทศไทยมักเรียก ตักม้อ หรือ ตั๊กม้อ (สำเนียงแต้จิ๋ว ตรงกับจีนกลางว่า ต๋าหมอ) เป็นพระภิกษุในศาสนาพุทธฝ่ายมหายานนิกายเซน มีประวัติไม่ชัดเจนนัก แต่เชื่อกันว่ามีตัวตนอยู่จริง และเป็นผู้สถาปนาวัดเส้าหลิน ในจีน ทั้งยังได้เผยแพร่วิชามวยจีนในหมู่พระเณรของวัดเส้าหลิน จนมีชื่อเสียงมาจวบจนทุกวันนี้ ตามตำนานระบุว่า ท่านเกิดเมื่อราว..

22 ความสัมพันธ์: บันเทิงคดีกำลังภายในพ.ศ. 1079พระมหากัสสปะพระโคตมพุทธเจ้าพินอินกลุ่มภาษาจีนกวางตุ้งภาษาญี่ปุ่นภิกษุมหายานมณฑลเหอหนานลั่วหยางวัดเส้าหลินศาสนาพุทธอักษรละตินอักษรเทวนาครีจักรพรรดิถังไท่จงจักรพรรดิเหลียงอู่จู่ซือประเทศอินเดียประเทศจีนเซน

บันเทิงคดีกำลังภายใน

ันเทิงคดีกำลังภายใน เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับศิลปะการต่อสู้ที่ทำให้ผู้ฝึก (ซึ่งเรียกว่า จอมยุทธ์) มีความสามารถเหนือธรรมชาติต่าง ๆ บันเทิงคดีกำลังภายในโดยมากมักจะอ้างอิงถึงเหตุการณ์ในอดีตที่เกิดขึ้นในสถานที่ต่าง ๆ ในประเทศจีน.

ใหม่!!: พระโพธิธรรมและบันเทิงคดีกำลังภายใน · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1079

ทธศักราช 1079 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: พระโพธิธรรมและพ.ศ. 1079 · ดูเพิ่มเติม »

พระมหากัสสปะ

ระมหากัสสปะ เป็นพระอรหันต์สาวกองค์หนึ่งของพระโคตมพุทธเจ้า เป็นเอตทัคคะที่ทรงยกย่องและให้ถือเป็นแบบอย่างในด้านผู้ทรงธุดงค์และสรรเสริญคุณแห่งธุดงค์, พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑. เอตทัคควรรค ๑. ปฐมวรรค ภายหลังที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน ท่านได้เป็นประธานในการสังคายนาครั้งที่หนึ่งในศาสนาพุท.

ใหม่!!: พระโพธิธรรมและพระมหากัสสปะ · ดูเพิ่มเติม »

พระโคตมพุทธเจ้า

ระโคตมพุทธเจ้า มีพระนามเดิมในภาษาบาลีว่า สิทธัตถะ โคตมะ หรือในภาษาสันสกฤตว่า สิทฺธารฺถ เคาตมะ (อ่านว่า /สิดทาด —/) (เทวนาครี: सिद्धार्थ गौतम) เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ผู้เป็นศาสดาของศาสนาพุทธ สาวกของพระองค์ไม่นิยมออกพระนามโดยตรง แต่เรียกตามพระสมัญญาว่า "ภควา" (พระผู้มีพระภาคเจ้า) คัมภีร์พุทธศาสนาทั้งนิกายเถรวาทและนิกายมหายานบันทึกตรงกันว่า พระโคตมพุทธเจ้าทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปี ก่อนคริสตกาลตามตำราไทยซึ่งอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และตรงกับ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล พระโคตมพุทธเจ้าเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายาแห่งศากยวงศ์ โคตมโคตร อันเป็นราชสกุลวงศ์ที่ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์มาช้านาน ก่อนออกผนวชทรงดำรงพระอิสสริยยศเป็นรัชทายาท เมื่อเสด็จออกผนวชและบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ทรงได้รับการถวายพระนามต่าง ๆ อาทิ พระศากยมุนี, พระพุทธโคดม, พระโคดมพุทธเจ้า ฯลฯ แต่ทรงเรียกพระองค์เองว่า ตถาคต แปลว่า พระผู้ไปแล้วอย่างนั้น คือ ทรงปฏิญาณว่า ทรงพ้นจากทุกข์ทั้งปวง สำเร็จแล้วซึ่งอรหัตผล.

ใหม่!!: พระโพธิธรรมและพระโคตมพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พินอิน

นอิน หรือ ฮั่นยฺหวี่พินอิน (แปลว่า สะกดเสียงภาษาจีน) คือระบบในการถอดเสียงภาษาจีนมาตรฐาน ด้วยตัวอักษรละติน ความหมายของพินอินคือ "การรวมเสียงเข้าด้วยกัน" (โดยนัยก็คือ การเขียนแบบสัทศาสตร์ การสะกด การถอดเสียง หรือการทับศัพท์) พินอินเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2501 และเริ่มใช้กันในปี พ.ศ. 2522 โดย รัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยใช้แทนที่ระบบการถอดเสียงแบบเก่า เช่น ระบบเวดและไจลส์ และระบบจู้อิน นอกจากนี้ ยังมีการออกแบบระบบอื่น ๆ สำหรับนำไปใช้กับภาษาพูดของจีนในถิ่นต่าง ๆ และภาษาของชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช้ภาษาฮั่น ในสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วย นับแต่นั้นมา พินอินก็เป็นที่ยอมรับจากสถาบันนานาชาติหลายแห่ง รวมทั้งรัฐบาลสิงคโปร์ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และสมาคมหอสมุดอเมริกัน โดยถือว่าเป็นระบบการถอดเสียงที่เหมาะสมสำหรับภาษาจีนกลาง ครั้นปี พ.ศ. 2522 องค์การมาตรฐานนานาชาติ (ISO) ก็ได้รับเอาพินอินเป็นระบบมาตรฐาน (ISO 7098) ในการถ่ายทอดเสียงภาษาจีนปัจจุบันด้วยอักษรโรมัน (the standard romanization for modern Chinese) สิ่งสำคัญที่ต้องระลึกไว้ก็คือ พินอินนั้น เป็นการทับศัพท์ด้วยอักษรโรมัน (Romanization) มิใช่การถอดเสียงแบบภาษาอังกฤษ (Anglicization) นั่นคือ การกำหนดให้ใช้ตัวอักษรตัวหนึ่ง สำหรับแทนเสียงหนึ่ง ๆ ในภาษาจีนไว้อย่างตายตัว เช่น b และ d ในระบบพินอิน เป็นเสียง "ป" และ "ต" ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างจากระบบการออกเสียงส่วนใหญ่ ไม่ว่าอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือภาษาอื่นในยุโรป ขณะที่อักษร j หรือ q นั้นมีเสียงไม่ตรงกับในภาษาอังกฤษเลย กล่าวสั้น ๆ ก็คือ พินอินมุ่งที่จะใช้อักษรโรมัน เพื่อแทนเสียงใดเสียงหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อความสะดวกในการเขียน มิได้ยืมเสียงจากระบบของอักษรโรมันมาใช้ การใช้ระบบนี้นอกจากทำให้ชาวต่างชาติเขียนอ่านภาษาจีนได้สะดวกแล้ว ยังสามารถใช้กับคอมพิวเตอร์ได้สะดวกอย่างยิ่งด้วย ต่อไปนี้เป็นการถอดเสียงภาษาจีน (ที่เขียนด้วยอักษรโรมันในระบบพินอิน) ด้วยอักษรไทย โปรดสังเกตว่า บางหน่วยเสียงในภาษาจีนไม่มีหน่วยเสียงที่ตรงกันในภาษาไทย จึงต้องอนุโลมใช้อักษรที่ใกล้เคียง ในที่นี้จึงมีอักษรไทยบางตัว ที่ต้องใช้แทนหน่วยเสียงในภาษาจีนมากกว่าหนึ่งหน่วยเสียง ทั้งนี้เพื่อเป็น "เกณฑ์อย่างคร่าว ๆ" สำหรับการเขียนคำทับศัพท์ภาษาจีน.

ใหม่!!: พระโพธิธรรมและพินอิน · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาจีน

ัฒนาการของภาษาจีนสำเนียงต่างๆ ภาษาจีน (汉语 - 漢語 - Hànyǔ - ฮั่นอวี่, 华语 - 華語 - Huáyǔ - หัวอวี่ หรือ 中文 - Zhōngwén - จงเหวิน) เป็นหนึ่งในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ชาวจีนส่วนใหญ่ถือภาษาจีนพูดชนิดต่าง ๆ ว่าเป็นภาษาเดียว โดยทั่วไปแล้ว ภาษาพูดในกลุ่มภาษาจีนเป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์และไม่อ่านเนื่องเสียง อย่างไรก็ดี ยังมีความแตกต่างกันในภาษาพูดแต่ละภาษาอยู่มาก ความต่างเหล่านี้เทียบได้กับ ความแตกต่างระหว่างภาษาของภาษากลุ่มโรมานซ์ เราอาจแบ่งภาษาพูดของจีนได้ 6 ถึง 12 กลุ่ม ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่ง ที่เป็นที่รู้จักดี เช่น กลุ่มแมนดาริน กลุ่มหวู และกลุ่มกวางตุ้ง ยังเป็นที่โต้เถียงกันถึงปัจจุบันว่าภาษาพูดบางกลุ่มควรจัดเป็น "ภาษา" หรือเป็นแค่ "สำเนียง" ประชากรประมาณ 1/5 ของโลกพูดภาษาจีนแบบใดแบบหนึ่งเป็นภาษาแม่ ทำให้เป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุด สำเนียงพูดที่ถือเป็นมาตรฐาน คือ สำเนียงปักกิ่ง หรือ ภาษาฮั่น ซึ่งอยู่ในกลุ่มภาษาแมนดาริน ภาษาจีนกลาง หรือ ภาษาจีนแมนดาริน (Standard Mandarin) เป็นภาษาทางการของสาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐจีนหรือไต้หวัน เป็นหนึ่งในภาษาทางการ 4 ภาษาทางการของประเทศสิงคโปร์ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู และภาษาทมิฬ) และเป็นหนึ่งใน 6 ภาษาที่ใช้ในองค์การสหประชาชาติ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษาอาหรับ ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาสเปน) ภาษาจีนกวางตุ้ง เป็นภาษาทางการของ ฮ่องกง (ร่วมกับภาษาอังกฤษ) และมาเก๊า (ร่วมกับภาษาโปรตุเกส) นอกจากนี้ ภาษาเขียนยังได้เปลี่ยนแปลงตามระยะเวลา แต่การเปลี่ยนแปลงของภาษาเขียน ช้ากว่าการเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดอย่างมาก จึงไม่ถูกจำกัดโดยความเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดโดยส่วนใหญ่ ในปัจจุบัน ภาษาจีนใช้อักษรมาตรฐาน 2 รูปแบบทั่วโลก ได้แก่ อักษรจีนตัวเต็ม และ อักษรจีนตัวย่อ แผ้นที่แสดงพื้นที่ที่มีกลุ่มคนพูดภาษาจีนต่างๆ ในประเทศจีน.

ใหม่!!: พระโพธิธรรมและกลุ่มภาษาจีน · ดูเพิ่มเติม »

กวางตุ้ง

กวางตุ้ง อาจหมายถึง.

ใหม่!!: พระโพธิธรรมและกวางตุ้ง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาญี่ปุ่น

ษาญี่ปุ่น (日本語) เป็นภาษาทางการของประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันมีผู้ใช้ทั่วโลกราว 130 ล้านคน นอกเหนือจากประเทศญี่ปุ่นแล้ว รัฐอังกาอูร์ สาธารณรัฐปาเลา ได้กำหนดให้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาทางการภาษาหนึ่ง นอกจากนี้ภาษาญี่ปุ่นยังถูกใช้ในหมู่ชาวญี่ปุ่นที่ย้ายไปอยู่นอกประเทศ นักวิจัยญี่ปุ่น และนักธุรกิจต่างๆ คำภาษาญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลมาจากภาษาต่างประเทศเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะภาษาจีน ที่ได้นำมาเผยแพร่มาในประเทศญี่ปุ่นเมื่อกว่า 1,500 ปีที่แล้ว และตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ก็ได้มีการยืมคำจากภาษาต่างประเทศที่ไม่ใช่ภาษาจีนมาใช้อีกเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เช่นคำที่มาจากภาษาดัตช์ ビール (bier แปลว่า เบียร์) และ コーヒー (koffie แปลว่า กาแฟ).

ใหม่!!: พระโพธิธรรมและภาษาญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ภิกษุ

กษุ หรือ พระภิกษุ (บาลี: ภิกขุ; สันสกฤต: ภิกษุ) เป็นคำใช้เรียก "นักบวชชาย" ในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ คู่กับภิกษุณี (นักบวชหญิง) คำว่า ภิกษุ เป็นศัพท์เฉพาะในพระพุทธศาสนา เป็นศัพท์บัญญัติที่ใช้เรียกนักบวชชายในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ไม่สาธารณะทั่วไปสำหรับทุกศาสนา มีความหมายว่า ผู้ขอ (ขออาหาร เป็นต้น) และสามารถแปลว่า ผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร ก็ได้ ดังรูปวิเคราะห์ว่า "วฏฺฏสํสาเร ภยํ อิกฺขตีติ ภิกฺขุ" ในประเทศไทยและประเทศลาว มีคำเรียกภิกษุเถรวาทว่า "พระ" แปลว่าผู้ประเสร.

ใหม่!!: พระโพธิธรรมและภิกษุ · ดูเพิ่มเติม »

มหายาน

มหายาน เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายอาจริยวาท ที่นับถือกันอยู่ประเทศแถบตอนเหนือของอินเดีย, เนปาล, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, เวียดนาม, มองโกเลีย ไปจนถึงบางส่วนของรัสเซีย จุดเด่นของนิกายนี้อยู่ที่แนวคิดเรื่องการบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์สร้างบารมีเพื่อช่วยเหลือสรรพชีวิตในโลกไปสู่ความพ้นทุกข์ ด้วยเหตุที่มีผู้นับถืออยู่มากในประเทศแถบเหนือจึงเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า อุตตรนิกาย ปัจจุบันพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ของโลกเป็นผู้นับถือนิกายมหายาน.

ใหม่!!: พระโพธิธรรมและมหายาน · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลเหอหนาน

หอหนาน ตามสำเนียงกลาง หรือ ห้อหลำ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือชื่อย่อ อวี้ และชื่อเดิม จงโจว หรือ จงหยวน เป็นมณฑลในสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งอยู่ทางตอนกลางเยื้องทางตะวันออกของประเทศ อยู่ทางตอนกลางส่วนล่างของ แม่น้ำเหลือง (หวงเหอ) ซึ่งไหลผ่านเป็นระยะทาง 700 กว่ากิโลเมตร ถือเป็นแหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของจีน มีเมืองเอกชื่อ เจิ้งโจว (郑州) มีเนื้อที่ 167,000 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 97,170,000 คน ความหนาแน่น 582 ต่อตารางกิโลเมตร จีดีพี 881.5 พันล้านเหรินหมินปี้ จีดีพีต่อประชากร 9070 เหรินหมินปี้ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น มณฑลเหอหนานมีประชากรมากที่สุดในประเทศจีน ภูมิประเทศ ทิศตะวันตกเป็นเทือกเขาทอดตัวยาวสลับซับซ้อน อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลมากกว่า 1,000 เมตร ทางตะวันออกเป็นพื้นที่ราบ สูงกว่าระดับน้ำทะเลราว 100 เมตร จุดที่สูงที่สุดของมณฑลอยู่ที่ยอดเหล่ายาช่า ในเมืองหลิงเป่า ซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 2413.8 เมตร ภูมิอากาศมีสภาพภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อนกึ่งอบอุ่น มีฤดู 4 ฤดูอย่างชัดเจน อุณหภูมิเฉลี่ยต่อปี 13-15 องศาเซลเซียส เศรษฐกิจปี 2547 เหอหนันมีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเท่ากับ 881,509 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 13.7 % อุตสาหกรรมเหอหนันถือเป็นฐานผลิตพลังงานที่สำคัญ มีธุรกิจถ่านหิน 65 ราย สามารถผลิตถ่านหินได้ปีละประมาณ 100 ล้านตัน เป็นที่ 2 ของจีน.

ใหม่!!: พระโพธิธรรมและมณฑลเหอหนาน · ดูเพิ่มเติม »

ลั่วหยาง

thumb ลั่วหยาง หรือสำเนียงฮกเกี้ยนว่า ลกเอี๋ยง เป็นเมืองหนึ่งในประเทศจีน ปัจจุบันตั้งอยู่ทางตะวันตกของมณฑลเหอหนาน เคยเป็นเมืองหลวงของหลายราชวงศ์เช่น ราชวงศ์โจวตะวันออก ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก และราชวงศ์ถัง.

ใหม่!!: พระโพธิธรรมและลั่วหยาง · ดูเพิ่มเติม »

วัดเส้าหลิน

วัดเส้าหลินหรือสำนักเส้าหลิน (เส้าหลินซื่อ; แต้จิ๋ว: เสี้ยวลิ้มยี่; ฮกเกี้ยน: เชี้ยวหลิมซี; คำแปล: วัดป่าบนเขาเส้าซื่อ) เป็นวัดทางพระพุทธศาสนานิกายมหายานที่มีความเก่าแก่อายุมากกว่า 1,500 ปี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเทือกเขาซงซาน หนึ่งในจำนวนห้ายอดเขาอันศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของชาวจีน เป็นเทือกเขาที่มีชื่อเสียงมากที่สุดทั้งในด้านของประวัติศาสตร์และในแวดวงยุทธภพ ประกอบด้วยยอดเขาน้อยใหญ่จำนวน 72 ยอด แบ่งเป็นสองกลุ่มคือในกลุ่มของเขาไท่ซื่อ จำนวน 36 ยอด และกลุ่มของเขาเส้าซื่อ จำนวน 36 ยอด ในอำเภอเติงเฟิง เมืองเจิ้งโจว มณฑลเหอหนาน ประเทศจีน อยู่กึ่งกลางระหว่างเมืองเจิ้งโจวและเมืองลั่วหยาง บริเวณรอบ ๆ วัดเส้าหลินเป็นพื้นที่โล่งกว้าง ใช้สำหรับฝึกวิทยายุทธของหลวงจีน รายล้อมด้วยป่าเจดีย์หรือถ่าหลิน ซึ่งเป็นสุสานของอดีตเจ้าอาวาสและหลวงจีน ซึ่งมีมาตั้งแต่ในยุคสมัยของราชวงศ์ถัง วัดเส้าหลินมีชื่อเสียงโด่งดังมากที่สุดในประเทศจีนและในต่างประเทศ ได้รับการกล่าวขานในเรื่องของกระบวนท่าวิทยายุทธ เพลงหมัดมวย พลังลมปราณและกังฟูเส้าหลินเป็นอย่างมาก เป็นแหล่งวิชาการต่อสู้และศิลปะการป้องกันตัวที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจีน ปรากฏชื่อในนิยายกำลังภายในหลายต่อหลายเรื่อง ซึ่งล้วนแต่กล่าวถึงวิชาเพลงหมัดมวย พลังลมปราณและกังฟูเส้าหลินอยู่เสมอ โดยเฉพาะนิยายกำลังภายในของกิมย้งเช่น มังกรหยก, จอมใจจอมยุทธ์, จิ้งจอกภูเขาหิมะ เป็นต้น ปัจจุบันมีหลวงจีนที่บวชเพื่อศึกษาธรรมะและกังฟูจำนวน 180 รูป มีหลวงจีน ซือ หย่งซิน ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งในประเทศจีน ที่ทางรัฐบาลจีนได้ร้องขอต่อองค์กรยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก และได้รับการพิจารณาให้เป็นมรดกโลกเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ร่วมกับโบราณสถานอีก 5 แห่ง.

ใหม่!!: พระโพธิธรรมและวัดเส้าหลิน · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: พระโพธิธรรมและศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรละติน

อักษรละติน หรือ อักษรโรมัน เป็นระบบตัวเขียนแบบตัวอักษร สันนิษฐานว่าอักษรละตินมีที่มาจากอักษรคิวมี (Cumae alphabet) ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรกรีกอีกทอดหนึ่ง ที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก โดยเฉพาะประเทศในยุโรปและอเมริกา และประเทศในเอเชียที่นำอักษรละตินมาใช้ในภายหลังเช่น ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเวียดนาม ประเทศมาเลเซีย ประเทศเติร์กเมนิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศอาเซอร์ไบจาน ประเทศตุรกี และประเทศฟิลิปปินส์ รวมถึงการเขียนภาษาด้วยอักษรโรมัน (romanization) ในภาษาต่างๆ เช่น พินอิน (ภาษาจีน) หรือ โรมะจิ (ภาษาญี่ปุ่น).

ใหม่!!: พระโพธิธรรมและอักษรละติน · ดูเพิ่มเติม »

อักษรเทวนาครี

อักษรเทวนาครี (देवनागरी อ่านว่า เท-วะ-นา-คะ-รี; Devanagari) พัฒนามาจากอักษรพราหมีในราวคริสต์ศตวรรษที่ 11 ใช้เขียนภาษาฮินดี ภาษาสันสกฤต ภาษามราฐี ภาษาบาลี ภาษาสินธี ภาษาเนปาล และภาษาอื่นๆในประเทศอินเดีย อักษรเทวนาครีมีลักษณะการเขียนจากซ้ายไปขวา มีเส้นเล็กๆ อยู่เหนือตัวอักษร หากเขียนต่อกัน จะเป็นเส้นยาวคล้ายเส้นบรรทัด มีการแยกพยัญชนะ สระ และเครื่องหมายต่าง.

ใหม่!!: พระโพธิธรรมและอักษรเทวนาครี · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิถังไท่จง

มเด็จพระจักรพรรดิถังไท่จง (1170-1186) พระนามเดิม หลี่ซื่อหมิน จักรพรรดิองค์ที่สองแห่งราชวงศ์ถังของประเทศจีน (ราว 1,600 ปี) ได้ยึดถือหลักคำสอนเรื่องนี้ของบรมครูขงจื่อในการ ปกครองประเทศจีน และทำให้ประเทศจีนในยุคที่พระองค์ทรงปกครองรุ่งเรืองที่สุดยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์ 5 เป็นประเทศมหาอำนาจของโลกในยุคสมัยของพระองค์ราชวงศ์ถังนั้นยิ่งใหญ่มากมายนั้นเลยก็ว่าได้ แม้ว่าพระองค์มีพระราชอำนาจสูงสุด สามารถตัดสินพระทัยสั่งการใด ๆ ก็ได้ พระองค์ก็ทรงมิได้ปฏิบัติเช่นนั้น พระองค์จะไต่ถามความเห็นของเหล่าเสนาบดี และที่ปรึกษาของพระองค์ก่อนที่จะตัดสินพระทัยเสมอ โดยเฉพาะที่ปรึกษาท่านหนึ่ง นาม เว่ยเจิง ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ปรึกษาของพี่ชายพระองค์ที่เป็นรัชทายาท และได้แนะนำให้พี่ชายของพระองค์ วางแผนสังหารพระองค์ เนื่องจากที่ปรึกษาท่านนี้มองเห็นว่า พระองค์จะเป็นภัยก่อการขบถยึดราชบัลลังก์ของพี่ชาย เนื่องจากถังไท่จงเหนือชั้นกว่า จึงวางแผนซ้อนแผน แทนที่พระองค์จะถูกสังหาร พี่ชายของพระองค์กลับถูกปลิดพระชนม์ชีพแทน แต่ถังไท่จงรับสั่งมิให้ทหารของพระองค์ทำร้ายที่ปรึกษาผู้นั้น นอกจากไม่ทำร้ายแล้ว พระองค์ยังทรงแต่งตั้งเขาขึ้นเป็นประธานที่ปรึกษา เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระราชบิดาอีก ด้วยเหตุผลก็คือ พระองค์ท่านจะได้มีที่ปรึกษาอย่างน้อยหนึ่งท่านที่คิดแตกต่าง หรือไม่เหมือนกับที่พระองค์คิด กล้าคัดค้านพระองค์อย่างตรงไปตรงมาโดยไม่เกรงกลัว หรือหวาดหวั่นต่อพระราชอำนาจ จักรพรรดิถังไท่จงได้รับการยกย่องจากนักประวัติศาสตร์ให้เป็นมหาจักรพรรดิของจีนเพราะพระองค์แตกต่างจากจักรพรรดิทั้งปวง กล่าวคือ ไม่ว่าเชื้อพระวงศ์ก็ดี หรือเสนาบดีก็ดี หรือที่ปรึกษาก็ดีไปแอบนินทา ให้ร้ายพระองค์ลับหลัง พระองค์ก็จะทรงลงพระอาญา เพราะถือว่า พระองค์ทรงให้โอกาสวิพากษ์วิจารณ์อย่างเปิดเผย และถูกต้องแล้วบุคคลเหล่านี้กลับไม่ทำ หรือไม่ใช้โอกาสดังกล่าว กลับมาแอบทำลับหลังพระองค์ จึงต้องถูกลงโทษให้เป็นเยี่ยงอย่าง ส่วนผู้ที่กล้าวิพากษ์วิจารณ์ หรือคัดค้านพระองค์ต่อหน้าพระพักตร์อย่างชนิดตรงไปตรงมา อย่างเช่น อดีตที่ปรึกษาของพระเชษฐาขององค์จักรพรรดิถังไท่จงก็ทรงปูนบำเหน็จรางวัลให้เพื่อให้บรรดาเหล่าขุนนาง หรือข้าราชบริพารมีความกล้าที่จะใช้โอกาสดังกล่าวคัดค้านพระองค์ด้วยเหตุด้วยผล ไม่ใช่ไปแอบทำข้างหลัง นอกจากนั้นพระองค์ก็ทรงปลอมเป็นสามัญชนไปกับประธานที่ปรึกษาออกตระเวนเยี่ยมประชาชนของพระองค์ และตรวจงานการปฏิบัติราชการของ เหล่าข้าราชบริพารเป็นประจำทุกปี เพื่อจะได้ทรงทราบว่า บรรดารายงานของข้าราชการที่ส่งไปให้พระองค์ทรงอ่านที่เมืองหลวงนั้นมีความถูกต้อง สอดคล้องกับความเป็นจริงมากเพียงใด ไม่ใช่ทรงอยู่แต่ในวังหลวงพึ่งพารายงานจากข้าราชการอย่างเดียว บางครั้ง หากพระองค์ประชวร พระองค์ก็จะทรงส่งประธานที่ปรึกษาของพระองค์ออกทำงานแทนพระองค์ จักรพรรดิถังไท่จงถือว่าประชาชนมีความสำคัญกว่าพระองค์ และพระราชวงศ์ เวลาพระองค์จะตัดสินพระทัยทำอะไร ก็มักจะมองไปที่ผลประโยชน์ของประชาชนก่อนเสมอ ก่อนที่จะขึ้นครองราชย์นั้น พระองค์มีพระนามว่า "หลี ซื่อ หมิน" ประสูติเมื่อ..

ใหม่!!: พระโพธิธรรมและจักรพรรดิถังไท่จง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิเหลียงอู่

ักรพรรดิเหลียงอู่ตี้ พระเจ้าเหลียงอู่ (梁武帝) หรือ เซียวเหยี่ยน (萧衍) แห่งราชวงศ์เหลียง ทรงครองราชสมบัติระหว่าง ค.ศ. 502–549 นับเป็นช่วงเวลาที่มีเสถียรภาพที่สุดในยุคราชวงศ์หนานเป่ย หรือราชวงศ์เหนือใต้ พระองค์สนับสนุนการศึกษาของบัณฑิตลัทธิขงจื๊อ แต่ก็ทรงศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง.

ใหม่!!: พระโพธิธรรมและจักรพรรดิเหลียงอู่ · ดูเพิ่มเติม »

จู่ซือ

ู่ซือ (祖師) บางตำราแปลว่า "ปรมาจารย์" หมายถึง ผู้ก่อตั้งหรือเจ้าสำนักองค์การศาสนาในประเทศจีน ใช้ในศาสนาพุทธ ลัทธิเต๋า ลัทธิเซียนเทียนเต้า ลัทธิอนุตตรธรรม เป็นต้น.

ใหม่!!: พระโพธิธรรมและจู่ซือ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: พระโพธิธรรมและประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: พระโพธิธรรมและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

เซน

ระโพธิธรรม ฝีมือของโยะชิโทะชิ (ค.ศ. 1877) เซน (禅, ぜん; Zen) เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายมหายาน นับถือกันอย่างแพร่หลายในแถบเอเชียตะวันออก (จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี) คำว่า เซน เป็นชื่อภาษาญี่ปุ่นของคำว่า ฉาน (禅, Chán แต้จิ๋วออกเสียงว่า เซี้ยง) ในภาษาจีน ที่มาจากคำว่า ธฺยาน ในภาษาสันสกฤตอีกทอดหนึ่ง (ตรงกับคำว่า ฌาน ในภาษาบาลี) ซึ่งหมายถึง การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ มีจิตที่สงบและประณีต เซน มีต้นกำเนิดจากประเทศอินเดีย พัฒนาที่ประเทศจีน ก่อนที่จะถูกเผยแพร่มาสู่เกาหลีและเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น โดยได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิขงจื๊อและลัทธิเต๋า ในช่วงระหว่างที่เผยแผ่มาสู่ญี่ปุ่น การฝึกตนของนิกายเซน เน้นที่การนั่งสมาธิเพื่อการรู้แจ้ง ช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 เซนยังได้เป็นปรัชญาในการดำรงชีวิต และรู้จักกันทั่วโลก โดยแสดงถึงแนวทางการใช้ชีวิต การทำงาน และศิลปะ เซนยึดถือหลักปฏิบัติธรรมตามหลักของพระพุทธเจ้า ตามหลักของการฝึกสติ อริยสัจ 4 และมรรค 8 เซน ได้รับการยอมรับจากบุคคลที่ไม่ใช่พุทธศาสนิกชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลนอกทวีปเอเชีย ที่สนใจในเซนสามารถศึกษาและปฏิบัติธรรมได้ และได้เกิดนิกายสายย่อยออกมาที่เรียกว่าคริสเตียนเซน วัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นที่ชาวต่างชาติรู้จักกันดี ได้แฝงเอาพุทธปรัชญา แบบเซนไว้อย่างแนบแน่น เช่น พิธีชงชา อิเคบานะ (การจัดดอกไม้แบบญี่ปุ่น) วิถีซามุไร คิวโด(การยิงธนูแบบญี่ปุ่น) แม้แต่แนวทางการเล่นโกะหรือหมากล้อมแบบญี่ปุ่น เป็นต้น.

ใหม่!!: พระโพธิธรรมและเซน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Bodhidharmaตักม้อตั๊กม้อโพธิธรรม

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »