โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบ

ดัชนี พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบ

ระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบ (Edgar the Peaceful หรือ Edgar the Peaceable) (ราว ค.ศ. 943 หรือ ค.ศ. 944 - ค.ศ. 975) พระมหากษัตริย์อังกฤษในราชวงศ์เวสเซ็กซ์ พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบเสด็จพระราชสมภพเมื่อราวปี ค.ศ. 943 หรือปี ค.ศ. 944 ที่เวสเซ็กซ์ ในอังกฤษ เป็นพระราชโอรสพระองค์รองในพระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1 แห่งอังกฤษและเอ็ดจิวาแห่งเคนต์ อภิเษกสมรสกับเอเธลฟรีด วูลฟธริธ และเอลฟริธ และทรงราชย์ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 959 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 975 ที่วินเชสเตอร์ อังกฤษ พระนาม “ผู้รักสงบ” ไม่ได้บ่งถึงพระลักษณะตามความหมายเพราะทรงเป็นนายทหารผู้เข้มแข็งซึ่งจะเห็นได้จากการยึดราชอาณาจักรนอร์ทธัมเบรีย และราชอาณาจักรเมอร์เซียจากพระเจ้าเอ็ดวีพระเชษฐาในปี ค.ศ. 958 พระเจ้าเอ็ดการ์ทรงปกครองบริเวณเหนือแม่น้ำเทมส์กับขุนนางของพระองค์กลุ่มหนึ่ง เมื่อพระเจ้าเอ็ดวีเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 959 พระเจ้าเอ็ดการ์ก็ทรงเรียกตัวโดยดันสตัน (ต่อมาเป็นนักบุญดันสตัน) จากที่ทรงลี้ภัยกลับมาและแต่งตั้งให้เป็นบิชอปแห่งวูสเตอร์และต่อมาเป็นบิชอปแห่งลอนดอนและในที่สุดอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี ดันสตันเมื่อเริ่มแรกไม่ยอมสวมมงกุฏให้พระเจ้าเอ็ดการ์เพราะไม่ยอมรับวิธีดำเนินชีวิตของพระองค์เกี่ยวกับพระสนม วูลฟธริธ (ต่อมาเป็นนักพรตหญิงที่วิลตัน) มึพระธิดา อีดิธแห่งวิลตัน แต่ดันสตันก็เป็นที่ปรึกษาของพระเจ้าเอ็ดการ์ตลอดรัชสมัย รัชสมัยของพระเจ้าเอ็ดการ์เป็นรัชสมัยที่บ้านเมืองมีความสงบสุขและอาจจะเป็นสมัยที่เรียกได้ว่าเป็นสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดของอังกฤษสมัยแองโกล-แซกซัน แม้ว่าการรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอังกฤษจะเป็นผลที่มาจากผู้ที่ครองบัลลังก์มาก่อนพระองค์ ในปลายรัชสมัยของพระเจ้าเอ็ดการ์ อังกฤษก็เกือบจะไม่มีศัตรูที่จะมาแบ่งราชอาณาจักรอย่างที่เคยเป็นมาก่อน ในสมัยนี้ดันสตันก็มีบทบาทในการปฏิรูปอารามที่ออกจะเริ่มหย่อนยานให้กลับไปถือวินัยของนักบุญเบเนดิกต์อย่างที่เคยเป็นมา แต่บทบาทอันนี้ก็ยังเป็นที่ถกเถึยงกันในบรรดาผู้รู้ในวงการศึกษา พระเจ้าเอ็ดการ์ได้ทำพิธีสวมมงกุฏที่บาธในปี ค.ศ. 973 ซึ่งมิใช่ราชาภิเศกในการฉลองการเริ่มรัชกาล พระราชพิธีครั้งนี้เตรียมการโดยดันสตันเองโดยมีโคลงเฉลิมพระเกียรติที่บันทึกในบันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซัน เป็นพระราชพิธีที่เป็นพื้นฐานในการทำพิธีบรมราชาภิเศกของอังกฤษมาจนถึงปัจจุบันนี้ พระราชพิธีเป็นพิธีสัญลักษณ์โดยมีเจ้าผู้ครองอาณาจักรในอังกฤษมาแสดงความสวามิภักดิ์ต่อพระองค์ที่เชสเตอร์ กษัตริย์หกพระองค์ในบริเตนและสกอตแลนด์ปฏิญาณว่าจะเป็นผู้ป้องกันพระองค์ไม่ว่าจะเป็นทางบกหรือทางทะเล ต่อมาบันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซันกล่าวว่ามีแปดองค์ แต่พระราชพิธีประกาศการสวามิภักดิ์ที่เชสเตอร์ (submission at Chester) ดูเหมือนว่จะเป็นเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้น พระเจ้าเอ็ดการ์มีพระราชโอรสธิดาเจ็ดพระองค์ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดมรณสักขีพระราชโอรสพระองค์ใหญ่สืบราชบัลลังก์ต่อจากพระองค์ หลังจากที่เสด็จสวรรคตมาจนถึงการพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มันไม่มีราชบัลลังก์ใดที่ได้รับการสืบทอดโดยไม่มีปัญหาในการแก่งแย่ง.

28 ความสัมพันธ์: บันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซันบาธบิชอปแห่งลอนดอนพ.ศ. 1486พ.ศ. 1487พ.ศ. 1501พ.ศ. 1502พ.ศ. 1516พ.ศ. 1518พระเจ้าแอเธลเรดที่ 2 แห่งอังกฤษพระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1พระเจ้าเอ็ดวีพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดมรณสักขีการพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มันราชวงศ์เวสเซกซ์ราชอาณาจักรอังกฤษราชอาณาจักรนอร์ทัมเบรียราชอาณาจักรเมอร์เซียรายพระนามพระมหากษัตริย์อังกฤษอังกฤษสมัยแองโกล-แซกซันอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรีคณะเบเนดิกตินประเทศอังกฤษนักบุญดันสตันนักพรตหญิงแม่น้ำเทมส์1 ตุลาคม8 กรกฎาคม

บันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซัน

ันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซัน (Anglo-Saxon Chronicle) เป็นชุดหนังสือรายปีที่เขียนด้วยภาษาอังกฤษเก่า เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของชาวแองโกล-แซกซัน เขียนขึ้นราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 9 อาจจะที่เวสเซ็กซ์ในรัชสมัยของพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช หลังจากนั้นต้นฉบับก็ถูกส่งไปตามอารามต่างๆ ทั่วอังกฤษ แต่ละอารามต่างก็แก้ไขเพิ่มเติมต่อมาเรื่อย ๆ ในกรณีหนึ่งบันทึกถูกเพิ่มเติมมาจนถึงปี ค.ศ. 1154 ในปัจจุบันบันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซันมีเหลืออยู่ 9 ฉบับทั้งสมบูรณ์และเหลือแต่บางส่วน คุณค่าของแต่ละฉบับก็ต่างกันใน 9 ฉบับนี้ไม่มีฉบับใดที่เป็นฉบับดั้งเดิมแท้ ๆ ฉบับที่เก่าที่สุดสันนิษฐานกันว่าเริ่มเขียนราวปลายรัชสมัยของพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช และฉบับล่าสุดเป็นฉบับที่เขียนที่มหาวิหารปีเตอร์บะระหลังจากไฟใหม้อารามในปี ค.ศ. 1116 เนึ้อหาของบันทึกเป็นการบันทึกเหตุการณ์ประจำปี เหตุการณ์ปีแรกที่สุดที่บันทึกคือปี 60 ก่อนคริสต์ศักราชมาจนถึงปีที่เขียน ต่อจากนั้นเนื้อหาก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยของการเขียน บันทึกต่าง ๆ เหล่านี้เรียกรวมกันว่า “บันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซัน” เนื้อหาของบันทึกไม่เป็นกลางนักในบางบันทึกเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับเอกสารจากสมัยกลางอื่น ๆ จะพบว่าผู้เขียนละเว้นเหตุการณ์บางเหตุการณ์ หรือเขียงจากมุมมองของผู้เขียน หรือบางฉบับก็จะแตกต่างจากฉบับอื่นเมื่อกล่าวถึงเหตุการณ์เดียวกันหรือข้อมูลที่บันทึกขัดแย้งกันเอง แต่เมื่อพิจารณาโดยทั่วไปแล้วพงศาวดารเป็นหลักฐานชิ้นที่สำคัญที่สุดทางประวัติศาสตร์ระหว่างสมัยโรมันหมดอำนาจในอังกฤษไปจนถึงการพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มัน ข้อมูลที่บันทึกในพงศาวดารไม่พบในเอกสารอื่นใด นอกจากนั้นบันทึกยังเป็นเอกสารชิ้นสำคัญของประวัติศาสตร์ภาษาอังกฤษโดยเฉพาะฉบับที่เขียนที่ปีเตอร์บะระซึ่งเป็นตัวอย่างแรกที่สุดของภาษาอังกฤษสมัยกลาง เจ็ดในเก้าฉบับปัจจุบันเก็บรักษาไว้หอสมุดแห่งชาติอังกฤษ (British Library) อึกสองฉบับอยู่ที่หอสมุดบอดเลียนของมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดและวิทยาลัยคอร์พัสคริสติของมหาวิทยาลัยเคมบร.

ใหม่!!: พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบและบันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซัน · ดูเพิ่มเติม »

บาธ

(ภาษาอังกฤษ: Bath) เป็นเมืองที่มีฐานะนครในมณฑลซอมเมอร์เซ็ทในภาคการปกครองตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษ บาธตั้งอยู่ห่างจากลอนดอนไปทางตะวันตก 156 กิโลเมตร และจากบริสตอลไปทางตะวันออกเฉียงใต้ 21 กิโลเมตร บาธมีประชากรทั้งหมดประมาณ 80,000 คน บาธได้รับพระราชทานฐานะเป็น “นคร” โดยสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 ในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบและบาธ · ดูเพิ่มเติม »

บิชอปแห่งลอนดอน

อปแห่งลอนดอน (Bishop of London) เป็นตำแหน่งมุขนายกของมุขมณฑลลอนดอนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภาคแคนเทอร์เบอรีในคริสตจักรแห่งอังกฤษ มุขมณฑลนี้มีพื้นที่ราว 458 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุม 17 บุรีในเกรเทอร์ลอนดอนทางตอนเหนือของแม่น้ำเทมส์และบางส่วนของเทศมณฑลเซอร์รีย์ ศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่อาสนวิหารนักบุญเปาโลภายในนครลอนดอน ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อปี..

ใหม่!!: พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบและบิชอปแห่งลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1486

ทธศักราช 1486 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบและพ.ศ. 1486 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1487

ทธศักราช 1487 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบและพ.ศ. 1487 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1501

ทธศักราช 1501 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบและพ.ศ. 1501 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1502

ทธศักราช 1502 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบและพ.ศ. 1502 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1516

ทธศักราช 1516 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบและพ.ศ. 1516 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1518

ทธศักราช 1518 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบและพ.ศ. 1518 · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าแอเธลเรดที่ 2 แห่งอังกฤษ

มเด็จพระเจ้าเอเธล์เรดที่ 2 แห่งอังกฤษ (Ethelred II หรือ Ethelred the Unready หรือ Aethelred the Unready) (ราว ค.ศ. 968- 23 มิถุนายน ค.ศ. 1016) เป็นพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์เวสเซ็กซ์ของราชอาณาจักรอังกฤษ พระเจ้าเอเธล์เรดที่ 2 เสด็จพระราชสมภพเมื่อราว ค.ศ. 968 เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าเอ็ดการ์แห่งอังกฤษ และ เอลฟรีดา สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ (Ælfthryth) ทรงเสกสมรสกับเอลจิฟูและต่อมาเอ็มมาแห่งนอร์มังดี สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ และทรงราชย์ระหว่างวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 978 ถึงปี ค.ศ. 1013 และจากปี ค.ศ. 1014 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 1016 เหตุการณ์สำคัญส่วนใหญ่ในรัชสมัยของพระองค์คือการต่อสู้กับไวกิงที่มารุกรานอังกฤษ.

ใหม่!!: พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบและพระเจ้าแอเธลเรดที่ 2 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1

มเด็จพระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1 แห่งอังกฤษ หรือ สมเด็จพระเจ้าเอ็ดมันด์ผู้อาวุโส หรือ สมเด็จพระเจ้าเอ็ดมันด์ผู้ยุติธรรม (Edmund I of England, Edmund the Elder, Edmund the the Just, Edmund the Deed-Doer, Edmund the Magnificent; Eadmund) (ค.ศ. 922 - 26 พฤษภาคม ค.ศ. 946) เป็นพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์เวสเซ็กซ์ของราชอาณาจักรอังกฤษ พระเจ้าเอ็ดมันด์เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ ค.ศ. 922 ที่เวสเซ็กซ์ อังกฤษ เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโส และ เอ็ดจิวาแห่งเค้นท์ และเป็นพระอนุชาของสมเด็จพระเจ้าเอเธลสตันแห่งอังกฤษ ทรงเสกสมรสกับเอเธลเฟลดแห่งดาเมอแรม และทรงราชย์ระหว่างวันที่ 27 ตุลาคม ค.ศ. 939 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 946 เมื่อพระเจ้าเอเธลสตันเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม ค.ศ. 939 พระเจ้าเอ็ดมันด์ก็เสด็จขึ้นครองราชต่อจากพระเชษฐา หลังจากที่ขึ้นครองราชย์ก็ทรงประสพปัญหาทางทหารหลายด้านที่เป็นอันตรายต่อราชอาณาจักร สมเด็จพระเจ้าโอลาฟที่ 1 แห่งดับลินทรงได้รับชัยชนะต่อนอร์ทธัมเบรียและรุกรานมาทางมิดแลนดส์ เมื่อพระเจ้าโอลาฟเสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 942 พระเจ้าเอ็ดมันด์ก็ยึดมิดแลนดส์คืน ในปี ค.ศ. 943 ทรงเป็นพ่อทูลหัวของพระเจ้าโอลาฟแห่งยอร์ค ในปี ค.ศ. 944 พระเจ้าเอ็ดมันด์ก็ทรงได้รับความสำเร็จในการกู้นอร์ทธัมเบรียคืน ในปีเดียวกันหลังจากที่พระเจ้าโอลาฟแห่งยอร์คผู้เป็นพันธมิตรของพระเจ้าเอ็ดมันด์ก็ทรงสูญเสียราชบัลลังก์ พระองค์ก็เสด็จไปเป็นพระเจ้าแผ่นดินของดับลินในไอร์แลนด์ ในพระนามว่าโอลาฟ คิวอารัน (Olaf Cuaran หรือ Amlaíb Cuarán) ในปี ค.ศ. 945 พระเจ้าเอ็ดมันด์ทรงได้รับชัยชนะต่อดินแดนสตรัธไคลด์ (Strathclyde) แต่ทรงสละสิทธิ์บริเวณที่ทรงยึดครองให้กับพระเจ้ามัลคอล์มที่ 1 แห่งสกอตแลนด์เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับข้อตกลงในสนธิสัญญาที่ทั้งสองฝ่ายให้การสนับสนุนต่อกันและกันในทางทหาร พระเจ้าเอ็ดมันด์ทรงมีนโยบายที่จะรักษาความมั่นคงและความสงบระหว่างพรมแดนอังกฤษและสกอตแลนด์ พระเจ้าเอ็ดมันด์ถูกปลงพระชนม์ในปี ค.ศ. 946 ระหว่างการต่อสู้โดยโจรเลโอฟา ขณะที่ทรงร่วมงานฉลองที่ปราสาทพัคเคิลเชิร์ชทรงเห็นเลโอฟาในกลุ่มผู้ร่วมงานจึงทรงพยายามไล่แต่เลโอฟาไม่ยอมออกจากงาน พระเจ้าเอ็ดมันด์และที่ปรึกษาจึงทรงต่อสู้กับเลโอฟา ทั้งพระเจ้าเอ็ดมันด์และเลโอฟาเสียชีวิต เมื่อพระเจ้าเอ็ดมันด์เสด็จสวรรคตพระอนุชาก็ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าเอเดรดแห่งอังกฤษ พระราชโอรสพระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ได้ปกครองอังกฤษได้แก่.

ใหม่!!: พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบและพระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเอ็ดวี

ระเจ้าเอ็ดวี หรือ เอ็ดวิก โอรสของพระเจ้าเอ็ดมุนด์ ทรงเป็นกษัตริย์แห่งอังกฤษ (ค.ศ.955-959) ต่อจากพระปิตุลา เอ็ดเร็ด เอเธลวาลด์บันทึกไว้ว่าประชาชนทั่วไปเรียกว่าเอ็ดวิกว่า "ผู้งดงามทุกส่วน (All-Fair)" เนื่องจากพระองค์รูปงามมาก พระองค์เป็นที่รู้จักมากที่สุดจากเรื่องการประจันหน้ากับดันสตานในงานเลี้ยงฉลองการราชาภิเษก และจากเรื่องที่ว่าในปี..957 อาณาจักรถูกแบ่ง พื้นที่ทั้งหมดที่อยู่เหนือเธมส์ (เมอร์เซียและนอร์ธัมเบรีย) ปกครองโดยพระอนุชาของพระองค์ เอ็ดการ์ การแบ่งประเทศดูจะสงบสุขดี และเมื่อเอ็ดวิกสวรรคตในอีกสองปีต่อมา เอ็ดการ์ขึ้นเป็นกษัตริย์เหนืออังกฤษที่เป็นเอกภาพอีกครั้ง.

ใหม่!!: พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบและพระเจ้าเอ็ดวี · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดมรณสักขี

ระเจ้าเอ็ดเวิร์ดมรณสักขี (Edward the Martyr หรือ Eadweard II หรือ St Edward the Martyr) (ราว ค.ศ. 962 - 18 มีนาคม ค.ศ. 978) เป็นพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์เวสเซ็กซ์ของราชอาณาจักรอังกฤษ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดมรณสักขีเสด็จพระราชสมภพเมื่อราว..

ใหม่!!: พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบและพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดมรณสักขี · ดูเพิ่มเติม »

การพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มัน

ผ้าปักบายู (Bayeux Tapestry) แสดงศึกเฮสติงส์และเหตุการณ์ที่นำมาสู่เหตุการณ์ที่ว่า ชัยชนะของชาวนอร์มันต่ออังกฤษ หรือ การรุกรานของชาวนอร์มัน (ภาษาอังกฤษ: Norman conquest of England) เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1066 โดยการรุกรานราชอาณาจักรอังกฤษที่นำโดยดยุคแห่งนอร์มังดี และชัยชนะที่ได้รับที่ศึกเฮสติงส์ (Battle of Hastings) ผลของสงครามคือการปกครองของชาวนอร์มันในอังกฤษ เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นจุดทำให้มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญๆ หลายอย่างในประวัติศาสตร์อังกฤษ ชัยชนะของชาวนอร์มันทำให้อังกฤษเพิ่มความใกล้ชิดระหว่างอังกฤษและผืนแผ่นดินใหญ่ยุโรปโดยการนำเจ้านายนอร์มันเข้ามาปกครองบริหารอังกฤษซึ่งทำให้ลดอิทธิพลจากสแกนดิเนเวียลง ชัยชนะทำให้เกิดราชวงศ์ที่มีอำนาจมากที่สุดราชวงศ์หนึ่งในยุโรปรวมทั้งการก่อตั้งระบบการปกครองที่มีระเบียบแบบแผน และชัยชนะเปลี่ยนแปลงภาษาและวัฒนธรรมอังกฤษและเป็นพื้นฐานของความเป็นคู่แข่งระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศสที่ต่อเนื่องกันมาเป็นพักๆ ร่วมพันปี.

ใหม่!!: พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบและการพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มัน · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์เวสเซกซ์

อังกฤษราวปี ค.ศ. 800 แสดงให้เห็นบริเวณเวสเซ็กซ์ทางตะวันตกเฉียงใต้; เมอร์เซียตอนกลาง; นอร์ทธัมเบรียทางตะวันออกเฉียงเหนือ; และ อีสแองเกลีย เอสเซ็กซ์ เค้นท์ และ ซัสเซ็กซ์ทางตะวันออกเฉียงใต้ ราชวงศ์เวสเซ็กซ์ หรือ ราชวงศ์เซอร์ดิค (House of Wessex หรือ House of Cerdic) เป็นราชวงศ์แซ็กซอนที่ปกครองราชอาณาจักรทางตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษที่เรียกว่าเวสเซ็กซ์ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 6 ภายใต้การนำของพระเจ้าเซอร์ดิคแห่งเวสเซ็กซ์จนกระทั่งรวมเป็นราชอาณาจักรอังกฤษ จากนั้นราชวงศ์เวสเซ็กซ์ก็ปกครองอังกฤษทั้งหมดที่เรียกว่า “Bretwalda” ตั้งแต่ สมเด็จพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช ในปี ค.ศ. 871 ไปจนถึงสมเด็จพระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 2 แห่งอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1016 การปกครองของราชวงศ์เวสเซ็กซ์มักจะมีผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์จากฝ่ายอื่นโดยเฉพาะจาก บริเวณเดนลอว์ (Danelaw) ที่ปกครองโดยกฎหมายของเดนมาร์ก และต่อมาโดยสเวน ฟอร์คเบียร์ดผู้ยึดราชบัลลังก์ระหว่าง ค.ศ. 1013 ถึง ค.ศ. 1014 ระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าเอเธล์เรดที่ 2 แห่งอังกฤษ พระเจ้าสเวน ฟอร์คเบียร์ดและผู้สืบเชื้อสายของพระองค์ปกครองอังกฤษจนปี ค.ศ. 1042 หลังจากรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าฮาร์ธาคานูท ราชวงศ์เวสเซ็กซ์ก็ได้รับการฟื้นฟูอยู่ชั่วระยะหนึ่งระหว่างปี ค.ศ. 1042 ถึงปี ค.ศ. 1066 ภายใต้การปกครองของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพ และ สมเด็จพระเจ้าฮาโรลด์ กอดวินสัน หรือพระเจ้าฮาโรลด์ที่ 2 ราชวงศ์เวสเซ็กซ์ก็สิ้นสุดลงไม่นานหลังจากยุทธการเฮสติงส์โดยสมเด็จพระเจ้าเอ็ดการ์ เอเธลลิงผู้ครองราชย์ต่อจากพระเจ้าฮาโรลด์ถูกปลดจากราชบัลลังก์โดยดยุคแห่งนอร์มังดีผู้ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ หรือ “พระเจ้าวิลเลียมผู้พิชิต” (William the Conqueror) ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์นอร์มัน.

ใหม่!!: พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบและราชวงศ์เวสเซกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรอังกฤษ

ราชอาณาจักรอังกฤษ (Kingdom of England.) เป็นราชอาณาจักรระหว่างปี..

ใหม่!!: พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบและราชอาณาจักรอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรนอร์ทัมเบรีย

ราชอาณาจักรนอร์ทธัมเบรีย (ภาษาอังกฤษ: Northumbria หรือ Northhumbria) เป็นชื่อของอาณาจักรยุคกลางของชาวแองเกิลที่ปัจจุบันตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอังกฤษ และทางใต้ของสกอตแลนด์ และเป็นอาณาจักรเอิร์ล (Earldom) ที่เมื่อรวมกับอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนกลายเป็นอังกฤษ ชื่อ “นอร์ทธัมเบรีย” เป็นนัยยะว่าเขตแดนทางใต้ของอาณาจักรปากแม่น้ำฮัมเบอร์ นอร์ทธัมเบรียก่อตั้งกลางบริเตนใหญ่ในสมัยแองโกล-แซ็กซอน เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 7 อาณาจักรเบอร์นิเซีย และอาณาจักรไดรารวมตัวกันเป็นอาณาจักรเดียว (ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 เฮนรี ฮันทิงดัน (Henry of Huntingdon) บรรยายว่านอร์ทธัมเบรียเป็นอาณาจักรหนึ่งในเจ็ดอาณาจักรของอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอน) ในสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดเขตแดนของราชอาณาจักรทางใต้จรดปากแม่น้ำฮัมเบอร์, ไปถึงแม่น้ำเมอร์ซีย์ และเฟิร์ธออฟฟอร์ธ (Firth of Forth) (โดยประมาณ จากเชฟฟิลด์ ไปรังคอร์ ไปเอดินบะระ) - และมีหลักฐานว่าเคยมีดินแดนมากกว่านั้น ต่อมานอร์ทธัมเบรียเสียดินแดนทางใต้แก่บริเวณเดนลอว์(Danelaw) ทางด้านเหนือเดิมเป็นอาณาจักรแต่ต่อมากลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรเดนมาร์กที่มีฐานะเท่าเทียมกับเป็นอาณาจักรเอิร์ลและมีฐานะเช่นนั้นเมื่ออังกฤษรวมตัวกันโดยการนำของเวสเซ็กซ์ อาณาจักรเอิร์ลมีเขตแดนติดกับแม่น้ำทีส์ทางด้านใต้และแม่น้ำทวีดทางด้านเหนือ (โดยทั่วไปคล้ายคลึงกับตะวันออกเฉียงเหนืออังกฤษ (North East England) ปัจจุบัน) ดินแดนบริเวณเป็นบริเวณที่พิพาตระหว่างอังกฤษและสกอตแลนด์ แต่อาณาจักรเอิร์ลแห่งนอร์ทธัมเบรียก็ได้รับการยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของของอังกฤษในสนธิสัญญายอร์คระหว่างอังกฤษกับสกอตแลนด์ในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบและราชอาณาจักรนอร์ทัมเบรีย · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรเมอร์เซีย

ราชอาณาจักรเมอร์เซีย (Mercia) เป็นหนึ่งในอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนเจ็ดอาณาจักรที่มีศูนย์กลางอยู่ในลุ่มแม่น้ำแม่น้ำเทร้นท์และในบริเวณที่ปัจจุบันเป็นอังกฤษมิดแลนด์ส (English Midlands) ชื่อเมอร์เซียเป็นภาษาอังกฤษเก่า “Mierce” ที่แผลงเป็นแบบละติน (Latinization) แปลว่า “ชนชายแดน” ราชอาณาจักรเมอร์เซียมีอาณาเขตติดต่อกับราชอาณาจักรนอร์ทธัมเบรีย, เพาวิส, ราชอาณาจักรต่างๆ ทางตอนใต้ของเวลส์, เวสเซ็กซ์, ซัสเซ็กซ์, เอสเซ็กซ์ และ อีสต์แองเกลีย ทุกวันนี้ชื่อ “เมอร์เซีย” ยังใช้กันทั่วไปในชื่อองค์การต่างๆ ได้แก่ หน่วยทหาร หรือองค์การทั้งของรัฐและของเอกชน.

ใหม่!!: พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบและราชอาณาจักรเมอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์อังกฤษ

ต่อไปนี้คือรายพระปรมาภิไธย พระมหากษัตริย์และสมเด็จพระราชินีนาถแห่งราชอาณาจักรอังกฤษ ซึ่งในปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ และประเทศในเครือจักรภพ สำหรับรายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งหมู่เกาะซึ่งประกอบกันเป็นสหราชอาณาจักรปัจจุบันดู รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งหมู่เกาะอังกฤษและรายพระนามพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบและรายพระนามพระมหากษัตริย์อังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

อังกฤษสมัยแองโกล-แซกซัน

อังกฤษสมัยแองโกล-แซกซัน (History of Anglo-Saxon England) (ค.ศ. 410 - ค.ศ. 1066) อังกฤษสมัยแองโกล-แซกซันเป็นประวัติศาตร์ของต้นยุคกลางของอังกฤษkjhccgkoohhhhggjgfที่เริ่มตั้งแต่ปลายสมัยโรมันบริเตนจนมาถีงการก่อตั้งราชอาณาจักรต่าง ๆ ของแองโกล-แซกซัน ในคริสต์ศตวรรษที่ 5 และมาสิ้นสุดลงเมื่อชาวนอร์มันได้รับชัยชนะต่ออังกฤษ ในปี ค.ศ. 1066 ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึง คริสต์ศตวรรษที่ 6 เป็นสมัยที่รู้จักกันทางโบราณคดีว่าบริเตนสมัยหลังโรมัน (Sub-Roman Britain) หรือที่รู้จักกันตามความนิยมว่า "ยุคมืด" (Dark Ages) ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 6 เป็นต้นมาก็เริ่มมีการก่อตั้งอาณาจักรที่ใหญ่ขึ้นที่เรียกกันรวม ๆ กันว่า "เจ็ดอาณาจักร" ในช่วงนี้อังกฤษแบ่งเขตการปกครองระหว่างอาณาจักรต่าง ๆ ของแองโกล-แซกซันและบริเตน การรุกรานของไวกิงในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 8 นำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงหลายประการในบริเตน ผู้รุกรานชาวเดนมาร์กโจมตีที่ตั้งถิ่นฐานต่าง ๆ ไปทั่วบริเตน แต่การตั้งถิ่นฐานของชาวเดนมาร์กต่อมาจำกัดอยู่แต่เพียงในบริเวณทางด้านตะวันออกของเกาะอังกฤษ ขณะที่ผู้รุกรานจากนอร์เวย์ที่เข้ามาทางไอร์แลนด์โจมตีทางฝั่งตะวันตกของทั้งอังกฤษและเวลส์ แต่ในที่สุดแองโกล-แซกซันก็มีอำนาจในการปกครองไปทั่วทั้งเกาะอังกฤษสลับกับเดนมาร์กในบางช่วงในบางครั้ง ทางด้านความสัมพันธ์กับแผ่นดินใหญ่ยุโรปก็ความสำคัญมาจนกระทั่งปลายสมัยแองโกล-แซกซัน.

ใหม่!!: พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบและอังกฤษสมัยแองโกล-แซกซัน · ดูเพิ่มเติม »

อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี

อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรีราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 43 (Archbishop of Canterbury) เป็นอัครมุขนายกและผู้นำหลักของคริสตจักรแห่งอังกฤษ เป็นประมุขเชิงสัญลักษณ์ของแองกลิคันคอมมิวเนียนทั่วโลกและบิชอปประจำมุขมณฑลแคนเทอร์เบอรี อัครมุขนายกแห่งแคนเทอร์เบอรีคนปัจจุบันคือศาสนาจารย์จัสติน เวลบี (Justin Welby) เป็นอัครมุขนายกคนที่ 105 ซึ่งสืบตำแหน่งที่ตกทอดมากว่า 1400 ปีจากนักบุญออกัสตินแห่งแคนเทอร์เบอรีผู้ก่อตั้งคริสตจักรโรมันคาทอลิกในอังกฤษในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบและอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี · ดูเพิ่มเติม »

คณะเบเนดิกติน

ณะนักบุญเบเนดิกต์ (Ordo Sancti Benedicti; Order of Saint Benedict) นิยมเรียกกันว่า คณะเบเนดิกติน (Benedictine Order) (ค.ศ. 480 - ค.ศ. 547) เป็นคณะนักบวชคาทอลิกที่ใช้ชีวิตอารามวาสีตามหลักวินัยของนักบุญเบเนดิกต์ นักพรตในคณะนี้จะอาศัยอยู่ร่วมกันในคริสต์ศาสนสถานที่เรียกว่าอาราม (บางอารามเรียกว่าแอบบีย์หรือไพรออรี) ซึ่งแต่ละอารามจะปกครองตนเองเป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่ออารามอื่น ๆ มีสมาพันธ์เบเนดิกตินซึ่งสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 13 ทรงตั้งขึ้นเพื่อเป็นองค์การปกครองคณะในระดับสากล มีอธิการไพรเมตเป็นประธานสมาพัน.

ใหม่!!: พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบและคณะเบเนดิกติน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบและประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

นักบุญดันสตัน

นักบุญดันสตัน (Dunstan) เป็นอธิการอารามกลาสเบอรี บิชอปแห่งเวิร์สเตอร์ บิชอปแห่งลอนดอน และอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี หลังมรณกรรมให้รับการประกาศเป็นนักบุญในปี ค.ศ. 959 ท่านมีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูชีวิตอารามวาสีแบบศาสนาคริสต์และปฏิรูปคริสตจักรในอังกฤษ ออสเบิร์นแห่งแคนเทอร์เบอรี ศิลปินและธรรมาจารย์ ผู้เขียนชีวประวัติของท่านกล่าวว่าท่านมีทักษะด้าน “การวาดภาพและเขียนหนังสือ” ซึ่งเป็นความสามารถตามปกติของนักบวชอาวุโสในสมัยนั้น ท่านยังเป็นมรณสักขีในศาสนาคริสต์ เกิดเมื่อวันที่ ราว..

ใหม่!!: พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบและนักบุญดันสตัน · ดูเพิ่มเติม »

นักพรตหญิง

นจักรออร์โธดอกซ์ นักพรตหญิง (nun) คือสตรีที่ปฏิญาณอุทิศตนใช้ชีวิตเพื่อศาสนา อาจจะถือวัตรคล้ายนักพรตที่เลือกสละทางโลกแล้วหันไปใช้ชีวิตกับการอธิษฐานและการเพ่งพินิจ อาศัยในอารามหรือคอนแวนต์ "นักพรตหญิง" พบได้ทั้งในศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ (ทั้งในคริสตจักรโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน และลูเทอแรน) ศาสนาเชน และศาสนาเต๋า ในศาสนาคริสต์คำว่า "นักพรตหญิง" และ "ภคินี" ใช้แทนหรือสลับกันได้เพราะถือว่ามีความหมายเดียวกัน แต่ในบางกรณีก็ถูกจำแนกให้ต่างกันว่านักพรตหญิงคือนักบวชหญิงที่ใช้ชีวิตเป็นนักพรต อยู่แต่ภายในเขตพรต เน้นการเพ่งพินิจ การอธิษฐาน และการรำพึงธรรม ขณะที่ภคินีเป็นนักบวชหญิงที่เน้นนการอธิษฐาน การบริการผู้ยากไร้ เจ็บป่วย ยากจน และขาดการศึกษ.

ใหม่!!: พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบและนักพรตหญิง · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำเทมส์

วิวทิวทัศน์แม่น้ำเทมส์มองจากลอนดอน แผนที่แม่น้ำเทมส์ในอังกฤษ แม่น้ำเทมส์ (River Thames - ออกเสียง: tɛmz) เป็นแม่น้ำใหญ่ที่ไหลในอังกฤษตอนใต้ และเป็นที่รู้จักมากที่สุดเพราะแม่น้ำไหลผ่านใจกลางกรุงลอนดอน นอกจากนี้ แม่น้ำยังไหลผ่านเมืองอื่น ๆ เช่น เมืองอ็อกซ์ฟอร์ด รีดดิง และ วินด์เซอร์ เป็นต้น หุบเขาเทมส์ ส่วนหนึ่งของอังกฤษ อยู่ตรงกลางแม่น้ำระหว่างออกซ์ฟอร์ด และ ลอนดอนตะวันตก ถูกตั้งชื่อตามแม่น้ำแห่งนี้.

ใหม่!!: พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบและแม่น้ำเทมส์ · ดูเพิ่มเติม »

1 ตุลาคม

วันที่ 1 ตุลาคม เป็นวันที่ 274 ของปี (วันที่ 275 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 91 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบและ1 ตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

8 กรกฎาคม

วันที่ 8 กรกฎาคม เป็นวันที่ 189 ของปี (วันที่ 190 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 176 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบและ8 กรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Edgar the PeaceableEdgar the Peacefulสมเด็จพระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบสมเด็จพระเจ้าเอ็ดการ์แห่งอังกฤษพระเจ้าเอ็ดการ์พระเจ้าเอ็ดการ์แห่งอังกฤษ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »