โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระเจ้าเอเธล์เรดแห่งเวสเซ็กซ์

ดัชนี พระเจ้าเอเธล์เรดแห่งเวสเซ็กซ์

อเธลเร็ดที่ 1 สืบทอดตำแหน่งของพระเชษฐา เอเธลเบิร์ท รัชสมัยของเอเธลเร็ดคือหนึ่งในสงครามกับพวกเดนท์ที่ยาวนาน อิวาร์ผู้ไร้กระดูกกับน้องชาย แฮล์ฟดัน ที่ยึดดับลินเป็นฐานที่มั่นโจมตีและยึดครองยอร์กในปี..866 ที่ซึ่งกลายเป็นอาณาจักรไวกิ้ง (ยอร์วิช) พวกเดนท์เดินทัพลงใต้และยึดครองน็อตติ้งแฮม ในปี..869 พวกเขาแล่นเรือสู่อีลต์แองเกลีย ที่ซึ่งพวกเขาได้ปลงพระชนม์กษัตริย์ท้องถิ่น เอ็ดมุนด์ เวสเซ็กซ์ในตอนนั้นถูกข่มขวัญและเอเธลเร็ดกับพระอนุชา อัลเฟรด ได้ต่อสู้ในสมรภูมิที่ยาวนานต่อเนื่องกับชาวเดนท์ อิวาร์, แฮล์ฟดัน และกุธรุน ที่เรดิ้ง, แอชดาวน์ และเบซิ่ง ช่วงปี..870-871 พวกเดนท์ชิงทรัพย์และปล้นสะดมตลอดการเดินทางออกนอกเมือง การสู้รบครั้งสำคัญครั้งต่อมาคือที่เมเรทุนในแฮมพ์เชียร์ ซึ่งเป็นสมรภูมิที่ไม่ปรากฏผลชี้ขาด เอเธลเร็ดบาดเจ็บสาหัสในสมรภูมิและสวรรคตเนื่องจากบาดแผลที่วิตแชมพ์ตัน ใกล้กับวิมบอร์น ที่ๆพระองค์ถูกฝัง.

22 ความสัมพันธ์: บันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซันบาร์กเชอร์ชาวนอร์สชาวแซกซันชนเดนส์พระเจ้าอัลเฟรดมหาราชพระเจ้าฮาโรลด์ กอดวินสันภาษาอังกฤษเก่ายอร์กราชวงศ์เวสเซกซ์ราชอาณาจักรอีสต์แองเกลียราชอาณาจักรนอร์ทัมเบรียราชอาณาจักรเมอร์เซียออสเบอร์ดับลินซัฟฟอล์กนอตทิงแฮมแฮมป์เชอร์โรมันคาทอลิกโอดินเรดิง (บาร์กเชอร์)เอลสวิธ

บันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซัน

ันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซัน (Anglo-Saxon Chronicle) เป็นชุดหนังสือรายปีที่เขียนด้วยภาษาอังกฤษเก่า เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของชาวแองโกล-แซกซัน เขียนขึ้นราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 9 อาจจะที่เวสเซ็กซ์ในรัชสมัยของพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช หลังจากนั้นต้นฉบับก็ถูกส่งไปตามอารามต่างๆ ทั่วอังกฤษ แต่ละอารามต่างก็แก้ไขเพิ่มเติมต่อมาเรื่อย ๆ ในกรณีหนึ่งบันทึกถูกเพิ่มเติมมาจนถึงปี ค.ศ. 1154 ในปัจจุบันบันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซันมีเหลืออยู่ 9 ฉบับทั้งสมบูรณ์และเหลือแต่บางส่วน คุณค่าของแต่ละฉบับก็ต่างกันใน 9 ฉบับนี้ไม่มีฉบับใดที่เป็นฉบับดั้งเดิมแท้ ๆ ฉบับที่เก่าที่สุดสันนิษฐานกันว่าเริ่มเขียนราวปลายรัชสมัยของพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช และฉบับล่าสุดเป็นฉบับที่เขียนที่มหาวิหารปีเตอร์บะระหลังจากไฟใหม้อารามในปี ค.ศ. 1116 เนึ้อหาของบันทึกเป็นการบันทึกเหตุการณ์ประจำปี เหตุการณ์ปีแรกที่สุดที่บันทึกคือปี 60 ก่อนคริสต์ศักราชมาจนถึงปีที่เขียน ต่อจากนั้นเนื้อหาก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยของการเขียน บันทึกต่าง ๆ เหล่านี้เรียกรวมกันว่า “บันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซัน” เนื้อหาของบันทึกไม่เป็นกลางนักในบางบันทึกเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับเอกสารจากสมัยกลางอื่น ๆ จะพบว่าผู้เขียนละเว้นเหตุการณ์บางเหตุการณ์ หรือเขียงจากมุมมองของผู้เขียน หรือบางฉบับก็จะแตกต่างจากฉบับอื่นเมื่อกล่าวถึงเหตุการณ์เดียวกันหรือข้อมูลที่บันทึกขัดแย้งกันเอง แต่เมื่อพิจารณาโดยทั่วไปแล้วพงศาวดารเป็นหลักฐานชิ้นที่สำคัญที่สุดทางประวัติศาสตร์ระหว่างสมัยโรมันหมดอำนาจในอังกฤษไปจนถึงการพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มัน ข้อมูลที่บันทึกในพงศาวดารไม่พบในเอกสารอื่นใด นอกจากนั้นบันทึกยังเป็นเอกสารชิ้นสำคัญของประวัติศาสตร์ภาษาอังกฤษโดยเฉพาะฉบับที่เขียนที่ปีเตอร์บะระซึ่งเป็นตัวอย่างแรกที่สุดของภาษาอังกฤษสมัยกลาง เจ็ดในเก้าฉบับปัจจุบันเก็บรักษาไว้หอสมุดแห่งชาติอังกฤษ (British Library) อึกสองฉบับอยู่ที่หอสมุดบอดเลียนของมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดและวิทยาลัยคอร์พัสคริสติของมหาวิทยาลัยเคมบร.

ใหม่!!: พระเจ้าเอเธล์เรดแห่งเวสเซ็กซ์และบันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซัน · ดูเพิ่มเติม »

บาร์กเชอร์

ร์กเชอร์ (Berkshire) บางทีก็เรียกว่า “ราชมณฑลบาร์กเชอร์” เพราะเป็นที่ตั้งของ พระราชวังวินด์เซอร์ การเรียกนี้ทำกันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 และเป็นที่ยอมรับโดยสมเด็จพระราชินีในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าเอเธล์เรดแห่งเวสเซ็กซ์และบาร์กเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ชาวนอร์ส

แผนที่แสดงบริเวณการตั้งถิ่นฐานของไวกิงระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 8 ถึง 11 รวมทั้งบริเวณที่ปล้นสะดมและค้าขายที่ส่วนใหญ่แทบจะแยกกันไม่ได้ ชาวนอร์ส (Norsemen) เป็นคำที่เคยใช้ในการเรียกกลุ่มชนทั้งกลุ่มที่พูดภาษากลุ่มเจอร์แมนิกเหนือ (North Germanic language) เป็นภาษาแม่ (“นอร์ส” โดยเฉพาะหมายถึงภาษานอร์สโบราณที่เป็นสาขาของภาษากลุ่มเจอร์แมนิกเหนือของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน โดยเฉพาะภาษานอร์เวย์ ภาษาไอซ์แลนด์ ภาษาสวีเดน และภาษาเดนมาร์กแบบโบราณ) “นอร์สเม็น” หมายความว่า “ผู้มาจากทางเหนือ” และเป็นคำที่ใช้สำหรับชนนอร์ดิกที่เดิมมาจากทางตอนไต้และตอนกลางของสแกนดิเนเวีย ชาวนอร์สได้ตั้งถิ่นฐานและอาณาบริเวณการปกครองในดินแดนต่าง ๆ ที่รวมทั้งบางส่วนของหมู่เกาะแฟโร อังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ ไอซ์แลนด์ ฟินแลนด์ ไอร์แลนด์ รัสเซีย อิตาลี แคนาดา กรีนแลนด์ ฝรั่งเศส ยูเครน เอสโตเนีย ลัตเวีย และเยอรมนี “นอร์ส” และ “นอร์สเม็น” หมายถึงประชากรสแกนดิเนเวียของปลายคริสต์ศตวรรษ 8 ถึง 11 ส่วนคำว่า “นอร์มัน” ต่อมาหมายถึงผู้ที่ดั้งเดิมคือผู้มาจากทางเหนือที่ตั้งถิ่นฐานในนอร์ม็องดีในฝรั่งเศส ที่รับวัฒนธรรมและภาษาฝรั่งเศส คำว่า “Norse-Gaels” (เกลลิคต่างประเทศ) เป็นคำที่ใช้เรียก “นอร์ส” ที่มาจากไอร์แลนด์และสกอตแลนด์ผู้ยอมรับวัฒนธรรมเกลส์ ไวกิงเป็นคำทั่วไปที่ใช้สำหรับ “นอร์สเม็น” ในต้นสมัยกลางโดยเฉพาะเมื่อกล่าวถึงการปล้นสดมสำนักสงฆ์ต่าง ๆ ในสหราชอาณาจักรและไอร์แลน.

ใหม่!!: พระเจ้าเอเธล์เรดแห่งเวสเซ็กซ์และชาวนอร์ส · ดูเพิ่มเติม »

ชาวแซกซัน

รูปแกะนูนแซกซันของ "irminsul" ที่เชื่อกันว่าเชื่อมระหว่างโลกกับสวรรค์ที่เอ็กซ์เทิร์นชไตเนอ (Externsteine) ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศเยอรมนีปัจจุบัน ชาวแซกซัน (Saxon; Sachsen; ละติน: Saxones) คือกลุ่มชนเผ่าเจอร์แมนิก ในปัจจุบันเป็นบรรพบุรุษของชนทางภาคเหนือของประเทศเยอรมนีที่เรียกว่าชาวเยอรมัน, ชนทางภาคตะวันออกของประเทศเนเธอร์แลนด์ที่เรียกว่าชาวดัตช์ และชนทางภาคใต้ของอังกฤษที่เรียกว่าชาวอังกฤษ ที่ตั้งถิ่นฐานเดิมที่สุดเท่าที่ทราบของชาวแซกซันคือบริเวณทางตอนเหนือของอัลบินเจียในบริเวณฮ็อลชไตน์ (Holstein) ทางตอนเหนือสุดของประเทศเยอรมนีปัจจุบัน ชาวแซกซันมีบทบาทสำคัญในการตั้งถิ่นฐานในอังกฤษโดยเฉพาะทางภาคใต้ที่ประชาชนที่อยู่อาศัยในปัจจุบันเชื่อกันว่าสีบเชี้อสายมาจากชาวแซกซันโบราณ ระหว่างสองร้อยปีที่ผ่านมาชาวแซกซันก็ไปตั้งถิ่นฐานในบริเวณต่าง ๆ ทั่วโลกโดยเฉพาะในทวีปอเมริกา ออสเตรเลีย แอฟริกา และในบริเวณที่เป็นสหภาพโซเวียตแต่เดิม ซึ่งในบางชุมชน ชาวแซกซันยังรักษาประเพณีและภาษาของตนที่เรียกกันทั่วไปว่า "ชาวเยอรมัน" และ "ชาวดัตช์" ความมีอิทธิพลทางภาษาและวัฒนธรรมของชาวแซกซันที่มีต่อบริเวณสแกนดิเนเวีย บริเวณบอลติก และต่อชาวโพเลเบียและชาวพอเมอเรเนียซึ่งเป็นชนสลาฟตะวันตก เป็นผลมาจากเส้นทางการค้าในยุคกลางของสันนิบาตฮันเซียติก ทอเลมีเป็นนักภูมิศาสตร์กรึกคนแรกที่กล่าวถึงการตั้งถิ่นฐานของชาวแซกซันยุคก่อนคริสเตียนว่าตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือและบางส่วนทางใต้ของคาบสมุทรจัตแลนด์, แคว้นแซกโซนีเก่า, และบางส่วนทางตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 5 ชาวแซกซันเป็นส่วนหนึ่งของผู้รุกรานมณฑลบริตันนิอา (Britannia) ของจักรวรรดิโรมัน ชนเผ่าหนึ่งของชาวเจอร์แมนิกที่รุกรานคือ ชาวแองเกิล ซึ่งเมื่อรวมกับ "แซกซัน" จึงกลายเป็นคำว่า "แองโกล-แซกซัน" ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้.

ใหม่!!: พระเจ้าเอเธล์เรดแห่งเวสเซ็กซ์และชาวแซกซัน · ดูเพิ่มเติม »

ชนเดนส์

นเดนส์ (Danes) เป็นชนเจอร์มานิคที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ทางใต้ของสวีเดนในปัจจุบันและเกาะของเดนมาร์กและต่อมาในคาบสมุทรจัตแลนด์ และกล่าวถึงโดยจอร์แดนนักประวัติศาสตร์ชาวโรมันในหนังสือ “Getica”, โดยนักปราชญ์โพรโคเพียส (Procopius) และโดยนักบุญเกรกอรีแห่งทัวร์ส ในการบรรยายถึงกลุ่มชนสแกนด์ซา (Scandza) ในสแกนดิเนเวียจอร์แดนกล่าวถึงชน “Dani” ว่าเป็นกลุ่มเดียวกับ “Suetidi” (ชนสวีด (สวีเดน) หรือ “Svitjod”?) และเป็นกลุ่มชนที่ขับไล่และยึดที่ดินของชน “Heruli” เสวน แอกเกเสน (Svend Aggesen) นักประพันธ์จากคริสต์ศตวรรษที่ 12 กล่าวถึงกษัตริย์แดนผู้ที่เป็นที่มาของชื่อชนกลุ่มนี้ “เดนส์”.

ใหม่!!: พระเจ้าเอเธล์เรดแห่งเวสเซ็กซ์และชนเดนส์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าอัลเฟรดมหาราช

ระเจ้าอัลเฟรดมหาราช (Alfred the Great; Ælfrēd) (ค.ศ. 849 - 26 ตุลาคม ค.ศ. 899) เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรเวสเซ็กซ์ในสมัยราชวงศ์เวสเซ็กซ์ เสด็จพระราชสมภพที่เวนเทจ บาร์กเชอร์ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าเอเธลวูล์ฟแห่งเวสเซกซ์และออสเบอร์กา ทรงเสกสมรสกับเอลสวิธ และทรงราชย์เป็นกษัตริย์ของชนแองโกล-แซ็กซอนภายใต้ราชอาณาจักรเวสเซกซ์ระหว่างวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 871 พระเจ้าอัลเฟรดทรงมีชื่อเสียงในการป้องกันราชอาณาจักร จากการรุกรานของชาวไวกิงจากเดนมาร์ก และเป็นพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษพระองค์เดียวที่รับสมญานามว่า “มหาราช” พระเจ้าอัลเฟรดทรงเป็นกษัตริย์แห่งแซกซันตะวันตกพระองค์แรก ที่ทรงแสดงพระองค์ว่าเป็นกษัตริย์แห่งชาวแองโกล-แซกซัน ทรงเป็นผู้มีการศึกษาดี และทรงส่งเสริมการศึกษาและปรับปรุงทางด้านกฎหมายในราชอาณาจักรและระบบการทหาร พระราชประวัติของพระองค์ถูกกล่าวถึงในงานเขียนของแอสเซอร์ (Asser) นักปราชญ์ชาวเวล.

ใหม่!!: พระเจ้าเอเธล์เรดแห่งเวสเซ็กซ์และพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าฮาโรลด์ กอดวินสัน

มเด็จพระเจ้าฮาโรลด์ กอดวินสัน (Harold Godwinson หรือ Haraldur Guðinason) (ราว ค.ศ. 1022 – 14 ตุลาคม ค.ศ. 1066) เป็นพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์เวสเซ็กซ์และพระเจ้าแผ่นดินแองโกล-แซ็กซอนองค์สุดท้ายของราชอาณาจักรอังกฤษ พระเจ้าฮาโรลด์ กอดวินสันเสด็จพระราชสมภพราว ค.ศ. 1022 ที่เวสเซ็กซ์ อังกฤษ เป็นพระราชโอรสของกอดวิน เอิร์ลแห่งเวสเซ็กซ์ และ กีธา ธอร์เคลสเดิทเทียร์ ทรงเสกสมรสกับเอลด์จิธ สวอนเน็ค และทรงราชย์ระหว่างวันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 1066 จนทรงถูกสังหารในยุทธการเฮสติงส์ แบตเติล เมื่อทรงพยายามต่อต้านกองทัพของดยุคแห่งนอร์มังดีที่ยกมารุกรานอังกฤษ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 1066 หลังจากที่พระเจ้าฮาโรลด์เสด็จสวรรคต สภาวิททันก็ประกาศให้สมเด็จพระเจ้าเอ็ดการ์ เอเธลลิง ขึ้นครองราชสมบัติต่อมาแต่มิได้ทรงสวมมงก.

ใหม่!!: พระเจ้าเอเธล์เรดแห่งเวสเซ็กซ์และพระเจ้าฮาโรลด์ กอดวินสัน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษเก่า

ษาอังกฤษเก่า (Ænglisc, Anglisc, Englisc; Old English ย่อว่า OE) หรือ ภาษาแองโกล-ซัคเซิน (Anglo-Saxon) เป็นภาษาอังกฤษยุคแรก ที่พูดกันในบริเวณที่ปัจจุบันคือแคว้นอิงแลนด์ อังกฤษและสกอตแลนด์ตอนใต้ ในระหว่าง กลางคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 12 นับเป็นภาษาเจอร์แมนิกตะวันตก ด้วยเหตุนี้ จึงมีความคล้ายคลึงกับภาษาฟริเซียนเก่า (Old Frisian) และภาษาแซกซันเก่า (Old Saxon) นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์กับภาษานอร์สเก่า (Old Norse) และเชื่อมโยงไปถึงภาษาไอซ์แลนด์ปัจจุบัน (modern Icelandic) ด้วย ไวยกรณ์ของภาษาอังกฤษเก่ามีความใกล้เคียงกับไวยกรณ์ของภาษาเยอรมันสมัยใหม่ กล่าวคือ คำนาม คำวิเศษณ์ คำสรรพนาม และคำกริยา มีการผันเปลี่ยนรูปข้างท้ายของคำอยู่หลากหลายแบบ และการลำดับคำในประโยคก็มีอิสระมากกว่า ตัวอักษรของภาษาอังกฤษเก่าแค่เดิมเป็นระบบอักษรรูน (runic system) แต่ถูกแทนที่ด้วยอักษรละตินนับแต่ศตวรรษที่ 9 เป็นต้นมา ภาษาอังกฤษเก่านั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และมีการใช้งานตลอดระยะเวลาประมาณ 700 ปี นับตั้งแต่ชนแองโกล-แซ็กซอนอพยพเข้ามายังเกาะบริเตน สร้างอิงแลนด์ขึ้น ในคริสต์ศวรรษที่ 5 จนถึงระยะเวลาหลังพวกนอร์มันบุกรุกเข้าไปเมื่อ ค.ศ. 1066 หลังจากนั้นภาษาอังกฤษก็เคลื่อนเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สำคัญ ในยุคแรกๆ นี้ ภาษาอังกฤษเก่าได้ผสมกลมกลืนเข้ากับภาษาอื่นๆ ที่มีการติดต่อด้วย เช่น ภาษาเคลติก (Celtic) และภาษาถิ่นสองภาษาของภาษานอร์สเก่า (บรรพบุรุษของภาษาแดนิชในปัจจุบัน) จากการบุกรุกของพวกไวกิงจากทางเดนมาร์ก ซึ่งเข้ามาครอบครองและปกครองอาณาเขตในอิงแลนด์ตอนเหนือและตะวันออก หลังจากชาวนอร์แมนยกทัพเข้าชิงอังกฤษจากกษัตริย์แซ็กซอนมาปกครองได้ ใรปี..

ใหม่!!: พระเจ้าเอเธล์เรดแห่งเวสเซ็กซ์และภาษาอังกฤษเก่า · ดูเพิ่มเติม »

ยอร์ก

อร์ก (York) เป็นนครที่ยังมีกำแพงเมืองโบราณล้อมรอบที่ตั้งอยู่ในนอร์ธยอร์กเชอร์ในภูมิภาคยอร์กเชอร์และแม่น้ำฮ้มเบอร์ของอังกฤษ นครยอร์กตั้งอยู่ในบริเวณที่แม่น้ำอูสและแม่น้ำฟอสส์ ยอร์กเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และมีบทบาทมาเกือบตลอด 2,000 ปีที่ก่อตั้งมา เมืองยอร์กก่อตั้งเป็นเมืองป้อมปราการเอบอราคุม (Eboracum) ในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าเอเธล์เรดแห่งเวสเซ็กซ์และยอร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์เวสเซกซ์

อังกฤษราวปี ค.ศ. 800 แสดงให้เห็นบริเวณเวสเซ็กซ์ทางตะวันตกเฉียงใต้; เมอร์เซียตอนกลาง; นอร์ทธัมเบรียทางตะวันออกเฉียงเหนือ; และ อีสแองเกลีย เอสเซ็กซ์ เค้นท์ และ ซัสเซ็กซ์ทางตะวันออกเฉียงใต้ ราชวงศ์เวสเซ็กซ์ หรือ ราชวงศ์เซอร์ดิค (House of Wessex หรือ House of Cerdic) เป็นราชวงศ์แซ็กซอนที่ปกครองราชอาณาจักรทางตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษที่เรียกว่าเวสเซ็กซ์ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 6 ภายใต้การนำของพระเจ้าเซอร์ดิคแห่งเวสเซ็กซ์จนกระทั่งรวมเป็นราชอาณาจักรอังกฤษ จากนั้นราชวงศ์เวสเซ็กซ์ก็ปกครองอังกฤษทั้งหมดที่เรียกว่า “Bretwalda” ตั้งแต่ สมเด็จพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช ในปี ค.ศ. 871 ไปจนถึงสมเด็จพระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 2 แห่งอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1016 การปกครองของราชวงศ์เวสเซ็กซ์มักจะมีผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์จากฝ่ายอื่นโดยเฉพาะจาก บริเวณเดนลอว์ (Danelaw) ที่ปกครองโดยกฎหมายของเดนมาร์ก และต่อมาโดยสเวน ฟอร์คเบียร์ดผู้ยึดราชบัลลังก์ระหว่าง ค.ศ. 1013 ถึง ค.ศ. 1014 ระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าเอเธล์เรดที่ 2 แห่งอังกฤษ พระเจ้าสเวน ฟอร์คเบียร์ดและผู้สืบเชื้อสายของพระองค์ปกครองอังกฤษจนปี ค.ศ. 1042 หลังจากรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าฮาร์ธาคานูท ราชวงศ์เวสเซ็กซ์ก็ได้รับการฟื้นฟูอยู่ชั่วระยะหนึ่งระหว่างปี ค.ศ. 1042 ถึงปี ค.ศ. 1066 ภายใต้การปกครองของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพ และ สมเด็จพระเจ้าฮาโรลด์ กอดวินสัน หรือพระเจ้าฮาโรลด์ที่ 2 ราชวงศ์เวสเซ็กซ์ก็สิ้นสุดลงไม่นานหลังจากยุทธการเฮสติงส์โดยสมเด็จพระเจ้าเอ็ดการ์ เอเธลลิงผู้ครองราชย์ต่อจากพระเจ้าฮาโรลด์ถูกปลดจากราชบัลลังก์โดยดยุคแห่งนอร์มังดีผู้ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ หรือ “พระเจ้าวิลเลียมผู้พิชิต” (William the Conqueror) ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์นอร์มัน.

ใหม่!!: พระเจ้าเอเธล์เรดแห่งเวสเซ็กซ์และราชวงศ์เวสเซกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรอีสต์แองเกลีย

ราชอาณาจักรอีสต์แองเกลีย (ภาษาอังกฤษ: Kingdom of the East Angles หรือ Kingdom of East Anglia) เป็นหนึ่งในอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนเจ็ดอาณาจักร ชื่อของอาณาจักรมาจากชื่อดินแดนแองเกิล (Angeln) ของชนแองเกิล ทางตอนเหนือของเยอรมนี ที่เมื่อแรกเริ่มประกอบด้วยนอร์โฟล์ค และซัฟโฟล์ค ชื่อที่อาจจะได้รับหลังจากการตั้งถิ่นฐานของชาวเดนส์ (“North folk (people)”.

ใหม่!!: พระเจ้าเอเธล์เรดแห่งเวสเซ็กซ์และราชอาณาจักรอีสต์แองเกลีย · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรนอร์ทัมเบรีย

ราชอาณาจักรนอร์ทธัมเบรีย (ภาษาอังกฤษ: Northumbria หรือ Northhumbria) เป็นชื่อของอาณาจักรยุคกลางของชาวแองเกิลที่ปัจจุบันตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอังกฤษ และทางใต้ของสกอตแลนด์ และเป็นอาณาจักรเอิร์ล (Earldom) ที่เมื่อรวมกับอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนกลายเป็นอังกฤษ ชื่อ “นอร์ทธัมเบรีย” เป็นนัยยะว่าเขตแดนทางใต้ของอาณาจักรปากแม่น้ำฮัมเบอร์ นอร์ทธัมเบรียก่อตั้งกลางบริเตนใหญ่ในสมัยแองโกล-แซ็กซอน เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 7 อาณาจักรเบอร์นิเซีย และอาณาจักรไดรารวมตัวกันเป็นอาณาจักรเดียว (ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 เฮนรี ฮันทิงดัน (Henry of Huntingdon) บรรยายว่านอร์ทธัมเบรียเป็นอาณาจักรหนึ่งในเจ็ดอาณาจักรของอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอน) ในสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดเขตแดนของราชอาณาจักรทางใต้จรดปากแม่น้ำฮัมเบอร์, ไปถึงแม่น้ำเมอร์ซีย์ และเฟิร์ธออฟฟอร์ธ (Firth of Forth) (โดยประมาณ จากเชฟฟิลด์ ไปรังคอร์ ไปเอดินบะระ) - และมีหลักฐานว่าเคยมีดินแดนมากกว่านั้น ต่อมานอร์ทธัมเบรียเสียดินแดนทางใต้แก่บริเวณเดนลอว์(Danelaw) ทางด้านเหนือเดิมเป็นอาณาจักรแต่ต่อมากลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรเดนมาร์กที่มีฐานะเท่าเทียมกับเป็นอาณาจักรเอิร์ลและมีฐานะเช่นนั้นเมื่ออังกฤษรวมตัวกันโดยการนำของเวสเซ็กซ์ อาณาจักรเอิร์ลมีเขตแดนติดกับแม่น้ำทีส์ทางด้านใต้และแม่น้ำทวีดทางด้านเหนือ (โดยทั่วไปคล้ายคลึงกับตะวันออกเฉียงเหนืออังกฤษ (North East England) ปัจจุบัน) ดินแดนบริเวณเป็นบริเวณที่พิพาตระหว่างอังกฤษและสกอตแลนด์ แต่อาณาจักรเอิร์ลแห่งนอร์ทธัมเบรียก็ได้รับการยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของของอังกฤษในสนธิสัญญายอร์คระหว่างอังกฤษกับสกอตแลนด์ในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าเอเธล์เรดแห่งเวสเซ็กซ์และราชอาณาจักรนอร์ทัมเบรีย · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรเมอร์เซีย

ราชอาณาจักรเมอร์เซีย (Mercia) เป็นหนึ่งในอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนเจ็ดอาณาจักรที่มีศูนย์กลางอยู่ในลุ่มแม่น้ำแม่น้ำเทร้นท์และในบริเวณที่ปัจจุบันเป็นอังกฤษมิดแลนด์ส (English Midlands) ชื่อเมอร์เซียเป็นภาษาอังกฤษเก่า “Mierce” ที่แผลงเป็นแบบละติน (Latinization) แปลว่า “ชนชายแดน” ราชอาณาจักรเมอร์เซียมีอาณาเขตติดต่อกับราชอาณาจักรนอร์ทธัมเบรีย, เพาวิส, ราชอาณาจักรต่างๆ ทางตอนใต้ของเวลส์, เวสเซ็กซ์, ซัสเซ็กซ์, เอสเซ็กซ์ และ อีสต์แองเกลีย ทุกวันนี้ชื่อ “เมอร์เซีย” ยังใช้กันทั่วไปในชื่อองค์การต่างๆ ได้แก่ หน่วยทหาร หรือองค์การทั้งของรัฐและของเอกชน.

ใหม่!!: พระเจ้าเอเธล์เรดแห่งเวสเซ็กซ์และราชอาณาจักรเมอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

ออสเบอร์

Warning: Page using Template:Infobox royalty with unknown parameter "reign type" (this message is shown only in preview).

ใหม่!!: พระเจ้าเอเธล์เรดแห่งเวสเซ็กซ์และออสเบอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดับลิน

ับลิน (Dublin; ไอริช: Baile Átha Cliath) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสาธารณรัฐไอร์แลนด์ ชื่อดับลินนั้นมาจากคำว่า Dubh Linn ซึ่งในภาษาไอริชมีความหมายว่า "สระน้ำสีดำ" (Black Pool) ดับลินมีพื้นที่ประมาณ 114.99 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 495,781 คนในเขตตัวเมือง.

ใหม่!!: พระเจ้าเอเธล์เรดแห่งเวสเซ็กซ์และดับลิน · ดูเพิ่มเติม »

ซัฟฟอล์ก

ที่ตั้งของมณฑลซัฟฟอล์ก ซัฟฟอล์ก หรือ ซัฟเฟิก (Suffolk) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักร ที่ตั้งอยู่ในบริเวณอีสต์แองเกลียของอังกฤษ โดยมีอิปสวิชเป็นเมืองหลวง ซัฟฟอล์กมีเขตแดนติดกับนอร์ฟอล์กทางตอนเหนือ, เคมบริดจ์เชอร์ทางตะวันตก และเอสเซ็กซ์ทางตอนใต้ ทางตะวันออกเป็นทะเลเหนือ.

ใหม่!!: พระเจ้าเอเธล์เรดแห่งเวสเซ็กซ์และซัฟฟอล์ก · ดูเพิ่มเติม »

นอตทิงแฮม

นอตทิงแฮม (Nottingham นอตทิงเงิม) เป็นนครและเมืองหลวงของมณฑลนอตทิงแฮมเชอร์ในภาคการปกครองมิดแลนด์สตะวันออกของอังกฤษ และเป็นหนึ่งในกลุ่มเมืองใหญ่หลักของอังกฤษ นอตทิงแฮมมีเนื้อที่ 74.61 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรทั้งหมดประมาณ 288,700 คนและ 667,000 คนถ้ารวมทั้งในบริเวณปริมณฑลที่อยู่ในมณฑลดาร์บีเชอร์ บริเวณปริมณฑลของนอตทิงแฮมใหญ่เป็นที่เจ็ดในสหราชอาณาจักรใกล้เคียงกับลิเวอร์พูลและเชฟฟีลด์ บริเวณปริมณฑลครอบคลุมอาณาบริเวณที่กว้างที่รวมทั้งเมืองใกล้เคียงเช่นอิลเคสตันและอีสต์วูด ใจกลางของตัวเมืองเป็นจัตุรัสตลาดเก่าซึ่งมีเนื้อที่ 22,000 ตารางเมตรซึ่งเป็นจัตุรัสที่ใหญ่ที่สุดในอังกฤษ และได้รับการปรับปรุงในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าเอเธล์เรดแห่งเวสเซ็กซ์และนอตทิงแฮม · ดูเพิ่มเติม »

แฮมป์เชอร์

ที่ตั้งของมณฑลแฮมป์เชอร์ แฮมป์เชอร์ หรือ แฮมป์เชียร์ (Hampshire,; ย่อ Hants) หรือ “มณฑลเซาท์แธมพ์ตัน” บางครั้งก็เคยเรียกว่า “เซาท์แธมป์ตันเชอร์” หรือ “แฮมป์ตันเชอร์” แฮมป์เชอร์เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางฝั่งทะเลด้านใต้ของอังกฤษโดยมีวินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวง แฮมป์เชอร์มีเขตแดนติดกับดอร์เซ็ท, วิลท์เชอร์, บาร์คเชอร์, เซอร์รีย์ และ เวสต์ซัสเซ็กซ.

ใหม่!!: พระเจ้าเอเธล์เรดแห่งเวสเซ็กซ์และแฮมป์เชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: พระเจ้าเอเธล์เรดแห่งเวสเซ็กซ์และโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

โอดิน

โอดิน ขี่หลังม้าสเลปนีร์ โอดิน เทพเจ้าสูงสุดของชาวยุโรปเหนือ เป็นเทพเจ้าที่ใฝ่หาความรู้ ยึดมั่นในสัจจะ ช่วยเหลือผู้อื่น และออกผจญภัยเพื่อใช้ชีวิตให้คุ้มค่า รบอย่างกล้าหาญเพื่อให้ได้ตายอย่างมีเกียรติในสนามรบ ให้ลูกหลานนำเรื่องราวของตนไปเล่าขานในฐานะวีรบุรุษ และเพื่อให้ดวงวิญญาณได้รับเลือกให้เข้าร่วมกับกองทัพเทพ ร่วมต่อสู้กับยักษ์ในวันสิ้นโลก (ไวกิ้งเป็นตัวอย่างหนึ่งของชนที่นับถือศาสนานี้) แม้เทพโอดินทรงสร้างโลกแต่พระองค์ก็ไม่สามารถล่วงรู้อนาคตของโลกได้ โดยเฉพาะความลับสูงสุดของจักรวาล การถือกำเนิด ชีวิตหลังความตาย และอนาคตของโลก เพื่อให้ทรงทราบความลับเหล่านี้ จึงทรงทรมาณองค์เองโดยผูกเท้าข้างหนึ่งกับพฤกษาที่เป็นแกนกลางของโลก (อิ๊กก์ดราซิล) แทงหอกที่สีข้าง ทรมาณอยู่ถึง 9 วัน 9 คืน จนถึงกับสิ้นพระชนม์ แต่แล้วก็ทรงฟื้นคืนขึ้นมาใหม่โดยไม่เจ็บปวด แต่เต็มเปี่ยมไปด้วยปรีชาญาณ ทรงบันทึกสิ่งที่พระองค์ค้นพบในรูปแบบอักษรศักดิ์สิทธิ์ 24 ตัว เรียกว่า รูนส์ ซึ่งต่อมาทรงพระราชทานรูนส์แก่ชาวโลกเพื่อให้ใช้ในฐานะเทพพยากรณ์ ในที่สุด ทรงล่วงรู้อนาคต รู้วันสิ้นโลก รู้ว่าในวันข้างหน้า โลกจะถึงกาลแตกดับ แต่ก่อนจะถึงวันนั้น พระองค์ จะทะนุถนอมโลกที่ทรงสร้างอย่างดี เพื่อเมื่อถึงวันโลกาวินาศ จะได้มีเทพและมนุษย์ที่หลงเหลืออยู่ไปสร้างโลกใหม่ที่มีความสุข แต่ยังทรงต้องการความรู้เพิ่มเติม จึงทรงไปที่รากของต้นไม้อี๊กก์ดราซิลเพื่อดื่มน้ำพุวิเศษที่ทำให้กลายเป็นผู้รอบรู้ ที่บ่อน้ำพุนี้มียักษ์ตนหนึ่งเฝ้าอยู่ ชื่อมีเมียร์ หากจะทรงถืออำนาจดื่มน้ำพุเลย ในฐานะจอมเทพ ย่อมทรงกระทำได้ แต่พระองค์ไม่ทำเพราะเห็นว่าเป็นการกระทำของคนโฉด จึงทรงแลกเปลี่ยนดวงตาข้างหนึ่ง เพื่อการได้ดื่มน้ำ ยักษ์ยินยอม แล้วพระองค์ก็ทรงดื่มน้ำนั้นจนหมดบ่อ แม้จะทรงมีหอกวิเศษกุงเนียร์ อันเป็นหอกที่ไม่เคยพลาดเป้าเป็นอาวุธ แต่กลับไม่ค่อยได้ใช้อาวุธของพระองค์เท่าใดนัก ว่ากันว่าพระองค์จะได้ใช้หอกนี้อย่างแท้จริงก็คือในวันทำสงครามแร็คนาร็อก แต่อย่างใดก็ดี ก็ไม่ช่วยให้พระองค์รอดพ้นจากคมเขี้ยวของพญาสุนัขป่าเฟนริล์ได้ ทรงมีสัตว์เลี้ยงคืออีกาคู่ และถือเป็นสัญลักษณ์ของพระองค์ ชื่อ ฮูกีน (ความคิด) และมูนีน (ความจำ) อีกาทั้งสองจะบินไปรอบโลก เพื่อนำข่าวคราวของสิ่งที่เกิดขึ้นบนโลกมาแจ้งแก่พระองค์ และทรงเลี้ยงสุนัขป่าขนสีเงินอีกสองตัวคือ เกรี และ เฟรคี สุนัขทั้งสองมักนั่งอยู่แทบพระบาท คอยกินอาหารที่ถูกนำมาถวาย ด้วยพระองค์ไม่โปรดอะไรนอกจากเหล้าน้ำผึ้ง ทรงมีพาหนะคือม้าสเลปไนร์ ซึ่งมีขาถึง 8 ขา จึงทำให้มันวิ่งเร็วกว่าม้าใดๆ ทรงมีมเหสีเอกคือเทวีฟริกก์ และต่อมาทรงรับเทวีเฟรยาเป็นมเหสีอีกองค์ เทวีฟริกกาทรงเปี่ยมไปด้วยเมตตา ปราศจากความอิจฉาริษยา เทวีเฟรายาจึงเคารพพระนางเป็นอย่างยิ่ง ไม่เคยทำอะไรให้มเหสีเอกต้องขุ่นเคืองพระทัย สำหรับผู้ที่เป็นนักพยากรณ์โดยไพ่ทาโรต์ จะคุ้นเคยกับใพ่ใบหนึ่งที่เป็นภาพของคนห้อยหัว ผูกขาข้างหนึ่งไว้กับต้นไม้ ไพ่ใบนี้ชื่อ Hang Man เชื่อกันว่ามีที่มาจากตำนานของเทพโอดินนั่นเอง ดังนั้นไพ่ใบนี้ จึงมีความหมายของการพยากรณ์ การหยุดนิ่งก่อนที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลง การอดทนเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ การรอคอยโอกาสที่ยังมาไม่ถึง หมวดหมู่:เทพเจ้า หมวดหมู่:เทพปกรณัมนอร์ส หมวดหมู่:เทพแห่งสายฟ้า.

ใหม่!!: พระเจ้าเอเธล์เรดแห่งเวสเซ็กซ์และโอดิน · ดูเพิ่มเติม »

เรดิง (บาร์กเชอร์)

รดิง (Reading) เป็นเมืองและรัฐบาลท้องถิ่นระดับเดียว (unitary authority area) ในบาร์กเชอร์ ประเทศอังกฤษ บนฝั่งแม่น้ำเคนเนต ตรงจุดที่แม่น้ำเทมส์ไหลมาบรรจบ พบหลักฐานเกี่ยวกับการตั้งรกรากครั้งแรกในศตวรรษที่ 8 เรดิงเป็นเมืองสำคัญในยุคกลาง เมืองได้รับผลกระทบอย่างมากจากสงครามกลางเมืองอังกฤษ ปัจจุบันเรดิงเป็นศูนย์กลางการค้าที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีข้อมูลและการประกันภัย มีมหาวิทยาลัยเรดิง (ค.ศ. 1926) มีเทศกาลดนตรีประจำปีที่ชื่อ เทศกาลดนตรีเรดิง เป็นหนึ่งในเทศกาลดนตรีที่ใหญ่ที่สุดในอังกฤษ มีสโมสรฟุตบอลเรดิง.

ใหม่!!: พระเจ้าเอเธล์เรดแห่งเวสเซ็กซ์และเรดิง (บาร์กเชอร์) · ดูเพิ่มเติม »

เอลสวิธ

มเด็จพระราชินีเอลสวิธแห่งกินิ (Ealhswith; Ealhswið) หรือ เอลวิธา (Ealswitha) ประสูติเมื่อปี..

ใหม่!!: พระเจ้าเอเธล์เรดแห่งเวสเซ็กซ์และเอลสวิธ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »