โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระเจ้ายโศวรรมันที่ 1

ดัชนี พระเจ้ายโศวรรมันที่ 1

วรรมันที่ 1 เอกสารไทยบางทีว่า ยโศวรมันที่ 1 (យសោវរ្ម័នទី១ ยโสวรฺมันที ๑; Yasovarman I) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งจักรวรรดิเขมร เสวยราชย์ในระหว่าง..

14 ความสัมพันธ์: บารายตะวันออกพระลานเสด็จขี้เรื้อนพระศิวะยโศธรปุระรายพระนามพระมหากษัตริย์กัมพูชาศังกราจารย์อาณาจักรฟูนานอาณาจักรอิศานปุระอาณาจักรจามปาอุทยานแห่งชาติพนมกุเลนจักรวรรดิขแมร์ปราสาทโลเลยนครวัดโตนเลสาบ

บารายตะวันออก

รายตะวันออก (បារាយណ៍ខាងកើត; East Baray) ในปัจจุบันเป็น บาราย ที่เหือดแห้งหายไปแล้ว เป็นแหล่งเก็บน้ำสำคัญในอดีตใน เมืองพระนคร ประเทศกัมพูชา ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของกำแพงเมือง นครธม บารายตะวันออกถูกสร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. 1443 (หรือ คริสต์ศตวรรษที่ 10) ในรัชสมัยของ พระเจ้ายโศวรมัน บารายแห่งนี้ถูกหล่อเลี้ยงโดยแม่น้ำเสียมราฐ บารายแห่งนี้เป็นบารายที่ใหญ่ที่สุดอันดับสอง รองลงมาจาก บารายตะวันตก วัดคร่าว ๆ ได้ 7,150 คูณ 1,740 เมตร และบรรจุน้ำเกือบ 50 ล้าน ลูกบาศก์เมตรของน้ำ รูปสลักที่เล่าเรื่องการก่อสร้างบาราย พบได้ตามมุมทั้งสี่ของสิ่งก่อสร้าง ตอนแรก บารายแห่งนี้ ถูกเรียกว่า ยโศดรตตกะ ตามชื่อกษัตริย์ผู้สร้าง บัณฑิตแบ่งแยกกันตามความคิดของวัตถุประสงค์ของบารายนี้ และบารายอื่น ๆ โดยทฤษฎีบางทฤษฎี ชาวขอมกักเก็บน้ำสำหรับการชลประทาน แต่ไม่มีร่องรอยการแกะสลักที่บ่งบอกถึงวัตถุประสงค์ดังกล่าว ทฤษฎีอื่น ๆ คือ บารายถูกสร้างขึ้นมาหลัก ๆ ไว้สำหรับทางศาสนา ซึ่งแสดงถึงทะเลแห่งการสร้าง ซึ่งล้อมรอบเขาพระสุเมรุ ที่อยู่อาศัยของเทพเจ้าในศาสนาฮินดู บารายตะวันออกในปัจจุบันไม่ได้บรรจุน้ำแล้ว แต่เค้าโครงของมันยังคงปรากฏให้เห็นเด่นชัดในภาพถ่ายทางอากาศ ตรงใจกลางของบาราย คือ ปราสาทแม่บุญตะวันออก ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นยกระดับที่เคยเป็นเกาะมาก่อนในอดีต ตอนที่บารายยังบรรจุน้ำ.

ใหม่!!: พระเจ้ายโศวรรมันที่ 1และบารายตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

พระลานเสด็จขี้เรื้อน

ระลานเสด็จขี้เรื้อน (ព្រះលានស្តេចគម្លង់ พฺระลานสฺเตจคมฺลง̍; Terrace of the Leper King) เป็นท้องสนามตรงมุมด้านตะวันตกเฉียงเหนือของนครธม จังหวัดเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา สร้างขึ้นด้วยลักษณะแบบบายนในรัชกาลชัยวรรมันที่ 7 ชื่อซึ่งเป็นที่รู้จักในปัจจุบันนี้เป็นนามที่เกิดขึ้นในภายหลังโดยอ้างถึงเทวรูปพระยม อายุราวคริสต์ศตวรรษที่ 15 ซึ่งพบอยู่ในบริเวณนั้น โดยมีสีกระดำกระด่าง และมีตะไคร่ปกคลุม เหมือนคนเป็นเรื้อน ทั้งยังสอดคล้องกับความเชื่อที่ว่า ยโศวรรมันที่ 1 กษัตริย์ผู้สถาปนาเมืองยโศธรปุระอันเป็นที่ตั้งนครธมนั้น ประชวรโรคเรื้อน แต่ชื่อจริง ๆ ของเทวรูปดังกล่าว คือ "ธรรมราชา" ดังที่จารึกอยู่บนตัวรูปเอง พระลานนี้เป็นรูปตัวยู (U) ทำให้เชื่อกันว่า สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ถวายพระเพลิงพระศพเจ้าน.

ใหม่!!: พระเจ้ายโศวรรมันที่ 1และพระลานเสด็จขี้เรื้อน · ดูเพิ่มเติม »

พระศิวะ

ระศิวะ หรือ พระอิศวร (शिव; Shiva) หนึ่งในตรีมูรติ หรือเทพเจ้าสูงสุดสามพระองค์ตามความเชื่อในศาสนาฮินดู (อีกสององค์ ได้แก่ พระพรหม และพระวิษณุ) พระแม่อุมาเทวีประดับโปุรัม ประเทศอินเดีย. พระแม่อุมาเทวีประดับโปุรัม ประเทศอินเดีย. พระศิวะ มีรูปกายเป็นชายหนุ่มร่างกำยำ วรรณะขาว (สีผิวขาว) นุ่งห่มหนังเสือเหมือนฤๅษี มีสังวาล์เป็นลูกประคำหรือกะโหลกมนุษย์ มีงูเห่าคล้องพระศอ ไว้พระเกศายาว ซึ่งจะม้วนเป็นจุฑา (มวยผม) มีพระจันทร์เป็นปิ่น มีคงคาอยู่บนยอดจุฑา ซึ่งพ่นน้ำมาตลอด และมีดวงพระเนตร (ตาที่ 3) กลางพระนลาฏ (หน้าผาก) ซึ่งโดยปกติจะปิดอยู่เสมอ เชื่อว่าหากเปิดขึ้นเมื่อไหร่ ไฟบรรลัยกัลป์จะเผาผลาญล้างโลก (บ้างว่าเป็นพระพรหม) ถือว่าเป็นการสิ้นสุดกัปหนึ่ง ก่อนที่พระพรหมจะสร้างโลกขึ้นมาใหม่ มีพาหนะ คือ โคอุศุภราช (วัวเพศผู้สีขาวล้วน) มีชายา คือ พระอุมา เทพีแห่งความกล้าหาญ มีโอรสสององค์ คือ พระขันทกุมารและพระพิฆเนศ ประทับอยู่ ณ เขาไกรลาส อันเป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาล ชายาอีกองค์คือพระแม่คงคา มีธิดาคือพระแม่มนสาเทวีหรือพระยามี พระศิวะเป็นเทพที่จะคอยขับไล่สิ่งชั่วร้ายให้ห่างไกล และทำให้เกิดความดีงามเป็นศิริมงคลเกิดขึ้น ผู้ที่มีความทุกข์ไม่ว่าจะเป็นในทางใด หากบวงสรวงบูชา ขอพรให้พ้นทุกข์ พระศิวะก็จะประทานพรให้ผู้นั้นได้พ้นจากห้วงแห่งความทุกข์ พระศิวะมีท่าร่ายรำอันเป็นการร่ายรำของเทพเจ้า เรียกว่า "ปางนาฏราช" เมื่อแปลงกายลงไปปราบฤๅษีที่ไม่ประพฤติตนอยู่ในเพศดาบส ซึ่งต่อมาชาวฮินดูได้ถือเอาท่าร่ายรำนี้เป็นต้นแบบของการร่ายรำต่าง ๆ มาตราบจนปัจจุบัน นอกจากนี้แล้ว พระศิวะยังถือว่าเป็นเจ้าแห่งผีหรือปีศาจอีกด้วย โดยมีพระนามเรียกว่า "ปีศาจบดี" หรือ "ภูเตศวร" นอกจากนี้แล้วพระอิศวร ยังมีพระนามอื่นอีก เช่น "รุทร", "ศังกร", "ศุลี", "นิลกัณฐ์", "หระ" หรือ "อีสาน" และยังเป็นเทพประจำทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ อีสาน อีกด้วย นอกจากนี้แล้ว ยังเชื่อว่าพระศอของพระศิวะมีสีดำ ทั้งนี้เนื่องจากพระองค์ได้ยาพิษของพญานาคไว้เมื่อครั้งกวนเกษียรสมุทรทำน้ำอมฤตเพื่อช่วยโลก ซึ่งบทหนึ่งในกามนิต-วาสิฏฐี วรรณกรรมอิงพุทธศาสนาได้อ้างถึง สีของความรักว่าเป็นสีดำ เสมือนสีคอพระศิวะ พระศิวะ ที่ประเทศศรีลังกา อันเป็นประเทศที่ศาสนาพราหมณ์ได้เข้ามาเผยแพร่ก่อน ก่อนที่จะกลายมาเป็นศาสนาพุทธเป็นศาสนาหลักอย่างเช่นในปัจจุบัน พระศิวะในความเชื่อของที่นี่จะมีพาหนะเป็นนกยูง และกลายมาเป็นเทพเจ้าที่ทำหน้าที่ปกปักษ์รักษาพุทธศาสน.

ใหม่!!: พระเจ้ายโศวรรมันที่ 1และพระศิวะ · ดูเพิ่มเติม »

ยโศธรปุระ

รปุระ เมืองหลวงของจักรวรรดิเขมร ในดินแดนเขมรต่ำ สร้างโดย พระเจ้ายโศวรรมันที่ 1 ต่อมา สมัย พระเจ้าชัยวรรมันที่ 4 ได้เกิดเหตุอุทกภัยครั้งใหญ่ ในเมืองยโศธรปุระ จึงย้ายราชธานีไปยังเมือง เกาะแกร.

ใหม่!!: พระเจ้ายโศวรรมันที่ 1และยโศธรปุระ · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์กัมพูชา

250px หน้านี้เป็นรายพระนามพระมหากษัตริย์ในพระราชอาณาจักรกัมพูชา ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน.

ใหม่!!: พระเจ้ายโศวรรมันที่ 1และรายพระนามพระมหากษัตริย์กัมพูชา · ดูเพิ่มเติม »

ศังกราจารย์

อาทิศังกราจารย์และสานุศิษย์, ผลงานโดยราชา รวิ วรรมา, ราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19ประติมากรรมรูปอาทิศังกราจารย์ที่เมืองไมซอร์ อาทิ ศังกระ (आदि शङ्करः, ആദി ശങ്കരൻ, ஆதி சங்கரர்; ชื่ออื่น: ศังกระ ภควัตปาทจารย์, อาทิศังกราจารย์, ศังกราจารย์) มีชีวิตอยู่ระหว่าง..

ใหม่!!: พระเจ้ายโศวรรมันที่ 1และศังกราจารย์ · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรฟูนาน

รัฐฟูนาน (អាណាចក្រនគរភ្នំ ឬ ហ្វូណន) (Phù Nam) เป็นรัฐโบราณที่มีอิทธิพลเหนือดินแดน แห่งลุ่มน้ำแม่โขง แม่น้ำเจ้าพระยา ก่อตั้งขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ 7 กษัตริย์องค์แรกคือพราหมณ์โกณฑิญญะ ซึ่งมีเชื้อสายจากอินเดีย ได้มีมเหสีคือ "นางโสมา".

ใหม่!!: พระเจ้ายโศวรรมันที่ 1และอาณาจักรฟูนาน · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรอิศานปุระ

อาณาจักรอิศานปุระ หรือ อาณาจักรเจนละ เป็นอาณาจักรโบราณ เจริญรุ่งเรืองในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11 ปัจจุบันคือภาคอีสานตอนล่างของประเทศไทย ตอนบนของประเทศกัมพูชา และตอนล่างของประเทศลาว สถาปนาขึ้นโดยพระเจ้าอิศานวรมัน ผู้สืบเชื้อสายมาจากกษัตริย์เจนละ คือพระเจ้ามเหนทระวรมัน หรือพระเจ้าจิตรเสน ผู้ครองแคว้นเจนละ ที่ทรงครอบครองดินแดนในพื้นที่อีสานตอนใต้และลาวทางตอนใต้แถบวัดภู หลังจากที่ได้รับการสิบทอดอำนาจจากพระเจ้าจิตรเสน พระเจ้าอิศานวรมันเสด็จขึ้นครองราชย์ราว พ.ศ. 1153 - พ.ศ. 1198 ได้ทำสงครามกับอาณาจักรฟูนัน ที่ยึดของพื้นที่ทางตอนใต้ ในที่สุดก็ได้ควบรวมเป็นอาณาจักรเดียวกัน เป็นการสูญสิ้นอาณาจักรฟูนัน และได้สถาปนาศูนย์กลางการปกครองขึ้นใหม่ ชื่อว่า อิศานปุระ เมืองอิศานปุระ ที่พระเจ้าอิศานวรมันสถาปนาขึ้น นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่า ตั้งอยู่บริเวณกลุ่มปราสาทซ็อมโบร์ไพรกุกห์ (สมโบไพรกุก) ในเขตจังหวัดกัมปงธม ในประเทศกัมพูชา ซึ่งปรากฏหลักฐานปราสาทอิฐ ศาสนสถานในศาสนาฮินดูจำนวนมาก หลังจากรัชสมัยพระเจ้าอิศานวรมัน มีกษัตริย์ปกครองอีก 2 พระองค์ คือพระเจ้าภววรมันที่ 2 และพระเจ้าชัยวรมันที่ 1 หลังจากนั้นบ้านเมืองเกิดความแตกแยก อาณาจักรถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน กลายเป็น เจนละบก และ เจนละน้ำ ทำให้เมืองอีศานปุระถูกลดความสำคัญลง และต่อมาพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 เชื้อสายของพระเจ้าอิศานวรมัน ได้รวบรวมทั้งสอง และสถาปนาอาณาจักรขึ้นใหม่ ชื่อว่า ยโศธรปุระ หรือเมืองพระนคร บริเวณจังหวัดเสียมราฐ ประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน กลุ่มปราสาทซ็อมโบร์ไพรกุกห์ (อิศานปุระ) เป็นกลุ่มปราสาทโบราณมีอายุมากกว่า 1390 ปี มีปราสาทที่ปรากฏให้เห็นเป็นหลักฐานในปัจจุบันมากกว่า 170 ที่ โดยมีปราสาทสำคัญอยู่ 3 กลุ่มหลักในบริเวณราชธานีอิศานปุระ ซึ่งปัจจุบันได้รับการบูรณะให้นักท่องเที่ยวสามารถเยี่ยมชมได้ และเนื่องจากมีปราสาทมากมายนับร้อยแห่ง จึงทำให้นักโบราณคดีชาวตะวันตกที่เข้ามาทำการสำรวจในพื้นที่ช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้จัดทำระบบบัญชีชื่อปราสาทต่างๆขึ้นและยังคงใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน ทำให้ปราสาทซ็อมโบร์ไพรกุกห์มี ชื่อเป็นทางการ เป็นตัวอักษรและตัวเลข แทนชื่อที่ชาวบ้านเรียก โดยปราสาทต่าง ๆ ในกลุ่มเหนือ จะมีชื่อขึ้นต้นว่า N (North) ปราสาทกลุ่มกลางมีชื่อขึ้นต้นว่า C (Central) และปราสาทกลุ่มใต้ มีชื่อขึ้นต้นว่า S (South) แล้วตามด้วยตัวเลขที่แสดงถึงความสำคัญ หรือตามลำดับการเรียงตัวที่ตั้งของปราสาท เช่น N1 หมายถึงปราสาทประธานของกลุ่มเหนือ S1 หมายถึงปราสาทประธานของกลุ่มใต้ คือปราสาทเนียกปวน และ C1 หมายถึงปราสาทประธานของกลุ่มกลาง คือปราสาทตาว เป็นต้น.

ใหม่!!: พระเจ้ายโศวรรมันที่ 1และอาณาจักรอิศานปุระ · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรจามปา

นสถานศิลปะจามปา อาณาจักรจามปา เป็นอาณาจักรโบราณตั้งเมื่อพุทธศตวรรษที่ 7 อยู่ทางใต้ของจีน อยู่ทางตะวันออกของฟูนัน ปัจจุบันคือบริเวณเมืองเว้, ตามกี่, ฟานซาง-ท้าปจ่าม และญาจาง เนื่องจากสมัยก่อนพื้นที่นี้เป็นเขตทุรกันดาร จีนจึงไม่สามารถครอบครองพื้นที่นี้ได้ ชนชาติจามสืบเชื้อสายจากชาว มาลาโยโพลินีเชียน พวกจามเป็นชาวทะเลมีความสามารถทางการเดินเรือ ต่อมาราว..

ใหม่!!: พระเจ้ายโศวรรมันที่ 1และอาณาจักรจามปา · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติพนมกุเลน

อดเขาพนมกุเลน (Phnom Kulen National Park) เป็นหนึ่งในยอดเขาที่สำคัญในประเทศกัมพูชา บนเทือกเขาพนมกุเลนยังเป็นต้นแม่น้ำ ลำธารจะไหลผ่าน แผ่นทับหลังรูปสลัก น้ำในลำธารนี้ชาวกัมพูชาเชื่อว่าเป็นแม่น้ำที่ศักดิ์สิทธิ ใช้ในการพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒนสัตยา และพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ของพระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดมสีหมุนี อีกด้วย ซึ่งคำว่าพนมในภาษากัมพูชานั้นหมายถึง ภูเขา กุเลนหมายถึงต้นลิ้นจี่ ในอดีตพนมกุเลน เป็นที่ประทับของพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 แต่ไม่มีหลักฐานปรากฏว่าพระองค์ทรงประทับที่พนมกุเลนนานเท่าไร และเมื่อพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ก็เสด็จกลับมาครองราชย์ที่หริหราลัย หลังจากนั้นมาอีก 300 ปี จึงมีการสร้างปราสาทนครวัดขึ้น ร่องรอยของปราสาทบนเขาพนมกุเลนจึงพบเป็นปราสาทหลังเล็ก ๆ และมีสภาพทรุดโทรม มีเพียงแต่ศิวลึงค์ที่ถูกแกะสลักอยู่ใต้น้ำนับพันอันที่ยังคงสภาพดีอยู่ ซึ่งศิวลึงค์นับพันองค์ที่อยู่ใต้น้ำนั้น เป็นของศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย บูชาศิวลึงค์ว่าเป็นต้นกำเนิดของสรรพชีวิต ศิวลึงค์นั้นก็คืออวัยวะเพศชายแทนพระศิวะ และฐานโยนีที่ล้อมรอบศิวลึงค์ ก็คืออวัยวะเพศของเพศหญิง ซึ่งก็คือนางอุมาเทวีชายาของพระศิวะ และมีความเชื่อของชาวฮินดูที่ว่าตราบใดที่อวัยวะทั้งสองยังอยู่ด้วยกัน ตราบนั้นโลกจะอยู่เย็นเป็นสุข นอกจากนี้ชาวฮินดูยังมีความเชื่อว่าพนมกุเลนเป็นที่ตั้งของมเหนทรบรรพต มเหนคร หมายถึง พระศิวะ ส่วนบรรพตนั้นหมายถึง ภูเขา ความหมายของเมืองจึงเป็นที่อยู่ของพระศิวะ พนมกุเลนจึงเป็นนิมิตรรูปของเขาพระสุเมรุราชที่มี 109 ยอด ยอดสูงสุดคือยอดเขาไกรลาศ เป็นที่อยู่ของพระศิวะ และพระนางอุมาเทวี และพนมกุเลนยังเป็นสัญลักษณ์ของเขาหิมาลัย ที่มีแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ไหลลงมาจากธารสวรร.

ใหม่!!: พระเจ้ายโศวรรมันที่ 1และอุทยานแห่งชาติพนมกุเลน · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิขแมร์

ักรวรรดิขแมร์ หรือ อาณาจักรเขมร หรือบางแหล่งเรียกว่า อาณาจักรขอม เป็นหนึ่งในอาณาจักรโบราณ เริ่มต้นขึ้น ราวพุทธศตวรรษที่ 6 โดยเริ่มจากอาณาจักรฟูนัน มีที่ตั้งอยู่ในบริเวณประเทศกัมพูชา โดยมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของ ประเทศไทย ลาว และบางส่วนของเวียดนามในปัจจุบัน นับเป็นอาณาจักรที่มีแสนยานุภาพมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมาได้อ่อนกำลังลงจนเสียดินแดนบางส่วนให้กับอาณาจักรสุโขทัย และแตกสลายในที่สุดเมื่อตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรอยุธยา อาณาจักรเขมรสืบทอดอำนาจจากอาณาจักรเจนฬา มีสงครามผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะกับอาณาจักรข้างเคียง เช่น อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรอยุธยา และอาณาจักรจามปา มรดกที่สำคัญที่สุดของอาณาจักรเขมรคือ นครวัด และ นครธม ซึ่งเคยเป็นนครหลวงเมื่อครั้งอาณาจักรแห่งนี้มีความเจริญรุ่งเรืองที่สุด และยังมีลัทธิความเชื่อต่างๆ อย่างหลากหลาย ศาสนาหลักของอาณาจักรนี้ได้แก่ ศาสนาฮินดู พุทธศาสนามหายาน และพุทธศาสนาเถรวาทซึ่งได้รับจากศรีลังกา เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 13.

ใหม่!!: พระเจ้ายโศวรรมันที่ 1และจักรวรรดิขแมร์ · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทโลเลย

ศิลาจารึกอักษรขอมโบราณ ที่เสาในปราสาทโลเลย ทับหลังหินทรายแกะสลัก ที่ปราสาทโลเลย ปราสาทโลเลย (ប្រាសាទលលៃ บฺราสาทลอเลย) เป็นปราสาทหินอยู่ทางเหนือสุดในปราสาทกลุ่มโลเลย ในอาณาจักรขอมของกัมพูชา สร้างขึ้นในราว พ.ศ. 1435 ในสมัยพระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 เสร็จในสมัยพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 โอรสของพระเจ้าอินทวรมัน นับเป็นปราสาทที่มีลักษณะเหมือนเกาะ อยู่ทางเหนือของใจกลางของบาราย ขนาดกว้าง 800 ม. ยาว 3,800 ม. ปัจจุบันบารายแห้งไม่มีน้ำแล้ว ตัวปราสาทตั้งอยู่กึ่งกลางแกนด้านยาว (ตะวันออก-ตะวันตก) ของบาราย เดิมสันนิษฐานว่าพระเจ้าอินทรวรมันตั้งใจจะสร้างบารายให้กว้างกว่านี้ แต่พระเจ้ายโสวรมันต้องการจะย้ายเมืองหลวงไปนครวัด จึงได้ยุติการขุดสระบารายลงเท่าที่เป็นอยู่ ลักษณะสถาปัตยกรรม เป็นหอ 4 หอ ที่ไม่สมมาตร คือจะให้สำคัญหอ 2 หอด้านตะวันออกกว่า หอด้านตะวันออกเฉียงเหนือค่อนข้างทรุดโทรม ในขณะที่หอด้านตะวันออกเฉียงใต้ได้พังลงเมื่อปี พ.ศ. 2511 โครงสร้างหลักเป็นหินทราย ตกแต่งด้วยอิฐที่ยาด้วยปูน ซึ่งภายหลังแม้จะหลุดล่อนไปตามกาลเวลาแต่ก็ยังพอมีหลงเหลืออยู่บ้าง ส่วนทับหลังแกะสลักหินทรายนั้นยังมีหลายชิ้นที่คงสภาพดีจนถึงทุกวันนี้ ลเลย หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างในพุทธศตวรรษที่ 15 หมวดหมู่:ปราสาทขอม หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างในคริสต์ศตวรรษที่ 9.

ใหม่!!: พระเจ้ายโศวรรมันที่ 1และปราสาทโลเลย · ดูเพิ่มเติม »

นครวัด

นครวัด (អង្គរវត្ត) เป็นหมู่ปราสาทในประเทศกัมพูชาและเป็นศาสนสถานที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยพื้นที่รวมกว่า 162.6 เฮกเตอร์ (1.6 ล้านตารางเมตร ซึ่งเท่ากับ 402 เอเคอร์) แรกเริ่มนั้นสร้างขึ้นเป็นเทวลัยในศาสนาฮินดูเพื่ออุทิศแด่พระวิษณุ ก่อนจะค่อยๆเปลี่ยนแปลงกลายเป็นวัดในศาสนาพุทธในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12 นครวัดสร้างขึ้นในช่วงต้นของคริสศตวรรษที่ 12 โดยพระเจ้าสูรยวรรมันที่ 2 แห่งเมืองยโสธรปุระ (ในปัจจุบันคือเมืองพระนคร) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิเขมร สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นเทวลัยประจำรัฐและเป็นสุสานฝังพระศพ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงการนับถือในลัทธิไศวนิกายของกษัตริย์องค์ก่อนๆ เหตุเพราะนครวัดนั้นสร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่พระวิษณุแทนที่จะเป็นพระศิวะ และเนื่องจากเป็นปราสาทที่ได้รับการอนุรักษ์ดีที่สุดในบริเวณที่ตั้งโดยรอบ นครวัดจึงเป็นปราสาทเพียงแห่งเดียวที่ยังคงความเป็นศูนย์กลางทางศาสนาที่มีความสำคัญมาตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง โดยนครวัดถือจุดสูงสุดของรูปแบบการสร้างสถาปัตยกรรมเขมรแบบดั้งเดิม และได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของประเทศกัมพูชา มีการปรากฏอยู่บนธงชาติ และได้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวของประเทศกัมพูชาที่มีความสำคัญที่สุดในหมู่นักท่องเที่ยว นครวัดได้รวมเอาการวางผังพื้นฐานในสถาปัตยกรรมเขมรสองแบบมาใช้ประกอบเข้าด้วยกัน ซึ่งก็ได้แก่ ผังการสร้างปราสาทให้เสมือนภูเขา (ปราสาทบนฐานชั้น) และการสร้างปราสาทแบบมีระเบียงคดที่มีภาพสลัก การสร้างปราสาทรูปแบบนี้ได้สื่อถึงเขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นสถานที่ที่สถิตของเทพเทวัญในปกรณัมของศาสนาฮินดู ด้านนอกมีคูน้ำและกำแพงล้อม ความยาวรวมกว่า 3.6 กิโลเมตร โดยตัวปราสาทประกอบด้วยระเบียงคดสี่เหลี่ยมที่มีภาพสลักทั้งหมดสามชั้น แต่ละชั้นตั้งอยู่สูงกว่าชั้นล่าง ตรงกลางของปราสาทคือพระปรางค์ที่มีทั้งหมด 5 ยอด นครวัดมีความแตกต่างจากปราสาทในพระนครปราสาทอื่นๆ เนื่องจากมีการหันหน้าไปทางทิศตะวันตก ซึ่งนักวิชาการต่างก็มีความเห็นที่แตกต่างออกไปในเรื่องนัยยะของการสร้างในลักษณะนี้ นครวัดยังได้รับการยกย่องในด้านความงามและความกลมกลืนของตัวสถาปัตยกรรม อาทิ ภาพสลักนูนต่ำที่ใหญ่โต รวมถึงภาพเทวดาที่มีการตกแต่งตามผนังเป็นจำนวนมาก.

ใหม่!!: พระเจ้ายโศวรรมันที่ 1และนครวัด · ดูเพิ่มเติม »

โตนเลสาบ

ทะเลสาบเขมร หรือ โตนเลสาบ (បឹងទន្លេសាប บึงทนฺเลสาบ) เป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่บริเวณตรงกลางของประเทศกัมพูชา มีพื้นที่ ประมาณ 7,500 ตารางกิโลเมตร หรือใหญ่กว่ากรุงเทพฯ ประมาณ 7 เท่า ความลึกโดยเฉลี่ย อยู่ที่ 10 เมตร และเมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำจะท่วมพื้นที่บริเวณรอบ ๆ ทำให้โตนเลสาบขยายตัวออกกว้างมากถึง 6 เท่า ทะเลสาบเขมรเกิดจากแม่น้ำโขง ซึ่งแม่น้ำโขงไหลผ่านมีความยาวถึง 500 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัดของกัมพูชา ได้แก่ กำปงธม กำปงชนัง โพธิสัตว์ พระตะบอง และเสียมราฐ เป็นทะเลสาบที่มีปลาน้ำจืดชุกชุมมากแห่งหนึ่งประมาณ 300 ชนิด จึงมีชาวกัมพูชาเป็นจำนวนมากที่ประกอบอาชีพประมงในบริเวณทะเลสาบแห่งนี้ ทะเลสาบเขมรยังเป็นที่ที่ค้นพบหนึ่งในราชกกุธภัณฑ์ พระแสงขรรค์ชัยศรี อีกด้ว.

ใหม่!!: พระเจ้ายโศวรรมันที่ 1และโตนเลสาบ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Yasovarman Iยโศวรมันที่ 1ยโศวรรมันที่ 1พระเจ้ายโศวรมันที่ 1

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »