เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

พระเจ้าคงมินและราชวงศ์โครยอ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง พระเจ้าคงมินและราชวงศ์โครยอ

พระเจ้าคงมิน vs. ราชวงศ์โครยอ

ระเจ้าคงมินแห่งโครยอ (ค.ศ. 1330 - ค.ศ. 1374) เป็นพระราชาองค์ที่ 31 แห่งราชวงศ์โครยอ (ค.ศ. 1351 - 1374) เป็นผู้ปลดแอกอาณาจักรโครยอจากการครอบงำของมองโกลราชวงศ์หยวน พระเจ้าคงมินเป็นพระโอรสของพระเจ้าชุงซุก (충숙왕, 忠肅王) และพระมเหสีคงวอนตระกูลฮง พระนามว่า วัง คี (왕기, 王祺) องค์ชายวังคีมีพระเชษฐาเป็นองค์ชายรัชทายาทอยู่แล้ว ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าชุงฮเย (충혜왕, 忠惠王) องค์ชายวังคีเสด็จไปเมืองปักกิ่งและอภิเษกกับองค์หญิงมองโกล (ภายหลังคือ องค์หญิงโนกุก (노국대장공주, 魯國大長公主) ในค.ศ. 1344 เมื่อพระเจ้าชุงฮเยสวรรคต พระโอรสทั้งสองของพระเจ้าชุงฮเยก็ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ ได้แก่พระเจ้าชุงมก (충목왕, 忠穆王) และพระเจ้าชุงจอง (충정왕, 忠定王) ในค.ศ. 1344 องค์ชายวังคีได้รับการแต่งตั้งเป็น องค์ชายคังนึง (강릉부원대군, 江陵府院大君) ต่อมากษัตริย์ทั้งสองพระองค์ก็สวรรคตโดยไร้ซึ่งรัชทายาท องค์ชายคังนึงจึงได้ขึ้นครองราชสมบัติในค.ศ. 1351 ราชสำนักเกาหลีในขณะนั้นถูกครอบงำโดยคีชอล (기철, 奇轍) พระเชษฐาของพระจักรพรรดินีฉี (奇皇后) พระจักรพรรดินีของพระจักรพรรดิหยวนฮุ่ยจง (元惠宗) โตคุนเตมูร์ข่าน (Toghun Temür Khan) พระจักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์หยวน คีชอลนั้นถือตนมีอำนาจเหนือพระเจ้าคงมิน พระเจ้าคงมินจึงสั่งประหารชีวิตคีชอลในค.ศ. 1356 และกวาดล้างขุนนางที่สนับสนุนมองโกลทั้งหลาย พระจักรพรรดินีฉี ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนในประเทศจีนขณะนั้นจึงพิโรธพระเจ้าคงมินอย่างมากและส่งทัพมาสังหารพระเจ้าคงมินแก้แค้น พระเจ้าคงมินตัดสินพระทัยที่จะต่อต้านมองโกลอย่างเปิดเผลและสามารถขับทัพมองโกลที่พระจักรพรรดิหยวนส่งมาได้ เป็นการปลดแอกอาณาจักรโครยอจากการครอบงำของราชวงศ์หยวนมากว่าแปดสิบปี ในค.ศ. 1359 ทางมองโกลได้นำทัพเข้าปราบกบฏโพกผ้าแดง (紅巾之亂, Red Turban Rebellion) ที่เมืองเหลียวตง พวกกบฏพากันหลบหนีข้ามแม่น้ำยาลูเข้ามาในโครยอและเข้าปล้นสะดมบ้านเมืองจนพระเจ้าคงมินต้องทรงส่งทัพเข้าขับไล่ออกไป ในค.ศ. 1361 กบฏโพกผ้าแดงได้ส่งทัพเข้ามาบุกโครยอยึดได้เมืองแคซองเป็นการแก้แค้น พระเจ้าคงมินและราชสำนักเสด็จหนีไปยังเมืองอันดง แต่เมืองแคซองก็ถูกกู้กลับคืนมาได้ด้วยฝีมือของขุนพลชเวยอง (최영, 崔瑩) และลีซองกเย พระเจาคงมินยังส่งขุนพลไปยึดดินแดนสองมณฑลที่ราชวงศ์หยวนยึดไปกลับคืนมา โดยในค.ศ. 1356 ส่งลีซองกเยไปยึดมณฑลซังซอง (쌍성부, 雙城府) และในค.ศ. 1370 ยึดมณฑลทงยอง (동녕부, 東寧府) นโยบายต่อต้านมองโกลของพระเจ้าคงมินทำให้พระองค์ไม่เป็นที่พอใจของบรรดาขุนนางเก่าซึ่งล้วนได้รับการสนับสนุนจากราชวงศ์หยวน พระเจ้าคงมินต้องต่อสู้เพื่อลดอำนาจของขุนนางเหล่านี้ ในค.ศ. 1365 องค์หญิงโนกุกสิ้นพระชนม์ขณะกำลังพระครรภ์ ทำให้พระเจ้าคงมินหมดอาลัยตายอยากกับพระชนม์ชีพ ทิ้งกิจการบ้านเมืองทั้งหมดไว้แก่พระภิกษุชื่อว่าชินตน (신돈, 辛旽) ซึ่งชินตนก็ได้ต่อสู้กับขุนนางที่เข้าข้างมองโกลแทนพระเจ้าคงมินจนกระทั่งถูกขับออกจากราชสำนักในค.ศ. 1371 ในค.ศ. 1368 จูหยวนจาง (朱元璋) ล้มราชวงศ์หยวนได้และตั้งราชวงศ์หมิง จูหยวนจางหรือพระจักรพรรดิหงหวู่ (洪武帝) ได้ส่งทูตมาเรียกบรรณาการ ซึ่งพระเจ้าคงมินก็ยอมอ่อนน้อมแต่โดยดี จนในที่สุด พระเจ้าคงมินก็ถูกฮงยุน (홍윤, 洪倫) และชเวมันแซง (최만생, 崔萬生) ลองปลงพระชนม์ในห้องบรรทม และยกพระโอรสวัง อู (왕우, 王禑) ซึ่งเกิดจากนางทาสพันยา (반야, 般若 ซึ่งมีความสัมพันธ์กับพระภิกษุชินตนด้วย) ขึ้นเป็นพระราชาองค์ต่อไป เป็นผลให้ราชสำนักโครยอมีนโยบายหันเข้าหามองโกลอีกครั้ง ในเวลาต่อมาพระจักรพรรดิหงหวู่ได้พระราชทานพระนามแก่พระเจ้าคงมินว่า พระเจ้าคงมิน (공민왕, 恭愍王) ไฟล์:Cheonsandaeryeopdo.jpg. ราชวงศ์โครยอ (ค.ศ. 918 - ค.ศ. 1392) ก่อตั้งใน ค.ศ. 918 และรวบรวมสามแคว้นหลังได้ใน ค.ศ. 936 จนคาบสมุทรเกาหลีเป็นหนึ่งเดียวอีกครั้งหลังสมัยชิลลา จนถูกโค่นล้มโดยลีซองเกใน ค.ศ. 1392 สมัยโครยอเป็นสมัยที่ลัทธิขงจื้อเข้ามาในเกาหลีอย่างเต็มตัว เป็นสมัยที่ทหารปกครองบ้านเมือง และการยึดครองของมองโกลก็ทำให้วัฒนธรรมมองโกลหลั่งไหลเข้าสู่เกาหลี สมัยโครยอเป็นสมัยที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองในเกาหลี มีการพิมพ์พระไตรปิฏกภาษาเกาหลีเป็นฉบับแรก คือ ไตรปิฏก โคเรียนะ เก็บไว้ที่วัดแฮอินซา Map of Goryeo คำว่า "โครยอ" มาจาก "โคกูรยอ" หนึ่งในสามอาณาจักรโบราณของคาบสมุทรเกาหลี และเป็นที่มาของคำว่า "โคเรีย" ในภาษาอังกฤษ (โดยเรียกเพี้ยนมาจากคำว่า "โกเร" ที่หมายถึงอาณาจักรแห่งนี้ในความหมายของชาวอาหรับ) และ "เกาหลี" ในภาษาจีนกลางและภาษาไท.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง พระเจ้าคงมินและราชวงศ์โครยอ

พระเจ้าคงมินและราชวงศ์โครยอ มี 11 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พระเจ้าชุงมกพระเจ้าชุงฮเยพระเจ้าชุงจองพระเจ้าชุงซุกพระเจ้าอูแห่งโครยอพระเจ้าแทโจแห่งโชซ็อนราชวงศ์หมิงราชวงศ์หยวนจักรพรรดินีคีจักรวรรดิมองโกลแคซ็อง

พระเจ้าชุงมก

ระเจ้าชุงมก ครองราชย์ปี(ค.ศ.1344-1348) เทียบเป็น..

พระเจ้าคงมินและพระเจ้าชุงมก · พระเจ้าชุงมกและราชวงศ์โครยอ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าชุงฮเย

้าชุงฮเยแห่งโครยอ (ค.ศ. 1315 - ค.ศ. 1344) เป็น เจ้าผู้ครอง องค์ที่ 28 แห่งแคว้นโครยอ (ค.ศ. 1330 - 1332 และ ค.ศ. 1339 - ค.ศ. 1344) เจ้าชุงฮเยเป็นพระโอรสของพระเจ้าชุงซุก (충숙왕, 忠肅王) และพระมเหสีคงวอน ตระกูลฮง ชาวเกาหลี เจ้าชุงฮเยมีพระนามภาษามองโกลว่า บุดดาชี (มาจาก พุทธศรี Buddhasri) ใน..

พระเจ้าคงมินและพระเจ้าชุงฮเย · พระเจ้าชุงฮเยและราชวงศ์โครยอ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าชุงจอง

ระเจ้าชุงจอง ครองราชย์ปี(ค.ศ.1348-1351) เทียบเป็น..1891-1894 มีความวุ่นวายหลายอย่างในสมัยของพระองค์อำนาจในวังตกอยู่กับพวกพ้องฝ่ายญาติๆของพระมารดากับขุนนางใหญ่ชื่อ ยุนซิยู พร้อมกันนั้นก็เริ่มถูกรุกรานจากโจรสลัดญี่ปุ่นอีกด้วย พระองค์ถูกสังหารในเวลาต่อมาจากนั้นลุงของพระองค์ซึ่งก็คือ วังกี ได้ครองแผ่นดินในนามของพระเจ้าคงมิน.

พระเจ้าคงมินและพระเจ้าชุงจอง · พระเจ้าชุงจองและราชวงศ์โครยอ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าชุงซุก

ระเจ้าชุงซุกแห่งโครยอ (ค.ศ. 1294 - ค.ศ. 1339) เป็น พระราชาองค์ที่27แห่งราชวงศ์โครยอ (ค.ศ. 1313 -1330 และ ค.ศ. 1332 - ค.ศ. 1339) พระเจ้าชุงซุกเป็นพระโอรสของเจ้าชุงซอน (충선왕, 忠宣王) และพระมเหสียาซุกจิน (야속진) ใน..

พระเจ้าคงมินและพระเจ้าชุงซุก · พระเจ้าชุงซุกและราชวงศ์โครยอ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าอูแห่งโครยอ

ระเจ้าอูแห่งโครยอ (ค.ศ. 1365 - ค.ศ. 1389) เป็นพระราชาองค์ที่ 32 แห่งราชวงศ์โครยอ (ค.ศ. 1374 - 1388) พระเจ้าอู พระนามว่า วัง อู (왕우, 王禑) เป็นพระโอรสของพระเจ้าคงมิน (공민왕, 恭愍王) และนางทาสพันยา (반야, 般若) อย่างไรก็ตามนางทาสพันยานั้นเดิมเป็นอนุภรรยาของพระภิกษุชินตน (신돈, 辛旽) พระภิกษุซึ่งได้สำเร็จราชการแทนพระเจ้าคงมินในช่วง..

พระเจ้าคงมินและพระเจ้าอูแห่งโครยอ · พระเจ้าอูแห่งโครยอและราชวงศ์โครยอ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าแทโจแห่งโชซ็อน

ระเจ้าแทโจ (ค.ศ. 1335 - ค.ศ. 1408) เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์โชซ็อนของเกาหลี (ค.ศ. 1392 - ค.ศ. 1398) พระนามเดิมว่า อี ซ็อง-กเย ทรงย้ายเมืองหลวงของเกาหลีไปยังเมืองฮันซ็องและตั้งลัทธิขงจื๊อใหม่ (Neo-Confucianism) เป็นศาสนาประจำชาต.

พระเจ้าคงมินและพระเจ้าแทโจแห่งโชซ็อน · พระเจ้าแทโจแห่งโชซ็อนและราชวงศ์โครยอ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์หมิง

ราชวงศ์หมิง หรือ ราชวงศ์เบ๋ง (ฮกเกี้ยน) หรือ ราชวงศ์เม้ง (แต้จิ๋ว) หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ จักรวรรดิต้าหมิง เป็นราชวงศ์ที่ปกครองจักรวรรดิจีน ระหว่าง พ.ศ. 1911 (ค.ศ. 1368) ถึง พ.ศ. 2187 (ค.ศ. 1644) ดำรงอยู่เป็นเวลารวม 276 ปี โดยปกครองต่อจากราชวงศ์หยวนของชาวมองโกล และพ่ายแพ้ให้กับราชวงศ์ชิงของชาวแมนจูในภายหลัง ราชวงศ์หมิงเป็นราชวงศ์ที่รุ่งเรืองในด้านวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก ในยุคนี้มีการสำรวจทางทะเลอย่างกว้างขวาง ราชวงศ์หมิงในตอนต้น (1368 - 1464) ถือเป็นอาณาจักรที่ก้าวหน้าที่สุดในโลก ณ ช่วงเวลานั้น ราชวงศ์หมิงถือเป็นหนึ่งในยุคที่ถูกจัดโดยนักวิชาการชาวตะวันตกว่ามีการปกครองที่เป็นระบบและสังคมที่มีเสถียรภาพในประวัติศาสตร์มนุษย์ชาติก่อนที่จะล่มสลาย ราชวงศ์หมิงถือเป็นราชวงศ์ที่ปกครองประเทศจีนราชวงศ์สุดท้ายที่ปกครองโดยชาวฮั่น ปฐมจักรพรรดิต้าหมิง จูหยวนจาง หรือ จักรพรรดิหงหวู่ หลังจากที่ได้ทรงประกาศปลดแอกชาวฮั่นจากภายใต้การปกครองของราชวงศ์หยวนของชาวมองโกล ได้สถาปนาราชวงศ์หมิงขึ้น พระองค์ได้ทรงพยายามปฏิรูปการปกครองอาณาจักรเสียใหม่ ทรงพยายามสร้างระบบสังคมชุมชนชนบทแบบพึ่งพาตนเอง ปฏิรูประบบราชการ, กฎหมาย จักรพรรดิหงหวู่ได้สร้างระบบที่เป็นระเบียบที่ยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลงได้ที่จะสามารถรองรับและสนับสนุนการทหารของราชวงศ์หมิงอย่างยั่งยืน ทำให้ด้านการทหารในช่วงนั้นราชวงศ์หมิงประสบความสำเร็จมีกองทัพภาคพื้นดินเกินกว่า 1 ล้านคนและกองทัพเรือมีอู่ต่อเรือที่หนานจิงเป็นอู่ต่อเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลกในขณะนั้น พระองค์ยังได้ทรงตระหนักถึงการลดทอนอำนาจของเหล่าขันทีในราชสำนักCrawford, Robert.

พระเจ้าคงมินและราชวงศ์หมิง · ราชวงศ์หมิงและราชวงศ์โครยอ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์หยวน

ตแดนของจักรวรรดิจีนสมัยราชวงศ์หยวน เครื่องปั้นดินเผา สมัยราชวงศ์หยวน ราชวงศ์หยวน (หยวนเฉา) (พ.ศ. 1814 - 1911) คือหนึ่งในราชวงศ์ของจักรวรรดิจีน ก่อตั้งขึ้นเมื่อกุบไลข่านผู้นำเผ่าชาวมองโกล ได้โค่นอำนาจราชวงศ์ซ่งลง แล้วเปิดศักราชชาวมองโกลครองประเทศจีน ชาวมองโกลได้เข้ายึดครองภาคเหนือของจีนเป็นเวลากว่าทศวรรษ ได้มีความพยายามเปลี่ยนเป็นจีน ตั้งแต่สมัย มองเกอ ข่าน พระเชษฐาของกุบไลข่าน แต่ไม่สำเร็จ จนกระทั่งในสมัยของกุบไลข่าน ในปี..

พระเจ้าคงมินและราชวงศ์หยวน · ราชวงศ์หยวนและราชวงศ์โครยอ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินีคี

มเด็จพระจักรพรรดินีตระกูลคี หรือ สมเด็จพระจักรพรรดินีตระกูลฉี (ภาษาจีน: 奇皇后; ภาษาเกาหลี: 기황후; ค.ศ. 1315 - ค.ศ. 1369) หรือ สมเด็จพระจักรพรรดินีโอลชีคูตูค (ภาษาจีน: 完者忽都; ภาษามองโกล: Ölǰei Khutugh) เป็นพระจักรพรรดินีในพระจักรพรรดิหยวนฮุ่ยจง (ภาษาจีน: 惠宗 Huizong) ทอคอนเตมูร์ (ภาษามองโกล: toγan temür) มีพื้นเพเดิมเป็นชาวเกาหลีในสมัยอาณาจักรโครยอ เป็นสตรีที่ทรงอำนาจของจีนในสมัยราชวงศ์หยวนตอนปลาย นางสาวคีเกิดที่เมืองแฮงจู (ภาษาเกาหลี: Haengju; ปัจจุบันอยู่ทางตอนเหนือของโซล) ในค.ศ. 1315 เป็นบุตรสาวของคีจาโอ (ภาษาเกาหลี: Ki Ja-o 奇子敖) ขุนนางฝ่ายทหารคนหนึ่งของอาณาจักรโครยอ ไม่ปรากฏว่านางสาวคีนั้นมีชื่อเดิมเป็นภาษาเกาหลีว่าอย่างไร นางสาวคีมีพี่ชายชื่อว่า คี ชอล (ภาษาเกาหลี: Ki Cheol 奇轍) ในค.ศ. 1332 ทางฝ่ายราชวงศ์หยวนมีพระจักรพรรดิพระองค์ใหม่ขึ้นครองราชย์คือ พระจักรพรรดิทอคอนเตมูร์ นางสาวคีอายุสิบเจ็ดปีได้รับการคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในบรรดาสาวดรุณีที่ราชสำนักโครยอต้องส่งมอบให้แก่ราชสำนักหยวนเป็นบรรณาการ นางสาวคีจึงจำต้องจากบ้านเกิดของตนเองไปยังกรุงต้าตู (Dadu) อันเป็นราชธานีของราชวงศ์หยวน หรือปักกิ่งในปัจจุบัน เพื่อเป็นนางในคอยปรนนิบัติรับใช้พระจักรพรรดิโทคนเตมือร์ ด้วยความช่วยเหลือของโคยงโบ (ภาษาเกาหลี: Go Yongbo 고용보) ขันทีชาวเกาหลีในราชสำนักหยวน ทำให้นางในคีได้มีโอกาสทำหน้าที่ถวายเครื่องดื่มและน้ำชาแด่พระจักรพรรดิทอคอนเตมูร์อย่างใกล้ชิด จนเป็นที่ต้องพระเนตรของจักรพรรดิทอคอนเตมูร์ ในค.ศ. 1340 พระสนมตระกูลคีได้ให้กำเนิดพระโอรสองค์แรกแด่พระจักรพรรดิทอคอนเตมูร์ คือ เจ้าชายอายูร์ชีรีดาร์ (ภาษามองโกล: Ayushiridara) พระสนมตระกูลคีจึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระจักรพรรดินีตระกูลคี หรือ พระจักรพรรดินีโอลชีคูตูค แม้ว่าในขณะนั้นพระจักรพรรดิทอคอนเตมูร์จะทรงมีพระจักรพรรดินีอยู่แล้วก็ตามคือ พระจักรพรรดินี บายันคูตูค (ภาษามองโกล: Bayan Khutugh) เท่ากับว่าในเวลานั้นราชวงศ์หยวนมีพระจักรพรรดินีในเวลาเดียวกันสองพระองค์ พระจักรพรรดินีดีทรงมีขันทีชาวเกาหลีคนสนิทคือ พัคบุลฮวา (ภาษาเกาหลี: Bak Bulhwa 박불화) ที่คอบรับใช้พระจักรพรรดินีทำงานต่างๆ ในค.ศ. 1353 พระจักรพรรดินีคีวางแผนร่วมกับพัคบุลฮวา และขุนนางมองโกลชื่อว่าฮามา (Hama) ทำการโน้มน้าวให้พระจักรพรรดิทอคอนเตมูร์แต่งตั้งเจ้าชายอายูร์ชีรีดาร์พระโอรสของพระนางเป็นไท่จื่อหรือเจ้าชายรัชทายาท แต่แผนการนี้ถูกอัครเสนาบดีทอคตอค (Toghtogha) คัดค้าน พระจักรพรรดินีคีจึงทรงกำจัดทอคตอคด้วยการสร้างข้อกล่าวทุจริตฉ้อฉลแก่โทคตา เป็นเหตุให้ทอคตอคถูกปลดจากตำแหน่งและเนรเทศออกไปในค.ศ. 1354 และเจ้าชายอายูร์ชีรีดาร์จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าชายรัชทายาทในปีเดียวกัน ด้วยฐานะพระจักรพรรดินีแห่งหยวน ทำให้ตระกูลคีของพระนางเรืองอำนาจอยู่ในอาณาจักรโครยอบ้านเกิด พระเชษฐาคีชอลกลายเป็นผู้กุมอำนาจการปกครองที่แท้จริงและมีชื่อเสียงในด้านความทุจริตฉ้อฉล เป็นตัวแทนของมองโกลคอยกำกับดูแลให้ราชสำนักโครยอปฏิบัติตามนโยบายของหยวน แม้แต่พระมารดาของจักรพรรดินีคีนั้นก็มีศักดิ์สูงกว่าพระเจ้าคงมินแห่งโครยอ (Gongmin of Goryeo) จนกษัตริย์เกาหลีต้องทรงทำความเคารพมารดาของพระนาง พระเจ้าคงมินทรงตัดสินพระทัยนำทัพเข้ายึดอำนาจจากตระกูลคี สังหารคีชอลรวมทั้งมารดาและสมาชิกครอบครัวคีไปจนหมดสิ้นในค.ศ. 1356 สร้างความพิโรธแค้นให้แก่จักรพรรดินีคีเป็นอย่างมากจึงส่งทัพบุกไปยังอาณาจักรโครยอเพื่อปลดพระเจ้าคงมินจากบัลลังก์แล้วตั้งเจ้าชายทัชเตมูร์ (Tash Temür) เป็นกษัตริย์เกาหลีพระองค์ใหม่ แต่ทัพมองโกลก็ได้ถูกทัพเกาหลีตีแตกพ่ายไป ในค.ศ. 1364 เจ้าชายอายูร์ชีรีดาร์เจริญชันษาขึ้นมาจึงคิดชิงราชบัลลังก์หยวนจากพระจักรพรรดิทอคอนเตมูร์พระบิดา แต่ทว่าแผนการล่วงรู้ไปถึงพอดลัดเตมูร์ (Bolad Temür) ผู้เป็นพระบิดาของพระจักรพรรดินีบายันคูตูค พอดลัดเตมูร์จึงนำกองกำลังเข้ายึดเมืองต้าตูข่านบาลิกเป็นเหตุให้เจ้าชายรัชทายาทต้องเสด็จหนีออกจากเมือง พอดลัดเตมูร์จับองค์จักรพรรดินีคีไว้เป็นตัวประกันและสังหารขันทีพัคบุลฮวา เมื่อทราบว่าเจ้าชายอายูร์ชีรีดาด้วยการสนับสนุนของโคเกเตมูร์ (Köke Temür) หมายจะยกทัพเข้ามายึดเมืองคืน พอดลัดเตมูร์จึงได้บังคับให้พระจักรพรรดินีดีออกพระราชเสาวนีย์เรียกให้พระโอรสมาเข้าเฝ้าตัวเปล่า แต่เจ้าชายอายูร์ชีรีดาร์ก็มิได้ทำตาม ยกทัพเข้ายึดเมืองต้าตูคืนได้สำเร็จ พอดลัดเตมูร์ถูกลอบสังหารโดยคนที่พระจักรพรรดิทรงส่งมา พระจักรพรรดินีคีและเจ้าชายอายูร์ชีรีดาร์ประสงค์จะให้พระจักรพรรดิโทคนเตมือร์สละราชบัลลังก์ ซึ่งพระจักรพรรดิไม่ทรงยอมแต่มอบตำแหน่งทางทหารให้แก่พระโอรสจนเป็นที่พอพระทัย ในค.ศ. 1365 พระจักรพรรดินีบายันคูตูคสิ้นพระชนม์ พระจักรพรรดินีคีจึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระจักรพรรดินีเพียงหนึ่งเดียวของราชวงศ์หยวน อีกเพียงสามปีต่อมาค.ศ. 1368เมืองต้าตูข่านบาลิกเสียให้แก่พระจักรพรรดิหงหวู่ (Hongwu Emperor) จูหยวนจาง (ภาษาจีน: 朱元璋 Zhu Yuanzhang) แห่งราชวงศ์หมิง พระจักรพรรดิตอคอนเตมูร์พร้อมทั้งพระจักรพรรดินีคีและพระโอรสเจ้าชายอายูร์ชีรีดาร์ทั้งสามพระองค์เสด็จหนีไปยังเมืองซ่างตู (ภาษาจีน: 上都 Shangdu ปัจจุบันอยู่ในเขตมองโกเลียใน) ต่อมาค.ศ. 1370 เมืองซ่างตูเสียให้แก่ราชวงศ์หมิง ทั้งสามพระองค์จึงเสด็จหนีต่อไปยังเมืองอิงชาง (ภาษาจีน: 應昌 Yingchang) ซึ่งพระจักรพรรดิทอคอนเตมูร์ประชวรสวรรคตที่นั่น ในปีเดียวกันทัพราชวงศ์หมิงตามมาถึงเมืองอิงชาง พระจักรพรรดินีคีพร้อมพระโอรสจึงเสด็จหนีต่อไปยังเมืองคาราโครุม (Karakorum) หลังจากที่เสด็จหนีไปยังมองโกเลียแล้วไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับพระจักรพรรดินีคีอีกเลย นักประวัติศาสตร์คาดการณ์ว่าหลังจากที่เจ้าชายอายูร์ชีรีดาร์ทรงก่อตั้งราชวงศ์หยวนเหนือ ขึ้นครองราชย์เป็นพระจักรพรรดิหยวนเจ้าจง (ภาษาจีน: 昭宗 Zhaozong) พระจักรพรรดินีคีน่าจะดำรงตำแหน่งเป็นไทเฮาอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง ก่อนจะสิ้นพระชนม์ไปโดยที่ไม่ทราบว่าเป็นปีใ.

จักรพรรดินีคีและพระเจ้าคงมิน · จักรพรรดินีคีและราชวงศ์โครยอ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิมองโกล

อาณาเขตของจักรวรรดิมองโกล จักรวรรดิมองโกล (มองโกล: Mongolyn Ezent Güren; Mongol Empire) ซึ่งมีอยู่ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 13 และ 14 เป็นจักรวรรดิทางบกที่มีอาณาเขตต่อเนื่องใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ กำเนิดในสเต็ปป์เอเชียกลาง สุดท้ายจักวรรดิมองโกลมีอาณาเขตครอบคลุมยุโรปตะวันออกจนถึงทะเลญี่ปุ่น ขยายไปทางเหนือเข้าไปในไซบีเรีย ทางตะวันออกและใต้เข้าไปในอนุทวีปอินเดีย อินโดจีนและที่ราบสูงอิหร่าน และทางตะวันตกไปไกลถึงเลแวนต์และคาบสมุทรอาหรับ จักรวรรดิรวมเผ่าชนเร่ร่อนมองโกเลียในประวัติศาสตร์ภายใต้การนำของเจงกิสข่าน ผู้ได้รับประกาศเป็นผู้ปกครองชาวมองโกลทั้งปวงใน..

จักรวรรดิมองโกลและพระเจ้าคงมิน · จักรวรรดิมองโกลและราชวงศ์โครยอ · ดูเพิ่มเติม »

แคซ็อง

แคซ็อง เดิมมีชื่อว่า ช็องโด เป็นเมืองหลวงเก่าของเกาหลีสมัยราชวงศ์โครยอ ตังแต่รัชกาลพระเจ้าแทโจ แต่พอขึ้นรัชกาลพระเจ้าแทโจแห่งราชวงศ์โชซ็อน ทรงย้ายราชธานีจากแคซ็องไปอยู่ที่ฮันยังหรือฮันซ็อง (กรุงโซลในปัจจุบัน) พอถึงรัชกาลพระเจ้าแทจง โปรดให้ย้ายราชธานีกลับมาที่นี่ แต่พอขึ้นรัชกาลพระเจ้าเซจงมหาราชก็โปรดให้ย้ายราชธานีกลับไปที่ฮันยังจนถึงปัจจุบัน คแคซ็อง คแคซ็อง คแคซ็อง.

พระเจ้าคงมินและแคซ็อง · ราชวงศ์โครยอและแคซ็อง · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง พระเจ้าคงมินและราชวงศ์โครยอ

พระเจ้าคงมิน มี 19 ความสัมพันธ์ขณะที่ ราชวงศ์โครยอ มี 98 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 11, ดัชนี Jaccard คือ 9.40% = 11 / (19 + 98)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง พระเจ้าคงมินและราชวงศ์โครยอ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: