โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระพรหม

ดัชนี พระพรหม

ระพรหม (ब्रह्मा; Brahma; బ్రహ్మ) เป็นเทพเจ้าสูงสุด (ตรีมูรติ) ในคติของศาสนาฮินดู เป็นเทพเจ้าแห่งการสร้างสรรค์ ความเมตตา เป็นพระผู้สร้างโลกและให้กำเนิดสิ่งต่าง ๆ ในจักรวาล และให้กำเนิดคัมภีร์พระเวท พระพรหมมีสี่พักตร์ พระศอสวมลูกประคำ พระหัตถ์แต่ละข้างถือดอกบัว, คัมภีร์ และหม้อน้ำ มีพาหนะเป็นหงส์ หรือ ห่าน พระชายา คือ พระสุรัสวดี เทพีแห่งศิลปะวิทยาการและความรอบรู้ ในคัมภีร์มัตสยาปุราณะเล่าว่า พระพรหมเดิมทีมีถึงห้าพักตร์ การที่มีห้าพักตร์เกิดจาก การที่พระพรหมให้ได้กำเนิดผู้หญิงนางหนึ่งชื่อ ศตรูป ขึ้นมา ความงามของศตรูปทำให้พระองค์หลงใหล เมื่อศตรูปนี้เคลื่อนไปทางใด พระพรหมก็จะหันพระพักตร์เพื่อมองตามไปด้วย แต่ว่ามีครั้งหนึ่งที่พระพรหมไปดูแคลนพระศิวะเข้า ทำให้พระศิวะพิโรธ และใช้ไฟบรรลัยกัลป์จากพระเนตรที่สามที่กลางพระนลาฏเผาพระพักตร์ที่อยู่ด้านบนเศียรของพระพรหม จนเหลือเพียงสี่พักตร์ แต่อีกความเชื่อหนึ่งเล่าว่า เพราะพักตร์ด้านบนของพระพรหมนั้นเจิดจรัสมาก ทำให้พวกสุระและอสุระทนไม่ได้ จึงขอร้องให้พระศิวะเป็นผู้ตัดให้ และยังเชื่อด้วยว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างบุคคลในวรรณะต่าง ๆ จากอวัยวะแต่ละส่วน ได้แก่ พราหมณ์เกิดจากพระโอษฐ์, กษัตริย์ เกิดจากอก, แพศย์เกิดจากส่วนท้อง และศูทรเกิดจากเท้า ตามมติของพราหมณาจารย์แต่โบราณกล่าวถึงตำราพรหมชาติ ว่าเป็นตำราที่มาจากพรหม ตำราพุทธลักษณะที่ฤษีแต่งไว้ก็มาจากพรหม เหตุที่รู้เห็นถึงพุทธลักษณะได้เพราะพรหมเป็นผู้มีอายุยืนและได้รู้เห็นเรื่องราวต่างๆอยู่ตลอดกาลนาน เมื่อเวลาพราหมณ์หนุ่มเที่ยวสืบหาที่เรียนและทำความเคารพนบนอบในผู้เฒ่าผู้แก่อยู่นั้น พระพรหมเห็นแก่ความกรุณา พอทราบเรื่อง จึงได้แปลงเพศมาเป็นพราหมณ์ฤษีแล้วบอกวิชา ทั้งเรื่องมนต์ ไสยเวท ตำราพยากรณ์ ตำราดูลักษณะของหมอดู ต่างๆนั้นเองพราหมณ์จึงถือว่ามาจากพรหม และจึงได้นับถือกันว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์มีความงดงาม แม้คัมภีร์ปิงคละดาบส ตำราโตลกจือโหราศาสตร์จีน ถึงตลอดคัมภีร์โหราศาสตร์ในรุ่นหลังๆ ก็ได้กล่าวว่าได้มาแต่ฤษีและเทวะบันดาล อาจารย์ผู้ที่เรียนรู้ไว้ต่างกล่าวถึงสิ่งมงคลนี้ในทำนองเดียวกัน ในคติของชาวไทยที่รับคติความเชื่อจากศาสนาพรหมณ์-ฮินดู เชื่อว่าพระพรหมเป็นผู้ลิขิต ชะตาชีวิตของบุคคลต่าง ๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย เรียกว่า "พรหมลิขิต" และผู้ใดที่บูชาพระพรหมอยู่เป็นนิจ พระองค์จะประทานพรให้สมหวัง เรียกว่า "พรพรหม" หรือ "พรหมพร" และยังเป็นเทพประจำทิศเบื้องบนอีกด้วย ด้วยเหตุดังนี้ พระพรหมจึงมีพระนามต่าง ๆ อาทิ "พรหมธาดา" หรือ "ประชาบดี" (ผู้สร้าง), "หงสรถ" หรือ "หงสวาหน" (ผู้มีหงส์เป็นพาหนะ), "จตุรพักตร์" (ผู้มีสี่หน้า), "ปรเมษฐ์" (ผู้ประเสริฐ) เป็นต้น ส่วนในลิลิตโองการแช่งน้ำเรียกว่า "ขุนหงส์ทองเกล้าสี่" โดยความหมายของคำว่า "พรหม" หมายถึง "ความเจริญ, ความกว้างขวาง, ความขยายตัว หรือความเบิกบาน" ดังนั้นตามคติและวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ทั้งในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพุทธศาสนาจึงมีคำว่า พรหม ประกอบคำศัพท์ เช่น "พรหมจรรย์", "พรหมบุตร" หรือ "พรหมวิหาร 4" เป็นต้น.

25 ความสัมพันธ์: พรหมภูมิพรหมวิหาร 4พระสุรัสวดีพระผู้สร้างพระเวทพราหมณ์กษัตริย์รัฐกรณาฏกะฤๅษีลิลิตโองการแช่งน้ำวรรณะศาสนาฮินดูสังสารวัฏสัตวโลกหงส์ห่านอวัยวะตรีมูรติฉกามาพจรประเทศอินเดียประเทศไทยแม่น้ำพรหมบุตรโหราศาสตร์เทวรูปเทวสถาน

พรหมภูมิ

อรูปพรหม (ฉบับกรุงศรี) พรหมภูมิ หรือ พรหมโลก ถือเป็นดินแดนของพระพรหม ซึ่งเป็นภพภูมิที่สถิตย์อยู่เสวยสุขของพระพรหมผู้อุบัติเกิดในพรหมวิมาน ณ พรหมโลก อันเป็นแดนซึ่งมีแต่ความสุขอันเกิดจากฌานเท่านั้น (แบ่งชั้นตามอำนาจฌานที่ได้บรรลุ) ในภพภูมินี้ตามคัมภีร์กล่าวว่าปราศจากความสุขที่เนื่องด้วยกามราคะ พรหมภูมิอาจแบ่งออกเป็น 2 พวก ได้แก่ รูปพรหม และ อรูปพรหม.

ใหม่!!: พระพรหมและพรหมภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

พรหมวิหาร 4

รหมวิหาร 4 หรือ พรหมวิหารธรรม เป็นหลักธรรมประจำใจเพื่อให้ตนดำรงชีวิตได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์เฉกเช่นพรหม เป็นแนวธรรมปฏิบัติของผู้ที่ผู้ปกครอง และการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ประกอบด้วยหลักปฏิบัติ 4 ประการ ได้แก.

ใหม่!!: พระพรหมและพรหมวิหาร 4 · ดูเพิ่มเติม »

พระสุรัสวดี

ระสุรัสวตี เทวีอักษรศาสตร์(ตราสัญลักษณ์ประจำคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พระสุรัสวดี หรือ พระสรัสวดี (सरस्वती สรสฺวตี) เป็นเทพสตรีในศาสนาฮินดู ทรงอุปถัมภ์ความรู้, ศิลปะ, ดนตรี, ปัญญา และการเรียนรู้Kinsley, David (1988).

ใหม่!!: พระพรหมและพระสุรัสวดี · ดูเพิ่มเติม »

พระผู้สร้าง

ระยาห์เวห์ทรงสร้างอาดัม พระผู้สร้าง (Creator) หมายถึง พระเป็นเจ้า (ตามความเชื่อแบบเอกเทวนิยม) หรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ (ตามความเชื่อแบบพหุเทวนิยม) ที่มีอำนาจบันดาลให้โลก (ทั้งเอกภพและจักรวาล) เกิดขึ้น.

ใหม่!!: พระพรหมและพระผู้สร้าง · ดูเพิ่มเติม »

พระเวท

ระเวท คัมภีร์ในศาสนาฮินดู หน้าหนึ่งจากอาถรรพเวท พระเวท (वेद) โดยทั่วไปถือว่าเป็นคัมภีร์ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู หากกล่าวโดยเฉพาะลงไป หมายถึง บทสวดต่างๆ ที่เกี่ยวกับความเชื่อของชาวอินโดอารยัน หรืออาจเรียกได้ว่าศาสนาพราหมณ์ฮินดู โดยมีการรวบรวมเป็นหมวดหมู่ในชั้นหลัง คำว่า “เวท” นั้น หมายถึง ความรู้ มาจากธาตุ “วิทฺ” (กริยา รู้) คัมภีร์พระเวท ประกอบด้วยคัมภีร์ 4 เล่ม ได้แก่ ฤคเวทใช้สวดสรรเสริญเทพเจ้า สามเวทใช้สำหรับสวดในพิธีกรรมถวายน้ำโสมแก่พระอินทร์และขับกล่อมเทพเจ้า ยชุรเวทว่าด้วยระเบียบวิธีในการประกอบพิธีบูชายัญและบวงสรวงต่างๆ และ อาถรรพเวท ใช้เป็นที่รวบรวมคาถาอาคมหรือเวทมนตร์ นักประวัติศาสตร์จำนวนมาก ถือว่า พระเวท เป็นส่วนที่เก่าที่สุดที่เหลืออยู่ สำหรับส่วนที่ใหม่สุดของพระเวท น่าจะมีอายุราวพุทธกาล และส่วนที่เก่าสุด ราว 1,000 ปีก่อนพุทธกาล แต่นักภารตวิทยาเชื่อว่า เนื้อหาของคัมภีร์เหล่านี้น่าจะได้มีการท่องจำกันมาก่อนการบันทึกเป็นเวลานานมากแล้ว ซึ่งมีหลักฐานจากลักษณะทางภาษา และปริบททางสังคมต่าง.

ใหม่!!: พระพรหมและพระเวท · ดูเพิ่มเติม »

พราหมณ์

ราหมณ์ (อักษรเทวนาครี: ब्राह्मण) เป็นวรรณะหนึ่งในแนวคิดศาสนาพราหมณ์-ฮินดู นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น วิปฺระ, ทฺวิช, ทฺวิโชตฺตมะ หรือ ภูสร เป็นต้น พราหมณนั้นเป็นวรรณะหนึ่งในสี่วรรณะของสังคมอินเดีย เป็นผู้สืบทอดวิชาความรู้ ในคัมภีร์ ไตรเวทพิธีกรรม จารีต ประเพณี ศิลปะวัฒนธรรม และคติความเชื่อต่าง ๆ ให้สืบทอดต่อไป หรือไม่สืบทอดก็ได้โดยใช้ชีวิตตามปกติชนคนธรรมดาทั่วไป คงไว้ให้ผู้ใดในตระกูลสืบทอดแทน เป็นผู้มีสิทธิ์เลือก แบ่งแยกเป็นนิกายคือ พวกไศวนิกาย จะถือเพศ นุ่งขาว ห่มขาว ไว้มวยผม ถือศีล จริยาวัตรของพราหมณ์ มีครอบครัวได้ อยู่บ้าน หรือ เทวะสถาน ประจำลัทธิ นิกายแห่งตน อีกนิกายหนึ่งคือ ไวษณวะนิกาย จะไว้ผมเปียหรือมวยผม ถือเพศพรหมจรรย์ กินมังสวิรัติ ไม่ถูกต้องตัวสตรีเพศ นุ่งห่มสีขาว หรือสีต่าง ๆตามวรรณะนิกาย และอาศัยอยูในเทวสถาน ในการบวชเป็นพราหมณ์หลวง จะต้องได้รับความยินยอมจากที่ประชุมพราหมณ์ ในทำเนียบพราหมณ์หลวง โดยผู้บวชจะนำของมาถวายพราหมณ์ผู้ใหญ่ แล้วพราหมณ์ผู้ใหญ่จะมอบสายสิญจน์รับพราหมณ์ใหม่ หรือทวิชาติ ซึ่งหมายถึงการเกิดครั้งที่ 2 ซึ่งการบวชพราหมณ์ไม่ได้มีกฎปฏิบัติจำนวนมากเหมือนกับการบวชพระ โดยถือศีล 5 เป็นศีลปฏิบัติ สามารถแต่งกายสุภาพเหมือนผู้ชายทั่วไปในเวลาปกติ และสวมเครื่องแบบเป็นเสื้อราชปะแตนและโจงกระเบนสีขาวในยามประกอบพิธีกรรม รวมถึงสามารถมีภรรยาเพื่อมีทายาทสืบตระกูลพราหมณ์ต่อไปได้ กระนั้นก็ยังมีข้อห้ามบางประการที่พราหมณ์ไม่สามารถทำได้ อาทิ ห้ามรับประทานเนื้อวัว ปลาไหล และงูต่างๆ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นบริวารของเทพในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และห้ามตัดแต่งผม ต้องไว้ผมยาวแล้วมุ่นเป็นมวยไว้ที่ท้ายทอย เพราะตามหลักศาสนาเชื่อว่าบริเวณดังกล่าวเป็นที่อยู่ของเทวดา สำหรับกิจประจำวันที่พราหมณ์ต้องทำ คือนมัสการพระอาทิตย์ตามเวลาเช้า กลางวัน เย็น เพื่อเป็นการนำจิตวิญญาณกลับไปสู่พรหม กล่าวคือ การไหว้พระอาทิตย์จะนำแสงสว่างให้เกิดในปัญญานำไปสู่การหลุดพ้น และจะมีการสาธยายพระเวท ซึ่งถือเป็นคัมภีร์หลักในศาสนาพราหมณ์ ประกอบด้วย ฤคเวท ใช้สวดสรรเสริญเทพเจ้า สามเวท ใช้สำหรับสวดในพิธีกรรมถวายน้ำโสมแก่พระอินทร์และขับกล่อมเทพเจ้า ยชุรเวท ว่าด้วยระเบียบวิธีในการประกอบพิธีบูชายัญและบวงสรวงต่างๆ และ อาถรรพเวท ใช้เป็นที่รวบรวมคาถาอาคมหรือเวทมนตร์ ปฏิบัติต่อเทพด้วยความศรัทธา ปัจจุบันพราหมณ์หลวงจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับ พระราชพิธีต่างๆ ของพระมหากษัตริย์ ในการอัญเชิญพระผู้เป็นเจ้าและทวยเทพตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มาเป็นสักขีในการกระทำพิธีนั้นๆ เพื่อความเป็นสิริมงคลแด่องค์พระมหากษัตริย์ ราชบัลลังก์ และบ้านเมือง โดยงานพระราชพิธีจะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ งานประจำปี ได้แก่ งานเฉลิมพระชนมพรรษา วันฉัตรมงคล วันพืชมงคล การเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกต เป็นต้น และงานตามวาระ อาทิ พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เมื่อปีที่แล้ว เป็นต้น หน้าที่ของพราหมณ์หลวงคือการรักษาวัฒนธรรมในการประกอบพระราชพิธีถวายตามโอกาสต่างๆ แต่ก็สามารถรับประกอบพิธีอื่นๆ ที่นอกเหนือจากงานพระราชพิธีได้ เรียกว่า รัฐพิธี เป็นงานที่ถูกเชิญมาจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น วางศิลาฤกษ์ ยกเสาเอก งานวันเกิด งานตัดจุก ตั้งศาลพระภูมิ ซึ่งจะมีเงินทักษิณามอบให้พราหมณ์ตามศรัทธา ทั้งนี้ ปัจจุบันมีตระกูลพราหมณ์ที่ปฏิบัติหน้าที่ถวายงานพระราชพิธี หรือที่เรียกกันว่า พราหมณ์หลวง ซึ่งสืบสายมาจากบรรพบุรุษทั้งสิ้น 7 ตระกูล ได้แก่ สยมภพ โกมลเวทิน นาคะเวทิน วุฒิพราหมณ์ ภวังคนันท์ รัตนพราหมณ์ และรังสิพราหมณกุล.

ใหม่!!: พระพรหมและพราหมณ์ · ดูเพิ่มเติม »

กษัตริย์

กษัตริย์ (क्षत्रिय กฺษตฺริย; khattiya ขตฺติย; ปรากฤต:khatri) เป็นวรรณะหนึ่งในสังคมชาวฮินดู (อีก 4 วรรณะที่เหลือคือพราหมณ์ แพศย์ และศูทร).

ใหม่!!: พระพรหมและกษัตริย์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐกรณาฏกะ

รัฐกรณาฏกะ คือรัฐที่ตั้งอยู่ตอนใต้ของประเทศอินเดีย ติดต่อกับมหาสมุทรอินเดียทางตะวันตก ชื่อรัฐมาจากภาษากันนาดาแปลว่าแผ่นดินที่ถูกยกขึ้นสูงหรือเขตดินดำ สถาปนารัฐเมื่อ 1 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: พระพรหมและรัฐกรณาฏกะ · ดูเพิ่มเติม »

ฤๅษี

วนฤๅษีผู้เลื่องชื่อในเทพปกรณัมฮินดู ฤๅษี หรือ ฤษี (สันสกฤต: ṛṣi; เทวนาครี: ऋषि) ภาษาสันสกฤตอ่านว่า ฤษิ หมายความว่า ผู้แต่งพระเวท หรือผู้เห็น ฤๅษีเป็นนักบวชพวกหนึ่ง มีมาก่อนพุทธกาล สละบ้านเรือนออกไปบำเพ็ญพรตแสวงหาความสงบ ตามสถานที่สงัดต่างๆ ในป่าเขาหรือถ้ำ และเดิมมักเป็นหญิง ซึ่งเรียก "ฤษิก" (rishika) ตามความในคัมภีร์สารวานุกรมนี (Sarvanukramani) ในบรรดาผู้แต่งฤคเวทนั้น เป็นฤษีหญิงถึงยี่สิบคน ฤษี อาจหมายถึงมุนี (muni) ฤษี อีกความหมายหนึ่งคือ ฤษีเพศชาย ส่วน "ฤษิณี" หมายถึง ฤษีเพศหญิง ฤษีที่มีชื่อเสียงชื่อ ฤษี วยาส ผู้สร้างโศลกเรื่องมหากาพย์ภารตะ ซึ่งเป็นมหากาพย์ที่มีจำนวนโศลกมากจำนวนประมาณถึง 1 แสนโศลก ตำนานเล่าว่า ฤๅษีเวทวฺยาส หรือ กฤษฺณ ไทฺวปายน เป็นปู่ของสองพี่น้องตระกูลเการพและปาณฑพ และเป็นเหลนใหญ่ของท้าวภรต คัมภีร์โบราณของฮินดูระบุไว้ว่า ท้าวภรต (ภะ-ระ-ตะ) ผู้นี้เป็นโอรสท้าวทุษยันต์ อันเกิดจากนางศกุนตล.

ใหม่!!: พระพรหมและฤๅษี · ดูเพิ่มเติม »

ลิลิตโองการแช่งน้ำ

ลิลิตโองการแช่งน้ำ หรือ ประกาศแช่งน้ำโคลงห้า เป็นวรรณคดีเก่าแก่มากที่สุดเรื่องหนึ่งของไทย มีความสำคัญทั้งด้านวรรณคดี นิรุกติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และสังคมของไทย เป็นวรรณคดีที่มีความยาวเพียงไม่กี่หน้า แต่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุดเรื่องหนึ่งเป็นโองการสำหรับใช้อ่านเมื่อมีพิธีถือน้ำกระทำสัตย์สาบานต่อพระมหากษัตร.

ใหม่!!: พระพรหมและลิลิตโองการแช่งน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

วรรณะ

วรรณะ ตามรากศัพท์ (วรฺณ वर्ण; วณฺณ) แปลว่าสี เช่น เบญจวรรณ แปลว่า ห้าสี.

ใหม่!!: พระพรหมและวรรณะ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาฮินดู

ัญลักษณ์ “โอม” สัญลักษณ์ของศาสนาฮินดู หมายถึงพระตรีมูรติ เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ทั้ง 3 ศาสนาฮินดู (Hinduism) หรือ สนาตนธรรม เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีพระเวทเป็นคัมภีร์หลัก มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็น 3 องค์ เรียกว่า "ตรีมูรติ" คือ.

ใหม่!!: พระพรหมและศาสนาฮินดู · ดูเพิ่มเติม »

สังสารวัฏ

วัฏสงสารหรือ สังสารวัฏ หรือ สงสารวัฏ คือการเวียนว่ายตายเก.

ใหม่!!: พระพรหมและสังสารวัฏ · ดูเพิ่มเติม »

สัตวโลก

ในศาสนาพุทธ สัตวโลก หมายถึง หมู่สัตว์ (สตฺต) คือสิ่งมีชีวิต มีพิชาน มีขันธ์Getz, Daniel A. (2004).

ใหม่!!: พระพรหมและสัตวโลก · ดูเพิ่มเติม »

หงส์

หงส์ (มักเขียนผิดเป็น หงษ์) เป็นนกน้ำขนาดใหญ่ที่อยู่ในสกุล Cygnus ในวงศ์ Anatidae อันเป็นวงศ์เดียวกับเป็ดและนกเป็ดน้ำ มีลักษณะทั่วไป มีขนสีขาวทั้งตัว จะงอยปากสีเหลืองส้มและมีปุ่มสีดำที่ฐานของปาก มักรวมฝูงในบึงน้ำเพื่อกินพืชน้ำและสัตว์น้ำขนาดเล็ก พบในทวีปเอเชียทางตอนเหนือ, ยุโรปทางตอนเหนือ, อเมริกา และออสเตรเลีย หงส์ สามารถร่อนลงบนพื้นน้ำแข็งหรือผิวน้ำที่เยือกตัวเป็นน้ำแข็งได้ เพราะมีอุ้งตีนที่ใหญ่คล้ายใบพายซึ่งช่วยกระจายน้ำหนักได้เมื่อร่อนลง แต่จะควบคุมการร่อนได้ดีกว่าในบริเวณที่น้ำแข็งละลาย หงส์มีทั้งหมด 6 ชนิด ได้แก.

ใหม่!!: พระพรหมและหงส์ · ดูเพิ่มเติม »

ห่าน

ห่าน จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์ปีก เป็นสัตว์ที่มนุษย์นิยมนำมาเลี้ยงเพื่อเฝ้าบ้าน หรือกำจัดวัชพืชในสวน และนำมาเลี้ยงเพื่อบริโภคเป็นอาหาร ห่าน จัดเป็นนกขนาดใหญ่ที่อยู่ในวงศ์ Anatidae อันเป็นวงศ์เดียวกับเป็ด, หงส์ และนกเป็ดน้ำชนิดต่าง ๆ ห่านมีลักษณะทั่วไปคล้ายกับหงส์ แต่หงส์มีขนาดใหญ่กว่า และมีจุดเด่น คือ ในตัวผู้เมื่อถึงวัยโตเต็มที่แล้วจะมีปุ่มเนื้อแข็งหรือโหนกบริเวณก่อนถึงจะงอยปากตอนบน เด่นเห็นได้ชัดเจน ห่าน แบ่งออกได้เป็น 3 สกุล ด้วยกัน (ดูในตาราง) แต่ในส่วนในประเทศไทยที่กลายมาเป็นต้นสายพันธุ์ห่านที่เลี้ยงกันในเชิงพาณิชย์อย่างในปัจจุบัน ได้แก่ ห่านเทาปากชมพู (Anser anser) และห่านเทาปากดำ (A. cygnoides) ห่าน เป็นสัตว์ที่นิยมเลี้ยงกันในเชิงเป็นสัตว์เศรษฐกิจ ด้วยว่ามีตัวใหญ่ มีเนื้อในปริมาณที่มาก นิยมปรุงเป็นอาหารต่าง ๆ เช่น ขาห่านอบหม้อดินกับเส้นบะหมี่ในอาหารจีน และชาวจีนมีความเชื่อว่า หากไหว้เจ้าด้วยห่านจะส่งผลให้ลูกหลานรับราชการเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างดี.

ใหม่!!: พระพรหมและห่าน · ดูเพิ่มเติม »

อวัยวะ

อวัยวะ เป็นกลุ่มของเนื้อเยื่อที่มีหน้าที่คล้ายกัน พืชและสัตว์ต้องพึ่งอวัยวะหลายชิ้นในระบบอวัยวะ หน้าที่ของระบบอวัยวะมักจะมีหน้าที่ทับซ้อนกัน เช่น ไฮโปทาลามัส (hypothalamus) เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ทั้งในระบบประสาท (nervous system) และระบบต่อมไร้ท่อ (endocrine system) ทำให้การศึกษาทั้งสองระบบมักจะทำร่วมกันเรียกว่า ระบบประสาทและต่อมไร้ท่อ (neuroendocrine system) เช่นเดียวกันกับ ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก (musculoskeletal system) ซึ่งเป็นความเกี่ยวข้องกันระหว่างระบบกล้ามเนื้อ (muscular system) และ ระบบโครงกระดูก (skeletal system).

ใหม่!!: พระพรหมและอวัยวะ · ดูเพิ่มเติม »

ตรีมูรติ

ทวรูปตรีมูรติในศาลเคารพ บริเวณหน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ที่เชื่อกันว่าเป็นเทพเจ้าแห่งความรัก ตรีมูรติ เมื่อแยกออกเป็น 3 (จากซ้าย พระพรหม, พระวิษณุ, พระศิวะ) ตรีมูรติ (Trimurati, Trinity; त्रिमूर्ति) คือ การอวตารรวมของพระเป็นเจ้าสูงสุดทั้งสามองค์ในศาสนาฮินดู อันได้แก่ พระพรหม (พระผู้สร้าง) พระวิษณุ (ผู้ปกป้องรักษา) และ พระศิวะ (ผู้ทำลาย) คำว่า ตรีมูรติ มาจากภาษาสันสกฤต ตรี หมายถึง สาม มูรติ หมายถึง รูปแบบ ตรีมูรติ หมายถึง รูปแบบทั้งสามหรือรูปแบบของพระผู้เป็นเจ้าทั้งสามพระองค์ อันประกอบไปด้วย พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ เป็นหลักสำคัญในศาสนาฮินดู หากมองตามหลักปรัชญาสามารถหมายถึง พระผู้สร้าง พระผู้รักษา และพระผู้ทำลาย หรือสามารถเปรียบได้กับหลักธรรมที่ว่า เกิดขึ้น คงอยู่ และ ดับไป.

ใหม่!!: พระพรหมและตรีมูรติ · ดูเพิ่มเติม »

ฉกามาพจร

ตามคติจักรวาลวิทยาในศาสนาพุทธ ฉกามาพจร คือสวรรค์ 6 ชั้นที่ยังเกี่ยวข้องกับกาม หรือ สวรรค์ที่อยู่ในกามภูมิ เมื่อนับรวมกับมนุสสภูมิจะเรียกว่ากามสุคติภูมิ 7 สวรรค์ทั้ง 6 ชั้น มีดังนี้.

ใหม่!!: พระพรหมและฉกามาพจร · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: พระพรหมและประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: พระพรหมและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำพรหมบุตร

แม่น้ำยาร์ลุงซางโปในทิเบต แม่น้ำพรหมบุตร มุมมองจากใกล้ท่าน้ำสุเกลศวรในเมืองคูวาหตี แม่น้ำพรหมบุตร (เทวนาครี: ब्रह्मपुत्र พรฺหฺมปุตฺร; Brahmaputra) เป็นแม่น้ำที่กั้นเขตแดนสายสำคัญสายหนึ่งของทวีปเอเชีย มีความความยาว 2,900 กิโลเมตร ส่วนความยาวของลำน้ำตอนบนนั้นไม่ทราบแน่ชัด มีต้นกำเนิดอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเขตปกครองตนเองทิเบต สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีชื่อเรียกเป็นภาษาทิเบตว่า "แม่น้ำยาร์ลุงซางโป (Yarlung Tsangpo)" จากนั้นไหลผ่านพื้นที่ตอนใต้ของทิเบต มีชื่อเรียกว่า "แม่น้ำดีฮัง (Dihang)" ไปตัดผ่านเทือกเขาหิมาลัยในโกรกธารใหญ่ แล้วไหลวกไปทางตะวันตกเฉียงใต้ผ่านหุบเขาอัสสัม และไปทางใต้ผ่านประเทศบังกลาเทศ มีชื่อเรียกว่า "แม่น้ำยมุนา (Jamuna)" จากนั้นได้ไหลมารวมกับแม่น้ำคงคา เกิดเป็นดินดอนสามเหลี่ยมขนาดใหญ่ชื่อว่าสามเหลี่ยมปากแม่น้ำคงคา นับเป็นแหล่งชลประทานและการคมนาคมที่สำคัญแห่งหนึ่ง อนึ่ง แม่น้ำยมุนาแห่งบังกลาเทศซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำพรหมบุตรนี้เป็นคนละสายกับแม่น้ำยมุนา (Yamuna) แห่งอินเดียซึ่งไหลขนานกับแม่น้ำคงคา และมารวมกันที่เมืองอัลลอฮาบาดในอินเดีย แม่น้ำส่วนใหญ่ของอินเดียและบังกลาเทศจะมีชื่อเป็นเพศหญิง แต่แม่น้ำพรหมบุตรมีชื่อเป็นเพศชาย ในภาษาสันสกฤต คำว่า "พรหมบุตร" หมายถึง โอรสของพระพรหม ในภาษาอาหม เรียกแม่น้ำพรหมบุตรว่า น้ำดาวผี หรือ แสงดาว.

ใหม่!!: พระพรหมและแม่น้ำพรหมบุตร · ดูเพิ่มเติม »

โหราศาสตร์

หราศาสตร์ (Astrology) เป็นศาสตร์หนึ่งที่ไม่ได้รับการยอมรับทางวิทยาศาสตร์ มีความเกี่ยวข้องกับการทำนายอนาคต หรือ โชคชะตาของมนุษย์,ปรากฏการณ์ต่างๆ ของบ้านเมือง และของโลก โดยอาศัย เวลา และ ตำแหน่งของดวงดาวต่างๆ บนท้องฟ้า เป็นสำคัญ แล้วบันทึกไว้เป็นสถิติ โหราศาสตร์ เป็นวิชาที่ต่างกับวิทยาศาสตร์ ด้วยแม้จะสามารถพิสูจน์ทราบได้โดยใช้กฎเกณฑ์ และเหตุผลในทางโหราศาสตร์ นำมาทดลอง พิสูจน์ให้เห็นประจักษ์ สามารถสรุปออกมาเป็นทฤษฎีได้ ไม่ว่าจะทดลองกี่ครั้ง ที่ใดๆในโลกเช่นเดียวกับวิทยาศาสตร์ โหราศาสตร์ก็ยังคงเป็นวิชาที่ค่อนข้างลึกลับ ด้วยเหตุนี้นักวิทยาศาสตร์จึงไม่รับรองโหราศาสตร์ ว่าเป็นศาสตร์อย่างหนึ่ง อย่างไรก็ตามทางรัฐบาลอินเดียได้มีการประกาศเมื่อวันที่ 11.

ใหม่!!: พระพรหมและโหราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

เทวรูป

ทวรูปพระพรหม ที่พิพิธภัณฑ์กีเมต์ จากจังหวัดพระตะบอง ประเทศกัมพูชา เทวรูป (Cult image) เป็นประติมากรรมลอยตัว สร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของเทพเจ้า (ถ้าสร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของสิ่งที่เคารพนับถือที่ไม่ใช่เทพเจ้าเรียกว่า "รูปเคารพ") เทวรูปนั้นได้มีการนำมาใช้เพื่อกิจกรรมหรือพิธีกรรมทางศาสนา และการสักการบูชาเคารพ มีการสักการบูชาที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น การถวายข้าวตอกดอกไม้ การไหว้ หรือมีพิธีกระบวนแห่ต่างๆ เป็นต้น.

ใหม่!!: พระพรหมและเทวรูป · ดูเพิ่มเติม »

เทวสถาน

ทวสถาน หรือ เทวาลัย คือศาสนสถานซึ่งก่อสร้างเพื่อเป็นที่สมมุติว่าเป็นที่ประทับของเทพเจ้าหรือเทวดา เทวสถาน ในประเทศไทยหรือประเทศในแถบเอเชียอาคเนย์ มักเป็นโบสถ์พราหมณ์ สิ่งก่อสร้างที่ปรากฏมักเป็นปราสาทหิน ปรางค์ หรือวัดในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เทวสถาน ในต่างประเทศอื่น ๆ จะเป็นศาสนสถานซึ่งก่อสร้างเพื่อบูชาเทพเจ้าตามลัทธิความเชื่อของประเทศเหล่านั้น เช่น วิหารพาร์เธนอน ในประเทศกรีซ สร้างขึ้นเพื่อบูชาและสักการะเทพเจ้ากรีก, วิหารลักซอร์ ในประเทศอียิปต์ สร้างขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้าอียิปต์โบราณ.

ใหม่!!: พระพรหมและเทวสถาน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

พรหม

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »